มองภาพแห่งความสำเร็จที่ชัดเจน เดินแต่ละก้าวอย่างมีสติ ด้วยใจที่สงบ
<<
ตุลาคม 2555
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
21 ตุลาคม 2555

Step ที่ 2 "จงสนุกกับทุกสิ่ง"

... หากเรารู้สึก "สนุก" กับสิ่งที่ทำไม่ว่ามันจะเป็นอะไร เท่ากับเราก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว ...


ก่อนที่ผมจะสามารถรู้สึกสนุกกับทุกสิ่งในชีวิตได้มันไม่ง่ายเลยครับ เพราะหลายสิ่งในชีวิตผมก็ไม่อยากทำ ถ้าเป็นคนทั่วๆ ไปก็อย่างเช่น "งานประจำ" ... แน่นอนที่สุดว่ามันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะน่าเบื่อสำหรับใครหลายคน...

ผมเองก็เคยคิดเช่นนั้นครับ คิดว่า... งานประจำนั้นน่าเบื่อ หรือถ้ายังเป็นนักเรียนอยู่ ก็พาลคิดไปว่า... การเรียนนั้นน่าเบื่อหน่ายจริงๆ...

แต่ถ้าเราคิดแบบนั้นแล้วชีวิตของเราดีขึ้นหรือเปล่า ผมเข้าใจว่านอกจากชีวิตของเราจะไม่ดีขึ้นแล้ว มันให้ผลลัพท์ตรงกันข้ามเสียด้วยซ้ำครับ...

ผมเลยลองเปลี่ยนแนวคิดใหม่ "สนุกกับสิ่งที่ทำอยู่ตรงหน้า" ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตามหากเราสนุกกับมันได้ แน่นอนที่สุดว่าเราจะทำมันได้ดีกว่าที่เรารู้สึกเบื่อหน่ายกับมัน...

พอผมเปลี่ยนความคิด ชีวิตของผมก็เปลี่ยนทันที... นั่นคือที่มาของ step ที่ 2 ครับ...

"จงสนุกกับทุกสิ่ง"

ลองดูครับ ผมเชื่อว่าถ้าเราสนุกกับทุกสิ่งที่เราทำได้ ชีวิตของเราย่อมดีขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัยอะไรเลยครับ...

:D



E-Magazine By นายแว่นธรรมดา...

ดาวน์โหลดฟรีได้ที่นี่ครับ... //www.naiwaen.com/?p=917

แวะทักทายนายแว่นธรรมดาได้ที่นี่ครับผม... FaceBook

//www.facebook.com/NaiwaenTammada

ตกแต่งบ้าน และสวนสวย Home Decor Garden

//homebuyerguides.blogspot.com/2011/09/mdf-index.html


Top of Living //www.topofliving.com/





 

Create Date : 21 ตุลาคม 2555
1 comments
Last Update : 21 ตุลาคม 2555 15:07:43 น.
Counter : 2867 Pageviews.

 

มีคนบอกว่าขั้นสูงสุดของอริยเจ้าคือธรรมในส่วนนี้ ส่วนอีกนักภาวนาก้อว่าคือธรรมระดับพระโสดาบัน จากแหล่งที่มาได้มีการแกะเสียงธรรมพระอาจารย์มา

004-2547-03-05- วันมาฆบูชา-สิ่งที่คิดไม่ใช่จิต สิ่งที่ไม่คิดนั่นแหละจิต
นาที 41

"...แต่ความหลงของจิตนี้ยังมีอยู่
ถึงแม้ว่าจิตจะว่างจากความยึดมั่นถือมั่นในวัตถุธาตุทั้งหลาย
ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายตน ร่างกายบุคคลอื่นก็ตาม

แต่จิตนั้นก็ยังไม่ว่างจากกิเลสส่วนละเอียด
เพราะยังมีเวทนาของจิต สัญญาของจิต ซึ่งจิตยึดมั่นถือมั่นอยู่
หรือสังขาร หรือวิญญาณของจิต ซึ่งจิตนั้นยังหลงยึดมั่นถือมั่น ในความสุขความทุกข์
ของจิตส่วนละเอียด ซึ่งโดยมากเป็นความสุขของจิต
โดยความจำได้หมายรู้ต่างๆ จิตก็คิด ยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตนอยู่ส่วนละเอียด
ความนึกคิดปรุงแต่งก็เหมือนกัน ก็คิดว่าเป็นเรา
แม้นความรับรู้ต่างๆ ก็คิดว่าเป็นเรา คือวิญญาณตามสมมุติ
จิตก็ยังหลงอยู่ในปัจจุบันธรรม คิดในปัจจุบันธรรมว่าเป็นตัวจิต
ถึงแม้ปล่อยอารมณ์ซึ่งเป็นอดีต ปล่อยอารมณ์ที่เป็นอนาคต
มีสติตั้งมั่นอยู่ในปัจจุบันธรรมก็แล้วแต่
จิตก็ยังยึด ตัวจิตนั้น ว่าเป็นตัวตน
จึงมีกิเลส ส่วนละเอียดอยู่ภายในใจ เพราะจิตยังไม่ว่างจากกิเลส
เมื่อจิตอยู่ในความสงบ ของการละอุปทานความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของตน
จิตจะมีความสุขซึ่งเยือกเย็น และก็ไม่ค่อยจะเห็นกิเลสส่วนละเอียด
เมื่อสติปัญญาละเอียดขึ้นเท่านั้น จึงจะเห็น ความฟุ้งซ่านในอารมณ์ที่เป็นกุศล
ว่ายึดถือในอารมณ์ ว่าความคิดเห็นเราดีกว่าเค้า เลวกว่าเค้า เราเสมอเค้า

กิเลสส่วนละเอียดนี้ยังมีอยู่ภายในจิตใจ
เมื่อสติปัญญาละเอียดขึ้นก็จะเห็นอาการต่างๆ เหล่านั้น
เมื่อเห็นอาการต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งเป็นบริวารของกิเลสส่วนละเอียดก็ตาม
สติปัญญาก็เข้าไปพิจารณา ให้เห็นอนิจจัง อนัตตา ความเกิดขึ้นและดับไป
แต่ก็ยังไม่ใช่กิเลสตัวจริง หรือเป็นหัวหน้าของกิเลส ก็เป็นเพียงอาการอันหนึ่งเท่านั้น

ครูบาอาจารย์จึงให้ย้อนกลับมาพิจารณา ในเวทนาของจิต คือความสุขส่วนละเอียด
หรือความจำ ซึ่งจิตของเรานั้นคิดว่า ความจำได้หมายรู้นั้นเป็นใจของเรา
หรือความรู้สึกปรุงแต่งต่างๆ จิตก็ยึดถือว่าเป็นใจของเรา
การรับรู้ต่างๆ ก็คิดว่าเป็นใจของเรา

ครูบาอาจารย์ หรือพระพุทธองค์ หรือครูบาอาจารย์ทั้งหลาย
จึงให้ย้อนมาพิจารณา อาการต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งเกิดขึ้นภายในจิต ให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เห็นความไม่เที่ยง ความไม่ใช่ตัวตน ของสภาวะธรรมทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งเกิดขึ้นแล้วมีความดับไป
แม้พิจารณาจนเห็นชัดเข้าไปภายในใจของเราก็ตาม
ค่อยๆ ปล่อยวาง ความยึดมั่นถือมั่น ในเวทนาของจิต ในความจำได้หมายรู้ของจิต
ในสังขารความนึกคิดปรุงแต่งก็ตาม ในการรับรู้ก็ตาม

สุดท้ายแล้วก็คิดว่า ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เป็นใจที่บริสุทธิ์
ท่านยังบอกว่าให้พิจารณาอีกว่า ให้ดูว่าอะไรอยู่หลังผู้รู้
อย่ายึดว่าตรงนั้นเป็นตัวจิตที่บริสุทธิ์

สิ่งที่เราคิดว่าเป็นจิตนั้น ไม่ใช่จิต
สิ่งที่ไม่ได้คิดนั้นถึงเป็นจิต

ให้ใช้สติปัญญาพิจารณา ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงออกไปจากใจ
เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้น ไม่มีทุกข์เป็นไม่มี
เพราะฉะนั้นสติปัญญาต้องพิจารณาส่วนละเอียดเข้าไป ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่าง

ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านพิจารณา จนละ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ออกไปจากจิต
ไม่ให้มีอะไรเหลืออยู่

หรือไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีอะไรเหลืออยู่
ด้วยอำนาจศีล สมาธิ ปัญญา หรืออำนาจความเพียรของสติปัญญา ซึ่งเข้าไปเพ่งพิจารณา
จึงจะสามารถปล่อยวางความยึดมั่น ถือมั่นในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง..."

 

โดย: นายแว่นธรรมดา 30 ตุลาคม 2555 16:02:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


นายแว่นธรรมดา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 110 คน [?]




ยินดีต้อนรับสู่บล็อกนายแว่นธรรมดา บล็อกที่รวมเอาความคิด ความฝัน ความรู้สึกของนายแว่นธรรมดา เพื่อปะติดปะต่อภาพแห่งความรู้สึกในใจของเราให้เสร็จสมบูรณ์ (ขอสงวนการนำข้อมูลในบล็อกไปใช้ครับ)
Free counters!
New Comments
[Add นายแว่นธรรมดา's blog to your web]