นมแพะควรดื่มหรือไม่



          
นมแพะเป็นอาหารประเภทนมเช่นเดียวกับนมโค
จึงเป็นทางเลือกของการดื่มนมอีกทางหนึ่งของผู้ที่ต้องการดื่มนม
โดยมีส่วนประกอบพื้นฐานของสารอาหารในนมแพะคล้ายกับนมโค
ไม่ได้มีส่วนประกอบคล้ายนมคนอย่างที่บางคนเข้าใจ
จึงไม่ควรใช้เลี้ยงทารกแทนนมแม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกในขวบปีแรก
นมแพะสามารถใช้เป็นเครื่องดื่มประเภทนมในลักษณะอาหารว่างระหว่างมื้อสำหรับ
วัยอื่นๆ ที่มีคุณค่าอาหารสูง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน แร่ธาตุแคลเซียม วิตามินเอ
และวิตามินบี ๒ เช่นเดียวกับนมโค





การดื่ม
นมแพะมีประโยชน์หรือไม่

* คุณค่าอาหาร
           หากจะถามคำถามนี้
ก็คงต้องบอกว่ามีประโยชน์ในแง่คุณค่าอาหารเช่นเดียวกับนมโค
ความแตกต่างของนมแพะและนมโคบางส่วนที่มี เช่น
นมแพะมีคุณสมบัติในการย่อยง่ายกว่านมโค
เพราะลิ่มนมซึ่งเกิดจากโปรตีนเจอกับกรดในกระเพาะมีขนาดเล็กกว่าลิ่มนมของนม
โค 

* ไขมัน
          
ส่วนประโยชน์ในประเด็นที่ว่านมแพะไขมัน ต่ำกว่า นมโคนั้น
คงสรุปเช่นนั้นไม่ได้ เพราะขึ้นกับสายพันธุ์ของแพะนม
ซึ่งมีมากมายหลายสายพันธุ์เช่นเดียวกับโคนม บางสายพันธุ์ (Saanen)
ให้ปริมาณน้ำนมมากแต่มีปริมาณไขมันต่ำ ขณะที่บางสายพันธุ์ (Nubian)
จะให้ปริมาณน้ำนมน้อยกว่าแต่มีปริมาณไขมันสูง
สิ่งที่แตกต่างระหว่างนมโคและนมแพะ ที่ชัดเจนคือ ขนาดของหยดไขมัน (fat
globules) ที่นมแพะมีขนาด เล็กกว่านมโค ด้วยเหตุนี้
นมแพะจึงไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการตีไขมันให้แตกละเอียด (homeogenesis) 
เพื่อให้มีส่วนประกอบที่สม่ำเสมอไม่เกิดการลอยเป็นฝ้าหรือการเกิดชั้นของ
ครีม ทั้งนี้ขั้นตอนการตีไขมัน ซึ่งทำในนมโคนั้นจะมีเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส
(xanthine oxidase) หลุดออก
มาเป็นอิสระและมีโอกาสผ่านผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดได้
ซึ่งอาจไปกระตุ้นร่างกายให้ปล่อยโคเลสเตอรอล เข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้นได้
และเมื่อตีไขมันแตกแล้ว เอนไซม์ไลเพส (lypase)
ในนมจะทำให้เกิดมีรสขมหรือหืน
ดังนั้นหลังการตีไขมันแล้วจึงต้องมีการผ่านความร้อนเพื่อทำลายเอนไซม์

* วิตามิน

           ประโยชน์ในแง่ของวิตามินนั้น
นมแพะจะเปลี่ยนคาโรทีนทั้งหมดให้อยู่ในรูปของวิตามินเอ
จึงทำให้นมแพะสีจะค่อนข้างขาวกว่านมโคซึ่งยังมีบางส่วนอยู่ในรูป
คาโรทีนอยด์ ส่วนกลุ่มวิตามินบีนั้น นมแพะจะมีวิตามินบี ๒
และไนอาซีนสูงกว่านมโค แต่มีวิตามินบี ๖ และวิตามิน บี ๑๒ ต่ำกว่านมโค
แต่ทั้งนมโคและนมแพะมีวิตามินซีและวิตามินดีต่ำทั้งคู่

* แร่ธาตุ

           ปริมาณแร่ธาตุต่างๆ
ในน้ำนมนั้นแร่ธาตุบางชนิดในนมแพะจะสูงกว่าในนมโค ได้แก่ แคลเซียม
โพแทสเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส คลอไรด์ และแมงกานีส
ในขณะเดียวกันก็มีแร่ธาตุบางชนิดต่ำกว่านมโค ได้แก่ โซเดียม เหล็ก ซัลเฟอร์
สังกะสี และโมลิเดียม ดังนั้น
การกล่าวอ้างว่านมแพะใช้รักษาโรคโลหิตจางจึงไม่มีคำอธิบายสนับสนุนที่ชัดเจน
ขณะเดียวกันก็ยังพบว่าโรคโลหิตจางในทารกบางรายที่เลี้ยงด้วยน้ำนมแพะ

* การแพ้นม

          
ในการแนะนำคนที่แพ้นมโคให้ดื่มนมแพะแทนนั้น
จะได้ผลเฉพาะในรายที่มีสาเหตุการแพ้น้ำเหลืองวัว (bovine serum)
ในนมวัวเท่านั้น ซึ่งพบเป็นส่วนน้อย
ผู้ที่แพ้น้ำเหลืองวัวก็จะมีอาการแพ้ต่อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมโคทุกชนิด
(ไม่ว่าเนยหรือเนยแข็ง) ไม่ใช่เฉพาะกับนมเท่านั้น
แต่คนที่แพ้นมโคส่วนใหญ่มีสาเหตุการแพ้จากส่วนประกอบอื่นๆ
ในเนื้อนมที่พบได้บ่อยคือการแพ้แล็กโทส
ในกรณีนี้การดื่มนมแพะจะไม่ใช่วิธีการแก้ไข
เนื่องจากนมแพะก็มีแล็กโทสเช่นกัน แม้จะมีปริมาณต่ำกว่านมโคก็เพียงเล็กน้อย
การแก้ไขจึงควรเป็นการบริโภคโยเกิร์ตหรือดื่มนมเปรี้ยว
เพราะมีการย่อยแล็กโทสไปแล้วโดยจุลินทรีย์





ข้อเสีย
ของการดื่มนมแพะมีหรือไม่

          
ข้อเสียที่มักได้ยินคือ เรื่องของกลิ่นและรส แต่
ในความเป็นจริงแล้ว กลิ่น
รสเหล่านี้เกิดจากวิธีการเลี้ยงดูและการบริหารจัดการในการรีดนม
ถ้าทำการดูแลแพะให้สะอาด และให้อาหารที่ดีแก่แพะเช่นเดียวกับโคนม กลิ่น
รสของนมแพะจะไม่แตกต่างจากของนมโค
ส่วนข่าวเกี่ยวกับผู้ที่ติดเชื้อโรคบางอย่างจากการดื่มนมแพะนั้น
เกิดจากกระบวนการให้ความร้อนเพื่อการฆ่าเชื้อในน้ำนมไม่ได้มาตรฐาน
ถ้าหากมีการควบคุมดูแล
ขั้นตอนนี้ให้ได้มาตรฐานก็จะได้นมที่ดื่มได้อย่างปลอดภัย ดังนั้น
ข้อเสียของการดื่มนมแพะคงเหลือเพียงเรื่องราคาที่ค่อนข้างแพง
เนื่องจากมีการผลิตปริมาณไม่มาก และการส่งเสริมการขายที่อ้างสรรพคุณต่างๆ
จนนมแพะถูกวางเป็นอาหารพิเศษ


ควรหันมาดื่มนมแพะดีหรือไม่

          

จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่าถ้าท่านไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารหรือ
แพ้ น้ำเหลืองวัว จะดื่มนมโคหรือนมแพะก็คงไม่แตกต่างกันนัก
แต่หากมีปัญหาดังกล่าวและยังต้องการดื่มนมโดยยินดีจ่ายค่านมแพงขึ้น
การดื่มนมแพะก็เป็นทางเลือกทางหนึ่ง
แต่การผลิตนมแพะในขณะนี้ยังเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก
ซึ่งการฆ่าเชื้อต้องใช้วิธีต้มนมหากท่านไม่มั่นใจในมาตรฐานการฆ่าเชื้อของ
ผู้ผลิต ก่อนดื่มก็ควรต้มนมอีกครั้งอย่างน้อย ๑๐ นาที

ประโยชน์ที่
เด่นชัดของการดื่มนมแพะ

          
แต่เดิมนั้นเป็นประโยชน์ด้านเศรษฐกิจโดยที่แพะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก
เลี้ยงดูง่าย ใช้พื้นที่การเลี้ยงดูน้อย
สามารถให้นมพอเพียงกับการบริโภคในครัวเรือน
จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับครอบครัวที่ไม่อยู่ในฐานะที่จะมีโคนมสามารถมีนม
ดื่มในครัวเรือนโดยเลี้ยงแพะในพื้นที่อันจำกัดของบริเวณบ้านตน
ผู้เขียนเคยมีโอกาสได้เยี่ยมชมการรีดนมแพะ
ซึ่งเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของศูนย์ศึกษาการพัฒนา "พิกุลทอง" จังหวัดนราธิวาส
จะเป็นการผลิตขนาดเล็กในเชิงศึกษาพัฒนาสาธิต
นมแพะที่รีดได้ถูกนำมาต้มและบรรจุในถุงนมพาสเจอร์ไรส์อย่างถูกสุขลักษณะและ
จำหน่ายในราคาปกติ การผลิตนมแพะจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าส่งเสริมในท้อง
ถิ่นที่มีความต้องการ แต่ควรมีการดำเนินการอย่างถูกต้อง
ได้มาตรฐานและจำหน่ายในราคายุติธรรมมากกว่าการสร้างภาพลักษณ์ที่เกินจริงและ
ขายในราคาที่เกินควร






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 21:26:46 น.
Counter : 807 Pageviews.  

สมุนไพรไทยหยุดเลือดกำเดาไหล








          
อาการเลือดกำเดาไหลเกิดจากเส้นเลือดเล็กๆ ที่บุเยื่อจมูกฉีกขาด
ทำให้มีเลือดไหลออกทางจมูกข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
ส่วนมากมักเกิดขึ้นเฉียบพลัน พบบ่อยในเด็ก

          
เลือดกำเดาไหลเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยมากมักไม่ใช่สาเหตุร้ายแรง
ซึ่งจะมีเลือดออกเพียงเล็กน้อยและหยุดได้เอง
แต่อาจเกิดจากความผิดปกติและโรคต่างๆ ได้ ดังนี้

1. การบาดเจ็บของเยื่อบุจมูก ได้แก่ การแคะจมูก
ผู้ที่มีนิสัยชอบแคะจมูกจะมีน้ำมูกแห้งกรัง เมื่อแคะออกจะเกิดแผลถลอก
การสั่งน้ำมูกแรงๆ หรือการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศอย่างเร็ว เช่น
ระหว่างขึ้นเครื่องบินหรือการดำน้ำ
อาจมีผลให้เกิดเลือดออกในโพรงอากาศข้างจมูกและมีเลือดกำเดาไหล
นอกจากนี้ยังเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะและใบหน้า
อาจโดนที่จมูกโดยตรงหรือโพรงไซนัส ทำให้มีเลือดออกได้

2. การอักเสบในช่องจมูก ได้แก่
ภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หรือโรคแพ้อากาศ
อาการคือจะมีเลือดคั่งที่เยื่อบุจมูกและเยื่อบุโพรงอากาศข้างจมูก
ถ้ามีการสั่งน้ำมูก อาจทำให้เลือดกำเดาไหล ส่วนภาวะอากาศหนาว ความชื้นต่ำ
ทำให้เยื่อบุจมูกแห้ง เกิดการอักเสบ และเลือดออกได้ง่าย

3. การผิดรูปของผนังกั้นช่องจมูก
มีลักษณะโค้งงอหรือเป็นสันแหลม ทำให้มีน้ำมูกแห้งกรัง
เมื่อแคะจะมีเลือดออกได้

           4.
เนื้องอกในจมูกหรือโพรงอากาศข้างจมูก ทั้งชนิดร้ายและไม่ร้าย
ก็อาจทำให้มีเลือดกำเดาไหลได้เช่นกัน

5. โรคทางระบบอื่นๆ ได้แก่
โรคเลือดที่ทำให้เลือดออกง่าย เช่น การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ การได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
โรคทางพันธุกรรมบางชนิดที่มีความผิดปกติของหลอดเลือด หรือความดันโลหิตสูง
ทำให้เส้นเลือดแตกได้

           อย่างไรก็ตาม
อาการส่วนใหญ่ที่พบมักไม่ค่อยมีอันตรายร้ายแรง
และสามารถรักษาได้เองด้วยวิธีพื้นบ้านง่ายๆ
ที่ช่วยหยุดเลือดกำเดาให้คุณได้ในเวลาไม่กี่นาที





บีบจมูก
หยุดเลือดไหล


           เมื่อมีเลือดกำเดาออก
อย่างตกใจจนทำอะไรไม่ถูกนะคะ
นอกจากการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบบริเวณสันจมูกที่
หลายคนรู้จักกันดีแล้ว เมษามีวิธีหยุดเลือดกำเดาง่ายๆ ก็คือ การกดบีบจมูก
เริ่มต้นจาก

           1. นั่งหลังตรง โน้มศีรษะมาข้างหน้าเล็กน้อย
เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลลงคอ

           2.
ต่อมาให้คุณสั่งน้ำมูกเบาๆ
เพื่อไล่ลิ่มเลือดที่อาจไปขัดขวางการสมานรอยแตกของหลอดเลือด

          
3. จากนั้นใช้นิ้วบีบจมูกเข้าหากันเบาๆ แล้วกดเข้าหาหน้า
นิ่งอยู่ในท่านี้อย่างน้อย 10 นาที (ระหว่างนี้ให้หายใจทางปาก)

          
4. ถ้าเลือดยังไม่หยุดไหล ให้กดต่อไปอีก 10 นาที วิธีนี้มักได้ผลดี

สมุนไพรเยียวยาเลือดกำเดาไหล

          
นอกจากนี้เรายังมียาสมุนไพรไทยรักษาเลือดกำเดาไหลจาก คุณบุญยืน ผ่องแผ้ว
หรือหมอน้อย หมอสมุนไพรประจำคลินิกหนองบงการแพทย์แผนไทย จังหวัดลพบุรี
มาแนะนำกันค่ะ






ใบพลู
ใช้ใบพลู 1 ใบ ม้วนให้กลมเหมือนมวนบุหรี่ ขนาดให้พอดีรูจมูก
ขยี้ปลายข้างหนึ่งให้พอช้ำ นำปลายที่ช้ำสอดเข้าไปในจมูกข้างที่มีเลือดไหล
ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เลือดจะหยุดไหล
เพราะใบพลูมีสรรพคุณช่วยสมานแผลได้ดี


• น้ำมะนาว ใช้มะนาวครึ่งลูกบีบใส่น้ำร้อน 1
แก้ว เติมเกลือครึ่งช้อนชา น้ำตาลทรายไม่ขัดขาวครึ่งช้อนโต๊ะ
ชงดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหาร น้ำมะนาวมีวิตามินซีสูง
แก้เลือดออกตามไรฟัน ลักปิดลักเปิด และเลือดกำเดาไหลได้

• รากต้นข้าว ใช้รากข้าวที่เกี่ยวแล้ว 1 ต้น
ถอนทั้งรากทั้งโคน ยาวประมาณ 1 คืบ (ตั้งแต่รากขึ้นไป) ล้างให้สะอาด
ต้มกับน้ำ 1 ลิตร รอจนเดือด กรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ 1 แก้ว
ก่อนอาหาร เช้า-เย็น ช่วยห้ามเลือดกำเดาไหล

• รากต้นฝรั่ง ใช้รากต้นฝรั่ง 1 กำมือ
ล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำ 1 ลิตร รอจนเดือด กรองเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ 1 แก้ว
ก่อนอาหาร เช้า-เย็น


รากหัวไชเท้า
ใช้รากหัวไชเท้าหนัก 1 บาท หรือประมาณ 15 กรัม
ล้างน้ำให้สะอาด ตำหรือคั้นเอาแต่น้ำ
จากนั้นใช้น้ำที่คั้นได้หยอดเข้าทางจมูกข้างที่มีเลือดไหล 1-2 หยด
หัวไชเท้ามีสรรพคุณสมานแผลและห้ามเลือดได้

• รากไพล ใช้รากไพล 7 ราก ล้างน้ำให้สะอาด
ตำให้ละเอียด หลังจากนั้นใส่น้ำเปล่า 3 หยด ขยี้ให้เข้ากัน กรองเอาแต่น้ำ
หยอดน้ำรากไพลในรูจมูกข้างที่เลือดไหล
ไพลมีสรรพคุณช่วยแก้เลือดกำเดาไหลและฆ่าเชื้อ

          
นอกจากนี้หมอน้อยได้ให้ตำรับยาไทยสูตรโบราณ ซึ่งมีสรรพคุณสมานบาดแผล
ห้ามเลือด และฆ่าเชื้อได้ดีมาฝากกันค่ะ

           ใช้ขมิ้นอ้อย 7
แว่น ขมิ้นชัน 7 แว่น เกลือตัวผู้ 3 เม็ด กระเทียม 3 กลีบ
ตำทุกอย่างให้เข้ากันดี หลังจากนั้นนำยาทั้งหมดเคี่ยวกับน้ำมันพืชครึ่งลิตร
เคี่ยวจนกระเทียมไหม้ดี แล้วจึงยกขึ้นและกรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่น้ำมัน
หลังจากนั้นใส่เหล้า 3 หยด ใส่ภาชนะขวดแก้วเก็บไว้

          
เมื่อมีเลือดออกในจมูก ให้นอนหงายและใช้คัตตอนบัด (สำลีปั่นหู)
จุ่มน้ำมันทาภายในรูจมูกข้างที่มีเลือดออก คลึงจมูกเบาๆ ทำวันละ 1 ครั้ง
หรือเวลาที่มีเลือดกำเดาไหล


          
เพียงเท่านี้อาการเลือดกำเดาไหลที่หลายคนเคยตื่นตระหนกก็หยุดไหลด้วยดี
แต่ถ้าทำตามขั้นตอนเหล่านี้แล้ว
เลือดยังไม่หยุดไหลหรือเลือดยังไหลลงคอไม่หยุด
ขอแนะนำว่าควรรีบไปพบแพทย์ที่อยู่ใกล้ๆ บ้านโดยด่วนค่ะ






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 21:25:03 น.
Counter : 562 Pageviews.  

เซ็กซ์หลังคลอด



         
เกิดมาเป็นผู้หญิงก็ต้องมีบทบาทหน้าที่ตั้งหลายอย่าง
พอแต่งงานแล้วก็ต้องเป็นภรรยาสุดที่รัก ตอนท้องก็จะเริ่มงงๆ
งานการในหน้าที่ของเมียที่ดีก็จะน้อยลง เนื่องจากสังขารไม่ให้
พอคลอดลูกออกมาแล้วคราวนี้ยิ่งไปกันใหญ่
เพราะความเป็นแม่นั้นมันยิ่งใหญ่นัก
ธรรมชาติสร้างให้ผู้หญิงเราเป็นแม่มากกว่าเป็นเมีย
ฮอร์โมนของการให้นมของแม่ก็เลยกดฮอร์โมนเพศหญิง
ความต้องการทางเพศตอนหลังคลอดก็เลยหดหายไปหมดด้วย 
คุณพ่อก็เลยต้องนอนก่ายหน้าผากตาปริบ
ดูลูกดูดหลับคาเต้าอย่างมีความสุข...เฮ้อ อิจฉาจัง!!

เรามาศึกษาเรียนรู้ผู้หญิงกันก่อนดีกว่าว่า
เธอทำต่อมความรู้สึกทางเพศหายไปไหน

 
สาเหตุที่ทำให้คุณผู้หญิงไม่มีความรู้สึกทางเพศหลังจากคลอดลูกไปแล้วมีมาก
มายหลายเหตุผล ทั้งทางด้านร่ายกาย จิตใจ และอารมณ์
ความสับสนในบทบาทของการเป็นแม่กับการเป็นเมีย
รวมทั้งความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไประหว่างสามี-ภรรยา





อายหุ่น
         
ทางด้านร่ายกายเป็นเรื่องที่เห็นชัดที่สุด หลังคลอดอะไรต่ออะไรก็เปลี่ยนไป
จากหุ่นเซ็กซี่เอวคอด ก็กลายเป็นตัวกลมๆ ตันๆ หุ่นเหมือนถังแก๊ส พุงก็ห้อย
ท้องก็ลาย ตัวก็ใหญ่เทอะทะ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตัวเอง
ขนาดตัวเองยังทนดูตัวเองไม่ได้ นับประสาอะไรจะไปเปลือยกายให้สามีดู
แทนที่จะมีอารมณ์ เดี๋ยวเห็นหุ่นแล้วจะตกใจหัวหดไปหมด 

         
เริ่มต้นก็นึกถึงภาพตัวเองตอนก่อนมีลูก
แล้วพยายามตั้งใจให้กลับมาเหมือนเดิมให้ได้ ต้องพยายามคุมอาหาร
ออกกำลังกายให้หุ่นกลับมาเหมือนเดิม ท้องจะลายไปหน่อยก็ไม่ต้องสนใจ
ปิดไฟก็ไม่เห็นแล้ว ถ้ายังไม่เหมือนเดิมก็คงต้องอาศัยความตั้งใจและความอดทน
แล้วสักวันก็จะสามารถกลับมามองดูตัวเองด้วยความภูมิใจเหมือนเดิม
ความมั่นใจในตัวเองที่หายไปก็จะกลับมาอีกครั้ง
แล้วก็อย่าลืมบริหารกระบังลมโดยการขมิบก้นให้เข้าที่ อย่างน้อย 30
ครั้งต่อวัน ถ้าทำทุกวันก็มักจะกลับมาฟิตปั๋งเหมือนเดิมภายใน 3 เดือน
แต่ถ้าทำต่อไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งดีใหญ่ ถ้าเรารู้สึกว่าของเราดีแล้ว สามีติดใจ
เราก็จะได้ภูมิใจที่เราสามารถกลับมามีทุกอย่างเหมือนเดิมด้วยตัวเราเอง


กลัวเจ็บ
         
คุณหมอจะห้ามการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงตอนหลังคลอด 6 สัปดาห์
โดยมากแผลมันหายสนิทดีหมดแล้ว
แต่อาจยังมีเม็ดปมหลงเหลือยังละลายไม่หมดอยู่บ้าง
เวลามีเพศสัมพันธ์มีการเสียดสีก็อาจทำให้รู้สึกเจ็บตรงรอยฝีเย็บได้
คุณผู้หญิงก็กลัวว่าแผลมันจะอักเสบ เลยพยายามหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
แล้วก็เลยพานไม่อยากจะมีอีกเลยก็ได้


หลังคลอด
โครงสร้างภายในที่ยึดโยงมดลูกภายในท้องน้อยก็ยืดหย่อนยานกว่าตอนที่ยังไม่มี
ลูก เวลามีเพศสัมพันธ์ มดลูกก็อาจโยกเยกคลอนแคลนได้ง่าย
ทำให้จุกเสียดในท้องน้อยได้ง่าย
ยิ่งในรายที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดก็อาจมีอาการเจ็บภายในท้องน้อยได้มากกว่า
นิดหน่อย เพราะมีการผ่าตัด มีการเย็บมากกว่าแบบคลอดเอง
กว่าจะกลับมาเข้าที่ไม่มีอาการเจ็บอีกเลย
ก็คงต้องให้เวลากันมากกว่าปกตินิดหน่อย

         
มีอะไรกันครั้งแรกๆ หลังคลอดก็คงต้องเจ็บแผลกันบ้างเป็นธรรมดา ใครๆ
ก็เป็นกันได้ไม่ต้องไปกังวลหรอกครับ
ถ้าเจ็บอยู่ก็คงต้องเปลี่ยนท่าเปลี่ยนตำแหน่งกันนิดหน่อย
ท่าปกติเรานอนอยู่ข้างล่าง สามีอยู่ข้างบน
เวลาทำอะไรกันมันจะถูเสียดสีตรงแผลพอดี แค่กลับหลังหัน
ท่าคลานสี่ขาก็ไม่โดนแผลแล้ว ง่ายจะตายไป หรือทำท่าไหนก็ไม่ถูกใจ
ก็ทำเองซะหมดเรื่องหมดราว ซึ่งคุณแม่ก็จะสามารถกำหนดแรง
กำหนดมุมได้ด้วยตัวเอง ก็จะเจ็บน้อยลง
แต่ถ้ายังไงมันก็ไม่มั่นใจก็โทรไปปรึกษาคุณหมอที่ทำคลอดก็ได้ เลย 3
เดือนไปแล้วก็มักจะไม่มีอาการเจ็บหลงเหลืออยู่เลย
ถ้ายังเจ็บก็คงต้องไปหาหมอตรวจซะให้เรียบร้อย



ไม่มี
อารมณ์

         
หลังคลอดคุณแม่หลายคนก็ต้องมาเหน็ดเหนื่อยกับการเลี้ยงลูก มองไปข้างๆ
เห็นแล้วโมโห ก็คุณสามีตัวดีเอาแต่นอน
ไม่เคยมาช่วยเลี้ยงลูกเลยแม้แต่สักนิด
เป็นอย่างนี้ทุกวันก็ยิ่งทำให้ภรรยารู้สึกน้อยอกน้อยใจว่า
ทีอยากจะมีเพศสัมพันธ์ก็ยังทำได้ไม่รู้จักเหน็ดรู้จักเหนื่อย
แต่พอมีลูกออกมาแล้วไม่เห็นจะช่วยเลี้ยงเลย
ความรู้สึกอย่างนี้แหละที่เป็นตัวอันตรายที่ทำให้การเลี้ยงลูกมาถ่างความ
สัมพันธ์ระหว่างกันออกไป ...เห็นหน้าก็แอบโกรธอยู่ในใจแล้ว
ไม่ต้องมาสะกิดกันให้ยาก ความรู้สึกทางเพศมันก็เลยหดหายเหือดแห้งไปหมดด้วย

         
ต้องเข้าใจว่า
เพศสัมพันธ์นั้นเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของชีวิตครอบครัวที่จะช่วยชูรสชูรัก
ให้มีความสัมพันธ์ต่อกันแน่นแฟ้น
เป็นการแสดงความรักต่อกันได้แม้ไม่ได้พูดอะไรกันเลยสักคำ
ลองหลับตาแล้วนึกถึงตอนนั้นดูสิ มันบอกอะไรได้มากมาย
จะมาคิดว่าไม่มีอารมณ์ก็ไม่ต้องมีอะไรกันมันก็ไม่ดี
เดี๋ยวคุณสามีเขาแอบไปมีอะไรที่อื่นนอกบ้าน
ถึงตอนนั้นมันก็สายเกินไปเสียแล้ว
เรื่องนี้จะเริ่มที่ใครไม่ได้นอกจากจะเริ่มที่ตัวเราเองก่อน  
...ไม่ยากหรอกครับถ้ามีความตั้งใจจริง





เหนื่อย
จนไม่มีแรงทำอะไร

         
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ความรู้สึกทางเพศหายไปก็คือ
ความสับสนในบทบาทของตัวเอง ก่อนหน้านี้สามีให้เป็นเมียเพียงอย่างเดียว
มันก็ไม่ยาก ไม่ต้องมีใครสอนก็ทำกันได้
แต่พอมีลูกสัญชาตญาณความเป็นแม่มันมีมากกว่า
บทบาทแม่เลยบดบังบทบาทเมียเสียหมด แล้วเป็นแม่ก็ไม่ใช่เป็นกันได้ง่ายๆ
เลี้ยงลูกอ่อนเป็นงานที่แสนเหน็ดเหนื่อย บางทีไม่ได้นอนทั้งคืนก็มี
ความเหนื่อยเมื่อยล้าจากการเลี้ยงลูกก็อาจทำให้ไม่มีอารมณ์โรแมนติกใน
เรื่องอย่างว่าเลย พอหัวถึงหมอนก็หลับซะแล้ว เอาอะไรมาสะกิดก็ไม่มีอารมณ์

         
เรื่องของบทบาทของความเป็นแม่ กับความเป็นเมียนี่แหละที่สำคัญที่สุด
เพราะโดยมากพอมีลูกแล้วก็มักจะเล่นบทบาทของความเป็นแม่ซะมากกว่า
จนสามีนึกว่าเราเป็นแม่ไปอีกคนเลย
คุณพ่อต้องพยายามหาโอกาสแทรกเข้าไปมีบทบาทตรงกลางระหว่างแม่กับลูกเยอะๆ
ให้คุณแม่รู้สึกว่าต้องทำหน้าที่บทบาทของความเป็นเมียบ้าง
อย่าให้แม่กับลูกยุ่งกันอยู่แค่สองคน แล้วดูเหมือนพ่อเป็นคนนอก
ลุยเข้าไปเลย ช่วยกันเลี้ยงเจ้าตัวน้อย ฟัดลูกบ้าง ฟัดแม่บ้าง
ให้ดูมีความสัมพันธ์ที่เป็นธรรมชาติ  แม้ว่าบางทีมีลูกนอนอยู่ในห้องด้วยกัน
หากช่วยกันเลี้ยง พอลูกหลับก็เป็นเวลาของคุณพ่อคุณแม่สองคนแล้ว
อ้อ...อย่างลืมแยกเตียงเจ้าตัวน้อยด้วยนะครับ
ถ้านอนเตียงเดียวกันเป็นก้างขวางคอแล้วยิ่งทำอะไรกันลำบาก

 
ในรายที่ยังไม่อยากมีลูกติดๆ กันหัวปีท้ายปี ก็ควรไปหาหมอ
ปรึกษาคุมกำเนิดซะให้เรียบร้อย จะได้ไม่ต้องมาห่วงพะวงว่าจะตั้งครรภ์

         

เห็นมั้ยครับว่าการกลับมามีต่อมความรู้สึกทางเพศโตเท่าเดิมเป็นเรื่องที่
ต้องทำด้วยตัวเอง ต้องอาศัยความพยายาม ความอดทนบ้าง 
แต่ผลที่ได้มันก็คุ้มค่านะครับ
...หากได้ผลเกินคาดอาจต้องมาหาวิธีทำให้ต่อมนี้มันยุบลงก็ได้






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 21:23:34 น.
Counter : 667 Pageviews.  

วัคซีนที่เด็กเล็กควรได้รับในช่วงฤดูหนาว





นอกเหนือจากลมหนาวที่พัดมาเยือนในช่วงปลายปีแล้ว
ในช่วงฤดูหนาวนี้ก็ยังมีเสียงไอค็อกแค็ก และเสียงจามตามมาอยู่ไม่ขาด
เพราะเจ้าโรคระบบ ทางเดินหายใจยอดฮิตต่าง ๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่
และโรคปอดบวม ได้โอกาสกลับมาระบาดอีกหน
ขนาดเราเป็นผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรง
ก็ยังมิอาจต้านทานโรคเหล่านี้ได้ ทำให้ต้องตัวร้อน ปวดหัว ไอจามไปตาม ๆ กัน

ยิ่งสำหรับเด็กเล็กก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหนักกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า
เนื่องจากอากาศเย็นจะเอื้ออำนวยให้เชื้อโรคมีชีวิตอยู่ในอากาศได้นานยิ่ง
ขึ้น ประกอบกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเด็กเล็กยังไม่แข็งแรงพอ
นอกจากนี้การเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่พ่อแม่และ  ผู้
ปกครองต้องใส่ใจอีกด้วย
โดยเฉพาะโรคปอดบวมซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนที่สำคัญของเด็กเล็ก
และเป็นมฤตยูร้ายที่คร่าชีวิตเด็กเล็กทั่วโลกทุก ๆ 15 วินาทีอีกด้วย
ดังนั้นนอกเหนือจากการดูแลร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ
กับโรคต่าง ๆ ในช่วงหน้าหนาวแล้ว
ควรมองหาตัวช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็กเล็กเพิ่มเติม
ซึ่งนั่นก็คือ  “วัคซีน” นั่นเอง


ข้อมูลจาก แพทย์หญิงจีรารัตน์ บุญสร้างสุข
กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจและภูมิแพ้ โรงพยาบาลพญาไท 3
เปิด
เผยว่า โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคที่ระบาดในช่วงหน้าหนาว และหน้าฝน
พบมากในเด็กเล็ก ซึ่งจะมีโอกาสแพร่ ระบาดได้มากเมื่อเด็กๆ
อยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เช่น โรงเรียน หรือเนอร์สเซอรี่ เนื่องจากเด็ก ๆ
ยังมีภูมิคุ้มกันไม่สมบูรณ์พอ และยังไม่รู้จักวิธีการป้องกันตนเอง
ดังนั้นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ
ให้เด็กเล็กด้วยการฉีดวัคซีนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมาก
ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เด็กไทยทุกคนได้รับวัคซีนพื้นฐานทั้ง
สิ้น 10 เข็ม ซึ่งช่วยป้องกันโรคที่เกิดอุบัติการณ์บ่อยในประเทศไทย 
ก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตสูง ประกอบด้วยวัคซีนบีซีจี (BCG)
ป้องกันวัณโรค วัคซีนตับอักเสบบี (HBV) วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP)
วัคซีนโปลิโอชนิดกิน (OPV) วัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR)
และวัคซีนไข้สมองเจอี (JE)

         
นอกเหนือจากวัคซีนพื้นฐานข้างต้นแล้ว
ในช่วงหน้าหนาวที่กำลังมาถึงนี้มีพ่อแม่และผู้ปกครองหลายครอบครัวได้สอบถาม
และให้ความสนใจเกี่ยวกับวัคซีนเสริมอื่นๆ
ที่สามารถป้องกันโรคที่ระบาดในช่วงฤดูหนาว ที่เด็ก ๆ ควรได้รับเพิ่มเติมอีก
เช่น





          วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ประจำปี
เป็นวัคซีนที่เด็กเล็กควรจะได้รับในช่วงหน้าหนาวและหน้าฝน
เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่เป็นอีกโรคที่ระบาดหนักในฤดูกาลดังกล่าว
เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ซึ่งมี 3 กลุ่ม คือ เอ บี และซี
โดยเชื้อไวรัสกลุ่มเอ และบีเท่านั้นที่ทำให้เกิดโรคในคนได้ นอกจากนี้ทุก ๆ
10-40 ปี อาจจะมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ไปทั่วโลก
ซึ่งอาจจะทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก
เนื่องจากเชื้อไวรัสมีการกลายพันธุ์และเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เคยมีการระบาดมา
ก่อน ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นและรักษาได้ยากขึ้น
ซึ่งวัคซีนไข้หวัดใหญ่ควรฉีดเมื่อเด็กมีอายุ 6 เดือน และฉีดกระตุ้น 1
เข็มทุก ๆ ปี แต่วัคซีนนี้ยังไม่สามารถ ป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 ได้
นอกจากนี้ความน่ากลัวของโรคไข้หวัดใหญ่อีกอย่างหนึ่งคือ
การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้แก่ โรคปอดอักเสบ และโรคสมองอักเสบ
ซึ่งมักเกิดในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ
และผู้มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน โรคไต
และโรคเอดส์ เป็นต้น


วัคซีน
ไอพีดี หรือวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส

ที่สามารถป้องกันโรคปอดบวมและปอดอักเสบรุนแรง
ซึ่งถือเป็นโรคที่คร่าชีวิตเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลกกว่าปีละ 2
ล้านคน และเป็นโรคแทรกซ้อนโรคระบบทางเดินหายใจที่สำคัญ
นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันกลุ่มโรคติดเชื้อรุนแรง
ที่ทำให้เด็กเล็กมีโอกาสพิการ และเสียชีวิตสูง ประกอบด้วย
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น
รวมทั้งวัคซีนยังช่วยลดปัญหาเชื้อดื้อยา
ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสมีอัตราการดื้อยาปฏิชีวนะสูงมาก
ทำให้รักษาได้ยาก และอาจจะไม่ทันการ
โดยวัคซีนไอพีดีจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อฉีดตอนเด็กเล็กมีอายุ 2, 4, 6
เดือน และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 12-15 เดือน
ซึ่งเป็นช่วงอายุที่เด็กเล็กมีความเสี่ยงมากที่สุด
หากเด็กเล็กได้รับวัคซีนไอพีดีครบ
ตามที่กำหนดจะสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ดังกล่าวได้สูงถึง 70-80
เปอร์เซ็นต์

         
นอกเหนือจากการป้องกันการเกิดโรคปอดบวมในเด็กเล็กตามฤดูกาลแล้ว วัคซีน
ไอพีดียังเป็นวัคซีนที่องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกร้อง
และแนะนำให้ทุกประเทศบรรจุไว้ในแผนวัคซีนแห่งชาติ
เพื่อลดอัตราการตายของเด็กเล็กทั่วโลกจากอุบัติการณ์โรคปอดบวม และโรคไอพีดี
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005
รวมทั้งมีผลการศึกษาจากกรมควบคุมโรคสหรัฐ
อเมริกายืนยันถึงความคุ้มค่าของ
วัคซีนไอพีดีที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยอีกด้วย
ซึ่งประเทศอเมริกาได้ฉีดวัคซีนไอพีดีให้กับเด็กเล็กทุกคนตั้งแต่ปี ค.ศ.
2000
ซึ่งตัวเลขอุบัติการณ์ของโรคไอพีดีและโรคปอดบวมรุนแรงในเด็กเล็กลดลงอย่าง
เห็นได้ชัด

         
ส่วนในช่วงฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่ไม่ค่อยจะมีโรคระบบทางเดินหายใจระบาดในเด็ก
เล็ก เนื่องจากแสงอัลตราไวโอเลต (UV) ในแสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรคในอากาศ
ประกอบกับเป็นช่วงที่เด็กเล็กปิดเทอมทำให้การแพร่กระจายและการติดต่อของโรค
ต่าง ๆ ลดลง


         
สำหรับอาการสำคัญของโรคระบบทางเดินหายใจที่ระบาดในช่วงฤดูหนาว และฤดูฝน
ประกอบด้วยมีไข้ ไอ และมีน้ำมูก
ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน แต่ถ้าหากลูกน้อยมีอาการซึม
ไม่ทานอาหาร หายใจลำบากและหายใจแรง จนจมูกบาน, ซี่โครงบุ๋ม
หรือมีเสียงดังวี๊ด ๆ หรือหายใจเร็ว ซึ่งในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบ
หายใจเร็วมากกว่า 50 ครั้งต่อนาที และในเด็กเล็กที่มากกว่า 1 ขวบ
หายใจเร็วมากกว่า 40 ครั้งต่อนาที ให้สงสัยว่าเป็นโรคปอดบวม
ซึ่งมีโอกาสเป็นโรคปอดบวมรุนแรงให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
และเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง

อย่าง
ไรก็ตามแม้ว่าจะมีการคิดค้นวัคซีนเพื่อช่วยป้องกันเด็ก ๆ ให้พ้นจากโรคต่าง ๆ
เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
แต่พ่อแม่และผู้ปกครองก็ไม่ควรละเลยการดูแลพื้นฐานที่เป็นเกราะป้องกันขั้น
แรกให้ลูกน้อย ประกอบด้วย การเลี้ยงดูทารกด้วยนมแม่ การให้เด็ก ๆ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ5 หมู่ การสร้างสุขอนามัยที่ดีเป็นประจำ
เช่น การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธี การปิดปากปิดจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม
เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค การออกกำลังกายให้แข็งแรง
ทำร่างกายลูกน้อยให้อบอุ่นอยู่เสมอ ดื่มน้ำมาก ๆ
นอกจากจะดูแลลูกน้อยตามวิธีข้างต้นแล้ว
พ่อแม่และผู้ปกครองเองก็ควรจะป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่ลูกน้อยเช่น
กัน ด้วยการล้างมือก่อนที่จะสัมผัส กอด หอมลูกน้อย
รวมทั้งหากไม่สบายต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสและใกล้ชิด
รวมทั้งใส่หน้ากากอนามัยก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดการแพร่เชื้อได้






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 21:21:50 น.
Counter : 322 Pageviews.  

ผู้ป่วยธาลัสซีเมีย...



 
“ถ้าเป็นโรคธารัสซีเมียหรือเป็นพาหะธาลัสซีเมียสามารถมีลูกได้ไหมคะ”

         

คำถามนี้กลายเป็นคำถามยอดฮิตของคู่สามีภรรยาที่มีปัญหาในเรื่องเป็นพาหนะธา
รัสซีเมีย  หรือเป็นโรคนี้โดยตรง
ซึ่งถ้าพิจารณาจากปัญหาภาวะโรคซีดของหญิงตั้งครรภ์ในประเทศต่างๆ แล้ว 
ส่วนใหญ่จะมาจากอาการขาดธาตุเหล็กเป็นอันดับหนึ่ง 
แต่สำหรับประเทศไทยจะเกิดจากการเป็นโรคหรือเป็นพาหะธาลัสซีเมียมากกว่า





โรคธา
ลัสซีเมีย
จัดเป็นโรคโลหิตจางที่ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม 
ผู้ป่วยเป็นโรคนี้เม็ดเลือดแดงจะมีรูปร่างผิดปกติทำให้แตกตัวได้ง่าย 
ฮีโมโกลบินและธาตุเหล็กซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือดก็จะละลายออกมาในน้ำ
เลือด  ซึ่งธาตุเหล็กนั้นไม่สามารถถูกกำจัดออกจากร่างกายได้ 
ทำให้เกิดภาวะเหล็กเกิน  และสะสมตามอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ม้าม ผิวหนัง
และต่อมไร้ท่อ อาจมีผลให้การพัฒนาทางร่างกายช้าลง เช่น ไม่มีประจำเดือน
หรือประจำเดือนผิดปกติ


        
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นพาหนะธาลัสซีเมียหรือเป็นธาลัสซีเมียที่มีความรุนแรง
ไม่มากสามารถมีลูกได้ตามปกติ  ซึ่งลูกของคุณก็จะเป็นแค่พาหนะ 
และไม่มีอาการผิดปกติใดๆ 
แค่ที่สำคัญคือคู่สมรสของคุณต้องไม่เป็นพาหะธาลัสซีเมียเหมือนกัน

และถ้าคนที่เป็นโรคธาลัสซีเมียตั้งครรภ์
จะมีวิธีการดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง?

อย่างแรก
ต้องตรวจว่าตัวเองมีภาวะธาตุเหล็กเกินหรือไม่  ถ้าพบภาวะธาตุเหล็กเกิน
ต้องไม่กินยาบำรุงเลือดที่เป็นธาตุเหล็กเพราะในกระแสเลือดมีธาตุเล็หมากอยู้
แล้ว หากมีมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการอาจจะเกิดอันตรายได้

อย่างที่สอง คือ
ผู้ป่วยที่ต้องทานหรือฉีดยาขับธาตุเหล็กจำเป็นที่จะต้องหยุดยาตัวนั้นทันที
เพราะอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์

         
ส่วนคู่สามีภรรยาที่มีความเสี่ยงสูงที่ลูกจะเป็นธาลัสซีเมียขั้นรุนแรงนั้น 
จะต้องมีการตรวจตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์  โดยใช้วิธีการดูดรกมาตรวจ 
การตรวจน้ำคร่ำ หรือใช้กล้องส่องเข้าไปเพื่อเจาะเลือดจากรก 
ซึ่งการเลือกใช้วิธีใดนั้นต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ 
โดยแต่ละวิธีก็จะมีความเสี่ยงแตกต่างกันไป





แต่อย่างไรก็ตาม 
มีผู้เป็นพาหะอยู่มาก  แต่ส่วนใหญ่ไม่เคยรู้มาก่อน  ดังนั้น 
คู่สมรสทุกคู่จึงควรเข้ารับการตรวจเลือดว่าตัวเองมีพาหะธาลัสซีเมียอยู่หรือ
ไม่ 
เพื่อหาทางป้องกันไว้ก่อนที่ปัญหานั้นจะเกิดกับลูกน้อยและตัวคุณเองนะคะ






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 21:19:15 น.
Counter : 870 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.