มิถุนายน 2564

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
จอห์น ล็อค (John Locke: A.D. 1632 – 1704)

นักปรัชญาจะหารูปแบบการปกครอง                                            

 เพื่อให้เกิดสันติสุขต่อส่วนรวม

 
จอห์น ล็อค (John Locke: A.D. 1632 – 1704)
 
การอยู่รวมกันเป็นหมู่มากได้อย่างสงบ
ทุกคนต้องเคารพซึ่งกันและกัน
 
จอห์น ล็อค เกิดวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1632 ถึงแก่กรรมวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1704 เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษที่สนใจในวิชาสังคมศาสตร์และทฤษฎีของความรู้
จอห์น ล็อคอธิบายธรรมชาติของมนุษย์ว่า  จิตของมนุษย์ว่างเปล่าเมื่อเกิดมาไม่มีอะไรติดตัวมา  ความรู้ที่มีได้มาจากการเรียนรู้ การสังเกต  การคิดและไตร่ตรอง  ซึ่งเราเรียกว่าประสบการณ์  ความรู้ที่ได้รับจึงไม่มีวันสิ้นสุดแต่จะทวีเพิ่มพูนขึ้นมาได้เรื่อย ๆ จากการศึกษาและรู้จักใช้เหตุผล  เช่นเดียวกับจริยธรรมของมนุษย์จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่เราเกิด  ความรักในตนเอง ความเห็นแก่ตัวเป็นสิ่งที่ได้รับรู้ขึ้นมาภายหลังทั้งนั้น
บางคนเปรียบเปรยว่าเด็กแรกเกิดประดุจดังผ้าขาวใสสะอาด เมื่อมีผู้อื่นแต่งแต้มเติมสีสรรต่าง ๆ ลงไป ผ้าขาวนั้นจะแปรเปลี่ยนไปตามภาพที่ได้รับ
มนุษย์จึงต้องรู้จักการจำแนกความแตกต่างระหว่างความสุขที่ยั่งยืนหรือความสุขที่แท้จริงกับความสุขจอมปลอมได้ 
ความสุขที่แท้จริงได้แก่สุขภาพ ชื่อเสียง ความรู้ การทำความดี
ความหวังที่จะให้โลกมีแต่สันติสุข 
 
ในเรื่องการปกครอง ผู้อยู่ใต้การปกครองมักจะเกรงกลัวต่ออำนาจของผู้ปกครองจนลืมคิดว่าตนมีสิทธิ์ที่จะเลือกและยอมรับในตัวผู้ปกครองด้วยเช่นกัน
แนวคิดนี้จึงเป็นฐานรากทางความคิดของปรัชญาทางการเมืองและเป็นพื้นฐานของกฎหมายสหรัฐอเมริกา ที่เน้นเกี่ยวกับสิทธิของการเกิดมาเป็นมนุษย์ที่ประกอบด้วยชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สิน รวมทั้งการมีสิทธิที่จะเลือกผู้ปกครองด้วยตัวของพวกเขา
            แต่เดิมคนเราจะอยู่กับธรรมชาติเป็นระบอบอนาธิปไตย มีสิทธิในธรรมชาติ ในชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สินสามารถจะกระทำสิ่งใดก็ได้ตามแต่ใจตนจะปรารถนาถ้าไม่ขัดต่อหลักการตามธรรมชาติ เช่น ไม่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เดียวกัน ไม่ต่อสู้โหดร้ายเยี่ยงสัตว์ป่า 
เมื่อกระทำสิ่งใดแล้วได้ทรัพย์สินมา ทรัพย์สินนั้นย่อมตกเป็นของตนผู้อื่นจะมาแย่งชิงเอาไปไม่ได้ การรักษาสิทธิของตนจึงต้องรักษาสิทธิของผู้อื่นด้วย 
ทุกคนจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  การฝ่าฝืนหลักการตามธรรมชาติจะก่อให้เกิดภยันตรายนานัปการ ต่อมาเมื่อคนไม่ยอมรักษาสิทธิของผู้อื่นทำให้เกิดความยุ่งเหยิงตามมาและทำให้เกิดการรวมตัวกันกลายเป็นรัฐ
 
            จอห์น ล็อคอธิบายว่า รัฐเป็นเพียงกลไกที่มนุษย์รวมตัวกันเพื่อปกป้องสิทธิของตน  โดยมอบความไว้วางใจให้แก่บุคคลกลุ่มหนึ่งช่วยทำหน้าที่ปกป้อง
หน้าที่ของรัฐคือรักษาสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ คือ สิทธิในชีวิต เสรีภาพ ทรัพย์สิน  แต่รัฐไม่ควรก้าวก่ายในกิจการของบุคคล เช่น การทำการค้า งานอุตสาหกรรม ยกเว้นเสียแต่กิจการนั้นไปทำลายเสรีภาพส่วนบุคคล
ลักษณะสังคมที่ดีจะต้องปล่อยให้มนุษย์เป็นตัวของตัวเอง กำหนดโชคชะตาด้วยตัวของพวกเขา
ระบอบการปกครองที่ดีต้องให้มนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
การใช้อำนาจทางการเมืองโดยระบบกฎหมายควรอยู่ในขอบเขตอันจำกัดซึ่งจะแตกต่างจากความคิดเรื่องกฎหมายในยุคก่อนที่นับถือพระเจ้าและเชื่อว่ากฎธรรมชาติได้มาจากพระเจ้า ยากที่ผู้คนจะเปลี่ยนแปลงกฎต่าง ๆ ของสังคมได้
สมัยใหม่มนุษย์จะต้องมีสิทธิที่จะแก้ไขกฎหมายที่ไม่พึงประสงค์ถ้าข้อความบางส่วนละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคล
 
           จอห์น ล็อค นักรัฐศาสตร์  ผู้ที่คิดว่ามนุษย์มีความเป็นใหญ่ในตัวของตัวเอง อำนาจรัฐมีได้เพราะเราพร้อมใจยกอำนาจให้
ถ้าพวกเราไม่ยินยอมพร้อมใจย่อมจะสามารถดึงอำนาจนั้นกลับคืนมาได้
ทุกคนมีความเป็นตัวของตัวเอง มีสิทธิส่วนตัวที่จะคิด จะทำอะไรก็ได้ตามใจตน
การมีอำนาจรัฐเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการล่วงเกินซึ่งกันและกัน
กฎหมายที่มีอยู่ต้องให้ความเป็นธรรมแก่ทุกคนในสังคม ไม่ใช่แก่ผู้มีอำนาจเพียงบางกลุ่มเท่านั้น 
ความเป็นมนุษย์ในสายตาของจอห์น ล็อคเป็นสิ่งที่สูงค่ามาก  ควรที่พวกเราจะหวงแหนและดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของทุกคนต่อไป
            ด้วยแนวคิดที่ว่าเราทุกคนมีอำนาจในการเลือกผู้ปกครองและถ้าพวกเราไม่ยินยอมพร้อมใจย่อมจะสามารถดึงอำนาจนั้นกลับคืนมาได้ จึงทำให้เกิดการเดินขบวนต่อสู้เพื่อเรียกร้องผู้ปกครองคนใหม่ตามใจตนได้ปรากฏขึ้นในหลายภาคพื้นทวีปไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่ปกครองกันมานานหลายสิบปีและผู้มีอำนาจได้ฝังรากแห่งอำนาจลึกทั่วทุกหย่อมหญ้า แสดงให้เห็นถึงพลังประชาชนที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงเพื่อการปกครองที่ดีโดยไม่หวั่นเกรงต่ออำนาจมืดที่ปกคลุมอยู่
จอห์น ล็อค เป็นนักปราชญ์ชาวอังกฤษที่มีชีวิตอยู่ในช่วงการต่อสู้ตอนสุดท้ายในประวัติรัฐธรรมนูญอังกฤษระหว่างกษัตริย์ ขุนนางและสามัญชน
เขาได้เขียนหนังสือหลายเล่ม แสดงแนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตย เช่น ข้อเขียนเกี่ยวกับอำนาจการเมือง ตำราว่าด้วยการเมืองการปกครองรัฐ เป็นต้น
จอห์น ล็อคเห็นว่า มนุษย์และสังคมแยกออกจากกันไม่ได้ เพราะสังคมประกอบขึ้นจากมนุษย์
สังคมจึงมีวัตถุประสงค์สุดท้ายคือ ความผาสุกและความสงบของมนุษย์ ซึ่งเป็นสมาชิก
ดังนั้น จึงต้องปล่อยให้มีกลไกทางสังคมและเศรษฐกิจดำเนินไปเองตามสภาพของมัน เพราะกฎเกณฑ์แห่งความพอเหมาะของธรรมชาติจะชักจูงให้มนุษย์ผลิตและปรับปรุงผลผลิตให้ตรงตามความต้องการเอง
            ความคิดที่ว่า เสรีภาพเป็นพื้นฐานของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งจะต้องสร้างสถาบันเพื่อคุ้มครองเสรีภาพอย่างน้อย 3 องค์กร คือ องค์กรนิติบัญญัติออกกฎหมาย องค์กรปกครองและศาลควบคุมการปฏิบัติตามกฎหมาย องค์กรบริหาร
 
วิธีคิดใช้หลักเสรีนิยมประชาธิปไตย
มนุษย์เป็นใหญ่แต่ต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น
 
เมื่อประชาชนรู้จักคิดและหวงแหนสิทธิของตน
ผู้มีอำนาจรัฐจะไม่มีสิทธิ์มาข่มเหงรังแกได้อีกต่อไป
 



Create Date : 04 มิถุนายน 2564
Last Update : 4 มิถุนายน 2564 9:04:32 น.
Counter : 7059 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 4665919
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ดร.พรรณี เกษกมล นักเขียน ข้าราชการบำนาญ ครูซี 9 แนะแนว
New Comments