Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2556
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
24 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 
หลักให้ยา...โรคกรดไหลย้อน

lozocat lozocat

 

รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา

การกินยาของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน ก็เพื่อลดปริมาณกรดที่จะไหลย้อนขึ้นไป และเพื่อเพิ่มการเคลื่อนตัวของทางเดินอาหารในการกำจัดกรด แต่ยาทั้งสองชนิดเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยจะลดการใช้ยาได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับ

1.รู้สาเหตุที่ทำให้กรดไหลย้อน โดยการสังเกตพฤติกรรมของตนเอง ที่จะทำให้กรดไหลย้อนมากขึ้น และหลีกเลี่ยง เช่น

• กินอาหารมากเกินไปในแต่ละมื้อ กินอาหารรสจัด หรือกินแล้วนอนทันที
• กินอาหารประเภทมันๆ ปรุงด้วยการผัด การทอด รวมถึงกินไข่แดง
• ดื่มนมที่มีไขมันสูง น้ำเต้าหู้ ชา กาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
• น้ำหนักตัวที่เพิ่ม ท้องผูก และขาดการออกกำลังกาย

2.รู้ว่าสิ่งใดทำให้อาการดีขึ้น ต้องปฏิบัติ เช่น

• กินอาหารปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยๆ แทนการกินอาหารที่มากเกินไปในแต่ละมื้อ และกินอาหารล่วงหน้าก่อนนอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
• หลีกเลี่ยงการกินอาหารประเภทมันๆ อาหารที่ปรุงด้วยการผัด การทอดทุกชนิด รวมถึงไข่แดง
• ดื่มนมพร่องมันเนย หรือนมไร้ไขมัน (ไขมัน =0%)
• หลีกเลี่ยงน้ำเต้าหู้ ชา กาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
• ลดน้ำหนักตัว
• งดการสูบบุหรี่ เพราะจะกระตุ้นทำให้มีการหลั่งกรดมากขึ้น
• พยายามไม่ให้เกิดอาการท้องผูก โดยดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น (ดื่มน้อยๆ แต่บ่อยๆ ) และกินผัก ผลไม้ที่มีกากให้มากขึ้น
• ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน
ฝืดแบบปรับน้ำหนักได้ เล่นเทนนิส แบดมินตัน เป็นต้น
• ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้น โดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐ โดยเริ่มประมาณ 1/2 - 1 นิ้ว จากพื้นราบก่อนแล้วจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ควรยกสูงมากจนร่างกายของผู้ป่วยไหลลงไปที่ปลายเตียง อย่ายกศีรษะให้สูงขึ้นโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ถ้านอนพื้น หรือไม่สามารถยกเตียงได้ ให้หาแผ่นไม้ขนาดเท่าฟูก รองใต้ฟูก แล้วใช้ไม้หรืออิฐ ยกแผ่นไม้ดังกล่าวขึ้น

หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมข้างต้นได้ โอกาสที่ผู้ป่วยจะหยุดยาได้ก็จะสูง โดยเริ่มจาก

1.แพทย์จะให้ผู้ป่วยกินยาลดกรด และยาเพิ่มการเคลื่อนตัวของทางเดินอาหารในการกำจัดกรด ประมาณ 2-4 สัปดาห์ก่อน ซึ่งโดยทั่วไปอาการผู้ป่วยจะดีขึ้นตามลำดับ จากนั้นแพทย์จะลดยาเพิ่มการเคลื่อนตัวของทางเดินอาหารฯ ก่อน แล้วจึงพิจารณาลดยาลดกรดลงภายหลัง

2.หลังจากผ่านการใช้ยาตามข้อ 1 ประมาณ 1-3 เดือนแล้ว มีอาการไม่มากขึ้น แสดงว่า ผู้ป่วยปฏิบัติตัวได้ดีพอควร แพทย์อาจพิจารณาหยุดยาทั้งหมด แต่ผู้ป่วยอาจใช้ยาเฉพาะช่วงที่มีอาการกรดไหลย้อนเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า โรคกรดไหลย้อนจะหายขาด หากผู้ป่วยยังหันกลับไปมีพฤติกรรมเดิมๆ แต่เพื่อความไม่ประมาท ผู้ป่วยควรมียาลดกรดและยาเพิ่มการเคลื่อนตัวของทางเดินอาหารฯ ติดตัวไว้เสมอ โดยเฉพาะเมื่อเวลาเดินทาง



ที่มา : ผู้จัดการ Online

lozocat lozocat




Create Date : 24 พฤษภาคม 2556
Last Update : 24 พฤษภาคม 2556 18:44:22 น. 0 comments
Counter : 559 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เอ็กซ์ซ่า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]




Friends' blogs
[Add เอ็กซ์ซ่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.