Welcome … First Tooth




Welcome … First Tooth



      น้องหนูวัยประมาณ 6
เดือนฟันซี่แรกจะเริ่มขึ้น พร้อมกับอาการกวนตัวทั้งร้องงอแงและน้ำลายไหล
ลองมาดูกันดีกว่าค่ะว่า บรรดาคุณแม่ทั้งหลายมีวิธีการบรรเทาอาการต่างๆ
ให้ลูกยามฟันซี่แรกขึ้นได้โดย 3 วิธีหลักๆ ดังนี้ค่ะ

ยาชาลดปวด

        
ใช้ยาชาทาที่สันเหงือกลดอาการปวด อาจใช้ตอนกลางคืน
เพื่อช่วยให้ลูกหลับสบายขึ้น



กัดๆ เย็นๆ

        
ใช้ความเย็นมาช่วยให้สบายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดที่เหงือก
ใช้ผลไม้แช่เย็นให้กัดเล่น แต่ต้องระวังอย่าให้ติดคอ  ใช้ยางกัด แบบที่
freeze ได้ ก็จะเย็นนานขึ้น และอาจใช้ช้อนที่เป็นแบบ anti-bacteria
ด้ามช้อนจะมียางหยุ่นๆ หุ้มตรงปลาย เวลากัดจะมีเสียงด้วย



เบนความสนใจ

        
พาไปเที่ยวเล่นนอกบ้านเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ  หาของเล่นที่ถูกใจให้เล่น
เพื่อคลายอาการปวด และพยายามให้ลูกนอนหลับมากๆ ค่ะ ช่วงเวลาปวดก็จะน้อยลง



อาการแบบนี้...ฟันซี่แรกกำลังจะมา

 1.มี
ตุ่มขึ้นที่เหงือกก่อน บางคนก็จะมีลักษณะแดงๆ
จากการอักเสบบริเวณที่ฟันจะขึ้นให้เห็นได้ค่ะ
 2.ลูกอาจจะร้องกวน
เพราะรู้สึกเจ็บเหงือก
 3.ไม่ยอมกินอะไรและน้ำลายไหลเยอะ 

        
ทั้ง 2 ข้อเป็นอาการทั่วไป ซึ่งต้องดูตามอายุของลูกด้วย
ปกติฟันซี่แรกจะเริ่มขึ้นตอนประมาณ 6 เดือน ฉะนั้นพอลูกวัยประมาณ 6
เดือนมีอาการดังกล่าว
ก็เป็นไปได้ที่ฟันซี่แรกของลูกกำลังจะเริ่มขึ้นทำให้ลูกงอแงมากกว่าปกติได้
ส่วนมากถ้าเป็นฟันซี่หลังๆ ก็มักจะไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าไรแล้ว

Modern Mom’s Concern

        
วิธีการดูแลที่ถูกต้องคือ ไม่ควรนวดเหงือกลูกหากสังเกตว่าฟันกำลังจะขึ้น
เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้เหงือกอักเสบมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้เวลาที่ลูกร้องงอแง คุณพ่อคุณแม่ต้องดูให้ดีๆ ว่าเกิดจากอะไร
ถ้าสังเกตดูแล้วเห็นว่าน่าเกิดจากฟันขึ้น
อาจให้ยาลดไข้แก้ปวดธรรมดาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บที่เหงือกให้กับลูกได้
แต่ถ้าไม่แน่ใจต้องพาไปให้แพทย์ตรวจดูอีกครั้ง เพราะอาจเป็นโรคอื่นๆ
ที่มีความรุนแรง เช่น ลำไส้กลืนกัน ซึ่งพบมากในช่วง 6 เดือน เด็กจะปวดท้อง
ร้องไห้งอแงมากจนน่ากลัวได้
กรณีนี้หากเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเพราะฟันขึ้นแล้วให้ยาอย่างไม่เหมาะสมอาจทำ
ให้เกิดอันตรายได้ขึ้นได้ 






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 22:26:35 น.
Counter : 450 Pageviews.  

อึ...เครื่องมือง่ายๆ ที่จะช่วยให้แม่รู้สุขภาพของลูกน้อยว่าปกติดีอยู่หรือไม่



        อุจจาระบอกสุขภาพและความสุขของลูก
น้อยได้ค่ะ เพราะนอกจากหน้าตา
ท่าทางของลูกน้อยที่จะบ่งบอกถึงความมีสุขภาพดีแล้ว
อึลูกที่ถ่ายออกมายังแสดงถึงสุขภาวะจากการบริโภคเรียกว่า Baby’s what Baby
Eat ด้วย



        ลองมาดูกันว่า
แต่ละสีนั้นสามารถบ่งบอกถึงอะไรได้บ้าง .......

สีเทา เขียวเข้ม
ปนดำ

เกิดขึ้นช่วง : 1-2 วันแรกคลอด 
ลักษณะ : เหนียว สีเข้ม
หรือเรียกว่า ขี้เทา สีเขียวเข้มเกือบดำนี้
เป็นอุจจาระชุดแรกของลูกซึ่งช่วยจับสารเหลือง บิลลูลิน (Billirubin)
ออกมาด้วย จึงช่วยป้องกันไม่ให้เด็กตัวเหลือง
จำนวนครั้งต่อวัน : 1-2 ครั้ง

สีขี้เทาปนเหลือง
เกิดขึ้นช่วง : 2-3 วันแรกหลังคลอด
ลักษณะ : อุจจาระสีเหลืองนิ่ม
ปนเหนียว อุจจาระจะข้นน้อยลง
จำนวนครั้งต่อวัน : 1-2  ครั้ง

สีเหลือง
เกิดขึ้นช่วง : หลังจาก 3
วันแรกคลอดเป็นต้นไป
ลักษณะ
: สีเหลืองเป็นเนื้อเนียน
ซึ่งหลังจากนี้ไปหากลูกกินนมแม่ลักษณะอุจจาระจะเป็นสีเหลืองแบบนี้ 
จำนวนครั้งต่อวัน : 3-4 
ครั้ง บางคนอึทุกครั้งที่กินนมแต่จะค่อยๆ ลดจำนวนลงเมื่ออายุครบเดือน

สีเหลืองมัสตาร์ด
เกิดขึ้นช่วง : 3 เดือนแรก
สาเหตุเกิดจากการที่ลูกกินนมไม่เกลี้ยงเต้าทำให้กินนมบ่อย และอุจจาระบ่อย
ซึ่งไม่ใช่อาการผิดปกติ และคุณแม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการกินนมให้เกลี้ยงเต้า
หรือกินนมให้นานขึ้นที่เด็กกินนมบ่อย 
ลักษณะ :
สีเหลืองมัสตาร์ดออกส้ม อุจจาระเละ มีฟอง เพราะมีลมในกระเพาะอาหาร
และที่ก้นลูกจะแดง เพราะลูกอุจจาระบ่อย
จำนวนครั้งต่อวัน  : 
ตามจำนวนมื้อนม

สีเขียว
เกิดขึ้นช่วง :
เมื่อลูกกินนมผสม ซึ่งสีอุจจาระจะขึ้นอยู่ชนิดของนมด้วย หรือเกิดในราย
ที่
แม่กินผักใบเขียวบางชนิดก็เป็นได้
ลักษณะ : สีเขียว
คุณแม่ไม่ต้องกังวลหากลักษณะอุจจาระเป็นก้อน ถือว่ายังปกติอยู่ค่ะ
จำนวนครั้งต่อวัน : 1-2 ครั้ง

สีเหลืองปนเขียว
เกิดขึ้นช่วง :
เมื่อลูกกินนมได้น้อย และมักเกิดจากการที่ลูกดูดนมผิดท่า
เมื่อหัวนมยืดไม่ดี ทำให้กลไกการพุ่งของน้ำนมออกมาน้อย
แก้ด้วยการให้ลูกดูดนมถึงลานนม
ลักษณะ : สีเหลืองปนเขียว
จำนวนครั้งต่อวัน : 1-2 ครั้ง

        ลักษณะ
และจำนวนครั้งที่อุจจาระที่มีเป็นการประมาณอย่างคร่าว
หากลูกน้อยไม่ได้เป็นอย่างที่บอกไว้ ก็อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ
ควรรอดูลักษณะอุจจาระและอาการของลูกไปก่อน เพราะหากสุขภาพโดยรวมยังดีอยู่
และลูกไม่มีโรคประจำตัว ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ #



อุจจาระแบบนี้...ผิดปกติ
หากพบว่าอุจารระเป็นแบบนี้ ต้องรีบพาลูกไปหาคุณหมอด่วนค่ะ


มีมูกเลือดปน
เกิดจาก :
อาจจะเกิดจากน้ำมูกที่ลูกกลืนลงไปเมื่อกินนม
มีเลือดปนและมีกลิ่นบูดเน่าหรือมีกลิ่นคาว
เกิดจาก :
ลูกอาจมีแผลที่ร่องก้น หรืออาจจะเกิดจากอาการแพ้โปรตีนในอาหารของแม่หรือลูก
รวมไปถึงอาจจะมีเลือดไหลจากลำไส้

มีน้ำปนมาก
เกิดจาก :
การที่แม่อาจจะกินยาปฏิชีวนะระหว่างที่ให้นมลูก

--------------------------------

อ.อุจจาระ...
น่ารู้


         - หากผ่านไป 3-4
วันแล้วลูกยังอึเป็นขี้เทาอยู่ แสดงว่าลูกกินนมไม่เพียงพอ
หรืออาจจะดูดนมไม่ถูกวิธี
ซึ่งควรแก้ไขเรื่องการดูดนมแม่ด้วยการจัดท่าทางที่เหมาะสม

         -
เมื่อลูกอายุ 1 เดือน จะเริ่มอุจจาระเพียงวันละ 1 ครั้งเท่านั้น
แต่หากลูกถ่าย 2-3
วันต่อครั้งแล้วอุจจาระยังเป็นสีปกติเหมือนเมื่อทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่เหลว
หรือแข็งจนเกินไป
ก็ถือว่าปกติอยู่ค่ะ.ในบางครั้งเด็กที่กินนมแม่อาจจะถ่ายทุก 2-3 วัน
ถ้าลักษณะอึปกติก็ไม่
ต้องกังวลค่ะ

         - หากลูกอุจจาระเหลว
เละ เป็นน้ำ วันละหลายๆ ครั้งแถมอึยังมีกลิ่นเหม็นเน่าหรือมีมูกปน
ติดต่อกันและดูเหมือนจะไม่ดีขึ้นเลน
คุณแม่ควรพาลูกพบณหมอเพื่อปรึกษาอาการที่เกิดขึ้น
เพราะอาจจะเกิดจากอาการท้องเสีย ซึ่งต้องรีบรักษา ก่อนจะเป็นอันตรายค่ะ








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 22:25:11 น.
Counter : 235 Pageviews.  

รู้ทัน ‘หืด’ ตอนตั้งครรภ์



จากสถิติโรคหืดในคุณแม่ตั้งครรภ์
เราพบว่า... 
          1 ใน 3 อาการเท่าเดิม 
          1 ใน 3
จะมีอาการกำเริบน้อยลง
ซึ่งส่วนมากมักพบในกรณีที่ไม่เป็นโรคหืดแบบรุนแรงก่อนตั้งครรภ์
          1
ใน 3 มีอาการรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการรุนแรงอยู่เดิมก่อนตั้งครรภ์
อาการมักจะรุนแรงในช่วงสัปดาห์ที่ 24 – 36 ของการตั้งครรภ์ และมีเพียง 1
ใน 10 เท่านั้นที่มีอาการหอบกำเริบขณะคลอด
ส่วนใหญ่อาการของหืดระหว่างตั้งครรภ์ที่สองมักจะมีอาการเช่นเดียวกับครรภ์
แรก
หลังคลอด 3 เดือนอาการก็จะกลับสู่สภาพเดิมก่อนตั้งครรภ์



          สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
ที่เป็นโรคหืด หากไม่ต้องการให้อาการกำเริบ
มีหลายปัจจัยที่ต้องเลี่ยงและต้องเริ่มทำตั้งแต่วันแรกที่รู้ว่าตั้งครรภ์
เพื่อสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยทั้งแม่และลูกค่ะ

หืดกับแม่ท้อง
          หืดเป็นโรคที่มีการอุดตันของหลอดลมในปอด
เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อรอบหลอดลม ทำให้อากาศผ่านเข้าสู่ปอดได้น้อย
เยื่อบุหลอดลมมีการอักเสบ บวม แดง และมีเสมหะอุดตัน
ส่งผลให้เกิดอาการแน่นและเจ็บหน้าอก เมื่อหายใจมีเสียงวี้ด หายใจไม่อิ่ม
และไอ ซึ่งอาการจะกำเริบเมื่อถูกกระตุ้นโดยสารก่อภูมิแพ้ เช่น ละอองเกสร
ไรฝุ่น เชื้อรา โปรตีนสัตว์ การติดเชื้อ ควันบุหรี่ ความเครียด ฯลฯ
 ผล
ต่อโรคหืดของคุณแม่เมื่อตั้งครรภ์แบ่งเป็น 2 ช่วงด้วยกันคือ

การตั้งครรภ์
ช่วงแรก

          เมื่อน้ำหนักตัว ปริมาณน้ำในร่างกาย
ปริมาณเลือด เกลือโซเดียม ในร่างกายเพิ่มขึ้น
ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานมากขึ้น
โดยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์จะพบว่ามีการหายใจลำบากในช่วงเวลานอนได้สูงถึง
75 % แต่ไม่พบว่ามีอาการไอหรือหอบร่วมด้วย

การตั้งครรภ์
ช่วงท้าย

          จะพบว่าปริมาตรของอากาศที่เหลือ
ค้างอยู่ในปอดหลังจากหายใจออกตามปกติลดลง
ทำให้บริเวณที่ปอดบางส่วนไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้สมบูรณ์
ซึ่งอาจจะทำให้อาการหืดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ร่างกายยังมีการสร้างสารต่างๆ
ที่อาจจะมีผลต่อการหดหรือขยายตัวของหลอดลม เช่น
สารที่สร้างจากรกอาจทำให้โรคหืดมีอาการกำเริบขึ้น
แล้วร่างกายจะสร้างสารสเตียลอยด์บางอย่างเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเดือนสุดท้ายและในช่วงคลอดซึ่งอาจทำให้โรคหืดดีขึ้น
แต่ก็พบว่าอวัยวะต่างๆ อาจตอบสนองต่อสเตียลอยด์ดังกล่าวน้อยลงด้วย
          ส่วน
ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้น
ทำให้เลือดบริเวณเส้นเลือดฝอยในโพรงจมูกเกิดคั่งให้มีแน่นจมูกโดยเฉพาะช่วง
เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
ทำให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่ม ซึ่งจะไปสับสนกับอาการของโรคหืด
การตรวจวัดสมรรถภาพการทำงานของปอด
จะช่วยในการแยกได้ว่าอาการเหล่านี้เกิดจากโรคหืดหรือไม่

ดูแลอย่างไร
          อาการ
ของโรคหืดมักเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เดี๋ยวสงบเดี๋ยวกำเริบ
เรียกว่าแต่ละวันอาการอาจไม่เหมือนกัน
แผนการรักษาโรคหืดโดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์
จึงเป็นแผนเฉพาะบุคคลต้องคำนึงถึงระดับความรุนแรงของโรค
และประสบการณ์การใช้ยาต่างๆ ด้วย
และอย่าลืมว่าต้องเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่ตนแพ้ควบคู่ไปด้วย
โดยยาที่หมอใช้จะยึดหลักให้ผลเสียจากการใช้ยานั้นต้องต่ำกว่าผลเสียที่เกิด
จากโรคที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องไว้เสมอ
และเลือกยาที่ให้การทำงานของปอดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
และใช้ยาน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นค่ะ
+ วัคซีน การฉีดวัคซีนภูมิแพ้
Immunotherapy หากฉีดมาแล้วตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์และได้ผลดีในการรักษาโรค
แต่ก็สามารถฉีดต่อเนื่องไปได้ระหว่างตั้งครรภ์หากไม่มีอาการข้างเคียง
บางรายคุณหมออาจจะปรับปริมาณวัคซีนลดลงจากก่อนตั้งครรภ์
เพื่อลดโอกาสการแพ้วัคซีน แต่สำหรับคนที่ไม่เคยฉีดมาก่อน
ไม่ควรเริ่มต้นการฉีดวัคซีนนี้ขณะตั้งครรภ์

+ ยา 
คุณหมอนิยมให้ใช้ยาพ่นสูดมากกว่ายากินเพราะเป็นยาเฉพาะที่ได้ผลดี
มีผลข้างเคียงน้อยกว่ายากิน และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดต่ำมาก
และใช้ยาที่ใช้กันมานานแล้วมากกว่ายาที่เพิ่งวางตลาด แต่ช่วงตั้งครรภ์ 3
เดือนแรก
คุณหมอจะพยายามใช้ยาให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเพราะเป็นช่วงที่ทารกกำลัง
สร้างอวัยวะต่างๆ แม้ว่าจากสถิติเราจะพบว่าในทารกที่พิการแต่กำเนิดนั้น
สาเหตุที่มาจากการใช้ยามีไม่ถึง 1% ก็ตาม
                 - ระหว่างการเจ็บครรภ์ 
การคลอดและระยะให้นมบุตร เรามักใช้ยาเดียวกันกับที่ใช้มาระหว่างตั้งครรภ์
                
- ระหว่างให้นมบุตร 
เพื่อลดปัญหาของยาที่ผ่านน้ำนมแม่สู่ทารก
คุณแม่ควรรับประทานยาหลังให้นมบุตร 15 นาที หรือ 3-4 ชั่วโมงก่อนให้นมลูก
และยาเกือบทุกชนิดสามารถผ่านน้ำนมแม่สู่ทารกได้ ทารกจึงอาจได้รับยาไปด้วย
แต่ในปริมาณเล็กน้อยจนมักไม่ค่อยเกิดปัญหา แต่ถ้าหากใช้ยาในปริมาณสูง
อาจพบอาการข้างเคียงในทารกด้วย เช่น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย แบบที่พบในยา
Theophylline

+
ธรรมชาติบำบัด
การดูแลตัวเองของคุณแม่จะส่งผลดีทั้งต่อ
สุขภาพของทั้งแม่และลูก หากดูแล ลด และเลี่ยง
ปัจจัยที่จะทำให้เกิดโรคก็จะช่วยลดการใช้ยาลงได้
                 1.
หมั่นตรวจวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด
เพื่อประเมินความรุนแรงของอาการภูมิแพ้อย่างถูกต้อง
                 2.
ตรวจหาตัวกระตุ้นที่จะทำให้อาการกำเริบ 
ซึ่งควรทดสอบภูมิแพ้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ 
เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้อาการของโรคกำเริบ โรคภูมิแพ้และโรคหืด
เป็นโรคที่มีเกี่ยวข้องกันประมาณ 75 -85 % ของผู้ป่วยโรคหืด
มักแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสร
เชื้อรา โปรตีนสัตว์
การได้รับสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้จะกระตุ้นให้อาการกำเริบ
หรือซ้ำเติมให้อาการมากขึ้นได้
แต่หากรักษาและควบคุมอย่างถูกต้องก็จะลดความเสี่ยงดังกล่าวลงได้ด้วยการ
ปฏิบัติตัวของคุณแม่
                 3.
ดูแลสุขภาพให้ดีทั้งสุขภาพกายและใจ หลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงต่อการแพ้
หรือไม่รับประทานปริมาณมาก เช่น อาหารทะเล ถั่วลิสง
แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าจะลดภูมิแพ้ในทารกลงได้
                
4. ดื่มนมวัวไม่เกินวันละ 2 แก้ว เพราะถ้าดื่มมากไป
อาจมีผลให้ทารกแพ้นมวัวได้สูงกว่าปกติ
                 5.
ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ  เพื่อลดโอกาสที่โรคจะกำเริบ
ไม่ควรซื้อยาใช้เอง ส่วนวิตามิน อาหารเสริม
และควรใช้ปริมาณที่สูติแพทย์แนะนำ
                 6.
หลังคลอดควรให้นมลูกอย่างน้อย 4-6 เดือน
และระหว่างนี้ไม่ควรรับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อการแพ้ในปริมาณมาก
เพราะสารอาหารเหล่านี้อาจผ่านน้ำนมแม่ไปสู่ลูกได้
หากคุณแม่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องก็จะปลอดภัยทั้งแม่และลูก



มั่นตรวจลดความเสี่ยง
          การหมั่นตรวจ
เช็คสุขภาพทั้งแม่และทารกในครรภ์เป็นระยะๆ
จะช่วยป้องกันอันตรายจากโรคนี้ได้
โดยดูจากอายุครรภ์และปัจจัยเสี่ยงของแม่เป็นหลัก
          +
ตรวจอัลตร้าซาวนด์ สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 3 เดือนแรก
และทำซ้ำได้เป็นระยะๆ หากสงสัยว่าทารกในครรภ์จะมีการเจริญเติบโตช้าผิดปกติ
          +
ตรวจวัดการเต้นของหัวใจทารก (หรือที่เรียกว่า Non-stress Testing หรือ
Contraction-stress Testing)
          + หากอาการโรคหืดกำเริบบ่อย
นอกจากการตรวจวัดการเต้นของหัวใจทารกบ่อยๆ แล้ว
คุณแม่ควรบันทึกการดิ้นของทารกทุกวัน
เพื่อช่วยในการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
และการวัดอัตราการเต้นหัวใจทารกจึงมีความจำเป็นควบคู่ไปกับการวัดสมรรถภาพ
ปอดของแม่



ผลถึงลูกในท้อง
          หากคุณแม่
ดูแลตัวเองไม่ดี ลูกมีโอกาสที่จะน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด ตายขณะคลอด
เพราะหากอาการหืดกำเริบ จะมีผลให้ออกซิเจนในเลือดแม่ต่ำลง
ทำให้ทารกในครรภ์ซึ่งต้องการออกซิเจนผ่านเลือดแม่ทางสายสะดือ
ได้รับออกซิเจนต่ำไปด้วย
การรักษาและควบคุมอย่างเหมาะสม
พบคุณหมออย่างสม่ำเสมอ
เพื่อตรวจประเมินความรุนแรงของโรคและปรับยาให้เหมาะสม
จะช่วยให้ทั้งแม่และลูกในครรภ์สุขภาพดีได้ค่ะ #

* * * * * * * * * * *
ภูมิแพ้กับหืด...เกี่ยวกันอย่างไร
          ภูมิแพ้
เป็นกลุ่มของโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิต้านทาน โดยเป็นผลมาจาก 2
ปัจจัยรวมกัน ทางกรรมพันธุ์คือได้รับยีนส์ (gene)
ที่ทำให้ภูมิต้านทานตอบสนองผิดปกตินี้จากบรรพบุรุษ
แล้วมาได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม
คือได้รับสารก่อภูมิแพ้กระตุ้นอีกภายหลังทำให้เป็นโรคภูมิแพ้ขึ้น 
ดังนั้นถ้ามีแต่ยีนส์ผิดปกติแต่ไม่ได้รับสารก่อภูมิแพ้
หรือได้รับสารก่อภูมิแพ้แต่ยีนส์ปกติก็จะไม่เกิดโรคภูมิแพ้

          จริงๆ
แล้วอาการภูมิแพ้นั้นจะเกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก
เรียกว่าเกิดได้ทั้งจากการแพ้อาหาร เช่น นม
และเมื่อโตขึ้นก็อาจจะแพ้สารก่อภูมิแพ้ที่หายใจเข้าไป เช่น ไรฝุ่น
โปรตีนสัตว์ เชื้อเรา 

          สำหรับโรคภูมิแพ้ในคุณแม่ตั้งครรภ์
นั้น ส่วนใหญ่แล้วทางการแพทย์จะเน้นในเรื่องของ
โรคหืดและโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
เพราะพบได้บ่อยและส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์สูงกว่าโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น

          ใน
ต่างประเทศมีหลักการส่งคุณแม่ท้องไปพบคุณหมอภูมิแพ้ใน 2 กรณีก็คือ
1.คุณแม่มีประวัติกรรมพันธุ์โรคภูมิแพ้ในครอบครัว
และต้องการป้องกันทารกให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้
2.คุณแม่เป็นโรคหืดที่มีความรุนแรงปานกลางขึ้นไปหรือโรคหืดกำเริบบ่อยช่วง
ระหว่างที่ยังไม่ตั้งครรภ์

-----------------------------------------------

Did
You Know !!
          ตามสถิติพบว่า
ถ้าแม่เป็นโรคภูมิแพ้ฝ่ายเดียว ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ 30 – 50 %
แต่ถ้าพ่อเป็นภูมิแพ้ด้วย ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้เพิ่มสูงขึ้นถึง 50-70%
แต่ลูกอาจไม่เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดเดียวกับที่แม่หรือพ่อเป็นก็ได้






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 22:23:30 น.
Counter : 352 Pageviews.  

‘ธรรมะ’ภูมิคุ้มกันชีวิตลูก

บุตรธิดา คือ กระจกเงาของพ่อแม่

“หากนำดอกไม้ใส่มือเด็ก
เขาจะกลายเป็นคนที่จิตใจดีงาม
หากนำเอาความรักใส่มือเด็ก
เขาจะกลายเป็นคนที่เปี่ยมด้วยเมตตา
หากนำเหตุผลใส่มือเด็ก
เขาจะกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์
หากนำหนังสือใส่มือเด็ก
เขาจะกลายเป็นปัญญาชน
หากนำนิสัยแห่งการให้ใส่มือเด็ก
เขาจะกลายเป็นคนที่มีจิตสำนึกแห่งสาธารณะ
หากนำธรรมะใส่มือเด็ก
เขาจะกลายเป็นคนดี
หากนำสมบัติผู้ดีใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นสุภาพชน
หาก
นำดนตรีใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นคนอารมณ์ดี
หากนำธรรมชาติใส่มือเด็ก
เขาจะกลายเป็นคนสงบสุข
หากนำความก้าวร้าวใส่มือเด็ก
เขาจะกลายเป็นอันธพาล
หากนำความตามใจใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นจอมบงการ
หาก
นำเงินใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นคนมักง่าย
หากนำปืนใส่มือเด็ก
เขาจะกลายเป็นฆาตกร
หากนำวัตถุแพงๆใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นคนบ้าวัตถุ
หาก
นำความรักสบายใส่มือเด็ก เขาจะกลายเป็นคนหยิบโหย่งอ่อนแอ
หากนำความไม่
รับผิดชอบใส่มือเด็ก เขจะกลายเป็นคนที่สูญเสียสามัญสำนึก
หากนำความริษยา
ใส่มือเด็ก เขาจะเป็นคนที่ขาดความสุขของชีวิต
หากนำแต่วิชาชีพใส่มือเด็ก
เขาจะกลายเป็นคนสมองโตแต่ใจตีบ
คุณเอง...ในฐานะเป็นพ่อแม่
วันนี้คุณเอาอะไรใส่มือเด็กๆ ของคุณ”

ว.วชิรเมธี


ธรรมะกับวัยซน


        
ธรรมะเปรียบเสมือนสะพานให้ทุกคนข้ามไปสู่ความดีงาม (สาธุ๊)
แค่ขึ้นต้นมาถ้าคุณแม่ไม่ยกยกมือสาธุ ก็คงจะเริ่มต้นหาวกันแล้วใช่ไหมล่ะ
แต่ขอเถอะ สลัดความง่วงมาถ่างตาอ่านกันหน่อย เพราะต่อจากบรรทัดนี้ไป
คุณแม่จะได้ไขข้อข้องใจเรื่องที่อยากรู้มานานอย่างการสอนธรรมะให้ลูก
แล้วลูกได้เรียนรู้จริงๆ

         เริ่มสอนธรรมะลูกตอนไหนดีล่ะ
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี เจ้าของนามปากกา ว.วชิรเมธี ท่านบอกว่า
“การสอนธรรมะให้ลูกนั้นพ่อแม่ต้องเริ่มตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์
ระหว่างที่ตั้งครรภ์พ่อแม่ก็ควรดำเนินชีวิตให้อยู่ในศีลธรรม
ก็จะเป็นการปลูกฝังเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงามที่จะเติบโตขึ้นในวันพรุ่ง
แต่ถ้าเรามาปลูกฝังเขาวันที่เราคลอดออกมาแล้วอาจจะช้าเกินไป”

        
หลายคนเปรียบเด็กแรกเกิดเสมือนผ้าขาว เพราะศักยภาพของลูกแรกเกิดนั้น
เหมือนผ้าขาวที่พร้อมรองรับน้ำย้อมผ้า (คำสอน) ทุกรูปแบบ
ถ้าคนเป็นพ่อแม่เอาสิ่งที่ดีไปย้อมให้ ลูกก็จะซึมซับสิ่งดี
แต่ถ้าพ่อแม่เป็นนักย้อมผ้าที่ไม่ฉลาดก็จะเอาน้ำยาย้อมที่ไม่ดี
ไปเปรอะเปื้อนผ้าขาวผืนนั้น ก็ย่อมทำให้ผ้าขาวสีหมองไป 

        
และธรรมะคือสิ่งที่ดีพ่อแม่จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะเอาธรรมะไปย้อมลงใน
ตัวลูกให้ได้


หลาก
วิธีสอนลูกเรื่องธรรมะ


        
แค่เอ่ยคำว่า “ธรรมะ” อย่าว่าแต่เด็กเลยค่ะ แม้แต่ผู้ใหญ่บางคนก็ยังเมิน
ไม่อย่างนั้นพระท่านคงไม่มีมุขตลกพาไปเที่ยวต่างประเทศโดยไม่เปลืองค่า
เครื่องบิน อย่างมุขอิสราเอน (ล) เลบานอน (ล) หรืออาหลับ (อาหรับ)
กันหรอกค่ะ
ยิ่งถ้าจะให้จับลิง เอ้ย!
จับลูกวัยซนมานั่งเรียนธรรมะกันแล้วล่ะก็ไม่มีทาง (ลากเสียงยาว)
แต่อย่าเพิ่งท้อใจไปค่ะ เพราะจากการได้สนทนาธรรม
(ขออนุญาตใช้คำที่ฟังดูดี๊ดีค่ะ) กับท่าน ว.วชิรเมธี พระอาจารย์ท่านบอกว่า
สอนลูกเรื่องธรรมะเป็นเรื่องไม่ยาก แต่ต้องมีเทคนิคแค่นั้นเอง   

Trick 1 :ปรุงแต่งสิ่งแวดล้อม ท่าน ว.วชิรเมธี
บอกว่า
“จิตใจของเด็กมีแนวโน้มว่าจะสูงหรือจะต่ำขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วย”
ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการเรียนรู้ของเด็กตั้งแต่แรกเกิด-6 ปี
เกิดขึ้นจากการได้รับแรงบันดาลใจ มากกว่าการใช้เหตุผล ลูกๆ
ของคุณแม่จึงเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ที่ได้ดู ได้รู้ ได้เห็น ได้ยิน
ได้ลิ้มรส และได้สัมผัส ทุกสิ่งล้วนกลายเป็นประสบการณ์ชีวิตของลูกทั้งสิ้น

Trick 2 : พ่อแม่คือโทรทัศน์วงจรปิด
โทรทัศน์วงจรปิดจะมีอยู่ช่องเดียวค่ะ
ผู้ชมไม่สามารถกดรีโมตไปเลือกชมรายการอื่นได้ เพราะฉะนั้น
ชีวิตของพ่อแม่คือรายการโทรทัศน์ที่ออนแอร์ในช่องโทรทัศน์วงจรปิด
และเปิดให้ลูกดูตลอด 24 ชั่วโมง ในใจของลูกพ่อแม่จึงเป็นตัวแสดงตลอดเวลา
เราอยากให้ใจของลูกสัมผัสคุณธรรม
โทรทัศน์ช่องนี้ก็จะต้องฉายหนังเกี่ยวกับคุณธรรมให้ลูกดู
เพราะการเรียนรู้ที่ดีที่สุดของลูกคือการทำตามแบบอย่างของพ่อแม่

Trick 3 : มีศิลปะการสอน เชื่อสิคะว่า
ถ้าคุณแม่ไปเรียก (ล่อ) เจ้าตัวเล็กมา ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนก็ตาม
พอเขามาแล้วบอกตรงๆ ไปว่า “แม่จะสอนธรรมะให้ลูก” ไม่ใช่แค่ลูกทำหน้างง
แต่ยังลุกขึ้นวิ่งหนีไปทำกิจกรรมอื่น
การที่จะสอนธรรมะให้ลูกไม่ควรสอนกันตรงๆ
แต่ควรทำให้ลูกเห็นว่าธรรมะเป็นเรื่องใกล้ตัว
ธรรมะเป็นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และควรจะสอนอ้อมๆ เช่น
การสอนผ่านการ์ตูนหรือนิทาน เพราะเด็กมักฟังนิทานอยู่เสมอ
และจะได้รับการปลูกฝังทัศนคติที่ดีในการดำเนินชีวิตผ่านนิทาน
โดยที่ลูกไม่รู้สึกตัวว่าพ่อแม่สอนธรรมะอยู่ การสอนแบบอ้อมๆ
นี้จะแทรกซึมเข้าไปทุกวัน ทำให้ลูกไม่รู้สึกต่อต้านกับการสอนธรรมะ

        
ทริกง่าย 3 ข้อข้างต้นนี้คงไม่ยากเกินใช่ไหมคะ รู้เทคนิคกันแล้ว
ต่อไปก็ต้องเรียนรู้พร้อมๆ กันว่า จะสอนธรรมะเรื่องอะไรให้ลูกค่ะ 



เบญจศีล-เบญจธรรม ...
ธรรมะของวัยซน


        
อย่าคิดว่าเราเปิดพระไตรปิฎก หรือหนังสือธรรมะ ก็บอกแล้วไงคะว่า
ธรรมะอยู่ในชีวิตประจำวัน วันหนึ่งๆ ลูกเราทำอะไรบ้างคะ “จะมีอะไร๊
นอกจากกิน เดิน นอน นั่ง พูดคุยกับผู้คน” ใช่เลยนั่นแหละค่ะ
คือธรรมะที่คุณแม่ต้องสอนลูกล่ะ

ศีล
ข้อ 1 ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต VS ธรรมะข้อ 1 เป็นคนมีเมตตา

        
เมื่อวานมดกัดลูกบี้ให้ตายคามือ
วันนี้แกล้งเจ้าตูบให้วิ่งหางจุกตูดเลยดีกว่า
สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการเบียดเบียนผู้อื่นค่ะ และลูกวัยนี้เริ่มไปโรงเรียน
เริ่มมีเพื่อนแล้ว หากลูกไม่เข้าใจ เผลอไปรังแกเพื่อนที่ทำให้ไม่พอใจ
เหมือนที่เคยทำกับมดแมลงหรือเจ้าตูบที่บ้าน คงไม่ดีแน่ค่ะ
ทางที่ดีคุณแม่ควรควรปลูกฝังให้ลูกเป็นเด็กที่มีความเมตตาและรู้จักให้อภัย
ผู้อื่น ด้วยการให้ลูกเห็นกิจกรรมที่เต็มไปด้วยความเมตตา เช่น
ดูแลสัตว์ที่ป่วย ช่วยเหลือคนอื่นที่เดือดร้อน ฯลฯ
แล้วลูกก็จะเติบโตขึ้นมาด้วยการมีเมตตา

ศีลข้อ 2 ห้ามลักทรัพย์ VS ธรรมะข้อ 2
รู้จักแบ่งปัน

         คุณแม่ควรบอกลูกว่า
การไปขโมยหรือหยิบฉวยเอาของคนอื่นมาโดยไม่ได้บอกคนที่เป็นเจ้าของคือสิ่งไม่
ดี เรื่องนี้ต้องสอนกันตั้งแต่เด็กนะคะ เพราะถ้าไม่สอนตั้งแต่เด็ก
โตมาลูกจะเคยชินและกลายเป็นนิสัย ขณะเดียวกัน
นอกจากสอนให้ไม่เอาของคนอื่นแล้ว ยังต้องสอนให้ลูกรู้จักแบ่งปัน เช่น
แบ่งของเล่นให้เพื่อน มีขนมก็แบ่งเพื่อนกิน ซึ่งโตขึ้นลูกจะเป็นคนซื่อสัตย์
ไม่คดโกงเอาของคนอื่นมาเป็นของตัว  

ศีลข้อ 3
ไม่ประพฤติผิดในกาม VS ธรรมะข้อ 3 เรียนรู้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

        
สำหรับลูกเล็กแล้ว จะให้สอนว่ารักครอบครัว ลูกคงไม่เข้าใจ
แต่คุณแม่ควรสอนให้ลูกเรียนรู้การใช้งานของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ให้ถูกต้อง ตาคือต้องรู้ว่าอะไรควรดูอะไรไม่ควรดู
หูรู้ว่าอะไรควรฟังอะไรไม่ควรฟัง จมูกคืออะไรที่ควรดมไม่ควรดม ลิ้นคืออาหาร
ลูกควรรู้ว่าอาหารชนิดไหนควรกิน อาหารไหนที่ต้องเลี่ยงหรือกินอย่างระวัง
กายต้องรู้จักแสดงออกความรักผ่านการสัมผัสอย่างทนุถนอม
และใจพ่อแม่ต้องเรียนรู้สร้างสิ่งแวดล้อมทางใจให้ลูกดีๆ
เด็กที่เติบโตมาด้วยความรักที่เต็มเปี่ยม และรู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
เมื่อเติบโตเขาก็ย่อมเป็นคนที่รู้ว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำเช่นกัน

ศีลข้อ 4 ไม่พูดโกหก VS ธรรมะข้อ 4 พูดความจริงเสมอ
        
ลูกวัย 3-6 ปี เป็นวัยที่มีจินตนาการสูง
เพราะฉะนั้นบางเรื่องที่ได้ยินลูกพูด อาจจะไม่ใช่เรื่องจริง
แต่อย่าเพิ่งไปโวยวายหาว่าลูกโกหกนะคะ
คุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักแยกแยะระหว่างจินตนาการกับโลกของความจริงค่ะ
และในโลกของความจริง คุณแม่ควรสอนให้ลูกพูดความจริงอยู่เสมอ
ควรสอนให้เป็นคนที่พูดเพราะ และรู้ว่าอะไรควรพูดไม่ควรพูด
แล้วลูกจะเป็นที่รักของคนรอบข้างค่ะ  

ศีลข้อ 5 ไม่ดื่มสุรายาเสพติด VS ธรรมะข้อ 5
เจริญสติ ฝึกสมาธิ

        
โดยพื้นฐานของเด็กๆ เขามีสมาธิอยู่แล้วนะคะ และในลูกเล็กวัยซน
จะให้มานั่งสมาธิเจริญสติอย่างที่ผู้ใหญ่ทำกัน ลูกคงทำไม่ได้
แต่คุณแม่สามารถทำให้การนั่งสมาธิเป็นเกมที่สนุกของลูกได้ เช่น
แข่งกันว่าใครนั่งได้นานที่สุด
หรือจะชวนลูกนอนสมาธิเวลาที่เขานอนไม่หลับก็ได้
ระหว่างที่นอนสมาธิก็ชวนลูกดูท้องที่พองขึ้น-ยุบลง
ผลของการมีสมาธิจะทำให้ลูกทำอะไรอย่างมีสติ รู้คิดวิเคราะห์
ไตร่ตรองก่อนลงมือทำ และรู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร ณ เวลาขณะนั้นค่ะ 

        
เบญจศีลเบญจธรรมจะเป็นเสมือนกำแพงแก้วที่คุ้มครองป้องกันลูกของเราค่ะ
เห็นไหมคะ การเรียนรู้เรื่องธรรมะใช่ว่าจะเกิดขึ้นแต่ในวัดเท่านั้น
แต่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
เพราะธรรมะก็คือธรรมชาติที่อยู่ในวิถีชีวิตของเราค่ะ






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 22:21:53 น.
Counter : 583 Pageviews.  

อัลตร้าซาวน์ด... จำเป็นแค่ไหน

 
วิทยาการด้านการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง
ความคาดหวังจากการดูแลรักษาคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ก็เพิ่มสูงขึ้น
ตลอดเวลา ทุกวันนี้จึงมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย
และสามารถสื่อสารกับทารกในตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
นั่นก็คือการทำอัลตร้าซาวน์ด

ไม่มีแม่ท้องไม่รู้จัก

         
หากพูดเช่นนี้คงไม่ผิดครับ
เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนล้วนรู้จักและเคยผ่านการทำอัลตร้าซาวน์ดมาแล้ว
ทั้งนั้น เพราะเครื่องอัลตร้าซาวน์ดคือเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง
ที่คุณหมอสูติฯ ใช้ในการตรวจวินิจฉัยและติดตามภาวะของทารกในครรภ์
มาประมาณครึ่งศตวรรษแล้วเห็นจะได้ สำหรับสูตินรีแพทย์แล้ว
เครื่องอัลตร้าซาวน์ดจึงเปรียบเสมือนมือขวาของพวกเราทีเดียว
หากปราศจากเครื่องดังกล่าวแล้วละก็
เราแทบจะไม่สามารถวินิจฉัยความผิดปกติต่างๆ
ที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว
จนช่วยให้การรักษาภาวะผิดปกติทำได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที
 เพราะ
ฉะนั้นวิวัฒนาการของเครื่องอัลตร้าซาวน์ดจึงพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
อย่างไม่หยุดยั้ง และยังมีใช้กันอย่างแพร่หลาย
ทั้งในโรงพยาบาลของรัฐทั้งระดับจังหวัดและอำเภอ โรงพยาบาลเอกชน
รวมทั้งคลินิกต่างๆ จนทำให้ว่าที่คุณแม่สับสนว่า จริงๆ
แล้วหากผู้หญิงคนหนึ่งตั้งครรภ์ควรต้องทำการตรวจอัลตร้าซาวน์ดเพื่อดูอะไร
บ้างของทารกในครรภ์ และจะต้องตรวจสักกี่ครั้งจึงจะเหมาะสม

จำนวนครั้งที่ควรทำ

          บ้างบอกว่า 1-2  ครั้ง
หรือมีแม้กระทั่งว่าที่คุณแม่บางคนอัลตร้าซาวน์ดเป็นจำทุกเดือนที่ไปพบคุณ
หมอ ซึ่งจริงๆ แล้ว
ตอนนี้ยังไม่มีข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข
ว่าการตรวจครรภ์ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ดระหว่างตั้งครรภ์ควรจะทำกันกี่
ครั้ง แต่ถ้ายึดตามคำแนะนำของวิทยาลัยสูตินรีแพทย์อเมริกัน
ก็แนะนำให้ทำเพียงครั้งเดียวตอนอายุครรภ์ประมาณ 16-20 สัปดาห์

         
ตามความเห็นของหมอในฐานะสูตินรีแพทย์ก็เห็นด้วยว่า
ว่าที่คุณแม่ควรได้รับการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ดอย่างน้อย 1
ครั้งในช่วงอายุครรภ์ดังกล่าว เพื่อวินิจฉัยตำแหน่งของการตั้งครรภ์
ขนาดของทารกในครรภ์ ความผิดปกติของรูปร่าง การทำงานของอวัยวะต่างๆ
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
รวมถึงความผิดปกติโดยกำเนิดที่เกิดกับอวัยวะต่างๆ
ที่สะท้อนถึงสุขภาพของทารกครับ

         
แต่สำหรับว่าที่คุณแม่ที่เป็นกลุ่มคนไข้พิเศษ เช่น
ผู้ที่มีบุตรยากและตั้งครรภ์ด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
หรือเป็นกลุ่มที่เป็นครรภ์เสี่ยงสูง เช่น ตั้งครรภ์แฝด
มีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงไตรมาสสุดท้าย
ควรที่จะได้รับการตรวจเพิ่มเติมตามอายุครรภ์ต่อไปนี้

+
อายุครรภ์ 7-9 สัปดาห์

การตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ดทางช่องคลอด จะช่วยให้รู้ว่า การตั้งครรภ์อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่
มีตัวเด็กหรือไม่
เป็นการตั้งครรภ์เดี่ยวหรือแฝด
มีเลือดออกอยู่ใต้รกหรือไม่ ไข่ตกจากรังไข่ข้างใด รังไข่มีซีสต์หรือไม่
ตัวมดลูกมีเนื้องอกร่วมกับการตั้งครรภ์หรือเปล่า
 นอกจากนี้
ยังสามารถทำนายอายุครรภ์ได้แม่นยำ โดยมีความผิดพลาดประมาณ 3 วันเท่านั้น
ซึ่งการตรวจในช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในอนาคต
เพราะเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการตรวจในครั้งต่อๆ ไปอีกด้วย

+ อายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์
การตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ดทางช่องคลอด
จะวัดขนาดความยาวของทารกที่เรียกว่า Crown Rump Length
วัดความหนาของท้ายทอยทารก ตรวจหากระดูกจมูก ซึ่งช่วยในการทำนายโอกาสที่ทารกจะมีความผิดปกติของโครโมโซมคู่
ที่ 21
ที่เรียกว่าดาวน์ซินโดรมได้กว่าร้อยละ 70
เมื่อรวมกับการตรวจวัดระดับฮอร์โมนของแม่แล้ว
จะสามารถคำนวณออกมาเป็นโอกาสเสี่ยงที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรมได้แม่นยำมาก
ขึ้นถึงประมาณร้อยละ
78 นอกจากนี้ยังสามารถบอกตำแหน่งที่รกเกาะได้อย่างแม่นยำ
ซึ่งจะช่วยในการเฝ้าติดตามตำแหน่งของรกในอนาคตต่อไป

+
อายุครรภ์ 18-24 สัปดาห์
เป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่จะสามารถตรวจทารกในครรภ์ทั้งตัว
ได้แก่ ส่วนศีรษะ แขน ขา ลำตัว และอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ กระบังลม ปอด ตับ
ไต กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหาร เป็นต้น
ในกรณีที่มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ซึ่งเป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย
ก็สามารถที่จะปรึกษาสูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การดูแลรักษาต่อไป
และช่วงเวลานี้ยังเหมาะสำหรับการเจาะน้ำคร่ำ
เพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์โครโมโซมของทารกในครรภ์

+
อายุครรภ์ 32-34 สัปดาห์
เป็นช่วงเวลาที่จะทำการตรวจทารกในครรภ์ เพื่อที่จะบอกถึงความสมบูรณ์ของทารก
ความสมบูรณ์ของใบหน้า อวัยวะต่างๆ และขนาดของทารก ซึ่งสามารถบอกได้ว่า
ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์ โตเกินไป หรือเติบโตช้า เป็นต้น
เพื่อทำนายน้ำหนักแรกคลอด

          นอกจากนั้น
หลังจากช่วงเวลานี้ทารกในครรภ์มักจะไม่เปลี่ยนท่าอีกแล้ว เช่น
หากอยู่เป็นท่าก้นหรือท่าศีรษะก็จะอยู่ในท่านั้นจนกระทั่งครบกำหนดคลอด
ว่าที่คุณแม่ก็จะรู้ได้ว่า สามารถคลอดธรรมชาติได้หรือไม่
เพราะมีเพียงส่วนน้อยที่ทารกจะเปลี่ยนท่าไปจากเดิม


         
คุณแม่ผู้อ่านคงจะเห็นแล้วว่า
การตรวจครรภ์ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ดในช่วงเวลาต่างๆ มีหลักการ เหตุผล
และประโยชน์จากการตรวจแตกต่างกันไป และหากมีภาวะเสี่ยงอื่น เช่น
มีเลือดออกในระยะ 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
สงสัยว่ามีความผิดปกติของหัวใจ หรือสงสัยว่าทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
เป็นต้น ก็จำเป็นที่จะต้องตรวจอัลตร้าซาวน์ดเพิ่ม
เพื่อประเมินสถานะภาพของทารกในครรภ์เพิ่มเติมครับ



         
การอัลตร้าซาวน์ดนอกจากจะมีประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของแม่และลูกในครรภ์แล้ว

ผลพลอยได้อีกอย่างก็คือว่าที่คุณแม่และว่าที่คุณพ่อยังสามารถเก็บภาพแห่ง
ความประทับใจ เพื่อนำไปบอกเล่ากับญาติพี่น้อง
หรือแม้กระทั่งกับเจ้าตัวเล็กที่กำลังจะเติบโตมาในอนาคตได้อีกด้วยครับ






Free TextEditor






































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 22:19:52 น.
Counter : 234 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.