พฤษภาคม 2564

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
26 พฤษภาคม 2564
All Blog
เพลโต (Plato: 429 – 347 B.C.)

นักคิดจะรู้ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว ด้วยตัวของเขาเอง
และใช้ปัญญา ความกล้าหาญ ควบคุมตนเองให้ได้
  
เพลโต (Plato: 429 – 347 B.C.)
 
การใช้เหตุผลค้นหาความดีงามในตนและมุ่งมั่นในอุดมการณ์
 จึงจะนับได้ว่าเป็นยอดคน
 
            เพลโตนักปราชญ์ชาวกรีก ผู้มีชื่อเสียงเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส
เขานำปรัชญาของโสกราตีสเรื่อง ความดีงาม อันเป็นนิรันดร์มาผสมผสานกับความรู้ด้านดนตรี คณิตศาสตร์ ภาษา ส่งผลให้โสกราตีสกลายเป็นปรมาจารย์ด้านปรัชญา และเป็นอาจารย์ของอริสโตเติ้ล ผู้ทำให้ศาสนจักรเรืองอำนาจและเกิดความวุ่นวายในสังคมตามมา เพราะสิ่งที่รู้ไม่ใช่ความจริง
 
ความเชื่อของเพลโต วิชาความรู้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคน
เขาจึงต้องการให้ทุกคนได้เรียนรู้ โดยทำตัวประดุจเป็นครูถ่ายทอดวิชาความรู้เผยแพร่คำสั่งสอนจนมีลูกศิษย์มากมาย สอนให้ใช้ วิธีค้นหาคำตอบด้วยหลักการทาง เมตาฟิสิกส์หรือทฤษฎีความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ
สิ่งที่เน้นคือปัญหาจริยธรรม เพื่อค้นหานิยามของความดี ชีวิตที่ดี ความหมายของโลกและมนุษย์ ความเป็นจริง ชีวิตที่มีจิตกับร่างกาย วิญญาณประกอบด้วยสามส่วนคือ เหตุผล น้ำใจ ตัณหา 
เหตุผลเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต้องปลูกฝัง จุดหมายสูงสุดคือทำจิตให้เป็นอิสระจากความต้องการทางกาย
 
            เพลโตคิดว่าวิชาความรู้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคน
การเป็นครูผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้เป็นสิ่งที่มีเกียรติ
 
ผลงานสำคัญของเพลโตจึงเป็นการก่อตั้งโรงเรียนชื่ออะคาเดมี (Academy) เพื่อเผยแพร่วิชาปรัชญา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เน้นว่า คณิตศาสตร์และเรขาคณิตเป็นพื้นฐานของระบบการคิด
เพลโตได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้กำเนิดวิชาปรัชญาและการศึกษา
เขากล่าวว่า ผู้ที่ได้ชื่อว่ามีการศึกษาจะต้องมีความรู้ในวิชาดนตรี วรรณคดี และกายบริหาร
ส่วนผู้ที่ได้ชื่อว่ามีการศึกษาขั้นสูงจะต้องมีความรู้ในวิชาปรัชญา วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์
            ทำไมการตั้งโรงเรียนของเพลโตจึงเป็นเรื่องราวใหญ่โตและควรค่าแก่การจารึก เพราะคนในสมัยก่อนจะหวงวิชาและถ่ายทอดเฉพาะบุคคลเท่านั้นจากครูสู่ศิษย์ที่เลือกสรรมาเป็นพิเศษ
เมื่อเปิดสำนักวิชาการหรือโรงเรียนทำให้ผู้คนทั่วไปตื่นตัวที่จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีการศึกษาบ้าง ซึ่งเรื่องเหล่านี้อาจดูเป็นเรื่องธรรมดามาก ๆ สำหรับผู้คนรุ่นใหม่ แถมบางคนที่ไม่ชอบเรียนหนังสือ อาจไม่พอใจที่เพลโตคิดเช่นนี้ และทำให้เกิดระบบโรงเรียนบังคับให้ทุกคนต้องเรียนรู้ทำให้ตนต้องลำบากมาโรงเรียนทุกวันก็เป็นได้
            ผลงานด้านการเขียน คือ หนังสือชื่อรีพับลิค เป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้เปิดประเด็นให้เกิดการคิดต่อยอดในหลายประเด็น เช่น
รัฐในอุดมคติ ผู้ปกครองควรมีเพียง 2-3 คน เป็นผู้ที่ได้รับการคัดสรรมาเป็นอย่างดีว่าเป็นผู้ที่มีสติปัญญายอดเยี่ยม  จะได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษเพื่อปกครองประเทศ 
กษัตริย์จะต้องเป็นนักปราชญ์ นำสังคมไปสู่โลกแห่งความคิด  ชนชั้นปกครองต้องไม่มีทรัพย์สมบัติส่วนตัวเพื่อป้องกันความโลภ จะได้มีจิตใจที่มุ่งปกครองรัฐตามกฎหมาย  แนวคิดนี้ได้รับการขนานนามว่าโลกพระศรีอาริย์ 
ความอยุติธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ เพราะคนที่นำมาซึ่งความอยุติธรรม
มักจะเป็นผู้มีอำนาจ เป็นชนชั้นผู้ปกครอง จึงมีคำกล่าวว่า
อำนาจคือความถูกต้อง แต่ผู้ที่หวังความยุติธรรมมักจะดำรงอยู่ด้วยความเรียบง่ายกลายเป็นคนอ่อนแอไร้ซึ่งอำนาจ
 
คนที่ต้องการอำนาจจะก้าวร้าวและมุ่งมั่นไปยังทิศทางที่ต้องการ
 
ส่วนกฎหมายเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง  กฎหมายจึงได้รับคำนิยามว่า “เป็นสิ่งที่ถูกต้อง” ซึ่งจะทำให้เกิดผลประโยชน์และอำนาจของผู้ออกกฎหมาย
 
เมื่อใดที่กล่าวว่า สิ่งนั้นหรือการกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องนั่น หมายความว่า
สิ่งนั้นหรือการกระทำนั้นเป็นผลประโยชน์และอำนาจของพรรคการเมืองที่แข็งแกร่งกว่านั่นเอง
 
            การใฝ่หาความรู้เพื่อค้นหาคำตอบที่สงสัย เป็นสิ่งที่คนเราควรกระทำ  การหาเหตุและผลของสิ่งที่ค้นพบแล้วตั้งเป็นทฤษฎี  เพื่อจะได้ประกาศว่าสิ่งที่ตนสงสัยนั้นเป็นจริง รวมทั้งการเชื่อในคุณงามความดีว่าความดีจริงแท้มีแน่นอน
 
คนดีจะต้องทำดีตลอดไป ไม่มีข้ออ้างที่จะทำเรื่องชั่วร้าย และไม่เลือกว่าควรทำดีเฉพาะบางเรื่อง
 
การคิดหาสาเหตุ ปรัชญาในหนังสือรีพับลิคกล่าวว่า “คนส่วนใหญ่จะมองเห็นแค่กลุ่มภาพและเงาที่เห็นบนผนังถ้ำ แต่จะไม่มีผู้ใดใส่ใจที่มองหาต้นกำเนิดแห่งภาพ
การเข้าใจโลกแห่งความเป็นจริงต้องมองหารูปแบบ (forms) ซึ่งอาจอยู่นอกเหนือประสบการณ์ที่เคยได้รับ
แนวคิดเช่นนี้มีอิทธิพลต่อปรัชญาตะวันตกอย่างมาก สิ่งต่าง ๆ ที่มองเห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริง จึงอาจใช้ทฤษฎีเพื่ออธิบาย ส่งผลให้เกิดวิชาวิทยาศาสตร์แยกตัวออกจากปรัชญา
การมองหารูปแบบนี้ช่วยในการอธิบายธรรมชาติของความงามและความรัก โลกแห่งความคิด โลกแห่งวิทยาศาสตร์ ศาสตร์แห่งฟิสิกส์ ทักษะทางปัญญาที่หยั่งรู้ในหลักคณิตศาสตร์ ศาสตร์แห่งกายภาพ พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต
              คณิตศาสตร์ช่วยในการคิดแบบเมตาฟิสิกส์หรืออภิปรัชญา ซึ่งไม่ใช่เฉพาะสิ่งที่มองเห็นด้วยตา เป็นสิ่งที่อาจแปรเปลี่ยนไปได้ตามกาลเทศะแต่สามารถรับรู้ได้ด้วยปัญญา
การที่คนเรามีเหตุผลที่ขัดแย้งกันก็เพราะเกิดความสับสนระหว่างโลกทั้ง 2 โลก คือ โลกแห่งปรากฏการณ์กับโลกแห่งความคิด ในขณะที่โลกแห่งปรากฏการณ์รับรู้ได้ด้วยตาเปล่า ให้ความรู้เพียงระดับความคิดเห็นแต่โลกแห่งความคิดให้ความรู้แท้
            ทฤษฎีของเพลโตแสดงให้เห็นว่า เราสามารถสร้างสะพานเชื่อมระหว่างโลกที่เป็นรูปธรรมกับโลกที่เป็นนามธรรม และโยงไปยังจริยศาสตร์  กล่าวคือ
ถ้าเรามีความรู้แท้เกี่ยวกับธรรมชาติของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รวมทั้งธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ แล้วจะเชื่อมโยงไปสู่ความรู้เรื่องพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งทำให้รู้คำตอบเกี่ยวกับจุดหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ ซึ่งสัมพันธ์กับหลักจริยศาสตร์ หลักรัฐศาสตร์ และหลักศาสนาได้
            ปรัชญาการศึกษาของเพลโต เน้นการพัฒนาภูมิปัญญาระดับสูงของผู้ปกครอง นักการเมือง ผู้ปกครองที่ดีต้องมีความรู้ ทรงภูมิปัญญา มีทักษะด้านวาทศิลป์และศิลปะการโน้มน้าวจูงใจคน ถึงพร้อมด้วยความรู้และคุณธรรม มีความบริบูรณ์ทางภูมิปัญญา                                        การศึกษาตามแนวปรัชญาของเพลโต วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาแกนของหลักสูตร โดยชี้ให้เห็นว่า เป็นวิธีการจัดการศึกษาที่ดีที่สุดในการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนไปสู่การแสวงหาความรู้
           
วิธีคิดใช้หลักการทางเมตาฟิสิกส์เพื่อค้นหา
สิ่งที่อาจแปรเปลี่ยนและรับรู้ได้ด้วยปัญญา
การค้นหาผู้นำเป็นภาระที่ยุ่งยาก
แต่การเตรียมเพื่อให้เป็นผู้นำที่ดียากยิ่งกว่า
 



Create Date : 26 พฤษภาคม 2564
Last Update : 26 พฤษภาคม 2564 9:51:09 น.
Counter : 1318 Pageviews.

1 comments
  
เยี่ยมครับ
โดย: นีโอ Positive วันที่: 5 มิถุนายน 2564 เวลา:19:53:51 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 4665919
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ดร.พรรณี เกษกมล นักเขียน ข้าราชการบำนาญ ครูซี 9 แนะแนว
New Comments