Iceicy Blog Dhamma หน้าแรก หลักธรรม ปรัชญา ท่องเที่ยวธรรม เก็บตกธรรม บทสวดมนต์ บทเพลงธรรม เว็บบอร์ด iceicy ไอที ไดอารี่
Link to us:
Group Blog
 
All blogs
 

การไว้วางใจ








 







การไว้วางใจ



ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภการบริโภคปัจจัย ๔ ที่หมู่ญาติถวาย ด้วยความไว้วางใจ โดยไม่พิจารณาของหมู่ภิกษุ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นเศรษฐีคนหนึ่ง มีสมบัติมาก ในเมืองพาราณสี เขามีโคอยู่ฝูงหนึ่ง ในฤดูทำนาได้มอบให้คนเลี้ยงโคคนหนึ่ง ต้อนฝูงโคไปตั้งคอกเลี้ยงโคอยู่ในป่า และให้นำน้ำนมโคมามอบให้ตนตามเวลา ก็แลในที่ไม่ไกลจากคอกโคนั้น มีราชสีห์ตัวหนึ่งอาศัยอยู่ ด้วยความกลัวราชสีห์ ฝูงโคจึงซูบผอม น้ำนมก็ไม่เข้มข้นเหมือนเดิม

วันหนึ่ง คนเลี้ยงโค นำน้ำนมโคมามอบให้เศรษฐี ๆ เห็นแล้วจึงถามว่า
"ทำไม น้ำนมโค ถึงใส "

เขาจึงเล่าเรื่องนั้นให้เศรษฐีฟังว่า
" มีราชสีห์ตัวนั้น ติดพันแม่เนื้อตัวหนึ่งจึงไม่หนีไปไหน "

เศรษฐีจึงแนะนำว่า
" เจ้า จงจับแม่เนื้อนั้น ให้จงได้ ทายาพิษที่ขนของมัน ตั้งแต่หน้าขนผากมันขึ้นไปหลาย ๆ ครั้ง กักไว้ สัก ๒-๓ วัน แล้วค่อยปล่อยมันไป "
เขาได้ทำเช่นนั้น ราชสีห์เห็นแม่เนื้อนั้น ก็เลียตามตัวด้วยความสิเนหา ได้ถึงความสิ้นชีวิตไป

คนเลี้ยงโค ได้นำหนังของราชสีห์ไปมอบให้เศรษฐีๆ จึงกล่าวว่าขึ้นชื่อว่าความเสน่หาในพวกอื่นไม่ควรกระทำ ราชสีห์เพราะอาศัยความติดพันด้วยอำนาจกิเลส เลีียสรีระของแม่เนื้อสิ้นชีวิตแล้วกล่าวคาถานี้ว่า
" บุคคล ไม่ควรไว้วางใจ ในผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกัน
แม้ผู้ที่คุ้นเคยกันแล้ว ก็ไม่ควร ไว้วางใจ
ภัย ย่อมมีมาจากผู้ที่คุ้นเคยกัน เหมือนภัยของราชสีห์เกิดจากแม่เนื้อ "



นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า :
อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน

ที่มา :หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๑ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม : เว็บไซด์ธรรมะไทย dhammathai





Create Date : 20 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 20 พฤษภาคม 2551 13:07:17 น.
Counter : 1087 Pageviews.  

ทำบุญละลายบาป จะได้หรือไม่ ?








 


ทำบุญละลายบาป จะได้หรือไม่ ?







มีปัญหาที่คนทั่วไปสนใจมากอยู่ข้อหนึ่ง คือการทำบุญล้างบาปหรือทำบุญละลายบาป จะได้หรือไม่?
การทำบุญละลายบาปนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือใช้ความดีละลายความชั่วให้เจือจาง เช่นความชั่วเกิดขึ้นในใจ
เมื่อความคิดดีขึ้น ความชั่วย่อมถอยไป ถ้าความดีเกิดขึ้นบ่อยๆ ไม่ให้โอกาสแก่ความชั่ว ความชั่วก็เกิดขึ้นไม่ได้
เรียกว่าเอาความดีมาไล่ความชั่วหรือละลายความชั่วอีกอย่างหนึ่ง ความชั่วที่บุคคลทำลงไปแล้ว ซึ่งจะมีผลในโอกาสต่อไป
ถ้าผู้นั้นเร่งทำความดีให้มากขึ้น จนท่วมท้นความชั่ว ผลของกรรมชั่วก็ค่อยๆ จางลงจนไม่มีอนุภาพในการทำอันตรายให้ทุกข์
เปรียบเหมือนกรด(เอซิด) ซึ่งมีคุณสมบัติทำลายชีวิตได้ แต่ถ้าเติมด่าง(อัลคอไลน์)ลงไปเรื่อยๆ กรดนั้นก็เจือจางลง
หมดคุณสมบัติในการทำลายให้โทษ

เปรียบอีกอย่างหนึ่ง เหมือนเกลือกับน้ำ สมมุติว่าเอาเกลือกำมือหนึ่งใส่ลงไปในน้ำแก้วหนึ่ง น้ำนั้นจะเค็มมากเพราะน้ำน้อย
แต่ถ้าเราเอาเกลือจำนวนนั้นใส่ลงไปในถังใหญ่ๆ ความเค็มจะไม่ปรากฎแม้เกลือจะยังมีอยู่เท่าเดิม มันกลายเป็นมีเหมือนไม่มี
ที่ทางพระท่านเรียก"อัพโพหาริก" แปลว่า"มีเหมือนไม่มี" เรียกไม่ได้ว่ามีเหมือนไม่มี เหมือนน้ำในก้อนดินแห้งหรือเนี้อไม้
เรารู้ได้ว่าความชื้นเป็นคุณสมบัติของน้ำ เมื่อเราจุดไฟเผามีควันขึ้นมา

เอาน้ำเกลือในแก้วซึ่งเค็มมากนั้น เทลงในถังใหญ่ๆ แล้วเติมน้ำลงไปเรื่อยๆ โดยไม่เติมเกลือ ในที่สุดน้ำก็จะไม่ปรากฎความเค็มเลย
เพราะจำนวนเหนือจำนวนเกลือมากนัก ข้อนี้ฉันใด การทำความดีละลายความชั่ว หรือละลายผลแห่งกรรมชั่วก็เป็นฉันนั้น
ในที่นี้ความชั่วเปรียบเหมือนเกลือ ความดีเปรียบเหมือนน้ำ ในทางกลับกัน กรรมดีเล็กน้อยอาจถูกกรรมชั่วละลายได้เช่นกัน

เกี่ยวกับเรื่องนี้มีพุทธสุภาษิตอ้างอิงดังนี้
"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนทำบาปเพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นนำเขาไปสู่นรก บางคนทำบาปเพียงเล็กน้อยเหมือนกัน
แต่บาปกรรมให้ผลเพียงในปัจจุบันชาติเท่านั้น (ทิฏฺฐธมฺมเวทนีย์)ไม่ปรากฎผลอีกต่อไป
บุคคลเช่นไร ทำบาปเพียงเล็กน้อยแล้วไปนรก? คือบุคคลที่ไม่ได้อบรมกาย มิได้อบรมศีล มิได้อบรมปัญญา
มีคุณธรรมน้อย ใจต่ำ บุคคลเช่นนี้แหละ ทำบาปเพียงเล็กน้อยแล้วไปนรก
บุคคลเช่นไร ทำบาปเพียงเล็กน้อย แต่บาปนั้นให้ผลอันแสบเผ็ด เพียงในชาติปัจจุบันแล้วไม่ให้ผลอีกต่อไป?
คือบุคคลผู้ที่ได้อบรมกายแล้ว อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา มีคุณธรรมมาก มีใจใหญ่อยู่ด้วยคุณ มีเมตตาเป็นต้น อันหาประมาณมิได้

เปรียบเหมือนบุคคลใส่ก้อนเกลือลงไปในจอกน้ำเล็กๆ น้ำนั้นย่อมเค็ม เพราะน้ำน้อย แต่ถ้าใส่ก้อนเกลือลงไปในแม่น้ำคงคา
น้ำในแม่น้ำคงคาจะไม่เค็มเพราะก้อนเกลือนั้นเลย เพราะน้ำมีมาก ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนทำบาปเพียงเล็กน้อย บาปนั้นนำเขาไปสู่นรก(เพราะเขามีคุณน้อย)
บางคนทำบาปเพียงเล็กน้อย บาปนั้นให้ผลเพียงในปัจจุบัน ไม่ให้ผลในชาติต่อๆ ไป(เพราะเขามีคุณมาก)ฉันนั้น"


คนที่มีคุณธรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงเพียงเล็กน้อยเหมือนในน้ำในถ้วยใบเล็กๆ เมื่อทำบาป บาปย่อมให้ผลมาก
ส่วนคนมีคุณมากเหมือนน้ำในแม่น้ำ เมื่อทำบาป บาปให้ผลเพียงเล็กน้อย หรืออาจไม่ให้ผลเลยก็ได้ คุณธรรมหรือความดี
จึงมีอานุภาพทำลายบาป ล้างบาปไปในตัว

บุคคลยิ่งมีคุณธรรมสูงมากขึ้นเพียงใด โอกาสที่จะล้างบาปหรือละลายบาปมากขึ้นเพียงนั้น
เพราะคุณความดีหรือความบริสุทธิ์ของใจนั้น มีคุณสมบัติ มีอานุภาพในการทำลายบาป ดังพุทธภาษิตว่า

"หม้อที่คว่ำ ย่อมคายน้ำออก ไม่ทำให้น้ำเข้าไปข้างใน ฉันได ผู้อบรมแล้ว ทำให้ได้มากแล้วซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘
ก็ย่อมคายบาปคายอกุศลธรรมออก ไม่ให้บาปอกุศลธรรมเข้าไปข้างใน ฉันนั้น"

"ผู้มีกายสะอาด วาจาสะอาด ใจสะอาด ไม่มีอาสวะ คือกิเลสที่หมักหมม นักปราชญ์เรียกผู้สะอาด
สมบูรณ์ด้วยความสะอาดเช่นนั้นว่าเป็นผู้ล้างบาปได้"


ด้วยประการดังกล่าวมานี้ แสดงว่าการทำความดีละลายความชั่วในใจ และการทำความดีละลายผลแห่งกรรมชั่วที่ทำลงไปแล้ว
ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เป็นการเปิดโอกาสให้คนผู้เคยผิดพลาดได้กลับตัว

ในเรื่องชีวิตธรรมดา สมมติว่าเคยมีใครคนหนึ่งเคยทำความเดือดร้อน เจ็บช้ำใจให้แก่เรา ต่อมาเขารู้สีกตัวรีบทำความดีต่อเรา
และทำเป็นการใหญ่ เราเห็นใจเขา กลับรักเขา ให้อภัยในความผิดพลาดของเขา จริงอยู่สิ่งที่เขาทำลงไปแล้วนั้นก็เป็นอันทำแล้ว
ทำคืนไม่ได้ แต่ความดีใหม่ที่เขาทำลงไปเป็นอันมากนั้นย่อมมีผลลบล้างความชั่วได้ นอกจากย่อมมีกำไรเสียออีก

อีกอุปมาหนึ่ง เหมือนคนเคยเป็นหนี้ เมื่อได้ใช้หนี้แล้ว ใช้หมดแล้ว ยังมีเงินเหลือให้ผู้ที่เขาเคยเป็นหนี้อีกมากมาย
อย่างนี้เจ้าหนี้ย่อมจะพอใจเป็นอันมาก เขาได้ชื่อว่าเคยเป็นหนี้เท่านั้น หนี้สินหาได้ติดตัวเขาอยู่จนบัดนี้ไม่ การทำชั่วเหมือนการก่อหนี้
ส่วนการทำความดีเหมือนการปลดเปลื้องหนี้ และการให้หนี้ การทำความดีจึงดีกว่าการทำความชั่ว

อีกตอนหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงปรารภพระองคุลิมาลแล้วตรัสว่า
"บาปกรรมที่บุคคลทำแล้ว ย่อมละเสียได้ด้วยกุศลกรรม บุคคลเช่นนั้นย่อมยังโลกให้สว่างเหมือนดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น"

นี้แสดงว่าบุคคลสามารถละลายบาปหรือล้างบาปกรรมด้วยกุศลกรรมได้
ความจริงเรื่องนี้ ทำให้ผู้ที่เคยทำชั่ว มีกำลังใจในการทำความดีในการกลับตัว ไม่ถลำลึกลงไปในความชั่ว
คนที่เคยทำความชั่วมา ถ้าเขารู้สึกตัวแล้วและพยายามทำความดี อาจทำความดีได้มากกว่าและเป็นคนดีได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยทำชั่วมาเสียอีก

"การทำผิดเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ แต่ถ้าค้นพบความผิดแล้วแก้ไขและตั้งใจว่าจะไม่ทำอีกเป็นซ้ำสอง ก็น่ายกย่องนับถือยิ่งขึ้น"


รวมความว่า ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น บาปย่อมล้างได้ด้วยบุญ กรรมชั่วล้างได้หรือละลายได้ด้วยกรรมดี แต่ต้องใช้เวลานาน
กุศลกรรมที่แรงๆ เช่น อรหัตมรรค อรหัตผล สามารถลบล้างความชั่วในใจได้หมดและมีอานุภาพห้ามผลแห่งกรรมชั่วเก่าๆ
ที่เคยทำมาแล้วได้หมดสิ้น จะให้ผลอยู่บ้างก็เฉพาะเวลาที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น พอท่านนิพพานแล้วผลกรรมต่างๆ ก็เป็นอโหสิกรรมไปหมดสิ้น

บทความนี้คัดมาจากหนังสือ "หลักกรรม และ การเวียนว่ายตายเกิด เขียนโดย สศิน อินทสระ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ธรรมดา โทร ๘๘๘-๗๐๒๖-๗

อ้างอิง ://www.budpage.com

Create Date : 17 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 16:28:36 น.
Counter : 1564 Pageviews.  

ขืนทำ...จะช้ำใจ ว.วชิรเมธี










 





ขืนทำ...จะช้ำใจ ว.วชิรเมธี


Create Date : 10 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 23:14:20 น.
Counter : 1002 Pageviews.  

อภัยโทษ








 







อภัยโทษ



ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระเจ้าโกศล ผู้เข้าเผ้าด้วยความลำบากใจที่มีอำมาตย์และหญิงเป็นที่รักคบชู้กัน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอำมาตย์ทำหน้าที่สอนธรรมแก่พระเจ้าพรหมทัต ในเมืองพาราณสี ในสมัยนั้น มีอำมาตย์คนหนึ่งแอบเป็นชู้กับหญิงคนรักของพระราชา พระองค์เองก็ทรงทราบอยู่บ้าง แต่ก็ไม่อาจตัดสินพระทัยที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เพราะอำมาตย์เป็นผู้มีอุปการะคุณมาก และหญิงนั้นก็เป็นที่รักยิ่งของพระองค์

วันหนึ่งพระองค์ด้วยความโทรมนัสเป็นอย่างยิ่งจึงรับสั่งให้อำมาตย์โพธิสัตว์มาเข้าเฝ้า แล้วตรัสถามปัญหาเป็นคาถาว่า
"สระโบกขรณีมีน้ำเย็นใสสะอาด รสอร่อย เกิดอยู่ที่เชิงเขาหิมพานต์ น่ารื่นรมย์ สุนัขจิ้งจอกรู้อยู่ว่าสระนั้นราชสีห์รักษาอยู่ก็ยังลงไปดื่มกิน"

พระโพธิสัตว์ทราบเรื่องนั้นอยู่แล้ว จึงกราบทูลเป็นคาถาเช่นกันว่า
"ข้าแต่มหาราช ถ้าสัตว์มีเท้าทั้งหลายพากันดื่มน้ำในมหานที แม่น้ำจะไม่ชื่อว่าเป็นแม่น้ำเพราะเหตุนั้นก็หาไม่ หากว่าคน ๒ คนนั้นเป็นที่รักของพระองค์ พระองค์ก็ทรงอภัยโทษเสียเถิด"

พระราชาทรงคลายความโทรมนัสลงไปได้บ้าง และตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ จึงเรียกบุคคลทั้งสองเข้าเฝ้าและยกโทษให้แก่คนทั้งสอง พร้อมตรัสสอนว่า
"นับตั้งแต่นี้ไปเจ้าทั้งสองอย่าได้กระทำกรรมชัวนี้อีก"

คนทั้งสองรับคำและก็เป็นคนดีมีศีลธรรมมาตั้งแต่วันนั้นตราบเท่าชีวิต



นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า :
คนที่ไม่มีความชั่วโดยชาติกำเนิด
ควรได้รับอภัยโทษให้กลับตัวกลับใจ
และอาจทำประโยชน์ให้ได้มากมาย

ที่มา :ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)เว็บไซด์ธรรมะไทย dhammathai





Create Date : 09 เมษายน 2551    
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 23:14:47 น.
Counter : 1102 Pageviews.  

อานิสงส์ของศีล








 




อานิสงส์ของศีล



ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภอุบาสกผู้มีศรัทธาคนหนึ่งที่สามารถเดินข้ามแม่น้ำอจิรวดีไปฟังธรรมได้ด้วยอำนาจคุณของศีล ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว สมัยพระพุทธเจ้านามว่า กัสสปะ ในวันหนึ่งมีอุบาสกคนหนึ่งซึ่งเป็นพระโสดาบัน ได้โดยสารเรือไปค้าขายต่างเมืองกับช่างตัดผมคนหนึ่ง ก่อนออกเดินทาง ภรรยาของช่างตัดผมได้ฝากให้อุบาสกช่วยดูแลสามีของตนพร้อมกับสั่งว่า
"ท่านเจ้าค่ะ ขอท่านได้ช่วยดูแลสามีดิฉันด้วยนะคะ สุขทุกข์ของสามี ดิฉันขอมอบให้เป็นภาระของท่านก็แล้วกัน"

เรือออกเดินทางไปได้ ๗ วัน ก็เจอพายุกระหน่ำจนเรืออับปางลงกับทะเลราวกับเรือไทนานิคล่ม ชายทั้ง ๒ ได้เกาะแผ่นกระดานแผ่นหนึ่งลอยคอจนมาถึงเกาะแห่งหนึ่ง ด้วยความหิวนายช่างตัดผมได้ฆ่านกปิ้งกินและชวนอุบาสกกินด้วยกัน แต่อุบาสกไม่กินเพราะคิดว่า "สถานการณ์เช่นนี้ มีแต่พระรัตนตรัยเท่านั้นจะเป็นที่พึ่งเราได้" จึงนั่งระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยอยู่

ขณะนั้นพญานาคผู้บนเกาะนั้นได้เนรมิตร่างเป็นเรือลำใหญ่ มีเทวดาประจำทะเลเป็นต้นเรือ บรรทุกทรัพย์สินเงินทองเต็มลำ มีเสากระโดงทำด้วยแก้วมณีสีอินทนิล ใบเรือทำด้วยทองเชือกทำด้วยเงิน แล่นมาที่เกาะนั้น พร้อมประกาศว่า

"มีใครจะไปด้วยไหม"
อุบาสกร้องตอบว่า "ข้าพเจ้าจะไปด้วย"
นายต้นเรือพูดว่า "ถ้าเช่นนั้น ท่านขึ้นมาเถอะครับ"

อุบาสกจึงชวนนายช่างตัดผมขึ้นเรือไปด้วยกัน แต่นายต้นเรือร้องห้ามไว้ว่า "ขึ้นมาได้เฉพาะท่านคนเดียวเท่านั้น อีกคนหนึ่งขึ้นไม่ได้"
อุบาสกถามว่า "ทำไมละท่าน"
นายต้นเรือตอบว่า "เพราะคนนั้นไม่มีศีลจึงรับไปด้วยไม่ได้ เรือลำนี้รับเฉพาะคนมีศีลเท่านั้น"
อุบาสกพูดว่า "เอาเถอะ ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าขอแบ่งให้ส่วนบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้รักษาศีลให้แก่เขาก็แล้วกัน"
นายช่างตัดผมก็รับคำอนุโมทนาในบุญกุศลว่า "ข้าพเจ้าขออนุโมทนา"

เทวดาจึงนำชายทั้ง ๒ ขึ้นเรือแล้วนำไปส่งจนถึงฝั่งพร้อมทั้งมอบทรัพย์สมบัติให้อีกด้วย แล้วกล่าวให้โอวาทเป็นคาถาว่า

"ดูเถิด นี่แหละผลของศรัทธา ศีล และจาคะ พญานาคแปลงตนเป็นเรือนำอุบาสกผู้มีศรัทธาไป บุคคลพึงคบหาสัตบุรุษเท่านั้น พึงทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ เพราะการอยู่ร่วมกับสัตบุรุษนายช่างตัดผมจึงถึงความสวัสดี"
เมื่อกล่าวจบก็พาพญานาคกลับวิมานของตนไป



นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า :ผู้มีศีลตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้

ที่มา :หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)เว็บไซด์ธรรมะไทย dhammathai





Create Date : 02 เมษายน 2551    
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 23:15:15 น.
Counter : 872 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  

lcelcy
Location :
ชลบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มิถุนายน เดือนดี๊ดี " จุดกำเนิด iceicy's blog Dhamma"
ครบรอบ ๗ ปี แล้วค่ะ"

คนมาจากไหน?
เริ่มจาก เกิด แก่ เจ็บ และก็ตาย
คนก็หายไป !!...แต่ความดีไม่เคยหายไปด้วย..
ทุกคนจำวันเกิดตัวเองได้ไหม... ก็คงจำได้กันหมดอะน่ะ
เคยคิดจะทำอะไรดีดี....
ให้กับตัวเองและคนอื่น..ในวันครบรอบวันเกิดของตัวเองไหมค่ะ?

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. ๒๕๔๙ (๗ ปีได้ผ่านมาแล้ว)
ฉันได้ทำสิ่งที่ชอบ และชอบในสิ่งที่ฉันได้ทำ
สิ่งนั้น คือ " บล๊อกเกี่ยวกับหลักธรรมข้อคิดต่างๆ "
เริ่มจากทำไม่เป็น ลองผิดลองถูก ทำจนสำเร็จ
ทั้งนี้ ขอขอบพระคุณ " กำลังใจ " คนรอบข้าง
และทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม iceicy's blog Dhamma น่ะค่ะ
(ซึ้งน่ะซึ้งน่ะเนี่ย!!!!)
<

วัตถุประสงค์ iceicy blog Dhamma
1. เพื่อเผยแพร่และสนับสนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับประเทศไทย
2. เพื่อนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนา
3. เพื่อแบ่งปันความรู้ทางพระพุทธศาสนา และแลกเปลี่ยนข่าวสารทั่วไป
4. สรรเสริญบุคคลที่ควรสรรเสริญ ยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง

Google



Link to us:
ท่านสามารถนำ code ของ banner นี้
ไปติดที่เว็บของท่านได้ตามสะดวกน่ะค่ะ
ขอขอบคุณและขออนุโมทนามา ณ ที่นี้ด้วยน่ะค่ะ

Iceicy blog dhamma



New Comments
Friends' blogs
[Add lcelcy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.