IVM อีกทางเลือกใหม่สำหรับคนอยากมีลูก



         
ปัจจุบันเทคโนโลยีเพื่อช่วยการเจริญพันธุ์ได้รับพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
มีทั้งการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)  อิ๊กซี่ (ICSI) และซิฟต์ (ZIFT)
ล่าสุดมีวิธีการใหม่ๆ สำหรับช่วยผู้มีบุตรยาก เรียกว่า IVM หรือ In Vitro
Maturation มาเป็นทางเลือกใหม่เพิ่มขึ้นค่ะ



รู้จัก
IVM

          IVM ย่อมาจาก In Vitro Maturation
เป็นการนำไข่ที่ยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์เต็มที่จากรังไข่
มาเลี้ยงในห้องทดลองจนโตเต็มที่
แล้วนำมาผสมกับเชื้ออสุจิจนมีการปฏิสนธิที่สมบูรณ์
จากนั้นจึงย้ายเข้าไปที่โพรงมดลูก
โดยไม่ต้องฉีดฮอร์โมนเพื่อให้ได้ไข่หลายใบ ถึงแม้อัตราความสำเร็จของ IVM
จะยังถือว่าต่ำกว่าแบบที่ใช้ฮอร์โมนอยู่
แต่ก็นับเป็นอีกทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจไม่น้อยเลยค่ะ
IVM เหมาะกับใคร

1.กลุ่ม
ผู้หญิงซึ่งมีรังไข่ชนิดพิเศษ ที่มีถุงไข่เล็กๆ รอบๆ รังไข่ เรียกว่า POC
เมื่อทำการกระตุ้นด้วยฮอร์โมน ผู้หญิงกลุ่มนี้จะตอบสนองมากเกินไป
หรือเรียกว่ามีอาการบวมน้ำ ทำ ให้ปวดท้อง มีอาการบวม
มีน้ำในช่องท้องและช่องปอด ซึ่งสามารถสังเกตได้ เช่น
ประจำเดือนอาจจะมาผิดปกติ มีหน้ามัน มีสิวเยอะ มีหนวดและขนขึ้นเยอะผิดปกติ
เมื่อมีอาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้
และบางครั้งอาจทำให้พิการได้ หากลิ่มเลือดไปอุดตันที่สมอง

2.กลุ่ม
ที่มีการตอบสนองต่อการกระตุ้นฮอร์โมนแบบครึ่งๆ กลางๆ
อาจทำให้ไข่เจริญเติบโตเพียงครึ่งหนึ่ง แล้วหยุดการเจริญเติบโต
อาจมีภูมิต้านทานจากการได้รับสัญญาณจากฮอร์โมน

3.กลุ่มที่ตัวอ่อน
ที่ได้จากการกระตุ้นฮอร์โมนคุณภาพไม่ดี เพราะว่าไข่ที่ได้สัมผัสฮอร์โมนสูงๆ
อาจมีปัญหาเรื่องคุณภาพได้

4.ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง
แล้วรักษาด้วยการฉายรังสี หรือใช้เคมีบำบัด
มะเร็งบางชนิดอาจกระตุ้นให้ฮอร์โมนขึ้นสูง มะเร็งจึงกระจายมากขึ้น
กรณีนี้สามารถดูดไข่ออกมาเลี้ยงให้สมบูรณ์แล้วแช่แข็งเก็บไว้
พอรักษามะเร็งหายก็ค่อยเอาไข่ไปใช้ได้

5.ผู้ที่ต้องการจะบริจาคไข่
แต่ไม่ต้องการฉีดกระตุ้นฮอร์โมน วิธีนี้สามารถดูดเอาไข่ออกเอาไปใช้ได้เลย
แต่ยังเป็นขั้นตอนที่อยู่ในการพัฒนา



ข้อดี
และข้อด้อย

-ข้อดี
1.คุณ
แม่จะเครียดน้อยกว่า แล้วสามารถกลับทำซ้ำได้ในภายใน 1 เดือน
หากเป็นการกระตุ้นฮอร์โมนก็ต้องรอฮอร์โมนลดต่ำลง ซึ่งต้องใช้เวลา 2-3
เดือนก่อนที่จะกลับมาทำใหม่ได้

อีกทั้งค่าใช้จ่ายของวิธีการนี้ก็
ถูกกว่าประมาณ 30-40% สำหรับวิธีนี้ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 2 แสนบาท 

2.เทคโนโลยี
IVM เหมาะกับคนที่ไม่ต้องการเสี่ยงกับโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น เช่น
อาการบวมน้ำ เพราะโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจะอันตรายต่อสุขภาพ
ค่าใช้จ่ายก็อาจเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การตั้งครรภ์ล่าช้าออกไป

-ข้อเสีย
         
อัตราความสำเร็จของ IVM จะต่ำกว่าการกระตุ้นฮอร์โมนประมาณ 5%
และหากไม่มีอาการแทรกซ้อนของโรค
การกระตุ้นฮอร์โมนยังคงเป็นตัวเลือกอันดับแรกอยู่ดี

          แม้ว่าเทคโนโลยีจะเป็นส่วนหนึ่ง
แต่การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงก็ยังคงเป็นพื้นฐานสำคัญของความสำเร็จใน
การตั้งครรภ์ ขอเอาใจช่วยผู้ที่อยากเป็นคุณแม่ทุกคนให้สมหวังนะคะ






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 21:55:03 น.
Counter : 362 Pageviews.  

การดูแลลูก

          เคยรู้สึก'ผิด'กับบทบาทคุณแม่
ของตัวเองมั้ยคะ ดิฉันเคยเป็นบ่อยๆ โดยเฉพาะตอนที่ลูกทั้ง 3 ยังเล็กมาก
เช่น รู้สึกผิดว่าน่าจะดูแลลูกได้ดีกว่านี้ตอนเขาป่วยและชักครั้งแรก 
น่าจะควบคุมตัวเองได้ดีกว่านี้เมื่อโกรธและระเบิดอารมณ์กับลูก 
น่าจะสร้างวินัยให้ลูกมากกว่านี้ น่าจะ...ฯลฯ   
หรือบางครั้งดิฉันก็หวั่นไหวว่าเราให้สิ่งที่ดีที่สุดกับลูกแล้วหรือยัง  
                 
แม่ยุคนี้ ”รู้” มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องพัฒนาการของสมอง
สติปัญญาและอารมณ์การรู้มาก บางครั้งก็นำมาซึ่งปัญหา 
เพราะบางทีเราไม่รู้ว่าจุดพอดีอยู่ตรงไหน  เนื่องจากคำว่า ”พอดี”
ฟังดูง่ายในเชิงทฤษฎี แต่ในชีวิตจริงเชื่อว่าต้องหวั่นไหวกันบ้างล่ะว่า 
“ลูกเราจะดูแลตัวเองได้มั้ย?” “ลูกคนอื่นทำไมรู้เยอะจัง!”
“ทำไมเราไม่สามารถหาสิ่งที่ดีกว่านี้ให้ลูกได้” 

เชื่อไหมคะว่าไม่
ใช่ดิฉันหรือเพื่อนๆ คุณแม่เท่านั้นที่ตั้งคำถามเหล่านี้กับตัวเอง
(มากบ้างน้อยบ้าง) แต่ความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นกับแม่ทั่วโลก 


ความรู้สึก “ผิด”
ของแม่?


               
ดิฉันอ่านเจองานสำรวจชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับคุณแม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
จัดทำโดยบริษัทวิจัยชั้นนำของโลกชื่อ TNS พบว่าคุณแม่จำนวนมากรู้สึก”ผิด”
ที่ไม่ได้เป็นแม่ที่ดีกว่านี้  ทั้งแม่ที่เป็นหญิงทำงานและแม่บ้าน 
คุณแม่ที่ทำงานนอกบ้านมักรู้สึกผิดว่ามีเวลาให้ลูกน้อย 
ส่วนแม่บ้านมักมีปัญหาว่าไม่สามารถสร้างระเบียบวินัยให้ลูกได้ 
ส่วนเรื่องที่รู้สึกผิดร่วมกันคือไม่แน่ใจว่าได้ให้การศึกษาที่ดีที่สุดแก่
ลูกแล้วยัง   นำลูกไปถูกทางแล้วยัง  บางคนรู้สึกว่าตัวเองเข้มงวดเกินไป 
บางคนรู้สึกผิดเมื่อเห็นลูกอยู่ในอาการเบื่อแล้วช่วยลูกไม่ได้ก็รู้สึกผิด 
อ่านงานวิจัยชิ้นนี้แล้วทำให้รู้สึกว่ามีเพื่อนร่วมชะตากรรมไม่น้อยเลยล่ะ
ค่ะ
  
งานวิจัยนี้ยังพบว่าความสัมพันธ์แม่ลูกนั้นถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น  91 %
ของแม่ที่มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับแม่ของตัวเองจะเป็นแม่ที่ใกล้ชิดกับ
ลูก    72 %  คิดว่าการเลี้ยงลูกสมัยนี้ยากกว่าตอนตัวเองเป็นเด็ก 
จำนวนของลูกก็ส่งผลต่อความรู้สึกของแม่  ยิ่งมีลูกมากยิ่งรู้สึกผิดมาก 
เขาพบว่า 41 %  ของคุณแม่ที่มีลูกคนเดียวรู้สึก ”ผิด” เป็นบางครั้ง 
ในขณะที่ 52 % ของคุณแม่ลูกสองจะรู้สึกผิดในระดับเดียวกัน   และ  63 %
สำหรับแม่ที่มีลูก 3 คน



ความ
เครียดของแม่


                  Dr. Suniya
Luthar
นักวิชาการด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียที่สหรัฐได้ศึกษาเรื่องความ
เครียดของแม่ 
เธอทำการเซอร์เวย์แบบออนไลน์กับคุณแม่อเมริกันทั้งที่เรียนสูงๆ
และเรียนจบระดับมัธยมปลาย  ทั้งรายได้น้อยถึงรายได้สูง 
พบว่าแม่สมัยนี้กำลังทำร้ายตัวเอง  และแม้จะบอกใครๆ ว่าตัวเองมีความสุข 
หรือดูเป็น super mom  แต่ลึกๆ แล้วจำนวนมากมี “ความโกรธ 
ความอยากและความโดดเดี่ยวซ่อนอยู่ในใจ เหมือนระเบิดเวลาที่กดปุ่มเมื่อไร
มันจะทำงานเมื่อนั้น” 
จากการสำรวจพบว่าแม่ที่การศึกษาน้อยกว่าจะไม่
ค่อยรู้สึกพอใจในชีวิตโดยรวม แต่พอใจในความเป็นแม่ 
ในขณะที่แม่ที่เรียนสูงๆ มักมีความพึงพอใจในชีวิตแต่มักมีความกังวลสูง
เธอบอกว่าเราควรใส่ใจแม่กลุ่มนี้ให้ดีเพราะลูกๆ
ของพวกเธอกำลังจะเติบโตขึ้นเป็นผู้นำรุ่นต่อไป (คงเพราะมีโอกาสมากกว่า)
                
นอกจากนี้เธอยังพบว่าตัวการความเครียดของเด็กสมัยนี้มาจาก ”คุณแม่”
เพราะแม่กำลังยัดเยียดให้ลูกๆ ทำกิจกรรมต่างๆ มากเกินไป 
“เรากำลังวิ่งไปทั่วเหมือนไก่ตื่น  แล้วคุณหล่ะคิดอย่างไร?” 

ส่วน
นี้แหละค่ะที่ดิฉันถามตัวเองอยู่บ่อยๆว่า “แค่ไหนคือพอดี?”
ก็เด็กสมัยนี้เก่งๆ กันทั้งนั้นทั้งดนตรี กีฬา
ศิลปะนี่ขนาดยังไม่รวมวิชาการนะ???

เวลาคุณภาพ?

                 
ดิฉันไม่ค่อยรู้สึกตื่นเต้นกับบทความของ Dr.Luthar
เท่ากับความเห็นจากผู้อ่านโดยเฉพาะรายที่บอกว่าเธอมีดีกรีเป็น Ph.D 
“แม่ที่ร่ำรวย  เงินดี งานดี มีอำนาจมักภูมิใจกับตัวงานน้อย 
เมื่อเทียบกับรายได้มหาศาล  และไม่สามารลงจากหลังเสือได้  ลูกๆ
ของพวกเธอก็มักเป็นเช่นนั้น… คุณแม่ทำงานมักมีปัญหาเรื่องให้เวลากับลูก 
และพวกเธอ  (ซึ่งเป็นคุณแม่ที่รู้สึก ”ผิด” กับการไม่มีเวลาให้ลูก)
นี่แหละที่น่าจะเป็นคนบัญญัติคำว่า quality time
หรือเวลาคุณภาพ...ที่จริงแล้วไม่มีคำว่าเวลาคุณภาพ
เพราะธรรมชาติสร้างให้ผู้ใหญ่ (พ่อแม่) ต้องอยู่กับเด็ก (เล็ก) 
การจะมีเวลาเพียง 5 นาที 10 นาทีหรือ 1
ชั่วโมงจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีคุณภาพ 
อย่างไรก็ตามเธอทิ้งท้ายว่าในที่สุดแล้วสังคมต้องลงมารับผิดชอบเรื่องการ
เลี้ยงดูเด็ก  และไม่ถูกต้องที่จะคิดว่างานอาชีพหนึ่งๆ จะให้ใครทำก็ได้
เพราะงานบางอย่างไม่เหมาะกับแม่ลูกอ่อน



* * * * * * * ********




Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 21:53:26 น.
Counter : 546 Pageviews.  

- ฝึกหายใจ เรื่องสำคัญก่อนคลอด





        
ถือเป็นลมหายใจที่แบ่งปันจากแม่สู่ลูก
เพราะการหายใจทุกครั้งของแม่คือการส่งความรัก ความห่วงใย
อาหารและอากาศไปให้ลูก พ่อแม่ต้องตั้งสติร่วมกัน
ช่วยทำให้การสื่อสารนี้เป็นไปด้วยดี อย่าปล่อยให้ความกลัว ความวิตก
และความขาดสติมาบดบังคลอบงำ ด้วยการฝึกฝนเพื่อดึงเอาเทคนิคดีๆ
ที่เราทุกคนทำได้ กลับไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอทั้งก่อนคลอดและหลัง คลอด



ทำความ
เข้าใจก่อนฝึก



ก่อนจะไปถึงขั้นตอนการฝึกหายใจ
ขอทำความเข้าใจกับว่าที่คุณแม่ที่อ่านทุกคนก่อนว่า 



+
อาการตกใจและความกลัวความเจ็บปวดเป็นเรื่องปกติ แต่เราต้องทบทวนกันว่า
ควรจะตอบสนองความตกใจ ความวิตก หรือความเจ็บปวดนั้นอย่างไร
เพื่อที่จะไม่ทำให้สถานการณ์แย่ลงไป และเพื่อให้เรารู้สึกดีขึ้น
รู้สึกปลอดภัย และช่วยให้การคลอดดำเนินไปอย่างปกติ



+
การเจ็บท้องคลอดเป็นอาการปกติที่จะบอกให้เรารู้ว่าลูกพร้อมแล้วที่จะออกมาพบ
คุณพ่อคุณแม่ และการเจ็บคลอดจะเริ่มต้นทีละน้อย แล้วค่อยๆ
มีมากขึ้นเมื่อใกล้คลอด ตามจังหวะการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
เพื่อเปิดปากมดลูก โดยมีระยะพักเป็นช่วงๆ จนกระทั่งคุณแม่คลอดเสร็จ
อาการเจ็บคลอดก็จะหายไปทันที





กระบวนการนี้มีคู่กับสิ่งมีชีวิตนับตั้งแต่พระ
เจ้าสร้างโลกและตั้งแต่มีสิ่งมีชีวิตขึ้นมา ที่สำคัญที่สุดก็คือว่า
อาการเจ็บนี้ช่วยให้เกิดการเตรียมตัวอย่างเหมาะสม
ทั้งยังให้เวลาในการปรับตัว เพราะการหดตัวจะเริ่มทีละน้อย
และมีระยะพักนานในช่วงแรก
เพื่อให้ว่าที่คุณแม่ได้ตั้งสติให้รับรู้ว่าการหดตัวของมดลูกจะเริ่มพัฒนาไป
จนกระทั่งลูกคลอดนะคะ



+ การหายใจในระหว่างการคลอด
เป็นการรับออกซิเจนเพื่อสุขภาพของแม่และลูก
และการหายใจตามปกติดีเพียงพอสำหรับการรับออกซิเจนอย่างเต็มที่ระหว่างการ
คลอด เทคนิคการหายใจแบบอื่นคิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเวลาสติแตก
เกิดการกลั้นหายใจ ร้องโวยวายเลยหายใจไม่ออกหรือหายใจสั้นๆ
ซึ่งการหายใจที่กล่าวมาจะทำให้การระบายคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ดีพอ
จนอาจเป็นผลเสียกับทั้งแม่และลูก



ดังนั้นเมื่อเจ็บคลอดหรือตกใจ
พยายามควบคุมตนเองเพื่อให้หายใจตามปกติ อันนี้แหละยาก ระลึกไว้เสมอว่า
“สติมาปัญญาเกิด สติไม่มาปัญญาเตลิด”



ฝึกหายใจ
เตรียมพร้อมก่อนคลอด





จะคลอดแล้วต้องทำอย่างไร ต้องเบ่งแบบไหน
หายใจอย่างไรกันนะ ว่าที่คุณแม่หลายคนก่อนคลอดหายใจไม่เป็น
ไม่รู้ว่าควรหายใจอย่างไรจึงจะถูกต้อง ขณะที่ว่าที่คุณแม่บางคนรู้วิธี
แต่ไม่ค่อยใส่ใจ ทั้งที่จริงแล้วการหายใจระหว่างคลอดเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย
มาเริ่มต้นฝึกกันตั้งแต่วันนี้ดีกว่าค่ะ



ท่าที่ 1
ฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง สำหรับคนที่ยังไม่ท้องหรือท้องอ่อนๆ
ให้นอนหงาย ไม่ต้องหนุนหมอน วางแขนข้างลำตัว หายใจเข้าให้ท้องป่อง
หายใจออกให้ท้องแฟบ ทำช้าๆ อย่ารีบร้อน ท่านี้ทำสักพักมักหลับสบาย
แต่ถ้านอนหงายแล้วอึดอัดก็ขยับเป็นนอนตะแคงได้ค่ะ



ท่าที่ 2
นั่งพิงเบาะสบายๆ ปล่อยแขนและมือไว้ข้างตัว หรือประสานมือไว้ที่หน้าตัก
หายใจเข้าแล้วผ่อนลมหายใจออกอย่างอ่อนโยน ไม่เร่งรีบ
ปล่อยไหล่และกล้ามเนื้อต้นคอผ่อนคลายในทุกจังหวะของการหายใจออก
หลังจากหายใจไป 2-3 ครั้งค่อยๆ
หลับตาและหายใจเข้า-ออกต่อไปอีกสักครู่จนรู้สึกสบาย



Note : ท่าที่ 1
และ 2 นี้ ใช้ได้เวลาที่เริ่มเจ็บคลอด ระหว่างมดลูกหดตัว
หรือเวลาที่รู้สึกวิตกกังวล



ท่าที่ 3 คุณแม่
ลองใช้วิธีการลูบหน้าท้องเบาๆ พร้อมกับการหายใจเข้าทางจมูก
และผ่อนลมหายใจออกหรือเป่าลมออกทางปากช้าๆ ทำซ้ำหลายๆ
ครั้งจะพบว่าสบายตัวขึ้น ทนได้ดีขึ้น
คนที่ไม่ได้ท้องก็เอามือประสานหรือวางไว้ข้างตัวก็ได้ค่ะ



ท่าที่ 4 การฝึก
การหายใจให้ยาวขึ้น คือการหายใจเข้าแล้วเป่าลมหายใจออกทางปากช้าๆ
โดยเป่าลมใส่ปลายนิ้วมือที่ยกขึ้นมาให้ห่างจากปากสัก 1 ฝ่ามือ
โดยให้รู้สึกถึงลมที่เป่าอย่างสม่ำเสมอเวลาหายใจออก
ก็ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้



ท่าที่ 5
ถ้ากำลังคิดว่าการร้องออกเสียงอาจช่วยลดการปวด
และช่วยให้เรามีพลังมากขึ้นอาจไม่ถูกต้องนัก
เพราะการร้องช่วยระบายความรู้สึก แต่ทำให้เราออกแรงแบบไม่ได้ประโยชน์นัก
ถ้าเรากลับมามองการปิดปากและออกเสียง “โอม...”
จะพบว่าศีรษะของคุณแม่จะก้มลง และความรู้สึกควบคุมตัวเองได้กลับดีกว่า
มีพลังกว่าร้องแบบไร้ทิศทาง





ลองมาหายใจช้าๆ แล้วทำเสียง “โอม...”
ในจังหวะหายใจออกช้าๆ คุณแม่จะพบพลังที่ซ่อนในอยู่ในตัว
ซึ่งเทคนิคนี้คุณแม่สามารถเอามาใช้เวลาที่จะเบ่งคลอด คือหายใจเข้าช้าๆ
ให้เต็มที่ ทำเสียงโอม (เบาๆ) ในจังหวะเบ่งเมื่อมดลูกหดตัวค่ะ



การฝึกสมาธิ การหายใจ
การผ่อนคลายยังสามารถทำได้อีกหลายวิธี
คุณแม่ไม่จำเป็นต้องฝึกหายใจอย่างเดียว แต่อาจฝึกไปพร้อมกับทำกิจกรรมต่างๆ
เพื่อให้เราจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
เพราะการคลอดต้องการให้คุณแม่จดจ่อกับการทำงานของร่างกาย
จะทำให้การคลอดราบรื่น



... เชื่อว่าคุณแม่ทำได้ค่ะ






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 21:51:40 น.
Counter : 323 Pageviews.  

รู้ไว้ก่อนไปคลอด





          
เมื่อศีรษะของทารกเคลื่อนต่ำลงมาในช่องกระดูกเชิงกราน
โดยศีรษะของเด็กจะหมุน เพื่อหันหน้ามาอยู่ทางด้านหลังของแม่
ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่สิ่งมีชีวิตตัวน้อยๆ
กำลังถือกำเนิดขึ้นกระบวนการคลอดแบบธรรมชาติ (Natural Birth หรือ Active
Birth) ว่าที่คุณแม่หลายคนอาจมีความต้องการ คลอดในลักษณะนี้
เพราะถือเป็นครั้งหนึ่งในชีวิต
 ลูกผู้หญิงที่จะได้รับรู้ถึงความรู้สึกเจ็บท้องเบ่งคลอดเอง...
และยิ่งมีคนที่รักอยู่เคียงข้างด้วยแล้วคงสุขใจ และอุ่นใจได้ไม่น้อย...



หากนับถอยหลังก่อนการคลอดนั้น
ในช่วงเวลา 8 ชั่วโมงแรก
อาการ
และความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับคุณแม่ คือ ปากมดลูกบางขึ้น
และเริ่มเปิดจนเปิดหมด ซึ่งการคลอดในลักษณะตามธรรมชาตินี้สามารถแบ่งอาการ
เจ็บท้องได้เป็น 3 ระยะ
คือระยะเฉื่อย ระยะเร่ง
และระยะปรับเปลี่ยน...
เหล่านี้ถือเป็นสัญญาณดีที่เตือนให้รู้ว่าเจ้าตัวน้อยใกล้ลืมตาดูโลกแล้ว...



ระยะ
เฉื่อย
อาจเริ่มมีมูกเลือดบ้างเพราะปากมดลูกเริ่มเปิด
แต่ยังไม่มีน้ำเดิน ส่วนใหญ่คุณแม่มีอาการปวดท้องไม่ค่อยมาก ปวดเป็นพักๆ
นาน 8-12 ชั่วโมงในท้องครั้งแรก และ 6-8 ชั่วโมงในท้องสอง
ช่วงนี้ปากมดลูกเปิดประมาณ 3 เซนติเมตร
ซึ่งคุณแม่ควรสังเกตความถี่ในการเจ็บท้องด้วย





ระยะ
เร่ง
คุณแม่บางคนอาจเริ่มมีน้ำเดิน อาการปวดท้องมากขึ้น
เพราะการหดรัดตัวของมดลูกจะแรง และถี่ขึ้นประมาณ 4-5 ครั้งต่อชั่วโมง
และจะเจ็บท้องนาน 4-6 ชั่วโมงในท้องแรก และ 2-4 ชั่วโมงในท้องสอง
ช่วงนี้ปากมดลูกเปิดประมาณ 4-8 เซนติเมตร
ซึ่งในระยะนี้อาจยังไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล



ดัง นั้น
บทบาทของคนใกล้ชิดอย่างคุณพ่อในระยะนี้ควรประคองรับน้ำหนักคุณแม่
และหาท่าที่ทำให้รู้สึกสบายสำหรับคุณแม่ หากอยู่ในท่ายืนควรงอเข่าเล็กน้อย
ป้องกันอาการตึง และล้าที่ขา ควรยืนแยกเท้าให้ห่างพอสมควร เพื่อการทรงตัว
และช่วยให้กระดูกเชิงกรานผายออก





ระยะ
ปรับเปลี่ยน
เป็นระยะที่ซับซ้อนที่สุดของการคลอด
เพราะปากมดลูกเปิด 8-10 เซนติเมตร และเข้าสู่การเบ่งคลอดได้
มดลูกจะหดรัดตัวนานมาก ถุงน้ำคร่ำสามารถแตกได้
ซึ่งช่วยลดอาการตึงถ่วงที่ช่องคลอด
ช่วงนี้คุณแม่อาจรู้สึกอยากเบ่งคลอดซึ่งหากเบ่งแล้วรู้สึกเจ็บแสดงว่าปาก
มดลูกยังเปิดไม่เต็มที่ควรหยุดเบ่ง และเปลี่ยนเป็นท่าเข่าชิดหน้าอก
นอกจากนี้ยังเป็นระยะที่มีการปรับเปลี่ยนของอารมณ์ด้วย
ซึ่งบางครั้งไม่สามารถควบคุมตัวเองได้



สำหรับ
วิธีการผ่อนคลายควรอาบน้ำด้วยฝักบัวในท่ายืน หรือนั่งช่วยบรรเทาความปวด
ใช้การนวด ประคบน้ำร้อนบริเวณที่ปวด แช่น้ำอุ่นในอ่าง ใช้กลิ่นบำบัด
หรือเปิดเพลงผ่อนคลาย ที่สำคัญควรให้การปลอบโยนอย่างใกล้ชิด



ในช่วง 2 ชั่วโมงสุดท้าย หลัง
จากที่ศีรษะเคลื่อนมาอยู่ใกล้ทวารหนักและปากช่องคลอด
ในที่สุดศีรษะของเด็กก็จะค่อยๆ เคลื่อนผ่านช่องคลอดออกมา





ช่วงนี้ควรรีบไปโรง
พยาบาลโดยเร็วที่สุดเพื่อเตรียมตัวคลอด เพราะคุณแม่จะเจ็บท้องไม่เกิน 2
ชั่วโมงสำหรับท้องแรก และไม่เกิน 1 ชั่วโมงในท้องหลัง
ซึ่งปากมดลูกจะเปิดหมดแล้ว เป็นระยะที่เด็กเคลื่อนผ่านช่องคลอดออกมาแล้ว
ซึ่งหลังจากทารกคลอดแล้ว มดลูกจะเริ่มหดตัวเพื่อลดขนาด
และจะหดตัวต่อไปเรื่อยๆ กระบวนการนี้จะได้รับการช่วยเมื่อทารกดูดนมแม่
จากนั้นรกจะค่อยๆ ลอกออกจากผนังมดลูก และเคลื่อนลงสู่ช่องคลอด
ซึ่งโดยปกติแล้วรกจะคลอดหลังจากการคลอดทารกประมาณ 20 นาที
จากนั้นแพทย์จะตรวจสอบว่าไม่มีส่วนใดติดค้างอยู่ในโพรงมดลูกอีก...



คุณแม่ควรอยู่ในท่า นั่งระหว่างรอให้รกคลอด
จะได้โอบอุ้ม และมองเห็นหน้าลูกได้ชัดเจน
นอกจากนนี้ยังทำให้ลูกดูดนมแม่ได้ง่ายขึ้น
การที่คุณแม่และลูกได้สัมผัสผิวของกัน และกัน
ทำให้ลูกได้รับความอบอุ่นผ่านสัมผัสของแม่ ซึ่งช่วยในการปรับอุณหภูมิของลูก
และช่วยสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกอีกด้วย



เมื่อคุณแม่เข้าใจการ เปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
และลักษณะอาการต่างๆ ก่อนคลอดแล้ว ก็จะสามารถดูแลตัวเองได้
และช่วยให้คุณแม่คนใหม่สามารถรับมือกับช่วงเวลานี้อย่างมีสติ
และไม่ตื่นกลัวต่อไป...






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 21:50:11 น.
Counter : 740 Pageviews.  

ตอบแทนพระคุณแม่...ห่างไกลโรคกระดูกพรุน






    
หากจะกล่าวว่าแคลเซียมเป็นธาตุอาหารสารพัดประโยชน์ก็คงจะไม่มีเสียงค้าน
เพราะ แคลเซียมมีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายทุกระบบ
ไม่ว่าจะเป็นระบบไหลเวียนโลหิต การทำงานของสมอง
และสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก ในแต่ละวันเราได้รับแคลเซียมจากอาหาร เช่น
ผลิตภัณฑ์จากนม กุ้งแห้งตัวเล็ก ปลาเล็กปลาน้อย ถั่วแดง และงาดำ เป็นต้น
เพื่อชดเชยกับการสูญเสียจากร่างกายทางปัสสาวะ แต่ “แม่”
ของเรานั้นต้องเสียแคลเซียมในปริมาณมากเพื่อการเจริญเติบโตของลูกในครรภ์
ก่อนที่ลูกจะเกิดเสียอีก นอกจากนี้ “แม่”
ยังต้องเสียแคลเซียมอีกมากมายทางน้ำนมเพื่อเสริมสร้างให้ลูกเติบโตขึ้นอย่าง
สมบูรณ์และแข็งแรง



           เมื่อเวลาผ่านไป
เราเติบโตขึ้นเป็นกำลังของสังคม ขณะที่ “แม่”
สูงวัยขึ้นและกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงชีวิตในวัยผู้สูงอายุ “แม่” ณ
เวลานี้อาจต้องเผชิญกับการสูญเสียแคลเซียมจำนวนมากจากกระดูก
ซึ่งอาจนำไปสู่โรคกระดูกพรุน ซึ่งมีสาเหตุ
จากความเสื่อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
จากปัจจัยทางพันธุกรรมและการขาดฮอร์โมนเพศหญิงหลังหมดประจำเดือน

อย่างไรก็ตาม
ยังมีปัจจัยอีกมากมายที่เป็นตัวเสริมเร่งให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้รวดเร็ว
มากขึ้น เช่น การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ
ตลอดจนพยาธิสภาพบางประการ ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดเรื้อรัง และโรคทางไต
เป็นต้น ภาวะกระดูกพรุนนี้เป็นเหตุให้คุณภาพชีวิตของ “แม่” ลดลง
แต่ก็เป็นภาวะที่สามารถชะลอหรือบรรเทาลงได้หากได้รับกำลังใจและความเอาใจใส่
จากลูก ๆ ทุกคน



        
โดยทั่วไปการรักษาโรคกระดูกพรุนสามารถทำได้ด้วยการใช้ยาหรือฮอร์โมน
แต่การชะลอการเกิดหรือการป้องกันดูจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการ
รักษาหลังเกิดโรคแล้ว
ปัจจุบันมีอยู่หลายวิธีที่มีรายงานทางวิชาการว่าสามารถชะลอหรือลดความรุนแรง
ของโรคนี้ได้ อาทิเช่น การออกกำลังกายที่มีความแรงเหมาะสม
และการให้แคลเซียมเพื่อรับประทานเสริม
การตอบแทนพระคุณแม่อย่างการชักชวนให้แม่ออกกำลังกายสม่ำเสมอและรับประทาน
อาหารแคลเซียมสูงจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพกระดูกของแม่ในระยะยาว อย่างไรก็ดี
ในทางวิชาการยังมีข้อจำกัดสำหรับการช่วยให้กระดูกของ “แม่” แข็ง
แรงอยู่ 2 ประการ
ดังนี้คือ





1.
การออกกำลังกายที่มีแรงกระทำต่อกระดูกและข้อสูง
อาจ
ทำให้เกิดการบาดเจ็บของข้อต่อ หรือทำให้ข้อเสื่อมได้
ฉะนั้นจึงมีการตั้งสมมติฐานว่าการออกกำลังกายอาจต้องเป็นแบบแรงกระแทกต่ำ
(Non-impact exercise) เช่น การว่ายน้ำ ที่ลดการบาดเจ็บของข้อต่อได้
แต่องค์ความรู้เรื่องผลของการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำต่อการสร้างความ
แข็งแรงของกระดูกมีอยู่น้อยมาก
งานวิจัยส่วนใหญ่เน้นที่การเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกในคนอายุน้อยหรือในนัก
กีฬา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการออกกำลังกายแบบมีแรงกระแทกสูง เช่น การวิ่ง
หรือกระโดด



2.

ประสิทธิภาพของกระบวนการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารเข้าสู่ร่างกายจะลดลงตามอายุ
ของ “แม่” ที่เพิ่มขึ้น
ดัง
นั้นแคลเซียมจากอาหารแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่าง
กาย จึงมีความจำเป็นต้องรับประทานแคลเซียมเสริม
ซึ่งแม้ว่าจะทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมมากขึ้น
แต่ร่างกายก็ไม่อาจดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งหมด
การเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมของร่างกายตลอดจนการพัฒนารูปแบบของ
แคลเซียมที่จะเข้าสู่ร่างกายได้ดีจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ด้านกลไกการดูดซึม
แคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย
องค์ความรู้ดังกล่าวนี้เป็นที่ทราบและยอมรับมากว่าหนึ่งทศวรรษ อย่างไรก็ตาม
ผลการวิจัยในปัจจุบันที่ใช้เทคนิคอันทันสมัยมากขึ้นบ่งชี้ว่า
องค์ความรู้นี้มีความคลาดเคลื่อนค่อนข้างมาก
ดังนั้นนักวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูกจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อ
พัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกต้องขึ้นมาใหม่
สำหรับการต่อยอดความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียม



            คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากงาน
วิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก
ตลอดจนผลกระทบเชิงบวกขององค์ความรู้ใน
ด้านนี้ต่อสังคมไทย จึงได้จัดตั้ง “เครือข่ายวิจัย
ด้านแคลเซียมและกระดูก”
ขึ้น ภายใต้การนำของ ศาสตราจารย์
ดร. นทีทิพย์ กฤษณามระ
โดย
มีนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในสาขานี้เป็นสมาชิกเครือข่ายฯ กว่า 20 คน
เช่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ. นรัตถพล เจริญพันธุ์
ซึ่งเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ของคณะฯ ภารกิจหลักของเครือข่ายฯ คือ ดำเนิน
การวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกโดยการออก
กำลังกายประเภทต่าง ๆ
และการเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมเพื่อชะลอหรือลดความรุนแรงของโรค
กระดูกพรุน โดยเฉพาะใน “แม่” ที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและวัยผู้สูงอายุ





          
งานวิจัยอีกส่วนหนึ่งยังแสดงให้เห็นว่า มี
ความเป็นไปได้ที่จะป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกของแม่ในระหว่างเลี้ยงบุตร
ด้วยน้ำนมแม่โดยให้แม่รับประทานแคลเซียมเสริมในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม
ทั้งนี้เพราะในระหว่างให้นมบุตรจะมีฮอร์โมนที่อยู่ในกระแสเลือด
หลายชนิด
ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารที่รับประทานเข้าสู่
ร่างกายได้ในอัตราที่สูงขึ้นเป็นเท่าตัว
ปัจจุบันงานวิจัยส่วนนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากทางคณะฯ
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
เมื่องานวิจัยสัมฤทธิ์ผลจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นว่า  “แม่”
ผู้เป็นที่รักของลูกทุก ๆ คน มีกระดูกที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ไปจนสูงวัย






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 21:48:46 น.
Counter : 742 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.