Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ปวดขาในเด็ก จากการเจริญเติบโต ( Growing Pain or benign limb pain of childhood )




ปวดขาในเด็ก จากการเจริญเติบโต

( Growing Pain or benign limb pain of childhood )


พบประมาณ 25 – 40 % ของเด็กปกติ

พบบ่อยในช่วงอายุ 3 - 5 ปี และ ช่วงอายุ 8 - 12 ปี ( ส่วนใหญ่ จะหายไปเองเมื่อเด็กโตขึ้น )



สาเหตุ

ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด

อาจเกิดเนื่องจาก การเจริญเติบโตของกระดูกที่ยืดยาวเร็วกว่ากล้ามเนื้อ การใช้งานกล้ามเนื้อ หรือ มีกิจกรรมในช่วงกลางวันมากเกินไป อากาศเย็น


อาการ

จะมีอาการปวดตึง ที่กล้ามเนื้อน่อง ข้อพับเข่า หรือ ต้นขา ( บริเวณข้อ ไม่ปวด ไม่บวม ) นานประมาณ 30 นาที – 2 ชั่วโมง

มักมีอาการในช่วงเย็น หรือ ก่อนนอน แต่ในบางครั้งอาจมีอาการหลังจากนอนหลับไปแล้ว ทำให้เด็กต้องตื่นกลางดึก แต่พอบีบนวดสักพัก ก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น นอนหลับได้ พอตื่นนอนตอนเช้าก็จะเดินวิ่งได้เหมือนปกติ

ความรุนแรง ของ อาการปวด แตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน และ แตกต่างกันในแต่ละวัน บางวันก็ปวดมาก บางวันก็ปวดน้อย บางช่วงก็อาจหายไปนานหลายเดือนแล้วกลับมาเป็นใหม่


แนวทางการวินิจฉัย

มีอาการปวดตึงที่กล้ามเนื้อ น่อง ข้อพับ หรือ ต้นขา แต่ ไม่มี อาการ บวม แดง ร้อน ไม่มีข้อบวม

ถ้าบีบนวด ใช้ครีมนวด หรือ ประคบด้วยความร้อน ก็จะดีขึ้น

ตื่นนอนตอนเช้า จะหายเป็นปกติ เดินวิ่งได้เหมือนปกติ

การวินิจฉัยได้จาก ประวัติ และ การตรวจร่างกาย ไม่จำเป็นต้อง เจาะเลือด เอกซเรย์


แนวทางการรักษา

เวลานอน ให้ สวมกางเกงนอนขายาว และ สวมถุงเท้า

บีบนวดเบา ๆ หรือ ใช้ครีมนวด ประคบด้วยความร้อน ผ้าชุบน้ำอุ่น ร่วมด้วยก็ได้

ค่อย ๆ ยืดขา เหยียดงอข้อเท้า ข้อเข่า

ถ้ามีอาการปวดมาก ให้ รับประทานยา พารา



ถ้ามีอาการเหล่านี้ ให้ไปพบแพทย์

มีอาการปวดมาก มีอาการบวมแดงในบริเวณที่ปวด เวลาจับ หรือ นวด แล้วปวดมากขึ้น

หลังจากตื่นนอนตอนเช้า แล้วอาการไม่ดีขึ้น

มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ข้อบวมแดงร้อน มีไข้ เดินกะเผลก เบื่ออาหาร เป็นต้น




//www.oknation.net/blog/print.php?id=34865

//kidshealth.org/parent/general/aches/growing_pains.html

//www.kidspot.com.au/article+149+34+Growing-Pains.htm

//www.kidspot.com.au/article+150+34+Causes-of-growing-pains.htm




Create Date : 09 ธันวาคม 2551
Last Update : 9 ธันวาคม 2551 18:19:44 น. 0 comments
Counter : 21471 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]