นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

พืชแพ้สารตกค้าง (สารคุมและฆ่าหญ้า) ทำให้อ่อนแอ ผลผลิตน้อย

การใช้สารเคมีคุมและฆ่าวัชพืชในปัจจุบันเป็นที่นิยมไม่เคยเสื่อมคลาย ร้ายขายปุ๋ยยาเคมีเกษตรแทบทุกร้านจะต้องมีโชว์ไว้หน้าร้านกันทุกยี่ห้อหลากหลายบริษัท เพราะเป็นตัวที่จัดได้ว่าทำกำไรให้แก่ผู้ขายได้เป็นกอบเป็นกำมากกว่าสารเคมีตัวอื่นๆทั้งหมด ดังนั้นเมื่อยอดขายย่าคุมและฆ่าหญ้าขายดีก็แสดงว่าพื้นที่แปลงเกษตรก็ย่อมจะมีสารเคมีเหล่านี้ตกค้างอยู่มากเหมือนกัน การใช้สารเคมีคุมและฆ่าหญ้าหรือวัชพืชติดต่อกันเป็นระยะเวลานานนั้นย่อมจะมีสารพิษตกค้างอยู่ในดิน สารพิษที่ตกค้างนั้นย่อมจะส่งผลต่อพืชหลักที่เราปลูกไว้อย่างแน่นอนไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ลองคิดดูกันให้ดี ๆ นะครับ หญ้าหรือวัชพืชก็คือพืชชนิดหนึ่ง แล้ว ข้าว, ข้าวโพด, อ้อย, มันสำปะหลัง, ปาล์ม, ยางพารา, ทุเรียน, มังคุด, ลองกอง ฯลฯ นั้นก็คือพืชด้วยเหมือนกัน ย่อมต้องได้รับผลกระทบต่อการเจริญเติบโตเหมือนกับหญ้าเช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าอาจจะมีความแตกต่างกันไปตามความใหญ่เล็กหรือขนาดของพืชชนิดนั้น ๆ ทำให้มองไม่เห็นการบั่นทอนการเจริญเติบของพืชที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีที่ใช้คุมและฆ่าหญ้าได้อย่างชัดเจนเท่านั้น

ลักษณะของดินที่มีสารเคมีคุมและฆ่าหญ้าตกค้างอยู่ในปริมาณมาก พืชจะแสดงอาการออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น พืชที่ปลูกลงไปใหม่ๆ จะแคระแกร็น ใบเล็ก เหี่ยวเฉา หงิกงอ การยืดหรือแบ่งตัวของเซลล์ผิดรูป ผิดร่าง ผลผลิตน้อย ไม่ว่าจะกระตุ้นให้เติบโตโดยการใส่ปุ๋ยทางดินหรือฉีดพ่นทางใบให้ด้วยอย่างไรก็ไม่ตอบสนองเท่าที่ควร ทั้งนี้เพราะดินที่สะสมสารพิษ (ยาคุมและฆ่าหญ้า) ไว้อย่างมากจนดินเสียนั้น จะส่งผลกับพืชหลักที่ปลูกเฉกเช่นเดียวกันกับหญ้า ถึงแม้ว่าพืชหลักจะมีความแข็งแรงหรือภูมิต้านทานมากกว่าทำให้ไม่ตายในทันทีแต่ก็ส่งผลให้เห็นอย่างชัดเจนในเรื่องการเจริญเติบโตดังได้กล่าวในเบื้องต้น


เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีสารอินทรีย์ชีวภาพชนิดใด ที่จะนำมาทดแทนสารเคมีคุมและฆ่าหญ้าให้ได้ผลเด็ดขาดร้อยเปอร์เซ็นต์ เกษตรกรจึงยังต้องใช้สารเคมีเหล่านี้กันต่อไป เพราะประหยัดทั้ง เวลา เงินทุน ในการจัดการ จึงเป็นเหตุผลที่ยอดขายของร้านขายปุ๋ย ยา ฮอร์โมน ยังคงติดอันดับความนิยมอยู่เรื่อยมา และปล่อยไปตามกาลเวลาโดยไม่มีใครเคยคิดถึงผลเสียที่ส่งผลกระทบต่อการทำอาชีพเกษตรของตนเอง ว่าอาจจะต้องทำให้สิ้นเปลืองปุ๋ยและฮอร์โมนเพิ่มขึ้นมากกว่าปรกติ


วิธีการแก้ไขปัญหาในเรื่องสารพิษตกค้างในดิน โดยเฉพาะยาคุมฆ่าหญ้านั้น ให้ใช้หินแร่ภูเขาไฟซึ่งมีคุณสมบัติในการจับตรึงสารพิษและก๊าซของเสียต่างๆ เช่น ก๊าซแอมโมเนีย, ก๊าซไฮโดรเย่นซัลไฟด์, ก๊าซมีเธน และก๊าซพิษอื่น ๆ ในบ่อกุ้ง บ่อปลา คอก, เล้าเก่าหรือโรงเรือนเลี้ยงไก่ ซึ่งถ้ามีกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟนำไปหว่านโรยทับที่พื้นคอกและพื้นบ่อจะช่วยจับก๊าซพิษเหล่านั้นให้หมดสิ้น จนไม่ก่อปัญหาในการดำรงชีวิตของไก่และกุ้ง ทำให้มีการเจริญเติบโตอ้วนท้วนสมบูรณ์จับขายได้เร็ว


ดังนั้นถ้าจะนำมาจับสารพิษในดินที่ปลูกพืช ก็สามารถนำกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟเหล่านี้มาใช้ได้ด้วยเหมือนกัน หินแร่ภูเขาไฟที่ใช้ในการเกษตรส่วนใหญ่ก็คือ ภูไมท์, ภูไมท์ซัลเฟต, สเม็คไทต์ และไคลน็อพติโลไลท์ ตัวที่มีความสามารถจับสารพิษได้ดีที่สุดก็จะเป็น ไคลน็อพติโลไลท์ เพราะมีค่าความสามารถในการจับหรือแลกเปลี่ยนแประจุบวกมากที่สุด (C.E.C. = Catch Ion Exchange Capacity) คือมีถึง 220 meq/100g ขึ้นไป เมื่อถูกใส่ลงไปในดินแล้วทำการลูบเทือก (นาข้าว) ไถกลบ ยกแปลง คลุกเคล้า พรวนดิน รดน้ำ (พืชผักพืชไร่) เขาก็จะทำหน้าที่ในการช่วยทำลายสารพิษที่ตกค้างในดิน ไม่ให้เป็นอันตรายต่อรากพืช ทำให้การเจริญเติบโตของ ข้าว อ้อย ปาล์ม มันสำปะหลัง ยางพารา ฯลฯ ดีขึ้น ไม่แคระแกร็น ชะงักงัน ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ย ไม่ต้องใช้ปุ๋ยมาก ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณในการซื้อปุ๋ยและฮอร์โมน ในการนำมาบำรุงที่ปลายเหตุเหมือนเมื่อก่อน เพราะดินที่ปลอดสารพิษตกค้าง จะมีจุลินทรีย์ดีมีประโยชน์อีกทั้งไส้เดือนจากธรรมชาติเข้ามาอยู่อาศัยทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ระบายถ่ายเทน้ำดี รากออกหาอาหารได้ไกล สมาชิกหรือเกษตรกรท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อเข้ามาที่ 081-313-7559 นะครับ หรือจะฝากข้อความไว้กับเจ้าหน้าที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่ 0-2986-1680- 2 ก็ได้เช่นเดียวกันครับ


มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com



Create Date : 07 กันยายน 2552
Last Update : 7 กันยายน 2552 16:44:59 น. 4 comments
Counter : 6206 Pageviews.  

 
ขอบคุณที่เอามาฝากนะคะ


โดย: แม่น้องกะบูน วันที่: 8 กันยายน 2552 เวลา:12:50:26 น.  

 
ต้องการใช้ไคลนอพล์จำนวนมากจะหาซื้อของแท้ๆได้ที่ไหนและราคากิโลละเท่าไหร่


โดย: ชุณยภักดิ์ IP: 202.149.25.197 วันที่: 13 กันยายน 2552 เวลา:13:50:08 น.  

 
ติดต่อไปที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-986-1680 -2 ราคาขายปลีกชนิดผง ขนาดบรรจุ 10 กิโลกรัม กระสอบละ 160 บาท ชนิดเม็ด กระสอบละ 180 บาท


โดย: มนตรี บุญจรัส IP: 61.90.33.135 วันที่: 20 กันยายน 2552 เวลา:13:12:00 น.  

 
ยาฆ่าหญ้า ยาดูดซึม ยาฆ่าแมง ที่ฉีดก้นจะตกค้างในดินนานกี่ปีครับ แล้วรากของไม้ผล จะดูดสารตกค้างนั้นมาสะสมไว้ที่ผลไหมครับ และยาฆ่าแมลงที่ฉีดป้องกันผลไม้หรือ ใบไม้ เช่นมะกูด จะตกค่างในไม้ผล ในใบไม่นั่นไหมครีบ


โดย: เอ็ม IP: 110.171.63.132 วันที่: 30 สิงหาคม 2557 เวลา:0:24:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]