ตุลาคม 2562

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
จากกรุงศรีอยุธยาสู่กรุงเทพมหานคร
จากกรุงศรีอยุธยาสู่กรุงเทพมหานคร
คราวนี้มาถึงเรื่องของการย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยาลงมาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา  เนื่องด้วย พ.ศ. 2310 ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาหรือเสียเอกราชนั่นเอง ไทยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า
บางทีเป็นไทย บางทีเป็นสยาม เพื่อให้คนรุ่นใหม่รู้ว่า คือประเทศของเรา แต่เดิมชื่อสยาม มาเปลี่ยนเป็นประเทศไทย เรียกย่อ ๆ ว่า ไทย ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ไม่ต้องสับสนและค่อนในใจว่าผู้เขียนไม่รู้ความ   
ชาวต่างชาติต่างภาษาที่เคยอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาได้ร่วมอพยพมาด้วยกันเพราะสมัยนั้นกรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมากขนาดที่ว่าชาวต่างชาติมาทำมาค้าขายอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก
นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ในเกาะรัตนโกสินทร์มีคนหลายเชื้อชาติหลากภาษาและต่างวัฒนธรรมมาอาศัยอยู่ แต่คงจะไม่มีชาวพม่ามาอยู่ด้วยแน่นอน เพราะคนไทยคงทำใจรับชาวพม่าในขณะนั้นไม่ได้ที่เข้ามาตีเมืองหรือกรุงศรีอยุธยาให้แตกแถมด้วยการเผาเมืองให้ราบพนาสูรเหลือเพียงเถ้าถ่านไว้ให้ดูต่างหน้า  จนพวกเราคนไทยต้องหนีร่นแล้วตั้งหลักสู้ใหม่จนได้ชัยชนะ  แล้วหาเมืองใหม่อยู่อาศัยทำมาหากินกัน
ขณะนั้นพม่ารุ่งโรจน์และเกรียงไกรมาก เที่ยวไปตีเมืองโน้นเมืองนี้ แต่ท้ายสุดจีนตีพม่า ทำให้ไทยมีเวลาผนึกกำลัง และยึดเมืองคืนได้ แม้ว่าต้องถอยร่นมาตั้งหลักที่กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรก็ตามที
ผิดกับตอนนี้ ไทยลืมไปหมดแล้วว่า พม่าทำอะไรไว้บ้าง ผ่านไปสองร้อยปี อดีตมีไว้ให้อภัย ไม่ใช่ให้จดจำ พม่าเต็มเมืองไปหมด จนคนในเมืองสมุทรสาครแอบอุทานไม่ได้ว่า เอ๊ะ เราหลงมาอยู่ในกรุงอังวะหรือเปล่านี่ ในวันหยุดที่แรงงานนับเรือนแสนหยุดงานเฉลิมฉลองกัน
พระเจ้าตากสินทรงกอบกู้อิสรภาพจากพม่า และทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ คือ กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2313
เหตุการณ์เปลี่ยนเล็กน้อย เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ได้ปราบดาภิเษก ตั้งราชวงศ์ใหม่
วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสิ้นพระชนม์และเป็นวันเดียวกันกับที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกสถาปนาราชวงศ์จักรี ทรงมีพระราชดำริว่า ฟากตะวันออกของกรุงธนบุรีหรือเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรหรือกรุงเทพในปัจจุบันมีชัยภูมิดีกว่าฟากตะวันตกหรือธนบุรีในปัจจุบัน เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ฟากตะวันตก
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกหรือรัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของไทยในปี พ.ศ. 2325 โดยพระราชดำริที่ว่า บริเวณที่ตั้งของกรุงธนบุรีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามีลักษณะเป็นดอนแต่เป็นท้องคุ้งน้ำเซาะตลิ่งพังอยู่เสมอไม่คงทนถาวร ในขณะที่ฝั่งกรุงเทพมีชัยภูมิที่ดีกว่า คือ มีลักษณะเป็นแหลม มีพื้นที่เพิ่มอยู่เสมอ มีลำน้ำเป็นขอบเขตกว่าครึ่ง หากมีข้าศึกมาประชิดติดพระนครจะสามารถป้องกันได้โดยง่าย ด้วยเหตุนี้จึงมีพระราชดำริให้สร้างเมืองหลวงขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อันถือเป็นการเริ่มต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นที่มาของเกาะรัตนโกสินทร์ในกาลต่อมา
เป็นธรรมดาอยู่เองเมื่อมีการผลัดแผ่นดิน เปลี่ยนราชวงศ์  ผู้นำที่เก่งและชาญฉลาดกว่าย่อมต้องมองเห็นสิ่งที่ดีกว่าเดิมรออยู่เบื้องหน้าเสมอ และใช้กำลัง ฝีมือ ความสามารถผลักดันทุกผู้คนที่อยู่รายล้อมรอบตัว ให้เกิดพลังในการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่มุ่งหวังไว้ เพื่อให้สิ่งที่คิดเกิดเป็นจริง สำเร็จขึ้นมาให้เห็นเป็นรูปธรรมได้
การสร้างเมืองใหม่ของราชวงศ์ใหม่นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับปวงชนชาวไทย  พวกเขาจะได้ไม่ผิดหวังกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 
สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้ได้พยายามทำตามจารีตแบบแผนประเพณีอันดีงามทุกประการเพื่อให้เกิดความมั่นคงสถาวรอย่างงดงาม สิ่งที่คนรุ่นนั้นได้ฝันไว้ ปัจจุบันนี้ได้เห็นผลงานอย่างชัดเจน  กรุงเทพเป็นเมืองฟ้าอมรสมดังปณิธานของบรรพบุรุษ

 



Create Date : 09 ตุลาคม 2562
Last Update : 9 ตุลาคม 2562 4:42:37 น.
Counter : 737 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 4665919
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ดร.พรรณี เกษกมล นักเขียน ข้าราชการบำนาญ ครูซี 9 แนะแนว
New Comments