Group Blog
 
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
18 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 
เกร็ดสุขภาพ รู้จริงเรื่อง การนอน







เป็นเรื่องใกล้ตัวมากที่สุด อย่างที่รู้ๆ กันว่าวิธีพักผ่อนที่ดีที่สุด คือ การนอน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะหลับสบายยามหัวถึงหมอน หรือ หลับได้ทุกที่ทุกสถานการณ์ การนอนสำคัญและเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆ มากกว่าที่คิด หากอาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หรือง่วงหลับประจำตอนกลางวัน อะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริง และ ปัญหาใดเป็นความเชื่อผิดๆ กันแน่?


ความเชื่อ : ขณะนอนหลับพักผ่อน ร่างกายกับสมองจะหยุดพัก ไปด้วย


ข้อเท็จจริง : ขณะหลับ ร่างกายจะหยุดพักผ่อน แต่สมองยังคงทำงาน การนอนหลับเป็นการลดภาระให้สมองทำงานเบาลง เสมือนว่าได้ชาร์จแบต- เตอรี่เพื่อเตรียมพร้อมทำงานในวันต่อไป แต่ก็ยังคงต้องควบคุมการทำงาน อวัยวะต่างๆ ของร่างกายอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระบบหายใจ ระบบประสาท ฯลฯ


ความเชื่อ : ผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องนอนมาก


ข้อเท็จจริง : ไม่จริง ผู้สูงอายุต้องการนอนหลับพักผ่อนประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน เช่นเดียวกับคนหนุ่มสาว แต่อายุที่มากขึ้นประกอบกับการทำงาน ของอวัยวะในร่างกายเริ่มเสื่อมไปตามเวลา ทำให้กิจวัตรประจำวันเปลี่ยน แปลงไป ส่งผลให้พฤติกรรมการนอนไม่เหมือนเดิม นอนหลับได้น้อยชั่วโมงลง หรือหลับๆ ตื่นๆ ตลอดคืน แต่ไม่ว่านอนหลับได้ไม่เต็มอิ่มอย่างไร ร่างกายก็ยังคงต้องการเวลาพักผ่อนให้ได้ 7-9 ชั่วโมงอยู่ดี


ความเชื่อ : นอนหลับพักผ่อนน้อยเป็นประจำ ร่างกายจะชินและ ไม่ต้องการนอนมากอย่างที่เคย


ข้อเท็จจริง : ไม่จริง เคยมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการนอนว่า ในวัยผู้ใหญ่ หากนอนให้ได้ประมาณ 7-9 ชั่วโมงทุกวัน จะส่งผลให้สุขภาพ ร่างกายโดยรวมดีอย่างน่าทึ่ง หากวันไหนนอนหลับได้ไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะชดเชยชั่วโมงนอนที่ขาดรวมกับชั่วโมงนอนในอีก 2-3 คืนถัดไป ไม่ว่าเรา จะนอนน้อยเป็นประจำหรืออดนอนนานแค่ไหน ร่างกายไม่มีวันชินหรือยอมรับ ให้นอนน้อยได้ เพราะฝืนธรรมชาติการพักผ่อนที่ร่างกายต้องการ


ความเชื่อ : ง่วงหาวตอนกลางวันแสดงว่านอนไม่พอ


ข้อเท็จจริง : จริง สาเหตุของอาการง่วงหาวตอนกลางวัน อาจมีส่วนหนึ่งมาจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ แต่ก็อาจเกิดกับคนที่นอนหลับเต็มอิ่มได้ด้วย และถ้าง่วงผิดสังเกต อาจเป็นสัญญาณเตือนว่ามีเรื่องสุขภาพอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้ร่างกายขาด การพักผ่อนอย่างเต็มที่ ควรปรึกษาแพทย์


ความเชื่อ : นอนน้อยมีผลต่อน้ำหนัก


ข้อเท็จจริง : จริง หากนอนหลับไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่อระบบฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะเลปตินและเกรลิน ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ ฮอร์โมนทั้ง 2 มีหน้าที่ควบคุมและสร้างสมดุลความต้องการอาหาร ฮอร์โมนเกรลินถูก ผลิตขึ้นในระบบทางเดินอาหาร มีหน้าที่กระตุ้นความอยากอาหาร ในขณะที่ เลปตินถูกผลิตในเซลล์ไขมัน ทำหน้าที่ส่งสัญญาณรับรู้ว่าอิ่มไปยังสมอง เมื่อได้รับอาหารพอดีกับความต้องการ ดังนั้นหากนอนหลับไม่เพียงพอ จะส่ง ผลให้ระดับเลปตินต่ำลง ร่างกายไม่รู้สึกอิ่มอย่างที่ควรจะเป็น ตรงกันข้าม ฮอร์โมนเกรลินจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้อยากอาหารเพิ่มมากขึ้น จนกินเกินพอดี


วันนี้การนอนของคุณอยู่ในระดับ A+ แล้วหรือยัง?





ที่มา : zazana.com
ขอบคุณภาพประกอบ : //www.photos.com












Create Date : 18 มีนาคม 2555
Last Update : 18 มีนาคม 2555 0:44:46 น. 0 comments
Counter : 1136 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เอ็กซ์ซ่า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]




Friends' blogs
[Add เอ็กซ์ซ่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.