มองภาพแห่งความสำเร็จที่ชัดเจน เดินแต่ละก้าวอย่างมีสติ ด้วยใจที่สงบ
<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
3 ตุลาคม 2555

"กระตุ้นตัวเองด้วยการบริหารความเสี่ยง"

การลงทุนในตลาดหุ้นย่อมต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงเป็นธรรมดา ความเสี่ยงในระดับหนึ่งอาจเป็นเรื่องที่ "น่าสนุก" นั่นคือความเสี่ยงในระดับที่นักลงทุนสามารถบริหารจัดการไ้ด้ แต่ความเสี่ยงที่เกิดจากความกล้าอย่างบ้าบิ่นอาจเป็นความเสี่ยงที่อยู่เหนือความควบคุมของนักลงทุนผู้รอบคอบ

นักลงทุนหลายท่านมีวิธีการบริหารความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป สำหรับนักลงทุนแนวเน้นคุณค่าจะบริหารความเสี่ยงจากการวิเคราะห์พื้นฐานของหุ้นมาเป็นอย่างดี และจังหวะในการลงทุนที่ถูกจังหวะ เมื่อได้หุ้นดีราคาเหมาะสมแล้วก็จะถือยาวจนหุ้นสามารถสะท้อนมูลค่าของมันอย่างเต็มที่ครับ

สำหรับการลงทุนไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาวหาเข้าถือหุ้นผิดจังหวะอาจทำให้เราเจ็บตัวได้ง่ายๆ ครับ ผมขอยกตัวอย่างจังหวะในการเข้าถือหุ้นของบริษัทที่ผลิตสินค้าชนิดหนึ่งเป็นกรณีตัวอย่างดังนี้ครับ

บริษัท B ได้สั่งซื้อเครื่องจักรมาผลิตสินค้าตัวใหม่ที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงกว่า 30% เนื่องจากบริษัท B เป็นบริษัทมหาชน (อยู่ในตลาดหลักทรัพย์) จึงได้ประกาศข่าวการซื้อเครื่องจักรตัวใหม่ และประกาศถึงประสิทธิภาพของเครื่องจักรตัวนี้ว่าสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้กว่า 30% ต้นทุนที่ลดลงก็จะหมายถึง “กำไร” ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

พอข่าวนี้ถูกประกาศออกไปนักลงทุนก็เกิดความ “คาดหวัง” และแห่เข้าซื้อหุ้น นักลงทุนกลุ่มอื่นๆ เห็นวอลุ่มที่เข้ามาอย่างมากมายก็แห่ซื้อตาม เกิดเป็น “ความคาดหวังเฟ้อ” ทำให้ราคาหุ้นถีบตัวขึ้นมากภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์

กลับมาดูที่โรงงานการสั่งซื้อเครื่องจักรตัวใหม่เพิ่งเริ่มต้น ระยะเวลาในการนำเข้าเครื่องจักร ติดตั้งในโรงงานจะต้องใช้เวลาอีกกว่า 6 เดือน และหลังจากติดตั้งเสร็จแล้วก็ต้องใช้เวลาในการคืนทุน (Break Event Point) อีกกว่า 3 ปี

แต่ทว่าในตลาดหุ้นได้เกิดความคาดหวังเฟ้อขึ้นมาแล้ว ราคายังพุ่งไปเรื่อยๆ จนถึงจุดๆ หนึ่ง นักลงทุนที่คาดหวังว่าผลกำไรจะต้องเพิ่มขึ้นแต่เอาเข้าจริงๆ กลับติดลบด้วยซ้ำเนื่องจากการลงทุนเครื่องจักรตัวใหม่ ยังไม่ถึงเวลาคืนทุน คราวนี้นักลงทุนที่ผิดหวังก็จะแห่เทขายหุ้นอย่างบ้าคลั่ง ทำให้ราคาตกอย่างรวดเร็ว บางเวลาราคาก็ตกเกินกว่าราคาพื้นฐานของบริษัท B เสียอีก

มองเห็นอะไรกันมั้ยครับจากกรณีตัวอย่างนี้... นักลงทุนที่ชาญฉลาดจะเข้าถือหุ้นในช่วงเวลาไหนจึงจะดีที่สุด สำหรับผมแล้วจังหวะที่ดีที่สุดคือจังหวะที่ทุกคนกำลัง “ผิดหวัง” และเทขายกันอย่างบ้าคลั่ง พอหลายๆ คนเทขายคนที่ถือๆ อยู่ก็เกิดความกลัวเทขายตามไปด้วย ราคาที่ตกเกินความเป็นจริงมันช่างเย้ายวนนักลงทุนที่จับจังหวะเป็นเสียจริงๆ พอเก็บหุ้นราคาถูกมาได้แล้ว ก็แค่รอให้ถึงจุดคุ้มทุน ราคาก็จะขยับขึ้นอีกครั้งเพราะกำไรที่เพิ่มขึ้นจากเครื่องจักรตัวใหม่นั่นเองครับ...

สำหรับหุ้นขาขึ้นแบบนี้ต้องบริหารจัดการความเสี่ยงกันให้ดี และรอบคอบที่สุดนะครับ...

(นายแว่นธรรมดา)

แวะทักทายกันได้ที่นี่ครับ www.naiwaen.com



E-Magazine By นายแว่นธรรมดา...

ดาวน์โหลดฟรีได้ที่นี่ครับ... //www.naiwaen.com/?p=917

แวะทักทายนายแว่นธรรมดาได้ที่นี่ครับผม... FaceBook

//www.facebook.com/NaiwaenTammada

ตกแต่งบ้าน และสวนสวย Home Decor Garden

//homebuyerguides.blogspot.com/2011/09/mdf-index.html






Create Date : 03 ตุลาคม 2555
Last Update : 3 ตุลาคม 2555 13:55:59 น. 2 comments
Counter : 1846 Pageviews.  

 
:D


โดย: good IP: 202.28.7.193 วันที่: 9 ตุลาคม 2555 เวลา:17:19:24 น.  

 
ความหมายของตลาดมีประสิทธิภาพ ตลาดที่มีประสิทธิภาพ (efficient market) หมายถึง ตลาดที่ราคาของหลักทรัพย์ทั้งหลาย สะท้อนข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้นอย่างรวดเร็วและทั่วถึง แนวคิดนี้มีรากฐานความเชื่อว่า ผู้ลงทุนซึมซับข่าวสารข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดอยู่ในรูปของราคาหลักทรัพย์ที่ทำให้มีการตัดสินใจซื้อหรือขาย ดังนั้น ราคาในปัจจุบันของหลักทรัพย์ จะสะท้อนถึงข่าวสารข้อมูลที่เป็นที่รู้แล้วทั้งหมด โดยไม่เพียงแต่เป็นข้อมูลในอดีต (เช่น กำไรในไตรมาสที่ผ่านมา) แต่จะรวมถึงข้อมูลในปัจจุบันและข่าวที่ประกาศไปแล้วแต่เหตุการณ์นั้นยังไม่เกิดขึ้นจริงเกิดขึ้น (เช่น แผนการรวมกิจการ) นอกจากนั้น ข่าวสารข้อมูลที่อนุมานขึ้นก็เป็นข้อมูลที่สะท้อนอยู่ในราคา ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ลงทุนโดยทั่วไปเชื่อว่า อัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้นในเร็ว ๆ นี้ ราคาหลักทรัพย์จะสะท้อนถึงความเชื่อนี้ก่อนที่อัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้นจริง

ข้อสมมติฐานของแนวคิดตลาดมีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพของตลาดจะเกิดขึ้นได้ ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้ (จิรัตน์ สังข์แก้ว, 2540, หน้า 261)
1. ในตลาดมีผู้ลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยเป็นผู้ลงทุนที่มีเหตุมีผลและต้องการทำกำไรสูงสุด ณ ระดับความเสี่ยงหนึ่ง ผู้ลงทุนเหล่านี้เข้าร่วมในตลาดโดยการวิเคราะห์ ประเมินและซื้อขายหุ้น ทั้งนี้การตัดสินใจของผู้ลงทุนเพียงรายเดียวไม่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาได้
2.ไม่มีต้นทุนในการได้มาซึ่งข่าวสารข้อมูล และผู้ลงทุนแต่ละรายได้รับข่าวสารข้อมูลในเวลาไล่เลี่ยกัน
3. ข่าวสารข้อมูลเกิดขึ้นในเชิงสุ่มและข้อมูลแต่ละชิ้นไม่ขึ้นต่อกัน
4. ผู้ลงทุนสนองตอบต่อข่าวสารข้อมูลใหม่อย่างรวดเร็วและเต็มที่ เป็นเหตุให้ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงตามข่าวสารข้อมูลอย่างรวดเร็ว

แนวคิดตลาดมีประสิทธิภาพมิได้ต้องการการสะท้อนของข้อมูลข่าวสารอย่างสมบูรณ์ แต่แนวคิดนี้ระบุว่า การปรับตัวในราคาหลักทรัพย์อันเป็นผลมาจากข่าวสารข้อมูล เป็นการปรับตัวที่ไม่มีอคติหรือไม่เอนเอียง (unbias) ซึ่งหมายความว่า ค่าที่คาดไว้ของความผิดพลาดในการปรับตัวเท่ากับศูนย์ กล่าวคือ บางครั้งอาจปรับตัวมากไป บางครั้งน้อยไป แต่โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ในภาวะสมดุลและถูกต้อง ราคาที่เกิดขึ้นใหม่ไม่จำเป็นต้องเป็นราคาดุลยภาพ แต่เฉพาะการประมาณการอย่างไม่เอนเอียงของราคาดุลยภาพสุดท้าย จะถูกสร้างขึ้นหลังจากที่ผู้ลงทุนได้รับข่าวสารข้อมูลอย่างเต็มรูปแบบ

จากภาพ แรก แสดงภาพรวมของกลไกการปรับตัวของราคาหลักทรัพย์ ในตลาดที่มีประสิทธิภาพนั้น ข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในเชิงสุ่มและไม่ขึ้นต่อกัน จะแพร่ไปสู่ผู้ลงทุนต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ผู้ลงทุนจะใช้ข่าวสารข้อมูลนี้ตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในดีมานด์หรือซัพพลายอย่างรวดเร็ว ผลคือ ราคาหลักทรัพย์จะเปลี่ยนแปลงไปตามข่าวสารข้อมูลอย่างรวดเร็วและในเชิงสุ่ม

อย่างไรก็ตามการแพร่กระจายของข่าวสารข้อมูลในแต่ละตลาดอาจมีความรวดเร็วไม่ทัดเทียมกัน เป็นผลให้ความเร็วในการปรับตัวของราคาไม่ทัดเทียมกันด้วย ดังแสดงใน ภาพ 6 แสดงถึงแนวคิดความมีประสิทธิภาพของตลาดสำหรับบริษัทหนึ่ง ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น โดยส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัท โดยก่อนหน้านั้นราคาหุ้นของบริษัทซื้อขายอยู่ที่ 100 บาท วันที่ 0 คือ วันเกิดข่าวของเหตุการณ์สำคัญ ถ้าตลาดมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ราคาหุ้นจะสะท้อนถึงข่าวสารข้อมูลที่มีอยู่เสมอ ผู้ลงทุนจะปรับราคาหุ้นอย่างรวดเร็วให้เข้าหาราคาที่ถูกต้อง (fair value) สมมติว่า ราคาที่ถูกต้องใหม่เท่ากับ 110 บาท ในตลาดที่มีประสิทธิภาพนั้น ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นเป็น 110 บาท อย่างทันทีจะเกิดขึ้น ดังแสดงด้วยเส้นทึบ ดังแสดงในภาพ สอง และถ้าไม่มีข่าวสารข้อมูลอื่นเกิดขึ้น ราคาหุ้นจะยังคงอยู่ที่ 110 บาท แต่ถ้ากระบวนการปรับตัวของตลาดไม่มีประสิทธิภาพ ความล่า (lag) ของการปรับตัวของราคาหุ้นต่อข้อมูลใหม่จะเกิดขึ้น ดังแสดงในภาพ 6 โดยในที่สุดราคาหุ้นจะไปสู่ราคาที่ถูกต้องที่ 110 บาท เมื่อข่าวสารข้อมูลแพร่กระจายไปทั่ว


โดย: นายแว่นธรรมดา วันที่: 13 ตุลาคม 2555 เวลา:11:15:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นายแว่นธรรมดา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 110 คน [?]




ยินดีต้อนรับสู่บล็อกนายแว่นธรรมดา บล็อกที่รวมเอาความคิด ความฝัน ความรู้สึกของนายแว่นธรรมดา เพื่อปะติดปะต่อภาพแห่งความรู้สึกในใจของเราให้เสร็จสมบูรณ์ (ขอสงวนการนำข้อมูลในบล็อกไปใช้ครับ)
Free counters!
New Comments
[Add นายแว่นธรรมดา's blog to your web]