นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

แร่ธาตุและสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช

พืชเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ต้องใช้แสงในการสังเคราะห์หรือปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ทั้งกิ่ง ก้าน ใบ ลำต้นแสงจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการที่จะช่วยให้พืชเจริญเติบโต แต่เนื่องด้วยว่าพืชไม่สามารถที่จะขยับเขยื้อนเคลื่อนไปตามที่ต่างๆได้เหมือนอย่าง จุลินทรีย์ รา แบคทีเรีย และสัตว์ดังนั้นจึงต้องรอเวลาที่มีแร่ธาตุสารอาหารที่กระแสน้ำพัดพาหรือมนุษย์เป็นผู้โปรยโรยใส่ลงไปมิฉะนั้นเมื่อแร่ธาตุและสารอาหารในดินลดน้อยถอยลง พืชก็จะหยุดการเจริญเติบโตแคระแกร็นชะงักงัน ดังนั้นทุกครั้งที่มนุษย์มีการรดน้ำใส่ปุ๋ยลงไปในดินจึงช่วยกระตุ้นให้พืชเจริญเติบโตตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยได้อย่างชัดเจนโดยแสดงออกที่สีของใบ แต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขที่ว่าดินนั้นจะต้องไม่เป็นกรดจัดหรือด่างจัดเกินไปมิฉะนั้นต่อให้ใส่ปุ๋ยลงไปมากมายเพียงใดก็มิได้สร้างประโยชน์ให้แก่พืชเลยในทางตรงกันข้ามกับจะยิ่งทำให้พืชอ่อนแอล้มตายลงได้ง่ายๆเนื่องด้วยสภาพวะกรดส่วนเกินที่ออกมาจากปุ๋ยนั่นเอง

อย่างไรก็ตามพืชก็จะใช้แร่ธาตุสารอาหารอยู่ประมาณ 17 ตัว เช่นธาตุหลักไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม, ออกซิเจน, คาร์บอนไดออกไซด์, ไฮโดรเจน,แต่เนื่องจากพืชได้รับมาในรูปของน้ำและก๊าซจากธรรมชาติได้ค่อนข้างมากจึงมิได้นำมากล่าวในหมวดธาตุอาหารหลักกันมากนัก ธาตุรอง แคลเซียม, แมกนีเซียม,กำมะถัน ธาตุจุลธาตุ เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดินั่ม คลอรีนและนิกเกิ้ลโดยธาตุอาหารจุลธาตุนั้นถ้ามีการเติมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาก็สามารถที่จะหาได้ในดินไม่ต้องเติมเสริมเพิ่มเข้าไปให้สิ้นเปลืองเงินทองแต่ธาตุหลัก และธาตุรองนั้น ตราบใดที่ยังปลูกพืชเชิงเดี่ยว และปริมาณมากๆ นั้นอย่างไรก็ต้องเติมเพราะอาจจะมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการในการเพิ่มผลผลิตในการปลูกพืชในเชิงการค้าคือปลูกคราวละมากๆ ต้องการผลผลิตออกมามากๆแร่ธาตุและสารอาหารในดินที่ใส่และเติมลงไปจำนวนไม่กี่สิบกิโลนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนที่นำผลผลิตออกไปจากไร่เป็นตันๆ อย่างไรก็ไม่เพียงพออย่างแน่นอนครับ

อย่างไรก็ตามการไม่เผาตอซังฟางข้าว ใบอ้อยและการหมั่นเติมอินทรียวัตถุจากเศษไม้ใบหญ้าเศษกิ่งก้านใบของพืชไร่ไม้ผลที่ผ่านการตัดแต่งกิ่งถ้านำมากองมาหมักปล่อยลืมๆทิ้งไว้ปีสองปีก็จะเป็นปุ๋ยชั้นดีให้แก่พี่น้องเกษตรกรไม่ต้องซื้อ หรือการนำเศษข้าวสารข้าวสุกเศษผักก้างปลาต่างๆนำมาหมักกับกากน้ำตาลและจุลินทรีย์หน่อกล้วยยังดีกว่าการไปหลงเชื่อปุ๋ยอาหารเสริม นาโน ทั้งหลายที่อ้างว่าใช้เพียง 1 หรือ 2แคปซูน แล้วสามารถทดแทนปุ๋ยได้มากถึง 1 – 2 กระสอบ (100 กิโลกรัม)พี่น้องเกษตรกรต้องตระหนักระมัดระวังให้ดีนะครับ ว่าพืชต้องการการเจริญเติบโตนั้นจะต้องใช้อาหารทั้งธาตุหลักธาตุรอง ธาตุเสริม ซึ่งมีมากถึง 17 ตัวแต่นี่ใส่เพียงไม่กี่มิลลิกรัมและสามารถช่วยให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ทัดเทียมกันนั้นจะเชื่อถือได้อย่างไรต้องใช้ดุลยพินิจกันให้ดีๆ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




Create Date : 25 เมษายน 2557
Last Update : 25 เมษายน 2557 17:09:43 น. 0 comments
Counter : 608 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]