ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบาหวาน


รู้
ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน

               ส่วนใหญ่รู้เมื่อมี
อาการจากการที่มีน้ำตาลในเลือดขึ้นสูง  ได้แก่อาการคอแห้ง หิวน้ำบ่อย 
ปัสสาวะบ่อย และปัสสาวะเป็นจำนวนมาก หิวบ่อย ทานจุ แต่น้ำหนักลดลงเรื่อยๆ
อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง เป็นต้น 
บางคนอาจไม่มีอาการดังกล่าวหรือมีอาการไม่มาก ไม่ชัดเจน
แต่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการของภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน  เช่น ตามัว
มองเห็นไม่ชัดเนื่องจากมีต้อกระจกหรือจอประสาทตาเสื่อม เท้าชา ไม่รู้สึก
หรือมีอาการปวดแสบร้อนที่เท้า เป็นแผลที่เท้าเรื้อรังไม่หาย
หรือนิ้วเท้าดำเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง หรือมีอาการของโรคไตวาย  เช่น บวม
ซีด ปัสสาวะเป็นฟอง เป็นต้น  อาการของโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
เหล่านี้จะปรากฏเมื่อเป็นโรคเบาหวานมานานหรือมีระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูง
มาก  คนที่เริ่มเป็นเบาหวานใหม่ๆ มักจะไม่มีอาการ 
แต่ไม่ควรรอจนเป็นมากค่อยมาตรวจและเริ่มการรักษา 
เพราะภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานส่วนใหญ่ถ้าเป็นมากแล้วจะรักษาไม่หาย 
ดังนั้นคนที่สงสัยว่าจะเป็นเบาหวานหรือมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานควรได้รับ
การตรวจว่าเป็นเบาหวานหรือไม่เสียแต่เนิ่นๆ




ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

               
ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นเบาหวาน  พบว่าคนบางคนเท่านั้นที่มีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน 
ซึ่งได้แก่คนที่มีความเสี่ยงหลายๆ อย่าง ได้แก่ คนที่อ้วนหรือลงพุง
คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน เช่นพ่อ แม่ หรือพี่น้องเป็นเบาหวาน 
คนที่เคยเป็นเบาหวานตอนตั้งครรภ์ คนที่ได้รับยาบางชนิดเช่น สเตียรอยด์
คนที่เป็นโรคของตับอ่อนหรือแม้กระทั่งคนที่สูงอายุก็มีโอกาสเป็นเบาหวานได้ 
เป็นต้น 





การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน

                การ
ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นการวินิจฉัยโรคที่ดีที่สุด 
การตรวจวัดน้ำตาลในปัสสาวะมักจะสายเกินไป 
การตรวจวัดน้ำตาลในเลือดทำได้สองวิธีคือ 
ตรวจโดยการเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำบริเวณข้อพับแขนหรือโดยการตรวจจากปลาย
นิ้วมือ  ในคนที่ไม่มีอาการชัดเจนควรตรวจขณะที่อดอาหารในช่วงตอนเช้า 
โดยงดน้ำและอาหารเป็นเวลา 8 ชั่วโมง 
ในคนที่มีอาการชัดเจนอาจตรวจเลือดโดยไม่ต้องอดอาหารก็ได้ 
ระดับน้ำตาลในเลือดของคนปกติที่ไม่เป็นเบาหวานในช่วงขณะอดอาหารจะอยู่
ระหว่าง 70-100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 
ถ้าหากตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารได้ตั้งแต่ 126
มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน
ในกรณีที่ไม่แน่ใจแนะนำให้ตรวจซ้ำอีกครั้ง
แต่ถ้าตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้น้อยกว่า 126 แต่มากกว่า 100
มิลลิกรัมขึ้นไปถือว่าผิดปกติ 
อาจมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานต่อไปในกาลข้างหน้า 
ควรพบแพทย์เพื่อตรวจติดตามต่อไป




ชนิดของโรคเบาหวาน

                เบา
หวานมีหลายชนิดไม่เหมือนกันโดยทีเดียว  เบาหวานที่มักเป็นกันในผู้ใหญ่
คนสูงอายุ มักเป็นเบาหวานชนิดที่สอง ซึ่งสาเหตุเกิด
จากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนที่ชื่อว่าอินซูลินไม่เพียงพอ 
และมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน
อินซูลินเป็นตัวสำคัญในการช่วยให้น้ำตาลเข้าไปในเซลล์เนื้อเยื่อร่างกายใช้
เป็นพลังงานได้
  ถ้าหากอินซูลินไม่พอหรือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน 
น้ำตาลก็จะไม่สามารถเข้าไปในเนื้อเยื่อได้
คั่งค้างสะสมอยู่ในเลือดทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ 
เบาหวานชนิดนี้มักเกิดกับคนที่อ้วน หรือมีอายุมาก 
ส่วนเบาหวานชนิดที่หนึ่งนั้นมักเกิดในเด็กและวัยรุ่น  มีความรุนแรงมากกว่า
เพราะว่าเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เลย 
ร่างกายแทบไม่มีอินซูลินเหลืออยู่  ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก
ต้องรักษาด้วยการฉีดยาอินซูลินเท่านั้น 
เบาหวานชนิดที่สามเกิดจากโรคทางกรรมพันธุ์เช่นมีอาการหูหนวก
หรือมีภาวะอ้วนผิดปกติ  เบาหวานชนิดนี้พบได้น้อย 
ส่วนชนิดสุดท้ายคือเบาหวานที่พบตอนขณะที่ตั้งครรภ์ 
เบาหวานชนิดนี้มักหายไปหลังจากคลอดบุตร








Free TextEditor







































































































Create Date : 14 พฤษภาคม 2553
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 22:41:27 น. 0 comments
Counter : 317 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.