Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
14 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 
ภัยเงียบ “โรคซึมเศร้า” ทุกวัยมีสิทธิ์ป่วย



      โรคซึมเศร้า เป็นภัยเงียบคุกคามสุขภาพและจะกลายเป็นปัญหาอันดับ 1 ของโลกในอีก 18 ปีข้างหน้า เกิดได้ทุกวัย ทั่วโลกป่วยแล้วกว่า 350 ล้านคน ส่วนคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปป่วยแล้วกว่า 1.5 ล้านคน แต่เข้าถึงการรักษาน้อยเพียง 1 ใน 4 เพราะขาดความรู้ความเข้าใจ คาดแนวโน้มมีเพิ่มจาก 5 กลุ่มเสี่ยง ชี้โรคนี้เสี่ยงฆ่าตัวตายจบชีวิตสำเร็จสูงกว่าคนทั่วไป 20 เท่าตัว เร่งนโยบายเชิงรุกค้นหาผู้ป่วย เข้ารักษาในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ชี้พบเร็ว รักษาเร็ว มีโอกาสหาย พร้อมแนะให้ประชาชนออกกำลังกาย ป้องกันได้

      โรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุถึงร้อยละ 70 ที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และต้องทรมานในภาวะไร้สมรรถภาพมากเป็นอันดับ 3 ในหญิงไทย รองจากโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ารุนแรงจะจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า

    การป้องกันแก้ไขและลดความสูญเสียจากโรคซึมเศร้า

      1. ให้กรมสุขภาพจิตเร่งรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ว่าโรคซึมเศร้าไม่ใช่บ้าและรักษาหาย
      2. ขยายบริการการรักษาโรคนี้ลงในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง
ซึ่งโรคนี้รักษาได้ง่ายๆด้วยยาเพียงเม็ดเดียว กินวันละครั้ง ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 1 เดือน และต้องกินยาติดต่อกันนาน 6 เดือน จะสามารถป้องกันการกลับซ้ำได้ดีมาก
      3. กระตุ้นให้ประชาชนออกกำลังกายชนิดที่ต้องออกแรงและมีเหงื่อ
เช่นวิ่ง ปั่นจักรยานอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากจะทำให้สมองหลั่งสารต้านเศร้า ซึ่งมีชื่อว่าเอ็นดอร์ฟิน (Endorphine) ทำให้มีความสุข รู้สึกสบาย คลายความเครียดกังวลได้ดี

    ผู้ที่มีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้าใน 5 กลุ่มเสี่ยง

   
   1. ผู้ป่วยโรคทางกายเรื้อรัง เช่น เบาหวาน มะเร็ง ไตวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
      2. ผู้สูงอายุ
      3. หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
      4. ผู้ติดสุราและสารเสพติด
      5. ผู้สูญเสียทรัพย์สินจำนวนมากหรือสูญเสียคนรัก

     
โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่พบมากที่สุด เป็นโรคของสมอง เกิดจากความบกพร่องของสารสื่อประสาท ส่งผลให้มีภาวะผิดปกติทั้งร่างกายและจิตใจ

      อาการที่เป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้า ได้แก่
มีอารมณ์เศร้า ท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวังอย่างรุนแรง อาการเกิดตลอดวัน ทำอะไรก็ไม่เพลิดเพลิน ติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ร่วมกับอาการเบื่อหน่าย หมดความสนใจในงาน การเรียนหรือกิจกรรมที่ทำอย่างมาก หากพบผู้ใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้ต้องพาไปพบจิตแพทย์

    การป้องกันการเกิดโรคทางจิต

     
หากประชาชนที่มีปัญหาเครียด ไม่สบายใจ นอนไม่หลับ ไม่ควรเก็บปัญหาไว้คนเดียว ควรระบายปัญหาออก เช่น ปรึกษาผู้ที่ไว้วางใจที่สุดเพื่อหาทางออก ช่วยกันดูแลสมาชิกในครอบครัวสอบถามทุกข์สุข ทำกิจกรรม เช่น ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที จะสามารถคลี่คลายปัญหาสุขภาพจิตได้ดีมาก โดยร่างกายจะหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphine) ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ทำให้นอนหลับสนิททุกวัน และที่สำคัญไม่ควรใช้สารเสพติดหรือดื่มสุราดับทุกข์ เนื่องจากจะทำให้เกิดการเสพติด



ที่มา...กระทรวงสาธารณสุข




Create Date : 14 กรกฎาคม 2556
Last Update : 15 กรกฎาคม 2556 12:38:15 น. 0 comments
Counter : 700 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เอ็กซ์ซ่า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]




Friends' blogs
[Add เอ็กซ์ซ่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.