รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
25 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 

เมื่อคุณปฏิบัติสัมมาสติ สัมมาสมาธิ คุณไม่จำเป็นต้องรู้เลยว่า คุณได้ฌานหรือไม่

ปัญหาของคนที่อ่านตำรามาก......

เมื่อคุณปฏิบัติสัมมาสติ สัมมาสมาธิ คุณไม่จำเป็นต้องรู้ว่า คุณได้ฌานหรือไม่ และไม่ต้องไปสนใจเลยว่า จิตของคุณเป็นฌานหรือยัง เพราะการได้ฌานมันไม่มีป้ายบอกว่าได้ฌานใดแล้ว และมันไม่มีประโยชน์อะไร ที่จะต้องไปรู้ว่าได้ฌานหรือยัง นี่คือความจริงในการปฏิบัติที่คุณจะพบอย่างนี้จริง ๆ

แต่ที่มีการกล่าวกันในตามตำรา นั้นคือตำรา ซึ่งผมไม่ขอวิจารณ์ใด ๆ เกี่ยวกับตำรา

ถ้าคุณปฏิบัติสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ได้ดีมาพอสมควร คุณจะสังเกตได้ว่า กำลังจิตของคุณ มันจะแก่วงไปแก่วงมาเหมือนลมที่พัดแรงบ้าง ค่อยบ้าง บางที่ก็นิ่งเงียบ เหมือนลมไม่พัดเลย มันจะเปลี่ยนอย่างนี้ตลอดเวลา
จิตเป็นอนัตตา บังคับไม่ได้ ที่มันเปลี่ยนแปลงไปมาเพราะมีเหตุให้เปลี่ยน มันก็แปรเปลี่ยน

ท่านที่ชอบอ่านตำรา และไปพบกับบางคำสอนทีว่า ถ้าจิตไม่ได้ฌาน 4 ไม่มีทางได้ธรรม เรื่องนี้ ผมก็ไม่ขอวิจารณ์อีกเช่นกันครับ

ถ้าคุณไปเปิดดูพระไตรปิฏก จะเขียนไว้ในทำนองที่ว่า เมื่อจิตตั้งมั่นจากสัมมาสมาธิ จะเห็นธรรมตามความเป็นจริง อ่านเรื่องนี้ได้ที่นี่
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=08-2009&date=31&group=4&gblog=2


เมื่อคุณลงมือฝึกฝนสติปัฏฐาน 4 โดยใช้สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นตัวนำแล้ว คุณมีหน้าที่ฝึกฝนให้ชำนาญ เมื่อชำนาญ จิตจะตั้งมั่นเอง เมื่อจิตตั้งมั่น ก็จะเข้าใจในธรรม เห็นธรรมได้เอง โดยไม่ต้องไปกังวลหรือสนใจอีกเลยว่า จิตฉันถึงฌาน 4 แล้วหรือยัง

ขณะที่จิตโผล่งธรรมออกมาเอง ตอนนั้น คุณก็ไม่รู้อีกเช่นกันว่า จิตคุณเป็นฌานหรือไม่ เพราะมันเกิดเพียงแว๊บเดียวสั้นมาก ๆ

ทำใจให้สบาย ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่เห็นธรรม ถ้าคุณเดินถูกทาง เดินไปเรื่อย ๆ สักวัน คุณก็จะถึงที่หมายได้อย่างแน่นอน

แต่ถ้าคุณมัวแต่กังวลว่ายังไม่ได้ฌาน ความกังวลนี้คือนิวรณ์อันเป็นเครื่องกั้นการเข้าถึงธรรม คุณยิ่งกังวล ยิ่งห่างไกลธรรมออกไปอีกเรื่อย ๆ




 

Create Date : 25 ธันวาคม 2552
1 comments
Last Update : 29 มกราคม 2555 18:29:32 น.
Counter : 1195 Pageviews.

 

ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน

 

โดย: นมสิการ 29 มกราคม 2555 18:40:25 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.