นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

โรคแคงเกอร์ในมะนาว โรคกุ้งแห้งในพริก ราเขียวราดำในเห็ด ต้องยกให้ “ไบโอเซ็นเซอร์”



โรคแคงเกอร์ในมะนาว โรคกุ้งแห้งในพริก ราเขียวราดำในเห็ด ต้องยกให้ “ไบโอเซ็นเซอร์”

ปัญหาเกี่ยวกับโรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม มะนาว มะกรูด ฯลฯซึ่งสาเหตุนั้นเกิดมาจากเชื้อแบคทีเรีย...นะครับไม่ใช่เชื้อราคุณๆต้องศึกษารายละเอียดให้ดีนะครับมิฉะนั้นเราไปใช้ยาฆ่าเชื้อรามาปราบก็ทำให้เสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ไม่ได้ผล

โรคแคงเกอร์(Citrus Canker) เป็นโรคที่พบมากที่สุดก็คือในพืชตระกูลส้มดังที่ได้กล่าวไปแล้วโรคนี้มักพบที่ใบจะมีรอยโรคเป็นจุดสีน้ำตาล และอาจเกิดแผลที่ใบอาจมีรอยแตกร้าว นอกจากนี้ อาจพบร่องรอยของโรคนี้ที่กิ่ง ก้าน ลำต้น และผลได้ด้วย โดยโรคแคงเกอร์นั้นมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่ว่า Xanthomonas axonopodi. pv citri. นี่คือชื่อใหม่ล่าสุดครับส่วนเชื่อเดิม ของมันก็คือ Xanthomonascompestris. pv citri. กล่าวแบบสั้นๆก็คือ โรคแคงเกอร์ สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียและจะระบาดได้ง่ายเมื่อความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีมากหรือสูงนั่นเอง

ในอดีตการรักษาโรคแคงเกอร์ในส้ม มะนาว มะกรูดชาวบ้านก็จะใช้สารคอปเปอร์ (Copper) เรียกว่าฉีดกันจนต้นเขียวปี๋ทีเดียวเชียวล่ะครับแต่ปรากฏว่าโรคแคงเกอร์ก็ยังอยู่ แต่ที่ทำท่าว่าจะสูญสลายหายไปนั่นก็คือ คนฉีดพ่นกับต้นมะนาวครับ เพราะสะสมสารพิษ สารเคมีเข้าไปทุกวันๆ มะนาวก็ต้านไม่ไหว

การที่ฉีดพ่นสารเคมีหรือคอปเปอร์ลงไปในผืนดินบ่อยๆ ก็เกิดการสะสมมีความเข้มข้นมากขึ้น ๆ เมื่อเข้าสู่กระบวนการเปิดดอก เกษตรกรมักจะทิ้งน้ำคืองดการให้น้ำ ประมาณหนึ่งถึงสองเดือน...ช่วงนี้เองที่สารคอปเปอร์จะแผลงฤทธานุภาพทำให้ต้นมะนาวนั้นเครียดและอ่อนแอจนบางครั้งก็ล้มตายลง เมื่อน้ำถูกจำกัดความเข้มข้นของสารคอปเปอร์เดิมที่มีน้ำทำหน้าที่เจือจางอยู่ก็หมดไปน้ำยิ่งระเหยออกไปจากดินมากขึ้น ความเข้มข้นของสารคอปเปอร์ก็เข้มข้นขึ้นตามลำดับทำให้รากมะนาวต้องทนทุกข์ทรมานจากปฏิกริยาสารคอปเปอร์ที่มี่อยู่อย่างหนาแน่นจากพฤติกรรมการฉีดพ่นสารคอปเปอร์รักษาโรคแคงเกอร์นั่นเอง

ความเข้มข้นของสารคอปเปอร์ที่มี่อยู่ในดินและไม่มีน้ำเป็นตัวเจือจางก็เป็นสาเหตุทำให้รากมะนาวหรือพืชอื่นๆถอดปลอก รากใหม่ที่เกิดขึ้นก็จะถูกทำลายทำให้ขาดการดูดกินสารอาหารลำเลียงไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มีผลทำให้หลังเกิดดอกก็จะมีปัญหาดอกและผลร่วง เพราะขาดสารอาหารขึ้นไปบำรุงในอดีตทุ่งรังสิตมีการกล่าวโทษโรงไฟฟ้าวังน้อยว่าเป็นตัวการณ์ทำให้ส้มทั้งทุ่งรังสิตร่วง...แต่ลืมวิเคราะห์สาเหตุจากพฤติกรรมการใช้สารคอปเปอร์มาอย่างยาวนาน

ปัจจุบันการรักษาโรคเกอร์มีทางเลือกมากขึ้นนะครับไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้หินแร่ภูเขาไฟ พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์สร้างความแข็งแกร่ง สร้างภูมิคุ้มกันเปรียบเหมือนเป็นวัคซีนที่ไก่ชนสร้างทนต่อไวรัส H5N1จากเชื้อไข้หวัดนกได้นั่นเองพืชจะแข็งแรงโดยธรรมชาติอุ้มชูได้ก็ต้องปรับพีเอชดินให้ได้ 5.8 – 6.3 เพื่อให้ละลายแร่ธาตุอาหารในดินออกมาเป็นประโยชน์ให้พืชมากที่สุดเสริมอาหารให้พืชได้รับอย่างครบโภชนาการทั้งธาตุหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมธาตุรอง แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน ธาตุเสริม เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสีโบรอน โมลิบดินั่ม นิกเกิ้ล ไทเทเนียม ฯลฯและที่สำคัญคือธาตุเสริมหรือธาตุพิเศษอย่าง ซิลิก้า และไคโตซานสองตัวหลังนี้ช่วยสร้างผนังเซลล์ให้แข็งแกร่ง เพิ่มน้ำหนัก เร่งการเจริญเติบโตก็จะช่วยให้พืชนั้นมีภูมิคุ้มกันคล้ายกับสร้างวัคซีนตั้งแต่ต้นยังเล็กๆขึ้นมา

ส่วนการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุนั้น ก็มีทางเลือกแล้วนะครับไม่ต้องจมปลักอยู่กับสารพิษวัตถุอันตรายแต่เพียงอย่างเดียวเราสามารถใช้จุลินทรีย์ชีวภาพอย่าง “ไบโอเซ็นเซอร์” ซึ่งเป็นกลุ่มของบัคเตรีที่มีชื่อว่า“บาซิลลัส ซับธิลิส (bacillus subthilis spp.) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกมาอย่างดีในการปราบโรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้มมะนาว มะกรูด ส้มโอ ฯลฯ และโรคกุ้งแห้งในพริก โรคเหี่ยวเขียวในมะเขือเทศ และโรคอื่นๆทั้งหลายที่เกี่ยวกับเชื้อราหรือแบคทีเรียนั้น“ไบโอเซ็นเซอร์” สามารถที่จะเข้าทำลายได้ทั้งสองชนิด

ไบโอเซ็นเซอร์เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถยับยั้งทำลายเชื้อราโรคเห็ดทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นโรคราดำราเขียว ราเมือก ราส้มฯลฯจึงเป็นประโยชน์อย่างมากแก่เกษตรกรผู้เพาะเห็ดซึ่งหาปัจจัยในการรักษาโรคที่เกิดเชื้อราในเห็ดได้ยากจะใช้ยาฆ่าเชื้อรานำมาฉีดพ่นก็จะทำได้ “เห็ด” ซึ่งก็ถือว่าเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งแต่เป็นเชื้อราชั้นสูงเท่านั้นเอง ก็ล้มตายตามไปด้วย แต่เจ้า “ไบโอเซ็นเซอร์”นั้นเข้าสามารถที่จะรักษาเชื้อราโรคเห็ดได้อย่างเฉพาะเจาะจงไม่เป็นอันตรายต่อเห็ดนะครับ

ในกลุ่มของ 5เสือจุลินทรีย์ชีวภาพนี้ก็สามารถนำมาใช้ในอาชีพเพาะเห็ดได้มากถึง 4 ชนิดไม่ว่าจะเป็น คัทออฟ จุลินทรีย์ชีวภาพ บิวเวอร์เรีย บาสเซียน่าที่เอาไว้ปราบแมลงหวี่ แมลงวัน ต่างๆ ในโรงเรือนเพาะเห็ด ฟอร์แทรน จุลินทรีย์ชีวภาพ เมธาไรเซียมที่ทำหน้าที่ในการปราบปรามกำจัดปลวกร้ายที่ทำลายโรงเรือน หรือจะนำมาฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลงรบกวนชนิดต่างๆก็ได้เช่นเดียวกัน อีกตัวหนึ่งคือ ไบโอแทค จุลินทรีย์ชีวภาพ บาซิลลัสธูริงจิเอนซิส ที่ทำหน้าที่ในเรื่องของการปราบหนอนแมลงหวี่ แมลงวันหรือหนอนที่เข้าทำลายก้อนเห็ดทุกชนิดเลยนะครับ เรื่องนี้คุณๆ อย่าเพิ่งสับสนนะครับระหว่าง แมลงหวี่ กับ หนอนแมลงหวี่ เจ้า คัทออฟ กับ ฟอร์แทรน นั้นกำจัดแมลงหวี่แมลงวัน แมลงรบกวนชนิดตัวเต็มวัยครับ ส่วนเจ้า ไบโอแทคนั้นเขากำจัดระยะที่เป็นวงจรของแมลงหวี่ที่อยู่ในระยะตัวหนอนนั่นเองครับ

ส่วนอีกชนิดหนึ่งที่เป็น 1 ใน 5 เสือจุลินทรีย์ชีวภาพคือ อินดิวเซอร์ เสือตัวนี้ห้ามนำไปใช้ในการเพาะเห็ดเป็นอันขาดนะครับเพราะเค้าคือเชื้อราเขียว ไตรโคเดอร์ม่าซึ่งเป็นศัตรู้หมายเลขหนึ่งของวงการเพาะเห็ดทีเดียวเชียวล่ะครับ ควรอยู่ห่างๆเค้าไว้แหละดีที่สุดเลยครับ

สรุปก็คือเจ้า ไบโอเซ็นเซอร์ สามารถที่จะทำงานช่วยเหลือพีน้องเกษตรกรที่เกี่ยวกับโรคพืชที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราก็ได้หรือเชื้อแบคทีเรียก็ได้ นับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์มากๆเช่นเดียวกันนะครับ
5เสือจุลินทรีย์ชีวภาพที่ผ่านการรับรองผ่านจดทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตรมาเรียบร้อยแล้วนั้น สามารถที่จะเป็นเพื่อนใหม่มิตรใหม่ให้เกษตรกรได้เลือกใช้ทดแทนการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายทางการเกษตรได้อย่างเหมาะเจาะลงตัวเลยนะครับ ต้องรายสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ คอลเซ็นเตอร์ โทร. 084 555 4205 – 9, ทางโปรแกรมไลน์ ไอดีไลน์คือ tga001, tga002, tga003,tga004 หรือติดต่อฝ่ายวิชาการได้ที่ 02 986 1680 -2 นะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 15:53:05 น.   
Counter : 1389 Pageviews.  

รู้ยัง!!!.....ว่า ไบโอแทค ใช้ปราบหนอนต่างๆ แทนสารเคมีได้ แถมปลอดภัยกว่าน้ำปลาถึง 10 เท่า



รู้ยัง!!!.....ว่า ไบโอแทค ใช้ปราบหนอนต่างๆแทนสารเคมีได้ แถมปลอดภัยกว่าน้ำปลาถึง10เท่า

อาชีพเกษตรกรรมในปัจจุบันนี้รู้ว่าจะรุ่งเรืองเฟื่องฟู้งเป็นที่สนอกสนใจในกลุ่มคนหลากหลายสาขาอาชีพแม้แต่ดารา นางแบบหรือนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นก็ยังอยากจะมาเป็นชาวนาโดยเฉพาะการทำเกษตรในรูปแบบที่ปลอดภัยไร้สารพิษนับวันจะยิ่งได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ....ทีเดียวเชียวนะครับ

หลังจากที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ปล่อยของ....เฮ้ย! ไม่ใช่นะครับ....ปล่อยผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมา 5ตัวที่เกี่ยวกับชีวภาพป้องกันกำจัดโรคแมลงทดแทนสารเคมีที่เป็นพิษอันตราย เพื่อให้เกษตรกรใช้เป็นทางเลือกและส่งผลไปยังผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศหรือจะเรียกว่าทั่วโลก(ที่เขานำเข้าผักผลไม้จากประเทศไทยไป) ได้มีโอกาสที่จะได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษมากขึ้น

วันนี้ 1 ใน 5 เสือจุลินทรีย์ชีวภาพที่ผมจะมาแนะนำคุณๆให้รู้จักก็คือ ไบโอแทคครับ ไบโอแทค นี้ก็คือจุลินทรีย์ บาซิลลัส ธูริงจิเอนซิส (Bacillus Thuringiensisspp) ถือว่าเป็นปรสิตสำหรับหนอนมีคุณสมบัติในการทำให้หนอนเจ็บป่วยล้มตาย หยุดการทำลายพืชผัก ผลไม้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วฝักยาวมะเขือ คะน้า เมล่อน ผักบุ้ง ฯลฯ

“ไบโอแทค” คือจุลินทรีย์หรือเชื้อแบคทีเรียที่ความจริงแล้วสามารถหาได้จากธรรมชาติและสามารถพบได้ทั่วไปจัดเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในวิธีการกำจัดหนอนแบบปลอดสารพิษ ซึ่งไม่มีสารตกค้างอันตรายใด ๆและสามารถนำไปกำจัดหนอนได้หลากหลายชนิด เช่น หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนหลอดหอมหนอนคืบกะหล่ำ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนแปะใบส้ม หนอนร่านกินใบปาล์ม

การทำงานของ “ไบโอแทค” นั้นจะเป็นการออกฤทธิ์แบบเฉพาะเจาะจงสูงในการทำลายหนอนเท่านั้น จึงมีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นรวมทั้งปลา นก และแมลงมีประยชย์ที่ช่วยผสมเกสรเช่น ผึ้ง ต่อแตน เป็นต้น

แต่เจ้า “ไบโอแทค”นั้นก็จัดว่าเป็นจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่สามารถถูกทำลายโดยรังสีอุลตร้าไวโอเลต(UV) จากแสงแดด ดังนั้นเวลาจะใช้งานเค้า ควรฉีดพ่นตอนเย็นแดดอ่อนๆจะช่วยยืดอายุจุลินทรีย์ชีวภาพ “ไบโอแทค” บนต้นพืชให้มีประสิทธิภาพอยู่ได้นาน

เทคนิคอีกอย่างหนึ่งนะครับ ในการใช้งาน“ไบโอแทค” คือต้องสังเกตว่า แมลงศัตรูพืชบางชนิด เช่น หนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำมักอาศัยกัดกิน อยู่ด้านล่างของใบ ดังนั้นการพ่นให้ครอบคุลมบริเวณส่วนบนและล่างของใบพืชด้วยจะจะสามารถควบคุมหนอนได้อย่างมีประสิทธิภาพปรับหัวฉีดเครื่องพ่นยาให้ละอองเล็กที่สุดจะช่วยใหละอองเชื้อจุลินทรีย์ “ไบโอแทค” เกาะผิวใบได้ดี

การใช้งาน “ไบโอแทค”จะให้เกิดประโยชน์ที่ดียิ่งขึ้นควรผสมสารจับใบ (ม้อยเจอร์แพล้นท์) ในการฉีดพ่นทุกครั้งตามอัตราที่แนะนำ และควรใช้แต่เนิ่นๆ เมื่อสำรวจตรวจพบหนอนวัยหนึ่งหนอนวัยสองที่มีขนาดตัวเล็กๆ จะให้ผลในการควบคุมดีกว่าในช่วงที่พบหนอนตัวใหญ่ และที่สำคัญไม่ควรผสมจุลินทรีย์ชีวภาพ“ไบโอแทค” กับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ในคราวเดียวกันเนื่องจากสารฯ บางชนิดอาจะทำให้จุลินทรีย์ “ไบโอแทค” เสื่อมประสิทธิภาพลงได้

เนื่องจากจุลินทรีย์ชีวภาพ “ไบโอแทค”จะต้องใช้ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ วันแรกอาจจะทำให้หนอนไม่สบาย เป็นอัมพฤต หยุดนิ่งหยุดการทำลายแต่ยังไม่ตายในทันที และต้องใช้ระยะเวลา2 - 3 วัน หนอนจึงจะตายดังนั้นการใช้อัตราสูงกว่าคำแนะนำไม่ช่วยให้หนอนตายเร็วขึ้นการใช้อัตราต่ำกว่าคำแนะนำจะส่งผลให้แมลงและหนอนไม่ตายและทำความเสียหายแก่ผลผลิตจึงใช้“ไบโอแทค” ตามอัตราที่แนะนำ

เมื่อพบการระบาดของหนอนรุนแรงควรฉีดพ่นตามอัตราที่แนะนำโดยการพ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง ระยะห่าง 3 - 4 วัน จะช่วยลดความเสียหายได้ดีกว่าการพ่นเพียงครั้งเดียว โดยการที่มีทางเลือกมากขึ้นในการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพและเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนทัศนคติด้วยการหยุด การใช้สารพิษทางการเกษตรและหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่ปลอดภัยไร้สารพิษในการผลิตหรือปลูกปลูกผัก ผลไม้หรือสาขาอาชีพเกษตรกรรมกต่างๆ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 15:42:33 น.   
Counter : 596 Pageviews.  

ป้องกันกำจัดโรคแมลงแบบปลอดสารพิษ ทางเลือกใหม่ของเกษตรรุ่นใหม่



ป้องกันกำจัดโรคแมลงแบบปลอดสารพิษ ทางเลือกใหม่ของเกษตรรุ่นใหม่

ต้องยอมรับกันนะครับว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทกับประชาชนคนทั่วไปและในกลุ่มของพี่น้องเกษตรกรทั่วทั้งประเทศ โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่าง เว็บไซต์ เฟสบุ๊คทวิตเตอร์ และไลน์ ก็ค่อนข้างมีอิทธิพลจากระบบการใช้งานผ่านระบบมือถือสมาร์ทโฟนโดยสามารถเข้าถึงตั้งแต่ระดับอายุน้อยๆไปจนถึงผู้สูงอายุ จากระบบ 3G, 4G ที่เขาประมูลจบกันไปไม่นานนี้มีทั้งผู้แพ้ ผู้ชนะ และก็มีผู้ที่ชนะแล้วก็ไม่มีปัญญาหาเงินมาจ่ายเงินที่ประมูลได้ทิ้งกันไปก็มี จะอย่างไรก็ตามก็ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ประเทศไทยจะได้มีความก้าวหน้าทางด้านข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยให้คนเข้าถึงได้เพิ่มมากขึ้น

ท่านผู้อ่านอาจจะงงๆ นะครับ ว่าเอ!.....เรื่องโซเชียลเน็ตเวิร์คจะมาเกี่ยวอะไรกับปัจจัยที่จะนำไปใช้ในการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช ก็ขออนุญาตตอบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกันอยู่บ้างเหมือนกันครับ คือการที่เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (InformationTechnology) ทำให้ผู้บริโภคสามารถที่จะเข้าถึงแหล่งผลิต แหล่งข้อมูลแหล่งทรัพยากรที่ดีมีคุณภาพได้ง่ายขึ้น สามารถที่จะหาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีได้แบบไม่ผูกขาดเหมือนยุคเก่า ที่การสืบค้นแหล่งผลิต แหล่งกำเนิด ทำได้ค่อนข้างยากปัจจุบันแค่ใช้นิ้วจิ้มๆ ชี้ ๆ ก็สามารถหาข้อดี ราคาประหยัดได้ไม่ยากและทำให้เราสามารถมีโอกาสใช้ปัจจัยดีที่มีอยู่ทั่วโลกมาใช้ในแปลงเรือกสวนไร่นาของเราได้ด้วยเช่นเดียวกัน

ปัจจุบันเราสามารถที่จะนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์และปัจจัยต่างๆที่มีคุณภาพดีและไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้สินค้ามีราคาต่ำลงและเกิดการรับรู้ไปยังกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วทั้งในและต่างประเทศ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เราก็เช่นเดียวกันครับมี่ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยไร้สารพิษทั้งในส่วนที่คัดเลือกจากต่างประเทศโดยตรงมาบริการและมีผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่ปลอดภัยไร้สารพิษที่ผลิตเองมาบริการพี่น้องเกษตรกรในประเทศและส่งออกไปยังกลุ่มเพื่อนบ้านอาเซียนของเราอีกด้วยโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ 5 เสือจุลินทรีย์ ที่เป็นผลิตภัณพ์ชีวภาพที่ปรับปรุงพัฒนากระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีชั้นนำและผ่านการจดทะเบียนกับกรมวิชการเกษตรเรียบร้อยสามารถที่จะวางจำหน่ายและส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลก

ผลิตภัณฑ์ 5 เสือจุลินทรีย์ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษผลิตขึ้นมาจากโนว์ฮาวและอาศัยพันธมิตรให้ช่วยบริหารจัดการเรื่องกระบวนการจดทะเบียนกับหน่วยงานราชการก็จะมีคุณสมบัติการใช้งานในด้านต่างๆ ดังนี้ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ “อินดิวเซอร์ (Inducer)”เป็นจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่าที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องใบจุด ใบด่าง ใบดำโรครากเน่าโคนเน่า, “ไบโอเซ็นเซอร์ (Bio Sensor)” ทำหน้าที่ในเรื่องของการปราบโรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้มมะนาว มะกรูด ฯลฯ แก้ปัญหาโรคแอนแทรกโนส โรคกุ้งแห้งในพริกโรคเหี่ยวเขียวที่มี่สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย, “คัทออฟ (CutOff)” เป็นจุลินทรีย์ชีวภาพที่ทำหน้าที่ในเรื่องการปราบเพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ไรแดง รวมถึงแมลงศัตรูพืชต่างๆ, “ไบโอแทค (Biotac)” เป็นจุลินทรีย์บีทีชีวภาพปราบหนอนโดยเฉพาะ และ “ฟอร์ทราน “Fortran)” จุลินทรีย์ชีวภาพกำจัดปลวกร้ายในบ้านเรือนรวมถึงสวนยาง สวนปาล์ม พืชไร่ไม้ผลอื่นๆ ที่ถูกปลวกรบกวน ก็สามารถใช้จุลินทรีย์“ฟอร์ทราน” ไปกำจัดได้

เมื่อท่านผู้อ่านและพี่น้องเกษตรกรที่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้มากขึ้นก็มีทางเลือกมากขึ้นนะครับ มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องโรค แมลง เพลี้ย หนอน ราและไร ก็ไม่จำเป็นต้องใช้แต่สิ่งเดิม ๆโดยเฉพาะยาฆ่าแมลง สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บในระยะยาวทำให้สูญเสียเงินทองที่อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบมาตั้งแต่วัยหนุ่มต้องมาหมดสิ้นไปในช่วงบั้นปลายก็ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนะครับในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าล้ำสมัยปัจจัยการผลิตภาคการเกษตรด้านชีวภาพ ด้านนาโนก็สามารถที่จะดูแลแก้ปัญหาผลผลิตพืชไร่ไม้ผลให้พี่น้องเกษตรกรได้ดีไม่แพ้สารเคมีที่เป็นอันตรายเลยทีเดียวเชียวนะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 15:15:47 น.   
Counter : 302 Pageviews.  

แตงเมล่อน ยอดหงิก เถาแตก เป็นไอ้โต้งไอ้แจ้ เพราะขาดซิลิก้า พีเอชไม่เหมาะสม



แตงเมล่อน ยอดหงิก เถาแตก เป็นไอ้โต้งไอ้แจ้ เพราะขาดซิลิก้าพีเอชไม่เหมาะสม

เมื่อวานนี้ได้มีโอกาสไปบรรยายที่จังหวัดราชบุรีกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูหลุม ซึ่งก็ไม่ได้มีแต่หมูเท่านั้นนะครับพี่น้องเกษตรกรที่นี่ก็ยังประกอบอาชีพเกษตรอื่นๆ อีกเยอะแยะมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเพาะเห็ด ปลูกถั่ว ปลูกมะเขือ ปลูกข้าวและโดยขณะนี้ก็มีเรื่องของการปลูกแตงญี่ปุ่น หรือเมล่อนที่กำลังฮอทฮิตติดดาวอยู่ในขณะนี้ เนื่องด้วยใช้ระยะเวลาในการปลูกสั้นใช้น้ำน้อย เพราะใช้ระยะเวลาเพียง 75-80วันก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

แต่ปัญหาที่ลุงป้าน้าอาทั้งหลายกำลังเดือดร้อนและให้ผู้เขียนเขาไปให้ข้อมูลก็คือเรื่องของการที่แตงเมล่อนนั้นมีอาการยอดหงิก ต้นเตี้ยแคระแกร็น เถาแตก แถมมีร่องรอยของหนอนชอนใบเข้ามารบกวน บางแปลงก็ถูกทำลายเสียหายเกินเยี่ยวยาบางแปลงก็ถูกทำลายไปเกือบครึ่ง โดยที่ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร เพราะว่าอาศัยคำแนะนำของเซลล์ขายยาในท้องถิ่น ก่อนที่ผู้เขียนจะไปถึงแปลง ลุงท่านหนึ่งก็ได้บอกว่าเพิ่งจะฉีดพ่นยาฆ่าหนอนไม่นาน ก่อนหน้านี้ก็ฉีดมาสองสามรอบแต่ก็ไม่ได้ผล ไม่รู้ว่าเป็นอะไร

หลังจากที่เขาไปสำรวจแปลงกับกลุ่มเกษตรกรทำให้พบว่าในแต่ละแปลงนั้นทำการปลูกโดยใช้ถุงพลาสติกคลุมแปลงและเจาะรูตรงกลางให้ต้นเมล่อนรอดขึ้นมาเกาะเถาหรือค้างที่ปักไว้ไม่ได้ปลูกแบบโรงเรือนดังที่เราๆท่านๆ คุ้นตา ปลูกแบบโล่งแจ้งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีนะครับ เพราะต้นทุนต่ำ แต่ปัญหาก็คือ ไม่ว่าจะถามพี่ๆ ลุงป้า น้า อาท่านใด ว่าได้ทำการตรวจวัดกรดด่างของดินหรือไม่ปรากฏว่าไม่มีใครตรวจดินเลยสักคน จึงทำให้คาดว่าค่าความเป็นกรดและด่างของดินนั้นอาจจะเป็นปัญหาต่อการเจริญเติบโตของแตงเมล่อนด้วยเช่นกัน เพราะดินที่ผ่านการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นระยะเวลานานนั้นมีโอกาสที่สสารของเคมีในรูปกรดโดยเฉพาะกลุ่มของซัลเฟตอาจจะสมตกค้างอยู่ทำให้บล็อกดิน บล็อกปุ๋ยไม่สามารถใช้ทรัพยากรในพื้นที่ดินเดิมได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำให้แตงเมล่อนอาจจะขาดสารอาหารบางตัวกินไม่ครบโภชนาการจึงได้แนะนำให้กลุ่มเกษตรกรไปปรึกษาหมอดินและนำดินไปตรวจให้ทราบค่าที่แน่นอนชัดเจน จะได้ดูแลแก้ไขให้ถูกต้องคือควรปรับปรุงบำรุงดินให้มีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 จึงจะเหมาะสมที่สุด

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เทคนิคการสร้างวัคซีนและภูมิคุ้มกันให้กับต้นเมล่อน พบว่ายังไม่มีการนำเอากลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ(พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์) เข้ามาใช้ในการเตรียมแปลง และระหว่างปลูกทำให้ต้นเมล่อนนั้นหลังจากได้รับปุ๋ยแล้ว ก็พบอาการอ่อนแอผนังเซลล์ถูกหนอนชอนใบทั้งในระยะวัยหนึ่ง วัยสองเข้าทำลาย และกลุ่มของแมลงปากดูดที่เข้ามาดูดกินน้ำเลี้ยงและนำมาพาเอาเชื้อวิสาหรือไวรัสเข้ามาในแปลงและเกิดการระบาดรุกรามไปทั่ว ลักษณะอาการแบบนี้ ถ้ารีบนำเอา พูมิช (Pumish)หรือพูมิชซัลเฟอร์ (Pumish Sulpher) ใส่โรยรอบทรงพุ่มโคนต้น 1 – 2 กำมือต่อต้นก็จะช่วยทำให้แตงเมล่อนฟื้นตัวขึ้นมา หลังจากนั้นฉีดพ่นด้วยกลุ่มสารสกัดจากระเทียมพริกไท (ไพเรี่ยม [Pirium]) และจุลินทรีย์บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม (ทริปโตฝาจ [Triptophaj], คัทออฟ [Cutoff], ฟอร์ทราน [Fortran]) เพื่อตัดวงจรของกลุ่มแมลงปากดูดก็จะช่วยทำให้กลุ่มของพวกตระกูลเพลี้ยอย่าง เพลี้ยไฟไรแดง เพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้ง ลดจำนวนล้มตายลงไป

ถึงแม้ว่าโรคที่เกิดจากไวรัสจะไม่มียารักษาแต่ถ้าทำให้พืชหรือแตงเมล่อนมีความแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันเหมือนไก่ชนก็สามารถทำให้ไวรัสไม่สามารถแสดงอาการออกมาได้ เหมือนไก่ชนที่สามารถทนต่อเชื้อไข้หวัดนก ไม่เจ็บป่วย ไม่ล้มตายไม่ถูกรัฐบาลในขณะนั้นนำไปฆ่าเป็นแสนเป็นล้านตัว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมฝ่ายวิชาการชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02 9861680-2

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 15:14:22 น.   
Counter : 1818 Pageviews.  

ปราบเพลี้ยไฟไรแดง แห่งวิถีชีวภาพ (ก็ไม่ง่ายนะ!)



ปราบเพลี้ยไฟไรแดง แห่งวิถีชีวภาพ (ก็ไม่ง่ายนะ!)

ปัญหาเรื่องเพลี้ยไฟไรแดงที่กำลังระบาดและสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้พี่น้องเกษตรกรอยู่ขนะนี้ก็ไช่ว่าจะมีแต่ผู้ปลูกมะนาว กล้วยไม้ พริกเท่า มะละกอเท่านั้นนะครับยังมีพืชอื่นๆ อีกมากมายที่พบกับปัญหานี้ด้วยเช่นกัน เพราะว่าช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน ผ่านฝนผ่านชื้น ผ่านแฉะมาเนิ่นนานจากปัญหาภัยแล้งก็ย่อมทำให้พืชหลากหลายชนิดเริ่มที่จะสะสมน้ำตาลไว้ในต้นมากขึ้นมากกว่าปริมาณของไนโตรเจนที่มากับน้ำฝน มากับความชื้นแฉะที่พื้นดินเดิมละลายออกมาจากปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก(Organic Matter) อินทรียวัตถุต่างๆ ทำให้พืชอวบอ้วนอ่อนแอซึ่งหนอนกับแมลงจะชอบมากกว่า เพลี้ยหรือกลุ่มของแมลงปากดูด

ด้วยเหตุดังนี้ทำให้ความหวานในสรีระหรือส่วนต่างๆของพืชมีเพิ่มมากขึ้นกลุ่มของแมลงปากดูดทั้งหลายที่ชอบกินน้ำตาลก็สามารถที่จะใช้เป็นแหล่งอาหารในการดำรงชีวิตตามสภาพธรรมชาติที่เอื้ออำนวยโดยเฉพาะ “เพลี้ยไฟ” ก็เป็นแมลงจำพวกปากดูดเช่นกัน มีขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1-2มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อนตัวเต็มวัยวางไข่ในเนื้อเยื่อของเซลล์พืช และถ้าจะแบ่งชนิดของตัวอ่อนก็มีด้วยกัน 2ระยะ คือ ตัวอ่อน และ ตัวเต็มวัยซึ่งมีวงจรชีวิตนานประมาณ 15 วัน

เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายพืชต่างๆที่เขาชอบ โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนโดยอาศัยอยู่ตามซอกใบระบาดในระยะแตกยอดใหม่ๆ เมื่อใบพืชโตใหญ่ขยายขึ้น ในส่วนของใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและเจ้าเพลี้ยไฟก็จะอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น ในอดีตก็จะพบระบาดเฉพาะในอากาศร้อนแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกัน หรือสภาพที่พืชขาดน้ำนาน ถ้าระบาดมากๆทำให้พืชแห้งเหี่ยวล้มตายได้แต่ปัจจุบันนั้นก็ไม่แน่ไม่นอนถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมเพลี้ยไฟก็สามารถกลับมาระบาดได้ด้วยเช่นกัน

วิธีการป้องกันกำจัดนั้น ก็ไช่ว่าจะทำได้ง่ายๆนะครับ เพราะว่าตัวเขามีขนาดเล็กเรียกว่าแทบจะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นจะฉีดพ่นให้สปอร์ของเจ้ารากินเพลี้ยอย่าง บิวเวอร์เรีย และ เมธาไรเซียม (ทริปโตฝาจ [Triptophaj], คัทออฟ [Cutoff]) เข้าไปสัมผัสเกาะติดกับตัวก็ค่อนข้างยากฉะนั้นในกรณีที่ต้องการปราบเจ้าเพลี้ยไฟและไรแดงให้อยู่หมัดอาจจะต้องกระทำแบบเป็นกระบวนการคืออย่าปล่อยให้พืชอ่อนแอ จากปัญหาสภาพดินที่เป็นกรดหรือด่างจัดจนพืชได้รับแร่ธาตุสารอาหารไม่ครบถ้วนสร้างความแข็งแกร่งเพิ่มคุ้มกันตั้งแต่ระยะต้นเล็กๆหรือเริ่มบำรุงหลังเก็บเกี่ยวด้วยการรองพื้นด้วยกลุ่มหินแร่ภูเขาไฟ (พูมิช [Pumish],พูมิชซัลเฟอร์[Pumish Sulpher]) เปรียบเหมือนเป็นการวอร์เครื่องให้พืชมีความแข็งแรง และวิธีการเดินสำรวจตรวจตราหมั่นดูแปลงเรือกสวนไร่นาเราอยู่เสมอก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องทำเพื่อจะได้ทราบว่าณ จุดไหน บริเวณใดมีการระบาดในระยะแรกๆ จะได้เข้าไปดูแลแก้ไขปัญหาได้ทันการณ์ การใช้กิ่งพันธุ์ที่ปราศจากโรคไม่ปล่อยให้มาสร้างอาการอ่อนแอและแพร่เชื้อโรคในสวนก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ต้องทำด้วยเช่นกัน

ทีนี้ก็มาถึงการกำจัดเขาด้วยสารสกัดจากกระเทียมพริกไท (ไพเรียม [Pirium]) และสารสกัดจากสะเดา (มาร์โก้ซีด [Margoseed]) ซึ่งสมุนไพรทั้งสองสูตรนี้ พี่น้องเกษตรกรได้นำไปใช้ในการปราบเพลี้ยไฟไรแดงมาเป็นเวลาเกือบยี่สิบปีแล้วถือว่ามีความโดดเด่นค่อนข้างมากถ้าใครไม่อยากจะซื้อให้เสียเงินทองโดยเปล่าประโยชน์ก็สามารถหมักด้วยตนเองได้ง่ายๆดังนี้ครับ

นำกระเทียม 2 ขีด, พริกไทดำ 1 ขีด, พริกป่น1 ขีด น้ำส้มสายชู 200 – 500 ซี.ซี.สับโขลกบนตำวัตถุดิบให้เข้ากันแล้วนไปแช่กับน้ำส้มสายชูและเหล้าขาว หรือแอลกอฮอล์ล้างแผลอีก 500 ซี.ซี. หมักไว้ 7 วัน นำมาใช้ครั้งละ 5-10 ซี.ซี. ต่อน้ำ20 ลิตร ส่วนสารสกัดสะดาก็ใช้เมล็ดสะเดา 1 กิโลกรัม สับโขลกบดตำเช่นเดียวกัน แช่น้ำสะอาด 20 ลิตรทิ้งไว้หนึ่งคืน พอเช้ามาก็เอามาผสมร่วมกับน้ำอีก 80 ลิตรรวมกันเป็น100 ลิตรฉีดพ่นไปพร้อมกัน กับจุลินทรีย์ทริปโตฝาจเพราะว่าเจ้าเพลี้ยไฟไรแดงนั้นร้ายกาจพอดู ตอนเข้าทำลายก็มองไม่เห็นเพราะฉะนั้นเราต้องสังเกตให้ดี โดยเฉพาะช่วงที่มียอดอ่อน ดอกและผลอ่อน ก็ควรฉีดพ่นป้องกันไว้แต่เนิ่นๆด้วยนะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 15:03:17 น.   
Counter : 397 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]