ขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คน ทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป ขอมีกำลังใจที่เต็มเปี่ยมและเข้มแข็ง มีสติที่ตั้งมั่น ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม, ทุกสิ่งเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา, การนำข้อมูลไปใช้ต้องใช้หลักกาลามสูตร. Group Blog จำนวน 215 Group Blog : รวมข้อมูลทั้งหมด 525 เรื่อง (Click (คลิ๊ก) ตรงกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีฟ้า หรือเครื่องหมายสามเหลี่ยมของกล่องสี่เหลี่ยม (ทางด้านขวามือ) (มีข้อมูลอยู่ในนั้นครับ) "ขอขอบคุณเจ้าของผลงานต่างๆ และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อการศึกษา เรียนรู้ และการวิจัยเท่านั้น"
Group Blog
 
All Blogs
 

ทำใจให้คุ้นชินกับความตาย (พระไพศาล วิสาโล)

พระไพศาล วิสาโล (2552 : 15-18) แสดงพระธรรมเทศนาว่า

ไม่ว่าจะหลีกหนีให้ไกลเพียงใด เราทุกคนก็หนีความตายไม่พ้น ในเมื่อจะต้องเจอกับความตายอย่างแน่นอน แทนที่จะวิ่งหนีความตายอย่างไร้ผล จะไม่ดีกว่าหรือ หากเราหันมาเตรียมใจรับมือกับความตาย ในเรื่องนี้ มองแตญปราชญ์ชาวฝรั่งเศสได้กล่าวแนะนำว่า “เราไม่รู้ว่าความตายคอยเราอยู่ ณ ที่ใด ดังนั้น ขอให้เราคอยความตายทุกหนแห่ง”

สิ่งลี้ลับแปลกหน้านั้นย่อมน่ากลัวสำหรับเราเสมอ แต่ถ้าเมื่อใดที่เราคุ้นชินกับมัน มันก็ไม่น่ากลัวอีกต่อไป ความตายก็เช่นกัน การเตรียมใจรับมือกับความตายที่ดีที่สุด คือ การทำใจให้คุ้นชินกับมันเป็นเบื้องแรก เพื่อมิให้มันเป็นสิ่งแปลกหน้าสำหรับเราอีกต่อไปเราสามารถทำใจให้คุ้นชินกับความตายได้ด้วยการระลึกนึกถึงความตายอยู่เสมอ นั่นคือการเจริญ “มรณสติ” อยู่เป็นประจำ




การเจริญมรณสติคือการระลึกหรือเตือนตนว่า 1) เราต้องตายอย่างแน่นอน 2) ความตายสามารถเกิดขึ้นกับเราได้ทุกเมื่อ อาจเป็นปีหน้า เดือนหน้า พรุ่งนี้ คืนนี้ หรืออีกไม่กี่นาทีข้างหน้าก็ได้ เมื่อระลึกได้เช่นนี้แล้ว ก็ต้องสำรวจหรือถามตนเองว่า 3) เราพร้อมที่จะตายหรือยัง เราได้ทำสิ่งที่ควรทำเสร็จสิ้นแล้วหรือยัง และพร้อมที่จะปล่อยวางสิ่งทั้งปวงแล้วหรือยัง 4) หากยังไม่พร้อม เราควรใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เร่งทำสิ่งที่ควรทำให้เสร็จสิ้น อย่าปล่อยเวลาให้สูญเปล่า หาไม่แล้ว เราอาจไม่มีโอกาสได้ทำสิ่งเหล่านั้นเลยก็ได้

ข้อ 1) และ 2) คือความจริงหรือเป็นกฎธรรมชาติที่เราไม่อาจปฏิเสธหรือขัดขืนต้านทานได้ ส่วนข้อ 3) และ 4) คือสิ่งที่อยู่ในวิสัยที่เราจะจัดการได้ เป็นการกระทำที่อยู่ในความรับผิดชอบของเราโดยตรง

การระลึกหรือเตือนใจเพียง 2 ข้อแรกว่า เราต้องตายอย่างแน่นอน และจะตายเมื่อไรก็ได้ หากทำอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เราตื่นตระหนกน้อยลง เมื่อความตายมาปรากฎอยู่เบื้องหน้าเพราะเตรียมใจไว้แล้ว แต่ทันทีที่เราตระหนักว่าความตายจะทำให้เราพลัดพรากจากทุกสิ่งที่มีอยู่อย่างสิ้นเชิง ในชั่วขณะนั้นเองหากเราระลึกขึ้นมาได้ว่ามีบางสิ่งบางคนที่เรายังห่วงอยู่ มีงานบางอย่างที่เรายังทำไม่แล้วเสร็จ หรือมีเรื่องค้างคาใจที่ยังไม่ได้สะสาง ย่อมเป็นการยากที่เราจะก้าวเข้าหาความตายได้โดยไม่สะทกสะท้าน ยิ่งความตายมาพร้อมกับทุกขเวทนาอันแรงกล้า หากไม่ได้ฝึกใจไว้เลยในเรื่องนี้ก็จะทุรนทุรายกระสับกระส่ายเป็นอย่างยิ่ง เพราะไหนจะถูกทุกขเวทนาทางกายรุมเร้า ไหนจะห่วงหาอาลัยหรือคับข้องใจสุดประมาณ ทำให้ความตายกลายเป็นเรื่องทุกข์ทรมานอย่างมาก




ด้วยเหตุนี้ลำพังการระลึกถึงความตายว่า จะต้องเกิดขึ้นกับเราอย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว จึงยังไม่เพียงพอ ควรที่เราจะต้องพิจารณาต่อไปด้วยว่าเราพร้อมจะตายมากน้อยแค่ไหนและควรจะทำอย่างไรกับเวลาและชีวิตที่ยังเหลืออยู่ การพิจารณา 2 ประเด็นหลังนี้จะช่วยกระตุ้นเตือนให้เราไม่ประมาทกับชีวิต เร่งทำสิ่งที่ยังค้างคาอยู่ให้แล้วเสร็จ ไม่ผัดผ่อนไปเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันก็เห็นความสำคัญของการฝึกใจให้ปล่อยวางบุคคลและสิ่งต่าง ๆ ที่ยังยึดติดอยู่ กล่าวโดยสรุปคือ ควรพิจารณาทั้ง 4 ข้อไปพร้อมกัน

เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนมชีพอยู่ได้ตรัสแนะนำให้ภิกษุเจริญมรณสติเป็นประจำ อาทิ ให้ระลึกเสมอว่า เหตุแห่งความตายนั้นมีมากมาย เช่น งูกัด แมลงป่องต่อย ตะขาบกัด หาไม่ก็อาจพลาดพลั้งหกล้ม อาหารไม่ย่อย ดีซ่าน เสมหะกำเริบ ลมเป็นพิษ ถูกมนุษย์หรืออมุษย์ทำร้าย จึงสามารถตายได้ทุกเวลา ไม่กลางวันก็กลางคืน ดังนั้นจึงควรพิจารณาว่า บาปหรืออกุศลธรรมที่ตนยังละไม่ได้ ยังมีอยู่หรือไม่ หากยังมีอยู่ ควรพากเพียร ไม่ท้อถอย เพื่อละบาปและอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย หากละได้แล้ว ก็ควรมีปีติปราโมทย์ พร้อมกับหมั่นเจริญกุศลธรรมทั้งหลายได้เพิ่มพูนมากขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน

แม้กระทั่งเมื่อพระองค์ใกล้จะปรินิพพาน โอวาทครั้งสุดท้ายของพระองค์ก็ยังเน้นย้ำถึงความไม่เที่ยงของชีวิต ดังตรัสว่า

“สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ท่านทั้งหลายจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด”


ความไม่ประมาท ขวนขวายพากเพียร ไม่ปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์ เป็นคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงเน้นมาก เมื่อมีการเจริญมรณสติ หรือเมื่อตระหนักถึงความไม่เที่ยงของชีวิต อย่างไรก็ตามเมื่อความตายมาประชิดตัว พระพุทธองค์ทรงสอนให้ปล่อยวางสิ่งทั้งปวง ดังทรงแนะนำอุบาสกที่จะช่วยเหลือผู้ใกล้ตาย ว่าพึงน้อมใจเขาให้ละความห่วงใยในมารดาและบิดาในบุตรและภรรยา (สามี) จากนั้นให้ละความห่วงใยในกามคุณ 5 (หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลินทางกาย) ละความห่วงใย แม้กระทั่งสวรรค์ทั้งปวง ตลอดจนพรหมโลก น้อมใจสู่ความดับ ซึ่งความยึดติดทั้งปวง เพื่อบรรลุถึงความวิมุติหลุดพ้นในที่สุด



เอกสารอ้างอิง : พระไพศาล วิสาโล. ระลึกถึงความตายสบายนัก. -- : Canna Graphic, 2552.






---------------------------------------------------------




Link ที่น่าสนใจ :




visalo.org รวบรวมงานเขียนและบทความของพระไพศาล วิสาโล

ธรรมบรรยาย และธรรมนิพนธ์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)




//www.visalo.org/

Download E-book ของพระไพศาล วิสาโล

Download E-Book หลักชีวิต หลักชาวพุทธ (พระไพศาล วิสาโล)

Download E-Book ความฉลาดในการรับมือกับเหตุการณ์แย่ ๆ (พระไพศาล วิสาโล)

Download E-Book ก่อนวันผลัดใบ หนังสือแสดงเจตนาการจากไปในวาระสุดท้าย (พระไพศาล วิสาโล แสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิธีแบบพุทธ)

Download E-Book เปิดใจรับความสุข (พระไพศาล วิสาโล) (PDF)

Download E-Book รักษาใจยามป่วยไข้ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) (PDF)

Download E-Book กายหายไข้ ใจหายทุกข์ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) (PDF)

Download E-Book ภูมิธรรมชาวพุทธ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) (PDF)

วัดญาณเวศกวัน

การรักษาศีล 5

พระคาถาโพชฌังคปริตร

พระคาถาสักกัตตะวา : คาถาปัองกันและรักษาโรคมะเร็ง

ธรรมะสำหรับผู้รักษาคนเจ็บไข้

ธรรมะสำหรับคนเจ็บไข้และญาติ

ธรรมะสำหรับรับมือกับความพลัดพราก

ธรรมะสำหรับรับมือกับมะเร็ง





---------------------------------------------------------







หลวงพ่อชา สมาทานศีล 5







หลวงพ่อชา สอนการทำสมาธิ







หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 1/9







หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 1







หลวงพ่อพุธ ฐานิโย สอนกรรมฐาน







ฉลาดเผชิญทุกข์ 1/2 (พระไพศาล วิสาโล)







ฉลาดเผชิญทุกข์ 2/2 (พระไพศาล วิสาโล)







มองเป็นก็เห็นสุข 1/3 (พระไพศาล วิสาโล)







มองเป็นก็เห็นสุข 2/3 (พระไพศาล วิสาโล)







มองเป็นก็เห็นสุข 3/3 (พระไพศาล วิสาโล)






---------------------------------------------------------




 

Create Date : 01 สิงหาคม 2554    
Last Update : 16 ตุลาคม 2554 1:11:36 น.
Counter : 6420 Pageviews.  

ญาติทำสิ่งดี ๆ ให้คนไข้ได้ (พระไพศาล วิสาโล)

พระไพศาล วิสาโล (2554 : 66-69) แสดงพระธรรมเทศนาว่า

อาตมาถึงบอกว่าญาติมีความสำคัญมาก เรามักคิดพึ่งหมอและพยาบาลว่าจะช่วยคนไข้ให้ไปสงบได้ แต่บางทีเราลืมไปว่าญาติสามารถทำสิ่งดี ๆ ให้คนไข้ได้ เช่น น้อมใจในทางที่เป็นกุศล การปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ การขอขมา เรื่องเหล่านี้มีความสำคัญต่อคนไข้ในยามใกล้ตาย แต่ญาติอาจไม่ตระหนัก

มีคนไข้คนหนึ่งป่วยหนัก คงอยู่ได้ไม่นาน พยาบาลจึงแนะนำลูกให้ขอขมาแม่ แต่ลูกไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไร อาจจะรู้สึกเขิน คนใกล้ชิดกันบางทีก็ขอโทษกันไม่เป็น พยาบาลจึงแนะนำให้ลูกทำตาม ลูกขอขมาแล้ว แต่แม่ก็ยังสีหน้าหม่นหมองอยู่ พยาบาลสังเกตเห็นเลยไปถามลูกว่าได้พูดความในใจหมดหรือยัง ลูกบอกว่าพยาบาลรู้ได้อย่างไร มีเรื่องหนึ่งที่เขาไม่ได้บอกแม่ คือเขาอยู่กินกับผู้หญิงคนหนึ่งจนมีลูกด้วยกัน แต่ไม่ได้บอกแม่เลย เพราะคิดว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่แม่คงระแคะระคายเรื่องนี้ และคงรู้สึกน้อยใจที่ลูกไม่ยอมบอกเรื่องนี้กับแม่ สุดท้ายลูกเลยไปสารภาพว่าตอนนี้ได้ไปอยู่กินกับผู้หญิงคนหนึ่ง แล้วขอโทษที่ไม่ได้บอกแม่ หลังจากนั้นแม่ก็มีสีหน้าดีขึ้น และจากไปอย่างสงบ




เรื่องบางเรื่องเราอาจคิดว่าไม่สำคัญ แต่คนไข้อาจเห็นเป็นเรื่องสำคัญและรู้สึกติดค้างใจก็ได้ ถ้าญาติเข้าใจ ก็ควรสะสางเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้ติดค้างใจคนไข้

บางครั้งญาติเองเป็นฝ่ายเสียใจที่ไม่ได้พูดความในใจบางอย่าง เช่น ภรรยาเสียใจที่ไม่ได้บอกรักสามี อยากจะบอกแต่ก็ไม่ได้บอกจนกระทั่งสามีเสียชีวิต เสร็จแล้วก็มานั่งเสียใจว่าสายไปแล้ว ทำไมเราไม่พูดตอนเขายังมีชีวิตอยู่ มีกรณีหนึ่ง พยาบาลสังเกตว่าภรรยานั่งซึมข้างเตียงสามีซึ่งกำลังจะตาย พยาบาลถามว่าเกิดอะไรขึ้น ภรรยาเล่าว่า เสียใจที่ไม่เคยบอกรักสามีเลย ตอนนี้อยากพูดแต่เขาไม่รู้สึกตัวแล้ว พยาบาลบอกว่ายังไม่สาย ขอให้พูดในสิ่งที่อยากจะพูดเหมือนกับว่าเขายังปกติดี พูดจบพยาบาลก็ออกจากห้องไป ทิ้งให้ภรรยาอยู่กับสามี

ภรรยาจึงพูดกับสามีว่า ฉันโชคดีที่ได้แต่งงานกับคุณ ตลอดเวลาที่ผ่านมาฉันมีความสุขมากที่ได้อยู่กับคุณ อยากบอกว่าฉันรักคุณ และคงอยู่ได้ยากถ้าไม่มีคุณ แต่ว่าฉันไม่อยากให้คุณทุกข์มากกว่านี้อีกแล้ว ถ้าหากคุณไปก็ขอให้ไปโดยไม่ต้องห่วงฉัน

พอเธอพูดจบคนไข้ก็หายใจยาวแล้วหมดลม เหมือนกับว่าเขารอประโยคนี้จากภรรยา พอได้ยินก็พร้อมจะไปทันที

โรงพยาบาลหลายแห่งนี้มีหน่วยดูแลผู้ป่วยใกล้ตายแบบประคับประคอง ซึ่งทางผู้บริหารของโรงพยาบาลมีความสนใจโครงการนี้จึงส่งเจ้าหน้าที่มารับการอบรม 3 วัน การอบรมที่เครือข่ายพุทธิกาจัดจะเน้นเรื่องภาวะใกล้ตาย การช่วยเหลือทางจิตใจแก่ผู้ป่วยใกล้ตาย รวมทั้งการจัดเตรียมใจตนเองให้พร้อมรับความตาย เช่น ทำพินัยกรรมชีวิต และเจริญมรณสติ หรือซ้อมตาย นอกจากการบรรยายแล้วก็มีการฝึกปฏิบัติโดยใช้บทบาทสมมติ แบ่งคนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นคนไข้ อีกกลุ่มหนึ่งเป็นญาติหรือพยาบาล แล้วจับคู่กัน โดยมีโจทย์ให้ลองปฏิบัติ จากนั้นก็มาอภิปรายกันว่าพูดแบบนี้แล้วคนไข้เครียด วันสุดท้ายมีการไปเยี่ยมคนไข้ที่โรงพยาบาลใกล้ ๆ เช่นที่จังหวัดนครปฐม




ตลอด 3 วันมีการทำสมาธิ บางช่วงก็มีการเล่าความในใจ จะเรียกว่าปลดเปลื้องความในใจก็ได้ หลายคนที่มาอบรมมีสิ่งที่ค้างคาใจ มักจะมีความรู้สึกผิดหรือเสียใจที่ไม่ได้ทำบางสิ่งบางอย่างให้พ่อแม่ หรือผู้มีพระคุณ จนกระทั่งเขาจากไป เราก็จัดกิจกรรมให้เขาได้บอกเล่าความในใจถึงผู้ที่จากไป โดยเชิญเขามาในจินตนาการ หลายคนพอได้รู้สึกว่าจิตใจโปร่งโล่งเบาขึ้น เพราะรู้สึกว่าได้ปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ กิจกรรมนี้ยังทำให้เขารู้ว่าสิ่งค้างคาใจเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อเขามีโอกาสช่วยเหลือผู้ใกล้ตาย เขาจะได้แนะนำถูก

เครือข่ายพุทธิกามีการอบรมเผชิญความตายอย่างสงบตลอดปี ผู้ที่สนใจดูรายละเอียดที่ www.budnet.org หรือโทรศัพท์ไปสอบถามที่ 0-2314-7385


เอกสารอ้างอิง : พระไพศาล วิสาโล. พรุ่งนี้หรือชาติหน้า ไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะมาก่อน / เสริมศักดิ์ ศุกรวรรณ : เรียบเรียง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์ธรรมะ, 2554.





---------------------------------------------------------




Link ที่น่าสนใจ :





visalo.org รวบรวมงานเขียนและบทความของพระไพศาล วิสาโล ธรรมบรรยาย และธรรมนิพนธ์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)







//www.visalo.org/

Download E-book ของพระไพศาล วิสาโล

Download หนังสือหลักชีวิต หลักชาวพุทธ (พระไพศาล วิสาโล)

Download หนังสือความฉลาดในการรับมือกับเหตุการณ์แย่ ๆ (พระไพศาล วิสาโล)

Download หนังสือก่อนวันผลัดใบ หนังสือแสดงเจตนาการจากไปในวาระสุดท้าย (พระไพศาล วิสาโล แสดงธรรมเทศนา เรื่อง การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิธีแบบพุทธ)

วัดญาณเวศกวัน

Download หนังสือรักษาใจยามป่วยไข้ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) (PDF)

Download หนังสือกายหายไข้ ใจหายทุกข์ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) (PDF)

Download หนังสือภูมิธรรมชาวพุทธ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) (PDF)

การรักษาศีล 5

พระคาถาโพชฌังคปริตร

พระคาถาสักกัตตะวา : คาถาปัองกันและรักษาโรคมะเร็ง

ธรรมะสำหรับผู้รักษาคนเจ็บไข้

ธรรมะสำหรับคนเจ็บไข้และญาติ

ธรรมะสำหรับรับมือกับความพลัดพราก

ธรรมะสำหรับรับมือกับมะเร็ง



---------------------------------------------------------




ฟังพระธรรมเทศนา :



มองเป็นก็เห็นสุข (พระไพศาล วิสาโล)

กระจกสะท้อนใจ (พระไพศาล วิสาโล)

ฉลาดเผชิญทุกข์ (พระไพศาล วิสาโล)

เสียงธรรมหลวงพ่อไพศาล วิสาโล (Website : ฟังธรรม.com)



---------------------------------------------------------







บทสวดพระคาถาชินบัญชร








บทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก







บทสวดโพชฌังคปริตร







มองเป็นก็เห็นสุข 1/3 (พระไพศาล วิสาโล)







มองเป็นก็เห็นสุข 2/3 (พระไพศาล วิสาโล)







มองเป็นก็เห็นสุข 3/3 (พระไพศาล วิสาโล)






---------------------------------------------------------




 

Create Date : 25 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 26 กรกฎาคม 2554 1:30:36 น.
Counter : 2347 Pageviews.  

กีสาโคตมี

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี่) (2554 : 91-96) แสดงพระธรรมเทศนาว่า

พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า บนผืนแผ่นดินที่เราเหยียบยืนอยู่นี้ ไม่เคยมีที่ไหนที่เอามือวางลงไปแล้วไม่มีคนมานอนตาย น้ำตาของมนุษย์ที่เคยหวนไห้ไปกับญาติที่ล่วงลับดับขันธ์นั้น หากเอามารวมกันจะมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั่วโลก ท่านตรัสถึงขนาดนี้เพื่อที่จะแสดงว่าความตายเป็นธรรมดา

แต่ถึงกระนั้น มนุษย์ก็ยังไม่ยอมรับ พอมีใครตายขึ้นมาก็ทุกข์ พอมีใครตายขึ้นมาก็เศร้า พอมีใครตายขึ้นมาก็คร่ำครวญหวนไห้กันไม่จบไม่สิ้น เพราะเราไม่ยอมรับว่าความตายเป็นธรรมดาของชีวิต เราจึงตื่นตกใจกัน แต่ถ้าเราฟังพระพุทธเจ้า ความตายก็เป็นธรรมดา ไม่มีใครล่วงพ้นความตายไปได้




ในสมัยพุทธกาล มีหญิงสาวคนหนึ่งแต่งงานแล้วก็ตั้งครรภ์ คลอดลูกคนแรกออกมาแล้วลูกเสียชีวิตด้วยโรคปัจจุบันทันด่วน เนื่องจากเป็นลูกคนแรก ผู้หญิงคนนั้นรับไม่ได้ ร้องห่มร้องไห้เสียใจจนกลายเป็นคนวิกลจริต ไม่ยอมเผาศพลูก อุ้มศพลูกไปทุกหนทุกแห่ง คร่ำครวญหวนไห้เสื้อผ้าหลุดลุ่ย เดินไปทางไหนชาวบ้านชาวเมืองแตกออกเป็นวง ๆ ไม่มีใครอยากเข้ามาใกล้เพราะเหม็นศพลูกของเธอ แต่เธอก็ไม่ยอมทิ้งลูก เพราะเธอรู้สึกอยู่เสมอว่า ลูกยังไม่ตายหรือตาย แต่จะต้องฟื้น นี่คือลักษณะของคนที่ไม่ยอมรับสัจธรรม

ใคร ๆ ที่ได้พบเธอกลางทางต่างก็รู้สึกสงสารมาก สงสารเหลือเกิน ดูสิทั้งแม่ทั้งลูกอยู่ในสภาพมอมแมม คนหนึ่งตายไปแล้วจนเหม็น แม่ก็อุ้มกลางอก น้ำหูน้ำตาไหลปนเปื้อนกันไปหมด ครึ่งคนครึ่งผี

บัณฑิตคนหนึ่งได้พบเธอกลางทาง ก็เลยจูงแขนเธอไปเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงในวัด วันนั้นพระพุทธองค์กำลังแสดงธรรม ผู้หญิงคนนี้เดินฝ่าฝูงชนเข้าไป ทุกคนตกใจหันมามองเป็นตาเดียว พระพุทธองค์ทรงกวักพระหัตถ์บอกว่า ปล่อยเธอเข้ามา หญิงคนนี้อุ้มลูกมา ทรุดตัวลงหน้าพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า เธอถามว่า

“หม่อมฉันได้ยินว่าพระองค์เป็นผู้วิเศษ ถ้าพระองค์เป็นผู้วิเศษจริง จะชุบชีวิตลูกของหม่อมฉันได้ไหม”

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เราทำได้”

“งั้นก็นิมนต์เลยเจ้าค่ะ ชุบชีวิตลูกหม่อมฉันหน่อย”

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “น้องหญิง เราชุบชีวิตลูกของเธอได้ แต่ต้องใช้ตัวยานะ”

“ยาอะไรเจ้าคะ ดิฉันจะช่วยได้ไหม”

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เธอไปหาเมล็ดพันธุ์ผักกาดมานะ เอามาสักกำหนึ่ง”

“แหม แค่นี้เองหรือเจ้าคะ ที่บ้านดิฉันก็มีถมไป”

“ยังหรอกน้องหญิง ไปหาเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากบ้านที่ไม่มีคนตาย ถ้าหามาได้ ตถาคตจะปรุงยาฟื้นชีวิตลูกของเธอให้”




เธอดีใจมากรีบวิ่งออกจากวัดเพื่อไปหาเมล็ดพันธุ์ผักกาด เจอบ้านหลักแรกก็ถามทันที “คุณแม่คะ มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดไหมคะ”
คุณยายบ้านหลังแรกบอก “มี จะเอาเยอะไหมล่ะ”
“ขอสักกำ อ๋อ ลืมถามไปนิดหนึ่ง บ้านหลังนี้เคยมีคนตายไหมคะ”
คุณยายบอก “มี เพิ่งตายเมื่อวานนี้เอง”

บ้านหลังที่หนึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ จึงไปบ้านหลังที่สองต่อ
“คุณลุงคะ มีเมล็ดผักกาดไหมคะ”
“มี นังหนูจะเอาเยอะไหม จะขายถูก ๆ”
“ไม่เยอะค่ะ จะขอสักกำ”
“เอ้า ขึ้นมาเอา”
“เอ่อ...ลุงคะ บ้านหลังนี้เคยมีคนตายไหม”
“มีสิ ตายเมื่อปีที่แล้วนี่ ลูกชายลุงเอง”

ผิดหวังอีกแล้วบ้านหลังที่สอง ร้องไห้ไปบ้านหลังที่สาม
“คุณน้าคะ มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดไหมคะ”
“มี จะเอาเยอะไหมหนู”
“ไม่เยอะหรอกค่ะ เอาสักกำหนึ่ง”
“ถ้างั้นขึ้นมาเอา”
“เออ คุณน้าคะ เคยมีคนตายไหมคะ”
“ลูกของน้าตายเมื่อเดือนที่แล้วนะ”

บ้านหลังที่สามผิดหวังอีก ไปบ้านแต่ละหลัง ๆ มีเมล็ดพันธุ์ผักกาด แต่บ้านทุกหลังต่างเคยมีคนตายทั้งนั้น ไม่ตายวันวานก็ตายก่อนหน้า ไม่ตายก่อนหน้าก็ตายอาทิตย์โน้น อาทิตย์นั้น เดือนนั้น เดือนโน้น ปีนั้นปีนี้ ไล่ไปจนกระทั่งว่าครบทุกหมู่บ้าน เมล็ดพันธุ์ผักกาดจากบ้านหลังไหนก็มี แต่เมล็ดพันธุ์ผักกาดจากบ้านที่ไม่มีคนตายปรากฏว่าไม่เคยมี

พอถึงบ้านหลังสุดท้ายเธอไปเจอเจ้าของบ้าน “ลุกช่วยสงเคราะห์หนูหน่อยเถอะ หนูอยากได้เมล็ดพันธุ์ผักกาด”
“เอ้า ขึ้นมาเอาสิลูก ลุงเก็บไว้เยอะเลย เก็บไว้ทำพันธุ์”
“เออ บ้านของลุงยังใหม่อยู่นะ เคยมีคนตายไหมนี่”
ลุงบอก “ทำไมถามอย่างนี้ล่ะ ปากไม่เป็นมงคล เอ้ามาดูสิ”
“ทำไมหรือคะ”
“ลูกเดินเข้าไปนะ”
ภรรยาแกกำลังพะงาบ ๆ อยู่ เดินข้ามธรณีประตูเข้าไป ภรรยาแกก็สิ้นใจพอดี




นาทีนั้นผู้หญิงคนนั้นเกิดปัญญาสว่างโพลงขึ้นมาโดยพระพุทธเจ้าไม่ต้องเทศน์ เหมือนเรากัดพริกขี้หนู ต้องถามไหมว่าอาการเผ็ดเป็นอย่างไร กัดกร้วมเข้าไปอาการมันจี๊ดเลย ใช่ไหม นั่นแหละผู้หญิงคนนี้ก็จี๊ดขึ้นมาเลยว่า โอ้เรานี่โง่จริง ๆ บ้านหลังไหนก็มีคนตายทั้งนั้น เราคิดแต่ว่ามีลูกคนเดียวที่ตาย เขาตายกันทั้งบ้านทั้งเมือง ทำไมฉันโง่อย่างนี้ คิดได้อย่างนี้ก็บรรลุธรรม เป็นพระโสดาบัน จึงได้กลับไปหาพระพุทธเจ้าแบบสบายอกสบายใจ
พระพุทธเจ้าทรงเห็นมาแต่ไกล ทรงแย้มพระสรวลรอ ตรัสว่า “เอ้าน้องหญิงมานั่งซิ ไหนล่ะเมล็ดพันธุ์ผักกาด”
“ไม่ได้เจ้าค่ะ”
“ไม่อยากให้ลูกฟื้นหรือ”
“ไม่จำเป็นแล้วเจ้าค่ะ”
“ทำไมล่ะ”
“คนเขาตายกันทั้งบ้านทั้งเมืองเจ้าค่ะ”
พอได้ฟังอย่างนี้พระพุทธเจ้ายิ้มเลย ไม่ต้องเปลืองน้ำลาย เขารู้ด้วยตัวของเขาเอง

นี่คือการศึกษาที่แท้จริง ลงมือประพฤติปฏิบัติแล้วมันได้ปัญญาขึ้นมาจริง ๆ ผู้หญิงคนนี้หลังจากที่สอบถามไปทีละบ้าน ๆ ก็ได้ค้นพบความจริงว่า ทุกหลังคาเรือนล้วนแล้วแต่มีคนตาย มีแต่เราเท่านั้นที่โง่ไม่ยอมรับว่าลูกได้ตายไปแล้ว เกิดอาการบรรลุสัจธรรม ก็เลยทิ้งลูกกลางทางไม่ดูดำดูดี ถือว่าไร้สาระ ตายได้ก็ทิ้งได้ไม่ต้องเผา ไปหาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็บอกว่า สาธุ ความตายเป็นเรื่องธรรมดาจริง ๆ


เอกสารอ้างอิง : พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี). หนึ่งคนตาย ล้านคนตื่น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ปราณ, 2554.





---------------------------------------------------------




Link ที่น่าสนใจ :


เสียงธรรม พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) (Website : ฟังธรรม) : //www.fungdham.com/sound/vorvachiramete.html


เสียงธรรม พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) (website : ธรรมะไทย) : //www.dhammathai.org/sounds/vachiramethi.php


สถานีธรรมะ ท่าน ว.วชิรเมธี (Website : dhammatoday.com) : //www.dhammatoday.com/


Facebook พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) : //th-th.facebook.com/vajiramedhi


Twitter พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) : //twitter.com/#!/vajiramedhi


Download E-Book : 7 สิ่งมหัศจรรย์ของชีวิต 7 หลักคิดเพื่อความสุข : พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) (Website : Dhamma Today) : //www.dhammatoday.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1327%3A-qq-&catid=89%3A2009-09-16-06-30-52&Itemid=61&lang=th



---------------------------------------------------------







ผ่าตัดความเครียด ตอนที่ 1/5 โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)







ผ่าตัดความเครียด ตอนที่ 2/5 โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)







ผ่าตัดความเครียด ตอนที่ 3/5 โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)







ผ่าตัดความเครียด ตอนที่ 4/5 โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)






ผ่าตัดความเครียด ตอนที่ 5/5 โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)




 

Create Date : 16 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 18 กรกฎาคม 2554 4:33:17 น.
Counter : 1108 Pageviews.  

แม้ถึงวาระสุดท้าย มนุษย์ก็ไม่หมดโอกาสที่จะได้สิ่งดีที่สุดของชีวิต

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (2554 : 41-43) แสดงพระธรรมเทศนาว่า

ยิ่งกว่านั้น ทางพุทธศาสนาถือว่า ชีวิตคนมีโอกาสตลอดเวลา จนถึงวาระสุดท้าย แม้แต่จะบรรลุประโยชน์สูงสุดของชีวิตในขณะดับจิต โดยเฉพาะการบรรลุธรรมซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์ยอดสุดของชีวิต เรียกง่าย ๆ ก็คือการบรรลุนิพพานนั้น แม้แต่ป่วยไข้กำลังจะตายก็มีโอกาส มนุษย์จึงมีโอกาสจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ไม่มีอะไรจะได้แล้วก็ยังสามารถได้สิ่งสูงสุดของชีวิต ดังมีท่านที่บรรลุธรรมในขณะจิตสุดท้ายตอนจะดับ ที่เรียกเป็นศัพท์ว่า “ชีวิตสมสีสี” คือบรรลุธรรมสูงสุดพร้อมกับสิ้นชีวิต




การที่มีโอกาสมากถึงขนาดนี้ บางครั้งก็ขัดกันกับเรื่องทางร่างกาย คือแม้แต่ร่างกายเจ็บปวดทุกข์ทรมานที่สุดแล้วจิตก็ยังมีโอกาสอยู่ ตามปกติเราย่อมต้องการให้ทั้งกายทั้งจิตดีทั้งคู่ จึงจะมีสุขเต็มพร้อม แต่ดังที่กล่าวแล้วว่าคนเราไม่หมดโอกาส แม้ร่างกายเจ็บปวดสุดทรมานอย่างจะขาดใจ บางทีความทุกข์ทรมานเป็นต้นที่เกิดขึ้นนั้นกลับมาเป็นอารมณ์ของปัญญา ทำให้เข้าใจหยั่งเห็นความจริงของชีวิต และบรรลุโพธิญาณได้ เลยตรัสรู้ในตอนที่จะดับจิตนั้น กลายเป็นพระอรหันต์ไป เป็นอันว่า คนแม้จะตายจนถึงวาระสุดท้าย ก็ยังมีโอกาสที่จะบรรลุธรรมสูงสุด ที่เป็นประโยชน์สุดยอดของชีวิต จึงเป็นข้อที่ต้องคำนึงไว้อย่างหนึ่ง

มีเรื่องในพระไตรปิฎกกล่าวถึงพระสาวกที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งก็คงจะไม่แพ้คนที่เจ็บป่วยในปัจจุบัน อย่างคนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งบางชนิดที่ทุกข์ทรมานอย่างมาก ยิ่งสมัยก่อนนั้นเราต้องนึกว่ายังไม่มีเครื่องอุปกรณ์มาช่วย ยาระงับความเจ็บปวดก็คงได้ผลไม่เท่าสมัยนี้ คนสมัยก่อนจึงคงจะต้องเจ็บปวดทรมานอย่างที่สุด แต่ถึงอย่างนั้นก็ปรากฏว่าบางท่านในขณะสุดท้ายที่ทุกข์ทรมานอย่างยิ่งนั้น ก็ได้เกิดปัญญามองเห็นธรรมรู้เข้าใจความจริงของชีวิตอย่างแท้จริงแล้วก็ จิตใจก็โปร่งโล่ง หลุดพ้นเป็นอิสระ จึงบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์อย่างที่กล่าวเมื่อกี้

ที่พูดมานี้เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงอย่างหนึ่งในการที่จะปฏิบัติต่อคนที่เจ็บป่วย คนที่ช่วยเหลือจะต้องเข้าใจเรื่องนี้ แล้วเราอาจจะกลับไปช่วยคนเจ็บไข้ได้ดียิ่งขึ้น




นอกจากช่วยทางสภาพจิตที่ดีงาม ให้ยึดเหนี่ยวในสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล ซึ่งก็ดีอยู่แล้ว เราอาจจะก้าวต่อไปอีกขั้นหนึ่ง คือ การช่วยทางปัญญา
ด้านปัญญานี้คนมักจะไม่ค่อยนึกถึง มักจะมองแค่เรื่องที่จะให้จิตยึดสิ่งที่ดีไว้ เกาะเกี่ยวกับบุญกุศลไว้ ซึ่งยังเป็นความยึดถืออย่างหนึ่ง ถ้าพ้นจากขั้นนี้ไปได้ เหนือขึ้นไป ก็จะอยู่ด้วยความสว่าง โปร่งโล่งของปัญญาที่บรรลุธรรม
คนเราที่เกิดมานี้ บางทีอยู่ด้วยความสุขสบายมาตลอดชีวิต ถ้าขาดความรู้เท่าทัน วางใจไม่ถูก ชีวิตที่อยู่มาดีนั้น กลับส่งผลย้อนกลับมาทำให้ยึดมั่นในชีวิตมากขึ้น หรือยึดมั่นเข้าไปเต็มที่แล้วความยึดมั่นในชีวิตนั้นแหละ พอถึงเวลาจะต้องละจากไป ก็เป็นเหตุให้มีความทุกข์ขุ่นมัวเศร้าหมองมากขึ้น เพราะฉะนั้นในวาระสุดท้ายที่ว่าเมื่อกี้ ถ้าเกิดแสงสว่างแห่งปัญญาขึ้นมาก็หลุดไปได้อีกที

เรื่องนี้มองในสายตาของเรา อาจจะคิดไม่ถึงว่าอะไรดีที่สุด แต่ในทางพระศาสนาท่านสอนให้เรารู้ว่า การเกิดปัญญาเข้าถึงความจริงนั้นแหละ เป็นความสุขที่สมบูรณ์ที่สุด ถึงตอนนั้นเราจะปลงใจวางใจต่อทุกอย่างถูกต้องไปหมด จิตใจโปร่งโล่งสว่างไสวอย่างไม่มีอะไรมาขีดคั่นจำกัด

ชีวิตของทุกคนที่เกิดมาควรจะได้ถึงขั้นนี้ แต่ถ้าหากว่าตอนที่สุขสบายอยู่ยังไม่ได้ แล้วคนเจ็บป่วยทุกข์ทรมานกลับได้ขึ้นมา เราก็ต้องยอมรับว่าเขาได้สิ่งประเสริฐกว่าเรา อันนี้เป็นข้อที่นำมาเสนอไว้ให้เห็นทัศนคติหรือท่าทีของพุทธศาสนาต่อเรื่องความตายนี้ในส่วนหนึ่ง


เอกสารอ้างอิง : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). ความจริงแห่งชีวิต และ ช่วยให้ตายเร็ว หรือช่วยให้ตายดี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา, 2554.



------------------------------
หนังสือนี้ไม่มีค่าสิขสิทธิ์
แต่เพื่อให้เนื้อหาสาระของหนังสือถูกต้องแม่นยำ
ท่านผู้ใดศรัทธาประสงค์จะพิมพ์เผยแพร่
ขอให้ติดต่อขอรับต้นแบบหนังสือ "ฟรี"
จากวัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม 73210
แล้วนำไปดำเนินการจัดพิมพ์เองตามแต่เห็นควร



---------------------------------------------------------




Link ที่น่าสนใจ :


วัดญาณเวศกวัน

Download หนังสือรักษาใจยามป่วยไข้ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) (PDF)

Download หนังสือกายหายไข้ ใจหายทุกข์ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) (PDF)

Download หนังสือภูมิธรรมชาวพุทธ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) (PDF)

การรักษาศีล 5

พระคาถาโพชฌังคปริตร

พระคาถาสักกัตตะวา : คาถาปัองกันและรักษาโรคมะเร็ง

ธรรมะสำหรับผู้รักษาคนเจ็บไข้

ธรรมะสำหรับคนเจ็บไข้และญาติ

ธรรมะสำหรับรับมือกับความพลัดพราก

ธรรมะสำหรับรับมือกับมะเร็ง



---------------------------------------------------------







บทสวดพระคาถาชินบัญชร








บทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก







บทสวดโพชฌังคปริตร







หลักชาวพุทธ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))








ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))








ความเพียรชนะโชคชะตา (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))







มนุษย์ประเสริฐได้ด้วยการฝึก (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))







รู้จักนิพพาน ที่ชาวบ้านอยากได้ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))







ทางสายกลาง เป็นทางไร้จุดหมาย ไม่ยึดมั่น กลายเป็นยึดเข้าเต็มเปา (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))







อยากแก้กรรมจะทำอย่างไร (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))






---------------------------------------------------------




 

Create Date : 16 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 20 กรกฎาคม 2554 18:46:36 น.
Counter : 695 Pageviews.  

ความพลัดพรากคือบททดสอบ (พระไพศาล วิสาโล)

พระไพศาล วิสาโล (2554 : 85-97) แสดงพระธรรมเทศนาว่า

เวลาเงินหายหรือเจ็บป่วย คนทั่วไปจะรู้สึกทุกข์ ขึ้งเครียด บ่นโวยวายในใจ
แต่ลองมองอีกมุมหนึ่งว่า นี่แหละคือสัญญาณเตือนใจเราว่า ความพลัดพรากความสูญเสียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นี่คือแบบฝึกหัดน้อย ๆ ของพญามัจจุราชที่มาเตือนให้เราเตรียมพร้อมสำหรับความพลัดพรากสูญเสียอันยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตคือความตาย

ถ้าเรายังทุกข์เพราะของหายหรือเจ็บป่วยแล้วเวลาใกล้ตาย เราจะไม่ย่ำแย่กว่านี้หรือเจอแค่นี้ยังทนไม่ได้ แล้วจะรับมือกับความตายได้อย่างไร

ใช่หรือไม่ว่าความตาย คือสุดยอดของความพลัดพรากและความสูญเสียทั้งปวง




ความตายนั้น เป็นบททดสอบที่เราไม่มีโอกาสแก้ตัว แต่ว่าเรายังมีโอกาสฝึกซ้อมเตรียมตัวจากความพลัดพรากสูญเสียต่าง ๆ ที่ประดังประเดเข้ามาในชีวิต เช่น ของหาย อกหัก เจ็บป่วย สิ่งเหล่านี้อย่าถือว่าเป็นเคราะห์ แต่ควรมองว่าเป็นบททดสอบหรือฝึกใจเราให้มีสติมากขึ้น ปล่อยวางได้มากขึ้น ถ้าเรามีสติและปล่อยวางได้มากเท่าไร เมื่อความตายมาถึง มันจะทำอะไรเราไม่ได้ เพราะเราได้ฝึกมาดีแล้ว ใจเราจะไม่หวั่นไหว เพราะเราเตรียมตัวมาดีแล้ว

ผู้ที่มีปัญญา เมื่อประสบเหตุร้ายหรือพบกับสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา จะไม่มองเป็นเคราะห์แต่มองเป็นโชค เพราะ

1. เป็นสัญญาณเตือน ให้เราตระหนักถึงความไม่เที่ยงของชีวิต มีสุขก็มีทุกข์ มีพบก็มีพราก มีเจอก็มีจาก ไม่มีอะไรแน่นอนหรืออยู่ค้ำฟ้าถาวร

2. เป็นแบบทดสอบ เพื่อฝึกให้เรามีความเข้มแข็ง อดทน กล้าหาญ มีปัญญา และรู้จักปล่อยวาง ทำให้พร้อมที่จะเผชิญกับเหตุร้ายแรงในวันหน้าได้ โดยเฉพาะความตาย

3. ในชีวิตประจำวันเรายังสามารถฝึกได้หลายแบบ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับความตาย เช่น ทำงานอะไรก็ตามเราพยายามอย่าให้คั่งค้าง อย่าไปนึกว่าฉันยังสามารถผัดผ่อนได้ อะไรที่สำคัญก็ควรจะจัดไว้เป็นอันดับต้น ๆ และทำงานโดยรู้สึกอยู่เสมอว่าเสร็จทุกวัน ถึงแม้มีงานหลายอย่างที่ไม่สามารถจะเสร็จได้ภายในวันเดียว แต่เสร็จหรือไม่เสร็จมันอยู่ที่ความรู้สึกด้วย มีคนเคยไปถามท่านอาจารย์พุทธทาสว่าอาคารต่าง ๆ ในสวนโมกข์สร้างมาหลายปีแล้วเมื่อไรจะเสร็จสักที ท่านอาจารย์ก็ตอบว่า เสร็จทุกวัน สวนโมกข์เสร็จทุกวัน

เราสามารถจะปลูกฝังทัศนคติแบบนี้ได้ ด้วยการทำอย่างน้อย 3 ประการต่อไปนี้

1. ทำสิ่งสำคัญเป็นอันดับแรก ๆ
พยายามไม่ให้คั่งค้าง ถึงแม้จะคั่งค้างก็ให้รู้สึกอยู่เสมอว่าเสร็จทุกวัน ไม่รู้สึกกังวลเมื่อถึงเวลาเลิกงาน พอถึงพรุ่งนี้ก็ค่อยลงมือใหม่ ถ้าทำใจได้แบบนี้แล้ว หากเรามีอันเป็นไปขึ้นมาอย่างกะทันหัน ไม่มีอะไรที่เราจะต้องห่วงหาอาลัย เวลามีเรื่องขัดแย้งเวลามีเรื่องบาดหมางกับใคร อย่าปล่อยให้ค้างคาเนิ่นนาน ระลึกอยู่เสมอว่า ไม่เราหรือเขาก็อาจจะตายก่อนก็ได้ ควรรีบทำความเข้าใจกันก่อนที่จะไม่มีโอกาส ถ้ามีใครเกิดตายก่อนจะได้ไม่มีเรื่องค้างคาใจ




2. เตรียมตัวรับมือกับความสูญเสียของคนที่เรารัก
ความทุกข์ของคนจำนวนไม่น้อยมักเกิดขึ้นเพราะสูญเสียคนรัก เรื่องแบบนี้ทุกคนต้องประสบไม่สามารถหนีพ้นได้ ดังนั้น จึงควรเตรียมใจไว้เสมอ เวลาเราไปเยี่ยมใคร หรือ เวลาพบปะสัมพันธ์กับใคร ให้เราลองระลึกอยู่เสมอว่า พ้นจากวันนี้ไปแล้ว เราอาจจะไม่มีโอกาสได้พบเขาอีกเลยก็ได้

ไม่เพียงกับคนไกลเท่านั้น กับคนรักหรือคนใกล้ชิดก็เช่นกัน ใครจะไปรู้ว่าพ้นจากวันนี้ไปแล้ว เราจะไม่ได้พบกันอีก ดังนั้น เราควรปฏิบัติต่อเขาอย่างดีที่สุด ขณะเดียวกันก็เตรียมใจรับกับการพลัดพรากจากเขาไว้ด้วย

เพื่อนคนหนึ่งมีแม่ซึ่งป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ ลูกสาวต้องดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ว่ายิ่งอยู่ใกล้ชิดมากเท่าไรก็อดมีเรื่องกระทบกระทั่งกันไม่ได้ เพราะว่าแม่ชอบจูจี้ แถมขี้ลืมอีกด้วย ส่วนลูกก็มีงานต้องออกต่างจังหวัดอยู่เสมอ บางครั้งพอใกล้จะถึงเวลาเดินทางแม่ก็มีอาการเรรวนแปรปรวนขึ้นมา โดยอารามรีบร้อนของลูกสาวบางทีก็พูดจาไม่ดีกับแม่ เพราะตัวเองก็เครียดจากการนอนดึกเพราะเคลียร์งานทั้งคืน แถมต้องทำอาหารให้แม่กินได้หลาย ๆ วันในช่วงที่ตัวเองไปต่างจังหวัด พอมาเจอแม่แสดงอาการจู้จี้พูดยากขึ้นมา ลูกสาวก็เลยพูดไม่ดีกับแม่ เสร็จแล้วพอออกไปประชุมสัมมนาต่างจังหวัด ลูกสาวก็มานั่งเสียใจว่าพูดไม่ดีกับแม่ ชั่วขณะหนึ่งก็อดคิดไม่ได้ว่า ถ้าหากแม่เกิดตายไป หรือว่าตัวเองเกิดตายไปในวันนั้น เธอจะรู้สึกอย่างไร คงรู้สึกไม่ดีมาก ๆ เลย ตรงนี้ทำให้เธอเปลี่ยนพฤติกรรม คือตั้งใจทำดีกับแม่ พยายามควบคุมตัวเองเวลาคุยกับแม่ วันไหนที่เธอจะต้องเดินทางไปต่างจังหวัดหลายวัน เธอก็จะทำดีที่สุดกับแม่ ทุกครั้งก่อนออกเดินทางเธอจะพูดกับแม่ว่า ถ้าหากว่าระหว่างที่หนูไปต่างจังหวัด หนูเกิดมีอันเป็นไปแม่อย่าเสียใจนะ เพราะแม่ได้เลี้ยงดูหนูมาอย่างดีที่สุดแล้ว ในทำนองเดียวกันถ้าแม่มีอันเป็นไประหว่างที่หนูไม่อยู่ ก็ขอให้แม่รู้ว่าหนูรักแม่ที่สุดเลย การพูดเช่นนี้เป็นการให้ความใส่ใจกับแม่เพราะตระหนักว่า ความตายสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกเวลา พอพูดและทำเช่นนี้แล้ว ลูกสาวมีความรู้สึกดีขึ้นมากเลย ไปต่างจังหวัดด้วยความรู้สึกปลอดโปร่ง ไร้กังวลและพร้อมที่จะเผชิญกับความจริงเมื่อวันนั้นมาถึง เพราะมันใจว่าได้ทำดีที่สุดแล้ว

เมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว เราจะไม่กลัวความพลัดพรากสูญเสีย คนที่กลัวความพลัดพรากสูญเสียเพราะลึก ๆ รู้ดีว่า ตัวเองยังไม่ได้ทำสิ่งที่ควรทำ หรือยังมีสิ่งค้างคาใจอยู่ การระลึกถึงความตายอยู่เสมอจะกระตุ้นเตือนให้เราทำสิ่งที่ดีที่สุดทุก ๆ วัน

3. เตรียมตัวในยามที่ความตายใกล้เข้ามา
เมื่อเริ่มแก่ตัว อย่างแรกที่เราต้องทำก็คือ เตรียมตัวเตรียมใจ ด้วยการเคลียร์สิ่งที่ค้างคาใจให้หมด อะไรที่ต้องทำก็ควรทำให้แล้วเสร็จ จะได้ไม่มีความห่วงกังวล ถ้ารู้สึกผิดกับใครควรหาโอกาสขอโทษ ถ้าโกรธใครก็ควรให้อภัยเขา ทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ที่เรามีก็ทำใจเสมอว่ามันไม่ใช่ของเรา ไม่ช้าก็เร็วจะต้องกลายเป็นของคนอื่น เตรียมตัวเตรียมใจแล้วต้องเตรียมคนด้วย เตรียมคนก็คือว่า คนที่รักเรา ผูกพันกับเรา ใกล้ชิดเรา เราควรช่วยให้เขาทำใจพร้อมรับความตายของเราได้ เพราะหากเขาทำใจไม่ได้ เราก็คงจากไปไม่สงบ หากเขามายืนร้องไห้ข้างเตียงขณะที่เรากำลังหมดลม เราคงตายไม่เป็นสุขแน่ ในยามนั้น เขาต้องยอมรับการจากไปของเรา และมั่นใจว่าเขาจะอยู่ได้แม้ไม่มีเราแล้วก็ตาม




การเตรียมคนในที่นี้รวมไปถึงขั้นที่ว่า แนะนำให้เขารู้ว่า เราต้องการอะไรหรือไม่ต้องการอะไรในเวลาที่เราไม่รู้สึกตัวแล้ว เราอยากจะให้เขายื้อชีวิตเราต่อไปหรือไม่ อยากจะให้หมอใส่ท่อช่วยหายใจ หรือปั๊มหัวใจเราด้วยหรือไม่ เพราะถึงตอนนั้นก็จะเป็นเรื่องที่ญาติต้องตัดสินใจ มีผู้ป่วยจำนวนมากที่อยู่ในภาวะโคม่า ไม่มีความรู้สึกตัว จะตายก็ไม่ตาย จะหายก็ไม่หาย การยื้อชีวิตด้วยเทคโนโลยีอาจทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานมากขึ้น ผู้ป่วยหลายคนจึงแสดงเจตจำนงล่วงหน้าว่า ขอปฏิเสธการยื้อชีวิต หากอาการหนักจนไม่รู้สึกตัวแล้ว เจตจำนงดังกล่าว ญาติหรือคนใกล้ชิดควรรู้ล่วงหน้าจากเราด้วย เพื่อเขาจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามความต้องการของเรา

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องไม่ลืมก็คือการทำสมาธิภาวนาอยู่เสมอ โดยเฉพาะการเจริญสติเพื่อให้มีความรู้เท่าทันในสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

เพราะว่า การที่เราจะตายอย่างสงบนั้น สติเป็นสิ่งสำคัญมาก

การเจริญสติไม่ใช่เรื่องที่จะมาทำกันตอนใกล้ตายเท่านั้น แต่ต้องทำในขณะที่ยังมีสุขภาพดีอยู่ และ ควรทำให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

การเจริญสติ ไม่ได้หมายถึงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมปิดตาอย่างเดียว แต่>หมายถึงการหมั่นรู้กาย รู้ใจ รู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิด มีความรู้สึกตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยรักษาใจให้เป็นปกติได้ คือไม่ยินดียินร้าย เมื่อรูปกระทบตา เสียงกระทบหู กลิ่นกระทบจมูก ใจก็เป็นปกติได้ แม้ว่าสิ่งแวดล้อมจะไม่สงบก็ตาม

การฝึกสติอย่างนี้เราสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอน แปรงฟัน อาบน้ำ กินข้าว นั่งรถ ไปทำงานเราต้องหมั่นเจริญสติในชีวิตประจำวัน การทำอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เรา วางใจเป็นกลาง ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งที่มากระทบ ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ เราก็สามารถที่จะสงบเป็นปกติได้ ไม่ฟูไม่แฟบ ไม่ขึ้นไม่ลง ยิ่งเรามีปัญญารู้เท่าทันในความไม่เที่ยง ความผันผวนแปรปรวนของชีวิต ใจก็สามารถสงบได้โดยไม่ต้องไปบังคับกดข่ม ความขึ้นลงเป็นธรรมดาของชีวิต เช่นเดียวกับความเกิดดับ


เอกสารอ้างอิง : พระไพศาล วิสาโล. เอาชนะความตาย ด้วยใจที่ปล่อยวาง. นนทบุรี : บริษัท บิสซี่เดย์ จำกัด, 2554.





---------------------------------------------------------




Link ที่น่าสนใจ :


visalo.org รวบรวมงานเขียนและบทความของพระไพศาล วิสาโล

Download E-book ของพระไพศาล วิสาโล

Download E-Book หลักชีวิต หลักชาวพุทธ (พระไพศาล วิสาโล) (PDF)

Download E-Book ความฉลาดในการรับมือกับเหตุการณ์แย่ ๆ (พระไพศาล วิสาโล) (PDF)

target=_blank> Download E-Book เปิดใจรับความสุข (พระไพศาล วิสาโล) (PDF)

Download E-Book ก่อนวันผลัดใบ หนังสือแสดงเจตนาการจากไปในวาระสุดท้าย (พระไพศาล วิสาโล แสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิธีแบบพุทธ) (PDF)

Download E-Book รักษาใจยามป่วยไข้ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) (PDF)

Download E-Book กายหายไข้ ใจหายทุกข์ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) (PDF)

Download E-Book ภูมิธรรมชาวพุทธ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) (PDF)

วัดญาณเวศกวัน

การรักษาศีล 5

พระคาถาโพชฌังคปริตร

พระคาถาสักกัตตะวา : คาถาปัองกันและรักษาโรคมะเร็ง

ธรรมะสำหรับผู้รักษาคนเจ็บไข้

ธรรมะสำหรับคนเจ็บไข้และญาติ

ธรรมะสำหรับรับมือกับความพลัดพราก

ธรรมะสำหรับรับมือกับมะเร็ง



---------------------------------------------------------







บทสวดพระคาถาชินบัญชร








บทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก







บทสวดโพชฌังคปริตร







ฉลาดเผชิญทุกข์ 1/2 (พระไพศาล วิสาโล)







ฉลาดเผชิญทุกข์ 2/2 (พระไพศาล วิสาโล)







หลวงพ่อชา สอนการทำสมาธิ







หลวงพ่อพุธ ฐานิโย สอนกรรมฐาน







หลักชาวพุทธ (พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต))






---------------------------------------------------------




 

Create Date : 16 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 23 กรกฎาคม 2554 11:20:15 น.
Counter : 3726 Pageviews.  

1  2  

muansuk
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 84 คน [?]




blog counter
blog counterDiseño Web
Share on Facebook



 Follow Me on Twitter
 คลิ๊ก


 ลงนามสมุดเยี่ยม muansuk blog ครับ คลิ๊ก




“ทาน ศีล ภาวนา ธรรมทั้ง 3 นี้
เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์
และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา”

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต




“ถ้าเรารู้เรื่องธรรมดาของโลก และรู้จักความเป็นจริงของธรรมแล้ว
เราก็จะไม่ต้องมีความยุ่งยากในการเป็นอยู่
เรื่องภายนอกนั้น ถึงเราจะศึกษาให้มีความรู้สักเท่าไรๆ
ก็ไม่ทำให้เราพ้นจากทุกข์ได้
สู้การเรียนรู้จิตใจของตนอยู่ภายในวงแคบๆ นี้ไม่ได้”

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร




“… อย่าไปอยากรู้เรื่องของคนอื่นมันเป็นทุกข์
ให้สนใจเรื่องของตัวเอง
คือเรื่องของกายกับใจ
ดูให้มันชัด …”

หลวงปู่เพียร วิริโย




“… สิ่งใดมันล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นมันก็ล่วงไปแล้ว หมดไปแล้ว
ไม่ควรเอามาคิด มาติดอยู่ในใจ ละทิ้งให้หมด
ส่วนว่าอารมณ์อันเป็นอนาคตกาล
ดีร้ายประการใด ทั้งทางโลก และทางธรรม
สิ่งนั้นก็ยังอยู่ข้างหน้า คือยังไม่มาถึง
เวลาปัจจุบัน คือ เป็นเวลาเรานั่งภาวนา ฟังธรรม
สงบกาย สงบวาจา สงบจิต สงบใจ อยู่นี้แหละ
เป็นธรรมะปัจจุบัน ให้ระลึกภาวนาทุกลมหายใจเข้าออก...”

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร




“... ให้รักษาศีล
ให้รู้จักพิจารณา เกิด แก่ เจ็บ ตาย
รู้จักแก้ไขจิตของตน ... ”

หลวงปู่จาม มหาปุณฺโญ





หลวงพ่อชา สุภทฺโท : ปล่อยวาง 1





พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร : ธรรมสู่ใจ





หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ : ไม่ยอมละ





ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download): หนังสือมุตโตทัย-อาจาโรวาท โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร (PDF) (9.25 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ฝากไว้ บันทึกคติธรรมและธรรมเทศนาของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล (โดย พระโพธินันทมุนี) (PDF) (625 KB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมธาตุ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (13.38) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือชาติสุดท้าย (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (6.97) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพ่อแม่ครูอาจารย์ ชีวประวัติ คติธรรม และปฏิปทา พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว  ญาณสัมปันโน (PDF) (12.82 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (14.68 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือไม่มาเกิดมาตายเรียกว่าชาติสุดท้าย (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (4.72 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงตา พระผู้สืบสานอริยวงศ์  รวบรวมโดยคณะศิษยานุศิษย์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (50.51 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือกายคตาสติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (10.8 MB) คลิ๊ก
 ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมปกครองใจ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และหลวงปู่จันทร์ศรี  จันททีโป (PDF) (11.47 MB) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือปัญญาอบรมสมาธิ โดยท่านอาจารย์พระมหาบัว  ญาณสัมปันโน (PDF) (1.29 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงตานิพพาน (พิธีพระราชทานเพลิงถวายสรีระสังขารหลวงตามหาบัวญาณสมฺปนฺโน) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมะทะลุโลก โดยท่านพ่อลี ธมฺมธโร (PDF) (3.18 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือท่านพ่อลี ธมฺมธโร พระอริยเจ้าผู้มีพลังแก่กล้า (PDF) (30.21 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่เล่าเรื่อง (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรม...ย้ำเตือน  โดยหลวงปู่เพียร  วิริโย (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมพระเพียร  วิริโย เป็นเพชรน้ำหนึ่งเพราะความพากเพียร (หลวงตาพระมหาบัว  ญาณสัมปันโน) (PDF) (8.68 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมพเนจร (หลวงปู่จันทา  ถาวโร) (PDF) (30.39 MB) คลิ๊ก Download หนังสือหลวงปู่เจี๊ยะ  จุนฺโท  พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง (PDF) (13.58 MB) คลิ๊ก
Download หนังสือพระธรรมเทศนา หลวงพ่อชา สุภัทโท (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือสุภัททานุสรณ์ ชุด..จาริกสู่ประเทศอังกฤษ (PDF) (21.06 MB) คลิ๊ก Download หนังสือธรรมะหลวงปู่หล้า เขมปัตโต (PDF) (8.5MB) คลิ๊ก Download หนังสือสันติธมฺโมบูชา โดยหลวงปู่ฟัก สันติธมฺโม (PDF) (37.97 MB) คลิ๊ก Download หนังสือหนีนรก โดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (PDF) คลิ๊ก
Download หนังสือสังโยชน์ 10 โดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือวัดป่าบ้านตาด (PDF) (10.72 MB) ( คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือเศรษฐีธรรม (หลวงปู่ลี กุสลธโร) (PDF) (6.83 MB) ( คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือชีวิตนี้น้อยนัก โดยสมเด็จพระญาณสังวร (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือทำอย่างไรจะหายโกรธ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือภูมิธรรมชาวพุทธ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระหลวงตา (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (7.98 MB)  คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือจิตตวิชา หลักความรู้แจ้งทางจิตต์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) (PDF) (3.97 MB) คลิ๊ก Download หนังสือเปิดใจรับความสุข โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก Download E-Book ว.วชิรเมธี คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ โครงการบูรพาจารย์ (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ประวัติ ข้อวัตร และปฏิปทา (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 1) (PDF) (12.5 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):   หนังสือหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ในยุคปัจจุบัน (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 2)  (PDF) (15.77 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือหลวงปู่แหวน สุจิณโณ (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 3) (PDF) (19.12 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ขาว อนาลโย (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 4) (PDF) (12.53 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระครูวิเวกพุทธกิจ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 5) (PDF) (12.13 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระกรรมฐานสู่ล้านนา (ตอน 1) (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 6) (PDF) (24.41 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระกรรมฐานสู่ล้านนา (ตอน 2) (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 7) (PDF) (43.49 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 8) (PDF) (70.26 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ชอบ ฐานสโม (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 9) (PDF) (10.17 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 10) (PDF) (10.17 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ฝั้น อาจาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 11).pdf (PDF) (14.3 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 12).pdf (PDF) (13.41 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือวิธีปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนากัมมัฏฐาน (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download): หนังสือวิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (1.05 MB)คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): แนวทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน 2 (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)  (PDF) (5.75 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): เรื่องของลม (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) (PDF) (271.99 KB) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือวิธีเดินจงกรมภาวนา-นั่งสมาธิภาวนา โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (9.18 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ สำหรับผู้ป่วย, ญาติ และผู้รักษา (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือธรรมะสำหรับผู้ป่วย โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือกายหายไข้ ใจหายทุกข์ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก
Download หนังสือรักษาใจยามป่วยไข้ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือนึกถึงความตายสบายนัก โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือพระไตรปิฎก :

Download หนังสืออริยวินัย (PDF) (9.27 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะทั่วไป (Download E-Book) :

Download หนังสืออริยวินัย (PDF) (9.27 MB) คลิ๊ก








Google

 ศีลและกรรมบถ คลิ๊ก
 พระธรรมเทศนาของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี คลิ๊ก  ธรรมบรรยาย และธรรมนิพนธ์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน คลิ๊ก
 รวบรวมงานเขียนและบทความของพระไพศาล วิสาโล คลิ๊ก  วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี (หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก



 กำลังใจสู้มะเร็ง คลิ๊ก  การดูแลสภาพจิตใจผู้ป่วยมะเร็ง คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): วารสาร นิตยสาร และสถิติ ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง:

ดาวน์โหลด (Download) : วารสารมะเร็งวิวัฒน์ ปีที่ 18, ฉบับที่ 1 ปี 2555 (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : วารสารมะเร็งวิวัฒน์ ปีที่ 17, ฉบับที่ 1 ปี 2554 (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ Cancer in Thailand Volume.5, 2001-2003 (PDF) คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): เอกสาร, คู่มือมะเร็ง และที่เกี่ยวข้อง:

ดาวน์โหลด (Download) :  หนังสือ, เอกสาร และคู่มือ เกี่ยวกับมะเร็ง ที่น่าสนใจ (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือเกี่ยวกับเคมีบำบัด (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือเกี่ยวกับรังสีรักษา, การดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา และอื่น ๆ (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือควบคุมอาการปวดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและครอบครัว, อาการปวดจากโรคมะเร็ง (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสาร และคู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง, การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่บ้าน (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งปอด (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งเต้านม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งเต้าตับ (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) :  แนวทางเวชปฏิบัติ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  สมาธิบำบัดกับการรักษาโรคมะเร็ง (วัดคำประมง  จังหวัดสกลนคร) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download):  แนวทางการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน (PDF) คลิ๊ก




ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสารแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด (2547) (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสารแนวทางเวชปฏิบัติ การดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอด (2549) (ศ.พญ.สุมิตรา  ทองประเสริฐ และคณะ) (PDF) คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับมะเร็ง

ลิงค์ (Link): การตรวจวินิจฉัยวิธีใหม่ด้วย PET-CT สแกน โดย รศ.นพ.สุภัทรพร เทพมงคล คลิ๊ก ลิงค์ (Link): Bone Scan: การตรวจสแกนกระดูก (พญ.ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม; คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) (PDF)  คลิ๊ก ลิงค์ (Link) : การผ่าตัดมะเร็งทำให้โรคแพร่กระจายจริงหรือ (รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ : ภาควิชาศัลยศาสตร์  สาขาวิชาศัลยศาสตร์ศีรษะ คอ และเต้านม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) คลิ๊ก ลิงค์ (Link): ความรู้เกี่ยวกับรังสีรักษา การฉายรังสีและเครื่องมือทางรังสีรักษา (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): สูตรอาหารต้านมะเร็ง (เอื้อเฟื้อโดย น.พ.สำราญ อาบสุวรรณ; ผู้หายจากมะเร็งปอดระยะสุดท้าย) : ข้อมูลจาก วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร  คลิ๊ก


 ลิงค์ (Link): การตรวจ MRI คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): การแพทย์ทางเลือก, การแพทย์แผนไทย และธรรมชาติบำบัด

ลิงค์ (Link): วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร (หลวงตาปพนพัชร์  จิรธัมโม) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก  ลิงค์ (Link): การแพทย์ทางเลือก บีเมสส คลินิก จังหวัดนครราชสีมา (นพ.สำราญ  อาบสุวรรณ : ผู้หายจากมะเร็งปอดระยะสุดท้าย) คลิ๊ก  ลิงค์ (Link): วิถีไทยคลินิกการแพทย์แผนไทย กรุงเทพมหานคร (อาจารย์เภสัชกร มงคลศิลป์  บุญเย็น) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): Gerson Institute
 (รักษาตามแนวธรรมชาติบำบัด) คลิ๊ก





Link: ลิงค์ หน่วยงาน, สถาบัน, องค์กร และที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง

ลิงค์ (Link) :  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข คลิ๊ก ลิงค์ (Link) :  สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลิ๊ก
ลิงค์ (Link) : สถานวิทยามะเร็งศิริราช คลิ๊ก ลิงค์ (Link) : โครงการโรคมะเร็ง คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คลิ๊ก
ลิงค์ (Link) :  วัดคำประมง จ.สกลนคร (หลวงตาปพนพัชร์  จิรธัมโม) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก



 http://www.cancer.gov: National Cancer Institute คลิ๊ก  http://www.eortc.be: European Organisation for Research and Treatment of Cancer คลิ๊ก  http://www.oncolink.org: OncoLink (University of Pennsylvania) มีข้อมูลข่าวสารมากมาย และได้ผ่านการคัดเลือกและตรวจสอบโดย editorial board ของ OncoLink แล้ว, มีข่าวใหม่ประจำสัปดาห์เกี่ยวกับโรคมะเร็ง, บทคัดย่อใหม่ของการวิจัยโรคมะเร็งที่ตีพิมพ์, การประชุมทางวิชาการต่าง ๆ ฯลฯ  คลิ๊ก
 http://www.iarc.fr/: The International Agency for Research on Cancer (IARC) คลิ๊ก  http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed: Pubmed เป็นเครื่องมือค้นหาฐานข้อมูล เรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล MEDLINE ซึ่งประกอบด้วยแหล่งอ้างอิง, บทคัดย่อ และบทความตัวเต็มทางวิทยาศาสตร์และชีวเวชศาสตร์ คลิ๊ก






Link: ลิงค์ หน่วยงาน, สถาบัน, องค์กรด้านการสาธารณสุข และที่เกี่ยวข้อง

 กระทรวงสาธารณสุข คลิ๊ก





 องค์การเภสัชกรรม คลิ๊ก
 กรมสุขภาพจิต คลิ๊ก

 สภากาชาดไทย คลิ๊ก



แพทยสภา คลิ๊ก ทันตแพทยสภา คลิ๊ก  สภาเทคนิคการแพทย์ คลิ๊ก  สภากายภาพบำบัด คลิ๊ก  สภาเภสัชกรรม คลิ๊ก  สภาการพยาบาล คลิ๊ก



 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คลิ๊ก  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) คลิ๊ก



 สำนักงานประกันสังคม คลิ๊ก






ดาวน์โหลด (Download): กฎหมาย, ประกาศ, ระเบียบ, ข้อบังคับ, คำสั่ง

ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550 คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 คลิ๊ก

ดาวน์โหลด (Download) : ข้อบังคับแพทยสภา คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : ข้อบังคับ, ประกาศ และระเบียบ ทันตแพทยสภา คลิ๊ก



ลิงค์ (Link) : ค้นหาราชกิจจานุเบกษา : ค้นหาพระบรมราชโองการ, พระราชบัญญัติ, พระราชกำหนด, พระราชกฤษฎีกา, กฎกระทรวง, ประกาศ, ระเบียบ, ข้อบังคับ และคำสั่ง คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): เอกสารข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สำคัญ

ดาวน์โหลด (Download) : สิทธิผู้ป่วย คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : ใบรับรองแพทย์ คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): การเดินทาง, แผนที่, ตารางเวลา และการส่งกลับทางอากาศ :

 การบินไทย (Thai Airways) คลิ๊ก นกแอร์ (Nok Air) คลิ๊ก  แอร์เอเชีย (Air Aisa) คลิ๊ก  บางกอกแอร์เวย์ (Bangkok Airways) คลิ๊ก  รถไฟฟ้า BTS คลิ๊ก  รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) : (รถไฟฟ้าใต้ดิน)
คลิ๊ก การรถไฟแห่งประเทศไทย : จำหน่ายตั๋วล่วงหน้า, ตารางเวลาเดินรถและราคาค่าโดยสาร, ระบบติดตามขบวนรถ  คลิ๊ก  เรียกแท็กซี่ (Taxi) คลิ๊ก


 ตรวจสอบ, คำนวณ ระยะทาง และพิมพ์แผนที่ คลิ๊ก  ตรวจสอบ, หาพิกัดดาวเทียม
 GPS คลิ๊ก  ตรวจสอบสภาพการจราจร   Near Real Time คลิ๊ก
 ตรวจสอบสถานการณ์น้ำกับ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คลิ๊ก  ตรวจสอบเส้นทางน้ำท่วมทางหลวง โดยกรมทางหลวง คลิ๊ก  ตรวจสอบเวลาการเดินรถไฟ คลิ๊ก
 ค้นหารถประจำทาง คลิ๊ก  เส้นทางการเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT คลิ๊ก  เส้นทางการเดินรถไฟฟ้า BTS คลิ๊ก
 ท่าขึ้นรถตู้ กรุงเทพ ฯ (และที่ใกล้เคียง) – ต่างจังหวัด คลิ๊ก  ค้นหาสายรถตู้ คลิ๊ก  เรือด่วนเจ้าพระยา คลิ๊ก






ลิงค์ (Link): หมายเลขโทรศัพท์, การติดต่อสื่อสาร และการขนส่ง

 YellowPages (เยลโล่เพจเจส) : ค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ และอื่น ๆ คลิ๊ก

 หอพัก สกสค. (หอพักคุรุสภา) คลิ๊ก



 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
 คลิ๊ก  บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) คลิ๊ก  AIS คลิ๊ก  DTAC คลิ๊ก  Truemove คลิ๊ก  ไปรษณีย์ไทย : บริการด้วยใจ เชื่อมไทย เชื่อมโลก คลิ๊ก







ลิงค์ (Link): ค้นหาแผนที่


 Google Map: กูเกิ้ล แม็ฟส์ คลิ๊ก  Maps.com: แม็ฟส์ ดอท คอม คลิ๊ก



 ค้นหาค้นหาแผนที่โรงพยาบาล คลิ๊ก  ค้นหาค้นหาแผนที่โรงพยาบาล คลิ๊ก
 ค้นหาสถานีบริการ LPG คลิ๊ก  ค้นหาสถานีบริการ NGV คลิ๊ก







Facebook: เฟสบุ๊ค – เข้าระบบ, ลงทะเบียน หรือเรียนรู้เพิ่มเติม คลิ๊ก Twitter: ทวิตเตอร์ – ลงชื่อเข้าใช้งาน คลิ๊ก YouTube: ยูทูป  – เข้าใช้งาน คลิ๊ก Wikipedia: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คลิ๊ก ดาว์นโหลด (Download) :  Adobe Reader คลิ๊ก  Google Map: กูเกิ้ล แม็ฟส์ คลิ๊ก ดาว์นโหลด (Download) Adobe Flash Player คลิ๊ก





สมาทานศีล 5



หลวงพ่อชา สมาทานศีล 5



พุทธมนต์, พุทธคุณ ๑๐๘ นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเช้า นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเย็น นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเย็น นำสวดโดย หลวงพ่ออุทัย สิริธโร



พาหุงมหากา นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



บทสวดพระคาถาชินบัญชร



บทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก



บทสวดโพชฌังคปริตร



พระคาถาสักกัตวา



หลวงพ่อชา สอนการทำสมาธิ



หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 3/9



หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 4/9



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 1



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 2



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 3



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 4



หลวงพ่อพุธ ฐานิโย สอนกรรมฐาน









ลิงค์ (Link): ข่าวสาร, ข้อมูล, บทความเกี่ยวกับน้ำท่วม



 แจ้งขอความช่วยเหลือ (Thaiflood.com) คลิ๊ก




Thaiflood

 18 วิธีรับมือน้ำท่วม คลิ๊ก  การเตรียมการก่อนน้ำท่วม คลิ๊ก  การรับมือระหว่างน้ำท่วม คลิ๊ก
 การเตรียมการอพยพ คลิ๊ก  ข้อมูลดาวเทียมแสดงอุทกภัยประเทศไทย (ข้อมูลจาก GISTDA) คลิ๊ก  ภาพแสดงระดับความสูงต่ำของพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของมวลน้ำ คลิ๊ก
 วิกฤตการณ์น้ำท่วมประเทศไทย 2554 (Crisis Map) คลิ๊ก  ตรวจสอบแผนที่น้ำท่วมกับ esri Thailand คลิ๊ก  สถานการณ์น้ำในเขื่อน คลิ๊ก
 ตรวจสอบเส้นทางน้ำท่วมทางหลวง โดยกรมทางหลวง คลิ๊ก  แผนที่เส้นทางหนีน้ำท่วมจาก กทม.ไป ภาคเหนือ, อีสาน คลิ๊ก  รวมข้อมูล ที่จอดรถหนีน้ำท่วม สำหรับผู้ประสบอุทกภัย คลิ๊ก
 เทคนิควาง “กระสอบทราย” สู้น้ำท่วม คลิ๊ก
 การป้องกันน้ำเข้าบ้าน และวิธีอุดปิดช่องทางน้ำเข้าบ้าน คลิ๊ก  เมื่อต้องขับรถลุยน้ำ น้ำท่วม!!! และเมื่อรถตกน้ำควรปฏิบัติอย่างไร คลิ๊ก  การทำเรืออย่างง่าย ๆ คลิ๊ก
 “ตะคริว” กับการเรียนรู้สู้ภัยน้ำท่วม คลิ๊ก  การปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Cardio Life Support : BCLS) (กรมแพทย์ทหารเรือ) คลิ๊ก  จะช่วยคนจมน้ำได้อย่างไร (ศ.พญ.วันดี วราวิทย์) คลิ๊ก


ดาวน์โหลด (Download): เอกสาร คู่มือเกี่ยวกับน้ำท่วม

ดาวน์โหลด (Download): Flood Fighting Methods (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): British Columbia Flood Plan (BC Flood Plan) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): Fact Sheet Floods (FEMA) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): คู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม (จัดทำโดย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): คู่มือรับมือน้ำท่วมไม่ยาก (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): โรคที่มากับน้ำท่วม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): อีกทางเลือกหนึ่งของชูชีพอย่างง่าย (สามารถทำเองได้) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): การใช้ถุงทรายเพื่อป้องกันน้ำท่วม (รศ.ดร.อมร  พิมานมาศ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): 6 แนวทางกันนํ้าท่วมเข้าบ้าน (รศ.ดร.อมร  พิมานมาศ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): รวมวิธีป้องกันรถจากภัยน้ำท่วม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): “ผนึกกำลัง ร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม” การเตรียมตัวเตรียมใจก่อนภัยน้ำท่วม ฉบับประชาชน (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (PDF) คลิ๊ก




หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ :




 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์คมชัดลึก คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์ข่าวสด คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คลิ๊ก

 TV 3 คลิ๊ก  TV 5 คลิ๊ก  TV 7 คลิ๊ก  ModerNine TV คลิ๊ก  Thai PBS คลิ๊ก



Ayutthaya Thai Flood 2011



น้ำท่วมกรุงเทพ ปี 2485 (Bangkok floods in 1942)



Nuidears Flood Control



mobile flood barrier



ถุงคลุมรถ



ข้อควรปฏิบัติขับรถช่วงน้ำท่วม



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 1/5 (23 ต.ค.54



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 2/5 (23 ต.ค.54



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 3/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 4/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 5/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม - พบหมอบ้าน 1/6 (22 ต.ค.54)



เพลง ประสบทุกข์ ประสบภัย ฝ่าไปด้วยกัน (ขับร้องโดย พนักงานไทยพีบีเอส



เพลงน้ำใจไทย (ขับร้องโดย แอ๊ด คาราบาว)



Friends' blogs
[Add muansuk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.