นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

การใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ “ฟอร์แทรน” ปราบปลวกร้ายในบ้านเรือน



การใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ “ฟอร์แทรน” ปราบปลวกร้ายในบ้านเรือน

ปัญหาเรื่องปลวกนี่ถือว่าเป็นปัญหาเรื้อรัง ถาวร ถ้าคุณๆไม่ตื่นตัวรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็จะแป็นเหยื่อของเจ้าหน้าที่บริษัทกำจัดปลวกที่อาสามาอัดฉีด น้ำยา และเก็บค่าบริการรายปี บ้างก็หลายพัน บางบริษัทก็หลายหมื่น แต่ปลวก กับมนุษย์ ที่รบกันมายาวนาน หรืออยู่คู่กันมานานสองแสนล้านปีมานี้ ปรากฏว่ายังไม่มีใครชนะใครได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเลย...

แล้วเราจะมัวไปหลงกล เสียเวลากับบริษัทกำจัดปลวกเหล่านั้นอยู่ทำไมแถมเจ้าสารพิษที่พวกเค้านำมาฉีดพ่นนั้นก็มีกลิ่นไอระเหย เมื่อคนแก่ เด็กและสัตว์เลี้ยง สัมผัสสูดดมเข้าไป บ่อยๆเข้า ก็อาจจะกลายเป็นสารก่อมะเร็ง หรือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นานาที่หาสาเหตุไม่ได้...

การที่จะกำจัดปลวกให้หมดสิ้นไปแบบเกลี้ยงเกลาเลยนั้น คงจะเป็นไปไม่ได้เพราะปลวกนั้นเขาก็มีชั้นวรรณะ คล้ายกับมนุษย์เรานี่แหละครับ มีราชินี มีปลวกทหารปลวกงาน และแมลงเม่าซึ่งทำหน้าที่ผสมพันธุ์เพียงอย่างเดียว ปลวกงานมีหน้าที่ทำงานหาอาหารมาป้อนราชินี ราชินีมีหน้าที่ผลิตประชากร ก็ว่ากันไปครับ ประมาณนี้...ฮ่าๆ (ใครอยากรู้ลึกๆต้องไปเสิร์ชหาในอากู๋ กูเกิ้ลกันดูนะครับ)

ทีนี้หลักการในการที่จะป้องกันกำจัดปลวกแบบชีวภาพก็พอจะมีและดูทีท่าว่าน่าจะยั่งยืนด้วยนันก็คือการใช้เชื้อโรคของปลวก...นั่นก็คือ เชื้อรา เมธาไรเซียม หรือในชื่อการว่า“ฟอร์แทรน” เป็นหนึ่งในห้าเสือจุลินทรีย์ชีวภาพที่ใช้ในการป้องกันกำจัดปลวกร้ายในอาคารบ้านเรือนและสามารถปราบพวกแมลงดำหนามที่ทำลายปาล์ม มะพร้าว ปราบพวกเพลี้ยจักจั่นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และรวมถึงหนอน แมลงศัตรูพืชอื่นๆ ได้ดีอีกด้วยนะครับ

ที่ว่าเป็นเชื้อโรคของปลวก ก็เพราะว่าในอดีตนั้นครูบาอาจารย์สมัยก่อนที่คิดค้นวิจัยว่าทำไม เห็ดปลวก เห็ดโคนนั้นมนุษย์จึงไม่สามารถเพาะเองได้ต้องอาศัยปลวกเป็นผู้ปลูกผู้เพาะ....เขาจึงทำการขุดสำรวจสรีรโครงสร้างจอมปลวกว่าสวนเห็ด สวนเชื้อรา ที่เห็ดเขาเลี้ยงเขาเพาะไว้นั้นมีระบบการทำงานอย่างไร....แต่ปรากฏว่าจอมปลวกที่ขุดไปเรื่อยๆ นั้นจะสังเกตุเห็นว่าจอมปลวกร้างทุกๆ จอมปลวกนั้นจะมีเชื้อราสีเขียวขี้ม้าอาศัยอยู่ที่จอมปลวกเลย....จึงนำมาศึกษาวิจัยต่อยอดจนค้นพบว่าเป็นเชื้อรา“เมธาไรเซียม” และก็พัฒนาต่อยอดกันมาจนเป็นจุลินทรีย์กำจัดปลวกกำจัดแมลงศัตรูพืชในปัจจุบันนี่แหล่ะครับ...(แฮ่ะๆ....โม้เสียยาวเลย....หวังว่าคุณๆคงจะยังไม่เบื่อกันนะครับ)

การประยุกต์ใช้ไอ้เจ้า “ฟอร์แทรน” ในการกำจัดปลวกนี่ก็โดยการใช้“ฟอร์แทรน” 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่รอบๆ บริเวณบ้าน หรือนำไปโปรยโรยตรงทางเดินปลวกทำการแซะ แงะ งัด ทางเดินของปลวกออกเสียก่อน แล้วโรยผงสปอร์ “ฟอร์แทรน” ลงไปปล่อยให้ปลวกเดินผ่าน ลำตัวปลวกที่ชื้นแฉะก็จะติดเอาผงสปอร์เข้าไปในรังปลวกเป็นสัตว์สังคม ชอบสะอาด จะดูดเลียทำความสะอาดให้กันและกันก็จะติดเชื้อสปอร์ของ “ฟอร์แทรน” เข้าไปในลัง และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ รังปลวกที่มืดและอับชื้นเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเจ้า“ฟอร์แทรน” ซึ่งเป็นจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตก็ขยายจำนวนมากจนบางครั้งเพียงพอที่จะทำให้ปลวกนั้นตายยกรังได้เลยทีเดียวเชียวล่ะครับ

อีกวิธีการหนึ่งก็ถือว่าเป็นวิธีที่ดีและยั่งยืนด้วยเช่นกันนะครับก็คือนำผงสปอร์ของ “ฟอร์แทรน” ในอัตรา 1 กิโลกรัม คลุกผสมกับขี้กบ (ไสไม้)หรือขี้เลื่อย 10 กิโลกรัมคลุกเคล้าให้เข้ากัน อัดเข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ที่หั่นเป็นปล้องละข้อหรือจะเป็นท่อพีวีซีก็ได้นะครับ แล้วนำไปฝังรอบตัวอาคารบ้านเรือนห่างกันจุดละเมตรสองเมตร ใช้กระบอกไม้ไผ่เพื่อเป็นเปลือกเป็นฉนวนมิให้ขี้เลื่อยหรือขี้กบไสไม้ผุพังเร็วเกินไปรอวันเวลาของฝนหน้าฟ้าใหม่ เมื่อแมลงเม่าจากต่างถิ่นบินเข้ามาอาศัยผสมพันธุ์ปลวกงาน ปลวกทหารก็จะออกสำรวจอาหาร เมื่อพบกับขี้เลื่อยขี้กบไสไม้ที่มีเชื้อราเมธาไรเซียม หรือ “ฟอร์แทรน”ก็จะได้รับสัมผัสเชื้อตายตั้งแต่เริ่มสร้างอานาจักรเลยทีเดียวเชียวล่ะครับ

ต้นทุนของจุลินทรีย์ชีวภาพกำจัดปลวกประมาณ 400 บาทเมื่อเทียบกับค่าบริการของบริษัทกำจัดปลวกที่เป็นพันเป็นหมื่นหรือหลายหมื่นด้วยซ้ำก็ถือว่าคุ้มค่าน่าใช้อยู่มากทีเดียวเชียวล่ะครับหรือจะใช้นำไปคลุกผสมกับกระดาษหลัง หรือหนังสือพิมพ์นำไปชุบน้ำให้เปียกแล้วขยำคลุกเคล้าของสปอร์ “ฟอร์แทรน” แล้วนำไปวางตามห้องเก็บของ ฝ้า หลังคา เพดานฯลฯก็สามารถเป็นหยื่อล่อให้ปลวกมากินและตายก่อนที่จะสร้างอาณาจักรในบ้านเราได้ด้วยเช่นเดียวกันนะครับสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ติดต่อฝ่ายวิชาการของชมรมเกษตรปลอดสารพิษเราได้นะครับ02 986 1680 – 2

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 15:50:04 น.   
Counter : 811 Pageviews.  

เราจะใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ “คัทออฟ” อย่างไร ให้โลกสดใส สิ่งแวดล้อมสดสวย



เราจะใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ “คัทออฟ” อย่างไร ให้โลกสดใสสิ่งแวดล้อมสดสวย

วันนี้คุณๆคงจะคิดนึกไปว่า ผู้เขียนมาไม้ไหนกันอีกล่ะวันนี้ ฮ่าๆ.... โลกสวย โลกใสอะไรกันจะบอกอะไรก็รีบบอกๆ มาเฮ๊อะ!!! เดี๋ยวจะรีบไปอ่านเรื่องอื่นๆที่ดีมีสาระกว่านี้....อะจึ๋ย!อย่าเพิ่งรีบไปนะครับเดี๋ยวผมกำลังจะเล่าให้ฟังครับเกี่ยวกับเรื่องของ จุลินทรีย์ชีวภาพ “คัทออฟ”

ก่อนอื่นก็ต้องขอแนะนำก่อนนะครับวา “คัทออฟ”นั้นคือจุลินทรีย์ชีวภาพกำจัดศัตรูพืชหนึ่งใน 5 เสือจุลินทรีย์ชีวภาพของชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่พัฒนาต่อยอดมาจากจุลินทรีย์ “ทริปโตฝาจ” ให้มีศักยภาพในการขยายเชื้อได้เพื่อลดต้นทุนของพี่น้องเกษตรกรและคุณๆทั้งหลายที่ชื่นชอบหนทางชีวภาพที่ปลอดภัยไร้สารพิษต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม

“คัทออฟ” นั้นก็คือชื่อการค้าของเชื้อราบิวเวอร์เรีย(Beauveria Bassiana)ที่ใช้ในการจดทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสามารถนำไปใช้ในการปลูกพืชผักผลไม้ที่ต้องการการรับรองระบบการจัดการคุณภาพที่เรียกว่าGAP พืชและเกษตรอินทรีย์(Organic) และยังได้รับการรับรองจากสำนักพัฒนาระบบและการรับรองมาตรฐานสินค้าพืชให้เป็นปัจจัยการผลิตที่สามารถใช้ในการผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ของกรมวิชาการเกษตร (Organic Thailand).....ชักเริ่มน่าสนใจขึ้นมาบ้างแล้วใช่ไหมครับ?......คิดไปเอง...อิๆ

จุลินทรีย์ชีวภาพ “คัทออฟ” มีประโยชน์สำหรับป้องกันกำจัดศัตรูพืชจำพวกแมลงทดแทนการใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นจุลินทรีย์ที่จัดอยู่ในพว "เชื้อราทำลายแมลง"สามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด โดยการผลิตน้ำย่อยหรือ เอนไซม์ที่เป็นพิษต่อศัตรูพืชเพลี้ย หนอน ฯลฯ และเป็นเชื้อราที่อาศัยและกินเศษซากที่ผุพัง (Saprophyte)

ลักษณะการการทำงานหรือการเข้าทำลายแมลงของจุลินทรีย์ชีวภาพ“คัทออฟ” มีดังนี้นะครับ

1. เมื่อเราทำการฉีดพ่นจุลินทรีย์ชีวภาพ “คัทออฟ” สปอร์ของ“คัทออฟ” จะตกติดอยู่กับผนังลำตัวแมลงเข้าสู่ตัวแมลงทางผนังลำตัว รูหายใจบาดแผลบนผนังลำตัว ความชื้นเหมาะสมกับการงอก สปอร์จะแทงทลุผิวหนังลำตัวเชื้อราจะงอกสู่ช่องว่างลำตัวแมลงเจริญเติบโตสร้างเส้นใยมากมายทำลายแมลง

2. เมื่อสปอร์ของจุลินทรีย์ชีวภาพ “คัทออฟ”เจริญเป็นเส้นไยทำลายอวัยวะภายในของแมลงศัตรูพืชจนเจ็บป่วยล้มตาย หลังจากนั้นเส้นใยจะแทงผ่านผนังลำตัวแมลงออกสู่ภายนอกตัวแมลง

3. สปอร์ของจุลินทรีย์ชีวภาพ “คัทออฟ” จะแพร่กระจายไปตามลมฝนหรือติดกับตัวแมลง เชื้อราจึงสามารถขยายพันธุ์ต่อได้และเมื่อสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะ ทำลายแมลงศัตรูต่อไป

กลไกการเข้าทำลายแมลงของจุลินทรีย์ชีวภาพ“คัทออฟ” หรือเชื้อราบิวเวอร์เรีย คือ เมื่อสปอร์ของเชื้อราสัมผัสกับผิวของแมลงในสภาพความชื้นที่เหมาะสม (ความชื้นสัมพัทธ์ 50 % ขึ้นไปแต่ดีที่สุดคือจะต้องอยู่ประมาณ 80-90% นะครับ) สปอร์จะงอกเป็นเส้นใยแทงผ่านผิวหนังเข้าไปในลำตัวแมลงแล้วขยายจำนวนเจริญอยู่ภายในโดยใช้เนื้อเยื่อของแมลงเป็นอาหาร แมลงจะตายในที่สุดภายในระยะเวลาต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และวัยของแมลง โดยทั่วไปประมาณ 3- 14 วัน เชื้อราบิวเวอร์เรียหรือจุลินทรีย์ชีวภาพ “คัทออฟ” สามารถนำมาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น แมลงศัตรูพืชเป้าหมายในข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ บั่ว หนอนห่อใบ ในมะม่วงได้แก่เพลี้ยจักจั่นที่ทำลายช่อมะม่วง แมลงค่อมทอง ในพืชตระกูลส้มได้แก่ เพลี้ยอ่อนส้มเพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ ไรแดง ในพืชผักได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาวแมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อต่างๆ ในอ้อยได้แก่ แมลงค่อมทอง เป็นต้น

ลักษณะอาการของแมลงที่ถูกจุลินทรีย์ชีวภาพ“คัทออฟ” เข้าทำลาย คือแมลงที่ถูกทำลายจะแสดงอาการของการเป็นโรคคือเบื่ออาหาร กินน้อยลง อ่อนเพลียและไม่เคลื่อนไหว สีผนังลำตัวแมลงมักจะเปลี่ยนไปปรากฎจุดสีดำบนบริเวณที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย พบเส้นใยและผงสีขาว ของสปอร์ปกคลุมตัวแมลงที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายการใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียควบคุมศัตรูพืช

ทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลบางส่วนนะครับของจุลินทรีย์ชีวภาพ “คัทออฟ”หรือเชื้อราขาวบิวเวอร์เรีย (Beauveria Bassiana) ที่ผมนำมาฝากคุณๆท่านผู้อ่าน เผื่อว่าจะมีประโยชน์ให้ผู้ที่สนใจในการการเกษตรชีวภาพปลอดภัยไร้สารพิษอยู่บ้างไม่มากก็น้อยเพื่อไว้เป็นทางเลือกในการป้องกันดูแลรักษาโรคแมลงศัตรูพืชที่เข้ารบกวนแปลงเกษตรกรโดยไม่ต้องใช้สารพิษหรือเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า ค่อยๆ ลด ละ เลี่ยง เลิกการใช้สารพิษไปทีละน้อย เพื่อผืนดินแผ่นน้ำของไทยเราจะได้กลับมามีชีวิตชีวา สะอาดปลอดภัย เป็นต้นทุนทางธรรมชาติให้ลูกหลานเราได้ใช้ประโยชน์กันต่อไปครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพืษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 15:49:00 น.   
Counter : 556 Pageviews.  

ประโยชน์ของ “อินดิวเซอร์” ประโยชน์ของเกษตรกรไทยไร้สารพิษ



ประโยชน์ของ “อินดิวเซอร์” ประโยชน์ของเกษตรกรไทยไร้สารพิษ

อินดิวเซอร์คืออะไร? หลายๆท่านที่เพิ่งจะเข้ามาในกลุ่มชมรมเกษตรปลอดสารพิษ อาจจะยังงงๆเพราะว่าเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพตัวใหม่เอี่ยมอ่อง ที่กำลังคลอดออกมาให้คุณๆ ได้สัมผัสนำไปปรับประยุกต์ใช้ทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราซึ่งมีอันตราย มีสารพิษตกค้างในผืนดินแผ่นน้ำและที่สำคัญทำให้สูญเสียเงินตราออกนอกประเทศโดยใช่เหตุ...

เจ้า “อินดิวเซอร์” ที่ว่านี้แท้จริงก็คือจุลินทรีย์ชีวภาพปราบเชื้อราโรคพืชที่ก่อนหน้านี้มีชื่อว่า “ไตรโคเดอร์ม่า (TricodermaHarzianum ssp.) ” นั่นเองครับ ซึ่งถือว่าเป็นจุลินทรีย์ที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน...เพียงแต่ว่าในอดีตเมื่อสัก 30-40 ปีที่ผ่านมานั้นเกษตรกรยังมีความนิยมกลุ่มของเคมีที่เห็นผลทันใจเสียมากกว่า.....

จากกิจกรรมทางด้านเกษตรปลอดสารพิษ...ที่พวกเราช่วยกันส่งเสริมมาเกือบจะ20 ปีนี้ จึงทำให้เกิดวิวัฒนาการต่างๆ เยอะแยะมากมายที่จะต้องมีการพัฒนาปรับปรุง....คำว่าปรับปรุงในที่นี้ก็คือปรับปรุงให้เข้ากับระบบของภาครัฐในยุคปัจจุบันนะครับ...(คือคุณจะต้องเข้าระบบ...เพื่อการตรวจสอบ..และการควบคุม...ให้บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกเขาได้เห็นวชัดหน่อย รึเปล่า!!!....แฮะๆ)

ดังนั้นผลิตภัณฑ์ชีวภาพทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นขิง ข่า ตะไคร ใบมะกรูดพริก ฯลฯ โน่น นี่ นั่น เมื่อเค้าบรรจุให้เป็นวัตถุอันตราย ท่านจะเก็บท่านจะครอบครอง ท่านจะผลิต ท่านจะทำอะไรเกี่ยวกับพวกเขาเหล่านี้ท่านจะต้องจด แจ้งเพื่อจะได้มีค่าใช้จ่ายให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น มิฉะนั้นเดี๋ยว!!! จะไปทำให้ยอดขายสารเคมีวัตถุอันตรายนำเข้าจากต่างประเทศยอดขายลดลงได้....อะจึ๋ย!!!ไม่ใช่นะครับเพื่อทำให้คุณภาพทัดเทียมกับนานา อารยะประเทศต่างหาก...

ทีนี้เราลองมาดูประโยชน์และการนำไปใช้งานของ “อินดิวเซอร์”กันดูนะครับ เจ้า “อินดิวเซอร์” หรือ“ไตรโคเดอร์ม่า” นี้เค้าสามารถที่จะควบคุมทำลายหรือยับยั้งเชื้อราในดินสาเหตุโรคพืชทั้งราชั้นสูงและราชั้นต่ำ เช่น

1. ทำลายเชื้อราพิเทียม (Pythium spp.) สาเหตุโรคเน่าระดับดินกล้ายุบ กล้าเน่า โคนเน่า โรคยอดเน่าในพืชไร่ มะเขือเทศ พืชผักชนิดต่างๆ

2. ทำลายเชื้อราไฟทอฟเทอร่า (Phytopthoraspp.) สาเหตุโรคราที่ทำให้ผลร่วง ดอกร่วง ใน ลำใยลิ้นจี่ โรคดอกรวงในทุเรียน โรครากเน่า-โคนเน่า ใน พริก ทุเรียน ส้ม มะนาว พริกไทแตงโม แตงกวา แตงร้าน มะเขือเทศและโรคเน่าเข้าไส้ในกล้วย ฯลฯ

3. ทำลายเชื้อราสเคอโรเทียม (Sclerotiumspp.) สาเหตุโรค โคนเน่า โรคกล้าไหม้ ราเม็ดผักกาดโรคเหี่ยวในพืชผักชนิดต่าง ๆ มะเขือเทศ พืชไร่สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง

4. ทำลายเชื้อราไรซอกโทเนีย (Rhizoctoniaspp.) สาเหตุโรคเน่าคอดิน กล้ายุบ กล้าเน่าทำให้ทุเรียนเป็นโรคใบติด

5. ทำลายเชื้อราคอลเลทโททริกัม (Colletotrichumspp.) สาเหตุโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง องุ่น ฝรั่ง พุทราชมพู่ มะละกอ พริก หอมหัวใหญ่ หอมแบ่ง หอมแดง กระเทียม มันฝรั่ง

6. ทำลายเชื้อราอัลเทอนาเรีย (Alternariaspp.) สาเหตุโรคโรคใบจุดเน่าในพืชตระกูลกระหล่ำ เช่นผักคะน้า ผักกาดขาว กระหล่ำดอก กระหล่ำปลี บรอคโครี่ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง พริก

7. ทำลายเชื้อรา ฟิวชาเรียม (Fusariumspp.) สาเหตุโรคใบไหม้ในไม้ผล พืชไร่ พืชผักชนิดต่างๆตลอดจนไม้ดอก ไม้ประดับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด

ที่สำคัญเรายังคงสามารถที่จะใช้เจ้า“อินดิวเซอร์” นี้ได้หลายวิธีตามโอกาสและความสะดวกของพี่น้องเกษตรกร เช่น ใช้ผงสปอร์“อินเดิวเซอร์” คลุกผสมกับรำข้าวละเอียดและปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก, ปุ๋ยอินทรีย์ในสัดส่วน1 : 10 : 40โดยปริมาตรหรือน้ำหนักสำหรับใส่หลุมปลูก อัตรา 10-20 กรัม (1-2 ช้อนแกง)คลุกเคล้ากับดินในหลุมปลูกพืช ก่อนการหยอดเมล็ดพืช หรือหว่านลงแปลงปลูก ด้วยอัตรา50-100 กรัมต่อตารางเมตร หรือใช้ผสมรวมกับวัสดุปลูกสำหรับการเพาะกล้าโดยใส่ส่วนผสมของผงสปอร์ ”อินดิวเซอร์” + ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก, ปุ๋ยอินทรีย์ผสมร่วมกับดินหรือวัสดุปลูกอัตรา 1: 10 โดยปริมาตร นำดินหรือวัสดุปลูกที่ผสมด้วยส่วนผสมของผงสปอร์“อินดิวเซอร์” แล้วใส่กระบะเพาะเมล็ด ถุงหรือกระถางปลูกพืชกรณีของการคลุกเมล็ดพืชก่อนปลูก สามารถใช้ผงสปอร์ “อินดิวเซอร์” ล้วนๆ อัตรา 10กรัม (1 ช้อนแกง) ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 10 ซีซี และถ้าต้องการผงสปอร์“อินดิวเซอร์” ในรูปน้ำเพื่อการฉีดสามารถใช้ได้ในอัตรา 50-100กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ราด รดลงดิน หรือพ่นส่วนบนของต้นพืชหรือใช้ปล่อยไปพร้อมระบบการให้น้ำใต้ทรงพุ่มของพืช และใช้แช่ส่วนขยายพันธุ์พืชเช่นเมล็ด หัว เหง้า แง่ง ท่อนพันธุ์ ก็ได้ ....คุณๆ ที่ชอบการทำเกษตรที่ปลอดภัยสไตรล์ปลอดสารพิษ..ลองนำไปประยุกต์ใช้กันดูนะครับ....

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 15:47:20 น.   
Counter : 329 Pageviews.  

5 เสือจุลินทรีย์ไทยได้มาตรฐานกรมวิชาการเกษตร ช่วยไทยไร้สารพิษ



5 เสือจุลินทรีย์ไทยได้มาตรฐานกรมวิชาการเกษตร ช่วยไทยไร้สารพิษ

พัฒนาการด้านความปลอดภัยในเรื่องอาหารและสุขภาพก็มีความก้าวหน้ามากขึ้นการผลิตพืชผักผลไม้ภาคการเกษตรก็พัฒนาขึ้นมาตามลำดับโดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่ใช้ในการปราบ โรค แมลง เพลี้ย หนอน รา ไรของชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่พัฒนาโดยคนไทย เพื่อเกษตรกรไทยก็สามารถก้าวเข้ามาทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของต่างประเทศได้โดยให้พี่น้องเกษตรกรได้มีทางเลือกใหม่ ที่ปลอดภัยไร้สารพิษมากกว่า

จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในเรื่องการปราบ โรค แมลง เพลี้ย หนอน ราและไร ทั้ง 5 ตัว อย่าง ไบโอแทค (Bacillus thuringiensis ssp) บีทีชีวภาพปราบหนอนไม่ว่าจะเป็นหนอนกอ หนอนห่อใบ หนอนใย หนอนชอน ฯลฯ, ไบโอเซ็นเซอร์(Bacillus Subthilis ssp.) จุลินทรีย์ชีวภาพปราบโรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้มมะนาว โรคแอนแทรกโนส โรคกุ้งแห้งในพริก, อินดิวเซอร์ (Trichodermaharzianum ssp.) จุลินทรีย์ชีวภาพกำจัดโรคใบด่าง ใบดำ ใบจุด ใบฉ่ำน้ำโรครากเน่าโคนเน่า, คัทออฟ (beauveria bassiana ssp.) จุลินทรีย์ชีวภาพกำจัดเพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ไรแดง, ฟอร์แทรน (metarhizium anisopliaessp.) จุลินทรีย์กำจัดปลวกร้ายในอาคารบ้านเรือน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพลี้ยจักจั่น ฯลฯ

ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทางด้านชีวภาพที่ตอบโจทย์เกี่ยวกับเรื่องของการนำไปป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชไม่ว่า จะเป็นเพลี้ย หนอน รา และไรที่จะเข้ามาทำลายผลผลิตของพี่น้องเกษตรกรได้อย่างครอบคลุม โดยไม่ต้องหันกลับไปใช้ยาฆ่าแมลงสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้สุขภาพของเราต้องเสื่อมโทรมและถือว่าเป็นการทำบุญให้กับตนเองในฐานะผู้ผลิตอาหารป้อนสู่เพื่อนมนุษย์โลกทั้งชาวไทยและต่างประเทศให้ได้บริโภคแต่สิ่งที่ดีๆ มีคุณภาพ และช่วยประหยัดเงินตราออกนอกประเทศ ลดการนำเข้ายาฆ่าแมลงสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปีหนึ่งๆก็เกือบแสนล้านบาท

5 เสือจุลินทรีย์ชีวภาพทั้ง ไบโอแทค (Bacillusthuringiensis ssp), ไบโอเซ็นเซอร์ (Bacillus Subthilis ssp.), อินดิวเซอร์(Trichoderma harzianum ssp.), คัทออฟ (beauveria bassiana ssp.), ฟอร์แทรน(metarhizium anisopliae ssp.) ยังได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรผ่านมาตรฐานต่างๆ ในระดับที่มีความปลอดภัยสูง ถือว่ามีความปลอดภัยมากกว่าน้ำปลาถึง10 เท่าไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม (ผ่านการทดสอบความเป็นพิษที่เรียกว่าLD50) สามารถนำไปใช้ในการรับรองระบบการจัดการคุณภาพGAP พืชและเกษตรอินทรีย์ (Organic) ได้กับพืชทุกชนิดรวมถึงเห็ดต่างๆด้วยนะครับ

ผ่านการรับรองจากสำนักพัฒนาระบบและการรับรองมาตรฐานสินค้าพืชให้เป็นปัจจัยการผลิตที่สามารถใช้ในการผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ของกรมวิชาการเกษตร (Organic Thailand)และที่สำคัญนะครับท่านที่มักจะปวดหัวหงุดหงิดกับการอุดตันหัวฉีด 5 เสือจุลินทรีย์ชีวภาพที่ผ่านระบบกระบวนการผลิตด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัยนี้สามารถละลายน้ำได้100% ไม่ก่อให้เกิดปัญหาหัวฉีดอุดตัน มีระบบการตรวจสอบมาตรฐานสินค้า (QC) สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกLot ของการผลิต และอยู่ในรูป Pure Spores พร้อมใช้งานในทันทีโดยไต้องนำไปหมักหรือแช่น้ำก็ได้ การใช้งานทำให้ใช้สะดวกและช่วยประหยัดเวลา อีกทั้งชมรมเกษตรปลอดสารพิษเรามีการติดตามวิวัฒนาการและการปรับตัวของโรค และแมลงศัตรูพืช เพื่อนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอทำให้พี่น้องเกษตรกรหมดห่วงเกี่ยวกับเรื่องของการพัฒนาการของผลิตภัณฑ์เมื่อประสบพบเจอกับโรคแมลงศัตรูพืชชนิดใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา และเมื่อมีปัญหาก็สามารถปรึกษาสอบถามไปยังฝ่ายวิชาการของชมรมฯได้ตลอดทั้งทางโทรศัพท์ 02 986 1680 -2, Line : tga001, tga002, tga003, tga004, www.thaigreenagor.com

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 15:46:16 น.   
Counter : 519 Pageviews.  

5 เสือจุลินทรีย์ชีวภาพ ผลิตภัณฑ์สำหรับเกษตรกรไทยใช้แทนการนำเข้าสารเคมีต่างประเทศ



5 เสือจุลินทรีย์ชีวภาพผลิตภัณฑ์สำหรับเกษตรกรไทยใช้แทนการนำเข้าสารเคมีต่างประเทศ

ข่าวคราวเกี่ยวกับการรุกรานพื้นที่เพาะปลูกของนักลงทุนจีนที่บุกไปปลูกกล้วยในประเทศลาวประมาณ10,000 เฮกตาร์ก็ราว 62,500 ไร่ ทำให้ทางการลาวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงกับต้องรีบออกมาดูแลแก้ไขกฎหมายเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของเขามิให้ถูกนักลงทุนจีนกลุ่มนี้กระทำย่ำยีให้เสียหายมากไปกว่านี้

เพราะว่านักลงทุนจีนเหล่านี้มีการลักลอบนำเข้าปุ๋ย ยาฆ่าแมลงที่มีพิษรุนแรง รวมถึงแรงงานเครื่องจักรต่างๆ จากประเทศตนเองเสียเกือบหมดจนประชาชนคนลาวแทบจะไม่ได้ประโยชน์อะไรใดๆ ทั้งสิ้นการอาบชโลมสารเคมีภาคการเกษตรลงไปในผืนดินแผ่นน้ำอย่างไม่บันยะบันยังทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลาวจึงต้องออกกฎหมายควบคุมและห้ามขยายพื้นที่เพาะปลูกจนกว่ารัฐบาลจะตรวจสอบและอนุญาตเสียก่อน

ในประเทศก็ใช่ว่าจะหลีกลี้หนีห่างจากทุนจีน ทางจังหวัดเชียงรายอำเภอเชียงของก็มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการที่บริษัทคนจีนให้คนไทยจัดตั้งบริษัทบังหน้าไม่กี่คนเป็นนอมินี แล้วเอาคนจีน แรงงานจีนเข้ามาบริหารจัดการและลักลอบใช้สารเคมีจากประเทศตัวนำเข้ามาทางเส้นทางเศรษฐกิจ R3A ใช้ทรัพยากรบนผืนแผ่นดินไทยอย่างคุ้มค่าแล้วก็ขนผลผลิตกลับไปยังประเทศตนเอง เมื่อทราบข่าวจากชาวบ้านหน่วยงานรัฐโดยกระทรวงสาธารณสุขจึงรีบเข้าไปตรวจเลือดหาสารพิษก็พบหลายรายและมีการขยายผลออกไป เพื่อระงับยับยั้งนายทุนจีนกลุ่มนี้ กลุ่มที่ไร้สำนึกความรับผิดชอบต่อการลงทุนในบ้านเมืองคนอื่น

ปัจจุบันผู้บริโภคทั่วโลกเริ่มให้ความเอาใจใส่ในสุขภาพของตนเองกันมากขึ้นไม่ต้องการรับประทานพืชผักผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างรวมถึงรังเกียจกระบวนการเพาะปลูกที่ขาดจิตสำนึกที่ดีต่อผู้บริโภคเรียกว่าถ้ารู้ว่าแหล่งที่มามาจากการอาบชโลมด้วยสารพิษคงมีการแอนตี้ไม่ซื้อสินค้าเป็นแน่

ปัจจุบันทางทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษจึงมีบริการผลิตภัณฑ์ชีวภาพปราบโรคแมลงศัตรูพืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องจากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สามารถนำไปใช้ในการปลูกพืชที่ต้องการการรับรองระบบการจัดการคุณภาพ GAP พืชและเกษตรอินทรีย์ (Organic) ได้รับการรับรองจากสำนักพัฒนาระบบและการรับรองมาตรฐานสินค้าพืชให้เป็นปัจจัยการผลิตที่สามารถใช้ในการผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ของกรมวิชาการเกษตร (Organic Thailand) สามารถละลายน้ำได้100 % ไม่ก่อให้เกิดปัญหาหัวฉีดอุดตัน

ผ่านการทดสอบความเป็นพิษที่เรียกว่า LD50 ทดสอบแล้วว่ามีความปลอดภัยมากกว่าน้ำปลา ประมาณ10 เท่า ทำให้สามารถวางใจได้ว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการใช้เทคโนโลยีในการผลิตทีทันสมัยมีมาตรฐานในการผลิต และยังมีระบบการตรวจสอบมาตรฐานสินค้า (QC) สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกLot ของการผลิต

ท่านผู้อ่านและพี่น้องเกษตรกรที่ต้องการทางเลือกใหม่ในการเพาะปลูกหรือประกอบอาชีพเกษตรกรรมก็สามารถที่จะนำไปใช้ทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูหรือยาฆ่าแมลงกันได้นะครับ อย่างเช่น

เสือตัวที่หนึ่ง อินดิวเซอร์ (Inducer) คือไตรโคเดอร์ม่าควบคุมทำลายหรือยับยั้งเชื้อราในดิน สาเหตุโรคพืชทั้งราชั้นสูงและราชั้นต่ำ เช่น ทำลายเชื้อราพิเทียม (Pythium spp.) สาเหตุโรคเน่าระดับดินกล้ายุบ กล้าเน่า โคนเน่า โรคยอดเน่าในพืชไร่ มะเขือเทศ พืชผักชนิดต่างๆ ทำลายเชื้อราไฟทอฟเทอร่า (Phytopthora spp.) สาเหตุโรคราที่ทำให้ผลร่วงดอกร่วง ใน ลำใย ลิ้นจี่ โรคดอกรวงในทุเรียน โรครากเน่า-โคนเน่า ใน พริก ทุเรียนส้ม มะนาว พริกไท แตงโม แตงกวา แตงร้าน มะเขือเทศและโรคเน่าเข้าไส้ในกล้วย ฯลฯ

ทำลายเชื้อราสเคอโรเทียม (Sclerotium spp.) สาเหตุโรคโคนเน่า โรคกล้าไหม้ ราเม็ดผักกาด โรคเหี่ยวในพืชผักชนิด ต่าง ๆ มะเขือเทศ พืชไร่สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง 4. ทำลายเชื้อราไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia spp.) สาเหตุโรคเน่าคอดินกล้ายุบ กล้าเน่า ทำให้ทุเรียนเป็นโรคใบติด ทำลายเชื้อราคอลเลทโททริกัม(Colletotrichum spp.) สาเหตุโรคแอนแทรคโนสในมะม่วงองุ่น ฝรั่ง พุทรา ชมพู่ มะละกอ พริก หอมหัวใหญ่ หอมแบ่ง หอมแดง กระเทียม มันฝรั่ง ทำลายเชื้อราอัลเทอนาเรีย (Alternaria spp.) สาเหตุโรคโรคใบจุดเน่าในพืชตระกูลกระหล่ำเช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว กระหล่ำดอก กระหล่ำปลี บรอคโครี่ สตรอเบอรี่ มันฝรั่งพริก ทำลายเชื้อรา ฟิวชาเรียม (Fusariumspp.) สาเหตุโรคใบไหม้ในไม้ผล พืชไร่ พืชผักชนิดต่างๆตลอดจนไม้ดอก ไม้ประดับ ฯลฯ

ต่อไปเป็นเสือตัวที่สอง คัทอ๊อฟ (CutOff) คือเชื้อราขาว บิวเวอร์เรีย ไว้สำหรับป้องกันกำจัดศัตรูพืชพวกแมลงสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิดทำลายแมลงโดยผลิต เอนไซม์ที่เป็นพิษต่อศัตรูพืชและเป็นเชื้อราที่อาศัยและกินเศษซากที่ผุพัง (Saprophyte) การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอเรีย เมื่อทำการฉีดพ่นสปอร์เชื้อรา คัทอ๊อฟ(บิวเวอร์เรีย) ตกติดอยู่กับผนังลำตัวแมลงเข้าสู่ตัวแมลงทางผนังลำตัว รูหายใจบาดแผลบนผนังลำตัว ความชื้นเหมาะสมกับการงอก สปอร์จะแทงทลุผิวหนังลำตัวเชื้อราจะงอกสู่ช่องว่างลำตัวแมลงเจริญเติบโตสร้างเส้นใยมากมายทำลายแมลง เมื่อแมลงตายเส้นใยจะแทงผ่านผนังลำตัวแมลงออกสู่ภายนอกตัวแมลง สปอร์ของ คัทอ๊อฟ (บิวเวอร์เรีย) จะแพร่กระจายไปตามลมฝนหรือติดกับตัวแมลง เชื้อรา คัทอ๊อฟ(บิวเวอร์เรีย) จึงสามารถขยายพันธุ์ต่อได้ และเมื่อสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะทำลายแมลงศัตรูต่อไป

ผลิตภัณฑ์กำจัดปลวก ฟอร์แทรน (For Tran) หรือชื่อสามัญว่าเมาะไรเซี่ยม เป็นเชื้อราที่มีสีเขียวหม่นเป็นเชื้อจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีการนำมาใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชหลาย ชนิดอย่างกว้างขวาง จัดเป็นศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นอ้อย (Dorysthenesbuqueti Guerin.) สามารถทำลายด้วงหนวดยาวได้ทุกระยะตั้งแต่ระยะที่เป็นไข่จนถึงตัวเต็มวัย สามรถทำลายระยะที่เป็นหนอนได้ถึง90 เปอร์เซ็นต์ จัดว่าเป็นการควบคุมโดยชีววิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งรวมทั้งเชื้อราเมตตาไรเซี่ยม สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นานกว่า 3 ปีทำให้มีระยะการควบคุมได้นาน

เสือตัวที่สาม เชื้อรา ฟอร์แทรน (For Tans) เมธาไรเซี่ยมสามารถควบคุมและทำลายแมลงได้โดยเมื่อเชื้อราเมตตาไรเซี่ยมเข้าสู่แมลงทางผิวหนังหรือช่องว่างของลำตัวรวมทั้งจะสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยย่อยผนังบางส่วนและงอกสปอร์แทงผ่านลำตัวเข้าไป เจริญ และเพิ่มปริมาณทำให้แมลงเกิดโรค ตายในที่สุด แมลงที่ตายด้วยเชื้อราฟอร์แทรน(For Tans)เมธาไรเซี่ยม จะมีลักษณะลำตัวแข็งมีเชื้อราขึ้นปกคลุมลำตัวภายนอกเป็นสีเขียวซึ่งระยะเวลาในการทำลายจะเร็วหรือช้า ขึ้นกับสภาพแวดล้อมได้แก่อุณหภูมิความชื้นและแสงสว่าง ที่เหมาะสมคือ อุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียสความชื้น มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแสงแดดมีรังสียูวีจะมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา นอกจากนี้ความรุนแรงของเชื้อจะรุนแรงมากหรือน้อย ยังขึ้นกับลักษณะพันธุกรรมของเชื้อ ความแข็งแรงหรือภูมิต้านทานของแมลงอีกด้วย

ส่วนเสือตัวที่สี่ ไบโอแทค(BioTact) คือจุลินทรีย์ชีวภาพที่ชื่อว่า บาซิลลัสธูริงจิเอนซิส เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ค้นพบได้จากธรรมชาติ และสามารถพบได้ทั่วไปจัดเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในวิธีการกำจัดหนอนแบบปลอดสารพิษ ซึ่งไม่มีสารตกค้างอันตรายใด ๆและสามารถนำไปกำจัดหนอนได้หลากหลายชนิด เช่น หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนหลอดหอมหนอนคืบกะหล่ำ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนแปะใบส้ม หนอนร่านกินใบปาล์มเนื่องจากการออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงสูงในการทำลายหนอนเท่านั้นจึงมีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นรวมทั้งปลานก และแมลงมีประยชย์ที่ช่วยผสมเกสรเช่น ผึ้ง ต่อแตน เป็นต้น

และเสือตัวสุดท้ายที่จะช่วยเกษตรกรให้ปลอดภัยไร้สารพิษคือ ไบโอเซ็นเซอร์(Biosensor) ผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ที่เป็นมีความสามารถในการกำจัดโรคพืชได้ทั้งราและบัคเตรีได้รับการคัดเลือกว่ามีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราที่สำคัญในประเทศไทยเช่น โรคกรากเน่า โคนเน่า โรคผลเน่าของทุเรียน พริกไทย พืชตระกูลส้ม มะนาว มะละกอสับปะรด และยางพาราที่เกิดจากเชื้อรา ฟัยท็อปทอร่า(phytophthora spp.) โรคเกล้าเน่ายุบ ในพืชตระกูลแตงมะเขือเทศ ถั่ว พริก ผักชนิดต่างๆ และไม้ดอกไม้ประดับที่เกิดจากเชื้อเรา พิธเธียม (Pythiumspp), ไรซอคทอเนีย (Rhizogtonia spp), และสเคอโรเที่ยม (Sclerotium spp.) และที่โดดเด่นเป็นพิเศษคือไบโอเซ็นเซอร์ (Biosensor) สามารถกำจัดเชื้อราที่เป็นศัตรูของเห็ดได้เกือบทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นราดำ ราเขียว ราขาว ราเหลือง ราเมือก ฯลฯ โดยที่ไบโอเซ็นเซอร์ (Biosensor) จะทำอันตรายต่อเห็ดแต่อย่างใด

ก็ขออนุญาตฝากไว้ให้พี่น้องเกษตรกรลองพิจารณานำไปใช้เป็นทางเลือกทดแทนสารเคมีที่เป็นพิษต่อตัวเราและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในระยะยาว ทำให้ต้นทุนทางธรรมชาติของลูกหลานเราในอนาคตลดน้อยถอยลงทุกวันโดยมีสารพิษปนเปื้อนอยู่นั่นเองนะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 15:44:48 น.   
Counter : 625 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]