มองภาพแห่งความสำเร็จที่ชัดเจน เดินแต่ละก้าวอย่างมีสติ ด้วยใจที่สงบ
<<
เมษายน 2555
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
10 เมษายน 2555

การตัดสินใจมูลค่า 50,000 ล้านเหรียญ ของวอร์เรน บัฟเฟตต์

โดย Club VI.COM
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆที่โพสให้ความรู้นะครับ
Posted on เมษายน 3, 2012

บทความของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ชิ้นนี้ ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Forbes Life ฉบับเดือนเมษายน เป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ “เมื่อฉันอายุ 25” ผมเห็นว่าน่าสนใจ อ่านแล้วรู้สึกอบอุ่นบอกไม่ถูก จึงเอามาแปลเป็นไทยไว้ ณ ที่นี้ครับ

วอร์เรน บัฟเฟตต์ เขียน / ชัชวนันท์ สันธิเดช แปล

เบนจามิน เกรแฮม เป็นไอดอลของผมมาตั้งแต่ผมอ่านหนังสือเล่มแรกของเขาคือ “The Intelligent Investor” ผมอยากเรียนที่คณะบริหารธุรกิจ ม.โคลัมเบีย ก็เพราะเขาเป็นอาจารย์อยู่ที่นั่น และหลังจากจบจากโคลัมเบีย กลับมาที่โอมาฮา และเริ่มงานค้าหลักทรัพย์ ผมก็ไม่เคยลืมเขาเลย

ระหว่างปี 1951 ถึง 1954 ผมยังคงกวนใจเกรแฮมอยู่ตลอด โดยส่งไอเดียการลงทุนดีๆ ไปให้เขาอยู่เรื่อยๆ จนเกรแฮมส่งจดหมายกลับมาหาผม บอกว่า “ครั้งต่อไปที่คุณมานิวยอร์ก มาหาผมหน่อยนะ”

ดังนั้น ผมจึงไปหาเขา และเขาก็เสนองานที่ เกรแฮม-นิวแมน คอร์ป ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนที่เขาบริหารร่วมกับเจอร์รี่ นิวแมน ให้ผมทำ ตอนนั้น ทุกคนต่างบอกว่า เอ ดับเบิ้ลยู โจนส์ เป็นผู้สร้างอุตสาหกรรมเฮดจ์ฟันด์ขึ้นมา แต่ที่จริงแล้ว ห้างหุ้นส่วน เกรแฮม-นิวแมน ก่อตั้งขึ้นมาก่อนเสียอีก

จากนั้น ผมจึงย้ายไปอยู่นิวยอร์กพร้อมกับซูซี่ ภรรยาของผมและลูกสาว โดยขึ้นรถไฟไปทำงานที่ย่าน แกรนด์ เซ็นทรัล ของนิวยอร์กทุกๆ เช้า

หลังจากทำงานในตำแหน่งที่ว่าได้ไม่นานเท่าไร ในปีต่อมา ขณะที่ผมอายุได้ 25 ปี “คุณเกรแฮม” ซึ่งเป็นชื่อที่ผมเรียกเขาในตอนนั้น ได้ยื่นข้อเสนอที่ทำให้ผมแทบจะร้องออกมาด้วยความตกใจ

เขาบอกผมว่าเขากำลังจะเกษียณตัวเอง และได้เสนอให้ผมรับตำแหน่งแทนเขา โดยมีลูกชายของเจอร์รี่ ชื่อ มิคกีย์ เป็นซีเนียร์พาร์ทเนอร์คนใหม่ กองทุนนั้นเป็นกองทุนขนาดเล็ก มีสินทรัพย์ราวๆ 6-7 ล้านเหรียญ แต่เป็นกองทุนที่มีชื่อเสียงมากเลยทีเดียว

แต่แล้ว ผมกลับต้องตัดสินใจในสิ่งที่บีบคั้นหัวใจอย่างยิ่ง กล่าวคือ ผมเพิ่งได้รับโอกาสที่จะก้าวขึ้นไปแทนที่วีรบุรุษของตัวเอง ซึ่งผมถึงขนาดเอาชื่อเขามาตั้งเป็นชื่อลูกชายคนแรก คือ “โฮเวิร์ด เกรแฮม บัฟเฟตต์” (โฮเวิร์ดคือชื่อพ่อของผม) อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังอยากกลับมาอยู่ที่โอมาฮา

ตอนนั้น ผมทำงานอยู่ได้สักเดือนหนึ่ง ทุกๆ เช้าก็คิดอยู่ในใจว่าจะบอกคุณเกรแฮมว่าผมจะลาออกแล้วนะ แต่มันช่างเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเหลือเกิน

ประเด็นก็คือ ตอนที่ผมออกจากมหาวิทยาลัย ผมมีเงินแค่ 9,800 เหรียญ แต่พอถึงปลายปี 1955 ผมมีเงินเพิ่มขึ้นเป็น 127,000 เหรียญ ผมคิดในใจว่า เราจะกลับไปโอมาฮา เข้าคอร์สเรียนอีกสักหน่อย อ่านเยอะๆ และจะเกษียณตัวเอง

ผมคำนวณว่าตัวเองจะอยู่ได้ โดยมีรายได้ราวๆ 12,000 เหรียญต่อปี ผมบอกภรรยาว่า “ผลตอบแทนทบต้นรับประกันได้เลยว่าฉันจะรวยแน่นอน”

ภรรยาและลูกๆ ของผมกลับไปอยู่ที่โอมาฮาก่อนล่วงหน้าแล้ว จากนั้น ผมจึงตามไป โดยขึ้นไปนั่งหลังพวงมาลัย และขับรถมุ่งหน้าไปทางตะวันตก ระหว่างทางได้แวะเยี่ยมชมบริษัทที่ผมสนใจจะลงทุน มันคือการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะของกิจการ (Due Diligence) ดีๆ นี่เอง

ผมแวะที่ ฮาเซิลตัน เพนซิลเวเนีย เพื่อไปที่บริษัทเหมืองถ่านหิน Jeddo-Highland แวะที่บริษัท Kalamazoo Stove& Furnace ในมิชิแกน ซึ่งอยู่ระหว่างการชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการ ผมไปดูว่าอาคารของบริษัทเป็นอย่างไร ทำไมมันถึงถูกขายทิ้ง

ผมไปที่ เดลาแวร์ โอไฮโอ เพื่อไปที่ Grief Bros. Cooperage (จะมีใครรู้เรื่องของการทำภาชนะไม้ดีเท่าบริษัทนี้อีก) ผมได้พบกับประธานบริษัทหลายคน ทั้งๆ ที่ไม่ได้นัดไว้ล่วงหน้า เพียงแวะเข้าไปและขอเข้าพบ สิ่งหนึ่งที่ผมพบก็คือ ทุกคนต่างก็ยินดีที่จะคุยกับผม คนเหล่านั้นช่วยผมได้มากทีเดียว

ที่โอมาฮา ผมเช่าบ้านเลขที่ 5202 เขตอันเดอร์วูด ด้วยราคา 175 เหรียญต่อเดือน ผมบอกภรรยาว่า “ฉันอยากซื้อบ้านนะ แต่ถ้าซื้อตอนนี้ ฉันคงเหมือนช่างไม้ที่เอากล่องเครื่องมือของตัวเองไปขาย” ความหมายก็คือผมไม่อยากใช้เงินทุนที่มีจนหมด

ตอนนั้นผมไม่ได้มีความคิดเลยว่าจะตั้งห้างหุ้นส่วน ไม่ได้คิดจะหางานทำเสียด้วยซ้ำ ผมไม่มีอะไรต้องกังวล เพราะมีเงินพอที่ลงทุนได้ด้วยตัวเองแบบสบายๆ

แต่ด้วยความบังเอิญแท้ๆ อยู่ๆ ก็มีคนเจ็ดคน ซึ่งในจำนวนนั้นมีญาติของผมรวมอยู่ด้วย มาบอกผมว่า “เธอเคยขายหุ้นมาก่อน ช่วยบอกพวกเราหน่อยสิว่าจะเอาเงินไปทำอะไรดี” ผมจึงตอบว่า “ผมจะไม่ทำงานค้าหุ้นอีกแล้วนะ แต่จะตั้งห้างหุ้นส่วนเหมือนที่เบนกับเจอร์รี่เคยทำ และถ้าพวกคุณสนใจก็เอาเงินมาลงได้”

เพียงแค่นั้น พ่อตาของผม เพื่อนร่วมห้องของผมสมัยเรียนมหาวิทยาลัยพร้อมด้วยแม่ของเขา ป้าอลิซของผม พี่สาวของผม พี่เขยของผม และทนายของผมต่างเข้ามาร่วมวงด้วย นอกจากนี้ ผมยังเอาเงินของตัวเองหลายร้อยเหรียญมาลงในกองทุนนี้

นั่นคือจุดเริ่มต้น เป็นการเริ่มต้นด้วยความบังเอิญแท้ๆ

ตอนที่ผมตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น ผมและบรรดาผู้เป็นหุ้นส่วนได้นัดรับประทานอาหารเย็นกัน รวมตัวผมด้วยก็เป็นเจ็ดคนพอดี ผมค่อนข้างแน่ใจ 99 เปอร์เซ็นต์ ว่าเราทานอาหารกันที่โอมาฮาคลับ

ผมซื้อสมุดบัญชีแยกประเภทมาด้วยเงิน 49 เซ็นต์ ส่วนพวกเขาต่างก็เอาสมุดเช็คมา ก่อนจะรับเงิน ผมได้แจกกระดาษให้กับทุกคนคนละครึ่งแผ่น ซึ่งตัวผมเองมีสำเนาเป็นกระดาษคาร์บอนอยู่แล้ว โดยที่อยู่ในนั้นคือสิ่งที่ผมเรียกว่า “กฎพื้นฐาน”

ผมบอกว่า “เอกสารกฎหมายของห้างหุ้นส่วนทั่วไปมักมีความยาว 2-4 หน้า แต่สำหรับกองทุนของเรา พวกคุณไม่ต้องห่วงเรื่องพวกนั้น ผมจะบอกให้ว่าในกระดาษนั้นมีอะไรบ้าง และทุกอย่างก็จะเป็นไปตามนั้น ไม่มีอะไรต้องตกใจทีหลังแน่นอน”

ผมบอกต่อไปว่า “กฎพื้นฐานนี้ถือเป็นปรัชญานะ ถ้าคุณเห็นด้วยกับผม ก็มาลงทุนด้วยกัน แต่ถ้าคุณไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไร ผมเข้าใจนะ ผมจะไม่บอกพวกคุณว่าเรามีหุ้นนั้นหุ้นนี้อยู่ ผมอยากจะได้ช่อดอกไม้ในเวลาที่ผมสมควรที่จะได้รับมัน ผมพร้อมจะให้คุณขว้างของใส่ผมก็ได้ ถ้ามันสมควรแล้วที่ผมจะโดนเช่นนั้น แต่อย่าขว้างอะไรมา ถ้าผมทำผลตอบแทนได้ติดลบ 5 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ตลาดติดลบ 15 เปอร์เซ็นต์ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น ผมว่าผมควรจะได้รับช่อดอกไม้มากกว่า”

พวกเราตกลงทุกอย่างกันแบบเคลียร์ๆ และพวกเขาก็เซ็นเช็คให้ผม

ผมไม่ได้ทำหนังสือชี้ชวนอะไรเลย แต่ก็ยังมีเช็คหลั่งไหลกันเข้ามาเรื่อยๆ จากคนที่ผมไม่รู้จัก ย้อนกลับไปในนิวยอร์ก ห้างหุ้นส่วน เกรแฮม-นิวแมน กำลังอยู่ในกระบวนการชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการ โฮเมอร์ ด็อดจ์ อธิการบดีของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเวอร์มองต์ที่ลงทุนกับเกรแฮมมาตลอดได้ถามเขาว่า “เบน แล้วตอนนี้ผมจะเอาเงินไปทำอะไรดี” เบนบอกว่า “มีไอ้เด็กคนหนึ่ง เคยทำงานกับผม ….”

ด็อดจ์จึงขับรถมาที่โอมาฮา มาที่บ้านที่ผมเช่าอยู่ ผมอายุ 25 หน้าตาเหมือน 17 นิสัยเหมือนเด็กอายุ 12 เขาถามผมว่า “เธอทำงานอะไร” ผมตอบว่า ..

“นี่แหล่ะ คือสิ่งที่ผมทำเลี้ยงครอบครัวของผม และผมจะทำในสิ่งเดียวกันนี้ให้กับคุณ”!!

แม้ผมจะไม่เคยตระหนักมาก่อน แต่ต้องถือว่าอายุ 25 เป็นจุดผกผันในชีวิต ผมได้เปลี่ยนชีวิตของตัวเองไปตลอดกาล ได้จัดตั้งสิ่งที่ต่อมาได้กลายเป็นห้างหุ้นส่วนขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า เบิร์คไชร์ ฮาแธเวย์ ตอนนั้นผมไม่กลัวอะไรเลย

เพราะผมกำลังทำในสิ่งที่รัก และยังคงทำมันอยู่จนถึงทุกวันนี้

วอร์เรน บัฟเฟตต์

อ่านเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษได้ที่ //www.forbes.com/sites/randalllane/2012/03/26/warren-buffetts-50-billion-decision/

จากคุณ : Wild Rabbit




 

Create Date : 10 เมษายน 2555
1 comments
Last Update : 10 เมษายน 2555 16:28:35 น.
Counter : 4828 Pageviews.

 

1. กองทนเป ุ ด (Open-End Fund) กองทนรวมท ุ ไม่ี ม กีาหนดอาย ํ กองท ุ นุ สามารถเพมและลดหน ่ิ วยลงท  นได ุ 
โดยบรษิ ทจั ดการร ั บซั อค้ื นหน ื วยลงท  นตามก ุ าหนดเวลาท ํ ระบ ่ี ไวุ ในหน  งสั อชื ชวน ้ี กองทนเป ุ ดถ อวื าม สภาพคล ี องส  งทู าให ํ เป นท น่ียมิ
มากกวากองท  นปุ ด
2. กองทนปุ ด (Closed-End Fund) กองทนรวมท ุ ม่ี หนี วยลงท  นคงท ุ ่ีไมเพ มและไม ่ิ ลดลง  และเปดให  มการจอง ี
ซอเพ ้ื ยงคร ี งเด้ั ยวเม ี อจ่ื ดตั งโครงการ ้ั มอาย ี โครงการแน ุ นอน  บรษิ ทจั ดการจะไม ั ร บซั อค้ื นหน ื วยลงท  นกุ อนครบก  าหนดอาย ํ โครงการ ุ
และนกลงท ั นไม ุ สามารถขายค  นหน ื วยลงท  นได ุ จนกว  าจะครบก  าหนดอาย ํ โครงการเช ุ นก นั แตเพ อท่ื จะเพ ่ี มสภาพคล ่ิ องให  แก ผ ถูอื
หนวยลงท  นุ บรษิ ทจั ดการอาจน ั าหน ํ วยลงท  นของกองท ุ นปุ ดไปขายในตลาดรอง  (ตลาดหลกทร ั พยั แห งประเทศไทย  ) หรอจื ดให ั ม ตีวั
แทนจดการซ ั อขาย ้ื (Market Maker) กองทนปุ ดนผ้ีจู ดการกองท ั นจะสามารถน ุ าเง ํ นในกองท ิ นไปลงท ุ นได ุ เต มท็ ไม่ี ต องก  นไว ั สารอง ํ
ใหนักลงทุนท่ีขายคืนเหมือนกองทุนเปด

 

โดย: นายแว่นธรรมดา 13 ตุลาคม 2555 13:17:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


นายแว่นธรรมดา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 110 คน [?]




ยินดีต้อนรับสู่บล็อกนายแว่นธรรมดา บล็อกที่รวมเอาความคิด ความฝัน ความรู้สึกของนายแว่นธรรมดา เพื่อปะติดปะต่อภาพแห่งความรู้สึกในใจของเราให้เสร็จสมบูรณ์ (ขอสงวนการนำข้อมูลในบล็อกไปใช้ครับ)
Free counters!
New Comments
[Add นายแว่นธรรมดา's blog to your web]