เชียงรายยังรัก
ชื่อภาพ : โบสถ์สวยที่ประตูสลี
สถานที่ : แยกประตูสลี อ.เมือง เชียงราย
เทคนิค : สีน้ำบนกระดาษ
ขนาด : ๑๑ x ๑๕ นิ้ว
เชียงรายยังรัก
ตั้งใจจะเขียนรำลึกถึงเชียงรายที่รักติดต่อกันไป แต่เกรงผู้อ่านจะเบื่อ ก็สลับสถานที่อื่น ๆ ตามจังหวะเหมาะสม
ผมเขียนถึงโรงพยาบาลโอเวอร์บรู๊ค ทางผ่านริมฝั่งแม่น้ำกกแห่งวัยฝันวันเยาว์ของผมไปแล้ว และสัญญากับตัวเองว่าจะต้องกลับไปสเก็ตช์ภาพโบสถ์ประตูสลี (คริสตจักร ๑ เวียงเชียงราย) ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า เรือนจำเก่า ตึกบนดอยงำเมืองและอีกหลายแห่งที่ผมผูกพันตรึงใจ
ไปเที่ยวหลังนี้ ได้คุยกับคนเก่าคนแก่ที่นั่น ผมได้รับความรู้เพิ่มเติมว่า 'ระฆัง' ของ
คริสตจักร ๑
แห่งนี้ และระฆังของโรงพยาบาลโอเวอร์บรู๊คที่ชาวเชียงรายก่อนเก่าเรียกกันว่า 'โฮงยาฝรั่ง' นั่น มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
เพราะเขาใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยการโจมตีทางอากาศแทนหวอครับ พอมีเครื่องบินทหารญี่ปุ่นบินมาทิ้งระเบิดจุดยุทธศาสตร์สำคัญ บาทหลวงก็จะสั่นระฆังเตือนภัยให้ชาวบ้านวิ่งลงหลุมหลบระเบิด
สะพานข้ามน้ำกกโดนระเบิดเสียหาย แต่สถานที่สามแห่งที่ผมเอ่ยชื่อมานี้กลับไม่เป็นไร ทั้งที่เห็นเด่นสะดุดตา ทหารเก่าผู้เล่าเรื่องนี้บอกว่า ถ้าอยู่ที่สูงมองลงมาจะเห็นศาลากลางจังหวัดเป็นรูปตัว l และโรงพยาบาลจะเห็นเป็นรูปตัว L ส่วนคริสตจักร ๑ รูปแบบสถาปัตยกรรมเห็นเป็นรูปไม้กางเขน
ตามประวัติ 'โบสถ์คริสตจักรที่ ๑ เวียงเชียงราย' หลังนี้ สร้างด้วยเงินบริจาคของคณะเพรสไบทีเรียนมิชชัน แห่งสหรัฐอเมริกาบนที่ดินบริเวณประตูสลี (อ่านว่า สะ-หลี) ใช้เวลาในการปรับพื้นที่เตรียมการและก่อสร้างราว ๔ ปี จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. ๑๙๑๔
ผู้อำนวยการสร้างโบสถ์หลังนี้คือ นายแพทย์วิลเลียม เอ. บริกส์ (William A. Briggs) มิชชันนารีคนสำคัญที่ทำประโยชน์ให้แก่เมืองเชียงรายมากมาย เช่น การก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลโอเวอร์บรู๊ค โรงเรียนและบ้านพักมิชชันนารี ตลอดจนศาลากลาง และเรือนจำประจำจังหวัดเชียงราย
โบสถ์นี้มีแผนผังอาคารเป็นรูปกางเขน (Latin Cross) รูปแบบทางสถาปัตยกรรมและเทคนิคการก่อสร้างใกล้เคียงกับอาคารหลังแรกของโรงพยาบาลโอเวอร์บรู๊ค (ปัจจุบันใช้เป็นอาคารอำนวยการ) ที่ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล (Colonial Style) โดยต่างมีจุดเด่นที่หอระฆังด้านหน้าอาคาร (Bell Tower)
คนเก่าแก่ผู้เล่าเรื่องเชื่อว่า "เพราะทหารญี่ปุ่นมองเห็นไม้กางเขนจากฟ้า นี่แหละคือมหัศจรรย์ให้โบสถ์ โรงพยาบาล ศาลากลาง และเรือนจำ รอดพ้นจากการถูกระเบิดพังพินาศ"
"แต่กระนั้นเชียงรายก็ไม่พ้นภัยลูกพระอาทิตย์อยู่ดี พอทหารญี่ปุ่นยาตราทัพมา คริสตจักรที่ ๑ เวียงเชียงรายได้ถูกปิด ใช้เป็นค่ายพักของทหารญี่ปุ่น
"ช่วงนั้นชาวคริสเตียนในเชียงรายต้องนมัสการตามบ้านสมาชิกอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ"
"ยังเหลือร่องรอยบูชิโดไว้ให้รำลึกความหลัง คือที่ผนังด้านทิศใต้ของโบสถ์ซึ่งจะมีคราบผลึกเกลือเกาะติดอยู่ ทหารญี่ปุ่นยึดโบสถ์เป็นที่เก็บเกลือ คิดดูเถอะ สมัยสงครามเกลือเป็นสิ่งมีค่ากว่าทองคำนะ"
"ทำไมหรือครับ" ผมสงสัย
"เพราะทองคำกินได้ที่ไหนเล่า หนักก็หนัก แต่ลองไม่มีเกลือสิ เสบียงอาหารเน่าหมด กองทัพต้องเดินด้วยท้องนะคุณ..."
ได้ฟังแล้ว ผมก็บรรลุสัจธรรม
เรื่องและภาพ โดย พิบูลศักดิ์ ละครพล
จากคอลัมน์ "ผ่านตามาตรึงใจ" นสพ.กรุงเทพธุรกิจวันอาทิตย์ ๖ ต.ค. ๒๕๕๖
เฟซบุคกรุงเทพธุรกิจวันอาทิตย์
บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะค่ะ
บีจีจากคุณเนยสีฟ้า กรอบจากคุณsomjaidean100
Free TextEditor
Create Date : 08 ตุลาคม 2556
Last Update : 8 ตุลาคม 2556 19:33:13 น.
Counter : 2465 Pageviews.
0 comments
Share
Tweet
가고파 (Hope to go) by KIM Dong-jin (김동진)
ปรศุราม
(20 มิ.ย. 2568 10:45:44 น.)
สวนรถไฟ : นกเฉี่ยวบุ้งใหญ่
ผู้ชายในสายลมหนาว
(19 มิ.ย. 2568 13:46:10 น.)
Out Of The Voids (Cosmic Horror A.I.Generated Concept art)
สมาชิกหมายเลข 854948
(15 มิ.ย. 2568 08:04:33 น.)
Di Provenza il mar, il suol from La traviata by Giuseppe Verdi
ปรศุราม
(9 มิ.ย. 2568 10:59:43 น.)
Haiku.BlogGang.com
haiku
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ผู้ติดตามบล็อก : 166 คน [
?
]
บทความทั้งหมด
คุกแห่งความรักที่หลบหนี
บทเพลงหนึ่งทำนอง
เริงรำในสายลมกวีนิพนธ์
โลกหมุนรอบดวงใจฉันดวงใจเธอ
ธารกระซิบ
แม้ฟ้าปิด มุงหมอกหม่น คนยังฝัน
เพื่อดอกฝันหนึ่งตรึงตรา
ผ้าสายหมอก
สนธยา
อีกก้าวนะอีกก้าว
ฝันจะฝากดอกไม้ไว้ใต้หมอน
ด้วยรักและศรัทธา
พลังแห่งรัก
ความรักสร้างสรรค์ ความเกลียดนั้นทำลาย
ช่อดอกไม้ในชีวิต
ฝังหัวใจไว้ในหุบเขานั้น
ทัศนียภาพแห่งหัวใจ
คิดถึง
ทะเลอารมณ์
ชิโน-โปรตุกี-สีแบบตรัง
วังวิเศษ
เถ้าธุลีในสายลมกาลเวลา
วาง
ด้วยตัวฉันเอง
อารมณ์รมณีย์
เสียงหัวใจ
ดอกไม้เก่าในแจกัน
บางครั้งคนเราก็หลงลืม
ทุกคนมีสิทธิ์เลือกโลกสวย
สิ่งเดียวที่อยู่นอกเหนือการทำลาย
บันทึกระหว่างบันทัด
ไม่มีรักไม่มีทุกสิ่ง
เช้าวันหนึ่งตื่นขึ้นมา
หุบสิเน่หา
โลกกว้างก็เพราะใจไม่คับแคบ
เรื่องราวดี-ดี Smile,eventhough your heart is aching
ใช้ชีวิตให้มีชีวิต
คนที่คุณรัก หรือคนที่รักคุณ
เราทุกคนมีบางสิ่งที่ต้องตามหา
คือหวังและรัก : HOPE AND LOVE
LONG LIVE LOVE
ชีวิตสั้นไปสำหรับคำว่า สักวันหนึ่ง
H O P E
สีน้ำและความรัก
พรุ่งนี้ก็เป็นอีกวันหนึ่ง
ทะเลคิมหันต์
The glory of friendship
Journey to the Heart
Into The Happiness
มองต้นไม้
จินตนาการ
อย่าลืมฝันถึงฤดูฝน
ดอกดวงใจ
เพลงกุมภา
คุณรู้สึกถึงสัมผัสอันอ่อนโยนของฤดูกาลไหม
บทเพลงของเดือนมกราคม
สิริภูมิ
แดนดอกไม้
ยิ่งสูงยิ่งหนาวยิ่งงามนัก
แสงอรุณ
ฤดูใบไม้ร่วง
ในบึงสีฟ้า
เคียงข้าง
เดินทาง
ระหว่างทาง
ดอยลาง บางที...
มหาวิหารแห่งศรัทธา
ย่างก้าวที่ย่างกุ้ง
สิงห์ยิ้มยาก
A Passage to Burma
Alone Again
ทุ่งกว้างทางลม
หลังคาใบตอง
ข้ามดงสามหมื่นแล้วต้อง 'ยั้งเมิน'
ต้นไม้หมายวัด
อำเภอในฝัน
ประชากรในประเทศที่ตะกละ
แว่นตากรอบทอง
บ่อน้ำทิพย์
วัฒนธรรมสวนสนุก
ดอยตุง
นายกองสุกี้
ลุงโง่เคลื่อนภูเขา
หล่ายหน้า Tacheleik
อยู่หลี กิ๋นหวาน
เสน่ห์เมืองนนท์
เพลงรักฤดูร้อน
ในร่มเงาของความทรงจำสีจาง
Vintage of the past...หอมหวานแห่งวารวัน
จดหมายรัก จักรยาน และหวานชีวิต
จามจุรีที่รัก
Pink Trumpet Tree...ดนตรีสีกุหลาบ
น้ำต่างสาย ไม้ต่างสี
ด่วนจี๋ไปรษณีย์จ๋า
ที่ใดมีทุกข์ ที่นั่นมีรัก
ภูมิทัศน์จัดวาง
ถึงแล้งใช่แล้งรักไล้
มาระชินะเจดีย์ที่วัดฟ้าเวียงอินทร์
แปกแซมแนมฝัน
ด่านชายแดนหลักแต่ง
อยู่เย็นย่อมเป็นสุข
เหมือนเมืองม่าน
เปียงหลวง
เวียงแห่งความรักอันลับลี้
งามล้ำค่าฟ้าเวียงแหง
เลาวูประตูเวียงแหง
บ้านเชิงดอย
สถานีอนามัยพระราชทาน
หมู่บ้านทรงพระเจริญ
ทางเรา, ทางเขา
เวียงแหงเวียงแห่งความรัก
ฝากความรักมากับสายลมหนาว
จุดรักในใจดอกไม้คงบาน
ดอกไม้เมืองหนาว
อ้อมกอดแม่กลาง
สายหมอกและดอกไม้
ภูผาตั้ง
พิพิธภัณฑ์บ้านจอมพล
อารามสีกุหลาบ
ในสายลมหนาว
หมู่บ้านหล่ายดอย
สุดแดนที่แก่งผาได
พิพิธภัณฑ์เมือง
เชียงรายยังรัก
โมโจกู ในวงแขนของแม่วงก์
กว๊านพะเยาของเรานี่หนอ
ตำนานแห่งการรอคอย ดอยนางนอน
เกาะแก่งแห่งแม่น้ำกก
ถนนสู่ขุนเขา
ถนนสายนี้มีความคิดถึง
ฝนดอกไม้
เดียวดายที่เชียงดาว
ระหว่างทาง
เลียบแม่น้ำโขงสู่เวียงเชียงของ
VINTAGE & NOSTALGIA
อารามในดงไม้
ยินดีต้อนรับความคิดถึง
ม่อนจอง
ออบหลวง
ฮอด
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.