นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ฝนตก ดินแฉะ อากาศชื้น เชื้อโรคตื่นฟื้นพร้อมระบาด

ฝนตกในกรุงเทพมาสองวัน จากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จากทะเลจีนใต้ที่พัดขึ้นมาทางภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออกรวมถึงภาคกลางบางพื้นที่ส่งผลให้กรุงเทพมหานครแทบจะจมอยู่ใต้บาดาลในห้วงช่วงสองสามชั่วโมงโรงเรียนในบางพื้นที่ต้องปิด จราจรติดขัดความลำบากยากเข็ญสะท้อนไปยังผู้บริหารกทม. นั่นก็คือท่านสุขมพันธุ์ บริพัตรโดยมีเสียงเรียกร้องจากสื่อทางโซเชี่ยลเน็ทเวิร์ค ให้รัฐบาลใช้มาตรา 44 สั่งปลดเพราะปล่อยให้กรุงเทพฯ เกิดปัญหาดังกล่าว

ก็ว่ากันไปตามอารมณ์คนไทยที่เบื่ออะไรง่าย พอทำอะไรไม่ถูกใจไม่เข้าที่เข้าทางก็ฟาดงวง ฟาดงา พาลพาโลไปทั่ว จะอย่างไรก็ตามคาดว่า ทั้งกรุงเทพฯปริมณฑลและพื้นที่ที่อยู่ในอิทธิพลของมรสุมก็น่าจะได้รับความชุ่มชื้นฉ่ำเย็นจากสายฝนที่โปรยปรายลงมาไม่แพ้กัน จะอย่างไรก็ตามความเย็นซึ่งเป็นผลพวงจากฝนก็คงจะเป็นที่ชื่นชอบใครหลายๆคนและเฉกเช่นเดียวกัน ความชื้นแฉะทั้งในดินและอากาศก็สามารถสร้างปัญหาให้กับพืชไร่ไม้ผลของเกษตรกรได้เช่นเดียวกัน

ความชื้นที่มีอยู่มากจากฝนก็จะช่วยทำให้เชื้อราโรคพืชที่ตกค้างปนเปื้อนอยู่ในอากาศและพื้นดินก็จะเจริญเติบโตแตกกอต่อยอดออกมาสร้างความเสียหายให้กับพืชนานาชนิดได้ดังที่ถ้าเราๆ ท่านๆ ได้ลองสังเกตหลังฝนตกใหม่ๆ พืชไร่ไม้ผลหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นข้าว อ้อย ปาล์ม ยางพารา ข่า ขิง ฯลฯ จะมีปัญหาใบไหม่ ใบด่าง ใบดำ ใบจุดสร้างความเสียหายทุกครั้งหลังฝนตกไปได้ไม่เกินสองหรือสามวันที่เป็นเช่นนี้เพราะฝนนั้นทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีมวลน้ำสะสมอยู่มากทำให้สปอร์ที่ปลิวล่องลอยในอากาศหน่วงหนักตกหล่นลงมาสู่ใบพืชและพื้นดินจนเกิดปัญหาดังกล่าว

การใช้เปลือกมังคุดที่รับประทานเสร็จแล้วนำผลไปตากผึ่งลมให้แห้งเพียง 200กรัมหมักกับเหล้าขาวหรือแอลกอฮอล์ล้างแผล70% หมักไว้ 7 วัน ก็นำมาใช้ฉีดพ่นล้างใบทำลายสปอร์ในอัตรา 2 ซี.ซี. ต่อน้ำ20 ลิตร หลังฝนตกใหม่ๆ ก็ช่วยลดปัญหาการระบาดของโรคพืชต่างๆได้มากมายนัก แต่อย่าลืมนะครับว่านี่คือการป้องกันการเจริญเติบโตของสปอร์ถ้าพืชที่มีปัญหาไปแล้วนั้น ควรจะต้องทำการรักษาในที่นี้ก็จะขออนุญาตแนะนำชีวินทรีย์รักษาเชื้อราอย่าง ไตรโคเดอร์ม่านำเอาสปอร์สำเร็จรูป 100 กรัมละลายในน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุกๆ 3 – 7 วันหรือจะสลับไปกับ บีเอสพลายแก้วในอัตราเดียวกันก็ได้ แต่บีเอสพลายแก้วนั้นสามารถลดต้นทุนด้วยการหมักขยายในอัตรา 5 กรัมต่อมะพร้าวอ่อน1 ผล, นมยูเฮชที 1 กล่อง หมักให้ได้ 24 ชั่วโมงแล้วนำมาผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นต้นทุนจะอยู่ประมาณ ปิ๊ปละ 5 บาท ก็จะช่วยรักษาอาการโรคที่เกิดเชื้อราได้หลากหลายนะครับ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 02 986 1680– 2

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 29 กันยายน 2558   
Last Update : 29 กันยายน 2558 16:57:34 น.   
Counter : 423 Pageviews.  

ฝนหลงฤดูหมั่นตรวจดูโรคจากราฉวยโอกาส


ในระยะนี้ถ้าสังเกตให้ดีหรือติดตามข่าวสารจากกรมอุตุนิยมวิทยาก็จะทราบสถานการณ์ลมฟ้าอากาศว่าจะยังมีลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพาเอาไอน้ำความชุ่มชื้นจากท้องทะเลฝั่งอันดามันผันขึ้นมาเป็นน้ำฝนฉ่ำโปรยปรายไปทั่ว ถึงจะมีความถี่ที่ห่างแตกต่างจากฤดูฝนในช่วงปรกติแต่ก็เป็นน้ำฝนที่สามารถจะทำนำอันตรายให้แก่ต้นพืชได้ในคราวเดียวไปพร้อมๆกับการให้ความชะอุ่มชุ่มชื้นแก่ผืนดิน

เนื่องด้วยว่าฝนแรกจากความความร้อนแล้ง ฝนหลงฤดูที่ตกแบบไม่พึ่งพิงอิงกฎเกณฑ์ธรรมชาตินั้นสามารถที่จะชะล้างนำพาเอาละอองของเชื้อโรคในอากาศที่เราเรียกกันว่าสปอร์จากเดิมที่ปลิวละลิ่วล่องลอยด้วยอาศัยน้ำหนักที่เบาจากสัดส่วนที่เล็กเพียง 2-4ไมครอน เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่เกิดจากน้ำฝนมีมากเข้าจนซึมซาบเข้าไปในสปอร์ทำให้สปอร์หน่วงหนักตกหล่นลงมาสู่ผิวใบพืชและโคนต้นถ้าปล่อยให้ดำเนินต่อไปตามธรรมชาติแบบนั้นสปอร์ของเชื้อโรคก็จะเจริญเติบโตงอกงามและเข้าทำลายพืชในจุดต่างๆตามสภาพที่เขาได้ไปตกหรือสัมผัสอยู่

การเตรียมการดูแลแก้ไขปัญหาด้วยการหมักเชื้อจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่าในอัตรา1 กิโลกรัม กับ รำละเอียด 10 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากันครั้งที่หนึ่งแล้วค่อยนำไปผสมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกอีก 40 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากันครั้งที่สองพรมด้วยน้ำสะอาดพอชุ่ม ๆ หมักทิ้งไว้ใต้ร่มไม้หรือใช้แผ่นแสลนด์คลุมไว้สัก 3– 4 วันแล้วนำมาใส่สุมรุมไว้ใต้โคนต้นก็จะช่วยทำให้สปอร์ที่ตกหล่นลงมาไม่สามารถที่จะเจริญเติบโตและทำอันตรายรากพืชได้จะถูกเชื้อไตรโคเดอร์ม่าคอยปกป้อง ทำลาย แย่งอาหาร แย่งที่อยู่อาศัยและเข้าทำลายเชื้อโรคฉวยโอกาสเหล่านี้

ในกรณีที่ที่สปอร์ของเชื้อโรคตกค้างอยู่บนใบ นั้นให้ใช้วิธีการล้างใบทำลายสปอร์จากสารสกัดเปลืองมังคุดโดยนำเปลือกมังคุดผึ่งลมตากแห้ง 200 กรัม หมักกับเหล้าขาว หรือ แอลกอฮอล์ล้างแผล 70 % 500 ซี.ซี. หมักทิ้งไว้ 7 แล้วนำมาใช้ครั้ง 2 ซี.ซี. หรือจะเสริมร่วมไปกับ ฟังกัสเคลียร์(ซิลิสิค ทองแดง แมงกานีส จุลสี ทำหน้าที่ทำลายสปอร์ให้แตกหัก) อีก 2 กรัมพร้อมกับน้ำ20 ลิตรฉีดพ่นไปในคราวเดียว ถ้าพบในระยะที่เชื้อโรคเริ่มระบาดแล้วอันนี้จะมัวแต่ล้างใบทำลายสปอร์อยู่ไม่ได้ ต้องรีบใช้จุลินทรีย์บีเอสพลายแก้วและไตรโคเดอร์ม่ารีบนำมาฉีดพ่นเพื่อรักษาให้หายทันต่อสถานการณ์

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 29 กันยายน 2558   
Last Update : 29 กันยายน 2558 15:59:55 น.   
Counter : 512 Pageviews.  

การให้น้ำบำรุงรักษาดอกผลไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว

กิจกรรมของมนุษย์ในปัจุบันนับวันก็อาจจะเป็นพฤติกรรมที่นำมาซึ่งการเอาเปรียบธรรมชาติแบบไมรู้ตัวเนื่องด้วยมุ่งมั่นที่จะผลิตพืชผลภาคการเกษตรออกมาเยอะๆเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งคาดว่าในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้านี้ ประชากรโลกก็จะเพิ่มขึ้นไปถึง 9,000ล้านคนแต่พื้นที่และอาหารกลับตรงข้ามกัน คือมีน้อยไม่เพียงพอ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือโลกของทุนนิยมที่บีบคั้นให้ดั้นด้นต้องใช้ชีวิตด้วยความยากลำบากคืออยู่ภายใต้อำนาจของเงินตราที่จำเป็นต้องพึ่งพาทุกลมหายใจไม่มีก็สุดแสนจะยากลำบากโดยเฉพาะผู้ที่ยังมีภาระมีครอบครัวและต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมที่ต้องแก่งแย่งแข่งขันในทุกเรื่องๆเงินจึงถือว่าเป็นสิ่งที่ต้อง “มี”

เมื่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ต้องพึ่งพาเงินจึงทำให้บางขณะแม้แต่ผู้ที่อาจจะเคยฝึกปรือจิตใจใฝ่ธรรมะมาบ้าง ก็ยังเก้ๆ กังๆหันรีหันขวางไม่รู้จะมุ่งไปข้างหน้าหรือถอยหลังดีกับการที่จะดำเนินชีวิตแบบธรรมดาหรือต้องมีหน้ามีตาในสังคม โดยเฉพาะสมาชิกตัวน้อยๆในครอบครัวที่ยังไม่รู้ประสีประสาอะไรมากนักจะปล่อยให้อดๆ อยากๆ ก็ใช่ที่จึงทำให้มนุษย์ส่วนใหญ่จึงยังคงใฝ่คว้าหารายได้หรือความสุขจากเงินมาเป็นเป้าหมายในชีวิต

การเพาะปลูกพืชไร่ไม้ผล ก็ต้องคิดค้นหาหนทางทำให้มีผลผลิตออกมามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะเพาะจะปลูกตามฤดูกาลเพียงอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอต้องคิดต้องหาทำให้มีนอกฤดู ส่วนใหญ่พืชที่จะออกนอกฤดูก็จะมีปัญหาเรื่องน้ำ อุตส่าห์ทะนุถนอมเลี้ยงดูด้วยเทคนิคและวิธีการต่างๆนานา เพื่อให้พืชเหล่านั้นออกดอกติดผลแต่เมื่อผ่านพ้นไปได้ระยะหนึ่งดอกและผลที่เกิดมาจากคีวามวิริยะอุตสาหะก็มีอันร่วงหล่นจนเต็มโคนต้น ไม่สามารถที่จะหล่อเลี้ยงบำรุงดอกผลเหล่านี้ไปจนถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม

ดังที่เรียนให้ทราบแล้วว่าหลังจากผ่านปลายฝนต้นหนาวเมื่อพืชออกดอกก็จะเข้าสู่ระยะหนาวเข้าแล้งพอดีช่วงนี้ถ้าปล่อยให้พืชขาดน้ำ หรือน้ำมีไม่เพียงพอระบบการละลายแร่ธาตุสารอาหารในดินก็ไม่ทำงานสารอาหารต่างๆ ที่จะหล่อเลี้ยงไปยังกิ่ง ก้าน ใบ ลำต้นและส่วนของดอกและผลก็ไม่ได้รับทำให้พืชไร่ไม้ผลที่กำลังเจริญเติบโตต้องอันตรายธานพาลล่มไปกับสาเหตุของการขาดนำหล่อเลี้ยงเพราะฉะนั้นพี่น้องเกษตรกรต้องควรระมัดระวังให้ดีนะครับ ไม่ว่าจะปลูกมะนาวหน้าแล้งมะม่วงนอกลำไยนอกฤดู ต้องดูแลวางแผนบริหารจัดการน้ำอย่าให้ขาด ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์การทำสระน้ำประจำไร่นา หรือประจำฟาร์ม การใช้บ่อตอก บ่อบาดาล ต้องคิดอ่านกันให้ดีๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมต้องการปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนเรียนรู้โทรศัพท์มาคุยกันนะครับ 02 986 1680 –2 เรื่องเกษตรปลอดสารพิษคิดถึงเรานะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 29 กันยายน 2558   
Last Update : 29 กันยายน 2558 15:25:06 น.   
Counter : 394 Pageviews.  

เลี้ยงหญ้ารักษาหน้าดินช่วยให้พืชกินปุ๋ยอย่างสมดุล

พูดถึงหญ้าโดยเฉพาะหญ้าที่ไม่เป็นที่ต้องการของพี่น้องเกษตรกรลุงป้าน้าอาด้วยแล้วยิ่งน่าจะเป็นที่แขยงแทงขนเพราะหญ้าจัดเป็นวัชพืชที่เกษตรกรค่อนประเทศคิดว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย แย่งน้ำ แย่งปุ๋ยแย่งอาหาร เจอแล้วจะต้องถากถางขุดรากถอนโคนให้หมดสิ้นไปโดยเร็ว จึงเป็นเหตุแห่งการที่ร้านเคมีเกษตรทั่วประเทศจะต้องมียาคุมและฆ่าหญ้าทุกชนิดหลายยี่ห้อวางขายเกลื่อนกลาดดาษดื่นเต็มหน้าร้านอาจจะเรียกได้ว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านของพี่น้องเกษตรหรือร้านขายยาก็ว่าได้มีทุกร้านค้าและหลังคาเรือน

แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าหญ้านั้นก็ดีและมีประโยชน์ต่อพืชและตัวของเกษตรกรอยู่มิใช่น้อยเช่นกันในด้านของการช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ ช่วยสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่จุลินทรีย์ไส้เดือน แมลง ต่างๆ ทั้งตัวดีตัวร้ายให้อยู่กันอย่างสมดุลในช่วงที่อากาศร้อนแล้งหญ้าจะช่วยพรางแสง ลดการคายน้ำลดปัญหาขี้เกลือตกผลึกสะสมอยู่ที่ผิวหน้าดินเพราะถ้าดินมีความชื้นอยู่เกลือก็จะไม่ระเหิดระเหยตกผลิกหญ้าจะทำหน้าที่เป็นธนาคารปุ๋ยให้แก่พืชหลัก ไม่ว่าท่านจะปลูกมะนาว มะม่วง ลางสาดลองกอง มังคุด ฯลฯ หญ้าจะดูดกินปุ๋ยในดินเข้ามาสะสมไว้ตนเองในช่วงที่พืชหลักยังไม่เจริญเติบก็ทำหน้าที่เป็นเพือนพี่เลี้ยงถ้าเกษตรกรทำการตัดดายไปเพียงครึ่งเดียวอย่าถากจนเหี้ยนเตียนส่วนปลายของต้นหญ้าก็จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยคืนสู่ดินและธรรมชาติกลายเป็นปุ๋ยกลับมาสู่พืชอีกครั้งหนึ่ง

นอกจากนั้นแล้วหญ้ายังทำหน้าที่ช่วยถ่วงความสมดุลให้กับพืชคอยแบ่งเบาปุ๋ยส่วนเกินไม่ให้พืชดูดกินมูมมากจนมากเกินไปและส่งผลทำให้พืชไม่เฝือใบหลังจากทำหน้าคล้ายเป็นพี่เลี้ยงให้กับพืชหลักจนโตและสร้างล่มเงาบดบังพื้นที่มากขึ้นหญ้าก็จะเริ่มลดน้อยถอยลงไปตามธรรมชาติถ้าดูแลร่มเงาให้เหมาะสมหญ้าก็จะไม่รกรุงรัง สังเกตได้จากสวนยางพารา เงาะ ลองกองทุเรียนที่มีอายุเป็นสิบปีขึ้นไปเข้าไปในสวนในดงก็จะไม่มีต้นหญ้าที่ดูกรกลูกหูลูกตาจนน่าเกลืยดเกินไป

จะอย่างไรก็ตามการบริหารจัดการหญ้าถ้าหลีกเลี่ยงยาคุมและยาฆ่าได้ด้วยหลักการเขตกรรมก็ถือเป็นเรื่องที่ดี ดังที่ได้พูดหรือเอ่ยประโยชน์ได้ทราบกันไปในตอนต้นแต่ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ยังต้องใช้กันอยู่ ยาคุมและฆ่าหญ้าใช่ว่าจะไม่อันตรายต่อพืชหลักนะครับ หญ้า ก็คือ พืช, ทุเรียน ลองกอง มังคุด มะม่วง ก็พืช เพราะยาหรือสารเคมีที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าก็ย่อมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชไร่ไม้ผลที่เราปลูกด้วยเช่นกัน ถ้าประสบพบเจอกับผืนดินที่มีการสะสมยาคุมและยาฆ่าหญ้าก็สามารถแก้ปัญหาด้วยการใช้สารล้างพิษในดินอย่าง พูมิช (Pumish) หรือพูมิชซัลเฟอร์ (Pumish Sulpher) นะครับ นอกจากจะมีค่าความสามารถในการจับสารพิษแลกเปลี่ยนประจุในดินอย่างC.E.C. (Catch Ion Exchange Capacity) แล้ว ยังมีแร่ธาตุและสารอาหารที่จำเป็นต่อพืชอีกมากมายในระยะยาวถ้าใช้ร่วมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกอยู่ตลอดก็สามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้อย่างสิ้นเชิงเรียกว่าได้ทั้งตัวที่ทำหน้าที่ล้างดินและได้ทั้งแร่ธาตุสารอาหารเร่งการเจริญเติบโตให้แก่พืชแบบทูอินวันกันเลยทีเดียวเชียวละครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 29 กันยายน 2558   
Last Update : 29 กันยายน 2558 15:22:57 น.   
Counter : 405 Pageviews.  

การเตรียมความพร้อมให้กับดิน ช่วยให้ข้าวกินปุ๋ยครบโภชนาการ

การให้ความสำคัญด้านโภชนาการกับสิ่งมีชีวิตนั้นถือเป็นเรื่องที่ควรจะต้องให้ความใส่ใจไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์หรือพืช ถ้าหากว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้รับแร่ธาตุและสารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว ก็จะทำให้ชีวิตและโครงสร้าง สรีระต่างๆคงจะไม่สมบูรณ์ครบถ้วน อาจจะเตี้ย เหลืองซีด แคระแกร็น ผอมแห้ง แรงน้อย ขาดภูมิคุ้มกันที่จะช่วยปกป้องโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่จะมักเข้ามาในห้วงช่วงที่สภาพโครงสร้างร่างกายของเราอ่อนแอมากกว่าปรกติ

การให้แร่ธาตุและสารอหารแก่ต้นข้าวก็เช่นเดียวกันถ้าแปลงเรือกสวนไร่นาของเกษตรกรที่ผ่านการเพาะปลูกมาอย่างยาวนานหลายสิบปีมีการนำเอาผลผลิตออกไปเป็นเกวียนๆ เป็นตันๆ แต่ดันกลับใส่ปุ๋ยใส่อาหารคืนกลับไปเป็นกำมือทำอย่างนี้ยาวนานข้าวแร่ธาตุและสารอาหารที่มี่อยู่ในดินก็สูญสิ้นมลายหายไปตามสัดส่วนที่ไม่สมดุลทำให้ดินขาดแคลนความอุดมสมบูรณ์ หรืออาจจะเป็นกลุ่มจุลธาตุที่ต้นข้าวใช้เพียงเล็กๆ น้อย ๆ แต่ก็สามารถทำให้ข้าวอ่อนแอ ใบซีดเหลือง ไม่สมบูรณ์ การสังเคราะห์แสงหรือการปรุงอาหารก็ไม่เต็มที่มีความสามารถในการสร้างและส่งสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของต้นข้าวได้ไม่สมบูรณ์

จึงทำให้ปริมาณผลผลิตต่อไร่อาจจะร่อยหรอลดน้อยถอยลงสูญเสียโอกาสในการรับรายได้ ยิ่งปัจจุบันข้าวมีราคาที่ถูกลงจากเดิม(ในช่วงที่มีการจำนำของรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)การดูแลแก้ไขถ้าทำตั้งแต่เบื้องต้นตอนเตรียมเทือกในช่วงที่ปั่นย่ำนาและก่อนจะหว่านหนึ่งวันให้เติมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่หมักที่บ่มเอาไว้ใส่ลงไปก่อนลูบเทือกหรืองดการเผาตอซังฟางข้าว แล้วใช้จุลินทรีย์ขี้ควาย (หรือสัตว์สี่กระเพาะ) ย่อยสลายให้เปื่อยยุ่ยแทนก็จะช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มจากการย่อยสลายอาหารในตอซังหรือจะใช้กลุ่มของ พูมิชซัลเฟอร์ (Pumish Sulpher)ซึ่งเป็นแร่จากธรรมชาติมาใส่ทดแทนปุ๋ยเคมีเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดินเสื่อมโทรมจากกรดที่อาจจะตกค้างก็เป็นการปูฐานของดินให้อุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารได้เช่นเดียวกันหรือจะใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ก็ต้องใช้กลุ่มของจุลธาตุอย่างซิลิโคเทรซ 5กรัมต่อน้ำ20 ลิตร อาจจะฉีดพ่นร่วมกับแร่ธาตุพิเศษจากเปลือกกุ้ง กระดองปูแกนปลาหมึก (ไคโตซาน Chitosan) ก็ได้อีกเช่นเดียวกันแต่อย่างไรก็ตามการเตรียมพื้นฐานทางดินให้ดีตั้งแต่แรกปลูกก็ช่วยลดต้นทุนค่าแรงการฉีดพ่นได้ด้วย....อยากทราบรายละเอียดหรือข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องเกษตรปลอดสารพิษ ให้คิดถึงเรานะครับ 02 986 1680 -2

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 29 กันยายน 2558   
Last Update : 29 กันยายน 2558 15:07:42 น.   
Counter : 391 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]