บุคลิกภาพสมวัย




          
บุคลิกภาพเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล
ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากพฤติกรรมและการแสดงอารมณ์
เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดโดยพันธุกรรมและปรับเปลี่ยนขัดเกลาได้โดยสิ่งแวดล้อม
แม้บุคลิกภาพจะมีลักษณะแตกต่างไปในแต่ละบุคคล
แต่ในที่นี้จะพูดถึงลักษณะโดยรวมอย่างกว้างๆของบุคลิกภาพที่เหมาะสม
ซึ่งคำว่าเหมาะสมก็กินความหมายได้หลากหลายและอาจต่างกันสำหรับแต่ละคน
ผู้เขียนเองคิดว่าความหมายที่น่าจะคลอบคลุมที่สุดน่าจะหมายถึงบุคลิกภาพที่
สามารถทำให้ตนเองและคนรอบข้างมีความสุข
โดยจัดการกับปัญหาหรืออุปสรรคที่ผ่านเข้ามาได้เป็นส่วนใหญ่
เพราะคงไม่มีใครที่จะสมบูรณ์แบบ ไม่เคยทุกข์หรือขัดแย้งกับคนอื่นเลย

          
เนื่องจากปัจจัยด้านชีวภาพเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
ในที่นี้จึงเน้นถึงบุคลิกภาพในส่วนที่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านที่จะนำไปปรับปรุงบุคลิกภาพของตน
เองหรือบุตรหลาน
อย่างไรก็ตามผู้อ่านที่มีบุตรหลานควรระลึกไว้เสมอว่ามีปัจจัยด้านชีวภาพ
ซึ่งเป็นผลจากพันธุกรรมทำให้เด็กแต่ละคนแตกต่างทั้งรูปร่างหน้าตา สติปัญญา
และนิสัยใจคอ
ฉะนั้นการเลี้ยงดูที่ดีจึงเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อบุคลิกภาพ
และไม่แปลกเลยที่พี่น้องที่ถูกเลี้ยงมาอย่างเดียวกัน จะมีนิสัยที่แตกต่าง
          
อีกประการที่ผู้อ่านควรระลึกไว้คือ
บุคลิกภาพของผู้ที่เป็นผู้ใหญ่หรืออายุเกิน 18
ปีแล้วเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก
แม้จะสามารถทำได้ก็ต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมาก
ฉะนั้นการคิดเปลี่ยนบุคลิกนิสัยของคนรอบข้างที่เป็นผู้ใหญ่จึงเป็นไปได้ยาก
เว้นแต่ตัวเขาจะต้องการเปลี่ยนเอง

          
เมื่อร่างกายคนเราเติบโตขึ้น สมองพัฒนาขึ้นตามวัย
ความคิดก็ย่อมเปลี่ยนแปลงตามไป การเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรง เช่น
คำชมหรือตำหนิ และทางอ้อม เช่น การสังเกตคนรอบข้างหรือค่านิยมของสังคม
ก็จะมีผลต่อบุคลิกภาพด้วย
นักจิตวิทยาหลายท่านได้กล่าวถึงบุคลิกภาพที่เหมาะสม
แต่ที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นการดัดแปลงจากทฤษฎีของ Erikson
ซึ่งได้กล่าวถึงทุกช่วงอายุ ดังนี้





1.
แรกเกิด-1 ปี

          
ช่วงนี้เด็กยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ การมีชีวิตรอดต้องอาศัยผู้อื่น
การพัฒนาบุคลิกที่เหมาะสมคือเรียนรู้ที่จะไว้ใจ แล้วเด็กจะรู้สึกมั่นคงได้
ซึ่งการเลี้ยงดูที่ทำให้เด็กมั่นใจว่าความต้องการของเขาจะได้รับการตอบสนอง
(แม้จะไม่ใช่ทันที) จะมีผลต่อพัฒนาการนี้

2. 1-3 ปี
          
ช่วงนี้เป็นช่วงที่เด็กจะพยายามเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เช่นเดิน
ควบคุมการขับถ่าย และ กินอาหาร ซึ่งบางครั้งเด็กอาจถูกมองว่าเริ่มดื้อ
ผู้ใหญ่ควรส่งเสริมให้เด็กได้ทำอะไรเองและชื่นชม ไม่ควบคุมดูแลมากเกินไป

3. 3-5 ปี
          
เด็กจะมีพัฒนาการมากขึ้นทั้งด้านการทำงานของกล้ามเนื้อและสติปัญญา
จึงมักริเริ่มทำกิจกรรมต่างๆมากขึ้น และอยากรู้อยากลอง
รวมทั้งมีจินตนาการต่างๆ
ในบางรายอาจค้นพบการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองโดยบังเอิญและปราศจากเจตนาด้าน
เพศสัมพันธ์ การกำหนดขอบเขตที่เหมาะสม ไม่เข้มงวดเกินไป
จะทำให้การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นไปด้วยดี



4. 6-11
ปี

          
ในวัยนี้เด็กจะเริ่มเข้าโรงเรียนและพยายามทำกิจกรรมต่างๆให้สำเร็จ
ซึ่งถ้าทำได้หรือได้รับการชื่นชมก็จะเกิดความมั่นใจและภูมิใจในตนเอง
การชื่นชมและให้กำลังใจจึงมีความสำคัญ

5. 11ปี –สิ้นสุดวัยรุ่น
          
ช่วงนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงมาก
บุคลิกภาพควรจะค่อยๆพัฒนาขึ้นจนเป็นลักษณะเฉพาะตัว
จะเริ่มรู้ว่าตนเองชอบหรือไม่ชอบอะไร ต้องการมีอนาคตอย่างไร มีค่านิยม
มาตรฐาน และกฎเกณฑ์ต่างๆของตน
ซึ่งกว่าจะได้มาถึงจุดนี้ก็ต้องผ่านการลองผิดลองถูก ทดลองสิ่งใหม่ๆ
ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่วัยรุ่นอาจดูสับสนและเปลี่ยนความสนใจบ่อยๆ
การมีตัวอย่างที่ดีจะช่วยในการพัฒนาบุคลิกภาพช่วงนี้

6. 21- 40 ปี
          
ในวัยผู้ใหญ่คนเราควรสามารถมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับผู้อื่นได้
ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือคู่ชีวิต และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้
วัยนี้จะเปลี่ยนจากความสัมพันธ์แบบพึ่งพาในวัยเด็กมาเป็นแบบที่ต่างให้และ
รับ โดยคำนึงถึงผู้อื่นมากขึ้น มีความมั่นใจในตนเองและความสามารถในการทำงาน

7. 40-65 ปี

          
วัยกลางคนเป็นช่วงที่ควรจะมีชีวิตที่มั่นคงพอควรแล้ว
เป็นวัยที่ควรมีความสุขกับการได้
ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้คนรุ่นหลังซึ่งอาจเป็นลูกหลานหรือคนอื่นที่
อ่อนวัยกว่า สุขใจที่ได้เห็นพัฒนาการของเขาเหล่านั้น
ภูมิใจกับความสำเร็จของตนและพอใจกับการได้ให้อะไรกับสังคม





8. 65
ปีขึ้นไป

          
เมื่อผ่านถึงวัยนี้แล้วความพอใจกับชีวิตที่ผ่านมาและรู้สึกว่าตนมีคุณค่า
ก็จะปราศจากความกลัวว่าจะต้องจากโลกนี้ไป
และได้เตรียมพร้อมที่จะยอมรับความเสื่อมของร่างกาย

          
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงขอบเขตกว้างๆของบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับแต่ละวัย
ซึ่งในรายละเอียดอื่นๆย่อมจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 21:37:04 น.
Counter : 728 Pageviews.  

น้ำหนักแม่ท้อง...แบบไหนถึงพอดี



           พอมีเจ้าตัวเล็กในท้อง
เวลาจะทำอะไรก็นึกถึงลูกตลอด ยิ่งเรื่องอาหารด้วยแล้ว ต้องกินเยอะๆ
ลูกเราจะได้แข็งแรง ความเชื่อแบบนี้ไม่ถูกต้องซะทีเดียวค่ะ
อะไรที่มากหรือน้อยเกินไป ก็ไม่ดีทั้งนั้น แต่ทำอย่างไรให้พอดี
เรามีคำตอบค่ะ


ท้อง
นี้เพิ่มน้ำหนักอย่างพอดี

          
น้ำหนักมีความสำคัญกับแม่ท้องมากทีเดียว
เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมากหรือน้อยนั้น
อายยจส่งผลถึงแม่ท้องและลูกน้อยในครรภ์ แล้วอย่างนี้น้ำหนักเท่าไหร่จึงจะดี
แบบไหนเรียกมากเกินไป แบบไหนเรียกน้อยเกินไป มาดูกันค่ะ
          
ตามปกติแล้ว แม่ท้องควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 12-15 กิโลกรัม
โดยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี้ก็มาจากน้ำหนักของทารก รก น้ำที่หล่อเลี้ยงทารก
มดลูก เต้านม ปริมาณน้ำ เลือดและไขมันในร่างกายของแม่เอง ซึ่งในแต่ละไตรมาส
การเพิ่มน้ำหนักของแม่ท้องควรมีลักษณะดังนี้

           +
ไตรมาสแรก น้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม
           +
ไตรมาสที่สอง น้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 4-5 กิโลกรัม
           +
ไตรมาสที่สาม น้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 5-6 กิโลกรัม

          
ทั้งนี้ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสมของแม่ท้องแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์ โดยได้จากการหาค่าดัชนีมวลกาย
(BMI) ซึ่งสามารถคำนวณได้จาก น้ำหนัก (กก.) หาร ความสูง (เมตร ยกกำลัง 2)
เมื่อได้ผลลัพธ์แล้ว ก็นำมาเทียบกับตารางค่าดัชนีมวลกายด้านล่างนี้ค่ะ

ดัชนีมวลกาย สำหรับคนเอเชีย (ทำเป็นตารางค่ะ)
          
+ น้อยกว่า 18.5 กก. น้ำหนักน้อยกว่าปกติ
           + 18.5  - 22.9
กก. น้ำหนักปกติ
           + 23 – 24.9 กก.  น้ำหนักเกินปกติ
          
+ 25 – 29.9 กก.  ภาวะอ้วน
           + มากกว่า 30 กก. ภาวะอ้วนมาก

          
เมื่อแม่ๆ รู้แล้วว่ามีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ไหน
คราวนี้เรามีดูกันต่อว่าจากเกณฑ์นั้น
ขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มน้ำหนักประมาณเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม





           ที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือ
แม่ท้องที่น้ำหนักเกินกว่าปกติในช่วงก่อนตั้งครรภ์
ซึ่งต้องดูแลเรื่องการกินมากสักหน่อย การเลือกกินจึงสำคัญและไม่ควรละเลย

น้ำหนัก
มากไป-น้อยไปจัดสมดุลได้

           ไม่ว่าแม่ๆ
จะเจอกับกับภาวะน้ำหนักที่น้อยหรือมากไป
ก็สามารถจัดสมดุลให้ตัวเองได้ไม่ยากค่ะ

น้ำหนักน้อยเกินไป
สำหรับแม่ท้องที่น้ำหนักน้อยเกินไป
ลองใช้เทคนิคกินอาหารและเมนูเหล่านี้ดูค่ะ


          
+กินอาหารที่หลากหลายให้ครบ 5 หมู่
ในปริมาณที่พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย
โดยการเพิ่มพลังงานจากอาหารวันละ 300 กิโลแคลอรี
           +
แบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็กๆ ประมาณ 4-6 มื้อต่อวัน
และมีอาหารว่างอย่างน้อยวันละ 2 มื้อ
           + ไม่ควรอดนอน
ควรพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการอดนอนทำให้แม่ท้องไม่อยากอาหาร
ส่งผลให้น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น

          
วิธีการกินอาหารและเครื่องดื่มบางอย่าง
ก็ช่วยให้แม่ท้องที่ต้องการเพิ่มน้ำหนักตัวได้เช่นเดียวกันค่ะ
มีตัวอย่างมาแนะนำกันด้วย
ตัวอย่าง
เมนู

          
+ อาหารประเภทถั่ว เช่น อัลมอนด์อบ 2-3 ช้อนโต๊ะต่อวัน
เป็นอาหารว่างที่มีประโยชน์
           + น้ำผลไม้สดวันละ 1-2 แก้ว
          
+ ผลไม้สดอย่างน้อย 2 ชนิดต่อวัน
           + กินนมเต็มส่วน
(นมที่ไม่ได้สกัดไขมันออกและให้พลังงานมากกว่านมโลว์แฟต) แทนนมพร่องไขมัน





น้ำหนักมากเกินไป
หากแม่ท้องประสบปัญหาน้ำหนักที่มากเกินไป
ลองใช้วิธีการกินแบบนี้ดูนะคะ


           +
กินอาหารให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย
พลังงานที่ต้องการในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นวันละ 300 กิโลแคลอรี
ข้อนี้
ไม่แตกต่างจากข้อแรกที่น้ำหนักเกิน
เพราะข้อความและความหมายที่ต้องการสื่อสารทุกอย่างเหมือนกัน หรือควรระบุว่า
“ควบคุมปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน”
แทนไหมคะ 
           + แบ่งอาหารมื้อหลักเป็นมื้อเล็ก 4-5 มื้อต่อวัน
          
+ กินให้ครบทุกมื้อ ไม่ควรอดมื้อใดมื้อหนึ่ง
เพราะจะทำให้กินมากขึ้นในมื้อถัดไป  
           +
ลดปริมาณอาหารประเภทไขมัน ใช้น้ำมันปรุงอาหารวันละ 3-5 ช้อนโต๊ะ
          
+ หลีกเลี่ยงอาหารทอด แล้วใช้การปรุงด้วยวิธี ต้ม ย่าง หรือนึ่งแทน 
          
+ เพิ่มใยอาหารจากผัก เพื่อทำให้อิ่มท้องเร็วขึ้น เป้าหมายคือ
กินผักให้ได้วันละประมาณ 300 กรัม
           +
เคี้ยวอาหารให้ละเอียดทุกครั้ง
เพื่อให้เราไม่กินอาหารเกินความต้องการของร่างกาย
และทำให้ระบบการย่อยของแม่ท้องทำงานได้ดีขึ้น
           +
จำกัดปริมาณน้ำตาล ไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน
           +
กินนมจืดชนิดไขมัน 0% หลีกเลี่ยงนมหวานทุกชนิดรวมทั้งนมเปรี้ยว
          
+ กินผลไม้แทนขนมหวาน โดยเลือกผลไม้ที่มีรสหวานน้อย เช่น ส้ม แอปเปิล
สาลี่ ฝรั่ง ฯลฯ วันละ 2-3 ลูก
           +
หลีกเลี่ยงการกินอาหารแล้วนอนทันที


ของ
กินเพิ่มน้ำหนักแต่ไม่เพิ่มคุณค่า

          
ของกินบางอย่างแสนจะหวานหอมและรสอร่อย
แต่รู้ไหมว่าขณะตั้งครรภ์แม่ท้องควรเลี่ยงอาหารที่ว่า
โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนประกอบหลักเป็นไขมัน แป้ง และน้ำตาล
เพราะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
แต่แทบไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นสำหรับคุณและลูกเลย 

           +
อาหารที่ให้พลังงานสูง มีส่วนผสมหลักเป็นแป้ง ไขมัน และครีม เช่น ปาท่องโก๋
กล้วยทอด เฟรนช์ฟรายด์ พิซซา ครัวซองต์ หรือสลัดน้ำข้น
ระบุประเภทของน้ำสลัดไหมคะ ว่าเป็นน้ำข้น หรือปะเภทไหน
           +
อาหารทีมีน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ขนมหวานต่างๆ
รวมถึงผลไม้ที่มีรสหวานจัด
           + อาหารที่มีไขมันแฝง เช่น
ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วเปลือกแข็ง ฯลฯ

          
อาหารต่างๆ เหล่านี้แม่ท้องยังกินได้
แต่ต้องจำกัดปริมาณที่กินและความถี่ในการกิน ไม่ควรกินบ่อยจนเกินไป
นอกจากนี้ ควรกินพร้อมกับอาหารที่มีใยอาหารสูง
เพื่อลดการดูดซึมของน้ำมันและน้ำตาล

          
ท้องนี้เพิ่มและคุมน้ำหนักให้พอดี ไม่ได้ดีกับตัวแม่ท้องเองเท่านั้น
แต่ยังส่งผลดีๆ ไปถึงเจ้าตัวเล็กอีกด้วย ขอให้มีความสุข
สุขภาพแข็งแรงทั้งคุณแม่คุณลูกนะคะ

น้ำหนัก
มากหรือน้อยเกินไปส่งผลเสียอย่างไรกับแม่ท้อง


แม่ท้องน้ำหนักน้อย
แม่ท้องไม่ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 7 กิโลกรัม
เพราะอาจทำให้คลอดก่อนกำหนด  การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ช้ากว่าปกติ
ขนาดสมองของทารกไม่สมบูรณ์เต็มที่ และพัฒนาการของสมองทารกบกพร่องได้ 

แม่ท้องน้ำหนักมากเกินไป
อาจเกิดความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อน เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง
น้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ ฯลฯ
ซึ่งอาจทำให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบการคลอดเป็นการผ่าตัดแทน เนื่องจากทารกตัวโต



Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 21:35:17 น.
Counter : 956 Pageviews.  

มาเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเด็กด้วย 6Q กันเถอะ




ช่วยกันเสริม
สร้างและพัฒนาศักยภาพเด็กให้เก่ง ดี มีความสุข
และปลอดภัยจากภัยต่างๆที่เข้ามา ด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันพวกเขาด้วย 6Q
กันเถอะค่ะ





ภาพจาก //www.thehindu.com



ใกล้
จะครบ 6Q เต็มทีแล้วนะคะ คราวนี้ขอนำเสนอ Q ตัวที่ 5
น้องนุชคนเกือบสุดท้ายกันบ้าง นั่นก็คือ HQ นั่นเองค่ะ


HQ หรือ Health Quotient คือ การมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

เพราะหากร่างกายไม่แข็งแรง การพัฒนาคิวด้านอื่นๆ คงเกิดขึ้นไม่ได้
การดูแลสุขภาพที่ดีควรดูแลทั้งการออกกำลังกาย อาหาร และสุขภาพใจ ไปพร้อมกัน
HQ เป็นเชาวน์สุขภาพ
คือความสามารถทางการจัดการและการบริหารสุขภาพของตัวคุณเอง
เคยคิดไหมว่าถ้าหากเราทำงานหนักโดยไม่ใส่ใจต่อสุขภาพหรือการพักผ่อนใดๆ
มันจะ เกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง แน่นอนว่าความเครียดถามหา สุขภาพกายอ่อนแอ
สุขภาพจิตย่ำแย่และในที่สุด ผลการปฏิบัติงานก็จะไม่มีประสิทธิภาพ
การมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงเป็นสิ่งจำเป็น
ควรดูแลและใส่ใจต่อสุขภาพของตนเองสักนิด
ด้วยการหาเวลาออกกำลังกายเสียบ้างหรือหันไปเล่นกีฬาสุดโปรด
เพราะการออกกำลังกายนั้นจะช่วยทำให้สมองทุกส่วนทำงาน ระบบความจำดีขึ้น
และที่สำคัญ จะทำให้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้นด้วย

 
สุขภาพกายที่ดี หมายถึงกายที่ร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เรา
สามารถดูแลสุขภาพได้ดีตลอดไปได้ด้วยตนเองและสามารถป้องกันการเจ็บป่ายที่
เกิดขึ้นได้ด้วยการปฏิบัติตัวตามแนวทางสู่การมีสุขภาพดีเมื่อถึงเวลาเจ็บไข้
เราก็ต้องดูแลตนเองให้ดีเพื่อให้หายป่วยเร็วขึ้น
หรือเพื่อบรรเทาอาการที่เป็นอยู่และลดอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
ส่วนการมีสุขภาพจิตที่ดีก็ส่งเสริมให้มีสุขภาพที่แข็งแรง
หายจากการเจ็บป่วยได้เร็วขึ้นได้เช่นกัน 
การพัฒนาแนวคิดการดำเนินชีวิตอย่างคนมีสุขภาพด้วย 6 อ. เพื่อสุขภาพที่ดี
ต้องปฏิบัติดังนี้


  1.อาหาร   
กินอาหารโดยยึดหลักการกินให้หลากหลายชนิดมากที่สุด ควรกินอาหารให้ครบ 5
หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมันและแป้งในปริมาณมากเกินไป
เพราะจะทำให้เกิดโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง และเบาหวานได้
ควรเน้นอาหารประเภทผักผลไม้ให้มากขึ้น

2.ออกกำลังกาย    ควรออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที
อย่างน้อยสัปดห์ละ 3  ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ

3.อารมณ์    อารมณ์มีความสัมพันธ์กับสุขภาพ
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มีผลต่อร่างกาย อารมณ์ดีส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น
เมื่อมีความสุข ร่างกายจะหลั่งสารเอนโดฟิน
ส่งผลให้ร่างกายต้องตื่นตัวกระชุ่มกระชวย ผ่อนคลายการทำงานของสมองจะดี
หายป่วยเร็วขึ้น อายุยืนมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม
ถ้าอารมณ์ไม่ดีจะส่งผลทำลายสุขภาพทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลง กินอาหารได้น้อย
นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด ก้าวร้าว ความดันโลหิตสูง ดังนั้น
การรู้จักควบคุมอารมณ์อย่างเหมาะสม
มีผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจทำให้การดำรงชีวิตประจำวันมีความสุข

4.อนามัยสิ่งแวดล้อม   
สภาพแวดล้อมในบ้านที่ดีเอื้อต่อการมีสุขภาพดีของคนในครอบครัว
ขณะเดียวกันก็ควรสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชนด้วย

5.อโรคยา   
หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น
หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันสูง ลดการกินอาหารรสจัด ไม่กินอาหารที่สุก
ๆดิบๆ หรืออาหารที่มีสารปนเปื้อน การจัดการกับความเครียด
โดยทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ การคาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับรถยนต์
สวมหมวกกันน็อกขณะขับขี่มอเตอร์ไซค์

  
6.อบายมุข 
   งดเว้นบุหรี่ สุรา ยาเสพติด การพนัน
และการสำส่อนทางเพศ
ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพกายและจิตใจ



หรืออีกวิธีหนึ่ง นั่นคือ 10 อ. เพื่อสุขภาพ
         
อาหารดี อิ่มอร่อยไร้โรคา            อากาศดีพาชีวีให้สดใส
         
ออกกำลังกายพอดีไม่แก่ไว          อุจจาระทุกวันได้ปลดทุกข์ภัย
         
อนามัยช่องปากสำคัญนัก            ท่านที่รัก อุบัติเหตุ ป้องกันได้
         
อารมณ์ดีมีสุขทุกวันไป               งานอดิเรกทำให้ใจชื่นบาน
         
อบอุ่นในครอบครัวและญาติมิตร     หลับสนิทอนาคตก็สดใส
         
ทำได้ครบทั้ง 10 อ. ผลทันใด       สุขกายใจตลอดไปทุกคนเอย





          นอกจากการมี
สุขภาพกายที่ดีแล้ว ยังต้องมีสุขภาพจิตที่ดี สุขภาพจิตที่ดี
คือมีจิตใจที่พร้อมเผชิญความไม่แน่นอนในชีวิต
ด้วยการเรียนรู้ที่จะอยู่กับบุคลคลอื่นด้วยความรักการแบ่งปัน
รู้จักการแบ่งเวลาให้เหมาะสมและมองโลกในแง่ดี
ปรับตัวปรับใจได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงได้

ลักษณะของ
ผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี


         
1.มองตนเองในด้านดี เห็นคุณค่าในตนเอง
          2.สามารถพึ่งพาตนเองได้
         
3.มีความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่นและสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น
         
4.ยอมรับความสามรถของตนเอง
          5.รู้จักอดทนในการรอคอย
         
6.ตอบสนองความต้องการของตานเองได้อย่างเหมาะสม
         
7.ยอมรับและสามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมได้



วิธี
ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิต

         
1.ร้กษาสุขภาพให้แข็งแรง
          2.หาที่ปรึกษา เมื่อมีปัญหาไม่สบายใจ
         
3.ฝึกเป็นคนที่รู้จักให้อภัยแก่คนอื่นได้ง่าย
         
4.หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดไปชั่วขณะ
         
5.ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
         
6.หาทางระบายอารมณ์ขุ่นมัวไปในทางที่เหมาะสม
         
7.อย่าปล่อยให้มีเวลาว่างมากเกินไป
          8.เล่นกับสัตวเลี้ยง
         
9.การคิดในเชิงบวก
          10.รู้จักทำบุญให้ทาน

แล้วอย่าลืม
ติดตามอ่านน้องสุดท้อง Q ที่ 6 กันต่อในคราวหน้านะคะ
แล้วคุณจะรู้ว่าอัจฉริยะสร้างได้จริงๆๆ





ที่มา
         
1.//www.npc-se.co.th
          2.//gotoknow.org
         
3.//www.thaihealth.or.th
         
4.//www.uniserv.buu.ac.th






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 21:33:23 น.
Counter : 437 Pageviews.  

คู่มือพ่อแม่ดูแลลูกยุคไซเบอร์




  ยุคไซเบอร์
เป็นยุคที่การเรียนรู้และการใช้ชีวิตของเด็กและเยาวชนแยกไม่ออกจาก
คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เนื่องจากยุคไซเบอร์นี้
ความพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเป็นครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้และการสื่อ
สารที่สำคัญ
ดังนั้นพ่อแม่ของลูกยุคไซเบอร์จะต้องสมดุลระหว่างการแก้ปัญหาการเล่นเกมหรือ
ใช้อินเตอร์เน็ตที่มากเกินไปของเด็ก กับ
การให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้จากการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
โดยการเดินทางสายกลาง คือ ให้ลูกเล่นได้ แต่ลูกต้องควบคุมตัวเองได้
ไม่ใช่ทั้งการปล่อยให้เล่นเสรี
หรือการห้ามไม่ให้ใช้คอมพิวเตอร์หรือเล่นเกมโดยสิ้นเชิง




10
ข้อปฏิบัติในการดูแลช่วยเหลือเด็กติดเกมหรืออินเตอร์เน็ต

         
10 ข้อปฏิบัติในการดูแลช่วยเหลือเด็กสำหรับพ่อแม่ดูแลลูกยุคไซเบอร์นี้
เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง
หรือผู้ใหญ่ที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาของเด็กและ
เยาวชนที่เริ่มชอบ หรือ คลั่งไคล้ หรือ ติดเกมหรือการใช้อินเตอร์เน็ต
ประกอบด้วย 10 ข้อปฏิบัติง่ายๆแต่ได้ผล ดังนี้

หมวดพื้นฐานสำคัญ
          วินัย
และความรับผิดชอบ คือ รากฐานสำคัญสำหรับชีวิต วินัย คือ
การมีขอบเขตของพฤติกรรม การควบคุมตัวเองได้ หักห้ามใจได้ หรือ
“ไม่ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ” ส่วนความรับผิดชอบ คือ การได้รับมอบหมาย
และทำได้เสร็จทำได้สำเร็จตามนั้น หรือ “ทำในสิ่งที่ควรทำ”
พ่อแม่ของลูกยุคไซเบอร์ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ เนื่องจาก
หนึ่ง เด็กยุคการสื่อสารแบบดิจิตอลนี้มีสิ่งยั่วยวนให้ไหลหลงได้มากมาย เช่น
ภาพยนต์ เพลง เกม คลิปวิดีโอ การสื่อสารทางอิเลคโทรนิค (Email)
การสื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือ ซึ่งล้วนสามารถสร้างความบันเทิงได้ฉับพลัน
และสามารถถ่ายทอดไปมาหาสู่กันได้อย่างรวดเร็วทั่วโลก เด็กจึงเข้าถึง รับรู้
และติดได้ง่ายมาก สอง การเล่นเกมด้วยตัวมันเองไม่ใช่ปัญหา
แต่การขาดวินัยในการควบคุมตนเอง จนเล่นเกินความพอดีคือปัญหา และ สาม
การสร้างวินัยและความรับผิดชอบ จะได้ผลดีเมื่อปลูกฝังตั้งแต่ลูกยังเล็ก

1. สร้างวินัยและความรับผิดชอบตั้งแต่ยังเล็ก
         
• พ่อแม่สามารถกำหนดวินัยให้ลูกฝึกปฏิบัติ ตั้งแต่ลูกยังเป็นเด็ก
โดยการตั้งกฎกติกาที่ชัดเจนว่า อะไรห้ามทำบ้าง หรือ อะไรทำได้แค่ไหน
หลักการคือ ไม่ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ เช่น ห้ามทานอาหารไปเล่นไป เป็นต้น
การกำหนดให้เด็กมีวินัย
เด็กจะเรียนรู้ที่จะควบคุมบังคับตัวเองให้ไม่ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ
เคารพกฎระเบียบ เคารพกติกาที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการอยู่ร่วมกัน เคารพพ่อแม่
         
• พ่อแม่ยังสามารถมอบหมายความรับผิดชอบให้ลูกด้วย ได้แก่
การมอบหมายหน้าที่ให้บางอย่าง เช่น การให้ช่วยรดน้ำต้นไม้ ให้ช่วยล้างจาน
เป็นต้น การสนับสนุนให้เด็กทำอะไรให้สำเร็จแม้จะยากลำบาก
เด็กจะได้เรียนรู้ที่จะบังคับตัวเองให้ทำในสิ่งที่ควรทำ และ
เรียนรู้ที่จะรับผิดถ้าทำผิด และรับชอบถ้าทำถูก



หมวดการจัดการ
สิ่งแวดล้อมอย่างง่ายแต่ได้ผล

          พ่อ
แม่จะต้องไม่แก้ปัญหาโดยการสั่งบังคับที่ตัวเด็กอย่างเดียว
ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาจากภายในตัวคนออกสู่ภายนอก (Inside-Out)
แต่ต้องแก้ไขสภาพแวดล้อมด้วย ถือเป็นการแก้ปัญหาจากภายนอกเข้าภายในตัวคน
(Outside-In)
เนื่องด้วยการจัดการสภาพแวดล้อมมีผลใหญ่ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
แต่เรามักไม่ค่อยทราบ เช่น การแก้ปัญหาเด็กเล่นของที่แตกได้
ด้วยการเก็บของที่แตกได้นั้นออกไปพ้นสายตา จะทำให้เด็กสนใจเล่นอย่างอื่น
ไม่ต้องดุกันบ่อยๆ มักได้ผลดีกว่าการห้ามเด็กหรือดุเด็กบ่อยๆ
โดยยังวางของที่แตกได้นั้นอยู่ในสายตาของเด็ก หรือ
การลดจำนวนคอมพิวเตอร์ในบ้านลง ให้เหลือ 1 เครื่อง สำหรับลูก 2 คน
ทำให้ลูกต้องจำกัดเวลาใช้คอมพิวเตอร์ลงโดยปริยาย เพราะมีคนรอใช้อยู่อีกคน
เป็นต้น พ่อแม่สามารถจัดการกับสิ่งแวดล้อมได้หลายวิธี ได้แก่

2. ลดโอกาสการเข้าถึงคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
         
• การจำกัดจำนวนคอมพิวเตอร์ในบ้านให้มีน้อยกว่าจำนวนคน
จะเป็นผลให้เด็กๆต้องแบ่งกันใช้คอมพิวเตอร์โดยธรรมชาติ
เป็นการจำกัดการเล่นอย่างเสรีแบบไม่มีขอบเขตจำกัด
โดยพ่อแม่ไม่ต้องพูดให้รำคาญ
          •
การกำหนดที่ตั้งของคอมพิวเตอร์ในห้องโถงหรือพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันในบ้าน
ถือเป็นการตั้งคอมพิวเตอร์ไว้บนพื้นที่ที่เปิดเผย
ซึ่งจะดีกว่าการตั้งคอมพิวเตอร์ไว้ในพื้นที่ปิดบังซ่อนเร้น
จะทำให้ลดพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ระดับหนึ่ง
ด้วยหลักการที่ว่าความชั่วทำได้ยากในที่แจ้ง
ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมที่นานเกินไป หรือ การดูภาพโป๊เปลือย หรือ
การเล่นการพนัน เป็นต้น
          •
การมีชั่วโมงการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่จำกัด เช่น การซื้อเป็นชั่วโมง
ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา
จะได้ผลต่อการจำกัดพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่าการมีให้ใช้ 24
ชั่วโมงอย่างไม่จำกัด
          • การจัดการทางกายภาพอื่นๆ เช่น
ปรับเส้นทางเดินทางไปโรงเรียนและกลับบ้าน ได้แก่
การเปลี่ยนเส้นทางเดินไม่ให้ผ่านร้านอินเตอร์เน็ต
การย้ายบ้านไม่ให้อยู่ในชุมชนที่มีร้านอินเตอร์เน็ตมาก เป็นต้น





3. ใช้มาตรการทางการเงิน
          •
การจำกัดจำนวนและความถี่ของการให้เงิน ได้แก่ การไม่ให้เงินแก่ลูกมากเกินไป
จะทำให้ไม่มีเหลือเฟือไปเล่นเกม หรือ
แม้ไปเล่นก็จะถูกจำกัดโดยจำนวนเงินที่มีไม่มากนั้น หรือ
ให้เงินในความถี่ที่ทำให้ลูกควบคุมตัวเองได้ เช่น ถ้าลูกมีวินัยทางการเงิน
ถือเงินได้เป็นสัปดาห์ ใช้ได้จนครบสัปดาห์ ไม่หมดก่อน ก็ให้เป็นสัปดาห์ได้,
ถ้ามีวินัยแค่เป็นวัน ก็ต้องให้เป็นวัน หรือ ถ้าถือเงินไม่ได้เลย
ใช้หมดตลอด ก็ต้องให้เป็นอาหาร หรือ ขนม
หรือให้เป็นข้าวของเครื่องใช้อื่นๆโดยตรงแทนการให้ถือเงิน
          •
การให้ลูกทำงานแลกกับเงิน ลูกควรได้มีโอกาสทำงานแลกกับเงิน
แม้เป็นงานเล็กน้อยแลกกับเงินเล็กน้อย
เพื่อจะทำให้ลูกได้เรียนรู้ว่าเงินไม่ได้มาง่ายๆ
ต้องแลกกับเหงื่อหรือความเหน็ดเหนื่อย จะได้ไม่ใช้สุรุ่ยสุร่าย
การบอกให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่หาเงินด้วยความเหน็ดเหนื่อย ลูกต้องประหยัด ไม่พอ
ต้องให้เขาได้ประสบการณ์ตรง ค่าใช้จ่ายของลูกส่วนหนึ่งอาจได้เลย
เช่นค่าเล่าเรียนลูก ค่าอาหารและค่าเดินทางประจำวัน แต่เงินอีกส่วนหนึ่ง
โดยเฉพาะต้องการใช้ตามที่ตัวเองอยากจะใช้ ควรต้องทำงานแลก
          •
การให้เงินเพิ่มอย่างรอบคอบ มีหลักการคือ
หากลูกขอเงินเพิ่มบ่อยจนผิดสังเกตุ
ให้คอยสังเกตุและตรวจสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่
แต่ไม่ได้ทำในท่าทีที่มองในแง่ร้ายหรือไม่ให้เกียรติ
เป็นศิลปะที่พ่อแม่ต้องเรียนรู้และทำให้ได้ ถ้าเชื่อถือได้ ลูกรับผิดชอบ
พ่อแม่สามารถให้เงินเพิ่มได้ แต่ถ้าไม่น่าเชื่อถือในข้อมูลที่ลูกให้ หรือ
ลูกไม่มีวินัยทางการเงิน ถ้าให้เงินลูกเพิ่มโดยตรง อาจนำเงินไปใช้ผิดเรื่อง
ก็ควรที่จะให้โดยตรงกับผู้รับมากกว่าผ่านลูก หรือ ให้ของมากกว่าให้เงินสด

หมวดการสร้างสัมพันธ
ภาพและการสื่อสารคุณภาพ

          ธรรมชาติ
วัยรุ่นจะคิดว่าตัวเองถูก
ไม่ค่อยเห็นผลที่ตามมาระยะยาวของความคิดและการกระทำต่างๆ
แต่จะยอมรับสิ่งที่เพื่อนหรือคนส่วนใหญ่คิดเห็นอย่างนั้น
วัยรุ่นจะตามเพื่อนตามแฟชั่น คิดว่าพ่อแม่โบราณ ไม่ชอบการบังคับ
เพราะพึ่งตัวเองได้แล้ว ไม่ชอบการตำหนิอย่างเดียว เพระทำให้เหมือนถูกดูถูก
ไม่ชอบการพูดซ้ำซาก เพราะรู้แล้ว รำคาญ
อาจทำให้เกิดการตีความเจตนาที่ดีของพ่อแม่ผิด ไม่เห็นความหวังดีของผู้พูด
วัยรุ่นอยากให้คนยอมรับความคิด (แม้ผิด) ของตนเอง ขอให้ฟังก่อน
ชอบให้คนฟังและเข้าใจว่าทำไมจึงคิดเช่นนี้
แล้วจึงค่อยบอกหรือชี้แนะให้รู้ว่าจะเกิดผลอะไรตามมาสำหรับความคิดและการ
กระทำต่างๆ แล้วให้เกียรติตัดสินใจเอง
แต่พ่อแม่ก็สามารถบอกความเห็นของพ่อแม่ได้ (แบบเป็นความเห็นของพ่อแม่
ซึ่งเป็นคนๆหนึ่ง ที่ผ่านประสบการณ์มาก่อน และมีความปรารถนาดี)
แล้วลูกจะไปชั่งรวมกับความเห็นอื่นๆ แล้วดูว่าคนส่วนใหญ่คิดอย่างไร
เพราะเขาจะคิดว่าถ้าฟังพ่อแม่อย่างเดียว (ซึ่งโบราณในความคิดของเขา)
จะไม่เข้าพวก ตกรุ่น ทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับสังคม/กลุ่มเพื่อน

         
พ่อแม่ จำเป็นต้องใช้วิธีการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารอย่างมีคุณภาพ
เพื่อให้การสื่อสารสามารถที่จะทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพ่อแม่กับลูก
และทำให้ลูกสนใจที่จะฟังเราและยินดีที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมจริงๆ
มากกว่าที่จะไม่ยินดีรับฟังหรือต่อต้านคำแนะนำและความหวังดีของพ่อแม่
สัมพันธภาพคุณภาพ คือ
ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกที่ทำให้ลูกรู้สึกเคารพ
เกรงใจไม่ทำสิ่งที่พ่อแม่ไม่ต้องการหรือยอมทำสิ่งที่พ่อแม่ต้องการ
ด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าพ่อแม่ปรารถนาดีหรือด้วยความเกรงใจไม่อยากให้
พ่อแม่เสียใจ แม้ว่าลูกจะไม่เห็นด้วย, การสื่อสารคุณภาพ ได้แก่
การรับฟังและพูดอย่างสุภาพ ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร
การไม่เน้นการตำหนิรุนแรงหรือไร้เหตุผล แต่เน้นการชื่นชม การให้กำลังใจ
การแสดงความเคารพความเป็นตัวตน ศักดิ์ศรี ความคิด
และประสบการณ์ของลูกวัยรุ่นเองและเพื่อนของเขา และ
การเปิดโอกาสให้ลูกได้ร่วมกำหนดกติกาอย่างเป็นรูปธรรม
ดังรายละเอียดต่อไปนี้


4.
ฟังและพูดดีต่อกัน

          • การฟังแบบดีต่อกัน คือ
การตั้งใจฟังด้วยท่าทีที่เป็นมิตร ฟังให้จบก่อนที่จะพูด
ฟังด้วยความรู้สึกเข้าใจและเห็นใจ
ราวกับว่าผู้ฟังเข้าไปนั่งในหัวใจของผู้พูดในสถานการณ์นั้นๆ
ฟังให้เห็นถึงความจำเป็นที่เขาต้องเป็นอย่างนั้น
ฟังให้ได้ยินสิ่งที่เด็กไม่กล้าพูด
ฟังให้สัมผัสถึงความรู้สึกที่เด็กไม่ได้บอก
ตรงกันข้ามกับการฟังอย่างผิวเผิน ซึ่งจะมีลักษณะ การไม่ตั้งใจฟัง
การด่วนตัดสินถูกผิด การฟังด้วยใจที่ไม่เห็นด้วยหรือตำหนิตลอดเวลา
การที่อยากจะพูดชี้แนะหรือตำหนิมากกว่าที่จะรอฟังจนจบ เป็นต้น
         
• การพูดแบบดีต่อกัน เป็นการพูดในลักษณะที่ให้เกียรติผู้ฟัง
เป็นการสื่อถ้อยคำสำคัญ โดยไม่ได้ใช้อารมณ์เกรี้ยวกราด
ไม่ได้ใช้ภาษาที่ตำหนิรุนแรงหรือประชดประชันเสียดสี
เป็นการพูดที่ทำให้ผู้ฟังอยากฟัง ชื่นใจที่ได้ฟัง
น้อมรับข้อแนะนำไปปฏิบัติโดยไม่รังเกียจผู้พูด
อาจใช้ภาษาเดียวกับวัฒนธรรมของลูก (เช่น ใช้ภาษาในเกมที่ลูกเล่น
ใช้ภาษาแฟชั่นในยุคของลูกบ้าง) ตรงข้ามกับการพูดแบบไม่สุภาพหรือหยาบคาย
ได้แก่ การพูดที่มีส่วนผสมของอารมณ์มากกว่าเนื้อหาสำคัญ ใช้คำพูดดุด่า
เสียดสี หรือหยาบคาย
วิธีเลือกคำพูดหรือท่าทีในการพูดง่ายๆวิธีหนึ่งคือให้คิดว่าเราเองอยากฟังคำ
พูดแบบไหนหรือท่าทีของการพูดแบบไหน
ก็ให้เราพูดหรือใช้ท่าทีของการพูดแบบนั้น
          •
พ่อแม่สามารถใช้เทคนิคการสื่อสารอย่างสุภาพวิธีหนึ่ง ได้แก่
การสื่อสารโดยใช้คำว่า “ฉันรู้สึก...” (I-message) ซึ่งมีเทคนิคคือ
ให้พูดว่า "ฉันและตามด้วยความรู้สึก" ดีกว่า การพูดว่า
"แกและตามด้วยคำตำหนิ" เช่น “แม่เสียใจที่ลูกเล่นเกมเกินเวลาที่ตกลงกันไว้”
ดีกว่า “ลูก(แก)ช่างไม่รับผิดชอบเอาเสียเลย สัญญาไว้ไม่เป็นสัญญา
ใช้ไม่ได้”
“พ่อเหนื่อยมากที่ต้องหาเงินมาจ่ายค่าโทรศัพท์และค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นเพราะ
ลูกเล่นเกมวันละ 3 ชั่วโมง” ดีกว่า “ลูก(แก)ทำไมเป็นคนอย่างนี้
เล่นอะไรกันนักกันหนา ไม่อ่านหนังสืออย่างนี้ จะสอบผ่านหรือ” และตามด้วย
การบอกสิ่งที่อยากให้ทำอย่างชัดเจนและสุภาพ ไม่ประชดประชันหรือตำหนิ เช่น
พูดว่า “แม่อยากให้ลูกทำตามสัญญาเล่นไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมงให้ได้” ดีกว่า
“ถ้าเป็นคนไม่เอาไหน รักษาสัญญาไม่ได้ อย่างนี้ก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว” หรือ
พูดว่า “พ่ออยากให้ลูกช่วยให้พ่อไม่ต้องเหนื่อยหาเงินมาก โดยลูกเล่น Online
น้อยลงเหลือวันละชั่วโมงครึ่งได้ไหม” ดีกว่า พูดว่า “ถ้าเล่นน้อยลงไม่ได้
ก็ไม่ต้องกินข้าวก็แล้วกัน กินไอ้รางวัลที่ได้จากเกมนั่นแหละ”
         
• การสื่อสารผ่านการเขียนก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิผลสูง เช่น
เขียนจดหมาย เขียนบันทึกเล็กๆวางไว้บนโต๊ะอาหาร ติดไว้ที่ตู้เย็น
เขียนบอกข้อเท็จจริง บอกความในใจ บอกความรู้สึกที่แท้จริง บอกความปรารถนาดี
บอกความห่วงใย ขอโทษ ขอบคุณ
โดยไม่มีอารมณ์รุนแรงแบบควบคุมไม่อยู่เจือปนลงไปหรือไม่ก่อให้เกิดการสาด
อารมณ์ใส่กันแบบพูดกันต่อหน้า

5.
จับถูก ชื่นชม ให้กำลังใจ

          •
พ่อแม่ต้องเข้าใจพลังของกำลังใจและสร้างให้เกิดกำลังใจในตัวลูก
หากกำลังใจดี สมองจะทำงานได้ดี หากกำลังใจไม่ดี สมองจะทำงานไม่ดี
คนเราจะไม่เรียนรู้หากถูกตำหนิตลอดเวลา สมองจะเรียนรู้ได้ดี
เมื่อคนเรารู้สึกดีกับตัวเอง รู้สึกมีคุณค่า ภาคภูมิใจในตัวเอง และ
การที่ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ได้มีอคติคือไม่ใช่เอาแต่ดุว่า
จะทำให้ฟังพ่อแม่มากขึ้นอีกด้วย
          • การจับถูก คือ
การขยันมองให้เห็นด้านดีหรือด้านบวกแม้เล็กน้อยในตัวลูก
          •
การชื่นชม ให้กำลังใจ คือ การนำสิ่งดีดีแม้เล็กน้อยนั้น
มาพูดชื่นชมให้เจ้าตัวรับรู้ หรือ พูด/แสดงให้ผู้อื่นรับรู้ความดีของลูก
การทำให้ลูกรู้ว่ามีคนเห็นคุณค่าในตัวเขา และ
การทำให้ลูกเห็นคุณค่าในตัวเอง จะทำให้ลูกมีกำลังใจ
จะทำให้ลูกรู้สึกว่าเราเป็นมิตร ฟังเรามากขึ้น
มีกำลังใจในการเรียนรู้และร่วมมือในการแก้ไขปัญหามากขึ้น

6. ร่วมกำหนดกติกาอย่างเป็นรูปธรรม
• เมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น
ให้ร่วมกำหนดกติกาอย่างเป็นรูปธรรม ร่วมกำหนดกติกา

ดีกว่าการกำหนดกติกาหรือสั่งการบังคับแต่ฝ่ายเดียว
เพราะลูกวัยรุ่นโตมากแล้ว การสั่งการบังคับใช้ได้ผลมากกว่าเมื่อลูกยังเด็ก
เพราะเด็กยังไม่รู้จักเหตุผลเพียงพอ และ ยังไม่สามารถดื้อกับเราได้มาก
ยังหนีออกจากบ้านไม่เป็น หาอาหารกินเองไม่เป็น
แต่วัยรุ่นรู้จักเหตุผลมากขึ้น ฟังข้อมูลจากพื่อนๆมากขึ้น
เริ่มได้ข้อมูลความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับพ่อแม่
เด็กวัยรุ่นสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น ชอบอิสระ ไม่ชอบการบังคับ
จึงมีแนวโน้มที่จะต่อต้านมากหากถูกบังคับ
เพราะมีความสามารถในการต่อต้านได้แล้ว
การให้โอกาสวัยรุ่นร่วมกำหนดกติกาจะทำให้เขายอมรับกติกาและตัวพ่อแม่ได้
มากกว่าการถูกบังคับโดยพ่อแม่ เช่น พ่อแม่เสนอให้เล่นเกม 1 ชั่วโมง
ลูกขอต่อรอง 3 ชั่วโมง สุดท้ายตกลงกันได้ที่ 2 ชั่วโมง ลูกจะร่วมมือในกติกา
2 ชั่วโมงแบบมีส่วนร่วมกำหนด มากกว่าการที่พ่อแม่บอกว่า 2
ชั่วโมงเด็ดขาดห้ามต่อรอง เด็กจะไม่ยอมรับหรือยอมรับแบบใจไม่ยอม
พร้อมจะฝ่าฝืนหรือพาลเข้าใจผิดเหมารวมว่าพ่อแม่ชอบบังคับ
เนื่องด้วยวัยรุ่นก็อยากจะรู้สึกว่าตัวเองก็มีศักดิ์ศรีเหมือนกัน
อยากจะเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่ใครก็มาบังคับได้ตลอด; ส่วนรูปธรรมกติกา คือ
การทำให้กติกาสามารถวัดได้ชัดเจนตรงกันทั้งสองฝ่าย เช่น
พ่อแม่อาจพูดว่าอย่าเล่นนานนะลูก (ในใจคิดว่าอย่าเกิน 1 ชั่วโมง)
ลูกอาจตอบว่าครับเล่นไม่นานครับ (ในใจคิดว่าไม่เกิน 3 ชั่วโมงครับ) หรือ
พ่อแม่อาจอนุญาตลูกไปเล่นเกมที่ร้านอินเตอร์เน็ต 2 ชั่วโมง
(ในใจนับตั้งแต่ลูกออกจากบ้านจนลูกกลับเข้าบ้าน)
ส่วนลูกอาจนับตั้งแต่ได้ลงนั่งเล่นเกมจนจบครบ 2 ชั่วโมง
โดยไม่นับเวลาเดินไปเดินกลับ และเวลาที่รอเครื่องว่าง
ซึ่งรวมแล้วทั้งหมดอาจเป็น 3 ชั่วโมง



หมวดหัวใจของการ
เปลี่ยนแปลง

หัวใจ
ของการเปลี่ยนแปลง
คือ ข้อปฏิบัติที่จำเป็นอย่างยิ่ง
แต่พ่อแม่หรือผู้ปกครองมักมองไม่เห็น
เปรียบเสมือนหัวใจที่เต้นอยู่ภายในร่างกาย ไม่อาจมองเห็นได้จากภายนอก
ข้อปฏิบัติสำคัญที่เป็นหัวใจของการเปลี่ยนแปลงที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้อง
ปฏิบัติให้ได้ ได้แก่
การเอื้อให้เด็กมีทางออกที่สร้างสรรค์อื่นๆทดแทนการเล่นเกมอย่างเดียว
การสร้างบรรยากาศที่น่าอยู่ร่วมกันโดยการสร้างรอยยิ้มเล็กๆในครอบครัว
การควบคุมดูแลอารมณ์ตนเองและการสร้างความสุขเล็กๆในใจของพ่อแม่ และ
การเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงที่ตัวพ่อแม่เอง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

7. มีทางออกที่สร้างสรรค์ให้เด็ก

การมีทางออกเชิงสร้างสรรค์อื่นๆที่ทำให้เกิดความสุขความสำเร็จทดแทน
จะช่วยเด็กและเยาวชนได้

เนื่องจากธรรมชาติมนุษย์ทุกคนแสวงหาความสุขและความสำเร็จ
การเล่นเกมเป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้ได้สิ่งเหล่านี้มา
การห้ามไม่ให้เล่นเฉยๆจะทำให้เด็กไม่มีทางออก
เด็กก็จะต้องไปหาทางออกทางใดทางหนึ่งเองอยู่ดีตามกำลังสติปัญญาที่มี
ซึ่งก็อาจไม่ใช่วิธีที่พ่อแม่ต้องการ
สิ่งที่ควรทำคือการช่วยให้เด็กได้ค้นหาความถนัดของตนเอง
และมีโอกาสได้ทำกิจกรรมตามความถนัดหรือมีใจรักหรือสนุกมีความสุขแบบสร้าง
สรรค์ คือ ไม่ติดมาก ควบคุมตัวเองได้ไม่ยาก ไม่สิ้นเปลืองเงิน เช่น กีฬา
ดนตรี การแสดง ศิลปะ วรรณกรรม การประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์
กิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ดังนั้นการมีทางออกที่สร้างสรรค์ทดแทนจึงเป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องเอื้อให้ลูก


8.
สร้างรอยยิ้มเล็กๆในครอบครัว

• การสร้างรอยยิ้มเล็กๆในครอบครัว
จะทำให้เกิดบรรยากาศครอบครัวอบอุ่นหรืออย่างน้อยทำบรรยากาศที่แย่อยู่แล้ว
เลวร้ายน้อยลง โดยการยอมรับความจริงของครอบครัวทุกสถานการณ์
และตั้งเป้าหมายว่าจะไม่ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง โดยมีข้อคิดว่า
ทุกคนในโลกมีความทุกข์หนักคนละอย่าง หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดีเสมอ
จงทำให้ดีที่สุด หรือ ทำให้เลวร้ายน้อยที่สุด รวมถึงการไม่ทำกรรมใหม่ คือ
เรื่องเก่ายังแก้ไม่ได้ แต่ด้วยความโกรธหรือเศร้าเสียใจ
จึงทำอะไรออกไปแบบไม่ยั้งคิด ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงกว่าเดิม
• การหยอดความสดชื่นเล็กๆน้อยๆ แบบไม่หวังผล
เปรียบเหมือนกับคำพังเพยที่ว่า น้ำหยดลงหินทุกวัน หินมันยังกร่อน หรือ
ดอกไม้หนึ่งดอกท่ามกลางกองขยะ ก็อาจทำให้เกิดความหอมขึ้นชั่วขณะ หรือ
อย่างน้อยก็เจือจางความเหม็นลงได้บ้าง หรือ เหมือนกับเวลาเราโกรธใครสักคน
แล้วเขามาพูดหรือแสดงสิ่งดีดีกับเรา
บางครั้งเราก็อาจรู้สึกว่าจริงๆแล้วเขาก็ไม่ได้เลวร้ายนักนะ
จึงควรหยอดความสดชื่นเล็กๆน้อยๆบ้าง เช่น
พูดเรื่องตลกหรือเรื่องที่สมาชิกในบ้านฟังแล้วรู้สึกสดชื่นสบายใจมีกำลังใจ
การจัดมื้ออาหารพิเศษในบ้าน การจัดงานวันเกิดเล็กๆของสมาชิกในบ้าน
มอบของขวัญเล็กๆเนื่องในโอกาสพิเศษ
กล่าวชื่นชมอย่างจริงใจถึงความดีของสมาชิกในบ้านให้ทราบทั่วกัน เป็นต้น
อาจจะมีผลเป็นหยดน้ำหยดหนึ่งหรือดอกไม้ที่ว่าก็ได้
แต่ที่สำคัญคืออย่าทำแบบหวังผล
เพราะถ้าหวังผลแล้วไม่ได้รับการตอบรับที่ดีดังหวัง เราก็จะเสียใจอีก
ทำให้โกรธอีก สถานการณ์จะเลวร้ายลงอีกโดยใช่เหตุ

9.
ควบคุมอารมณ์และสร้างความสุขเล็กๆในใจของพ่อแม่เอง

• การแก้ปัญหาไม่สามารถเนรมิตได้
การเกิดพฤติกรรมใดๆของเด็กและผู้ใหญ่
เกิดจากการสะสมทั้งสิ้น การพูด
ก ไก่ ได้ การเรียกแม่ได้ เกิดจากการสอนหลายครั้งเสมอ
คนอ้วนไม่ได้เกิดจากการกินอาหารช้อนเดียว
การผอมก็ไม่ได้เกิดจากการออกกำลังกายวันเดียว
การจะให้ลูกเปลี่ยนพฤติกรรมหรือเล่นเกมน้อยลง ก็ต้องสอนสะสมเช่นเดียวกัน
พ่อแม่จึงต้องอดทนรอได้ เพราะการเร่งร้อนเกินไป มักจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
• การที่พ่อแม่จะมีพลังในการช่วยเหลือลูกได้
พ่อแม่จะต้องมีพลังในตัวเองก่อน

ซึ่งสามารถทำได้โดยการมองให้เห็นว่าตัวเรามีคุณค่า
มองชีวิตดีดีด้านอื่นบ้าง ทุกคนมีคุณค่า
คุณค่าเกิดจากการที่เรารู้สึกว่าเรามีดีหรือเรามีประโยชน์ต่อผู้อื่น
คุณค่ามีหลายด้าน ความสำเร็จมีหลายด้าน
ความสำเร็จในครอบครัวเป็นเรื่องหนึ่ง การทำงานเป็นเรื่องหนึ่ง
การทำกับข้าวอร่อย การพูดจาเพราะ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ
การไม่เศร้าเสียใจกับอะไรมากเกินไป การเข้มแข็งได้บนความทุกข์
ล้วนเป็นคุณค่าทั้งสิ้น การเห็นคุณค่าในตนเองและยิ้มสู้กับปัญหาได้
จะทำให้เราสามารถเป็นตัวอย่างให้คนอื่นทำดี หรือ
เป็นตัวอย่างให้คนอื่นมีกำลังใจในการต่อสู้กับความทุกข์ความท้อถอยในชีวิต
ได้

การควบคุมดูแลอารมณ์ตนเองของพ่อแม่เองไม่ให้โกรธมากไป
หรือ
เสียใจมากไป สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

             o การมีสติ
อาจทำได้โดยการนับ 1 - 10 ในใจ หรือ ตามรู้อารมณ์ว่ากำลังโกรธหรือเศร้า
หรือ รู้ว่ากำลังอยากจะต่อว่าลูกอย่างรุนแรง
             o
มองให้เห็นโทษของการควบคุมอารมณ์ไม่ได้
เห็นการตอบโต้ที่ไม่จบและรุนแรงขึ้นที่จะตามมาเพียงเพราะเราหลุดคำบางคำหรือ
การกระทำบางอย่างออกไป ขณะที่มีอารมณ์รุนแรงอยู่
             o
หาวิธีระบายอารมณ์ ทั้งอารมณ์ในขณะนั้น หรือ อารมณ์สะสม
ไปทางอื่นที่ไม่เกิดโทษ เช่น เดินหนี เขียนความไม่พอใจลงในกระดาษ
ออกกำลังกายหนักๆ ร้องเพลง เป็นต้น
             o
มองให้เห็นประโยชน์ในโทษ หรือ
มองให้เห็นด้านบวกในด้านลบของปัญหาที่เผชิญอยู่จะช่วยลดอารมณ์โกรธได้ เช่น
เล่นเกมดีกว่าติดยาเสพติด, รู้และแก้ปัญหากันเสียตอนนี้
ดีกว่าเมื่อปัญหาหนักกว่านี้ หรือ
แม้กระทั่งปัญหาลูกเรายังน้อยกว่าปัญหาลูกคนอื่น เป็นต้น

10.
เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเรา...ทันที

• หลักการนี้สำคัญที่สุดสำหรับพ่อแม่
เพราะถ้าไม่มีการก้าวขึ้นบันไดขั้นที่หนึ่ง
ก็จะไม่มีก้าวขึ้นบันไดก้าวต่อๆไป การเปลี่ยนแปลงลูกสามารถทำได้
โดยเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงที่ตัวพ่อแม่เอง...ทันที,
มนุษย์เราไม่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลยนอกจากตัวเรา
เราสามารถเปลี่ยนแปลงผู้อื่นได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิธีการเปลี่ยนแปลงผู้
อื่นของตัวเรา ซึ่งพ่อแม่สามารถทำได้ตั้งแต่

          (1)
เปลี่ยนแปลงปัจจัยลบในบ้าน เช่น ลดการทะเลาะกันระหว่างพ่อแม่ที่มากเกินไป
ลดการใช้อารมณ์ในบ้าน ลดการจับผิดอยู่เป็นประจำ ลดการไม่เคยชื่นชมกันเลย
ลดการเที่ยวเตร่กลางคืนนอกบ้าน ลดการดื่มเหล้า เลิกความเจ้าชู้ เป็นต้น
         
(2) การเพิ่มปัจจัยบวก เช่น การให้เวลา การทำกิจกรรมร่วมกัน
(ควรเป็นกิจกรรทที่ชอบทั้งพ่อแม่และลูก),
การให้โอกาสลูกมีกิจกรรมสร้างสรรค์ทางเลือกอื่นๆ เป็นต้น
          (3)
การเปลี่ยนวิธีการเปลี่ยนแปลงลูก เช่น เปลี่ยนจากตำหนิตลอด เป็นชื่นชมบ้าง
ลดการบ่นลงบ้าง ลดการใช้อารมณ์ตลอดเวลา ฟังบ้าง เป็นต้น
          (4)
เปลี่ยนตัวเองให้ลูกเห็นตัวอย่างว่า พ่อแม่ยังบังคับตัวเองได้ เช่น เลิกบ่น
เลิกฟุ่มเฟือย เลิกเล่นการพนัน เลิกกลับบ้านดึก เลิกสูบบุหรี่
เลิกดื่มเหล้า เลิกเจ้าชู้ เป็นต้น ลูกก็น่าจะสามารถบังคับตัวเองได้เช่นกัน
เช่น ลดการเล่นเกมลง หรือ เพิ่มความรับผิดชอบมากขึ้น เป็นต้น

บทสรุป
10
ข้อปฏิบัติในการดูแลช่วยเหลือเด็กติดเกมหรืออินเตอร์เน็ตนี้
เป็นข้อปฏิบัติง่ายๆแต่ได้ผล
อยู่บนพื้นฐานของการช่วยให้ลูกมีวินัยในตนเองสามารถควบคุมตนเองได้
ไม่ใช่การปราบปรามลูกที่เล่นเกมหรืออินเตอร์เน็ตให้ราบคราบ
การใช้วิธีการจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมไปกับการแก้ไขที่ตัวเด็ก
การสร้างสัมพันธภาพที่ดีโดยการปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารให้มีคุณภาพ
และการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญ เช่น
การมีกิจกรรมสร้างสรรค์ทางเลือกเป็นทางออกให้กับเด็ก
การสร้างรอยยิ้มในครอบครัวและในใจของพ่อแม่เอง
และที่สำคัญที่สุดคือการเริ่มการเปลี่ยนแปลงที่ตัวพ่อแม่เอง
มีพ่อแม่ผู้ปกครองมากมายที่ทดลองปฏิบัติแล้วได้ผล
พ่อแม่จะต้องเรียนรู้ว่าเราทำข้อไหนได้ดีแล้ว ให้คงทำต่อไป
ข้อไหนยังขาดอยู่หรือยังทำได้ไม่ดีนัก ให้ทำให้มากขึ้นให้ดีขึ้น
สิ่งที่สำคัญคืออย่าท้อแท้ง่าย อย่าหวังผลเร็ว อย่าคิดว่าทำเพียงพอแล้ว
อย่าทำเหมือนเดิมแล้วทำไปบ่นไปหรือโทษคนอื่นไป
หากพ่อแม่ได้ทดลองแล
ะปฏิบัติตามข้อแนะนำนี้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง
และเพียงพอแล้ว เชื่อเหลือเกินว่านอกจากจะพบเห็นการเปลี่ยนแปลงในตัวลูกแล้ว
พ่อแม่ผู้ปกครองยังจะได้พบกับความเปลี่ยนแปลงของคนรอบข้างที่จะตามมาจากการ
เปลี่ยนแปลงของตัวพ่อแม่ผู้ปกครองเอง อันจะนำความสุขมาให้ในที่สุด





Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 21:31:39 น.
Counter : 385 Pageviews.  

รู้จักโรคปอดบวมในเด็กเล็กหรือยัง?





โรคปอดบวม คือ
อาการอักเสบ ที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อปอด หลอดลม ถุงลมต่างๆ

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย
เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็กที่สำคัญ
ข้อมูลการสำรวจขององค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ ปี 2549 พบว่าโรคปอดบวม
เป็นโรคที่ทำให้เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปีเสียชีวิตในปีหนึ่งๆ
มีจำนวนมากกว่า 2,000,000 คน/ปี  Mother & Care
จึงนำข้อมูลเรื่องสุขภาพของลูกน้อย ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จัก
รู้ทันและป้องกันการเจ็บป่วยมาบอก

รู้จักอาการ
         
อาการเบื้องต้นมักเริ่มจากการมีน้ำมูกหรือมีไข้ ตัวร้อน
คล้ายการเป็นไข้หวัดในเด็กเล็กทั่วไป
แต่มีข้อสังเกตที่ต้องระวังกับอาการผิดปกติต่อไปนี้


ไข้สูง ไอ
หายใจเหนื่อย
ไอมาก ลักษณะไอแห้งๆ
หรือไอแบบมีเสมหะ

ได้ยินเสียงหายใจครืดคราด เนื่องจากมีเสมหะมากและเหนียว
ลูกหายใจเร็วกว่าปกติ
(เด็กปกติจะมีอัตราการหายใจประมาณ 20-40 ครั้งต่อนาที)
มีอาการหอบเหนื่อย เวลาหายใจจมูกจะบาน
ช่วงหน้าอกและท้องจะบุ๋ม
กินอาหารไม่เป็นปกติ มีอาการซึม

         
หากพบว่าลูกน้อยมีอาการผิดปกติดังกล่าว คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ
ควรรีบพาลูกไปหาคุณหมอโดยเร็ว เพื่อเข้ารับการรักษาให้ทันท่วงที

ความรุนแรง
ของโรคปอดบวม

         
เกิดได้จากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นเชื้อที่ร่างกายสามารถกำจัดออกได้
แต่หากเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดที่รุนแรง
อาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ ซึ่งพบว่า
เชื้อนิวโมคอคคัสเป็นชื่อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุใหญ่
ทำให้เกิดโรคปอดบวมและโรคติดเชื้อรุนแรง
เช่นการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดหูน้ำหนวก ไซนัสอักเสบ
หากลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด เยื่อหุ้มสมอง
ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เป็นกลุ่มโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรงหรือที่เรียกว่า “ไอพี
ดี”



การ
วินิจฉัยโรค

         
ในเบื้องต้นจำเป็นต้องอาศัยประวัติ ข้อมูลอาการต่างๆ
ของลูกน้อยจากคุณพ่อคุณแม่ ร่วมกับการตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรค
ในรายที่เป็นไม่มากการใช้เครื่องมือฟังปอดอาจจะยังไม่ชัดเจน
ต้องใช้วิธีเอกซเรย์ปอดช่วยวินิจฉัยด้วย ทั้งนี้ 
จะทำเฉพาะในรายที่คุณหมอเห็นสมควร และจำเป็นเท่านั้นค่ะ





การ
รักษา

         
• อาการไม่มาก สังเกตเสียงผิดปกติของปอดได้ ก็อาจใช้แค่ให้ยากินอย่างเดียว
ไม่ต้องฉีดยา คุณหมออาจจะนัดฟังปอดอีกครั้ง
          • หากสามารถเล่นและกินอาหารได้ดี
แต่หายใจเร็วเล็กน้อย อาจฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อและรอดูอาการ และนัดฟังปอด
เมื่ออาการดีขึ้นก็จะเปลี่ยนเป็นยากินแทน
          • กรณีที่มีอาการเป็นมาก ไข้ไม่ลด
ซึมลง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพราะต้องให้ออกซิเจน
และความชื้น ให้น้ำอย่างเพียงพอ และให้ยาทางหลอดเลือดดำ
และอาจต้องเคาะปอดและดูดเอาเสมหะออก

การดูแลและป้องกันโรคปอดบวม

สิ่งสำคัญในการดูแลลูกน้อยที่ป่วยเป็นโรคปอดบวม
คือการปฏิบัติตามคำสั่งของคุณหมออย่างเคร่งครัด

เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกลับมาอีกครั้ง ทั้งนี้
โรคปอดบวมสามารถป้องกันได้ในเบื้องต้นโดย
สร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ
โดยให้ลูกกินนมแม่

เมื่อไม่สบายเป็นไข้ ควรเช็ดตัว และให้ลูกดื่มน้ำให้มาก และให้ยาตามอาการ
ดูแลเรื่องสุขอนามัย
ความสะอาด ความอบอุ่น

หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ช้อน แก้วน้ำ
ของเล่น

การรับวัคซีนป้องกันโรค เป็นอีกหนึ่งทางเลือก
ทั้งนี้ควรปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอก่อน



ขอขอบคุณข้อมูลจาก Mother & Care






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 21:28:33 น.
Counter : 440 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.