สิงหาคม 2562

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog
ราชดำเนินถนนสายประวัติศาสตร์
ราชดำเนินถนนสายประวัติศาสตร์
เริ่มเล่าเรื่องราวของเกาะรัตนโกสินทร์อย่างจริงจังเสียที  พอเราเอ่ยปากเล่า คนส่วนใหญ่จะนึกถึงถนนราชดำเนินก่อนอื่น เพราะเป็นถนนที่อลังการที่สุดในยุคสมัยของรัชกาลที่ 5 และน่าจะอลังการที่สุดจนถึงยุคปัจจุบัน เพราะคงไม่มีถนนสายใดในเมืองที่กว้างเท่านี้อีกแล้ว มีถึง 10 เลนทีเดียว นอกจากนี้ถนนราชดำเนินยังเป็นถนนสายการเมืองที่ผู้คนเรียกร้องสิทธิแห่งการเป็นพลเมืองไทยในการปกครองระบอบประชาธิปไตยมากที่สุด รองลงมาขณะนี้คงเป็นถนนแถวราชประสงค์ บริเวณสะพานมัฆวาน สะพานผ่านฟ้า และหน้าทำเนียบรัฐบาล
ถนนราชดำเนินในวันนี้ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 ก็เหมือนกับถนนราชดำเนินในหลายปีที่ผ่านมา เกิดการจลาจลวุ่นวายด้วยความคิดที่ต่างกันของผู้คนที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินเดียวกัน  มีเลือดนองแผ่นดินด้วยคนไทยฆ่าคนไทยด้วยกันเอง แต่ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ใครทำใคร คงต้องรอให้กาลเวลาผ่านเลยไปอีกหลายปีสักหน่อยภาพหลายภาพอาจจะชัดเจนขึ้น
ถนนราชดำเนินเริ่มต้นเป็นถนนสายการเมืองเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งต่อมาผู้คนทั่วไปเรียกว่า “วันมหาวิปโยค” นับเป็นครั้งแรกที่มีปวงประชามารวมตัวกันใช้ถนนราชดำเนินเป็นเวทีแห่งการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ยุคนี้ผู้เริ่มก่อการคือนิสิตนักศึกษามารวมพลังกันใช้ความเป็นหนุ่มสาวในรั้วมหาวิทยาลัยต่อสู้กับอำนาจรัฐ ผลจากการต่อสู้ พบว่า มีผู้เสียชีวิต 71 ราย บาดเจ็บ 158 ราย ตามมาติด ๆ อีก 3 ปีต่อมาในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มีการรวมพลังของนิสิตนักศึกษาอีกครั้ง ผลที่ตามมาเช่นเดียวกัน มีผู้เสียชีวิตที่ปรากฏหลักฐานชัดเจน 39 ราย แต่จริง ๆ แล้วเขาก็เล่าลือกันว่าน่าจะมากกว่า 500 ราย ลือกันถึงขนาดว่า มีรถมาบรรทุกศพออกไปทิ้งต่างจังหวัด อาจเป็นเพียงข่าวลือไม่ใช่ข่าวจริงก็ได้  จำนวนที่บาดเจ็บก็ไม่รู้เช่นกัน แต่สูญหายไป 3,094 ราย ซึ่งก็คงเป็นพวกหลบหนีเข้าป่าไป ก็ไม่รู้ว่าป่าไหนบ้าง แต่ป่าหนึ่งก็คือเขาค้อผีดุ และบางส่วนยังใช้ชีวิตเช่นคนปกติแต่ไม่ได้ไปขอยกเลิกการเป็นบุคคลสูญหาย
หนุ่มสาวรุ่นนั้นที่เป็นพวกหัวก้าวหน้าได้เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านผู้มีอำนาจรัฐ หลังจากที่แพ้ภัยทางการเมืองได้หลบหนีการจับกุมเข้าป่าเตลิดเปิดเปิงกันไป จนภายหลังทางการได้อภัยโทษให้จึงกลับมาอยู่เยี่ยงคนไทยทั่วไปอีกครั้ง ปัจจุบันพวกที่หนีเข้าป่าและยังคงหลงเหลืออุดมการณ์ทางการเมืองได้ต่อสู้กับอำนาจอันไม่ชอบธรรมในสังคมแต่ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม 
ที่น่าแปลกใจเป็นอย่างมาก บางคนเคยเป็นถึงแกนนำนักศึกษาต่อสู้รัฐบาล ปัจจุบันกลับแปรพักตร์ไปเป็นพวกรัฐบาลเสียนี่ เขาถึงว่าสายน้ำยังเปลี่ยนทิศได้นับประสาอะไรกับจิตใจคนย่อมคิดเห็นแตกต่างกันในวัยที่เปลี่ยนไปได้
เว้นช่วงไปนานหน่อยราชดำเนินถนนสายประวัติศาสตร์ประชา
ธิปไตยได้เกิดนองเลือดอีกครั้งเรียกว่า “วันพฤษภาทมิฬ” ระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 มีผู้เสียชีวิต 52 ราย บาดเจ็บนับพันราย และสูญหายอีก 69 ราย
จากวันนั้น คนไทยส่วนมากคิดว่าคงจะหมดเรื่องหมดราวกันเสียที  ที่ไหนได้ความร้าวฉานเกิดขึ้นอีกครั้งในรูปของคนต่างสีต่างความคิด คิดเห็นแตกต่างอย่างสิ้นเชิง คราวนี้ไม่มีนิสิตนักศึกษาเป็นแกนนำ แต่กลายเป็นคนแก่ที่คงจะเคยเดินขบวนสมัยตุลา 16 มาร่วมรื้อฟื้นความหลังกันอีกครั้ง เรียกว่าคนรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ชอบเรียกร้องประชาธิปไตยด้วยการเดินขบวนชุมนุมทางการเมือง
มีบางคนบอกว่าคนรุ่นนี้รุ่นที่ชอบเดินขบวนและชุมนุมเรียกร้องคือผลผลิตจากหลักสูตรการศึกษาพุทธศักราช 2503 ที่เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องราวของประชาธิปไตยสูงสุดและเปิดโอกาสให้มีสภานักเรียนในโรงเรียน มีการเลือกตั้งจำลองแบบสังคมใหญ่เลยทีเดียว ประธานนักเรียนหลายคนกลายมาเป็นแกนนำในการเรียกร้องประชาธิปไตยในสังคมยุคต่อมา
การเมืองไทยเริ่มยุ่งเหยิงและอึมครึมอีกครั้งจากการรวมตัวกันของกลุ่มก้อนเสื้อสีเหลืองต่อต้านรัฐบาลทักษิณ และตามมาด้วยการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งก็เป็นเรื่องเหลือเชื่ออีกเช่นกัน หลายคนคิดว่าการปฏิวัติคงจะสูญพันธุ์ไปนานแล้วแต่ยังโผล่ออกมาให้เห็นอีกจนได้ในยุคที่บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าขนาดนี้
หลังจากปฏิวัติวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 มีกลุ่มเสื้อสีแดงลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์อีก ช่วงนี้รัฐบาลเปลี่ยนจากนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ ทักษิณ ชินวัตรมาเป็นสมัคร สุนทรเวช และสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เปลี่ยนจากกลุ่มเสื้อสีแดงมาเป็นกลุ่มเสื้อสีไม่ปรากฏชัดเจน แต่ผู้คนส่วนใหญ่คิดว่ากลุ่มเสื้อสีเหลืองผลักดันให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้มาเป็นรัฐบาล  เลยคิดเอาเองว่าเกิดมาเป็นรัฐบาลนี่น่าลำบากใจเหมือนกันนะมีแต่คนต่อต้าน ยิ่งเป็นรัฐบาลในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยด้วยยิ่งแล้วไปกันใหญ่เพราะเขาคิดว่า ความหมายของประชาธิปไตยคือประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน แล้ววันนองเลือดได้เกิดอีก 2 ครั้ง ในเดือนเมษายน 2 ปีต่อเนื่องกัน คือ พ.ศ. 2552 และ 2553  แต่ในปี พ.ศ. 2553 กลุ่มเสื้อสีแดงตายไป 88 ราย บาดเจ็บนับพันเช่นกัน  ที่น่าเศร้าสลดกว่าทุกครั้งที่ผู้ตายตายด้วยอาวุธสงครามที่ยังไม่รู้ว่าเป็นฝีมือของฝ่ายใดกันแน่

 



Create Date : 28 สิงหาคม 2562
Last Update : 28 สิงหาคม 2562 17:08:12 น.
Counter : 787 Pageviews.

1 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร

  
สมาชิกหมายเลข 4665919 Political Blog ดู Blog
เดี๋ยวนี้ไม่อัพบล็อกการเมืองแล้ว เลยเข้ามาส่งกำลังใจกัน

โดย: หอมกร วันที่: 4 ธันวาคม 2562 เวลา:8:57:04 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 4665919
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ดร.พรรณี เกษกมล นักเขียน ข้าราชการบำนาญ ครูซี 9 แนะแนว
New Comments