นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

วิธีการใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) แบบประหยัด สกัดกั้นข้าวเฝือใบ ปลอดภัยต่อหนอนและแมลง

โดยปรกติปุ๋ยยูเรีย
(46-0-0) ค่อนข้างเป็นที่นิยมในหมู่เกษตรกร ทั้งพืชไร่ไม้ผล ข้าว อ้อย มัน ปาล์ม
และยางพารา เพราะใช้แล้วเห็นผลได้ชัดเจน คือใบจะเขียวเข้ม ต้นเจริญเติบโต
สูงใหญ่แตกใบกิ่งก้านเบ่งบานแผ่สาขาอย่างรวดเร็ว
เมื่อเริ่มปลูกลงกล้าใหม่ๆ ปุ๋ยยูเรียจึงเป็นขวัญใจของพี่น้องเกษตรกรชาวนาเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะชาวนาเมื่อข้าวเริ่มได้อายุ 15 – 20 วันก็จะเริ่มหว่านปุ๋ยโดยเฉพาะปุ๋ยยูเรีย
จะได้รับความนิยมมากที่สุด เพื่อให้ข้าวเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
(ภาษาชาวบ้านเรียกว่ากระทุ้งปุ๋ย เพื่อเร่งให้ข้าวโตเร็วๆ เหมือนเป็นการแข่งขันกัน
สร้างความภาคภูมิใจแก่เจ้าของนา)

หลังจากที่ใส่ปุ๋ย
ข้าวจะเจริญเติบโตงอกงามจนใบโค้งงอง้อมลงจนคำนับพับเพียบเจ้าของหาเจ้าของ แลดูเขียวขจีสดใสไปทั่วแปลง
เป็นที่ถูกอกถูกใจเจ้าของนาเป็นอย่างยิ่ง แต่ต้นกล้าในแปลงนากลับไม่ชอบ
เพราะการที่หว่านปุ๋ยตั้งแต่ข้าวยังเล็กอยู่นั้น เปรียบเหมือนเป็นการยัดเยียดให้ข้าวกินปุ๋ยมากเกินไป
ทำให้ต้นอวบอ้วน ใบหนา ใหญ่ โค้งงอ อุ้ยอ้าย ต่างเป็นที่ถูกอกถูกใจของเหล่าหนอน แมลง
ที่มักอาศัยหลบซ่อนตัวเข้ามาทำลายลำต้นและใบข้าวในช่วงที่ข้าวอ่อนแอจากการใส่ปุ๋ยยูเรียนี้เอง
หลังจากใส่ปุ๋ยไปได้สองสามวัน ชาวนาจะต้องเตรียมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งยาฆ่าแมลง
ยาฆ่าหนอนและเพลี้ยไฟ ไรแดง ต่างๆ สารพัดเท่าที่จัดหามาได้

ความจริงในระยะนี้เกษตรกรชาวนาไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย
เพราะข้าวยังพอมีอาหารกินจากในเมล็ดและพื้นดินในแปลงนาตั้งแต่ทำเทือก
และต้องการดูดกินปุ๋ยมากจริงๆ ในช่วงระยะแตกกอ คือข้าวอายุประมาณ 30 วัน
ดังนั้นถ้าใส่ปุ๋ยในช่วงข้าวอายุ 29 – 30 วัน
ก็จะเป็นการใส่ปุ๋ยในช่วงเวลาที่เหมาะสม
เพราะหลังจากใส่ปุ๋ยเพียงวันหรือสองวันข้าวก็เริ่มแตกกอให้หน่อออกลูกออกหลานมาช่วยแบ่งเบากินปุ๋ยกระจายกันไปอย่างสมดุลย์ จะดีกว่าใส่ปุ๋ยตอนข้าวเป็นต้นเดียว (อายุ 15 -20
วัน) ที่ยังเป็นเม็ดเดียวต้นเดียวดูดกินปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงเข้าไปเต็มๆ
นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์อะไรมากแล้วยังเป็นการสิ้นเปลืองปุ๋ยและสิ้นเปลืองยาเคมีกำจัดศัตรูพืช
ทั้งทำให้ต้นข้าวอ่อนแอไม่ต้านทานต่อโรค แมลง รา ไรอีกต่างหาก

เทคนิคที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง
ที่จะเปลี่ยนปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ที่สูญเสียง่ายละลายเร็วให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า
คล้ายๆกับที่ประเทศญี่ปุ่นเขานำมาจำหน่ายในบ้านเราตกกิโลกรัมละหลายสิบบาท
คิดเป็นกิโลก็หลายร้อยบาท คิดเป็นตันก็สองสามหมื่นบาทหรือมากกว่า
เราสามารถทำให้ปุ๋ยยูเรียกลายเป็นปุ๋ยละลายช้าแบบเมดอินไทยแลนด์ได้ง่ายเพียงนำปุ๋ยยูเรีย
5 ส่วน พรมน้ำพอชุ่มชื้นไม่เปียกแฉะคลุกผสมกับ “ซีโอ-พูมิช”
(หินแร่ภูเขาไฟเกรดพรีเมี่ยม) 1
ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน เท่านี้เราก็จะได้สูตรปุ๋ยละลายช้าแบบไทยๆ
ที่ช่วยทำให้ข้าวไม่เฝือใบ ปลอดภัยต่อหนอนและแมลงที่จะเข้ามาทำลายได้เป็นอย่างดี

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
//www.thaigreenagro.com



Create Date : 11 กรกฎาคม 2554
Last Update : 11 กรกฎาคม 2554 13:03:00 น. 0 comments
Counter : 14996 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]