Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
12 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 

เมื่อน้ำในหูไม่เท่ากัน



 

เมื่อน้ำในหูไม่เท่ากัน

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน Meniere's disease เป็นหนึ่งนโรคที่เกิดขึ้นกับช่องหูที่ไม่ค่อยพบบ่อยนักในคนไทย แต่ก็พบมากขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน หูอื้อ หรือมีเสียงดังในหูตลอดเวลาย เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่อาการที่เกิดขึ้นอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต และการดำเนินชีวิตประจำวัน

โรคนี้เกิดจากการที่มีน้ำคั่งบริเวณหูชั้นในมากกว่าปกติ โดยหูชั้นในจะทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว และการได้ยิน ผู้ป่วยจึงมักมีปัญหาเรื่องการทรงตัว และการได้ยิน

สาเหตุเกิดจากการไหลเวียนถ่ายเทของน้ำในหูผิดปกติ เช่น การดูดซึมของน้ำในหูไม่ค่อยดี ทำให้มีน้ำเก็บอยู่ในบริเวณหูชั้นในมากกว่าปกติ (Enbfolymphatic Hydrops) ส่งผลให้เซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยินทำงานผิดปกติ

หูของคนเราเป็นอย่างไร ?

หูชั้นในแบ่งออกตามหน้าที่ได้ 2 ส่วน

ส่วนที่ทำหน้าที่รับเสียง จะมีลักษณะคล้ายก้นหอย

ส่วนทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว มีอยู่ 3 ชิ้น โดยมีรูปร่างคล้ายเกือกม้า

แต่ถ้าแบ่งตามการทำงานแล้วแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน

ส่วนกระดูก จะทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายใน

เยื่อหุ้มภายใน โดยจะมีของเหลวอยู่ในเยื่อหุ้ม เมื่อเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันจะเกิดแรงดันของน้ำในหูหูผิดปกติ ทำให้ปริมาณของเหลวภายในเยื่อหุ้มเพิ่มมากขึ้น เกิดการคั่งและไหลเวียนไม่สะดวก ทำให้เกิดแรงดันในหูชั้นใน ซึ่งจะขัดขวางการทำงานของกระแสประสาท ส่งผลต่อการได้ยิน และการทรงตัว ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน หูอื้อ และได้ยินเสียงอื้อในหู

สาเหตุของโรค

ไม่พบว่ามีสาเหตุที่แน่ชัด แต่สิ่งที่มีผลต่อการเป็นโรคย หรือถ้าเป็นแล้วก็จะส่งผลให้มีเกิดอาการรับประทานอาหารเค็ม

สูบบุหรี่

ดื่มแอลกอฮอล์

ทำงาน หรืออยู่อาศัยในบริเวณที่มีเสียงดัง

ความเครียด

นอนน้อย ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ซึ่งหูชั้นในต้องการเลือดมาเลี้ยงมากทำให้เกิดการเสียสมดุลของน้ำในหู

อาการของโรค

- เวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน มักจะเป็นอยู่ช่วงประมาณ 20 นาทีจนถึง 3 ชั่วโมง โดยจะเป็นๆ หายๆ หรือบางครั้ง หลังมีอาการก็จะมีความ รู้สึกเวียนศีรษะตามมา บางครั้งอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเหงื่อออกร่วมด้วย

- หูอื้อ อาจเป็นในบางครั้ง หรือเป็นถาวร ช่วงแรกๆ อาจรู้สึกมีอาการหูอื้อเพียงชั่วคราว ซึ่งมักเกิดพร้อมๆ กับอาการเวียนศีรษะ แต่เมื่อหายปวดศีรษะแล้วการได้ยินก็จะกลับมาเป็นปกติ ถ้ามีอาการบ่อยๆ หรือเวียนศีรษะบ่อยๆ หรือถ้าเป็นมานานโดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องมักเกิดอาการหูอื้อถาวร

- เสียงอื้อๆ ในหู อาจเกิดขึ้นทั้ง 2 ข้าง หรือเป็นเพียงข้างเดียว

รักษาอย่างไร

ทั้งนี้ การรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค

ระยะที่ 1 ผู้ป่วยจะรู้สึกเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเหงื่อออกร่วมด้วย และอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นทันที และเป็นอยู่นานประมาณ 20 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมง แต่ไม่ได้หมดสติ หรือมีอาการเป็นอัมพาต และเมื่อหายแล้วจะรู้สึกว่าทุกอย่างกลับเป็นเหมือนปกติ ระยะนี้สามารถหายได้โดยการดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์

ระยะที่ 2 ระยะเริ่มเสื่อม หูอื้อ ช่วงแรกๆ อาจเป็นชั่วคราว หรือเป็นๆ หายๆ และกลับมาได้ยินแบบปกติเมื่อหายเวียนศีรษะ ซึ่งระยะนี้ต้องรักษาโดยการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ยากล่อมประสาท หรือยานอนหลับ

ระยะที่ 3 และ 4 อาจมีอาการหูอื้อแบบถาวร และหรือได้ยินเสียงอื้อในหู รู้สึกตึงๆ ภายในหูคล้ายมีแรงดันซึ่งอาจเกิดขึ้นตลอดเวลา หรือเฉพาะเวลาที่เวียนศีรษะย อาจรักษาโดยการใช้ยาฉีด หรือการผ่าตัด ซึ่งการฉีดยาเพื่อทำลายเซลล์ที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ถ้าการฉีดยาสามารถทำลายเซลล์ดังกล่าวได้ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด

ดูแลตนเองเมื่อมีอาการ

เมื่อรู้สึกเวียนศีรษะ ถ้าเดิน ทำงาน หรือขับรถอยู่ ควรหยุด นั่งพัก หากฝืนทั้งที่รู้สึกเวียนศีรษะอาจล้ม หรือเกิดอุบัติเหตุได้ และควรรับประทานยาที่แพทย์สั่งเพื่อลดอาการ

เมื่อเวียนศีรษะมาก ควรนอนพักบนพื้นราบที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่นถ้าอยู่ในรถ ควรจอดให้ผู้ป่วยนอนพักราบบนเบาะหลังรถ และควรจ้องมองวัตถุที่อยู่นิ่ง ไม่มีการเคลื่อนไหว

อาการคลื่นไส้ ควรลดการดื่มน้ำ หรือการรับประทานให้น้อยลง เพราะอาจทำให้อาเจียน

หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเรือ เพราะอาจกระตุ้นอาการเวียนศีรษะ

ควรรับประทานยาขยายหลอดเลือด (Histamine) เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น

ป้องกันและดูแลตนเองเบื้องต้น

- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มปริมาณเลือดให้ไปเลี้ยงหูชั้นใน

- ลดความเครียด อาจจะด้วยการพักผ่อน ฟังเพลงเบา ๆ ลดการทำงานลง

- พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนจะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดี อาจเปิดเพลงเบา ๆ ขณะนอนเพื่อช่วยกลบเสียงในหู

- หลีกเลี่ยงอยู่ในที่ที่มีเสียงดังย แดดจ้า หรืออากาศร้อนอบอ้าว

- หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ สูบบุหรี่ และเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ย เพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงหูชั้นในได้น้อยลง

- ลดการทานอาหารเค็ม เนื่องจากโซเดียมทำให้มีการคั่งของน้ำในร่างกาย ไม่ควรรับประทานเกลือย เกินย วันละ 2 กรัม (1 ช้อนชา)

- ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผงชูรส เนื่องจากผลชูรสก็เป็นโซเดียมชนิด โมโนโซเดียมกลูตาเมต

 

ที่มาข้อมูล : //www.e-magazine.info

ที่มาข้อมูล : //www.e-magazine.info






 

Create Date : 12 มิถุนายน 2555
1 comments
Last Update : 12 มิถุนายน 2555 11:36:04 น.
Counter : 2131 Pageviews.

 

เนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่มีข้อมูลดีๆแบบนี้

 

โดย: จันทนา ละวู้ IP: 118.173.5.39 29 พฤษภาคม 2556 7:05:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


เอ็กซ์ซ่า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]




Friends' blogs
[Add เอ็กซ์ซ่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.