"ขงเบ้ง"
สุภาณี ปิยพสุนทรา...แปลจากภาษาจีน
๘.
“…สูงส่งแต่ไม่เย่อหยิ่ง ชนะแต่ไม่ลำพอง ปราดเปรื่องแต่รู้จักลงเวที เข้มแข็งแต่มีความอดกลั้น..”
"ขงเบ้ง”
๙.
“..ก่อนที่จะเอาชนะคนอื่น...จักต้องเอาชนะตัวเอง ให้ได้เสียก่อน ก่อนที่จะว่าคนอื่น...ควรพิจารณาดูตัวเองเสียก่อน ก่อนหน้าที่จะรู้จักคนอื่น...ควรจะรู้จักตัวเองเสียก่อน..”
"หลี่ปุ๊เหว่ย”
๑๐.
“ ผู้ที่รู้จักคนอื่นเป็นคนฉลาด.....ผู้ที่รู้จักตัวเองเป็นคนมีสติ..”
"เล่าจื้อ”
๑๑.
“ การตกระกำลำบากเป็นมหาวิทยาลัยชั้นสูง ในการฝึกฝนยอดคน..!!”
"เหลียงฉี่เชา”
๑๒.
“ สิ่งที่ตัวเราไม่ชอบ ...จงอย่าทำกับคนอื่น..”
"ขงจื้อ”
๑๓.
“ คนที่ทำได้อาจพูดไม่ได้...คนที่พูดได้อาจทำไม่ได้.!!”
"ซือหม่าเชียน”
๑๔.
“ คนเราหนีไม่พ้นความตาย...แต่ความหมายการตายนั้น ไม่เหมือนกัน... บ้างมีค่าหนักกว่าขุนเขา...บ้างไร้ค่าเบากว่าขนนก...!”
"ซือหม่าเชียน”
|
---|
Create Date : 18 มิถุนายน 2549 | | |
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 23:46:38 น. |
Counter : 1044 Pageviews. |
| |
|
|
|
"Overflowed ted"ชาล้นถ้วย
โดย ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์

“ Overflowed ted” “ชาล้นถ้วย”
หลายคนที่คุ้นเคยกับปรัชญาเซ็น จะคุ้นกับวลีนี้ดีพอสมควรที่รินจนล้นถ้วย ภาพนี้มีเรื่องเล่าว่า มีศาสตราจารย์ชาวตะวันตกผู้ทรงความรู้ผู้หนึ่ง เข้าไปหาอาจารย์เซ็นผู้เฒ่าเพื่อศึกษาธรรมะ ท่านอาจารย์รับรองเชื้อเชิญให้นั่งเป็นอย่างดี แต่เมื่อรินชาให้นั้น ท่านรินจนล้นถ้วย ชาล้นออกมาเต็มจานรอง ท่านก็ยังไม่หยุด รินต่อจนกระทั่งชาล้นออกมานองพื้น ท่านศาสตราจารย์ผู้เป็นแขก ประหลาดใจในการกระทำของอาจารย์ผู้เฒ่ามาก จนต้องออกปากถามว่า
“ท่านอาจารย์ครับ ชาล้นถ้วยแล้ว ทำไมท่านยังรินอยู่ ?” ท่านอาจารย์จึงบอกว่า “นั่นแหละ ท่านก็เหมือนชาล้นถ้วยนี้”
ลักษณะของชาที่รินจนเต็มถ้วยแล้วนั้น ไม่ว่าจะรินอะไรลงไปเติมมันก็รับไว้อีกไม่ได้ มันก็มีแต่จะล้นออก อาจารย์เซ็นพยายามบอกท่าน ศาสตราจารย์ชาวตะวันตก...ว่า...
ความรู้ที่เรียนมานั้น ยิ่งรู้มาก ยิ่งยึดติดในความรู้เหล่านั้นมาก อัตตารุนแรง ความทิฏฐิที่ถือว่าตนเป็นผู้รู้มากนั้น ย่อมบดบังทำให้ไม่สามารถรับอะไรได้อีกแล้ว ปัญหานี้เป็นกันมากแทบทุกวงการในหมู่นักวิชาการ ยิ่งมีปริญญาต่อท้ายมาก มีตำแหน่งทางวิชาการมาก ประสบความสำเร็จมาก
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ชาวโลกแสวงหา เป็นสิ่งดี แต่ขณะเดียวกันก็เป็นดาบ ๒ คม ที่ ถ้าเจ้าตัวไม่ระวังก็จะเกิดผลข้างเคียง ที่ทำให้เป็นคนทนฟังความเห็นของคนอื่นไม่ได้เอาเลยทีเดียว
เพราะฉะนั้นตัวอย่างในนิทานเซ็นเรื่องนี้ จึงใช้ศาสตราจารย์ชาวตะวันตกเป็นตัวละครอันเป็นละครอันเป็นสัญลักษณ์ของรูปแบบการศึกษาล้วนๆ ที่ขาดการอบรมจิตใจ และแสดงความแตกต่างที่สำคัญระหว่างปรัชญาตะวันตกกับปรัชญาตะวันออก
กล่าวคือในขณะที่ปรัชญาตะวันตกสอนถึงแนวคิดที่เป็นระบบ มีหลักการณ์และเหตุผลที่ชัดเจน แต่ไม่สัมพันธ์กับการปฏิบัติในชีวิตจริง
ในขณะที่ปรัชญาตะวันออกนั้น สอนถึงระบบปรัชญาแต่ระบบปรัชญาตะวันออกทุกระบบ เป็นปรัชญาชีวิตด้วย
จึงมีการวางแนวทางเพื่อการปฏิบัติให้สอดคล้องกับชีวิตจริง ในขณะที่สอนให้รู้ถึงขาวและดำของเหตุผลก็สอนให้ตระหนักความจริงของชีวิตที่อยู่ระหว่างขาวและดำด้วย
ลักษณะเด่นประการหนึ่งของปรัชญาตะวันออก คือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งเห็นได้ชัดในปรัชญาเซ็นและปรัชญาเต๋า
|
---|
Create Date : 17 มิถุนายน 2549 | | |
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 23:46:53 น. |
Counter : 1776 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
|
|