เด็กและวัยรุ่นเกี่ยวข้องกับเบาหวานอย่างไร



“เบาหวาน” เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ... ป้องกันได้
กระทรวงสาธารณสุข รายงานจากการสำรวจส ภาวะ
สุขภาพคนไทย ครั้งที่ 3  ปี พ.ศ. 2547  ประมาณการว่า มีผู้ป่วยเบาหวาน 3.9
ล้านคน  แต่มีเพียง 1.7 ล้านคนที่เข้าถึงบริการทางการแพทย์
ซึ่งยังไม่รวมผู้ที่มีสภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานอีก 2 ล้านคน

เด็กและวัยรุ่นเกี่ยวข้องกับเบา
หวานอย่างไร

เบาหวานที่พบในเด็กและวัยรุ่น แบ่งเป็น 2
ชนิด





  1. ชนิดที่ 1  เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน
    เบา
    หวานชนิดนี้พบบ่อยที่สุดในเด็กและ วัยรุ่น 
    เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ -
    อินซูลินเป็นฮอร์โมนทำหน้าที่ นำน้ำตาลเข้าไปใช้ในเซลล์ ทำให้เกิดพลังงาน
    ถ้าร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้  เซลล์ต่างๆ ของร่างกายจะไม่สามารถนำ
    น้ำตาลที่เกิดจากการกินอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต (เช่น ข้าว  แป้ง ) 
    ไปใช้เป็นพลังงานได้   ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ
    เกิดเป็นโรคเบาหวาน


  2. ชนิดที่ 2 เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
    โรค
    เบาหวานชนิดนี้ร่างกายผลิตอินซูลินได้ แต่เซลล์ต่างๆ ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน
    พบบ่อยในผู้ใหญ่และเด็กวัยรุ่นที่เป็นโรคอ้วน -
    สมัยก่อนถือว่าเบาหวานชนิดนี้เป็นโรคของผู้ใหญ่และเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
    ครอบครัวที่มีโรคเบาหวานชนิดนี้ โอกาสที่ลูกจะเป็นเบาหวานก็มีมาก
    แต่มักจะเป็นในผู้ใหญ่ที่อายุเกิน 40 ขึ้นไป และสัมพันธ์กับโรคอ้วน
    เนื่องจากภาวะอ้วนทำให้ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ปัจจุบัน
    เด็กเป็นโรคอ้วนกันมาก ทำให้พบโรคชนิดนี้มากขึ้นในเด็กและวัยรุ่น



ข้อมูลของโรงพยาบาลศิริราชที่พบ
เบาหวานชนิดที่ 1 และ 2  เป็นอย่างไร

จากข้อมูลตั้งแต่
เดือนมกราคม พ.ศ. 2530 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2547  พบว่า
 มกราคม พ.ศ.
2530 – ธันวาคม พ.ศ. 2539

 เบาหวานชนิดที่ 1  ร้อยละ 93
 เบา
หวานชนิดที่ 2  ร้อยละ 5
 มกราคม พ.ศ. 2540 – ธันวาคม พ.ศ. 2542
 เบา
หวานชนิดที่ 1  ร้อยละ 72
 เบาหวานชนิดที่ 2  ร้อยละ 18
 มกราคม
พ.ศ. 2540 – ธันวาคม พ.ศ. 2547

 เบาหวานชนิดที่ 1  ร้อยละ 70
 เบา
หวานชนิดที่ 2  ร้อยละ 28
จากข้อมูลนี้พบว่ามีสัดสวนของผู้ป่วยเด็กและ
วัยรุ่นเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
สัมพันธ์กับเด็กเป็นโรคอ้วนมากขึ้นในประเทศไทยอย่างชัดเจน

สังเกตอย่างไรว่า
ผู้ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2

อาการของผู้ป่วย
เบาหวานมีมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือด
ผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่มากอาจไม่มีอาการแต่อย่างใด
แต่ตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี
ในรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะมีอาการดังต่อไปนี้





  1. ปัสสาวะบ่อย ทำให้หิวน้ำบ่อย


  2. น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ ( ปัสสาวะออกมาก สูญเสียน้ำตาลทางปัสสาวะ)


  3. บางรายอาจจะมาด้วยเป็นแผลเรื้อรัง  เพราะ
    ระดับน้ำตาลสูงในเลือดจะทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานกำจัดเชื้อโรคได้ไม่ดี
    เป็นแผลหายยาก


  4. บางรายมาด้วยเป็นเชื้อรา  ติดเชื้อรายตามผิวหนัง  เชื้อรายที่ช่องคลอด


  5. บางรายมาด้วยอาการน้ำตาลในเลือดสูงมาก จนกระทั่งร่างกายขาดน้ำรุนแรง
    มีภาวะช็อก มีภาวะเลือดเป็นกรดได้



อาการมีตั้งแต่รุนแรงมาก จนกระทั่งไม่มีอาการอะไรเลย 
รายที่ไม่มีอาการอะไรเลย ส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์เพราะอ้วนมาก 
คุณหมอที่ดูแลหรือคุณพ่อคุณแม่กังวลเรื่องอ้วน
มักจะมีประวัติในครอบครัวเป็นเบาหวาน
เมื่อมีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก็พบว่าเป็นเบาหวาน



ปัจจัยสำคัญของเบาหวานชนิดที่ 2
คือ ภาวะ อ้วน

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยเด็กและ
วัยรุ่นที่มาพบแพทย์ด้วยโรคอ้วนที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  ช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเป็นโรคอ้วน
อายุตั้งแต่ 6- 18 ปี 125 ราย น้ำหนักเฉลี่ย 80 กิโลกรัม
      
พบว่ามีร้อยละ 3  เป็นเบาหวานแล้ว แต่ไม่มีอาการเลย
       ร้อยละ 21
ตรวจน้ำตาลพบว่าผิดปกติ แต่ยังไม่ถึงขึ้นเบาหวาน 
ซึ่งผู้ป่วยที่เริ่มมีระดับน้ำตาลสูงผิดปกติ  แต่ยังไม่ถึงขั้นเบาหวาน
มีโอกาสเป็นเบาหวานในอนาคต ถ้าไม่สามารถลดน้ำหนักได้ 
      
พ่อแม่สามารถสังเกตลุกหลานของตันเองได้อีกวิธีหนึ่งก็คือ 
ถ้าลูกเริ่มมีภาวะอ้วน  ร่วมกับสังเกตที่ต้นคอเด็ก  จะเห็นมีร้อยดำๆหนาๆ 
ถูเท่าไหร่ก็ไม่ออก บางคนคิดว่าเป็นขี้ไคล
      
รอบคอที่ดำเป็นปื้นหนานี้บ่งบอกว่าเริ่มมีภาวะดื้อต่ออินซูลินแล้ว 
แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเบาหวานทุกราย  
แต่ถ้าสังเกตพบปุ๊บจะต้องให้หมดตรวจระดับน้ำตาลดูว่าสูงผิดปกติหรือไม่ 
ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะไม่มีประวัติเป็นเบาหวานก็ตาม



น้ำตาลในเลือดเท่าไหร่ถือว่า
ปกติ 
(น้ำตาลปกติคือ น้อยกว่า  100 มก./ดล.)
การทดสอบน้ำตาลในเลือดมี 2 วิธีคือ





  1. เจาะเลือดตรวจน้ำตาล หลังงดน้ำ งดอาหาร ประมาณ  8  ชั่วโมง
    จะถือว่า
    เป็นเบาหวาน ถ้าน้ำตาลหลังงดน้ำ งดอาหาร มากกว่า หรือ เท่ากับ 126 มก./ดล.
    แต่ถ้าอยู่ระหว่าง 100-125  เรียกว่าเริ่มผิดปกติ


  2. ให้กินกลูโคส และ อีก2 ชั่วโมง เจาะเลือดตรวจน้ำตาล 
    หลังกินกลูโคส
    คนปกติน้ำตาลต้องน้อยกว่า 140 มก./ดล.  ถ้าเป็นเบาหวานคือ
    มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก./ดล.  ถ้าอยู่ระหว่าง 140 จนถึง 199
    ถือว่าเริ่มมีภาวะผิดปกติแล้ว



จากข้อมูลของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช
พบว่ามีผู้ป่วยเด็กประมาณร้อยละ 21 อยู่ตรงกลาง  ถ้าปล่อยทิ้งไว้
ก็มีโอกาสเป็นเบาหวานในอนาคตได้ เรียกว่ากลุ่มเสี่ยงเป็นเบาหวาน
ถือว่ากลุ่มนี้เป็นกลุ้มที่ป้องกันได้ไม่ให้เกิดเป็นเบาหวาน
ถ้าสามารถลดน้ำหนักได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ควบคุมอาหาร 
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ



เบาหวานในเด็ก และ
ผู้ใหญ่ต่างกันหรือไม่

คำว่า “เด็กเป็นเบา
หวาน”
ก็เหมือนกับผู้ใหญ่เป็นเบาหวาน
โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต มีภาวะแทรกซ้อนตามมา
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เหมือนในผู้ใหญ่ เช่น





  • เบาหวานขึ้นจอตา ทำให้ตามองเห็นไม่ชัด อาจจะต้องมีการยิงเลเซอร์รักษา


  • โรคไต  การเป็นโรคเบาหวานนานๆและคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
    ทำให้ไตเสื่อม  ปัจจุบันเบาหวานชนิดที่ 2 
    เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้เกิดโรคไตวายในคนไทย


  • ปลายประสาทเสื่อม  มีอาการชา การรับความรู้สึกที่มือ เท้าลดลง


  • หลอดเลือดแดงตีบแข็งกว่าปกติ  โอกาสจะเป็นหลอดเลือดสมองขาดเลือดหรือ
    อัมพาต กล้ามเนื้อ  หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย มากขึ้น



         จุดเริ่มต้นจากเบาหวาน  จะไปสู่สาเหตุของโรคเรื้อรังอื่นๆ
แต่สามารถชะลอและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได  ถ้าควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี
         
สิ่งสำคัญมากคือ  ผู้ป่วยเบาหวาน จะต้องดูเรื่องของผลน้ำตาล
ดูแลตนเองให้ระดับน้ำตาลอยู่ใกล้เคียงปกติมากที่สุด 
เพื่อป้องกันและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เหล่านั้น
เบา
หวานชนิดที่ 1

มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดเป็นโรคที่ยังไม่สามารถป้องกันได้
แต่
เบาหวานชนิดที่ 2
  เป็นโรคที่เกี่ยวกับภาวะอ้วนพฤติกรรมการกิน
พฤติกรรมการใช้ชีวิต ป้องกันได้เด็กเริ่มมีภาวะอ้วนจะต้องลดน้ำหนัก
อย่าให้อ้วนมากไปกว่านี้ หรือ
กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงเริ่มมีน้ำตาลสูงผิดปกติแล้ว สามารถป้องกัน
ไม่ให้เป็นโรคเบาหวานได้ ถ้าให้เด็กได้ออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร
เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดูทีวี เล่นเกมคอมพิวเตอร์ให้น้อยลง
ใช้ชีวิตกลางแจ้งให้มากขึ้น กลุ่มนี้สามารถกลับมามีน้ำตาลปกติได้



อยู่กับเบาหวานอย่างไร
เบาหวานชนิดที่ 1 
วิธีการรักษาคือจะต้องมีการฉีดยาอินซูลิน

ผู้ป่วยจะต้องเรียนรู้วิธีการฉีดยา การออกฤทธิ์ของยาอินซูลิน 
ผู้ป่วยจะต้องเรียนรู้วิธีการฉีดยา การออกฤทธิ์ของยาอินซูลิน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ฉีดยาวันละ 2-3 ครั้ง บางรายอาจจะต้องฉีด 4 ครั้งต่อวัน 
เพื่อจะควบคุมให้ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ที่ดีได้
         เรียนรู้โรค
เบาหวาน วิธีการดูแลตนเอง จะต้องทำอย่างไรบ้าง
นอกจากเรื่องการฉีดยาอินซูลินแล้ว ก็จะต้องมีการเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว
เพื่อจะดูระดับน้ำตาลวันละ 3-4 ครั้ง จะได้มีการปรับยา
ปรับอาหารให้เหมาะสมกับระดับน้ำตาล
         เรียนรู้เรื่องอาหาร
กินอาหารที่พอเหมาะ ให้เกิดสมดุลกับความต้องการของร่างกาย
        
ต้องเรียนรู้ว่า เวลาไม่สบาย กินไม่ได้ จะทำอย่างไร ถ้าน้ำตาลสูงผิดปกติ
ก็มีโอกาสเสิ่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะช็อก
จะต้องปฎิบัติตัวอย่างไรบ้าง
          เด็กและวัยรุ่นที่เป็นเบาหวาน
ชนิดที่ 1
และพ่อแม่จะต้องมีการเรียนรู้เรื่องเบาหวานเพื่อจะสามารถดูแลตนเองได้
จำเป็นต้องมีการปรับตัว เพราะต้องมีการฉีดยา เจาะเลือด
ปรับลักษณะการกินและประเภทของอาหาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างมาก
ผู้ป่วยจึงจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี



สำหรับเบาหวานชนิดที่ 2
เกิดจากภาวะอ้วน ( พฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิตประจำวัน )  และพันธุกรรม

พ่อแม่จะต้องสร้างวินัยในบ้าน นั่นคือลดการเล่นเกมคอมพิวเตอร์
ลดการดูโทรทัศน์ ไม่นอนดึก ฝึกนิสัย การกินที่ถูกต้อง 
ไม่กินจุบจิบตลอดเวลา
เด็กที่เป็นโรคอ้วนมักมาจากปัญหาการขาดวินัยในครอบครัว
เด็กจะตื่นกี่โมงก็ได้ เด็กหาอาหารกินเอง เด็กออกไปเล่นเกมกับเพื่อน
...ครอบครัวอาจจะต้องมาใส่ใจว่าแต่ละวัน ลูกใช้ชีวิตอย่างไร
ลูกกินอะไรบ้าง  ลูกออกไปซื้ออะไรบ้าง เด็กบางคนไม่รู้จะทำอะไรจริงๆ
บางทีอยู่กับเพื่อนก็ชวนกันกิน  ชวนกันเล่นเกม 
บางคนอยู่บ้านไม่รู้จะทำอะไรก็นอนกับดูโทรทัศน์
ซื้อขนมถุงกินระหว่างดูโทรทัศน์  เด็กบางคนชอบกินของมันๆ 
ทอดๆชอบดื่นน้ำอันลม  น้ำผลไม้ที่มีรสหวานๆ พ่อแม่จะต้องช่วยกันดู 
ช่วยกันปรับพฤติกรรมของลูกและสร้างนิสัย การกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
รวมทั้งกระตุ้นให้เด็กได้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

        การ
ลดน้ำหนักโดยการคุมอาหารและออกกำลังกายเพิ่มขึ้น 
เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนพฤติกรรมของลูก และ
สร้างนิสัยการกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
รวมทั้งกระตุ้นให้เด็กได้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
       
การลดน้ำหนักโดยการคุมอาหารและออกกำลังกายเพิ่มขึ้น 
เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนพฤติกรรม 
ส่วนใหญ่คนอ้วนทีสามารถลดน้ำหนักลงได้ประมาณ ร้อยละ 10
ของน้ำหนักตัวก็จะส่งผลดีต่อร่างกายแล้ว  แต่ต้องทำสม่ำเสมอและต่อเนื่อง





เบาหวานชนิดที่ 2 
ป้องกันได้จากพฤติกรรม

         
ถ้าไม่ป้องกันโรคเบาหวานตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก  อนาคตจะมีคนไทยเป็นเบาหวาน
ชนิดที่ 2 มากขึ้น และเริ่มเป็นตั้งแต่อายุน้อยกว่า 10 ขวบ
มีข้อมูลจากการตรวจเลือดเด็กที่มารับบริการจากโรงพยาบาลศิริราชพบว่า 125
รายที่ตรวจวัดน้ำตาลมีร้อยละ 3 เป็นเบาหวานแล้ว
และพบว่าผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยที่สุดก็คือ 8 ขวบ
สามารถเป็นเบาหวานแบบผู้ใหญ่ได้แล้ว
        
 เด็กที่เริ่มเป็นเบาหวานตั้งแต่อายุ 8 ขวบ
ถ้าควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน  เช่น
ไตเสื่อม เบาหวานขึ้น  จอตา ได้ ตั้งแต่เป็นวัยรุ่น
ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน
ตั้งแต่เด็กจะต้องอยู่กับโรคเรื้อรังนี้และภาวะแทรกซ้อนไปอีกนานา
ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง
เป็นผู้ใหญ่ที่ไม่แข็งแรงมีความใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก
เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือป้องกันอย่าให้เด็กเป็นเบาหวาน นั่นคือ
อย่าให้ลูกอ้วนและเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
         
ถ้าปล่อยให้เด็กเป็นเบาหวานแล้ว  จะมานั่งเสียใจทีหลัง และ
เป็นตั้งแต่อายุน้อย
ค่าใช้จ่ายมากโดยเฉพาะถ้าวันหนึ่งเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมาแล้ว
ไม่สามารถไปแก้ไขภาวะตรงนั้นได้ 






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 22:43:04 น.
Counter : 412 Pageviews.  

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบาหวาน


รู้
ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน

               ส่วนใหญ่รู้เมื่อมี
อาการจากการที่มีน้ำตาลในเลือดขึ้นสูง  ได้แก่อาการคอแห้ง หิวน้ำบ่อย 
ปัสสาวะบ่อย และปัสสาวะเป็นจำนวนมาก หิวบ่อย ทานจุ แต่น้ำหนักลดลงเรื่อยๆ
อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง เป็นต้น 
บางคนอาจไม่มีอาการดังกล่าวหรือมีอาการไม่มาก ไม่ชัดเจน
แต่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการของภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน  เช่น ตามัว
มองเห็นไม่ชัดเนื่องจากมีต้อกระจกหรือจอประสาทตาเสื่อม เท้าชา ไม่รู้สึก
หรือมีอาการปวดแสบร้อนที่เท้า เป็นแผลที่เท้าเรื้อรังไม่หาย
หรือนิ้วเท้าดำเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง หรือมีอาการของโรคไตวาย  เช่น บวม
ซีด ปัสสาวะเป็นฟอง เป็นต้น  อาการของโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
เหล่านี้จะปรากฏเมื่อเป็นโรคเบาหวานมานานหรือมีระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูง
มาก  คนที่เริ่มเป็นเบาหวานใหม่ๆ มักจะไม่มีอาการ 
แต่ไม่ควรรอจนเป็นมากค่อยมาตรวจและเริ่มการรักษา 
เพราะภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานส่วนใหญ่ถ้าเป็นมากแล้วจะรักษาไม่หาย 
ดังนั้นคนที่สงสัยว่าจะเป็นเบาหวานหรือมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานควรได้รับ
การตรวจว่าเป็นเบาหวานหรือไม่เสียแต่เนิ่นๆ




ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

               
ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นเบาหวาน  พบว่าคนบางคนเท่านั้นที่มีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน 
ซึ่งได้แก่คนที่มีความเสี่ยงหลายๆ อย่าง ได้แก่ คนที่อ้วนหรือลงพุง
คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน เช่นพ่อ แม่ หรือพี่น้องเป็นเบาหวาน 
คนที่เคยเป็นเบาหวานตอนตั้งครรภ์ คนที่ได้รับยาบางชนิดเช่น สเตียรอยด์
คนที่เป็นโรคของตับอ่อนหรือแม้กระทั่งคนที่สูงอายุก็มีโอกาสเป็นเบาหวานได้ 
เป็นต้น 





การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน

                การ
ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นการวินิจฉัยโรคที่ดีที่สุด 
การตรวจวัดน้ำตาลในปัสสาวะมักจะสายเกินไป 
การตรวจวัดน้ำตาลในเลือดทำได้สองวิธีคือ 
ตรวจโดยการเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำบริเวณข้อพับแขนหรือโดยการตรวจจากปลาย
นิ้วมือ  ในคนที่ไม่มีอาการชัดเจนควรตรวจขณะที่อดอาหารในช่วงตอนเช้า 
โดยงดน้ำและอาหารเป็นเวลา 8 ชั่วโมง 
ในคนที่มีอาการชัดเจนอาจตรวจเลือดโดยไม่ต้องอดอาหารก็ได้ 
ระดับน้ำตาลในเลือดของคนปกติที่ไม่เป็นเบาหวานในช่วงขณะอดอาหารจะอยู่
ระหว่าง 70-100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 
ถ้าหากตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารได้ตั้งแต่ 126
มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน
ในกรณีที่ไม่แน่ใจแนะนำให้ตรวจซ้ำอีกครั้ง
แต่ถ้าตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้น้อยกว่า 126 แต่มากกว่า 100
มิลลิกรัมขึ้นไปถือว่าผิดปกติ 
อาจมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานต่อไปในกาลข้างหน้า 
ควรพบแพทย์เพื่อตรวจติดตามต่อไป




ชนิดของโรคเบาหวาน

                เบา
หวานมีหลายชนิดไม่เหมือนกันโดยทีเดียว  เบาหวานที่มักเป็นกันในผู้ใหญ่
คนสูงอายุ มักเป็นเบาหวานชนิดที่สอง ซึ่งสาเหตุเกิด
จากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนที่ชื่อว่าอินซูลินไม่เพียงพอ 
และมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน
อินซูลินเป็นตัวสำคัญในการช่วยให้น้ำตาลเข้าไปในเซลล์เนื้อเยื่อร่างกายใช้
เป็นพลังงานได้
  ถ้าหากอินซูลินไม่พอหรือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน 
น้ำตาลก็จะไม่สามารถเข้าไปในเนื้อเยื่อได้
คั่งค้างสะสมอยู่ในเลือดทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ 
เบาหวานชนิดนี้มักเกิดกับคนที่อ้วน หรือมีอายุมาก 
ส่วนเบาหวานชนิดที่หนึ่งนั้นมักเกิดในเด็กและวัยรุ่น  มีความรุนแรงมากกว่า
เพราะว่าเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เลย 
ร่างกายแทบไม่มีอินซูลินเหลืออยู่  ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก
ต้องรักษาด้วยการฉีดยาอินซูลินเท่านั้น 
เบาหวานชนิดที่สามเกิดจากโรคทางกรรมพันธุ์เช่นมีอาการหูหนวก
หรือมีภาวะอ้วนผิดปกติ  เบาหวานชนิดนี้พบได้น้อย 
ส่วนชนิดสุดท้ายคือเบาหวานที่พบตอนขณะที่ตั้งครรภ์ 
เบาหวานชนิดนี้มักหายไปหลังจากคลอดบุตร








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 22:41:27 น.
Counter : 316 Pageviews.  

Brain exercise

อกกำลังกาย = สมองดี
            
สมองของคนเรามีน้ำหนักแค่ 2-3 % ของน้ำหนักตัว 
เซลล์สมองของเรามีกว่าแสนล้านล้านเซลล์  แต่ละเซลล์จำเป็นต้องใช้พลังงานมาก
เพราะไม่ว่าเราจะทำอะไร  ทำงาน คิด จดจำ หรือแม้กระทั่งนอนหลับ
สมองยังต้องใช้พลังงานอยู่เสมอ และยังต้องใช้ออกซิเจนถึง 40-50 %
ของออกซิเจนที่เราหายใจเข้าไป ออกซิเจนที่มีอยู่ในกระแสเลือดเหล่านี้
เมื่อเราออกกำลังกายจะทำให้เลือดสูบฉีด ช่วยนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย
รวมถึงไปเลี้ยงสมองได้ดีด้วยนั่นเอง
          
เมื่อได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
สมองก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ชะลอการเสื่อมของเซลล์สมองให้ช้าลงได้  กระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาท
ส่งเสริมการเรียนรู้และความจำให้ดีขึ้น  และยิ่งถ้าออกกำลังกายเป็นประจำ
เสมือนเป็นการฝึกให้สมองอดทนต่อความเครียดไปในตัว
ช่วยลดภาวะความซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะในเด็กจะช่วยให้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ได้รวดเร็ว





ออกกำลังกาย = เสริมศักยภาพสมอง
          
“วิ่ง ว่ายน้ำ โยคะ เต้นแอโรบิก ฯลฯ” การออกกำลังกายมีมากมายหลายประเภท
ซึ่งความจริงแล้ว
การออกกำลังกายทุกประเภทช่วยเสริมศักยภาพสมองได้ในรูปแบบแตกต่างกันไปค่ะ  
ฝึกทักษะใหม่ๆ
          
การออกกำลังกายที่ดีต่อสมองนั้นควรออกกำลังกายให้หลากหลาย
เพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ของสมองจากการได้ฝึกฝนทักษะใหม่ๆ
ไม่ว่าจะเป็น การเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน หรือเต้นแอโรบิก เป็นต้น 
ปฎิสัมพันธ์กับผู้คน ลดอาการซึมเศร้า
          
การออกกำลังกายประเภทกลุ่มหรือเป็นทีม เช่น ฟุตบอล วิ่งเล่นในสนาม
วิ่งเปรี้ยว
จะช่วยให้เราได้พบปะผู้คนและมีปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคมที่หลากหลาย
ช่วยผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดและลดภาวะซึมเศร้าได้
ความจำดี คิดได้เร็ว
          
การออกกำลังกายทุกประเภททำให้การเชื่อมต่อปลายประสาทระหว่างเซลล์ประสาท
เรียกว่า Synapses ดีขึ้น ป้องกันการสูญเสียหรือเสื่อมถอย
การออกกำลังกายจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ความจำดีและยังสามารถป้องกันความ
จำเสื่อมได้   
สมรรถนะร่างกายดี
ขึ้น

          
การออกกำลังกายทุกประเภททำให้สมรรถภาพของร่างกายดีขึ้น ร่างกายสมบูรณ์
เลือดไหลเวียนทั่วร่างกาย ทำให้สมองได้รับสารอาหารเต็มที่
ส่งผลให้กระฉับกระเฉง มีความจำดี  
ใช้สมองสองซีก
          
มนุษย์เราควรใช้สมองสองซีกเท่าๆ กัน แต่คนทั่วไปมักจะใช้สมองเพียงด้านเดียว
การฝึกให้ลูกใช้สมองสองซีกทำได้ง่ายๆ คือลองให้ลูกบริหารร่างกายและสมอง
โดย Brain gym  ซึ่งคิดค้นโดย ดร. พอล เดนนิสัน แห่ง Educational
Kinesiology Foundation ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
เพื่อช่วยให้สมองทั้งด้านซ้ายและสมองด้านขวาทำงานประสานกันได้ดี
ที่สำคัญคือ บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
คือคนที่ใช้ข้อมูลจากสมองทั้งสองด้านได้ดีนั่นเองค่ะ



เด็กๆ กับการออกกำลังกาย
           เด็กๆ
ควรได้รับการปลูกฝังให้ได้ออกกำลังกายอยู่เสมอตามความเหมาะสมกับช่วงของวัย
ของเขา และการได้มีโอกาสออกกำลังกายร่วมกัน หรือมีกิจกรรมต่างๆ
ร่วมกันระหว่างพ่อ-แม่-ลูกก็ยังช่วยสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวให้แน่น
แฟ้นขึ้น ช่วยเสริมประสิทธิภาพที่ดีให้กับสมองลูกเป็นสองเท่าเลยทีเดียวค่ะ



ทำความรู้จัก Brain gym
          
สมองของคนเราแบ่งได้เป็น 2 ซีก คือ ซีกซ้ายและซีกขวา
โดยมีกลุ่มไฟเบอร์เชื่อมสมองทั้ง 2  ซีกเข้าด้วยกัน 
ถ้าหากเราเหนื่อยหรือเครียด สมองจะทำงานได้เพียงข้างเดียวเท่านั้น
ความสามารถในการใช้สมาธิก็ลดลง และ เราก็จะไม่สามารถ รวบรวมความคิด
หรือคิดในเชิงสร้างสรรค์ได้  การบริหารสมอง จึงเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย



สมอง 2 ด้านทำงานอย่างไร ???
สมองแบ่งเป็น
ซีกซ้ายและซีกขวา 
สมองซีกซ้าย
ทำหน้าที่ เรียนรู้และมีความสามารถในการวิเคราะห์ และแยกเป็นส่วนๆ
การใช้คำพูด การจัดลำดับก่อน – หลัง ควบคุมพฤติกรรม รู้เวลาและสถานที่
การเรียนรู้ด้านภาษา
คณิตศาสตร์ ใช้เหตุผลตามหลักการทฤษฏี การตัดสินใจ
สมองซีกขวา ทำหน้าที่
เรียนรู้ในลักษณะของภาพรวม คิดแบบบูรณาการ จินตนาการ มองลักษณะท่าทางโดยรวม
ภาษาที่ใช้ การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทัศนคติ
เรียนรู้จากการที่ได้ฝึกหรือปฏิบัติ
          
โดยสมองทั้งสองด้านจะมีไฟเบอร์บางๆ เป็นตัวเชื่อมประสาน
ผู้ที่สามารถใช้สมองด้านได้ดีมักจะมีความคิดสร้างสรรค์สูงค่ะ
ที่เรารู้จักกันดีคือลีโอดาโน ดาวินชี
อัจฉริยะคนหนึ่งของโลกที่เชี่ยวชาญทั้งด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์
ผลงานเด่นของเขามีตั้งแต่ภาพวาดโมนาลิซ่าจนถึงการวาดกายภาพมนุษย์
ผู้ออกแบบเครื่องร่อนคนแรกๆ ของโลก ฯลฯ






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 22:39:44 น.
Counter : 881 Pageviews.  

โรคปอดบวม



ปอดบวม...ก่อกวน









ฤดูฝนย่างกรายเข้ามา
เจ้าตัวเล็กมักจะเจ็บป่วยกันถี่ขึ้นใช่ไหมล่ะ
ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีเชื้อโรคหลายๆ ตัวที่มากับฝน
โดยเฉพาะเชื้อที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่ไข้หวัด
ไข้หวัดใหญ่ หลอดลมอักเสบ ไปจนถึงโรคปอดบวม

ปอดบวม VS ปอดอักเสบ



คุณแม่คงเคยได้ยินคำว่า “ปอดบวม” กับ “ปอดอักเสบ”
และสงสัยว่าเป็นคำเดียวกันหรือไม่ จริงๆ
แล้วปอดบวมและปอดอักเสบนี่เป็นคำคล้ายๆ กันค่ะ
แต่โรคปอดบวมเป็นโรคเกี่ยวกับการอักเสบในปอด อันเกิดจากการติดเชื้อในปอด
ซึ่งเชื้อส่วนใหญ่คล้ายๆ กับเชื้อหวัดคือ เกิดจากเชื้อไวรัส
บางครั้งบางคราวอาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย
หรือเชื้อที่อยู่ระหว่างไวรัสกับแบคทีเรียได้เหมือนกัน
แต่ปอดอักเสบอาจจะมีสาเหตุอื่นที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อเท่านั้น

เสี่ยงเพราะภูมิคุ้มกันต่ำ
โรคปอดบวม
เป็นโรคที่เกิดกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ค่ะ โดยเฉพาะเด็กเล็กก่อนวัยเรียน
เพราะภูมิต้านโรคของลูกยังไม่แข็งแรงพอ
ขณะเดียวกันเด็กวัยอนุบาลก็พบว่าเป็นโรคปอดบวมมาก
เพราะปอดบวมเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
ที่ติดต่อผ่านทางเดินหายใจเป็นหลัก คล้ายๆ กับหวัด พอมีใครในห้องเป็นหวัด
และมีอาการไอ จาม หรือมีสารคัดหลั่งอย่างเช่นน้ำมูกหรือเสมหะ เมื่อเด็กๆ
เล่นด้วยกันก็สัมผัสสารคัดหลั่งเหล่านั้น ทำให้ติดโรคกันได้
นอกจากนั้นยังมีเด็กที่จัดว่าอยู่ใน
กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคปอดบวมได้อีก
คือเด็กมีโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเป็นโรคประจำตัว
ไม่ว่าจะเป็นโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้
หรือโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางเดินหายใจอย่างอื่น เด็กที่เป็นหวัดบ่อย
หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคปอดบวมได้ง่ายกว่าเด็กคนอื่น



อาการแบบนี้ใช่เลย


อย่างที่บอกค่ะว่า
ปอดบวมเกิดจากการติดเชื้อ
เพราะฉะนั้นปอดบวมจึงเป็นหนึ่งในผลแทรกซ้อนจากการที่ลูกเป็นหวัด คออักเสบ
หรือหลอดลมอักเสบ แล้วลามลงมาที่ปอดจนกลายเป็นปอดบวม
อาการส่วนใหญ่ของเด็กที่เป็นปอดบวมจึง
มักเป็นหวัดนำมาก่อน มีน้ำมูก ไอ และเป็นไข้อยู่นานพอสมควร
รักษาอย่างไรก็ยังไม่หายสักที
จนกระทั่งเชื้อลามจากระบบทางเดินหายใจส่วนบนลงไปที่ปอด ลูกก็จะมีอาการหลักๆ
คือมีไข้ ไอมากตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน หายใจแรง หอบ
แม้จะไม่ได้เพิ่งร้องไห้เสร็จหรือเพิ่งวิ่งมา
คุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกยังหายใจเร็วกว่าปกติได้จากหน้าอกที่บุ๋มลง
ใช้แรงหายใจมากกว่าปกติ
ถ้ามีอาการหายใจแบบนี้ก็ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอด่วนแล้วล่ะค่ะ

สิ่ง
สำคัญคือรักษาตามอาการ

เมื่อไปถึงมือคุณหมอแล้ว
คุณแม่เองต้องบอกเล่าอาการต่างๆ ของลูกให้คุณหมอฟังอย่างละเอียด
แล้วคุณหมอจะตรวจร่างกายเจ้าตัวเล็ก ตั้งแต่วัดไข้ เสียงหายใจ
อัตราการหายใจ
และถ้าวินิจฉัยแล้วพบว่าลูกของคุณแม่เป็นปอดบวมก็ต้องรักษาตามขั้นตอนดังต่อ
ไปนี้ค่ะ
+ รักษาตามอาการ ถ้าลูกมีไข้คุณหมอก็จะให้ยาลดไข้
แล้วก็ให้ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อที่จะให้เสมหะไม่เหนียวข้น
จะได้มีการไอและขับออกมาได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าอาการหนักก็ต้องนอนที่โรงพยาบาล
และให้น้ำเกลือ หรือบางรายอาจต้องให้ออกซิเจนเพื่อช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น
+
รักษาเฉพาะทาง

คือการให้ยาแก้อักเสบ ในกรณีที่ปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรีย
เพราะยาปฏิชีวนะจะมีส่วนช่วยในการรักษา
หรืออาจจะรักษาด้วยวิธีอื่นควบคู่ด้วย เช่น การพ่นยาขยายหลอดลม
การให้ยาละลายเสมหะ เมื่อมีเสมหะเหนียวไปปิดกั้นทางเดินหายใจ
เพราะถ้าไม่รักษาอาจจะทำให้ปอดส่วนไม่มีอากาศเข้าไปอาจจะทำให้ปอดแฟบจนต้อง
เคาะปอดหรือกายภาพปอด เพื่อให้ลูกสามารถหายใจได้สะดวก
เพราะถ้าปอดเสียไปทั้ง 2 ข้าง อาจมีภาวะทางเดินหายใจล้มเหลว
จนต้องมีการใส่ท่อช่วยทางเดินหายใจ เป็นต้น

หน้าฝนปีนี้ ถ้าเจ้าตัวเล็กเป็นหวัดบ่อย
และเป็นแต่ละทีก็นานจนน่าห่วง
และมีอาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นโรคปอดบวมแล้วล่ะก็
คุณแม่ต้องรีบพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อที่จะได้รักษาทันท่วงที
และถ้าลูกเป็นปอดบวมแล้ว คุณแม่ต้องให้ยาตามที่คุณหมอแนะนำ
และเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด
หากอาการไม่ดีขึ้นต้องพาลูกกลับไปให้คุณหมอตรวจอีกครั้งหนึ่งค่ะ

Modern Mom Tips :


ถ้าไม่อยากให้ลูกเป็นปอดบวมคุณแม่ควร...
        + ถ้าคนใกล้ชิดไม่สบาย
หรือมีการระบาดเกี่ยวกับเชื้อโรคบางอย่างที่สามารถทำให้เกิดปอดบวมได้
คุณแม่ต้องพยายามไม่ให้เจ้าตัวเล็กเข้าใกล้
หรือถ้าเป็นไปได้ควรให้ผู้ป่วยใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก
เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
        + หลีกเลี่ยงที่จะไปในที่ชุมชนแออัด
เพราะเป็นสิ่งแวดล้อมที่แพร่กระจายเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี
        + วัคซีนทางเลือกบางตัว
สามารถลดความเสี่ยงในการเชื้อแบคทีเรียที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปอดบวม
ได้
        +
ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ต้องดูแลและรักษาสุขภาพของลูกให้แข็งแรง
ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และรักษาร่างกายให้อบอุ่น










Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 22:38:11 น.
Counter : 455 Pageviews.  

เส้นเลือดขอด



เส้นเลือดขอดออกอาละวาด

              

เมื่อตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงและปัญหาเกิดขึ้นในตัวคุณแม่มากมายหลาย
ประการ มีปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยพอควรเลยทีเดียว
แต่คุณแม่ส่วนมากมักไม่ค่อยใส่ใจ ปัญหานั้น คือ เส้นเลือดขอด

ที่มาเส้นเลือดขอด


               โรคเส้นเลือดขอด
เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นที่เส้นเลือดดำเท่านั้น
คนที่มีเส้นเลือดขอดจะมีเส้นเลือดดำที่คดเคี้ยวและโป่งออกมาก
ซึ่งความผิดปกตินี้ เป็นสิ่งที่มีมาแต่เกิดแล้ว
คุณแม่คงพอเข้าใจแล้วใช่ไหมคะว่าเวลาตั้งครรภ์ทำไมบางคนก็มีเส้นเลือดขอด
บางคนก็ไม่มี
เหตุผลก็เพราะแต่ละคนมีเส้นเลือดดำที่มีลักษณะคดเคี้ยวมากน้อยต่างกันมาก่อน
แล้วนั่นเอง

               ขณะไม่ตั้งครรภ์
แม้ว่าคุณผู้หญิงจะมีเส้นเลือดที่คดอยู่ก่อนแล้วก็ตาม
แต่ก็จะไม่แสดงอาการอะไรให้เห็นชัดเจน แต่เมื่อมีการตั้งครรภ์
มดลูกที่โตวันโตคืนก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ
จนวันหนึ่งก็จะใหญ่จนมากพอที่จะไปกดทับบนเส้นเลือดดำขนาดใหญ่ในช่องท้อง

              

การกดทับที่เส้นเลือดดังกล่าวเปรียบเสมือนการมีเขื่อนกั้นน้ำที่แม่น้ำสาย
ใหญ่ ทำให้สายน้ำเล็ก ๆ
ดังกล่าวก็คือเส้นเลือดดำที่มีตำแหน่งอยู่ก่อนบริเวณที่จะถูกมดลูกกดทับ
นั่นคือเส้นเลือดบริเวณขาทั้งสองข้าง และเส้นเลือดบริเวณปากช่องคลอด
จึงทำให้เส้นเลือดบริเวณดังกล่าวโป่งขยายขึ้นจากการที่เลือดไหลเวียนต่อไป
ไม่ได้สะดวก ผู้หญิงที่มีเส้นเลือดขอดอยู่แล้ว
และมองไม่เห็นขณะไม่ตั้งครรภ์ จึงมองเห็นชัดขณะตั้งครรภ์

ตำแหน่งยอดนิยมของเส้นเลือดขอด
              
ตำแหน่งที่มองเห็นเส้นเลือดขอดได้ชัดเจน คือ บริเวณต้นขา น่อง และข้อเท้า
เนื่องจากเป็นบริเวณที่อยู่ด้านล่างของร่างกาย
เลือดจึงไหลมารวมที่บริเวณดังกล่าวตามแรงดึงดูดของโลกได้ง่ายกว่าบริเวณ
อื่น  

              
ความรุนแรงของเส้นเลือดขอดของแต่ละคนมากน้อยไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความคดเคี้ยวของเส้นเลือดแต่ละคนและอายุครรภ์
ยิ่งอายุครรภ์มากขึ้น มาดลูกก็จะโตมากขึ้น
การกดทับบนเส้นเลือดในช่องท้องก็จะมากตามไปด้วย
เส้นเลือดขอดก็จะยิ่งมองเห็นชัดขึ้น

เส้นเลือดขอดอันตรายไหม
              
การมีเส้นเลือดขอดมักไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติอะไร
นอกจากเห็นเป็นเส้นเลือดปูดออกมาจนน่ากลัว
คุณแม่เพียงส่วนน้อยที่อาจจะรู้สึกไม่ค่อยสบาย เช่น
หนักหรือถ่วงบริเวณขาและน่อง และมีน้อยรายมากที่อาจจะปวดเวลายืน หรือเดิน
และจำเป็นต้องนอนพักเป็นเวลายาวนาน

               อย่างไรก็ตาม
หลังจากคุณแม่คลอดไปแล้ว มดลูกก็จะมีขนาดเล็กลง
การกดทับเส้นเลือดของมดลูกก็จะหมดไป อาการเส้นเลือดขอดก็จะดีขึ้น

รับมือเส้นเลือดขอด





              
คุณแม่ที่มีเส้นเลือดขอดเพียงเล็กน้อยเห็นเป็นจ้ำ ๆ หรือฝอย ๆ
ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาแต่อย่างใด เพราะหลังคลอดส่วนมากจะหายได้เอง
              
สำหรับคุณแม่ที่เป็นมาก คือ เห็นเส้นเลือดปูดออกมาชัดเจน
การนอนยกขาให้สูงจะช่วยให้อาการดีขึ้น แต่ไม่ใช่การรักษาให้หายขาด
              
คุณแม่ที่จำเป็นต้องเดินบ่อย ๆ หรือนั่งนาน ๆ
เลือดก็ยิ่งไหลไปรวมที่บริเวณขาและเท้ามากขึ้น ยิ่งทำให้เกิดเส้นเลือดขอด
แนะนำให้ใช้ถุงน่องหรือผ้า หรือยางยืดรัดบริเวณขา น่อง
หรือข้อเท้าเพื่อช่วยบรรเทา






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 22:36:37 น.
Counter : 391 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.