นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ภัยน้ำท่วม ภัยหนาว ภัยแล้ง มิได้เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี

ปัญหาภัยธรรมชาตินั้นยังคงย่างกรายทายท้ามนุษยชาติไม่เว้นไปในแต่ละปีในรูปแบบที่ผิดแผกแตกต่างกันไปบ้างก็เพียงเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นฝนตก น้ำท่วมสึนามิ แผ่นดินไหว ภัยหนาว ความแห้งแล้งมีผลกระทบต่อผู้คนชนบนโลกในรูปแบบที่แตกต่างกันไป บ้างก็พออกพอใจบ้างก็อกสั่นขวัญหายไปกับการสูญเสียจากผลกระทบที่ได้รับ บางครั้งก็ถึงแก่ชีวิตบางครั้งก็เกิดการพลัดพรากบางครั้งก็นำความสุขสบายมาในรูปแบบอากาศที่เย็นฉ่ำโดยเฉพาะในตัวเมืองที่มีฝุ่นควันไอเสีย ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากๆ เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวจึงทำให้อากาศในโซนดังกล่าวนั้นก็จะมีความรู้สึกที่พอเหมาะพอดีโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร

อย่างไรก็ตามภัยธรรมชาตินั้นก็มีหนักหน่วง รุนแรงและบางเบาแตกต่างกันไป และสร้างผลกระทบต่อผู้คนไม่เหมือนกันในแต่ละพื้นที่ก็ต้องดัดแปลงแก้ไขให้มีความสามารถที่จะดำรงคงอยู่ให้ได้ในโลกใบนี้โดยเฉพาะผู้คนชนเกษตรกรรมนั้นมักจะต้องมีความเกี่ยวข้องผูกพันกับธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นโอกาสหรืออุปสรรคที่เข้ามาล้วนจะต้องมีความรู้สึกที่ฉับไวกว่าผู้คนชนโรงงานและออฟฟิศซึ่งพวกเขาเหล่านั้นไม่ต้องกังวลกับเรื่องสภาพภูมิอากาศมากเหมือนกับอาชีพเกษตรกรเนื่องด้วยไม่ว่าจะหนาว ร้อน หรือฝน (ยกเว้นน้ำท่วม)เขาเหล่านั้นก็ยังคงจะสามารถทำงานกันได้ภายใต้อาคารหรือสถานที่ที่กำหนดไว้แตกต่างจากผืนนาผืนไร่เรือกสวนไร่นาที่ตากแดดตากลมห่มฟ้าอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

จึงไม่พ้นที่จะต้องได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติโดยตรงไม่ว่าในกรณีใดๆจะมีอยู่บ้างที่อาชีพเกษตรกรรมจะได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติเล็กน้อยก็จะเป็นกลุ่มที่ปลูกแบบทดลองวิจัย ปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์ ปลูกแบบคนเมือง ซึ่งก็เป็นส่วนน้อยนักเมื่อเทียบกับบรรพชนคนไทยทั้งประเทศที่มีพื้นฐานการทำอาชีพเกษตรกรรมทำหรือผลิตอาหารมาป้อนคนเมืองและผู้คนชนทั่วโลก

จากฝน พ้นหนาวบ้านเมืองเราขณะนี้ก็กำลังย่างก้าวเข้าสู่ภัยแล้งอีกแล้วล่ะครับท่านผู้อ่านงานที่สำคัญด้านการเกษตรในระยะนี้เห็นทีจะไม่พ้นการเตรียมแหล่งกักเก็บน้ำประจำไร่นาจะต้องดูแลรักษาให้มีคุณภาพในการดำรงคงอยู่ของน้ำไว้ให้มากที่สุดมิให้หลุดลอดรั่วไหลออกไปโดยไม่จำเป็นให้มากเกินไปนักเกษตรกรที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำแหล่งชลประทานและยังมิได้เตรียมการเรื่องบ่อเรื่องสระน้ำประจำไร่นาก็ควรรีบเตรียมการจะขุดจะกักแล้วรีบนำน้ำเข้ามาสำรองเตรียมไว้ใช้อาจจะขุดเจาะบ่อบาดาล หรือบ่อโยกบ่อสาวเพื่อให้ได้มีน้ำไว้ใช้ในการเกษตรก็รีบทำ อนึ่งพื้นบ่อที่อยู่ในพื้นที่ดินทรายมีประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำไม่ค่อยจะดีนักก็ควรจะใช้ สารอุดบ่อ (กลุ่มของคาร์โบฮัยเดรท ในรูปโพลิเอคริลาไมด์) ในอัตรา 2กิโลกรัม คลุกผสมกับ เบนโธไนท์ หรือ สเม็คโตไทต์ ในอัตรา 100 กิโลกรัม คลุกผสมให้เข้ากันแล้วนำไปหว่านกระจายให้ทั่วพื้นบ่อหรือริมผนังกั้นบ่อให้ทั่วสารอุดบ่อจะทำปฏิกิริยา สเม็คโตไทต์ทำหน้าที่คล้ายดินเหนียวและสารอุดบ่อจะพองขยายขนาดอุดรูรั่วรอยโหว่ที่จะทำให้น้ำนั้นรั่วซึมออกไป บางคนอาจจะเตรียมการหลังขุดบ่อใหม่ๆด้วยการใช้รดแทรกเตอร์บด อัด พื้นบ่อให้แน่น ด้วยกรวดหยาบ กรวดละเอียดแล้วจึงโรยด้วยสารอุดบ่อตามสูตรที่ได้แนะนำไป จึงค่อยปล่อยน้ำสารอุดบ่อจะช่วยทำให้เกิดเมือก (คล้ายนิทานเรื่องไอ้ขี้มูกมาก ที่สั่งขี้มูกอุดรูรั่วของเรือ)ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึมในสระน้ำประจำไร่นาช่วยให้พีน้องเกษตรกรสามารถมีแหล่งกักเก็บน้ำไว้ทำการเกษตรกรรมประจำปีเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีและต้นทุนของเมืองนอกเมืองนาที่จะต้องใช้เงินตรามากกว่าแสนบาทต่อไร่หรือบางครั้งเป็นล้านบาทต่อไร่ ใช้วิธีการทำแบบไทยๆ ใช้สารอุดบ่อใช้เมือกธรรมชาติต้นทุนประมาณ 1,500 บาทต่อไร่ใช้กักเก็บน้ำได้เป็นแรมปีสนใจก็ติดต่อสอบถามข้อมูลไปยังชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทรศัพท์ 0-2986-1680 -2หรือเว็บไซด์ www.thaigreenagro.com

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




Create Date : 25 เมษายน 2557
Last Update : 25 เมษายน 2557 17:16:54 น. 0 comments
Counter : 593 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]