จามจุรีที่รัก
ชื่อภาพ : คุณปู่ฉำฉา
สถานที่ : บ้านโฮ่ง ลำพูน
เทคนิค : สีน้ำบนกระดาษ
ขนาด : ๒๘ x ๓๘ นิ้ว
จามจุรีที่รัก
คุณครับ
คุณคงคุ้นชินกับจามจุรีดีใช่ไหม เพราะคุณคือหนึ่งในผู้ผ่านประตูเทวาลัยนั้น และคงจะจำได้ว่าผมเปิดฉากนวนิยายเล่มหนึ่งของผมที่นั่น ริมสระน้ำมหาวิทยาลัยขณะจามจุรีสีชมพูร่วงพราวบนสนามหญ้า...
"นกสีฟ้า" นั่นยังไง พอนึกออกรึยัง ศรัทธาและความหวังซื่อใสของนักศึกษาหนุ่มสาวที่หวังจะเห็นแสงดาวบนดิน พวกเขาจึงออกโบยบินไปสู่ชนบท...
ขอโทษที...วันานผ่านไปแล้ว ผมไม่ได้ภูมิใจกับนกสีฟ้าตัวนั้นสักเท่าไหร่หรอก และวันนี้ผมกำลังจะพูดเรื่องของฉำฉาบ้านป่าเมืองดอยต่างหาก มิใช่จามจุรีสีทองรองเรือง หรือสีชมพูเลิศหรูและแสนหวาน
ฉำฉาเป็นไม้หัวไร่ปลายนาอยู่คู่ป่าคู่เมืองเรามานาน บางบ้านก็เรียกว่าก้ามปู หรือต้นลัง ทางบ้านผมเรียกสำสา (คนเหนือเราออกเสียง ช.ช้าง ฉ.ฉิ่ง ไม่ถนัดหรอก)
ฉำฉาหรือสำสา นี่ผมผูกพันมาแต่ชั้นประถม ต้นโปรดอยู่ที่ท่าน้ำหน้าโรงเรียนศรีถ้อย ยืนต้นใหญ่บะฮึ่มยึดชายตลิ่งคู่กับซอมพอยักษ์ที่เด็กทโมนชายชอบไปปีนป่าย กระโจนลงเล่นผาดโผนหน้าน้ำนอง ส่วนดงฉำฉาใหญ่ยักษ์ที่ขึ้นเป็นดงดำคล้ำครึ้ม ก็อยู่ในเขตป่าช้าท้ายหมู่บ้าน
ป่าช้าสมัยนั้น เขายังใช้วิธีเผากันจะ-จะตา และผีตายโหงก็จะฝัง ปักไม้กางเขนไว้ให้รู้ เจอร่มครึ้มของฉำฉา ตั้งแต่สองฝั่งไปป่าช้า น่ากลัวมาก-มาก อย่าว่าแต่กลางคืนเลย กลางวันแสก ๆ ใจก็ยังเต้นระส่ำระสาย
ถึงกลัวแค่ไหนก็ต้องไป เพราะต้องไปช่วยน้าชายเก็บครั่ง ไม่เช่นนั้นก็อดได้พบกับพระเอกขวัญใจ-แมน ดำเกิงเดช น้าเล่นเอา "อินทรีแดง" มาเป็นข้อแลกเปลี่ยนแรงงานผม
ฉำฉาที่ผูกพันสมัยป.ต้น ก็อยู่ที่แถววังคำ ริมฝั่งกก เชิงดอยมุงเมือง เชียงราย ฉำฉานั้นอายุร้อยปีขึ้น เป็นคุณปู่ฉำฉาก็ว่าได้
เขาปลูกไว้ยึดตลิ่ง ให้ร่มเงาคนผ่านทางมากกว่าจะเอาไว้ปล่อยครั่งเหมือนฉำฉาที่อำเภอบ้านเกิด ครั่งนี่เอาไปทำแผ่นเสียงนะครับ ช่วงปี ๒๕oo เป็นต้นไป เป็นยุคทองของแผ่นเสียง (น่าจะประมาณยุค ๕o-๖o ของฝรั่ง) ผมเรียนอยู่ ม.ศ.๓ ได้ฟังเพลงจากแผ่นเสียงครั้งแรกในชีวิตที่บ้านเพื่อนลูกพ่อเลี้ยงโรงบ่มใบยาสูบ เป็นเพลงของวงเดอะบีเทิลส์ที่ปกเป็นภาพสี่เต่าทองเดินข้ามทางม้าลายบนถนนแอบบี
ยุคที่แผ่นเสียงครองโลก ครั่งราคาดีสุด-สุด นั่นทำให้ต้นฉำฉากลายเป็นไม้ป็อบปูลาร์ก็ตาม ต้นใช้เลี้ยงครั่ง แถมลายไม้ยังสวยเลิศ เหมาะสำหรับจะเอาไปแกะสลักทำเฟอร์นิเจอร์
ประโยชน์อย่างหลังนี้เพิ่งจะมารู้ค่า เห็นฉำฉาอยู่ในสายตา ก็เมื่อหมดยุคแผ่นเสียงและไม้สักหมดป่า ไม่เนื้ออ่อนริมทางที่มีทรงพุ่มแผ่(สวยกว่าไม้ใดในโลกก็ว่าได้ในสายตาผม) ซ้ำแผ่พุ่มใบไม้ให้ร่มเงากว้างขวาง-ชวนนอนฝันไกล
หน้าร้อนถ้าคุณได้นั่งพักผ่อนใต้ร่มไม้ฉำฉา คุณจะเย็นสบายอุราหาที่เปรียบไม่ได้ ยิ่งคราสิงหา-กุมภา ฉำฉาออกดอกคลี่พัดสีชมพู โบกลมพลิ้วปลิวฟ้า หอมอ่อนอ้อนจมูก เย็นระรื่นชื่นใจ ชวนให้ไม่อยากจากไปหาร่มไม้ไหน
เสียดาย เสียใจ ไม้ฉำฉาเริ่มหายาก ต้นคุณปู่หน้าโรงเรียนก็ล้มแล้ว ต้นเพื่อนคุณปู่ในโรงบ่มเก่าบ้านขัวตาดก็ถูกโค่นแล้ว ต้นคุณยายหลายคนโอบที่แผ่ร่มเงาผาสุกให้ผู้คน-กลางหมู่บ้าน ก็ถูกรานขายสล่าแกะสลักไม้จากบ้านหลุกไปแล้ว (เขาอาสามาตัดโค่นให้ชาวบ้านเสร็จสรรพ)
เห็นฉำฉาที่อยู่ในโรงบ่มใบยาสูบร้าง ที่บ้านโฮ่ง เวียงหละปูน ผมจึงให้ชื่นตาชื่นใจ เหมือนผมได้พบกับคุณปู่ในวัยเยาว์อันแสนสุขอีกครั้ง แทบกระโดดเข้าไปกราบและโอบกอด
เรื่องและภาพ โดย พิบูลศักดิ์ ละครพล
จากคอลัมน์ "ผ่านตามาตรึงใจ" นสพ.กรุงเทพธุรกิจวันอาทิตย์ ๒๕ พ.ค. ๒๕๕๗
กรุงเทพธุรกิจวันอาทิตย์
บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะค่ะ
บีจีจากคุณเนยสีฟ้า กรอบจากคุณsomjaidean100
Free TextEditor
Create Date : 26 พฤษภาคม 2557
Last Update : 26 พฤษภาคม 2557 22:37:39 น.
Counter : 2973 Pageviews.
0 comments
Share
Tweet
Desdemona's Song by Erich Korngold
ปรศุราม
(23 มิ.ย. 2568 10:51:22 น.)
가고파 (Hope to go) by KIM Dong-jin (김동진)
ปรศุราม
(20 มิ.ย. 2568 10:45:44 น.)
สวนรถไฟ : นกเฉี่ยวบุ้งใหญ่
ผู้ชายในสายลมหนาว
(19 มิ.ย. 2568 13:46:10 น.)
Жаворонок (the Lark) by Михаил Глинка (Mikhail Glinka)
ปรศุราม
(17 มิ.ย. 2568 10:54:09 น.)
Haiku.BlogGang.com
haiku
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ผู้ติดตามบล็อก : 166 คน [
?
]
บทความทั้งหมด
คุกแห่งความรักที่หลบหนี
บทเพลงหนึ่งทำนอง
เริงรำในสายลมกวีนิพนธ์
โลกหมุนรอบดวงใจฉันดวงใจเธอ
ธารกระซิบ
แม้ฟ้าปิด มุงหมอกหม่น คนยังฝัน
เพื่อดอกฝันหนึ่งตรึงตรา
ผ้าสายหมอก
สนธยา
อีกก้าวนะอีกก้าว
ฝันจะฝากดอกไม้ไว้ใต้หมอน
ด้วยรักและศรัทธา
พลังแห่งรัก
ความรักสร้างสรรค์ ความเกลียดนั้นทำลาย
ช่อดอกไม้ในชีวิต
ฝังหัวใจไว้ในหุบเขานั้น
ทัศนียภาพแห่งหัวใจ
คิดถึง
ทะเลอารมณ์
ชิโน-โปรตุกี-สีแบบตรัง
วังวิเศษ
เถ้าธุลีในสายลมกาลเวลา
วาง
ด้วยตัวฉันเอง
อารมณ์รมณีย์
เสียงหัวใจ
ดอกไม้เก่าในแจกัน
บางครั้งคนเราก็หลงลืม
ทุกคนมีสิทธิ์เลือกโลกสวย
สิ่งเดียวที่อยู่นอกเหนือการทำลาย
บันทึกระหว่างบันทัด
ไม่มีรักไม่มีทุกสิ่ง
เช้าวันหนึ่งตื่นขึ้นมา
หุบสิเน่หา
โลกกว้างก็เพราะใจไม่คับแคบ
เรื่องราวดี-ดี Smile,eventhough your heart is aching
ใช้ชีวิตให้มีชีวิต
คนที่คุณรัก หรือคนที่รักคุณ
เราทุกคนมีบางสิ่งที่ต้องตามหา
คือหวังและรัก : HOPE AND LOVE
LONG LIVE LOVE
ชีวิตสั้นไปสำหรับคำว่า สักวันหนึ่ง
H O P E
สีน้ำและความรัก
พรุ่งนี้ก็เป็นอีกวันหนึ่ง
ทะเลคิมหันต์
The glory of friendship
Journey to the Heart
Into The Happiness
มองต้นไม้
จินตนาการ
อย่าลืมฝันถึงฤดูฝน
ดอกดวงใจ
เพลงกุมภา
คุณรู้สึกถึงสัมผัสอันอ่อนโยนของฤดูกาลไหม
บทเพลงของเดือนมกราคม
สิริภูมิ
แดนดอกไม้
ยิ่งสูงยิ่งหนาวยิ่งงามนัก
แสงอรุณ
ฤดูใบไม้ร่วง
ในบึงสีฟ้า
เคียงข้าง
เดินทาง
ระหว่างทาง
ดอยลาง บางที...
มหาวิหารแห่งศรัทธา
ย่างก้าวที่ย่างกุ้ง
สิงห์ยิ้มยาก
A Passage to Burma
Alone Again
ทุ่งกว้างทางลม
หลังคาใบตอง
ข้ามดงสามหมื่นแล้วต้อง 'ยั้งเมิน'
ต้นไม้หมายวัด
อำเภอในฝัน
ประชากรในประเทศที่ตะกละ
แว่นตากรอบทอง
บ่อน้ำทิพย์
วัฒนธรรมสวนสนุก
ดอยตุง
นายกองสุกี้
ลุงโง่เคลื่อนภูเขา
หล่ายหน้า Tacheleik
อยู่หลี กิ๋นหวาน
เสน่ห์เมืองนนท์
เพลงรักฤดูร้อน
ในร่มเงาของความทรงจำสีจาง
Vintage of the past...หอมหวานแห่งวารวัน
จดหมายรัก จักรยาน และหวานชีวิต
จามจุรีที่รัก
Pink Trumpet Tree...ดนตรีสีกุหลาบ
น้ำต่างสาย ไม้ต่างสี
ด่วนจี๋ไปรษณีย์จ๋า
ที่ใดมีทุกข์ ที่นั่นมีรัก
ภูมิทัศน์จัดวาง
ถึงแล้งใช่แล้งรักไล้
มาระชินะเจดีย์ที่วัดฟ้าเวียงอินทร์
แปกแซมแนมฝัน
ด่านชายแดนหลักแต่ง
อยู่เย็นย่อมเป็นสุข
เหมือนเมืองม่าน
เปียงหลวง
เวียงแห่งความรักอันลับลี้
งามล้ำค่าฟ้าเวียงแหง
เลาวูประตูเวียงแหง
บ้านเชิงดอย
สถานีอนามัยพระราชทาน
หมู่บ้านทรงพระเจริญ
ทางเรา, ทางเขา
เวียงแหงเวียงแห่งความรัก
ฝากความรักมากับสายลมหนาว
จุดรักในใจดอกไม้คงบาน
ดอกไม้เมืองหนาว
อ้อมกอดแม่กลาง
สายหมอกและดอกไม้
ภูผาตั้ง
พิพิธภัณฑ์บ้านจอมพล
อารามสีกุหลาบ
ในสายลมหนาว
หมู่บ้านหล่ายดอย
สุดแดนที่แก่งผาได
พิพิธภัณฑ์เมือง
เชียงรายยังรัก
โมโจกู ในวงแขนของแม่วงก์
กว๊านพะเยาของเรานี่หนอ
ตำนานแห่งการรอคอย ดอยนางนอน
เกาะแก่งแห่งแม่น้ำกก
ถนนสู่ขุนเขา
ถนนสายนี้มีความคิดถึง
ฝนดอกไม้
เดียวดายที่เชียงดาว
ระหว่างทาง
เลียบแม่น้ำโขงสู่เวียงเชียงของ
VINTAGE & NOSTALGIA
อารามในดงไม้
ยินดีต้อนรับความคิดถึง
ม่อนจอง
ออบหลวง
ฮอด
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.