ขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คน ทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป ขอมีกำลังใจที่เต็มเปี่ยมและเข้มแข็ง มีสติที่ตั้งมั่น ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม, ทุกสิ่งเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา, การนำข้อมูลไปใช้ต้องใช้หลักกาลามสูตร. Group Blog จำนวน 215 Group Blog : รวมข้อมูลทั้งหมด 525 เรื่อง (Click (คลิ๊ก) ตรงกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีฟ้า หรือเครื่องหมายสามเหลี่ยมของกล่องสี่เหลี่ยม (ทางด้านขวามือ) (มีข้อมูลอยู่ในนั้นครับ) "ขอขอบคุณเจ้าของผลงานต่างๆ และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อการศึกษา เรียนรู้ และการวิจัยเท่านั้น"
Group Blog
 
All Blogs
 

วิธีนั่งสมาธิภาวนา (ตามแบบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ)

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ (2557 :19-23) แสดงพระธรรมเทศนาว่า

วิธีนั่งสมาธิภาวนาท่าน (พระอาจารย์มั่น) สอนว่า

พึงนั่งขัดสมาธิคือ นั่งขัดสมาธิ์ตามแบบพระพุทธรูปองค์แทนศาสดาเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางมือทั้งสองไว้บนตักหรือบนสมาธิ์ตั้งกายให้ตรงธรรมดา อย่าให้ก้มนักเงยนัก อย่าให้เอียงซ้ายเอียงขวาจนผิดธรรมดาไม่กดหรือเกร็งอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งอันเป็นการบังคับกายให้ลำบากปล่อยวางอวัยวะทุกส่วนไว้ตามปกติธรรมดา



การเริ่มต้นทางจิตภาวนา
พึงตั้งความรู้สึกคือจิตลงเฉพาะหน้าที่เรียกว่า ปัจจุบันธรรมอันเป็นทางรู้ความเคลื่อนไหวของจิตของธรรมารมณ์ต่างๆดีชั่วได้ดีในเวลานั้นมากกว่าเวลาอื่นๆ คือตั้งจิตลงเฉพาะหน้า มีสติคือความระลึกรู้อยู่กับใจอันเป็นการเตือนตนให้รู้ว่าจะเริ่มทำงานในขณะนั้นกรุณาระวังไม่ให้จิตส่งออกไปสู่อารมณ์ต่างๆ ทั้งอดีต อนาคตทั้งดีและชั่วที่นอกจากงานบริกรรมภาวนาซึ่งกำลังทำอยู่ในเวลานั้น

พอเริ่มต้นทางจิตภาวนาแล้วไม่ควรเป็นกังวลกับทางกายตั้งหน้าทำงานทางจิตต่อไปจนถึงวาระสุดท้ายแห่งการออกจากที่สมาธิภาวนา...กรุณาทำความสนใจกับหน้าที่นั้นอย่างเดียวไม่พึงกลับมาทำความกังวลรักษาท่าสมาธิที่กำหนดไว้เดิม โดยเกรงท่านั่งนั้นจะเคลื่อนจากอาการเดิมเป็นการก้มเกินไปหรือเงยเกินไป เอียงซ้ายเกินไป เอียงขวาเกินไป ซึ่งเป็นการกังวลกับอาการทางกายมากกว่าทางจิตสมาธิภาวนาจะดำเนินไปไม่สะดวก



วิธีตั้งสติเฉพาะหน้า
จิตเป็นผู้รู้โดยธรรมชาติเท่านั้น ไม่มีความแยบคายใคร่ครวญในตัวเองเป็นเพียงรู้คิด รู้นึก รู้เย็น รู้ร้อน จากสิ่งสัมผัสต่างๆ เท่านั้นไม่มีความแยบคายใคร่ครวญ ไม่รู้การพินิจพิจารณาและตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิดลงไปได้คือ ไม่รู้จักผิดถูกชั่วดีโดยลำพังตนเองจึงต้องอาศัยสติและปัญญาตัวรู้ตัววินิจฉัยใคร่ครวญกำกับรักษาเพราะสติปัญญามีอำนาจเหนือจิตสามารถรู้เท่าทันจิตที่คิดไปในอารมณ์ต่างๆ ได้ดี ฉะนั้นพึงกำหนดเอาสติคือความระลึกรู้ชนิดหนึ่งที่มีอำนาจเหนือจิตนั้นมาไว้เฉพาะหน้า ทำหน้าที่กำหนดรู้และรักษาจิตไม่ให้ส่งไปที่อื่นจากอารมณ์ที่ภาวนาการมีสติรักษาจิตอยู่ทุกระยะนั้นสติสัมปชัญญะจะพึงเป็นสมบัติที่ควรได้รับในวาระนั้นหรือวาระต่อไปแน่นอน

การภาวนาด้วยบริกรรมบทใดบทหนึ่งนั้นพึงให้เป็นไปตามจริต ไม่ควรฝืน ธรรมบทใดเป็นที่สบายใจในเวลานั้นพึงนำธรรมบทนั้นมาบริกรรมภาวนาสืบต่อไปดังที่เคยอธิบายมาแล้ว

วิธีนึกคำบริกรรมภาวนาการนึกคำบริกรรมภาวนานั้น จะนึกกับธรรมบทใดบทหนึ่งตามนิสัยชอบดังกล่าวแล้วก็ได้เช่น พุทโธ ธัมโม สังโฆๆๆ 3 จบ แล้วกำหนดเอาเพียงบทเดียวติดต่อกันไปด้วยความมีสติแต่จะกำหนดธรรมบทใดก็ตาม นอกจากสามบทนี้ก่อนจะเจริญธรรมบทนั้นๆ ทุกครั้ง...

ควรเจริญรำลึกธรรมสามบทคือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ 3 ครั้งอันเป็นองค์พระรัตนตรัยก่อน จากนั้นค่อยบริกรรมบทที่ตนต้องการต่อไป เช่นอานาปานสติฯ หรืออัฐิฯ หรือ ตะโจฯ เป็นต้น

ท่านให้มีคำบริกรรมภาวนาเป็นบทๆกำกับใจในเวลานั้นหรือเวลาอื่นก็เพื่อเป็นอารมณ์เครื่องยึดของใจในเวลาต้องการความสงบเพราะใจเป็นของละเอียดตามธรรมชาติ ทั้งยังไม่สามารถพึ่งตัวเองได้เนื่องจากจิตยังไม่เป็นตัวของตัวโดยสมบูรณ์ดังพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ท่านจำต้องมีบทเป็นคำบริกรรมเพื่อผูกใจหรือเพื่อเป็นอารมณ์ของใจเวลานั้น


อย่าคาดหมายผลที่จะพึงเกิดขึ้นในเวลานั้นการบริกรรมภาวนาในธรรมบทใดก็ตาม กรุณาอย่าคาดหมายผลที่จะพึงเกิดขึ้นในเวลานั้นเช่น ความสงบจะเกิดขึ้นในลักษณะนั้นนิมิตต่างๆ จะเกิดขึ้นในเวลานั้นหรืออาจจะเห็นนรกสวรรค์ขุมใดหรือชั้นใดในเวลานั้น เป็นต้นนั้นเป็นการคาดคะเนหรือค้นเดาซึ่งเป็นการก่อความไม่สงบให้แก่ใจเปล่าๆไม่เกิดประโยชน์อะไรจากการวาดภาพนั้นเลย และอาจทำใจให้ท้อถอยหรือหวาดกลัวไปต่างๆซึ่งผิดจากความมุ่งหมายของการภาวนาโดยถูกทางที่ท่านสอนไว้

ตั้งจิตกับสติไว้เฉพาะหน้ามีคำบริกรรมเป็นอารมณ์ของใจ เพียงอย่างเดียวเท่านั้นโดยมีใจกับสติสืบต่ออยู่กับคำบริกรรม เช่น พุทโธๆสืบเนื่องกันไปด้วยความมีสติและพยายามทำความรู้สึกตัวอยู่กับคำบริกรรมนั้นๆอย่าให้จิตเผลอตัวไปสู่อารมณ์อื่น ระหว่างจิตสติกับคำบริกรรมมีความสืบต่อกลมกลืนกันได้เพียงไรยิ่งเป็นความมุ่งหมายของการภาวนาเพียงนั้น ผลคือความสงบเย็นหรืออื่นๆที่แปลกประหลาดไม่เคยพบเคยเห็น อันจะพึงเกิดขึ้นให้ชมตามนิสัยวาสนาในเวลานั้นจะเกิดขึ้นเองเพราะอำนาจของการรักษาจิตกับคำบริกรรมไว้ได้ด้วยสตินั่นแลจะมีอะไรมาบันดาลให้เป็นขึ้นไม่ได้

เอกสารอ้างอิง: หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน,สมาธิภาวนา.กรุงเทพมหานคร : บริษัทศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด,2557.

----------------------------------------------------------





Download : หนังสือวิธีเดินจงกรมภาวนา-นั่งสมาธิภาวนา โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (9.18 MB)


หรือ Download ที่นี่ : Download : หนังสือวิธีเดินจงกรมภาวนา-นั่งสมาธิภาวนา โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (9.18 MB)



เอกสารอ้างอิง : หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (2554). วิธีเดินจงกรมภาวนา-นั่งสมาธิภาวนา (ออนไลน์). แหล่งที่มา : //www.mediafire.com/view/?bfg5vpffvv4nlsb. วันที่สืบค้น 07 สิงหาคม 2555.



----------------------------------------------------------


ดาวน์โหลด (Download) หนังสือการทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น (พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (1.05 MB) คลิ๊ก


ดาวน์โหลด (Download) หนังสือการทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น (พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (1.05 MB) Click (คลิ๊ก) ที่ภาพ

หรือ Download (1) ที่นี่ : ดาวน์โหลด (Download) หนังสือการทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น (พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (1.05 MB)

หรือ Download (2) ที่นี่ : ดาวน์โหลด (Download) หนังสือการทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น (พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (1.05 MB)




เอกสารอ้างอิง : พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน (2550). การทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น.(ออนไลน์) แหล่งที่มา : //www.mediafire.com/?hmx6e7eqqu54vbo. วันที่สืบค้น 19 ธันวาคม 2554.



----------------------------------------------------------







----------------------------------------------------------






----------------------------------------------------------




 

Create Date : 24 ตุลาคม 2557    
Last Update : 27 ตุลาคม 2557 8:55:34 น.
Counter : 2340 Pageviews.  

วิธีเดินจงกรมภาวนา (ตามแบบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ)

หลวงตามหาบัว  ญาณสัมปันโณ (2557 : 11-17) แสดงพระธรรมเทศนาว่า

ท่านอาจารย์มั่นกำหนดดูตามอริยประเพณีทราบโดยละเอียดและได้ปฏิบัติตามที่กำหนดทราบแล้วเรื่อยมาคือ

การเดินจงกรมท่านสอนให้เดินไปตามตะวัน หรือเยื้องตะวันไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้ ท่านว่าการเดินตามตะวันเป็นที่หนึ่งเยื้องตะวันทั้งสองสายเป็นอันดับรองลงมา ส่วนการเดินตัดตะวันหรือไปตามทิศเหนือใต้ไม่เห็นท่านเดินเลย นอกจากไม่เห็นท่านเคยเดินแล้ว ยังได้ยินท่านว่าไม่ควรเดิน



การเดินจงกรมกลับไปกลับมาไม่ช้านักไม่เร็วนักพองามตางามมรรยาท ตามเยี่ยงอย่างประเพณีของพระผู้ทำเพียรท่าเดินในครั้งพุทธกาลเรียกว่าเดินจงกรมภาวนา เปลี่ยนจากวิธีนั่งสมาธิภาวนามาเป็นเดินจงกรมภาวนาเปลี่ยนจากเดินมายืน เรียกว่ายืนภาวนา เปลี่ยนจากยืนมาเป็นท่านอนเรียกว่าท่าสีหไสยาสน์ภาวนา

ก่อนเดินจงกรมพึงกำหนดหนทางที่ตนจะพึงเดินสั้นหรือยาวเพียงไรก่อนว่าเราจะเดินจากที่นี่ไปถึงที่นั้นหรือถึงที่โน้นหรือตกแต่งทางเดินจงกรมไว้ก่อนเดินอย่างเรียบร้อยสั้นหรือยาวตามต้องการ

วิธีเดินจงกรมผู้จะเดินกรุณาไปยืนที่ต้นทางจงกรมที่ตนกำหนดหรือตกแต่งไว้แล้วนั้นพึงยกมือทั้งสองประณมไว้เหนือระหว่างคิ้ว ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้าพระธรรม และพระสงฆ์ ที่ตนถือเป็นสรณะคือที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวของใจและระลึกถึงคุณของบิดามารดาอุปัชฌาย์อาจารย์ตบอดท่านผู้เคยมีพระคุณแก่ตนจบลงแล้วรำพึงถึงความมุ่งหมายแห่งความเพียรที่กำลังจะทำด้วยความตั้งใจเพื่อผลนั้นๆเสร็จแล้วปล่อยมือลง

เอามือขวาทับมือซ้ายทาบกันไว้ใต้สะดือตามแบบพุทธรำพึง เจริญพรหมวิหาร 4 จบแล้วทอดตาลงเบื้องต่ำท่าสำรวม ตั้งสติกำหนดจิตและธรรมที่เคยนำมาบริกรรมกำกับใจหรือพิจารณาธรรมทั้งหลายตามแบบที่เคยภาวนาในท่าอื่นๆเสร็จแล้วออกเดินจงกรมจากต้นทางถึงปลายทางจงกรมที่กำหนดไว้



เดินกลับไปกลับมาในท่าสำรวม
มีสติอยู่กับบทธรรมหรือสิ่งที่พิจารณาโดยสม่ำเสมอไม่ส่งจิตไปอื่นจากงานที่กำลังทำอยู่ในเวลานั้น การเดินไม่พึงเดินไกวแขนไม่พึงเดินเอามือขัดหลัง ไม่พึงเดินเอามือกอดอก ไม่พึงเดินมองโน้นมองนี่อันเป็นท่าไม่สำรวม

การยืนกำหนดรำพึงหรือพิจารณาธรรมนั้นยืนได้โดยไม่กำหนดว่าเป็นหัวทางจงกรมหรือย่านกลางทางจงกรมยืนนานหรือไม่ตามแต่กรณีที่ควรหยุดอยู่หรือก้าวต่อไป เพราะการรำพึงธรรมนั้นมีความลึกตื้นหยาบละเอียดต่างกันที่ควรอนุโลมตามความจำเป็นจนกว่าจะเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วก้าวเดินต่อไปบางครั้งต้องยืนพิจารณาร่วมชั่วโมงก็มีถึงจะเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วก้าวเดินต่อไป

การเดินกำหนดคำบริกรรมหรือพิจารณาธรรมไม่นับก้าวเดิน นอกจากจะถือเอาก้าวเดินนั้นเป็นอารมณ์แห่งความเพียรก็นับก้าวได้การทำความเพียรในท่าใด สติเป็นสิ่งสำคัญประจำความเพียรท่านั้นๆ การขาดสติไปจากงานที่ทำเรียกว่าขาดความเพียรในระยะนั้นๆผู้บำเพ็ญพึงสนใจสติให้มากเท่ากับสนใจต่อธรรมที่นำมาบริกรรม การขาดสติ แม้คำบริกรรมภาวนาจะยังติดต่อกันไปเพราะความเคยชินของใจก็ตามแต่ผลคือความสงบของจิตจะไม่ปรากฏตามความมุ่งหมาย


การเดินจงกรมจะเดินเป็นเวลานานหรือไม่เพียงไร
ตามแต่จะกำหนดเองการทำความเพียรในท่าเดินก็ดี ท่ายืนก็ดี ท่านอนก็ดี ท่านั่งก็ดีอาจเหมาะกับนิสัยในบางท่านที่ต่างกัน การทำความเพียรในท่าต่างๆนั้นเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถไปในตัวด้วย ไม่เพียงมุ่งกำจัดกิเลสโดยถ่ายเดียวเพราะธาตุขันธ์เป็นเครื่องมือทำประโยชน์จำต้องมีการรักษา เช่นการเปลี่ยนอิริยาบถท่าต่างๆ เป็นความเหมาะสมสำหรับธาตุขันธ์ที่ใช้งานอยู่เป็นประจำถ้าไม่มีการรักษาด้วยวิธีต่างๆ ธาตุขันธ์ต้องกลับมาเป็นข้าศึกแก่เจ้าของจนได้คือต้องพิกลพิการไปต่างๆ สุดท้ายก็ทำงานไม่ถึงจุดที่มุ่งหมาย

ท่านที่เริ่มฝึกหัดใหม่กรุณากำหนดเวลา ในการเดินจงกรมเอาเองแต่กรุณากำหนดเผื่อไว้บ้าง เวลากิเลสตัวร้อยเล่ห์พันลวงมาแอบขโมยเอาสิ่งของ จะได้เหลือคำภาวนาติดตัวไว้บ้าง

ขณะเดินจงกรมพึงกำหนดสติกำกับคำบริกรรมให้กรมกลืนเป็นอันเดียวกัน ประคองความเพียรด้วยสติสัมปชัญญะมีใจแน่วแน่ต่อธรรมที่บริกรรม เช่นกำหนดพุทโธให้จิตรู้อยู่กับพุทโธทุกระยะที่ก้าวเดินไปและถอยกลับมาชื่อว่าผู้มีความเพียรในท่านั้นๆ ไม่ขาดวรรคขาดตอนไปในระหว่างตามที่ตนเข้าใจว่าบำเพ็ญเพียรผลคือความสงบเย็น

ถ้าจิตไม่เผลอตัวไปสู่อารมณ์อื่นในระหว่างเสียก่อนผู้ภาวนาต้องหวังได้ครองความสุขใจในขณะนั้นหรือขณะใดขณะหนึ่งแน่นอนข้อนี้กรุณาเชื่อไว้ก่อนก็ได้ว่าพระพุทธเจ้าและครูอาจารย์ที่ท่านสอนจริงๆด้วยความเมตตาอนุเคราะห์ ท่านไม่โกหกให้เสียเวลาและเปล่าประโยชน์แน่นอนก่อนท่านจะได้ธรรมมาสั่งสอนประชาชนท่านก็คือผู้ล้มลุกคลุกคลานมาด้วยความลำบากทรมานผู้หนึ่งก่อนเราผู้กำลังฝึกหัดจึงไม่ควรสงสัยท่านว่าเป็นผู้ล้างมือคอยเปิบมาก่อนท่าเดียวไม่ลงทุนลงรอนมาก่อน

ทุนของพระพุทธเจ้าก็คือความสลบไสลไปสามหนทุนของพระสาวกบางองค์ก็คือฝ่าเท้าแตกและเสียจักษุไปก็มีต่างๆ กันแต่ได้ผลที่พึงใจทั้งเลิศประเสริฐทั้งอัศจรรย์เหนือโลกเป็นเครื่องสนองตอบแทนสิ่งที่เสียไปเพราะความเพียรอันแรงกล้านั้นๆ ท่านข้ามโลกไปได้โดยตลอดปลอดภัยไร้ทุกข์ทั้งมวล...

ควรฝึกหัดคิดอ่านตัวเองบ้างในขณะที่พอคิดได้อ่านได้เมื่อเข้าสู่ที่คับขันและสุดความสามารถจะดิ้นรนได้แล้วไม่มีใครสามารถเข้าไปนั่งทำบุญให้ทานรักษาศีลทำสมาธิภาวนาอยู่ในกองฟืนกองฟอนในเตาแห่งเมรุได้เห็นมีแต่ไฟทำงานแต่ผู้เดียวจนร่ากายเป็นเถ้าถ่านไปถ่ายเดียวเท่านั้นเราเคยเห็นอยู่ต่อหน้าต่อตาด้วยกัน ซึ่งควรสลดสังเวชและน่าฝังใจไปนาน



การเดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนา คือ การกลั่นกรองหาสิ่งที่เป็นสารคุณในตัวเราซึ่งเป็นงานสำคัญและมีผลเกินคาดยิ่งกว่างานอื่นใด จึงไม่ยอมให้กิเลสตัณหาอวิชชามาหลอกเล่นให้เห็นเห้นงานลิ่ลวงล่มจมป่นปี้ไม่มีชิ้นดี...

การกลั่นกรองจิตด้วยสมาธิภาวนาก็คือการกลั่นกรองตัวเราออกเป็นสัดเป็นส่วนเพื่อทราบว่ากันไหนจริงอันไหนปลอมอันไหนจะพาให้เกิดทุกข์ อันไหนจะพาให้เกิดสุขอันไหนจะพาไปนรก อันไหนจะพาไปสวรรค์ และอันไหนจะพาไปนิพพานสิ้นทุกข์ทั้งมวลนั้นเอง

การกำหนดจิตตั้งสติในเวลาเดินจงกรมกรุณาทำเป็นล่ำเป็นสันสมที่เจตนามุ่งหน้าหาของดีการเดินจงกรมภาวนาเป็นการแสวงหาของดีที่ถูกทาง ไม่มีข้อควรตำหนินักปราชญ์ชมเชยกันทั่วโลก ควรพยายามทำจิตใจให้สงบในเวลานั้นจนได้ อย่าสักแต่ว่าทำจะเห็นความประเสริฐอัศจรรย์ของตัวเอง...

การเดินจงกรมจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะสามารถทำกิเลสให้หลุดลอยออกจากใจได้เช่นวิธีทั้งหลายมีการนั่งสมาธิภาวนาเป็นต้น จึงควรสนใจฝึกหัดทำแต่บัดนี้เป็นต้นไป...

เอกสารอ้างอิง : หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน, สมาธิภาวนา. กรุงเทพมหานคร : บริษัทศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด, 2557.


----------------------------------------------------------





Download : หนังสือวิธีเดินจงกรมภาวนา-นั่งสมาธิภาวนา โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (9.18 MB)


หรือ Download ที่นี่ : Download : หนังสือวิธีเดินจงกรมภาวนา-นั่งสมาธิภาวนา โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (9.18 MB)



เอกสารอ้างอิง : หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (2554). วิธีเดินจงกรมภาวนา-นั่งสมาธิภาวนา (ออนไลน์). แหล่งที่มา : //www.mediafire.com/view/?bfg5vpffvv4nlsb. วันที่สืบค้น 07 สิงหาคม 2555.


----------------------------------------------------------


ดาวน์โหลด (Download) หนังสือการทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น (พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (1.05 MB) คลิ๊ก


ดาวน์โหลด (Download) หนังสือการทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น (พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (1.05 MB) Click (คลิ๊ก) ที่ภาพ

หรือ Download (1) ที่นี่ : ดาวน์โหลด (Download) หนังสือการทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น (พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (1.05 MB)

หรือ Download (2) ที่นี่ : ดาวน์โหลด (Download) หนังสือการทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น (พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (1.05 MB)




เอกสารอ้างอิง : พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน (2550). การทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น.(ออนไลน์) แหล่งที่มา : //www.mediafire.com/?hmx6e7eqqu54vbo. วันที่สืบค้น 19 ธันวาคม 2554.



----------------------------------------------------------







----------------------------------------------------------






----------------------------------------------------------




 

Create Date : 22 ตุลาคม 2557    
Last Update : 27 ตุลาคม 2557 8:56:07 น.
Counter : 6306 Pageviews.  


muansuk
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 84 คน [?]




blog counter
blog counterDiseño Web
Share on Facebook



 Follow Me on Twitter
 คลิ๊ก


 ลงนามสมุดเยี่ยม muansuk blog ครับ คลิ๊ก




“ทาน ศีล ภาวนา ธรรมทั้ง 3 นี้
เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์
และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา”

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต




“ถ้าเรารู้เรื่องธรรมดาของโลก และรู้จักความเป็นจริงของธรรมแล้ว
เราก็จะไม่ต้องมีความยุ่งยากในการเป็นอยู่
เรื่องภายนอกนั้น ถึงเราจะศึกษาให้มีความรู้สักเท่าไรๆ
ก็ไม่ทำให้เราพ้นจากทุกข์ได้
สู้การเรียนรู้จิตใจของตนอยู่ภายในวงแคบๆ นี้ไม่ได้”

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร




“… อย่าไปอยากรู้เรื่องของคนอื่นมันเป็นทุกข์
ให้สนใจเรื่องของตัวเอง
คือเรื่องของกายกับใจ
ดูให้มันชัด …”

หลวงปู่เพียร วิริโย




“… สิ่งใดมันล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นมันก็ล่วงไปแล้ว หมดไปแล้ว
ไม่ควรเอามาคิด มาติดอยู่ในใจ ละทิ้งให้หมด
ส่วนว่าอารมณ์อันเป็นอนาคตกาล
ดีร้ายประการใด ทั้งทางโลก และทางธรรม
สิ่งนั้นก็ยังอยู่ข้างหน้า คือยังไม่มาถึง
เวลาปัจจุบัน คือ เป็นเวลาเรานั่งภาวนา ฟังธรรม
สงบกาย สงบวาจา สงบจิต สงบใจ อยู่นี้แหละ
เป็นธรรมะปัจจุบัน ให้ระลึกภาวนาทุกลมหายใจเข้าออก...”

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร




“... ให้รักษาศีล
ให้รู้จักพิจารณา เกิด แก่ เจ็บ ตาย
รู้จักแก้ไขจิตของตน ... ”

หลวงปู่จาม มหาปุณฺโญ





หลวงพ่อชา สุภทฺโท : ปล่อยวาง 1





พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร : ธรรมสู่ใจ





หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ : ไม่ยอมละ





ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download): หนังสือมุตโตทัย-อาจาโรวาท โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร (PDF) (9.25 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ฝากไว้ บันทึกคติธรรมและธรรมเทศนาของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล (โดย พระโพธินันทมุนี) (PDF) (625 KB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมธาตุ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (13.38) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือชาติสุดท้าย (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (6.97) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพ่อแม่ครูอาจารย์ ชีวประวัติ คติธรรม และปฏิปทา พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว  ญาณสัมปันโน (PDF) (12.82 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (14.68 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือไม่มาเกิดมาตายเรียกว่าชาติสุดท้าย (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (4.72 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงตา พระผู้สืบสานอริยวงศ์  รวบรวมโดยคณะศิษยานุศิษย์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (50.51 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือกายคตาสติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (10.8 MB) คลิ๊ก
 ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมปกครองใจ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และหลวงปู่จันทร์ศรี  จันททีโป (PDF) (11.47 MB) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือปัญญาอบรมสมาธิ โดยท่านอาจารย์พระมหาบัว  ญาณสัมปันโน (PDF) (1.29 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงตานิพพาน (พิธีพระราชทานเพลิงถวายสรีระสังขารหลวงตามหาบัวญาณสมฺปนฺโน) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมะทะลุโลก โดยท่านพ่อลี ธมฺมธโร (PDF) (3.18 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือท่านพ่อลี ธมฺมธโร พระอริยเจ้าผู้มีพลังแก่กล้า (PDF) (30.21 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่เล่าเรื่อง (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรม...ย้ำเตือน  โดยหลวงปู่เพียร  วิริโย (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมพระเพียร  วิริโย เป็นเพชรน้ำหนึ่งเพราะความพากเพียร (หลวงตาพระมหาบัว  ญาณสัมปันโน) (PDF) (8.68 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมพเนจร (หลวงปู่จันทา  ถาวโร) (PDF) (30.39 MB) คลิ๊ก Download หนังสือหลวงปู่เจี๊ยะ  จุนฺโท  พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง (PDF) (13.58 MB) คลิ๊ก
Download หนังสือพระธรรมเทศนา หลวงพ่อชา สุภัทโท (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือสุภัททานุสรณ์ ชุด..จาริกสู่ประเทศอังกฤษ (PDF) (21.06 MB) คลิ๊ก Download หนังสือธรรมะหลวงปู่หล้า เขมปัตโต (PDF) (8.5MB) คลิ๊ก Download หนังสือสันติธมฺโมบูชา โดยหลวงปู่ฟัก สันติธมฺโม (PDF) (37.97 MB) คลิ๊ก Download หนังสือหนีนรก โดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (PDF) คลิ๊ก
Download หนังสือสังโยชน์ 10 โดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือวัดป่าบ้านตาด (PDF) (10.72 MB) ( คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือเศรษฐีธรรม (หลวงปู่ลี กุสลธโร) (PDF) (6.83 MB) ( คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือชีวิตนี้น้อยนัก โดยสมเด็จพระญาณสังวร (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือทำอย่างไรจะหายโกรธ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือภูมิธรรมชาวพุทธ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระหลวงตา (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (7.98 MB)  คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือจิตตวิชา หลักความรู้แจ้งทางจิตต์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) (PDF) (3.97 MB) คลิ๊ก Download หนังสือเปิดใจรับความสุข โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก Download E-Book ว.วชิรเมธี คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ โครงการบูรพาจารย์ (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ประวัติ ข้อวัตร และปฏิปทา (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 1) (PDF) (12.5 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):   หนังสือหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ในยุคปัจจุบัน (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 2)  (PDF) (15.77 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือหลวงปู่แหวน สุจิณโณ (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 3) (PDF) (19.12 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ขาว อนาลโย (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 4) (PDF) (12.53 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระครูวิเวกพุทธกิจ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 5) (PDF) (12.13 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระกรรมฐานสู่ล้านนา (ตอน 1) (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 6) (PDF) (24.41 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระกรรมฐานสู่ล้านนา (ตอน 2) (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 7) (PDF) (43.49 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 8) (PDF) (70.26 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ชอบ ฐานสโม (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 9) (PDF) (10.17 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 10) (PDF) (10.17 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ฝั้น อาจาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 11).pdf (PDF) (14.3 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 12).pdf (PDF) (13.41 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือวิธีปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนากัมมัฏฐาน (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download): หนังสือวิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (1.05 MB)คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): แนวทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน 2 (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)  (PDF) (5.75 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): เรื่องของลม (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) (PDF) (271.99 KB) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือวิธีเดินจงกรมภาวนา-นั่งสมาธิภาวนา โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (9.18 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ สำหรับผู้ป่วย, ญาติ และผู้รักษา (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือธรรมะสำหรับผู้ป่วย โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือกายหายไข้ ใจหายทุกข์ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก
Download หนังสือรักษาใจยามป่วยไข้ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือนึกถึงความตายสบายนัก โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือพระไตรปิฎก :

Download หนังสืออริยวินัย (PDF) (9.27 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะทั่วไป (Download E-Book) :

Download หนังสืออริยวินัย (PDF) (9.27 MB) คลิ๊ก








Google

 ศีลและกรรมบถ คลิ๊ก
 พระธรรมเทศนาของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี คลิ๊ก  ธรรมบรรยาย และธรรมนิพนธ์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน คลิ๊ก
 รวบรวมงานเขียนและบทความของพระไพศาล วิสาโล คลิ๊ก  วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี (หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก



 กำลังใจสู้มะเร็ง คลิ๊ก  การดูแลสภาพจิตใจผู้ป่วยมะเร็ง คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): วารสาร นิตยสาร และสถิติ ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง:

ดาวน์โหลด (Download) : วารสารมะเร็งวิวัฒน์ ปีที่ 18, ฉบับที่ 1 ปี 2555 (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : วารสารมะเร็งวิวัฒน์ ปีที่ 17, ฉบับที่ 1 ปี 2554 (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ Cancer in Thailand Volume.5, 2001-2003 (PDF) คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): เอกสาร, คู่มือมะเร็ง และที่เกี่ยวข้อง:

ดาวน์โหลด (Download) :  หนังสือ, เอกสาร และคู่มือ เกี่ยวกับมะเร็ง ที่น่าสนใจ (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือเกี่ยวกับเคมีบำบัด (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือเกี่ยวกับรังสีรักษา, การดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา และอื่น ๆ (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือควบคุมอาการปวดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและครอบครัว, อาการปวดจากโรคมะเร็ง (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสาร และคู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง, การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่บ้าน (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งปอด (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งเต้านม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งเต้าตับ (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) :  แนวทางเวชปฏิบัติ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  สมาธิบำบัดกับการรักษาโรคมะเร็ง (วัดคำประมง  จังหวัดสกลนคร) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download):  แนวทางการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน (PDF) คลิ๊ก




ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสารแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด (2547) (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสารแนวทางเวชปฏิบัติ การดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอด (2549) (ศ.พญ.สุมิตรา  ทองประเสริฐ และคณะ) (PDF) คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับมะเร็ง

ลิงค์ (Link): การตรวจวินิจฉัยวิธีใหม่ด้วย PET-CT สแกน โดย รศ.นพ.สุภัทรพร เทพมงคล คลิ๊ก ลิงค์ (Link): Bone Scan: การตรวจสแกนกระดูก (พญ.ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม; คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) (PDF)  คลิ๊ก ลิงค์ (Link) : การผ่าตัดมะเร็งทำให้โรคแพร่กระจายจริงหรือ (รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ : ภาควิชาศัลยศาสตร์  สาขาวิชาศัลยศาสตร์ศีรษะ คอ และเต้านม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) คลิ๊ก ลิงค์ (Link): ความรู้เกี่ยวกับรังสีรักษา การฉายรังสีและเครื่องมือทางรังสีรักษา (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): สูตรอาหารต้านมะเร็ง (เอื้อเฟื้อโดย น.พ.สำราญ อาบสุวรรณ; ผู้หายจากมะเร็งปอดระยะสุดท้าย) : ข้อมูลจาก วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร  คลิ๊ก


 ลิงค์ (Link): การตรวจ MRI คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): การแพทย์ทางเลือก, การแพทย์แผนไทย และธรรมชาติบำบัด

ลิงค์ (Link): วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร (หลวงตาปพนพัชร์  จิรธัมโม) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก  ลิงค์ (Link): การแพทย์ทางเลือก บีเมสส คลินิก จังหวัดนครราชสีมา (นพ.สำราญ  อาบสุวรรณ : ผู้หายจากมะเร็งปอดระยะสุดท้าย) คลิ๊ก  ลิงค์ (Link): วิถีไทยคลินิกการแพทย์แผนไทย กรุงเทพมหานคร (อาจารย์เภสัชกร มงคลศิลป์  บุญเย็น) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): Gerson Institute
 (รักษาตามแนวธรรมชาติบำบัด) คลิ๊ก





Link: ลิงค์ หน่วยงาน, สถาบัน, องค์กร และที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง

ลิงค์ (Link) :  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข คลิ๊ก ลิงค์ (Link) :  สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลิ๊ก
ลิงค์ (Link) : สถานวิทยามะเร็งศิริราช คลิ๊ก ลิงค์ (Link) : โครงการโรคมะเร็ง คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คลิ๊ก
ลิงค์ (Link) :  วัดคำประมง จ.สกลนคร (หลวงตาปพนพัชร์  จิรธัมโม) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก



 http://www.cancer.gov: National Cancer Institute คลิ๊ก  http://www.eortc.be: European Organisation for Research and Treatment of Cancer คลิ๊ก  http://www.oncolink.org: OncoLink (University of Pennsylvania) มีข้อมูลข่าวสารมากมาย และได้ผ่านการคัดเลือกและตรวจสอบโดย editorial board ของ OncoLink แล้ว, มีข่าวใหม่ประจำสัปดาห์เกี่ยวกับโรคมะเร็ง, บทคัดย่อใหม่ของการวิจัยโรคมะเร็งที่ตีพิมพ์, การประชุมทางวิชาการต่าง ๆ ฯลฯ  คลิ๊ก
 http://www.iarc.fr/: The International Agency for Research on Cancer (IARC) คลิ๊ก  http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed: Pubmed เป็นเครื่องมือค้นหาฐานข้อมูล เรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล MEDLINE ซึ่งประกอบด้วยแหล่งอ้างอิง, บทคัดย่อ และบทความตัวเต็มทางวิทยาศาสตร์และชีวเวชศาสตร์ คลิ๊ก






Link: ลิงค์ หน่วยงาน, สถาบัน, องค์กรด้านการสาธารณสุข และที่เกี่ยวข้อง

 กระทรวงสาธารณสุข คลิ๊ก





 องค์การเภสัชกรรม คลิ๊ก
 กรมสุขภาพจิต คลิ๊ก

 สภากาชาดไทย คลิ๊ก



แพทยสภา คลิ๊ก ทันตแพทยสภา คลิ๊ก  สภาเทคนิคการแพทย์ คลิ๊ก  สภากายภาพบำบัด คลิ๊ก  สภาเภสัชกรรม คลิ๊ก  สภาการพยาบาล คลิ๊ก



 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คลิ๊ก  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) คลิ๊ก



 สำนักงานประกันสังคม คลิ๊ก






ดาวน์โหลด (Download): กฎหมาย, ประกาศ, ระเบียบ, ข้อบังคับ, คำสั่ง

ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550 คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 คลิ๊ก

ดาวน์โหลด (Download) : ข้อบังคับแพทยสภา คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : ข้อบังคับ, ประกาศ และระเบียบ ทันตแพทยสภา คลิ๊ก



ลิงค์ (Link) : ค้นหาราชกิจจานุเบกษา : ค้นหาพระบรมราชโองการ, พระราชบัญญัติ, พระราชกำหนด, พระราชกฤษฎีกา, กฎกระทรวง, ประกาศ, ระเบียบ, ข้อบังคับ และคำสั่ง คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): เอกสารข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สำคัญ

ดาวน์โหลด (Download) : สิทธิผู้ป่วย คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : ใบรับรองแพทย์ คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): การเดินทาง, แผนที่, ตารางเวลา และการส่งกลับทางอากาศ :

 การบินไทย (Thai Airways) คลิ๊ก นกแอร์ (Nok Air) คลิ๊ก  แอร์เอเชีย (Air Aisa) คลิ๊ก  บางกอกแอร์เวย์ (Bangkok Airways) คลิ๊ก  รถไฟฟ้า BTS คลิ๊ก  รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) : (รถไฟฟ้าใต้ดิน)
คลิ๊ก การรถไฟแห่งประเทศไทย : จำหน่ายตั๋วล่วงหน้า, ตารางเวลาเดินรถและราคาค่าโดยสาร, ระบบติดตามขบวนรถ  คลิ๊ก  เรียกแท็กซี่ (Taxi) คลิ๊ก


 ตรวจสอบ, คำนวณ ระยะทาง และพิมพ์แผนที่ คลิ๊ก  ตรวจสอบ, หาพิกัดดาวเทียม
 GPS คลิ๊ก  ตรวจสอบสภาพการจราจร   Near Real Time คลิ๊ก
 ตรวจสอบสถานการณ์น้ำกับ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คลิ๊ก  ตรวจสอบเส้นทางน้ำท่วมทางหลวง โดยกรมทางหลวง คลิ๊ก  ตรวจสอบเวลาการเดินรถไฟ คลิ๊ก
 ค้นหารถประจำทาง คลิ๊ก  เส้นทางการเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT คลิ๊ก  เส้นทางการเดินรถไฟฟ้า BTS คลิ๊ก
 ท่าขึ้นรถตู้ กรุงเทพ ฯ (และที่ใกล้เคียง) – ต่างจังหวัด คลิ๊ก  ค้นหาสายรถตู้ คลิ๊ก  เรือด่วนเจ้าพระยา คลิ๊ก






ลิงค์ (Link): หมายเลขโทรศัพท์, การติดต่อสื่อสาร และการขนส่ง

 YellowPages (เยลโล่เพจเจส) : ค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ และอื่น ๆ คลิ๊ก

 หอพัก สกสค. (หอพักคุรุสภา) คลิ๊ก



 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
 คลิ๊ก  บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) คลิ๊ก  AIS คลิ๊ก  DTAC คลิ๊ก  Truemove คลิ๊ก  ไปรษณีย์ไทย : บริการด้วยใจ เชื่อมไทย เชื่อมโลก คลิ๊ก







ลิงค์ (Link): ค้นหาแผนที่


 Google Map: กูเกิ้ล แม็ฟส์ คลิ๊ก  Maps.com: แม็ฟส์ ดอท คอม คลิ๊ก



 ค้นหาค้นหาแผนที่โรงพยาบาล คลิ๊ก  ค้นหาค้นหาแผนที่โรงพยาบาล คลิ๊ก
 ค้นหาสถานีบริการ LPG คลิ๊ก  ค้นหาสถานีบริการ NGV คลิ๊ก







Facebook: เฟสบุ๊ค – เข้าระบบ, ลงทะเบียน หรือเรียนรู้เพิ่มเติม คลิ๊ก Twitter: ทวิตเตอร์ – ลงชื่อเข้าใช้งาน คลิ๊ก YouTube: ยูทูป  – เข้าใช้งาน คลิ๊ก Wikipedia: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คลิ๊ก ดาว์นโหลด (Download) :  Adobe Reader คลิ๊ก  Google Map: กูเกิ้ล แม็ฟส์ คลิ๊ก ดาว์นโหลด (Download) Adobe Flash Player คลิ๊ก





สมาทานศีล 5



หลวงพ่อชา สมาทานศีล 5



พุทธมนต์, พุทธคุณ ๑๐๘ นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเช้า นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเย็น นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเย็น นำสวดโดย หลวงพ่ออุทัย สิริธโร



พาหุงมหากา นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



บทสวดพระคาถาชินบัญชร



บทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก



บทสวดโพชฌังคปริตร



พระคาถาสักกัตวา



หลวงพ่อชา สอนการทำสมาธิ



หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 3/9



หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 4/9



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 1



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 2



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 3



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 4



หลวงพ่อพุธ ฐานิโย สอนกรรมฐาน









ลิงค์ (Link): ข่าวสาร, ข้อมูล, บทความเกี่ยวกับน้ำท่วม



 แจ้งขอความช่วยเหลือ (Thaiflood.com) คลิ๊ก




Thaiflood

 18 วิธีรับมือน้ำท่วม คลิ๊ก  การเตรียมการก่อนน้ำท่วม คลิ๊ก  การรับมือระหว่างน้ำท่วม คลิ๊ก
 การเตรียมการอพยพ คลิ๊ก  ข้อมูลดาวเทียมแสดงอุทกภัยประเทศไทย (ข้อมูลจาก GISTDA) คลิ๊ก  ภาพแสดงระดับความสูงต่ำของพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของมวลน้ำ คลิ๊ก
 วิกฤตการณ์น้ำท่วมประเทศไทย 2554 (Crisis Map) คลิ๊ก  ตรวจสอบแผนที่น้ำท่วมกับ esri Thailand คลิ๊ก  สถานการณ์น้ำในเขื่อน คลิ๊ก
 ตรวจสอบเส้นทางน้ำท่วมทางหลวง โดยกรมทางหลวง คลิ๊ก  แผนที่เส้นทางหนีน้ำท่วมจาก กทม.ไป ภาคเหนือ, อีสาน คลิ๊ก  รวมข้อมูล ที่จอดรถหนีน้ำท่วม สำหรับผู้ประสบอุทกภัย คลิ๊ก
 เทคนิควาง “กระสอบทราย” สู้น้ำท่วม คลิ๊ก
 การป้องกันน้ำเข้าบ้าน และวิธีอุดปิดช่องทางน้ำเข้าบ้าน คลิ๊ก  เมื่อต้องขับรถลุยน้ำ น้ำท่วม!!! และเมื่อรถตกน้ำควรปฏิบัติอย่างไร คลิ๊ก  การทำเรืออย่างง่าย ๆ คลิ๊ก
 “ตะคริว” กับการเรียนรู้สู้ภัยน้ำท่วม คลิ๊ก  การปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Cardio Life Support : BCLS) (กรมแพทย์ทหารเรือ) คลิ๊ก  จะช่วยคนจมน้ำได้อย่างไร (ศ.พญ.วันดี วราวิทย์) คลิ๊ก


ดาวน์โหลด (Download): เอกสาร คู่มือเกี่ยวกับน้ำท่วม

ดาวน์โหลด (Download): Flood Fighting Methods (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): British Columbia Flood Plan (BC Flood Plan) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): Fact Sheet Floods (FEMA) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): คู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม (จัดทำโดย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): คู่มือรับมือน้ำท่วมไม่ยาก (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): โรคที่มากับน้ำท่วม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): อีกทางเลือกหนึ่งของชูชีพอย่างง่าย (สามารถทำเองได้) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): การใช้ถุงทรายเพื่อป้องกันน้ำท่วม (รศ.ดร.อมร  พิมานมาศ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): 6 แนวทางกันนํ้าท่วมเข้าบ้าน (รศ.ดร.อมร  พิมานมาศ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): รวมวิธีป้องกันรถจากภัยน้ำท่วม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): “ผนึกกำลัง ร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม” การเตรียมตัวเตรียมใจก่อนภัยน้ำท่วม ฉบับประชาชน (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (PDF) คลิ๊ก




หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ :




 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์คมชัดลึก คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์ข่าวสด คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คลิ๊ก

 TV 3 คลิ๊ก  TV 5 คลิ๊ก  TV 7 คลิ๊ก  ModerNine TV คลิ๊ก  Thai PBS คลิ๊ก



Ayutthaya Thai Flood 2011



น้ำท่วมกรุงเทพ ปี 2485 (Bangkok floods in 1942)



Nuidears Flood Control



mobile flood barrier



ถุงคลุมรถ



ข้อควรปฏิบัติขับรถช่วงน้ำท่วม



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 1/5 (23 ต.ค.54



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 2/5 (23 ต.ค.54



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 3/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 4/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 5/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม - พบหมอบ้าน 1/6 (22 ต.ค.54)



เพลง ประสบทุกข์ ประสบภัย ฝ่าไปด้วยกัน (ขับร้องโดย พนักงานไทยพีบีเอส



เพลงน้ำใจไทย (ขับร้องโดย แอ๊ด คาราบาว)



Friends' blogs
[Add muansuk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.