Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

 
กันยายน 2558
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
28 กันยายน 2558

จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (2)



หลังจากนั้นก็มีการพยายามถอดความในศิลาจารึกหลักที่ 1 เรื่อยมา
และมีการตีพิมพ์คำอ่านครั้งแรกในหนังสือวชิรญาณ ตอนที่ 36
เดือนกันยายน พ.ศ. 2440 ชื่อเรื่องว่า อภินิหารการประจักษ์
เนื้อหาเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ต่างๆ เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฏได้ทรงจาริกไปหัวเมืองเหนือ
โดยมีคำแปลของหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 อยู่ในภาคผนวกท้ายเล่ม

พ.ศ. 2451 รัชกาลที่ 6 ขณะดำรงพระยศเป็นสยามมงกุฎราชกุมาร
ทรงนิพนธ์หนังสือเรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง หลังจากเสด็จประพาสเมืองเหนือ
โดยทรงอ่านคำแปลของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นหนังสือนำชม

ทรงพยายามที่จะกำหนดรูปแบบและอายุให้กับโบราณสถานที่ทรงพบเห็น
โดยจะเสด็จไปตามที่บอกไว้ในจารึก
เมื่อพบโบราณสถานใดที่คล้ายกับลักษณะที่บรรยายไว้
ในจารึกก็สรุปว่า โบราณวัตถุสถานนั้น สร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหง

เช่น เมื่อเสด็จไปถึงกลางเมืองก็พบวัดที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดมหาธาตุ
ทรงพบวิหารใหญ่ พระพุทธรูป และพระอัฏฐารศ
ก็ทรงสันนิษฐานทันทีว่า วัดนี้สร้างโดยพ่อขุนรามคำแหงอย่างแน่นอน

พ.ศ. 2457 เมื่อสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ขณะทรงดำรงตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร
ทรงรวมเรื่องศิลาจารึกเกี่ยวกับสุโขทัยไว้ในหนังสือชุดประชุมพงศาวดาร



พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าให้ย้ายศิลาจารึกหลักที่ 1 มารวมกับศิลาจารึกหลักอื่นๆ
เก็บไว้ที่ตึกถาวรวัตถุหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์
อันเป็นที่ทำการแรกของหอสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร

หอสมุดวชิรญาณได้จ้าง ศ. Goerge Coedes เป็นบรรณารักษ์ใหญ่
คณะกรรมการได้มอบหมายให้ท่านเป็นผู้อ่านแปลศิลาจารึกภาษาต่างๆ
ที่หอพระสมุดได้รวบรวมเอาไว้ และได้พิมพ์คำอ่านศิลาจารึกต่างๆ
รวมทั้งหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อ พ.ศ. 2467

ในงานทำบุญฉลองครบอายุ 4 รอบ ของพระยาราชนุกูล
(อวบ เปาโรหิตย์) เรียกหนังสือนี้ว่า ประชุมจารึกสยามภาคที่ 1
เป็นครั้งแรกที่การเผยแพร่เนื้อหาคำแปลจากหลักศิลาจารึกครบทุกด้าน
และมีการปรับปรุงแก้ไขคำแปลนั้นต่อๆ มาโดยนักวิชากรรุ่นหลัง

พ.ศ. 2468 มีการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ในสมัยรัชกาลที่ 7
จึงได้ย้ายศิลาจารึกหลักที่ 1 ไปจัดแสดงที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
พ.ศ. 2509 ย้ายกลับไปเก็บในตึกถาวรวัตถุเช่นเดิม
พ.ศ. 2512 ย้ายมาจัดแสดงที่ห้องสุโขทัย ตึกประพาสพิพิธภัณฑ์

พ.ศ. 2525 ในคราวฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
มีการปรับปรุงการจัดแสดง จึงได้นำศิลาจารึกหลักที่ 1
มาจัดแสดงที่ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ดังที่เราเห็นในปัจจุบัน



หลัง พ.ศ. 2500 มีนักวิชาการต่างชาติตั้งคำถามถึงความแท้ของศิลาจารึก
นำไปสู่ความสงสัยของนักวิชาการไทยแสง มนวิทูร และปรีดา ศรีชลาลัย
เป็นคนไทยกลุ่มแรกๆ ที่ตั้งข้อสังเกตว่ารัชกาลที่ 4 อาจจะเป็นคนทรงแต่ง

แต่ก็ไม่ได้มีการสรุปอย่างจริงจัง และเป็นเพียงการรับรู้ในวงแคบๆ
เพราะการถกเถียงในเรื่องนี้สุ่มเสี่ยงต่อการหมื่นพระบรมเดชานุภาพ

พ.ศ. 2519 เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง เมื่อ ม.จ. จันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี
ทรงมีผลงานหนังสือ ชื่อ นำเที่ยวศิลาจารึกสุโขทัย ตีพิมพ์ที่ ม. ฮาวาย
โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า จารึกนี้สร้างขึ้นพระยาลิไท
ไม่ใช่พ่อขุนรามคำแหง เพื่อใช้ประโยชน์จากจารึกทางการเมือง

ซึ่งในปัจจุบัน เราก็ยอมรับกันแล้วว่า ศิลาจารึกนั้นเขียนขึ้นสองสมัย
ด้วยความต่างระหว่างเนื้อหา และรูปแบบทางการเขียน
เมื่อนักวิชาการที่เป็นราชนิกุลทรงออกมาแสดงความเห็นในเรื่องนี้
ก็คงไม่มีใครกล้ากล่าวหา เรื่องความไม่จงรักภักดีอย่างแน่นอน

จึงเป็นการจุดกระแสให้นักวิชาการกล่าวถึงเรื่องศิลาจารึกหลักที่ 1
ซึ่งแบ่งได้ออกเป็นสองผ่าย คือฝ่ายที่เชื่อว่าเป็นของใหม่
และฝ่ายที่เชื่อว่าศิลาจารึกนี้เขียนขึ้นในสมัยสุโขทัย



Create Date : 28 กันยายน 2558
Last Update : 30 กันยายน 2558 10:38:36 น. 2 comments
Counter : 1446 Pageviews.  

 
เราว่าจริงค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 28 กันยายน 2558 เวลา:20:29:37 น.  

 
ที่ผ่านมา ก็เข้าใจมาตลอดว่า เขียนขึ้นในสมัยสุโขทัยค่ะ


*** ลายปูนปั้น วัดไชยวัฒนาราม ไม่ได้ทำการบ้านก่อนไปค่ะ คิดว่าจะไม่ได้แวะแล้ว เพราะเย็นมากแล้ว คนขับรถเค้าบอก แวะได้ เลยได้ฟ้าแบบนั้นมา...

ถ้ามีโอกาสจะไปเดินดูใหม่ ให้ครบทุกด้านค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 30 กันยายน 2558 เวลา:14:56:39 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]