ขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คน ทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป ขอมีกำลังใจที่เต็มเปี่ยมและเข้มแข็ง มีสติที่ตั้งมั่น ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม, ทุกสิ่งเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา, การนำข้อมูลไปใช้ต้องใช้หลักกาลามสูตร. Group Blog จำนวน 215 Group Blog : รวมข้อมูลทั้งหมด 525 เรื่อง (Click (คลิ๊ก) ตรงกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีฟ้า หรือเครื่องหมายสามเหลี่ยมของกล่องสี่เหลี่ยม (ทางด้านขวามือ) (มีข้อมูลอยู่ในนั้นครับ) "ขอขอบคุณเจ้าของผลงานต่างๆ และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อการศึกษา เรียนรู้ และการวิจัยเท่านั้น"
Group Blog
 
All Blogs
 

แนวทางการรักษาใหม่เพิ่ม N.K.Cell กำจัดมะเร็ง

โดย admin1 เมื่อ 2007/9/19 13:00:00 (348 อ่าน)

ที่มา : //www.healthinfo.in.th/main/modules/news/article.php?storyid=13

แนวทางการรักษาใหม่เพิ่ม N.K.Cell กำจัดมะเร็ง
โดย ร.ศ.ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล
สรรพสารวงการแพทย์


ในบรรดาโรคเรื้อรังที่พบเห็นอยู่ในปัจจุบัน “โรคมะเร็ง” ถือได้ว่าเป็นโรคเรื้อรังที่ร้ายกาจที่สุด เพราะสามารถกระจายไปทั่วร่างกายได้เมื่อมีเซลล์มะเร็งในร่างกาย ทั่วโลกจึงได้ให้ความสนใจในการรักษารวมทั้งการป้องกัน แต่วิธีการรักษาที่ยังใช้กันอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็น การผ่าตัด การให้เคมีบำบัด
การฉายรังสี นั้นยังไม่เพียงพอต่อการรักษา

นักวิจัยจึงพยายามคิดค้นหาวิธีอื่นที่จะเข้าไปช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยยึดแนวทางในการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่ง ร.ศ.ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์บูรณาการ (COMED) ได้อธิบายถึงวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันของเซลล์เม็ดเลือดขาวนี้ว่า ได้เคยทำงานร่วมกับนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการหาแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง
ก็พบว่า วิธีการรักษาด้วยเคมีบำบัดนั้นยังมีข้อจำกัดในการรักษา อาจทำให้ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ เพราะเคมีบำบัดจะไปทำลายเซลล์ผิดปกติและเซลล์มะเร็ง ซึ่งหากไปทำลายเซลล์ผิดปกติจะทำให้ทำลายได้ง่ายกว่า จึงได้พยายามคิดค้นหาวิธีการอื่นใดที่จะช่วยให้การใช้วิธีการรักษาด้วยเคมีบำบัดไปทำลายเซลล์ผิดปกติด้วย

และก็ค้นพบแนวคิดหนึ่งที่ว่า การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ซึ่งต่อมาได้ทำการวิจัยโดยนำสารต่างๆ มาทดลอง เช่น เห็ดหลินจือ เบตาฟูลแคล แต่ว่ามีสารอยู่ตัวหนึ่งที่เรียกว่า สารอะราบิน็อกซิแลน เฮมิเซลลูโลส (Arabinoxylan Hemicellulose) จากเอนไซม์ในเห็ดชิตาเกะ ซึ่งเป็นสารที่จะช่วย
ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะกลไกในการทำงาน สามารถกระตุ้นเซลล์เพชฌฆาต (NK.Cell) ได้ชัดเจน



ในธรรมชาติเซลล์เพชฌฆาตจะเป็นตัวที่คอยทำลายไวรัสกับเซลล์มะเร็ง โดยการทำลายจะเข้าไปจับเซลล์มะเร็งหรือไวรัสทันทีที่พบเห็นอย่างไม่เฉพาะเจาะจง เมื่อ NK.cell ไปพบเซลล์เป้าหมาย จะจัดการยิงกระสุนเข้าใส่เซลล์มะเร็งหรือไวรัส จากถุงเล็กๆ (Granule) ที่มีอยู่ในตัว แล้วยังพบว่า เซลล์เพชฌฆาตในคนที่เป็นมะเร็งอาจจะมีไม่เท่ากับคนปกติ ซึ่งในเซลล์เพชฌฆาตจะมี Granule อยู่ภายในน้อยมาก ทำให้การทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกายทำได้น้อยมาก ดังนั้น ถ้าใน Granule มีกระสุนอยู่เต็มพิกัดย่อมสามารถกำจัดมะเร็งและเชื้อโรคได้เต็มประสิทธิภาพ

เมื่อใส่สาร อะราบิน็อกซิแลน เฮมิเซลลูโลส (Arabinoxylan Hemicellulose) เข้าไป จะไปทำให้เซลล์เพชฌฆาตมี Granule มากขึ้น ซึ่งก็จะมีผลทำให้ไปทำลายเซลล์มะเร็งได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันนี้สามารถทำได้สำเร็จแล้ว ยังในอนาคตยังมีการคาดการณ์ไปถึงว่า จะสามารถเข้าไปทำลายไวรัสตับอักเสบซึ่งมีการติดเชื้อบ่อยครั้งได้ด้วย

ข้อมูลสำคัญของเซลล์เพชฌฆาต N.K. Cell
ในระบบภูมิคุ้มกันประกอบไปด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวมี B cell, T cell ทำหน้าที่คอยตรวจจับสิ่งแปลกปลอมที่สูงร่างกาย จดจำลักษณะของสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น และทำลายล้างให้หมดสิ้นเมื่อพบเห็น และยังมี NK cell อันชาญฉลาดที่ถูกค้นพบในช่วงทศวรรษที่ 70 คอยเฝ้าระวังและทำลายเซลล์แปลกปลอมที่หลุดรอดมาจาก B cell, T cell และเซลล์ผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายเอง ก่อนที่เซลล์เหล่านั้นจะมีโอกาสพัฒนาไปเป็นเนื้อร้ายและมะเร็ง

จากการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์พบว่า NK cell คือ เซลล์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการต่อต้านและจัดการกับเซลล์มะเร็งในร่างกาย ในรายของผู้ที่ NK cell มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ก็จะมีความสามารถในการป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งสูง ในขณะเดียวกันในรายของผู้ป่วยมะเร็งที่ NK cell มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ก็จะสามารถฟื้นตัวจากภาวะของการเจ็บป่วยได้เร็วขึ้นเช่นกัน รายงานการวิจัยทางการแพทย์ยังยืนยันด้วยว่า อัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยมะเร็งกับอัตราที่เพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพของ NK Cell สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ



แนวทางในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันจากสารอะราบิน็อกซิแลน เฮมิเซลลูโลส เนื่องจากสาร อะราบิน็อกซิแลน เฮมิเซลลูโลส (Arabinoxylan Hemicellulose) เป็นส่วนประกอบที่มาจากกากใยอาหาร ชนิด soluble fiber และมีประโยชน์ในการปรับสมดุลในร่างกาย เช่น การดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น ภาวะที่มีการรั่วซึมของเยื่อบุลำไส้ และช่วยในการขจัดอนุมูลอิสระ ทำให้มีประโยชน์ในหลายด้าน ทำให้สารนี้ใช้ในเชิงป้องกันและรักษาได้

สารอะราบิน็อกซิแลน เฮมิเซลลูโลส (Arabinoxylan Hemicellulose) จะเข้าไปช่วย กระตุ้นสร้าง Granule และหากได้รับสารนี้เข้าไปประมาณ 1 สัปดาห์ก็จะทำให้เกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้อย่างชัดเจน และผลสูงสุด 1 เดือนถ้าได้รับเข้าไปอย่างต่อเนื่อง

ในงานวิจัยล่าสุดจากสหรัฐอเมริกาพบว่า สามารถกระตุ้นกระบวนการ Apoptosis ในเซลล์มะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งทำลายตัวเองได้ ซึ่งจะมีผลทำให้เซลล์มะเร็งกลายเป็นเซลล์ผิดปกติ เมื่อทำลายตัวเองก็จะลดจำนวนลง อันจะเป็นการผิดธรรมชาติของการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง

ถ้าผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งและจะต้องทำการผ่าตัดมะเร็ง จะต้องมีขั้นตอนในการเตรียมเซลล์เพชฌฆาตให้พร้อม เพราะเมื่อมีการลงมือผ่าตัดแล้ว เซลล์มะเร็งจะกระจายไปทั่วทั้งร่างกาย (tumor seeding) หากมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องเซลล์เพชฌฆาตแล้วก็จะทำให้การกระจายตัวของเซลล์มะเร็งนั้นถูกทำลาย

การใช้ร่วมกับเคมีบำบัด จะเข้าไปเสริมประสิทธิภาพได้ โดยเคมีบำบัดจะไปทำลาย และตัวนี้จะเข้าไปเสริมภูมิคุ้มกันที่จะไปทำลายเซลล์มะเร็งอย่างต่อเนื่องได้ นอกจากนี้ยัง ลดผลข้างเคียง เช่น ผมร่วง ทำให้ไปเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และช่วยยืดชีวิตของผู้ป่วยได้ด้วย และหากใช้วิธีนี้ร่วมกับสเต็มเซลล์จะยิ่งได้ผลดี

ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสาร อะราบิน็อกซิแลน เฮมิเซลลูโลส (Arabinoxylan Hemicellulose) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน LENTIN PLUS 1000 เป็นชื่อหนึ่งที่ได้รับการรับรองแล้วว่าได้ผลดีในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยให้การทำงานของ Granule
ในเซลล์เพชฌฆาต N.K.Cell มีประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์มะเร็งและไวรัสได้มากยิ่งขึ้น LENTIN PLUS 1000 เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยอาศัยเส้นใยอาหารชนิดที่ละลายได้ในน้ำที่เรียกว่า “Hemicellulose B” เป็นวัตถุดิบหลัก ใน Hemicellulose B จะประกอบไปด้วย Arebinoxylan ซึ่งมี Xylose และ Arabinose เป็นโครงสร้างของน้ำตาล และมีน้ำหนักของโมเลกุลที่เบา คุณสมบัติในการกระตุ้นภูมิต้านทานของสาร Hemicellulose B จะสามารถให้ผลได้ดี
คุณลักษณะของ LENTIN PLUS 1000 เป็นสารสกัดจากธัญพืช มีส่วนผสมของ Biobran Arabinoxylan complex เป็นหลัก ที่ได้รับมาตรฐานความปลอดภัย (LD 50 > 36.0 g/kg) ลักษณะผลิตภัณฑ์เป็นผงสีน้ำตาลอ่อน สามารถละลายน้ำได้ดี เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของภูมิต้านทานในร่างกาย ช่วยทำให้ NK Cell ทำลายเซลล์ที่ผิดปกติได้มากขึ้น

ในการใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ จะต้องใช้ควบคู่ไปกับการรักษาโรคมะเร็ง เช่น ในขั้นตอนการรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี และการทำเคมีบำบัด ก่อนทำการรักษาจะต้องเพิ่มภูมิต้านทานให้แข็งแรง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการทำ Biopsy (การผ่าตัดตรวจชิ้นเนื้อ) ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเซลล์ ในขณะทำการรักษา อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดผลข้างเคียงภายหลังการรักษา

ขนาดบริโภคโดยทั่วไป สำหรับผู้ใหญ่จะอยู่ระหว่าง 500 มิลลิกรัมถึง 3000 มิลลิกรัม ต่อวัน ในกรณีที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอค่อนข้างมากหรือต้องการการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ควรบริโภคในปริมาณวันละ 1000 มิลลิกรัม แต่ถ้าเป็นกรณีที่ภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแออย่างรุนแรง เช่น ในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง ควรบริโภควันละ 3000 มิลลิกรัม ติดต่อกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 เดือน แล้วจึงลดการบริโภคลงเหลือวันละ 1000 มิลลิกรัม ในเดือนถัดไป การบริโภคอย่างต่อเนื่องจะส่งผลต่อการควบคุมประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันสูงสุด และหากหยุดการบริโภคประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันจะค่อยๆ ลดลง

เมื่อการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ทำให้การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเกิดขึ้น การคิดค้นวิธีในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันก็น่าจะเป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดี เช่นเดียวกับการรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัด ที่จะไปทำลายเซลล์มะเร็งและเซลล์ผิดปกติในเวลาเดียวกัน การที่มีสารอะราบิน็อกซิแลน เฮมิเซลลูโลส (Arabinoxylan Hemicellulose) ช่วยเข้าไปกระตุ้นเซลล์เพชฌฆาตในร่างกายก็น่าจะเป็นการช่วยลดการกระจายเซลล์มะเร็งในร่างกายได้ดี

นับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง




 

Create Date : 16 มกราคม 2551    
Last Update : 16 มกราคม 2551 15:55:05 น.
Counter : 4676 Pageviews.  

ระบบภูมิคุ้มกันและสารปรับภูมิคุ้มกัน

ที่มา : //www.gpo.or.th/rdi/html/immunesystem.html

เรียบเรียงโดย : สิริภรณ์ ศิริแสงเลิศ, กลุ่มวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์

รอบๆ ตัวเราเต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อโรคเล็กๆ มากมายที่ตาของเราไม่สามารถมองเห็นได้ มนุษย์ต้องสัมผัสกับเชื้อโรคตั้งแต่อยู่ในครรภ์ คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า รอบๆ ตัวเรามีเชื้อโรคมากมาย และในแต่ละวันเราสัมผัสกับเชื้อโรคอย่างนับไม่ถ้วน แต่ทำไมเราไม่เจ็บป่วย เพราะเชื้อโรคเหล่านั้น หรือหากจะเจ็บป่วยบ้างแต่ก็ไม่บ่อยนัก

การที่เราไม่เจ็บป่วยง่ายๆ เพราะร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกัน (หรือภูมิต้านทาน) คอยปกป้องอยู่ ระบบภูมิคุ้มกันเป็นกลไกการป้องกันตนเองอย่างหนึ่งของร่างกาย เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายและอาจเป็นโทษ สิ่งแปลกปลอมนอกจากจุลินทรีย์แล้ว ได้แก่ สารเคมีจากธรรมชาติ เช่น จากพืช จากอาหาร หรือสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้น ตลอดจนฝุ่นละออง ขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้ต่างๆ ระบบภูมิคุ้มกันก็จะออกมาต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น ร่างกายจึงอยู่ได้อย่างปกติสุข แต่หากในกรณีที่การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันประสบความล้มเหลว ร่างกายก็จะถูกคุกคามด้วยโรคภัยไข้เจ็บ โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็ง เป็นต้น

ระบบภูมิคุ้มกันและการตอบสนองต่อเชื้อโรค
แต่ละคนมีวิธีการป้องกันที่ธรรมชาติให้มานั้นใกล้เคียงกันแต่ความสมบูรณ์และ
ประสิทธิภาพในการทำงานของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป ระบบที่ใช้เพื่อทำหน้าที่ป้องกันโรคของร่างกายนี้เรียกว่า ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (immune system) ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ภูมิคุ้มกันแบบไม่เฉพาะเจาะจงที่มีโดยธรรมชาติ (native immunity หรือ
natural resistance)
เป็นภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด กลไกการป้องกันแบ่งออกเป็น
1.1 ลักษณะป้องกันทางกายวิภาค (anatomical barrier) เช่น ผิวหนัง และเยื่อบุผิว
1.2 สารเคมีในร่างกาย (chemical factor) เช่น น้ำตา น้ำลาย สารคัดหลั่งจากเซลล์เยื่อบุจมูก น้ำย่อย
1.3 การสะกดกลืนกิน (phagocytosis) เซลล์ที่ทำหน้าที่ ได้แก่ neutrophil,
monocyte, macrophage เป็นต้น
1.4 ระบบคอมพลีเมนต์ (complement system) คือกลุ่มของโปรตีนในซีรั่มมากกว่า 20 ชนิด ที่ในภาวะปกติจะอยู่ในรูป inactive form แต่เมื่อถูกกระตุ้นจาก antigen-antibody complex หรือ immune complex จะทำให้เกิดการกระตุ้นเชื่อมโยงต่อๆ ไป และ products ที่เกิดขึ้นจับเป็นคอมเพล็กซ์ที่เมมเบรนและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่กลับคืนไม่ได้ของเมมเบรนทั้งหน้าที่และรูปร่าง ทำให้เซลล์เกิดการแตกสลาย นอกจากนั้น biological products ที่เกิดขึ้นจะมีผล
ให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆ ตามมามากมาย เช่น inflammation, anaphylaxis
2. ภูมิคุ้มกันแบบเฉพาะเจาะจง (specific acquired immunity) จะแบ่งวิธีการตอบสนองออกเป็น 2 ระบบใหญ่ คือ
- humoral immune response (HIR) คือกระแสเลือดและกระแสน้ำทั่วร่างกาย โดยอาศัยการสร้าง antibody (Ab) จาก B-lymphocyte ซึ่งมีกำเนิดจากไขกระดูก ในตอนแรกจะอยู่ในรูป pre-B-cell จากนั้นย้ายไปที่ lymphoid tissue เพื่อพัฒนาเป็น B-lymphocyte ที่เจริญเต็มที่จึงถูกปล่อยออกมาสู่กระแสเลือดและไปตาม lymphoid tissue ต่างๆ เข้าสู่กระแสน้ำเหลืองทั่วร่างกายเพื่อทำหน้าที่ เมื่อมี immunogen เข้ามาและทำการตอบสนองก็จะเปลี่ยนแปลงไปเป็น blast cell และ plasma cell ตามลำดับเพื่อทำหน้าที่สร้าง antibody ที่จำเพาะต่อ immunogen แต่ละชนิด
- cell-mediated immune response (CMIR) คือด้านพึ่งเซลล์ เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการตอบสนองนี้คือ T lymphocyte ซึ่งต้นกำเนิดก็มาจากไขกระดูกเช่นเดียวกับ B lymphocyte โดยในตอนแรกจะเป็น pre-T-cell จากนั้นจึงพัฒนาผ่านทาง thymus gland มาเป็น T-cell ที่สมบูรณ์ นอกจากนี้การตอบสนองอาจเกิดจากปฏิกิริยาของ mediators ที่ปล่อยออกมา (lymphokines) หรือร่วมกับเซลล์อื่นๆ เช่น killer cell (K cell), natural killer cell (NK cell), macrophage

เม็ดเลือดขาว (leucocyte) แบ่งเป็น
1. polymorphonuclear granular leucocyte (PMN) เช่น neutrophil,
eosinophil, basophil
2. non-granular leucocyte เช่น lymphocyte, monocyte โดย lymphocyte
จะเจริญต่อไปเป็น
2.1 T lymphocyte มีหน้าที่คือ
1. ทำลายเซลล์เป้าหมาย เช่น เซลล์เนื้องอก เซลล์มะเร็ง เป็นต้น
2. มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ ผลิต lymphokines ชนิด
ต่างๆ เพื่อช่วย B lymphocyte สร้าง antibody และช่วย T lymphocyte ชนิดอื่น, NK cell, phagocyte ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอม นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ควบคุมการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันไม่ให้มากเกินไป โดยการหลั่ง suppressor factor
2.2 B lymphocyte เป็นต้นกำเนิดของ plasma cell ซึ่งเป็นเซลล์สำคัญในการผลิต antibody

1. NK cell (Natural Killer Cell) เป็น large granular lymphocyte ที่ต่างจาก T, B lymphocyte คือสามารถเข้าทำลายเซลล์แปลกปลอมได้โดยไม่ต้องอาศัย antibody คือไม่ต้องมีความจำเพาะระหว่างมันและเซลล์แปลกปลอม การทำงานที่แตกต่างกันนี้จึงถูกเรียกว่า non specific cell-mediated cytotoxicity

2. K cell (Killer Cell) การทำงานต่างจาก NK cell คือ จะทำลายเซลล์แปลกปลอมด้วยวิธี ADCC (Antibody dependent cell-mediated cytotoxicity)

3. Phargocyte ได้แก่ neutrophil, eosinophil, monocyte และ
macrophage ทำให้เกิดกระบวนการ phagocytosis คือ กินและทำลายสิ่งแปลกปลอม เมื่อเซลล์เหล่านี้มาถึงจะเคลื่อนตัวไปหาสิ่งแปลกปลอมนั้น (chemotaxis) แล้วประกบติด (attachment) ต่อมาจะกลืน (ingestion) แล้วจึงมีการย่อย (intracellular digestion) ด้วยกลไกหลายอย่างในเซลล์ แล้วจึงปล่อยสิ่งแปลกปลอมที่ถูกทำลายแล้วออกไปจากเซลล์ (elimination)

4. Mediator cell ได้แก่ mast cell, basophil ใน granule มีสารหลายอย่างที่สำคัญคือ histamine และ SRS-A (Slow Reactive Substance of Anaphylaxis) ทำให้มีบทบาทสำคัญในปฏิกิริยาการแพ้ต่างๆ

5. Interferon (IFN) เป็นกลุ่มของโปรตีน มี 3 ชนิด คือ
- interferon alpha ได้จาก leucocyte และ lymphoblastoid cells
- interferon beta ได้จาก fibroblast
- interferon gamma ได้จาก T lymphocyte
IFN จัดเป็น lymphokines ตัวหนึ่งที่มีผลปรับปรุงภูมิคุ้มกันระบบ CMIR เช่น เพิ่ม microphage activity เพิ่ม cytotoxicity ของ macrophage และ NK cell เพิ่มการสร้าง antibody ของ B cell เป็นต้น

6. Interleukin (IL) เป็นสารโปรตีนที่หลั่งมาจาก leucocyte มีทั้ง IL1, IL2, IL3, IL4 โดย IL1 มีฤทธิ์เพิ่ม proliferation ของ B lymphocyte กระตุ้น NK cell chemotaxis เป็นต้น ส่วน IL2 มีฤทธิ์เพิ่ม proliferation ของ T lymphocyte กระตุ้นการสร้าง antibody กระตุ้น NK cell เป็นต้น

ความต้านทานโรคที่ต่างกันขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ
1. กรรมพันธุ์ ปัจจัยนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ละคนมีระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่ต่างกัน ฉะนั้นหากพ่อแม่มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ลูกก็ย่อมจะมีภูมิคุ้มกันที่ดีด้วย หากพ่อแม่มีภูมิคุ้มกันบางจุดบกพร่อง ลูกก็อาจได้รับการถ่ายทอดในจุดที่บกพร่องได้เช่นกัน แต่โดยทั่วๆ ไปภูมิคุ้มกันก็จะได้มาตรฐานในระดับหนึ่ง

2. สุขภาพร่างกาย เมื่อได้รับเชื้อโรค ร่างกายจะต้องสร้างสารภูมิคุ้มกันได้เร็วและมากพอจึงจะกำจัดเชื้อโรคได้ ถ้าร่างกายอ่อนแอก็ทำให้ระบบอ่อนแอไปด้วย การสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายก็ไม่ค่อยดี จึงเกิดการเจ็บป่วยขึ้น

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
ถึงแม้แต่ละคนจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์มาต่างกัน แต่ก็สามารถมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีได้เหมือนกัน โดยหลักการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันง่ายๆ มีดังนี้คือ
1. อาหาร กินอาหารให้ครบทุกหมู่และเพียงพอ และอาหารที่กินควรมีคุณภาพดี เช่น สด สะอาด ปนเปื้อนน้อยที่สุด ไม่กินอาหารหมักดอง อาหารที่ทอดหรือย่างจนไหม้เกรียม

2. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น มีการแตกแขนงของหลอดเลือดในเนื้อเยื่อต่างๆ มากขึ้น ทำให้เม็ดโลหิตขาวหรือภูมิคุ้มกัน เข้าสู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ง่าย เมื่อมีเชื้อโรคเข้ามาก็เข้าไปจัดการได้เร็ว

3. ทำจิตใจให้เบิกบาน จิตใจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน หรือสารสุขในร่างกาย สารนี้พอหลั่งออกมาทำให้ระบบการทำงานของเซลล์ดีขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากจิตใจห่อเหี่ยวเศร้า เป็นทุกข์ ร่างกายจะหลั่งสารทุกข์ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ดี ร่างกายอาจเจ็บป่วยได้ สารเอ็นดอร์ฟินจะหลั่งเมื่อจิตใจมีความสุข สงบ เบิกบาน ฉะนั้นการคิดแต่สิ่งดีๆ คิดช่วยเหลือผู้อื่น คิดในแง่บวก ก็เป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเช่นกัน

ปัจจุบันมีการนำความรู้ทางระบบภูมิคุ้มกันมาใช้ในการรักษาโรค (immunotherapy) โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น โรคมะเร็ง และโรคเอดส์ การค้นคว้าวิจัยหาสารที่มีฤทธิ์ปรับภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงเป็นสิ่งจำเป็น

สารปรับปรุงภูมิคุ้มกัน (immunomodulators) คือ สารใดๆ ก็ตามทั้งที่เป็นสารชีวภาพ (biological) และไม่ใช่สารชีวภาพที่มีผลโดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ หรือมีผลเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบใดๆ ของ immunoregulatory network ทำให้มีผลทางอ้อมต่อระบบ
ภูมิคุ้มกันอีกต่อหนึ่ง สารปรับปรุงภูมิคุ้มกันมีความสำคัญมากขึ้นเนื่องมาจากการระบาดของไวรัส HIV ซึ่งทำให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS, aquired immunodeficiency syndrome) เพราะว่าเชื้อ HIV จะเข้าทำลาย helper T cell หากจะสรุปประโยชน์ของสารปรับปรุงภูมิคุ้มกันก็คือ

1. รักษาผู้ป่วยมะเร็ง เพราะผู้ป่วยมะเร็งทุกคนจะมีความบกพร่องในระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีอัตราการเกิดมะเร็งมากกว่าคนปกติถึง 200 เท่า เพราะฉะนั้นเมื่อเราเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ดีด้วยสารปรับปรุงภูมิคุ้มกันจึงรักษาผู้ป่วยมะเร็งได้ โดยจะไปเพิ่มการตอบสนองของร่างกายโดยตรงต่อเซลล์มะเร็งคือ จะเพิ่มจำนวนและ/หรือ activator ของ effector cells หรือไปเพิ่มการหลั่ง mediators เช่น lymphokines จาก T cell

2. ใช้รักษาโรค AIDS โดยเชื้อ HIV จะทำลาย helper T cell ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคติดเชื้อ โรคมะเร็งได้ง่ายกว่าปกติ รุนแรงและรักษายากด้วย นอกจากนี้เชื้อ HIV ยังทำให้เซลล์อื่นๆ ผิดปกติด้วยเช่น NK cell และการผลิต lymphokines เปลี่ยนแปลง

3. เป็นยาต้านไวรัส เช่น interferon (IFN) สามารถป้องกันไม่ให้ uninfected cell ติดเชื้อไวรัส สารปรับปรุงภูมิคุ้มกันของร่างกายมีหลายชนิด สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้
1) สารปรับปรุงภูมิคุ้มกันที่เตรียมจากจุลินทรีย์ เช่น Bacillus Calmette Guerin
(BCG) เป็นวัคซีนกระตุ้น macrophage ให้ดุร้ายขึ้นและทำลายเชลล์มะเร็งดีขึ้น, -1,3 glucan จากผนังเซลล์ Saccharomyces cerevisiae จะช่วยกระตุ้น reticuloendothelial system (RES) ทำให้มีการสร้าง granulocyte และ monocyte เพิ่มขึ้น, Corynebacterium parvum, muramyldipeptide dipeptide, lentinan เป็นต้น

2) Thymic Hormones เช่น thymosins, thymichormone factors และ
hormone-like factors

3) สารสังเคราะห์ เช่น retinoids, levamisole, isoprinosin

4) Interferons และ interferon inducers เช่น ไวรัส แบคทีเรีย สารสกัดจากรา
เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง
1. ปริ่มเฉนียน มุ่งการดี. ภูมิคุ้มกันวิทยาและระบบภูมิคุ้มกัน. เภสัชจุลชีววิทยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2531.

2. อัครพล แก้วมาลี และอุไรวรรณ โรจน์สังวาล. สารชีวภาพที่มีฤทธิ์ปรับภาวะภูมิคุ้มกันทางร่างกาย I. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2534.

3. //www.allergy.or.th/cover/immunology.html

4. //thaiabonline.com/immunosystem.htm




 

Create Date : 28 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2550 15:32:26 น.
Counter : 8214 Pageviews.  

ความรู้เบื้องต้นของระบบภูมิคุ้มกัน

ที่มา : //www.nhrbc.org/HIV_vaccine/paper16.2.html

เรียบเรียงโดย : รวงผึ้ง สุทเธนทร์

ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์มีอยู่ทั่วร่างกาย เปรียบเหมือนกองทัพทหารที่ป้องกันประเทศ ประกอบด้วย ต่อมน้ำเหลือง (เป็นที่อยู่ของเซลล์เม็ดเลือดขาว) คือ หน่วยทหาร และท่อน้ำเหลือง ที่ภายในจะเป็น น้ำเหลือง และเซลล์เม็ดเลือดขาว เชื่อมต่อระหว่างต่อมน้ำเหลืองด้วยกันเอง และเชื่อมต่อเข้ากับเส้นเลือด คือ เส้นทางเดินทัพของทหาร ม้าม ไขกระดูก ต่อมทอนซิล Payer's patch ที่อยู่ตามเยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นที่ตั้งฐานทัพของทหาร
สิ่งแปลกปลอมต่างๆรวมทั้งจุลชีพก่อโรคจะผ่านเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองจากตำแหน่งที่เข้าสู่ร่างกาย เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองเฉพาะที่ และผ่านทางเส้นเลือดและท่อน้ำเหลืองกระจายไปทั่วร่างกาย

เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน
เซลล์ที่ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกัน สร้างมาจาก stem cells ที่อยู่ในไขกระดูก แบ่งเป็น
1) เซลล์ที่ทำหน้าที่กินสิ่งแปลกปลอม เช่น macrophage, monocyte, neutrophil
2) เซลล์ที่มี granule จำนวนมาก ได้แก่ eosinophil, basophil และ
3) เซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็กที่เรียกว่า เซลล์ลิมโฟไซท์ (lymphocyte) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ B cells และ T cells

B cells ทำหน้าที่ผลิตภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำที่เรียกว่า แอนติบอดี โดยที่ B cell จะถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจน แล้วจึงเปลี่ยนเป็น plasma cells เพื่อสร้างแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนนั้น

T cells ทำหน้าที่ด้านการตอบสนองทางด้านเซลล์ เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือจุลชีพแบ่งเป็น

1) เซลล์ CD4 หรือ helper T (Th) cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีแอนติเจนชนิด CD4 บนผนังเซลล์ ทำหน้าที่ส่งเสริมเรียกเซลล์เม็ดเลือดขาวอื่น เช่น B cell ในการสร้างแอนติบอดีจำเพาะ และ T cells เพื่อการเปลี่ยนเป็น cytotoxic T cells (CTL) ดังนั้น CD4+ T cells จึงมีความสำคัญมาก เพราะมีส่วนร่วมในการทำให้มีภูมิคุ้มกันทั้งแบบเซลล์และสารน้ำ

2) เซลล์ CD8 หรือ killer cells หรือ suppressor cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีแอนติเจนชนิด CD8 บนผนังเซลล์ ทำหน้าที่ทำลายเซลล์ที่ผิดปกติหรือที่ติดเชื้อจุลชีพ

เซลล์เม็ดเลือดขาวพวกนี้จะรู้ได้ว่าเซลล์ชนิดใดเป็นสิ่งแปลกปลอม จากที่เซลล์ชนิดนั้นไม่มีโมเลกุลที่ผิวเซลล์ HLA class I ชนิดเดียวกับเซลล์เม็ดเลือดขาวนั้น ส่วนสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เรียกว่า แอนติเจน (antigen) และตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า epitope แบ่งเป็น B-cell epitope กระตุ้น B-cell เพื่อสร้างแอนติบอดีจำเพาะ และ T-cell epitope กระตุ้น T-cell

แอนติบอดี
แอนติบอดี หรือ อิมมูโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนที่มีรูปร่างคล้ายตัว Y เปรียบเหมือนรถยนต์ ที่จะเปลี่ยนสีและรูปร่าง ตามลักษณะของเชื้อโรคที่จำเพาะนั้นๆ โดยที่ส่วนยอดของตัว Y จะมีความหลากหลายมากไม่เหมือนกันในแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด เรียกว่า variable region เป็นตำแหน่งที่จับกับแอนติเจน ส่วนที่โคนตัว Y ของโมเลกุลแอนติบอดีจะบ่งบอกถึงชนิดของแอนติบอดีว่าเป็น class ไหน เช่น IgG, IgA, IgM, IgD, IgE เรียกว่า constant region แอนติบอดีกระจายอยู่ตามท่อน้ำเหลือง และเส้นเลือด แอนติบอดีจะจับกับสิ่งแปลกปลอม หรือจุลชีพที่เข้ามาในร่างกาย เพื่อการทำลายจุลชีพนั้นๆ แอนติบอดีชนิด secretory IgA จะอยู่ตามช่องเยื่อบุต่างๆ ในน้ำตา น้ำลาย สารหลั่งในช่องทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ท่อปัสสาวะ ช่องคลอด เป็นต้น เพื่อยับยั้งไม่ให้จุลชีพ หรือสิ่งแปลกปลอมผ่านเข้าร่างกายทางเยื่อบุ

Cytokines
เป็นโปรตีนที่สร้างจากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อสื่อสารกันระหว่างเซลล์ cytokines ที่สร้างจาก T- และ B- cells ที่เรียกว่า lymphokines ได้แก่ interleukin (IL)และ interferon ส่วนที่สร้างจาก monocytes และ macrophage เรียกว่า monokines โดย cytokines ที่หลั่งออกมาอาจทำหน้าที่เรียกเซลล์เม็ดเลือดขาวให้มารวมกันที่ตำแหน่งที่มีสิ่งแปลกปลอม กระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ ทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันมีการเปลี่ยนแปลง และ ทำลายเซลล์



ระบบ Complement
เป็นระบบที่ประกอบด้วยการทำงานอย่างต่อเนื่องของโปรตีนหลายชนิด เพื่อช่วยแอนติบอดีในการทำลายแบคทีเรีย โดยที่โปรตีนเหล่านี้อยู่ในกระแสเลือดในรูปของ inactive form ปฏิกิริยา complement เริ่มจาก โปรตีน C1 ถูกกระตุ้นด้วยแอนติบอดีที่จับกับแอนติเจนเป็น antigen-antibody complex แล้วจึงมีการกระตุ้นโปรตีนในระบบอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เซลล์เสียสมดุลของภายในเซลล์ ด้วยการเกิดรูที่ผิวเซลล์ เซลล์จึงถูกทำลาย

Major histocompatibility complex (MHC)
Peter Gorer เป็นผู้กล่าวถึง MHC ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1936
เกี่ยวกับแอนติเจนที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงของหนู ต่อมามีการศึกษาต่อว่าแอนติเจนในกลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับกลุ่มแอนติเจนที่สำคัญกับการรับหรือ
ต่อต้านการเปลี่ยนอวัยวะ ที่เรียกว่า histocompatibility antigens และเรียกชื่อว่า
histocompatibility-2 (H-2) จนกระทั่งในช่วงปลายทศวรรษ 1960 จึงพบความเกี่ยวข้องแอนติเจนนี้กับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน
และแบ่งเป็นสองชนิดตามตำแหน่งบนยีน เป็น class I และ class II

ในมนุษย์มีการพบว่า human leukocyte antigen (HLA) system นั้นเป็นกลุ่มของยีนที่สร้างแอนติเจนเหมือน MHC genes ในหนู โดยที่ class I คือ HLA-A, -B, -C และ class II คือ HLA-DP, DQ และDR แอนติเจนทั้งสอง classes ถูกสร้างอยู่ที่ผิวเซลล์ เกี่ยวข้องกับแอนติเจนที่แสดงว่าเซลล์นั้นเป็นเซลล์ของตัวเอง ปกติแอนติเจน MHC class I จะพบเพียง 1% ของโปรตีนที่อยู่ที่ผิวเซลล์ทั่วไป แต่จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นด้วย cytokines บางชนิด เช่น interferon gamma สำหรับ Class II MHC อยู่ที่ผิวเซลล์เฉพาะ เช่น dendritic cells, macrophage, B cells, activated T-cells

Natural killer หรือ NK cells
อินเตอร์เฟอรอน (Interferon) ที่ถูกสร้างขึ้นจากเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส กระตุ้นให้เซลล์ NK เพิ่มจำนวน ซึ่งจะไปทำลายเซลล์ติดเชื้อไวรัสแบบไม่จำเพาะ โดยไวรัสทำให้โมเลกุล MHC1 ที่ผิวเซลล์ลดลง เซลล์ NK จะทำลายเซลล์นั้นแต่ไม่ทำลายเซลล์ที่มีโมเลกุล MHC1 เป็นปกติ นอกจากนี้เซลล์ติดเชื้อไวรัสที่มีแอนติบอดีมาจับที่ผิวเซลล์ตรงที่มีส่วน epitopes ของไวรัสปรากฎอยู่ จะทำให้เซลล์ NK และ CTL มาทำลายเซลล์นั้นได้ เรียกว่า Antibody dependent cellular cytotoxicity (ADCC)

การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อจุลชีพ
จุลชีพที่จะผ่านเข้าสู่ร่างกาย อาจผ่านเข้าทางผิวหนัง หรือเยื่อบุต่างๆ ซึ่งเป็นที่ๆมีการป้องกันด้วยคุณสมบัติทางกายภาพของผิวหนังและเยื่อบุเอง โดยเป็นด่านแรกของระบบการป้องกันการเข้าสู่ร่างกายจากจุลชีพ ซึ่งจะเป็นแบบ innate immunity ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ประกอบด้วยเซลล์ชนิด phagocytes เช่น เซลล์ macrophage dendritic และ granulocytes เป็นต้น ทำหน้าที่กินและทำลายสิ่งแปลกปลอม แอนติบอดีชนิด IgA และสารหลั่งที่เคลือบตามเยื่อบุ มี lysozyme, lactoferin, หรือภาวะเป็นกรด หรือการเคลื่อนไหวที่บริเวณของผิวเยื่อบุ เช่น การทำงานของ cilia ที่เยื่อบุ การไอ การปัสสาวะจะพัดพาจุลชีพออกมา โดยปกติตามเยื่อบุและผิวหนังก็มีจุลชีพอยู่แต่ไม่ผ่านเข้าสู่ร่างกายเพราะ innate immunity นี้ จุลชีพที่สามารถผ่านเข้าร่างกายทางชั้นผิวหนังหรือเยื่อบุต้องมีคุณสมบัติพิเศษที่จะผ่านการทำลายด้วย non-specific defenses หรือเป็นภาวะที่ผิวหนังและเยื่อบุขาดคุณสมบัติที่จะป้องกัน เช่น เป็นแผล
การเกิดภาวะอักเสบ (inflammation response) เป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันชนิดไม่จำเพาะที่สำคัญ เกิดจากกลุ่มเซลล์ที่ถูกทำลายโดยจุลชีพ เซลล์ phagocytes ที่จับกินจุลชีพ หรือสิ่งแปลกปลอม และเซลล์ mast ที่ถูกกระตุ้นจากระบบ complement โดยที่เซลล์ต่างๆเหล่านี้จะหลั่งสารเคมีต่างๆ ที่ทำให้เกิดการอักเสบ ได้แก่ เซลล์ mast หลั่ง histamine ทำให้เส้นเลือดขยายตัว (vasodilate) และผนังเส้นเลือดเปิดให้เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ถูกกระตุ้นออกมาจากเส้นเลือดเข้าสู่ตำแหน่งที่มีจุลชีพมากขึ้น prostaglandins ทำให้เส้นเลือดขยายตัว เกิดไข้และเจ็บปวด และ leukotrienes มีคุณสมบัติเป็น chemotaxis ดึงดูดเซลล์เม็ดเลือดขาวให้มายังบริเวณที่มีสารนี้อยู่ ทั้ง prostaglandins และ leukotrienes สร้างจากเซลล์เม็ดเลือดขาว และเซลล์ทั่วไปที่ถูกกระตุ้นโดยจุลชีพ นอกจากนี้เซลล์เม็ดเลือดขาว โดยเฉพาะ lymphocytes และ macrophage ที่มายังบริเวณที่ติดเชื้อจะหลั่ง cytokines ที่สำคัญในการตอบสนองแบบไม่จำเพาะ ได้แก่ interleukin 1 (IL-1) และ tumor necrosis factor (TNF) ที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ไข้ และที่สำคัญ คือ กระตุ้นให้มีเซลล์เม็ดเลือดขาวมามากขึ้น เพื่อการเกิดการตอบสนองระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะต่อไป หรือถ้าจุลชีพสามารถถูกทำลายหมดจะกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไป

Antigen Receptors
ทั้ง B- และ T- cells มีโมเลกุล receptors ที่ผิวเซลล์เพื่อจับกับแอนติเจน สำหรับ B-cell เป็นโมเลกุลของอิมมูโนโกลบูลินที่เกาะที่ผิวเซลล์ ส่วนของ T-cell คือ T-cell receptor, TRC หรือ CD3 เป็นโมเลกุลที่ซับซ้อนกว่า ที่จะจำและจับกับแอนติเจนที่หลากหลายถูกนำเสนอโดย antigen-presenting cell เท่านั้น

การกระตุ้น B Cells ให้สร้างแอนติบอดี
B-cell จะจับกับแอนติเจนที่จำเพาะด้วย antibody receptor ที่ผิวเซลล์ และนำส่วนแอนติเจนเข้ามาในเซลล์ เปลี่ยนแปลงและนำเสนอที่ผิวเซลล์ร่วมกับโมเลกุล HLA class II ซึ่งทำให้ T helper-cell มาจับและถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจนที่ถูกเสนอจาก B-cells T-cell หลั่งสาร lymphokines ที่ไปสั่งให้ B-cell เปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็น plasma cell เพื่อสร้างแอนติบอดีต่อไป
เมื่อเริ่มได้รับจุลชีพครั้งแรกแอนติบอดีจะถูกสร้างขึ้นมากจนถูกตรวจพบได้ภายใน 7-10 วันหลังจากที่ได้รับจุลชีพปริมาณของแอนติบอดีจะค่อยๆเพิ่มขึ้น และลดลงจนใกล้ระดับเมื่อเริ่ม เรียกการตอบสนองแบบนี้ว่า primary response เมื่อได้รับจุลชีพนั้นอีกครั้งระดับแอนติบอดีนี้จะสูงจนตรวจพบได้ภายใน 24 ชั่วโมง เรียกการตอบสนองแบบนี้ว่า secondary response
แอนติบอดียับยั้งการติดเชื้อ ด้วยการ neutralize กับจุลชีพนั้น โดยใช้ส่วนปลายโมเลกุลอิมมูโนโกลบุลินรูปตัว Y จับกับจุลชีพ ถ้าเป็นไวรัส จะทำให้ไวรัสนั้นไม่เข้าสู่เซลล์เป้าหมาย และกระตุ้นระบบ complement ทำลายจุลชีพ หรือกระตุ้นระบบ ADCC

การกระตุ้น T cells: Helper และ Cytotoxic
เมื่อ antigen-presenting cells (เช่น macrophage, dendritic cells) กินจุลชีพหรือสิ่งแปลกปลอม แอนติเจนจะถูกเปลี่ยนแปลงและนำเสนอที่ผิวเซลล์ร่วมกับโมเลกุล HLA class II ที่ไปจับกับ Th-cell ทำให้มีการหลั่ง lymphokines ซึ่งจะไปทำให้ T cells ชนิดต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลง เช่น Th cells เพิ่มจำนวนและเปลี่ยนแปลงเป็น memory cells CD8+ T cells เป็น cytotoxic T lymphocyte (CTL) ซึ่งจะไปทำลายเซลล์ติดเชื้อที่มีแอนติเจนของจุลชีพนั้นเสนอที่ผิวเซลล์ร่วมกับโมเลกุล HLA class I

จุลชีพบางชนิดเป็น intracellular เช่น ไวรัส และ mycobacteria เมื่อถูกกินด้วย macrophage จะไม่ถูกทำลายแต่จะอยู่ในเซลล์และเพิ่มจำนวนได้ แอนติบอดีจะไม่สามารถจัดการทำลายจุลชีพที่อยู่ภายในเซลล์ได้ จำเป็นต้องใช้เซลล์ CTLs มาทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสนี้ และหลั่งสาร cytokines ที่ทำให้ macrophage ทำลายจุลชีพ Mycobacteria ได้ perforin ซึ่งเป็นโปรตีนที่ถูกสร้างจากเซลล์ CTL ซึ่งถูกพบใน granules ภายในเซลล์ มีส่วนในการทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อ ทั้งแบบ apoptosis และ จากสาร cytokines ที่ถูกหลั่งจากเซลล์ CTL ด้วยเช่นกัน เช่น interferon-g (IFN- g) ที่ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในเซลล์ ด้วยการกระตุ้นเอนไซม์ 2 ชนิด คือ 2', 5' oligo-A synthetase ซึ่งไปทำให้เอนไซม์ Rnase L เปลี่ยนจาก inactive เป็น active form ย่อยยีโนมอาร์เอ็นเอ และ mRNAs ของไวรัส กับ เอนไซม์ p68 kinase ซึ่งไปทำให้ eIF-2a เปลี่ยนจาก active เป็น inactive form ยับยั้งการเริ่มสร้างโปรตีนของไวรัส tumor-necrosis factor (TNF) กระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเชื้อเอชไอวีโดยจับที่บริเวณ 5' long terminal repeat (LTR), chemokines ได้แก่ MIP-1a, MIP-b, RANTES ซึ่งไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัส ด้วยการแย่งจับกับ CCR5 เซลล์ CTL ยังสร้างสารยับยั้งไวรัส เรียกว่า CD8+ T-cell antiviral factor (CAF) ซึ่งไปยับยั้งการสร้าง mRNAs จากส่วน LTR ที่เป็น promoter ของเชื้อเอชไอวี

เมื่อ B- และ T- cells ถูกกระตุ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็น memory cells เมื่อเวลาผ่านไป เมื่อมีการนำเสนอแอนติเจนชนิดเดิมอีกครั้ง ระบบภูมิคุ้มกันที่มี memory B-, T- cells จะเข้ามาทำลายแอนติเจนนั้นอย่างรวดเร็ว การเกิดภาวะ Long-term immunity นี้อาจเกิดจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ หรือจากการได้รับวัคซีน

ในระยะแรกของการติดเชื้อ ปริมาณเซลล์ CTL จะเพิ่มขึ้นตามปริมาณไวรัสที่เพิ่มขึ้น จนถึงจุดสูงสุดซึ่งทำให้ปริมาณไวรัสในเลือดลดลง และความสัมพันธ์ของปริมาณ CTLs กับปริมาณไวรัสจะแปรผกผันกันตลอดระยะเวลาการติดเชื้อเอชไอวีจนกระทั่งเข้าสู่ระยะเอดส์

การหลบหลีกจากระบบภูมิคุ้มกันของเชื้อเอชไอวี ไวรัสมีวิธีหลบหลีกภูมิคุ้มกันของร่างกายต่างๆกัน จากทั้งปัจจัยของไวรัสและเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ในส่วนปัจจัยของระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ การลดปริมาณโมเลกุล MHC1 ที่ผิวเซลล์ที่ติดเชื้อ การเพิ่มจำนวนภายในเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน เช่น เชื้อเอชไอวี การเพิ่มจำนวนในที่ซึ่งเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันเข้าไปไม่ถึง เช่น herpes simplex virus แอบแฝงที่ปมประสาท เป็นต้น ส่วนทางด้านปัจจัยไวรัส ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงลักษณะของแอนติเจน ทำให้ epitopes เปลี่ยนไป จึงไม่ถูกกำจัดโดยระบบภูมิคุ้มกันเดิม การแพร่กระจายจากเซลล์ถึงเซลล์โดยไม่ออกมาข้างนอก เช่น respiratory syncytial virus

ปัญหาความล้มเหลวของระบบภูมิคุ้มกันในการทำลายเชื้อเอชไอวี ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีการดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไปจนเกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ โรคเอดส์ในระยะสุดท้ายนั้น อาจกล่าวได้ว่าตั้งแต่เมื่อแรกเริ่มได้รับเชื้อเอชไอวี ไวรัสไปเพิ่มจำนวนใน CD4+ T cells โดยเฉพาะเริ่มตั้งแต่ในต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันทั้ง B- และ T- cells ซึ่งก็จะทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันจำเพาะต่อเชื้อเอชไอวี เริ่มจาก T helper-cell ที่สร้าง cytokines ต่างๆ และกระตุ้น CD8+ T cell ให้เปลี่ยนเป็นเซลล์ CD8+ CTL และ B-cell ให้เปลี่ยนเป็น plasma cell เพื่อสร้างแอนติบอดีจำเพาะ โดยที่เซลล์ CTL ทำหน้าที่หลักในการกำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส ส่วนแอนติบอดีเป็น neutralizing antibody ที่ช่วยจับอนุภาคไวรัสอิสระที่หลุดออกมาจากเซลล์ไม่ให้เข้าไปในเซลล์ใหม่

โดยทั่วไปในการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ทั้งแอนติบอดีและเซลล์ CTL จะมีความสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อครั้งต่อไป แต่ในการติดเชื้อเอชไอวี ถึงแม้จะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นทั้งแบบเซลล์และสารน้ำแล้ว ไวรัสก็ยังคงไม่ถูกกำจัดออกไปจากร่างกาย และยังเพิ่มปริมาณมากขึ้นเป็นลำดับ โดยไวรัสจะเพิ่มจำนวนวันละประมาณ 10(11) อนุภาคต่อวัน ทำให้ระดับไวรัสเพิ่มขึ้น 0.1 log/ml และระดับเซลล์ CD4 ลดลงประมาณ 50-100 เซลล์/ม.ม. ต่อปี จึงมีผลทำให้เซลล์ที่ติดเชื้อ ซึ่งก็คือ เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ทั้ง T-cells และ macrophage ลดปริมาณลงเป็นลำดับ จนไม่สามารถทำงานเป็นปกติในการป้องกันการติดเชื้อจุลชีพอื่นๆ จึงเกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง นอกจากนี้ยังพบว่ามีการลดลงของเซลล์ CD4 ชนิด quiescent naive (CD45RA+CD62L+) แต่มีการเพิ่มของเซลล์ CD4 ชนิด activated/memory effector (CD45RO+) และมีการลดลงของ T-cell receptor และการทำงานก็เสียด้วย

การทำลายเซลล์ CD4+ ที่ติดเชื้อมีสาเหตุจากการเกิด apoptosis ซึ่งเป็นผลของโปรตีนไวรัสสองชนิด คือ โปรตีน Env และ Vpr การสูญเสียหน้าที่ของเซลล์เมมเบรนจากการเกิด syncytial formation และจากการสะสมของโพรไวรัลดีเอ็นเอที่อยู่ในไซโตพลาสม รวมถึงการทำลายจากระบบภูมิคุ้มกัน ส่วนการทำลายของเซลล์ CD4+ ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี มีสาเหตุจาก โปรตีน Env (gp120) ที่ลอยอยู่ในกระแสเลือดไปจับกับ โมเลกุล CD4+ ของเซลล์ที่ไม่ติดเชื้อ ทำให้ถูกทำลายโดย apoptosis จากเซลล์ CTL หรือการเกิด syncytia กับเซลล์ที่ติดเชื้อ

เชื้อเอชไอวีมีการกลายพันธุ์สูง เนื่องจากการทำงานของเอนไซม์ reverse transcriptase ของไวรัสที่เปลี่ยนยีโนมของไวรัสจากอาร์เอ็นเอ เป็น ดีเอ็นเอ ไม่มีการตรวจสอบ nucleotide base ที่ใส่เข้าไป ทำให้มีการผิดพลาดไป 1 เบส ต่อการ replication 1 ครั้ง ผลก็คือแอนติเจนของไวรัสที่นำเสนอต่อเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันเปลี่ยนไปตลอดเวลา จนเซลล์ CTL ไม่สามารถทำลายเซลล์ติดเชื้อได้ทัน และที่สำคัญ คือ แอนติเจนตรงที่เป็น T-cell epitopes อาจเปลี่ยนไปจนไม่สามารถถูกนำเสนอร่วมกับโมเลกุล HLA หรือถูกเสนอร่วมกับ HLA แต่มีรูปร่างที่ผิดไป ทำให้ killer cells หรือเซลล์ CTL จดจำไม่ได้และไม่ทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อนั้น หรือแอนติเจนที่เปลี่ยนไปจนไม่เหมาะที่จะจับกับโมเลกุล receptor บนผิว T-cells ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้เซลล์ CTL ไม่สามารถควบคุมกำจัดเชื้อเอชไอวีได้ ซึ่งเหมือนกับไวรัสที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อแบบ persisting ชนิดอื่น แต่กลไกต่างกัน เช่น Epstein Barr virus ใช้กลยุทธ์ไม่สร้างโปรตีนของไวรัสในเซลล์ที่ติดเชื้อ แอบแฝงอยู่ อย่างไรก็ตามการทำงานของเซลล์ CTL จะต้องถูกส่งเสริมด้วย Th-cells ซึ่งก็ถูกทำลายเป็นลำดับในระหว่างการติดเชื้อเอชไอวี จึงทำให้ การทำงานของเซลล์ CTL ก็ลดลงเป็นลำดับภายหลังการดำเนินการของโรคผ่านไป ในผู้ติดเชื้อบางราย โมเลกุล HLA อาจสามารถนำเสนอแอนติเจนในส่วนที่ไม่กลายพันธุ์ได้ (conserved region) ทำให้เชื้อเอชไอวีถูกควบคุมด้วย CTL ได้ดี จึงมีการดำเนินโรคแบบ non-progressor หรือ ไวรัสเองอาจเป็นชนิดที่กลายพันธุ์ไปไม่ได้มาก ก็จะทำให้ถูกกำจัดได้ง่าย ในภาวะที่ไม่มี killer cells ผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็จะมีการดำเนินโรคเข้าสู่ระยะสุดท้ายเป็นเอดส์อย่างรวดเร็ว

ภูมิคุ้มกันที่สำคัญในการควบคุมกำจัดการติดเชื้อไวรัส คือ killer T cells ร่วมกับแอนติบอดีจำเพาะ การทำงานที่ล้มเหลวของ killer T cell ทำให้เกิดภาวะการติดเชื้อเอชไอวีแบบ persistent ดังนั้นการผลิตวัคซีนเอดส์ต้องมุ่งเน้นเรื่องการกระตุ้นภูมิคุ้มกันทั้งแบบเซลล์และสารน้ำ (CMI และ HI) แอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อเอชไอวีอาจทำให้เชื้อเอชไอวีเข้าสู่เซลล์แมโครฟาจได้ง่ายด้วยวิธี opsonization ส่วนเซลล์ CTL ทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อเอชไอวี ดังนั้นหลังจากที่ได้รับเชื้อภูมิคุ้มกันจะควบคุมปริมาณของเชื้อเอชไอวีได้ชั่วคราว เซลล์ที่ติดเชื้อจะถูกทำลายด้วยเซลล์ CTL และแอนติบอดีป้องกันเซลล์ใหม่ไม่ให้ติดเชื้อ แต่ก็มีเซลล์ใหม่ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

เอกสารประกอบการเรียบเรียง
1. Paul WE. Fundamental Immunology. Lippincott-Raven, 1999:1-19.
2. Abbas AK, Litchtman AH, Pober JS. Cellular and molecular immunology. W.B. Saunder Co., 1997:1-20.
3. McCune JM. The dynamic of CD4+ T cell depletion in HIV disease. Nature 2001;410:974-9.





 

Create Date : 28 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2550 15:13:13 น.
Counter : 854 Pageviews.  


muansuk
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 84 คน [?]




blog counter
blog counterDiseño Web
Share on Facebook



 Follow Me on Twitter
 คลิ๊ก


 ลงนามสมุดเยี่ยม muansuk blog ครับ คลิ๊ก




“ทาน ศีล ภาวนา ธรรมทั้ง 3 นี้
เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์
และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา”

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต




“ถ้าเรารู้เรื่องธรรมดาของโลก และรู้จักความเป็นจริงของธรรมแล้ว
เราก็จะไม่ต้องมีความยุ่งยากในการเป็นอยู่
เรื่องภายนอกนั้น ถึงเราจะศึกษาให้มีความรู้สักเท่าไรๆ
ก็ไม่ทำให้เราพ้นจากทุกข์ได้
สู้การเรียนรู้จิตใจของตนอยู่ภายในวงแคบๆ นี้ไม่ได้”

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร




“… อย่าไปอยากรู้เรื่องของคนอื่นมันเป็นทุกข์
ให้สนใจเรื่องของตัวเอง
คือเรื่องของกายกับใจ
ดูให้มันชัด …”

หลวงปู่เพียร วิริโย




“… สิ่งใดมันล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นมันก็ล่วงไปแล้ว หมดไปแล้ว
ไม่ควรเอามาคิด มาติดอยู่ในใจ ละทิ้งให้หมด
ส่วนว่าอารมณ์อันเป็นอนาคตกาล
ดีร้ายประการใด ทั้งทางโลก และทางธรรม
สิ่งนั้นก็ยังอยู่ข้างหน้า คือยังไม่มาถึง
เวลาปัจจุบัน คือ เป็นเวลาเรานั่งภาวนา ฟังธรรม
สงบกาย สงบวาจา สงบจิต สงบใจ อยู่นี้แหละ
เป็นธรรมะปัจจุบัน ให้ระลึกภาวนาทุกลมหายใจเข้าออก...”

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร




“... ให้รักษาศีล
ให้รู้จักพิจารณา เกิด แก่ เจ็บ ตาย
รู้จักแก้ไขจิตของตน ... ”

หลวงปู่จาม มหาปุณฺโญ





หลวงพ่อชา สุภทฺโท : ปล่อยวาง 1





พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร : ธรรมสู่ใจ





หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ : ไม่ยอมละ





ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download): หนังสือมุตโตทัย-อาจาโรวาท โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร (PDF) (9.25 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ฝากไว้ บันทึกคติธรรมและธรรมเทศนาของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล (โดย พระโพธินันทมุนี) (PDF) (625 KB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมธาตุ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (13.38) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือชาติสุดท้าย (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (6.97) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพ่อแม่ครูอาจารย์ ชีวประวัติ คติธรรม และปฏิปทา พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว  ญาณสัมปันโน (PDF) (12.82 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (14.68 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือไม่มาเกิดมาตายเรียกว่าชาติสุดท้าย (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (4.72 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงตา พระผู้สืบสานอริยวงศ์  รวบรวมโดยคณะศิษยานุศิษย์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (50.51 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือกายคตาสติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (10.8 MB) คลิ๊ก
 ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมปกครองใจ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และหลวงปู่จันทร์ศรี  จันททีโป (PDF) (11.47 MB) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือปัญญาอบรมสมาธิ โดยท่านอาจารย์พระมหาบัว  ญาณสัมปันโน (PDF) (1.29 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงตานิพพาน (พิธีพระราชทานเพลิงถวายสรีระสังขารหลวงตามหาบัวญาณสมฺปนฺโน) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมะทะลุโลก โดยท่านพ่อลี ธมฺมธโร (PDF) (3.18 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือท่านพ่อลี ธมฺมธโร พระอริยเจ้าผู้มีพลังแก่กล้า (PDF) (30.21 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่เล่าเรื่อง (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรม...ย้ำเตือน  โดยหลวงปู่เพียร  วิริโย (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมพระเพียร  วิริโย เป็นเพชรน้ำหนึ่งเพราะความพากเพียร (หลวงตาพระมหาบัว  ญาณสัมปันโน) (PDF) (8.68 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมพเนจร (หลวงปู่จันทา  ถาวโร) (PDF) (30.39 MB) คลิ๊ก Download หนังสือหลวงปู่เจี๊ยะ  จุนฺโท  พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง (PDF) (13.58 MB) คลิ๊ก
Download หนังสือพระธรรมเทศนา หลวงพ่อชา สุภัทโท (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือสุภัททานุสรณ์ ชุด..จาริกสู่ประเทศอังกฤษ (PDF) (21.06 MB) คลิ๊ก Download หนังสือธรรมะหลวงปู่หล้า เขมปัตโต (PDF) (8.5MB) คลิ๊ก Download หนังสือสันติธมฺโมบูชา โดยหลวงปู่ฟัก สันติธมฺโม (PDF) (37.97 MB) คลิ๊ก Download หนังสือหนีนรก โดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (PDF) คลิ๊ก
Download หนังสือสังโยชน์ 10 โดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือวัดป่าบ้านตาด (PDF) (10.72 MB) ( คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือเศรษฐีธรรม (หลวงปู่ลี กุสลธโร) (PDF) (6.83 MB) ( คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือชีวิตนี้น้อยนัก โดยสมเด็จพระญาณสังวร (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือทำอย่างไรจะหายโกรธ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือภูมิธรรมชาวพุทธ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระหลวงตา (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (7.98 MB)  คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือจิตตวิชา หลักความรู้แจ้งทางจิตต์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) (PDF) (3.97 MB) คลิ๊ก Download หนังสือเปิดใจรับความสุข โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก Download E-Book ว.วชิรเมธี คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ โครงการบูรพาจารย์ (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ประวัติ ข้อวัตร และปฏิปทา (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 1) (PDF) (12.5 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):   หนังสือหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ในยุคปัจจุบัน (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 2)  (PDF) (15.77 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือหลวงปู่แหวน สุจิณโณ (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 3) (PDF) (19.12 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ขาว อนาลโย (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 4) (PDF) (12.53 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระครูวิเวกพุทธกิจ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 5) (PDF) (12.13 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระกรรมฐานสู่ล้านนา (ตอน 1) (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 6) (PDF) (24.41 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระกรรมฐานสู่ล้านนา (ตอน 2) (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 7) (PDF) (43.49 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 8) (PDF) (70.26 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ชอบ ฐานสโม (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 9) (PDF) (10.17 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 10) (PDF) (10.17 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ฝั้น อาจาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 11).pdf (PDF) (14.3 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 12).pdf (PDF) (13.41 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือวิธีปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนากัมมัฏฐาน (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download): หนังสือวิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (1.05 MB)คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): แนวทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน 2 (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)  (PDF) (5.75 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): เรื่องของลม (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) (PDF) (271.99 KB) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือวิธีเดินจงกรมภาวนา-นั่งสมาธิภาวนา โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (9.18 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ สำหรับผู้ป่วย, ญาติ และผู้รักษา (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือธรรมะสำหรับผู้ป่วย โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือกายหายไข้ ใจหายทุกข์ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก
Download หนังสือรักษาใจยามป่วยไข้ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือนึกถึงความตายสบายนัก โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือพระไตรปิฎก :

Download หนังสืออริยวินัย (PDF) (9.27 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะทั่วไป (Download E-Book) :

Download หนังสืออริยวินัย (PDF) (9.27 MB) คลิ๊ก








Google

 ศีลและกรรมบถ คลิ๊ก
 พระธรรมเทศนาของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี คลิ๊ก  ธรรมบรรยาย และธรรมนิพนธ์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน คลิ๊ก
 รวบรวมงานเขียนและบทความของพระไพศาล วิสาโล คลิ๊ก  วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี (หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก



 กำลังใจสู้มะเร็ง คลิ๊ก  การดูแลสภาพจิตใจผู้ป่วยมะเร็ง คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): วารสาร นิตยสาร และสถิติ ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง:

ดาวน์โหลด (Download) : วารสารมะเร็งวิวัฒน์ ปีที่ 18, ฉบับที่ 1 ปี 2555 (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : วารสารมะเร็งวิวัฒน์ ปีที่ 17, ฉบับที่ 1 ปี 2554 (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ Cancer in Thailand Volume.5, 2001-2003 (PDF) คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): เอกสาร, คู่มือมะเร็ง และที่เกี่ยวข้อง:

ดาวน์โหลด (Download) :  หนังสือ, เอกสาร และคู่มือ เกี่ยวกับมะเร็ง ที่น่าสนใจ (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือเกี่ยวกับเคมีบำบัด (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือเกี่ยวกับรังสีรักษา, การดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา และอื่น ๆ (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือควบคุมอาการปวดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและครอบครัว, อาการปวดจากโรคมะเร็ง (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสาร และคู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง, การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่บ้าน (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งปอด (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งเต้านม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งเต้าตับ (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) :  แนวทางเวชปฏิบัติ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  สมาธิบำบัดกับการรักษาโรคมะเร็ง (วัดคำประมง  จังหวัดสกลนคร) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download):  แนวทางการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน (PDF) คลิ๊ก




ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสารแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด (2547) (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสารแนวทางเวชปฏิบัติ การดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอด (2549) (ศ.พญ.สุมิตรา  ทองประเสริฐ และคณะ) (PDF) คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับมะเร็ง

ลิงค์ (Link): การตรวจวินิจฉัยวิธีใหม่ด้วย PET-CT สแกน โดย รศ.นพ.สุภัทรพร เทพมงคล คลิ๊ก ลิงค์ (Link): Bone Scan: การตรวจสแกนกระดูก (พญ.ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม; คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) (PDF)  คลิ๊ก ลิงค์ (Link) : การผ่าตัดมะเร็งทำให้โรคแพร่กระจายจริงหรือ (รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ : ภาควิชาศัลยศาสตร์  สาขาวิชาศัลยศาสตร์ศีรษะ คอ และเต้านม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) คลิ๊ก ลิงค์ (Link): ความรู้เกี่ยวกับรังสีรักษา การฉายรังสีและเครื่องมือทางรังสีรักษา (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): สูตรอาหารต้านมะเร็ง (เอื้อเฟื้อโดย น.พ.สำราญ อาบสุวรรณ; ผู้หายจากมะเร็งปอดระยะสุดท้าย) : ข้อมูลจาก วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร  คลิ๊ก


 ลิงค์ (Link): การตรวจ MRI คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): การแพทย์ทางเลือก, การแพทย์แผนไทย และธรรมชาติบำบัด

ลิงค์ (Link): วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร (หลวงตาปพนพัชร์  จิรธัมโม) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก  ลิงค์ (Link): การแพทย์ทางเลือก บีเมสส คลินิก จังหวัดนครราชสีมา (นพ.สำราญ  อาบสุวรรณ : ผู้หายจากมะเร็งปอดระยะสุดท้าย) คลิ๊ก  ลิงค์ (Link): วิถีไทยคลินิกการแพทย์แผนไทย กรุงเทพมหานคร (อาจารย์เภสัชกร มงคลศิลป์  บุญเย็น) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): Gerson Institute
 (รักษาตามแนวธรรมชาติบำบัด) คลิ๊ก





Link: ลิงค์ หน่วยงาน, สถาบัน, องค์กร และที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง

ลิงค์ (Link) :  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข คลิ๊ก ลิงค์ (Link) :  สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลิ๊ก
ลิงค์ (Link) : สถานวิทยามะเร็งศิริราช คลิ๊ก ลิงค์ (Link) : โครงการโรคมะเร็ง คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คลิ๊ก
ลิงค์ (Link) :  วัดคำประมง จ.สกลนคร (หลวงตาปพนพัชร์  จิรธัมโม) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก



 http://www.cancer.gov: National Cancer Institute คลิ๊ก  http://www.eortc.be: European Organisation for Research and Treatment of Cancer คลิ๊ก  http://www.oncolink.org: OncoLink (University of Pennsylvania) มีข้อมูลข่าวสารมากมาย และได้ผ่านการคัดเลือกและตรวจสอบโดย editorial board ของ OncoLink แล้ว, มีข่าวใหม่ประจำสัปดาห์เกี่ยวกับโรคมะเร็ง, บทคัดย่อใหม่ของการวิจัยโรคมะเร็งที่ตีพิมพ์, การประชุมทางวิชาการต่าง ๆ ฯลฯ  คลิ๊ก
 http://www.iarc.fr/: The International Agency for Research on Cancer (IARC) คลิ๊ก  http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed: Pubmed เป็นเครื่องมือค้นหาฐานข้อมูล เรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล MEDLINE ซึ่งประกอบด้วยแหล่งอ้างอิง, บทคัดย่อ และบทความตัวเต็มทางวิทยาศาสตร์และชีวเวชศาสตร์ คลิ๊ก






Link: ลิงค์ หน่วยงาน, สถาบัน, องค์กรด้านการสาธารณสุข และที่เกี่ยวข้อง

 กระทรวงสาธารณสุข คลิ๊ก





 องค์การเภสัชกรรม คลิ๊ก
 กรมสุขภาพจิต คลิ๊ก

 สภากาชาดไทย คลิ๊ก



แพทยสภา คลิ๊ก ทันตแพทยสภา คลิ๊ก  สภาเทคนิคการแพทย์ คลิ๊ก  สภากายภาพบำบัด คลิ๊ก  สภาเภสัชกรรม คลิ๊ก  สภาการพยาบาล คลิ๊ก



 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คลิ๊ก  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) คลิ๊ก



 สำนักงานประกันสังคม คลิ๊ก






ดาวน์โหลด (Download): กฎหมาย, ประกาศ, ระเบียบ, ข้อบังคับ, คำสั่ง

ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550 คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 คลิ๊ก

ดาวน์โหลด (Download) : ข้อบังคับแพทยสภา คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : ข้อบังคับ, ประกาศ และระเบียบ ทันตแพทยสภา คลิ๊ก



ลิงค์ (Link) : ค้นหาราชกิจจานุเบกษา : ค้นหาพระบรมราชโองการ, พระราชบัญญัติ, พระราชกำหนด, พระราชกฤษฎีกา, กฎกระทรวง, ประกาศ, ระเบียบ, ข้อบังคับ และคำสั่ง คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): เอกสารข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สำคัญ

ดาวน์โหลด (Download) : สิทธิผู้ป่วย คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : ใบรับรองแพทย์ คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): การเดินทาง, แผนที่, ตารางเวลา และการส่งกลับทางอากาศ :

 การบินไทย (Thai Airways) คลิ๊ก นกแอร์ (Nok Air) คลิ๊ก  แอร์เอเชีย (Air Aisa) คลิ๊ก  บางกอกแอร์เวย์ (Bangkok Airways) คลิ๊ก  รถไฟฟ้า BTS คลิ๊ก  รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) : (รถไฟฟ้าใต้ดิน)
คลิ๊ก การรถไฟแห่งประเทศไทย : จำหน่ายตั๋วล่วงหน้า, ตารางเวลาเดินรถและราคาค่าโดยสาร, ระบบติดตามขบวนรถ  คลิ๊ก  เรียกแท็กซี่ (Taxi) คลิ๊ก


 ตรวจสอบ, คำนวณ ระยะทาง และพิมพ์แผนที่ คลิ๊ก  ตรวจสอบ, หาพิกัดดาวเทียม
 GPS คลิ๊ก  ตรวจสอบสภาพการจราจร   Near Real Time คลิ๊ก
 ตรวจสอบสถานการณ์น้ำกับ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คลิ๊ก  ตรวจสอบเส้นทางน้ำท่วมทางหลวง โดยกรมทางหลวง คลิ๊ก  ตรวจสอบเวลาการเดินรถไฟ คลิ๊ก
 ค้นหารถประจำทาง คลิ๊ก  เส้นทางการเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT คลิ๊ก  เส้นทางการเดินรถไฟฟ้า BTS คลิ๊ก
 ท่าขึ้นรถตู้ กรุงเทพ ฯ (และที่ใกล้เคียง) – ต่างจังหวัด คลิ๊ก  ค้นหาสายรถตู้ คลิ๊ก  เรือด่วนเจ้าพระยา คลิ๊ก






ลิงค์ (Link): หมายเลขโทรศัพท์, การติดต่อสื่อสาร และการขนส่ง

 YellowPages (เยลโล่เพจเจส) : ค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ และอื่น ๆ คลิ๊ก

 หอพัก สกสค. (หอพักคุรุสภา) คลิ๊ก



 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
 คลิ๊ก  บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) คลิ๊ก  AIS คลิ๊ก  DTAC คลิ๊ก  Truemove คลิ๊ก  ไปรษณีย์ไทย : บริการด้วยใจ เชื่อมไทย เชื่อมโลก คลิ๊ก







ลิงค์ (Link): ค้นหาแผนที่


 Google Map: กูเกิ้ล แม็ฟส์ คลิ๊ก  Maps.com: แม็ฟส์ ดอท คอม คลิ๊ก



 ค้นหาค้นหาแผนที่โรงพยาบาล คลิ๊ก  ค้นหาค้นหาแผนที่โรงพยาบาล คลิ๊ก
 ค้นหาสถานีบริการ LPG คลิ๊ก  ค้นหาสถานีบริการ NGV คลิ๊ก







Facebook: เฟสบุ๊ค – เข้าระบบ, ลงทะเบียน หรือเรียนรู้เพิ่มเติม คลิ๊ก Twitter: ทวิตเตอร์ – ลงชื่อเข้าใช้งาน คลิ๊ก YouTube: ยูทูป  – เข้าใช้งาน คลิ๊ก Wikipedia: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คลิ๊ก ดาว์นโหลด (Download) :  Adobe Reader คลิ๊ก  Google Map: กูเกิ้ล แม็ฟส์ คลิ๊ก ดาว์นโหลด (Download) Adobe Flash Player คลิ๊ก





สมาทานศีล 5



หลวงพ่อชา สมาทานศีล 5



พุทธมนต์, พุทธคุณ ๑๐๘ นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเช้า นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเย็น นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเย็น นำสวดโดย หลวงพ่ออุทัย สิริธโร



พาหุงมหากา นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



บทสวดพระคาถาชินบัญชร



บทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก



บทสวดโพชฌังคปริตร



พระคาถาสักกัตวา



หลวงพ่อชา สอนการทำสมาธิ



หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 3/9



หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 4/9



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 1



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 2



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 3



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 4



หลวงพ่อพุธ ฐานิโย สอนกรรมฐาน









ลิงค์ (Link): ข่าวสาร, ข้อมูล, บทความเกี่ยวกับน้ำท่วม



 แจ้งขอความช่วยเหลือ (Thaiflood.com) คลิ๊ก




Thaiflood

 18 วิธีรับมือน้ำท่วม คลิ๊ก  การเตรียมการก่อนน้ำท่วม คลิ๊ก  การรับมือระหว่างน้ำท่วม คลิ๊ก
 การเตรียมการอพยพ คลิ๊ก  ข้อมูลดาวเทียมแสดงอุทกภัยประเทศไทย (ข้อมูลจาก GISTDA) คลิ๊ก  ภาพแสดงระดับความสูงต่ำของพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของมวลน้ำ คลิ๊ก
 วิกฤตการณ์น้ำท่วมประเทศไทย 2554 (Crisis Map) คลิ๊ก  ตรวจสอบแผนที่น้ำท่วมกับ esri Thailand คลิ๊ก  สถานการณ์น้ำในเขื่อน คลิ๊ก
 ตรวจสอบเส้นทางน้ำท่วมทางหลวง โดยกรมทางหลวง คลิ๊ก  แผนที่เส้นทางหนีน้ำท่วมจาก กทม.ไป ภาคเหนือ, อีสาน คลิ๊ก  รวมข้อมูล ที่จอดรถหนีน้ำท่วม สำหรับผู้ประสบอุทกภัย คลิ๊ก
 เทคนิควาง “กระสอบทราย” สู้น้ำท่วม คลิ๊ก
 การป้องกันน้ำเข้าบ้าน และวิธีอุดปิดช่องทางน้ำเข้าบ้าน คลิ๊ก  เมื่อต้องขับรถลุยน้ำ น้ำท่วม!!! และเมื่อรถตกน้ำควรปฏิบัติอย่างไร คลิ๊ก  การทำเรืออย่างง่าย ๆ คลิ๊ก
 “ตะคริว” กับการเรียนรู้สู้ภัยน้ำท่วม คลิ๊ก  การปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Cardio Life Support : BCLS) (กรมแพทย์ทหารเรือ) คลิ๊ก  จะช่วยคนจมน้ำได้อย่างไร (ศ.พญ.วันดี วราวิทย์) คลิ๊ก


ดาวน์โหลด (Download): เอกสาร คู่มือเกี่ยวกับน้ำท่วม

ดาวน์โหลด (Download): Flood Fighting Methods (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): British Columbia Flood Plan (BC Flood Plan) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): Fact Sheet Floods (FEMA) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): คู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม (จัดทำโดย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): คู่มือรับมือน้ำท่วมไม่ยาก (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): โรคที่มากับน้ำท่วม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): อีกทางเลือกหนึ่งของชูชีพอย่างง่าย (สามารถทำเองได้) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): การใช้ถุงทรายเพื่อป้องกันน้ำท่วม (รศ.ดร.อมร  พิมานมาศ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): 6 แนวทางกันนํ้าท่วมเข้าบ้าน (รศ.ดร.อมร  พิมานมาศ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): รวมวิธีป้องกันรถจากภัยน้ำท่วม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): “ผนึกกำลัง ร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม” การเตรียมตัวเตรียมใจก่อนภัยน้ำท่วม ฉบับประชาชน (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (PDF) คลิ๊ก




หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ :




 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์คมชัดลึก คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์ข่าวสด คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คลิ๊ก

 TV 3 คลิ๊ก  TV 5 คลิ๊ก  TV 7 คลิ๊ก  ModerNine TV คลิ๊ก  Thai PBS คลิ๊ก



Ayutthaya Thai Flood 2011



น้ำท่วมกรุงเทพ ปี 2485 (Bangkok floods in 1942)



Nuidears Flood Control



mobile flood barrier



ถุงคลุมรถ



ข้อควรปฏิบัติขับรถช่วงน้ำท่วม



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 1/5 (23 ต.ค.54



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 2/5 (23 ต.ค.54



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 3/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 4/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 5/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม - พบหมอบ้าน 1/6 (22 ต.ค.54)



เพลง ประสบทุกข์ ประสบภัย ฝ่าไปด้วยกัน (ขับร้องโดย พนักงานไทยพีบีเอส



เพลงน้ำใจไทย (ขับร้องโดย แอ๊ด คาราบาว)



Friends' blogs
[Add muansuk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.