มองภาพแห่งความสำเร็จที่ชัดเจน เดินแต่ละก้าวอย่างมีสติ ด้วยใจที่สงบ
<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
12 ตุลาคม 2555

ลงทุนสไตล์ จอห์น เนฟฟ์ (JOHN NEFF)

ผู้จัดการกองทุน Vanguard Windsor
รูปแบบการลงทุน เน้นหนักไปในการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ในธุรกิจที่ดี มีการเจริญเติบโตต่อเนื่อง ปันผลสูง ขายเมื่อราคาเกินกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น

ประวัติ

เนฟฟ์ได้ชื่อว่าเป็นมืออาชีพของมืออาชีพ ทั้งนี้เพราะผู้จัดการกองทุนหลายคนไว้วางใจให้เขาบริหารพอร์ท เพราะเชื่อว่าเขาสามารถบริหารมันได้ดีและปลอดภัย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะผลงานที่ผ่านมาของเขาตลอด 30 ปี Windsor Fund สามารถครองอันดับสูงสุดห้าอันดับแรกมาตลอด

เนฟฟ์จบการศึกษาการตลาดอุตสาหกรรม และเข้าศึกษาวิชาการเงินการธนาคารภาคค่ำ ในปี1954 เขาเริ่มงานเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์กับ the National City Bank of Cleveland จากนั้นก็ทำงานกับ Wellington Management เขายึดหลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่าตามแบบของ Ben Graham มาโดยตลอด

ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่
เนฟฟ์ลงทุนอย่างหนักในหุ้น FORD ในปี1984 ในขณะที่ทุกคนกลัวว่าบริษัทกำลังจะไปไม่รอด ขณะนั้น P/E ของบริษัทเท่ากับ 2.5 เขาซื้อหุ้น FORD ในราคา 14 เหรียญต่อหุ้น ภายในสามปีราคาหุ้นขึ้นไปสูงถึง 50เหรียญต่อหุ้น ทำผลตอบแทนได้สูงถึง 500 ล้านเหรียญ

วิธีการและแนวทางการลงทุน

เนฟฟ์เน้นลงทุนในหุ้นที่มี P/E ต่ำ เขาเข้าซื้อหุ้นที่ราคาถูกเมื่อเทียบกับผลตอบแทน (ซึ่งเป็นผลรวมของการเติบโตของรายได้บวกกับเงินปันผล)

เขามักจะเรียกค่านี้ว่า ‘Terminal Relationship' หรือ 'what you pay for what you get'
หรือเรียกค่านี้ว่า อัตราส่วน GYP (Growth & Yield : P/E) ratio
GYP ratio = (Earnings Growth + Dividend Yield) / P/E ratio

Example
Average forecast portfolio EPS Growth (%)
plus average forecast portfolio dividend yield
divided by average forecast portfolio P/E = (7 / 5) /10 = a GYP of 1.2

Average forecast market EPS Growth (%)
plus average forecast market dividend yield
divided by average forecast market P/E = (15 / 2) / 28 = a GYP of 0.6

ค่านี้ยิ่งสูงยิ่งดีเพราะแสดงถึงรายได้และเงินปันผลที่สูงมาก ปกติแล้วค่านี้ที่สูงกว่า 1 ถือว่าดีมาก อย่างไรก็ตามจะต้องเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมนั้น หรือกับของทั้งตลาดด้วย

อย่างไรก็ตาม เนฟฟ์ให้ความสำคัญต่อจำนวนร้อยละของเงินปันผลมากกว่า เนื่องจากเขาถือว่าเป็นผลตอบแทนที่อยู่ในรูปของตัวเงินจริง
นั่นหมายความว่าหากมีหุ้นสองบริษัท บริษัทแรกมีการเติบโต 5% จ่ายปันผล 10% และมี P/E เป็น 6 แต่บริษัทที่สองหนึ่งมีการเติบโต 10% แต่จ่ายปันผล 5% และมีค่าอัตราส่วน P/E เป็น 6 เท่ากัน
เนฟฟ์ก็มีแนวโน้มที่จะเลือกหุ้นของบริษัทแรกมากกว่า เพราะปันผลจะทำให้ผลตอบแทนมีความแน่นอนขึ้น

หลักการเลือกหุ้นของ จอห์น เนฟฟ์

1. มีค่าอัตราส่วน P/E ต่ำ
2. มีอัตราเติบโตของกำไรสูงกว่า 7%
3. มีการจ่ายปันผลที่สม่ำเสมอ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด (แสดงถึงการสามารถนำกำไรที่มากขึ้นมาทำให้เกิดประโยชน์ในการขยายกิจการ)
4. ผลตอบแทนที่ได้รับจะต้องสูงกว่าค่าอัตราส่วน P/E (เช่นหากค่า P/E เป็น 5 จะต้องมีผลตอบแทนมากกว่า 5%)
5. ต้องเป็นธุรกิจขาขึ้นของรอบ (ถ้าเป็นรอบ) หรือหากเป็นขาลง จะต้องมีค่า P/E ที่ต่ำมากพอต่อความเสี่ยงในขาลงของมัน
6. มีการเติบโตที่แข็งแรง (คือโตแล้ว ยืนอยู่ได้ ไม่ใช่ขึ้นๆ ลงๆ ล้มๆ ลุกๆ)
7. มีพื้นฐานแข็งแกร่ง (อันนี้ต้องวิเคราะห์ธุรกิจด้วย)

คราวนี้มาดูว่า จอห์น เนฟฟ์ จะตัดสินใจขายหุ้นเมื่อใด
1. พื้นฐานเปลี่ยนไปในทางที่เลวลง จนอาจจะเกิดผลกับการดำเนินงานในอนาคต
2. เมื่อราคาเพิ่มสูงขึ้นถึงจุดที่กำหนดไว้
3. ดูการเติบโต (ราว 4-5 ปีต่อเนื่องกัน) หากถดถอยลงก็พิจารณาขาย

เคล็ดลับการลงทุน

วิธีการหาหุ้นเพื่อลงทุน เนฟฟ์จะมองหุ้นที่ราคาทำนิวโลว์ หรือราคาตกต่ำลงมามากๆ เพราะข่าวร้าย เมื่อพบแล้วก็มาพิจารณาโดยใช้หลักการเลือกหุ้น 7 ข้อ ของเขา หากเห็นว่าธุรกิจยังดี สามารถอยู่รอดและเติบโตได้ ราคาน่าลงทุน ค่าสัดส่วนต่างๆ ยังดีอยู่ ก็อาจจะพิจารณาซื้อไว้ได้

อย่าไล่ตามหุ้นที่มีการเติบโตสูงที่หลายคนสนใจ อัตราส่วนP/Eที่สูงขึ้นจะผลักดันให้ราคาหุ้นสูงขึ้นจนถึงระดับที่น่าตกใจ และเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ตัวเอง
มองที่อัตราส่วน GYP ของพอร์ตของเราเป็นหลัก หากของตลาดดีกว่าก็ถือเงินสดไว้บ้างเพื่อรอซื้อเมื่อโอกาสอำนวย
โอกาสซื้อดีๆ มักจะเกิดหลังจากการตื่นตระหนก (Panic Sell) ของตลาด




E-Magazine By นายแว่นธรรมดา...

ดาวน์โหลดฟรีได้ที่นี่ครับ... //www.naiwaen.com/?p=917

แวะทักทายนายแว่นธรรมดาได้ที่นี่ครับผม... FaceBook

//www.facebook.com/NaiwaenTammada

ตกแต่งบ้าน และสวนสวย Home Decor Garden

//homebuyerguides.blogspot.com/2011/09/mdf-index.html


Top of Living //www.topofliving.com/





Create Date : 12 ตุลาคม 2555
Last Update : 12 ตุลาคม 2555 11:55:01 น. 1 comments
Counter : 2344 Pageviews.  

 
“ในหมู่นักลงทุนที่ขึ้นชื่อของโลก นั้นมีหลายท่านด้วยกัน ในแต่ละท่านนั้นก็จะมีแนวทางและวิธีการลงทุนที่คล้ายคลึงกันบ้างแตกต่างกัน บ้าง หากเราได้เรียนรู้และเลือกใช้แนวทางและวิธีการลงทุนของแต่ละท่านให้เหมาะสม กับตัวเรานั้นจะเป็นการดีหรือไม่ Thai Value Investor.com จึงได้นำเสนอประวัติ แนวคิดและวิธีการของนักลงทุนแต่ละท่านเป็นลำดับไป”
Warren Buffett เคยพูดอยู่เสมอว่าวิธีการลงทุนของเขานั้น 70% มาจาก Benjamin Graham อีก 30%มาจาก Phil Fisher เขาผู้นี้เป็นใคร ทำไม่นักลงทุนระดับ Warren Buffett ถึงได้กล่าวไว้เช่นนั้น เราลองมามาดูประวัติ และแนวทางการลงทุนของเขากัน
ลักษณะงาน
ที่ปรึกษาการลงทุนในบริษัทของเขาเอง
รูปแบบการลงทุน
เป็นนักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีโดยการซื้อและถือยาวมาก
ประวัติ
หลัง จากผ่านการอบรบนักวิเคราะห์ ที่ธนาคาร ซานฟานซิสโก เขาก็เริ่มเป็นที่ปรึกษาการลงทุนในบริษัทของเขาเองเมื่อปี 1931 เขาจะเชี่ยวชาญในการลงทุนในธุรกิจที่เขารู้จักดี ซึ่งมักจะเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ๆที่ได้จากการวิจัยและ พัฒนาของบริษัท เขาเริ่มใช้กลยุทธ์การลงทุนนี้ก่อนการเกิดของ Silicon Valley ถึง 40 ปี.
บริษัทที่เขามักแนะนำให้ลูกค้าซื้อมักเป็นบริษัท Low-tech เช่นบริษัทเคมีภัณฑ์ใหญ่ๆ หรือบริษัทผลิตเครื่องจักรอาหาร หลังจากนั้นเขาก็ได้ชื่อว่าเป็นนักลงทุนที่เห็นถึงคุณค่าของหุ้นในกลุ่ม Hi-techอย่าง Motorola และ Texas Instruments
ขณะที่เขามีอายุได้ 90ปี เขายังคงทำงานในลักษณะเดิมอย่างที่เคยทำ เขาเป็นคนที่ใช้เหตุผล และยึดหลักปฎิบัติอย่างเข้มงวด เขาเป็นคนเดียวที่จะเลือกลงทุนในบริษัทที่เขาได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดรอบ ครอบ โดยศึกษาจากแหล่งความรู้ต่างๆ การสัมภาษณ์ผู้บริหารและคู่แข่งของบริษัท และสิ่งนี้ทำให้เขาเข้าถึงมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทได้ก่อนใคร
ความสำเร็จที่สำคัญ
ฟิชเชอร์ ได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัท เท็กซัส อินสทรูเม้นต์ ในปี 1956 นานมากก่อนที่บริษัทนี้จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในปี1970 ราคาเมื่อเริ่มซื้อขายที่ 2.7 เหรียล และหลังจากนั้นราคาก็ขึ้นไปถึง 200 เหรียล เพิ่มขึ้น 7400% โดยที่ไม่เคยจ่ายปันผลเลย เขาได้รับผลตอบแทนที่สูงมากจากการลงทุนในบริษัทนี้
วิธีการ และแนวทางในการลงทุน Methods and guidelines
ให้ความสนใจในหุ้นบริษัทใหม่ที่มีการเติบโต (Young growth stock)
เพื่อให้ได้มาซึ่งความชัดเจน นักลงทุนควร
- อ่านข้อมูลทุกอย่างที่หาได้ ทั้งจากวารสาร รายงานของบริษัทหลักทรัพย์
- สนทนากับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่นผู้จัดการ พนักงาน โดยเฉพาะกับผู้ป้อนวัตถุดิบ ลูกค้า คู่แข่ง
- เยี่ยมชม สถานที่ทำงานในจุดต่างๆของบริษัทเช่นโรงงาน สาขา ถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรไปแค่สำนักงานใหญ่
- ก่อนที่จะซื้อหุ้นของบริษัทนั้นๆ จะต้องแน่ใจว่าสามารถตอบคำถามทั้ง15ข้อดังต่อไปนี้ได้

1.บริษัทนี้มีสินค้า หรือบริการที่มีศักยภาพทางการตลาด ที่สามารถทำยอดขายให้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในอีกหลายๆปีข้างหน้าได้หรือไม่?
2.ผู้ บริหารของบริษัทมีแนวทางในการพัฒนาสินค้าใหม่ หรือขบวนการใหม่ๆที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการขายสินค้า ในขณะที่สิ้นค้าชนิดเดิมก็ยังคงมีศักยภาพในการเติบโตที่สูง
3.การวิจัยและพัฒนาของบริษัทมีประสิทธิภาพมากแค่ไหนเมื่อเทียบกับขนาดของบริษัท?
4.บริษัทนี้มีหน่วยงานขายที่อยู่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่?
5.บริษัทนี้มีกำไรขั้นต้นสูงหรือไม่ ?
6.บริษัทมีกลยุทธ์อะไรในการรักษาหรือเพิ่มกำไรขั้นต้นให้สูงขึ้น?
7.บริษัทมีหน่วยงานแรงงานสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่?
8.ผู้บริหารภายในบริษัทมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันหรือไม่
9.การจัดการของบริษัทมีความซับซ้อนหรือไม่
10.บริษัทมีการวิเคราะห์และควบคุมต้นทุน และบัญชีดีแค่ไหน
11.บริษัทมีแนวทางในการสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันอย่างไร
12.บริษัทมีทัศนะทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อการทำกำไรของบริษัทอย่างไร?
13.ใน อนาคตที่ไม่สามารถคาดเดาได้นั้น หากบริษัทต้องการเงินทุนด้วนการระดมทุนเพิ่มเพิ่มเพื่อสร้างการเติบโตให้สูง ขึ้น การที่มีหุ้นเพิ่มสูงขึ้นจะกระทบผลประโยชน์ผู้ถือหุ้นมากน้อยอย่างไร?
14.ให้สังเกตว่า เมื่อยามที่กิจการไปได้ดีผู้บริหารของบริษัทยินดีที่จะพูดคุยอย่างตรงไปตรง มากับนักลงทุน แต่ในยามที่มีเหตูการเลวร้ายผู้บริหารจะหายตัวไปหรือไม่?
15.บริษัทมีผู้บริหารที่ซื่อสัตย์หรือไม่
ที่มา : Common Stocks and Uncommon Profits, P Fisher, 1958
- เขามีเหตุผลเพียงสามประการที่จะตัดสินใจขายหุ้นออก
- เกิดความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในการวิเคราะห์หุ้นที่ซื้อมาแล้ว
- บริษัทนั้นมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถผ่านหลักเกณฑ์ทั้ง15ข้างต้นได้เหมือนที่เคยเป็น
- สามารที่จะนำเงินลงทุนในบริษัทเดิมไปลงทุนในบริษัทอื่นที่สามารถสร้างผลตอบ แทนได้สูงกว่ามากๆ และก่อนจะตัดสินใจลงไปต้องแน่ใจว่ามีเหตุผลที่หนักแน่นพอ
ประโยคทอง Key sayings
“ผมไม่ต้องการการลงทุนที่ดีจำนวนมากๆ แต่ผมต้องการบริษัทที่ดีที่สุดจำนวนไม่มากนัก”
“I don’t want a lot of good investments; I want a few outstanding ones.”
“รางวัล อันยิ่งใหญ่จากการลงทุน นั้นมาจากบุคคลที่โชค หรือมีความรู้สึกพิเศษในการเลือกลงทุนในบริษัทที่สามารถสร้างการเติบโตของ ยอดขายและกำไรได้อย่างยาวนาน และเหนือกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมทั้งหมด”
“The greatest investment reward comes to those who by good luck or good sense find the occasional company that over the years can grow in sales and profits far more than industry as a whole.”
“The business ‘grapevine’ is a remarkable thing. It is amazing what an accurate picture of the relative points of strength and weakness of each company in an industry can be obtained from a representative cross-section of the opinions of those who in one way or another are concerned with any particular company.”
“ถ้าหากการวิเคราะห์บริษัทได้ทำลงไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์แล้ว เวลาที่จะขายหุ้นนั้นคือ ไม่มีระยะเวลา”
“If the job has been correctly done when a common stock is purchased, the time to sell it is – almost never.”


โดย: นายแว่นธรรมดา วันที่: 12 ตุลาคม 2555 เวลา:12:33:29 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นายแว่นธรรมดา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 110 คน [?]




ยินดีต้อนรับสู่บล็อกนายแว่นธรรมดา บล็อกที่รวมเอาความคิด ความฝัน ความรู้สึกของนายแว่นธรรมดา เพื่อปะติดปะต่อภาพแห่งความรู้สึกในใจของเราให้เสร็จสมบูรณ์ (ขอสงวนการนำข้อมูลในบล็อกไปใช้ครับ)
Free counters!
New Comments
[Add นายแว่นธรรมดา's blog to your web]