Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
3 พฤษภาคม 2553

พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (5)



การคมนาคม

ในรัชกาลก่อนหน้านั้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือนั้น
ไปได้เพียงนครราชสีมา ทางใต้ก็ไปถึงเพียงเพชรบุรี
สิ่งที่เกิดขึ้นกับการรถไฟในรัชกาลของพระองค์คือ

- มีพระบรมราชานุมัติให้กู้ยืมเงินเพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้
จากรัฐบาลสหรัฐมลายูเพิ่มอีก 750000ปอนด์ เนื่องจากเงินกู้ 4
ล้านปอนด์เพียงพอสำหรับทางรถไฟสายใต้ที่เชื่อมฝั่งตะวันตก
ตามความต้องการของพ่อค้าจีน พ่อค้าแขกที่เมืองปีนังเท่านั้น
แต่ไม่พอสำหรับทางรถไฟผ่านมณฑลปัตตานีไปฝั่งกลันตัน

- เสด็จฯเยือนหัวเมืองปักษ์ใต้ครั้งแรกแม้ทางรถไฟสายใต้ยังไม่เชื่อมต่อกันสมบูรณ์
- เริ่มสร้างสะพาน 5 หอ (สะพานปางหละ) หลังจากได้รับเครื่องเหล็กจากปรัสเซีย
- เปิดสถานีรถไฟหัวลำโพง เมื่อ พ.ศ. 2459
- เริ่มขุดอุโมงค์ขุนตาน แต่ระหว่างทางเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเสียก่อน
พระองค์คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า จึงส่งวิศวกรไทยไปเรียนรู้วิธีการขุดอุโมงค์
เมื่อเกิดสงครามขึ้น ไทยจึงสามารถดำเนินการขุดอุโมงค์ต่อจนแล้วเสร็จได้

- เสด็จฯ เยือนหัวเมืองปักษ์ใต้ ครั้งที่ 2 โดยเสด็จมณฑลภูเก็ต
- แต่งตั้งกรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธินขึ้นเป็นเจ้ากรมรถไฟหลวง
- รวมกรมรถไฟหลวงสายเหนือ และกรมรถไฟหลวงสายใต้เข้าด้วยกัน
ในสมัยที่เริ่มการสร้างทางรถไฟในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อป้องกันการรุกราน
จากฝรั่งเศส ทางรถไฟสายอีสานจึงเป็น standard gauge

แต่ทางรถไฟสายใต้ที่ต้องใช้เงินกู้จากอังกฤษ จึงต้องสร้างแบบ narrow gauge
ตามแบบมลายู รถไฟไทยจึงต้องมีอุปกรณ์ประกอบเป็น 2 แบบ
สิ้นเปลืองงบประมาณและไม่สามารถใช้งานหรือเชื่อมต่อเส้นทางกันได้
เพราะชุมทางรถไฟสายเหนือและอีสานอยุ่ที่สถานีกรุงเทพ
แต่ชุมทางรถไฟสายใต้อยู่ที่สถานีธนบุรี

เมื่อความจำเป็นนี้หมดไป พระองค์จึงเลือกที่จะยุบทางรถไฟแบบ
standard gauge เป็น narrow gauge เพราะจะสามารถเชื่อมเส้นทาง
กับประเทศเพื่อนบ้านที่มีขนาดเดียวกันได้

- รถไฟหลวงสายใต้ เปิดเดินได้ถึงปาดังเบซาร์ และสุไหงโกลก
- เริ่มการสร้างสะพาน ๒ หอ (สะพานปางยางใต้) สะพาน ๓ หอ (สะพานปางยางเหนือ)

- รถไฟหลวงสายเหนือ เปิดเดินได้ถึงเชียงใหม่
- เริ่มการก่อสร้างทางรถไฟ สายตะวันออก
- เริ่มเดินรถด่วนเชียงใหม่ ใช้เวลาเพียง 25 ชั่วโมง 30 นาทีก็แทนที่จะเป็น 3 วัน
- เริ่มเดินรถด่วนสายใต้
- เริ่มนำรถนอนมาใช้กับขบวนรถด่วนสายใต้

- เริ่มติดตั้งรถเสบียงในขบวนรถไฟ
- สร้างโรงแรมรถไฟในหลายจังหวัด พระราชวังพญาไทคือหนึ่งในนั้น
- ตั้งกองโฮเต็ลและรถเสบียงเพื่อคุมคุณภาพการบริการอาหารและโรงแรม
ที่พักในกรมรถไฟ จุดเริ่มต้นของข้าวผัดรถไฟและยำเนื้อที่โด่งดังในอดีต
- สร้างสะพานพระรามหก เพื่อเชื่อมชุมทางรถไฟสายเหนือที่หัวลำโพงและสายใต้ที่สถานีธนบุรีเข้าด้วยกัน

- ออกพระราชกฤษฏีกา เวนคืนที่ทำทางรถไฟจากโคราชไปขอนแก่น
- เริ่มให้บริการโฮเตลรถไฟหัวหิน ปัจจุบันคือโรงแรมโซฟิเทล เซนทาร่า หัวหิน

จากหัวหินสู่แม่กลอง : โรงแรมรถไฟ

- เสด็จเยือนสหรัฐมลายูและสิงค์โปร์โดยทางรถไฟพร้อมด้วยเจ้าจอมสุวัทนา
- เปิดทางรถไฟจาก ฉะเชิงเทรา ถึงสถานีกบินทร์บุรี

ทุกคนรู้ดีว่าการรถไฟถือกำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า
รางรถไฟระยะทาง 2500 กิโลเมตรหรือร้อยละ 62.5 ของเส้นทางรถไฟ
ทั้งหมดที่เรามีในปัจจุบัน ได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 นี้เอง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชอัจฉริยภาพในหลายสาขา
ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ
และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ โดยได้ทรงพระราชนิพนธ์
บทร้อยแก้ว ร้อยกรอง และบทละครไว้นับพันเรื่อง

ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล
แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนและมหาวิทยาลัยขึ้นแทน

พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างแล้วเสร็จเมื่อพ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์
ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์
เพื่อใช้แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก แต่มิทันได้จัดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน
ทั้งที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยว่า เมื่อเสร็จงานแล้วจะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะ
เพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเหล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อ
วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 46 พรรษา
เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 16 ปี

ใน พ.ศ. 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
หรือ UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า
ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม
ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก



Create Date : 03 พฤษภาคม 2553
Last Update : 10 เมษายน 2554 18:53:05 น. 3 comments
Counter : 1556 Pageviews.  

 
ตอนเด็ก ๆ เดินทางมากรุงเทพโดยรถยนต์ก็สามวันค่ะ

จากเชียงใหม่ไปลำพูน ลี้ เถิน ตาก ไปนอนที่เขื่อนภูมิพล ( ตามเส้นทาง ทล. 1 ) วันที่สองไปนอนนครสวรรค์ วันที่สามถึงจะถึงกรุงเทพ ฯ แต่ก็แวะเที่ยวเล็กน้อยค่ะ ที่เขื่อนชัยนาท วัดพระพุทธบาทสระบุรี ค่ะ

ในหลวงแต่ละพระองค์ก็ทุ่มเทให้ประชาชนทั้งนั้นนะคะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 3 พฤษภาคม 2553 เวลา:20:47:53 น.  

 
สะพานคอมโพสิต เวลาผ่านจะชอบชะโงกดูเหวข้างล่าง แต่ก็ต้องระวังขี้เถ้าเข้าตาค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 3 พฤษภาคม 2553 เวลา:20:53:54 น.  

 
ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์

นึกถึงสมัยก่อน น้อยบ้านมากที่จะมีรถยนต์ใช้

เด็กๆ ผมเลยได้ติดรถพ่อไปเที่ยวบ่อยๆ เวลามีคนเหมาไปโน่นมานี่

น่าเสียดายที่เรื่องราวเหล่านี้ กลายเป็นอดีตไปเสียแล้ว


โดย: VET53 วันที่: 3 พฤษภาคม 2553 เวลา:21:22:30 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]