|
คุณเคยทำหน้าที่เป็น "ร่ม" ให้ใครบ้างหรือไม่?
|
"อย่าคิดอยากจะเห็นแจ้งในธรรม...ถึงเวลาจะเห็นเอง"

หลักธรรมคำสอน (อภิมหามงคลธรรม หน้า ๒๔๗)
๑. สมาธิที่เคลื่อนไหว ...สมาธิภาวนาในขณะเคลื่อนไหว มีคุณค่ามากกว่าสมาธิภาวนา ในขณะอยู่นิ่งๆ อย่างเงียบเชียบถึงนับพันเท่า
๒. ต้องรู้จักกลั่นกรอง ...ในน้ำเน่านั้น น้ำบริสุทธิ์ยังมีเจือปนอยู่ ผู้ที่ฉลาดรู้จักหาวิธีกลั่นกรอง จะสามารถหาน้ำบริสุทธิ์จากน้ำเน่าได้เสมอ
๓. ยิ่งอยากยิ่งไม่ได้ ...อยากได้ยิ่งหนี อยากมียิ่งยาก...ฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญาพึงตัดคำว่า อยากออกเสีย ก่อนที่จะลงมือกระทำการใดๆ จะช่วยให้งานนั้นเสร็จเร็วยิ่งขึ้น
๔. ความรุ่งโรจน์และความตกต่ำ ...จงมองดูปรากฏการณ์แห่งความรุ่งโรจน์ และความตกต่ำ ด้วยดวงใจที่สงบไร้กังวล เพราะทั้งความรุ่งเรือง และการล่มสลาย เป็นเพียงหยาดน้ำค้างบนใบหญ้าเท่านั้น
๕. การศึกษากับการปฏิบัติต้องคู่กันไป สำหรับพุทธศาสนาแล้ว การศึกษากับการปฏิบัติ ไม่อาจแยกออกจากกันได้...การปฏิบัติถ่ายเดียวโดย ไม่ศึกษา ย่อมจะนำไปสู่ความผิดพลาด...การศึกษา โดยไม่ปฏิบัติย่อมไม่อาจก้าวหน้าได้....ถ้าหากว่าใคร ทำการศึกษาค้นคว้าโดยขาดการปฏิบัติ ก็ยากที่จะจับแก่นแห่งสัจธรรมได้
๖. กลางคืนเป็นควัน กลางวันเป็นไฟ ..คนในปัจจุบันนี้ ที่ต้องเหน็ดเหนื่อยวิ่งวุ่น อยู่กับการทำกำไร หนักใจอยู่กับทรัพย์สมบัติ มหาศาลจิตใจไม่มีวันสงบ ไม่รู้จักหยุดนิ่ง วิตกกังวลไปร้อยแปดอยู่ตลอดเวลา ชนิดที่ว่า "กลางคืนเป็นควัน กลางวันเป็นไฟ" คือใจไม่ยอมหยุด รุ่มร้อนอยู่ทุกเวลา...นั่นแหละ คือผลของการที่จิตมันเข้าไปแบกไว้เต็มที่ เรียกว่ามีอะไรก็แบกไว้หมด
๗. ดับที่นี่ ...ความทุกข์นั้นปรากฎแล้ว ไม่ต้องไปหาที่ไหน มันเกิดที่นี่ ก็ต้องดับที่นี่.....
๘. พระพุทธรูป ..พระพุทธรูปบังพระพุทธเจ้า...
๙. ปฏิบัติได้ทุกที่ ...ไม่ต้องยึดว่า การปฏิบัติธรรม ต้องไปอยู่ในสถานที่เงียบสงบ...
๑๐. แก่นพุทธธรรม ...อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อม แต่รู้เท่าทันและ สามารถกำหนดรู้ที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม...การรู้เท่ากัน และสามารถ กำหนดวิธีการได้เช่นนี้ จึงว่า "อยู่ใน" แต่ "อยู่เหนือ" ...เหมือนหยดน้ำบนในบัว อยู่บนใบบัว แต่ไม่เกาะติด อยู่ในใบบัวนั้น...นี่คือใจความสำคัญของสภาวะการ รู้แจ้งธรรมอันสูงสุด และเป็นแก่นแท้ของพุทธธรรม
๑๑. ยิ่งยากยิ่งเข้าใจ มีน้ำแข็งมากเท่าใด... ก็มีน้ำมากเท่านั้น ยิ่งยากลำบากเท่าใด... ก็ยิ่งเข้าใจชีวิตมากเท่านั้น
๑๒. ถึงเวลาจะเห็นเอง ...อย่าคิดอยากจะเห็นแจ้งในธรรม ถึงเวลาจะเห็นเอง...
๑๓. วิธีลัด ..มีเวลาเมื่อไร ให้ปฏิบัติเมื่อนั้น... การฝึกจิต การพิจารณาจิต เป็นวิธีลัดที่สุด...
๑๔. ดูความคิด เราต้องดูความคิดให้เห็นความคิด เมื่อคิดขึ้นอย่าไปตามความคิด อย่าเข้าไปในความคิด... เรื่องธรรมะนั้น คิดล่วงหน้าเอาไม่ได้ เมื่อมันเกิดจึงรู้ รู้ก่อนไม่ได้.... และต้องอาศัยดูความคิด เมื่อเห็นความคิด ความคิดมันจะหดตัว หยุดคิดของมันเอง ไม่ใช่สะกดห้ามคิด ต้องให้เห็นมันคิดแล้วดู...
๑๗. อยู่กับความรู้สึกตัว ...การอยู่กับความรู้สึกตัวนี้ ก็เช่นการขยับมือของเรา เราก็รู้สึก คือ รู้สึกที่ตัวของเราชัดเจนดี กำมือเข้าคลายมือออกก็รู้สึก หรือเอานิ้วสีกันถูกกันไปมา ก็รู้สึก...คนมีปัญหามากๆ กลุ้มมากอึดอัดมาก ขอให้ทดลองเทคนิคออกจากความคิดนี้ ดูสักครู่เดียว จะรู้สึกถึงผลดีของมัน ได้ทันควันทีเดียว พอคิดขึ้นมาก็สลัดออกไป หันมาใส่ใจกับความรู้สึกของมือ ที่กำ-แบ-กำ-แบ-กำ-แบ ฯลฯ อยู่นี้อย่าไปใส่ใจกับความคิด จงหันมาใส่ใจกับความรู้สึก ที่เนื้อที่ตัวของเรา....... คนที่มีความทุกข์มากๆ...... มักจะเห็นผลได้ชัดเจนถึงผลดีของวิธีนี้
๑๙. ความรู้สึกตัว ความรู้สึกตัวเป็นเรื่องที่สำคัญมาก.. พระอรหันต์ก็ไม่ใช่ใครอื่น นอกจากผู้ที่มีสติสมบูรณ์ทุกอิริยาบทเท่านั้น คือท่านรู้สึกตัวอยู่ทุกขณะจิตเท่านั้น.... แต่ปุถุชนส่วนใหญ่จะลืมตัว.... พลัดหลงไปจากตัว...ไม่รู้สึกตัว.... แต่ไปหมกหรือตกอยู่ในความคิดเสีย เป็นส่วนใหญ่ เรียกว่าไม่รู้สึกตัวของตัว....
๒๐. ผู้ให้ควรขอบคุณ ..ผู้ให้กับผู้รับนั้น ใครจะเป็นผู้ได้กุศลมากกว่ากัน.. ถ้าคิดให้ดี ผู้ได้กุศลมากกว่า ก็ควรจะขอบคุณ ผู้ได้น้อยกว่า จึงเป็นเรื่องที่ไม่ผิด....
๒๑. ต้องมีสติในทุกสิ่งที่เนื่องกับตน ...การมีสติรู้เท่าทันอาการต่างๆ ของกายนั้นยังไม่พอ... ในมหาสติปัฏฐานสูตร ยังกล่าวว่า เราต้องมีสติพร้อมถึงลมหายใจ แต่ละครั้งการเคลื่อนไหวแต่ละหน ความคิดทุกความคิด และความรู้สึก ทุกความรู้สึก...
๒๒. การปฏิบัติธรรมเป็นเหมือนการทำงาน ...การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกับการทำงานอื่นๆ โดยทั่วๆ ไปนั่นแหละ....เวลาใดที่ใจเราตก เราก็ต้อง "ยก" ใจของเราขึ้นมาบ้าง และเวลาใดที่ใจเราฟุ้งซ่านมากเกินไป เราก็ต้องรู้จักข่มมันลงไปเสียบ้าง... ทั้งนี้ต้องด้วย "ไหวพริบ" เท่านั้น
|
---|
Create Date : 14 พฤศจิกายน 2549 | | |
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 23:32:26 น. |
Counter : 3336 Pageviews. |
| |
|
|
|
"ลาภ 4 ประการ" ที่มนุษย์เราควรภูมิใจ
ลาภ 4 ประการที่มนุษย์เราควรภูมิใจ
บทอบรมกรรมฐาน
ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติกรรมฐานในครั้งแรกๆ นั้น ท่านสอนให้นึกถึงบุญของเราแต่ละคน ว่าเราแต่ละคนได้มีโอกาสมาฝึกกรรมฐานนี้ เรามีบุญแล้ว คือ เราได้สิ่งที่บุคคลทําได้โดยยาก 4 ประการ
------------------------------------------------------------
จึงน่าภูมิใจ สิ่งที่บุคคลได้โดยยาก 4 ประการ คือ
1. การบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า 2. การเกิดมาเป็นมนุษย์ 3. การได้นับถือพระพุทธศาสนา หรือการได้บรรพชาอุปสมบทในพระศาสนา 4. การมีศรัทธามาปฏิบัติกรรมฐาน
------------------------------------------------------------
ลาภ 4 ประการที่มนุษย์เราควรภูมิใจ
ลาภข้อที่ 1 การบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า
ที่ว่าเป็นลาภของเราแต่ละคน ก็เพราะพระพุทธเจ้านั้นเป็นบุคคลที่หาได้ยากอย่างแท้จริง ไม่ได้เกิดขึ้นในโลกทุกยุคทุกสมัย ในโลกที่มีอายุเป็นล้านๆ ปีนี้ พระพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นได้ไม่ใช่ทุกยุคทุกสมัย บางยุคเป็นยุคที่ว่างจากพระพุทธศาสนา เมื่อยุคใดเป็นยุคที่ว่างจากพระพุทธศาสนา สัตว์โลกก็บอดมืด ไม่รู้ไม่เห็นหนทางแห่งความสงบสุข
การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแต่ละองค์นั้น ต้องบําเพ็ญบารมีมานาน อย่างพระพุทธเจ้าของเรานั้น พระองค์ทรงบําเพ็ญบารมีมานานถึง 4 อสงไขยกับแสนกัปป์ จึงสามารถมาตรัสรู้ได้ การที่พระพุทธเจ้าจะปรากฏขึ้นในโลกนั้น เป็นสิ่งหาได้ยาก
เมื่อทรงอุบัติขึ้นแล้ว ก็สามารถนําความสุขมาให้แก่บุคตคลที่ได้มาพบเห็นพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าทรงมีพระคุณมาก ถ้าหากว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบังเกิดแล้ว เราทุกคนนี้ก็จะไม่รู้จักพระพุทธศาสนา ก็อาจจะบอดมืดและอาจจะนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งที่มีอยู่ในโลกนี้ ซึ่งไม่ใช่ทางแห่งความพ้นทุกข์
ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้นั้น สัตว์โลก มนุษย์ทั้งหลายกําลังบอดมืด ไม่รู้ว่าอะไรเป็นตัวทุกข์ อะไรเป็นตัวร้อน อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อะไรเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ถูกไฟเผาอยู่ตลอดเวลา เพลิงที่เผาอยู่นั้นมีทั้งเพลิงทุกข์และเพลิงกิเลส
สัตว์โลกทั้งหลายถูกเพลิงทั้งสองใหม้อยู่ ทั้งๆ ที่ถูกเพลิงนี้เผาไหม้ แต่บุคคลในโลกนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นเพลิง แล้วจะรู้วิธีดับเพลิงได้อย่างไร แต่เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์เป็นคนแรกที่ทรงชี้ให้เห็นถึงหนทางถึงความดับทุกข์ และดับทุกข์ได้จริง เพราะฉะนั้น การอุบัติขึ้นของพระองค์นั้น จึงจึดว่าเป็นความประเสริฐ เป็นลาภ แม้พระองค์จะนิพพานไปแล้ว แต่ธรรมะของพระองค์ยังเป็นศาสดาสอนแทนพระองค์อยู่ การที่พระพุทธศาสนาจะอันตรทานไปจากโลกนั้น
ต้องมีลักษณะการอันตรทานดังต่อไปนี้
- ปริยัติอันตรธาน คือ คนไม่สามารถจดจําคําสอนของพระพุทธเจ้าได้เลย - ปฏิบัติอันตรธาน คือ คนไม่ได้ปฏิบัติเลยแม้แต่ศีล 5 - ปฏิเวธอันตรธาน คือ ไม่มีผู้บรรลุมรรคผลเลยล - ลิงคอันตรธาน คือ ไม่มีเพศบรรพชิตเลย - ธาตุอันตรธาน คือ พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ที่กระจายอยู่ทั่วโลกอันตรธานหายไป
แต่อันตรธานทั้ง 5 ประการนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในพระศาสนาของเรา เพเราะปริยัติก็ยังบริบูรณ์อยู่ ปฏิบัติก็ยังบริบูรณ์อยู่ ปฏิเวธก็ยังเชื่อว่ามีผู้บรรลุอยู่ เพศของสมณะก็ยังปรากฏอยู่ ยังมีผู้บวชอยู่ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าก็ยังปรากฏอยู่
รวมความว่า ทั้งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยังปรากฏบริบูรณ์อยู่ในโลกนี้ พระพุทธเจ้าที่ยังปรากฏให้เห็นชัดก็คือ พระบรมสารีริกธาตุ และพระธรรมอันเป็นตัวแทนของพระองค์ ก็มีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ส่วนพระสาวกของพระองค์ก็ยังมีอยู่ เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงชื่อว่ายังมีชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบัน เราเกิดขึ้นในยุคที่พระพุทธศาสนายังมีอยู่
โดยเฉพาะเกิดเป็นคนไทยในประเทศไทย ซึ่งไม่มีการทําลายพระพุทธศาสนาเหมือนกับในบางประเทศ เราจึงควรภูมิใจว่าเรานั้นมีบุญ คือ มีบุญที่ได้มาเกิดในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ในขณะที่ศาสนาของพระบรมศาสดานั้นยังมีอยู่ ชื่อว่าได้ลาภข้อที่ 1... .. .
------------------------------------------------------------ ลาภข้อที่ 2. การเกิดมาเป็นมนุษย์
คือ การที่สัตว์โลกซึ่งท่องเที่ยวในสังสารวัฏนั้น ไม่ใช่ของง่ายเลยที่จะได้อัตภาพเกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะในโลกมีสัตว์โลกนับเป็นแสนๆ ชนิด แต่เราได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์ก็น่าภาคภูมิใจ เราไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่เป็นเปรต เป็นอสูรกาย หรือเป็นสัตว์นรก เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็มีอาการครบ 32 บริบูรณ์ ไม่บ้าใบ้ ไม่หูหนวก หรือไม่บกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นลาภ เพราะการที่ได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์นี้ไม่ใช่ของง่ายๆ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "การกลับมาเป็นมนุษย์เป็นการยาก" คือ คนบางคน เมื่อชาติหนึ่งเคยเป็นมนุษย์แล้ว แต่ประพฤติล่วงศีล 5 ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อเป็นประจํา เมื่อตายไปก็อาจไปบังเกิดในอบายภูมิ เช่น เกิดิเป็นสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น ไม่อาจจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ได้เป็นเวลานาน ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "การกลับมาเป็นมนุษย์เป็นการทําได้โดยยาก" แต่เราทุกคนได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์แล้ว นับเป็นบุญในข้อนี้แล้ว เพราะผู้ที่จะได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์นั้น ในชาติก่อนอย่างน้อยจะต้องมีศีล 5 เป็นพื้นฐาน เมื่อเราได้อัตภาพนี้แล้ว แสดงว่าเมื่อชาติก่อนเราเป็นผู้มีศีล 5 ประจําใจ จึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์นี้ เมื่อได้อัตภาพเช่นนี้แล้ว ก็ถือว่าเป็นบุญ เป็นลาภ ... .. .
------------------------------------------------------------
ลาภข้อที่ 3 ได้นับถือพระพุทธศาสนา หรือการได้บรรพชาอุปสมบท
ทั้งนี้ก็เพราะว่าโลกในปัจจุบัน ซึ่งมีมนุษย์อยู่เป็นพันๆ ล้านๆ คนนั้น ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมีอยู่นิดเดียว นอกนั้นก็นับถือศาสนาอื่นๆ หรือไม่ก็ไม่นับถือศาสนาใดๆ เลย แต่การที่เรานับถือพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นสัจธรรมอันประเสริฐ ที่เราสามารถพิสูจน์ได้ และนําความสุขมาให้แก่ผู้ปฏิบัติได้อย่างแท้จริง ส่วนการบรรพชาหรืออุปสมบทเป็นพระภิกษุหรือสามเณรในพระศาสนา หรือแม้การบวชเป็นแม่ชีผู้เว้นชั่ว ประพฤติดี ก็ชื่อว่าบวชเช่นกัน
การที่บุคคลเราเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ได้เข้ามาบวชไม่ใช่ของทําได้ง่าย เพราะการบวชนั้นต้องอาศัยความอดทน อาศัยบุญบารมี อาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่าง จึงทําให้บวชได้ เราจะเห็นได้ว่าผู้เข้ามาบวชนั้นยังน้อย นอกนั้นก็วุ่นวายยุ่งอยู่กับกิจการของโลก ซึ่งก่อนให้เกิดกิเลสนานาชนิด และเป็นทางที่นําไปสู่ความดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ส่วนใหญ่ยังไม่อาจยกจิตขึ้นสู่ทางสงบสุข
แต่เราทุกคนซึ่งได้นับถือพระพุทธศาสนา และบางท่านได้มีโอกาสเข้ามาบวช ถือว่าเป็นลาภ แต่ก็คงมีบางท่านซึ่งบวชแล้ว แต่ไม่สามารถยกจิตขึ้นสู่ระดับสูงได้ ก็นับว่าน่าเสียดาย ... .. .
------------------------------------------------------------
ลาภข้อที่ 4 มีศรัทธาเข้ามาฝึกกรรมฐาน
ทั้งนี้ เพพราะการที่เรานับถือพระพุทธศาสนา มีน้อยคนจะได้เข้ามาบวช และแม้ที่บวชแล้ว ก็มีน้อยคนที่จะได้มาฝึกรรมฐาน แม้ฆราวาสทั่วไปก็เหมือนกัน นับถือพุทธศาสนามานานก็จริง น้อยท่านที่จะมีศรัทธามาฝึกกรรมฐาน แต่เราทุกท่านทั้งบรรพชิตฆราวาสและซึ่งนั่งอยู่ ณ สถานที่นี้ มีศรัทธามาปฏิบัติกรรมฐาน จึงถือว่าเป็นลาภข้อที่ 4 ... .. .
------------------------------------------------------------
ทั้ง 4 ประการนี้ เป็นลาภของเราแล้ว ขอให้ทุกคนทุกท่านพิจารณาถึงบุญของเราแต่ละคนนั้นว่า
เรานั้นมีบุญจึงได้ลาภทั้ง 4 ประการนี้คือ
1. เราเกิดในยุคที่พระพุทธศาสนายังมีอยู่
2. เราได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์ คือ เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว
3. เราได้นับถือพระพุทธศาสนา หรือเราได้บรรพชาหลีกเร้นออกจากสิ่งที่วุ่นวายแล้ว
4. เราได้มีศรัทธา ได้มีโอกาสมาฝึกกรรมฐานแล้ว
เพราะฉะนั้น ควรใช้โอกาสที่มีอยู่นี้ ฝึกกรรมฐานให้มากที่สุด เท่าที่จะทําได้ การฝึกอบรมกรรมฐานในพระพุทธศาสนานั้น ยังมีทั้งแบบสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน แต่อย่างไรก็ตาม กรรมฐานทุกระบบต้องใช้ศีลเป็นพื้นฐาน เป็นก้าวแรก ต่อไปก็๋ต้องใช้สมาธิเพื่อเป็นบาทขึ้นสู่วิปัสสนา .....
(พุทธศาสนากับสังคมไทย Budpage.com)
|
---|
Create Date : 10 พฤศจิกายน 2549 | | |
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2551 15:20:48 น. |
Counter : 1065 Pageviews. |
| |
|
|
|
ความสวยไม่เที่ยงแท้ - แต่ความดีคงทน!!
ความสวยไม่เที่ยงแท้ - แต่ความดีคงทน
ความดีนั้นมีค่า กว่าความสวย ดีอำนวยความสุข ทุกสมัย แต่ความสวยเสื่อมทราม ไปตามวัย ดีคงไว้ซึ่งความดี ไม่มีทราม.
โดย..ส.ทับทิมเทศ

|
---|
Create Date : 02 พฤศจิกายน 2549 | | |
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 23:34:14 น. |
Counter : 1216 Pageviews. |
| |
|
|
|
| |
|
| | | |
| |