นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ฮอร์โมนไข่ ทำง่ายใช้ทดแทน แพคโคลบิวทราโซนและโพแทสเซียมคลอเรท

ได้มีโอกาสนำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องฮอร์โมนไข่ไปส่งเสริมให้เกษตรกรได้ใช้ในการเกษตรตั้งแต่ปี2545 จากคำแนะนำของท่านอาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยะประภา ซึ่งเป็นกัลยาณมิตรต่างวัยของท่านอาจารย์ดีพร้อมไชยวงศ์เกียรติ โดยทั้งสองท่านได้มีโอกาสประสบพบเจอกันในกิจกรรมทางพุทธศาสนาผมไม่แน่ใจว่าในแง่วิปัสนากรรมฐานหรือกิจกรรมด้านอื่นๆแห่งพุทธพีธีเพราะท่านอาจารย์ดีพร้อมได้เคยบอกไว้นานหลายปีถ้ามีโอกาสอาจจะต้องสอบถามท่านอาจารย์สุวัฒน์อีกครั้งให้หายคลายสงสัยเป็นแน่แท้ ส่วนจะถามท่านอาจารย์ดีพร้อมนั้นคงหาได้ไม่เพราะท่านได้จากพวกเราไปตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2551 โน่น โดยส่วนใหญ่ท่านอาจารย์สุวัฒน์จะให้เกียรติเรียกท่านอาจารย์ดีพร้อมว่า...”อาจารย์”และให้ลูกศิษย์ลูกหาของท่านเรียกท่านอาจารย์ดีพร้อมว่าอาจารย์ใหญ่อีกทีหนึ่งนี่ก็เป็นวัฒนธรรมสืบสานประเพณีที่ดีงามที่ลูกศิษย์ลูกหารุ่นต่อๆมาก็ยังให้ความเคารพนพนอบต่ออาจารย์ทั้งสองท่านอยู่ตลอดเวลาเพราะถือว่าทั้งสองท่านนั้นมีวิชาความรู้คุณูปการที่มอบให้แด่พี่น้องเกษตรกรไทยทั้งใหม่เก่าอยู่ตลอดเวลา

ฮอร์โมนไข่นั้นวัตถุประสงค์เริ่มต้นเพื่อบำรุงปรุงแต่งแร่ธาตุวิตามินสารอาหารให้แก่ต้นไม้ที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์อีกทั้งใช้ในการเปิดตาดอกเป็นสำคัญโดยเฉพาะพืชที่มีแต่ใบไร้เม็ดไร้ผลมาเป็นระยะเวลานานด้วยแล้วเมื่อนำฮอร์โมนไข่ไปราดรดในอัตรา 20 -30 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตรทุก 3 หรือ 7 วันไม่นานวันต้นที่เหงาเฉาดอกใบก็จะเริ่มมีช่ออั้นกั้นปริ่มที่ปลายยอดไม่ช้าไม่นานก็แทงดอกออกผลออกมาให้ผู้คนได้ยลชิมลิ้มรสสมปรารถนาเนื่องด้วยในอดีตเทคโนโลยีและนวัตกรรมยังไม่ก้าวหน้ามากนัก (20 -30 ปีที่แล้ว) พืชผักผลไม้แต่ละชนิดล้วนเกิดขึ้นได้ในแต่ละท้องถิ่นลำไย เงาะ ทุเรียน จะนำไปปลูกต่างถิ่นก็ให้มีอันเป็นได้แต่ใบ ไร้ผล (ผู้เขียนเคยเห็นคุณปู่นำลำไยจากเพื่อนที่ไปมาหาสู่นำมาปลูกที่บ้านก็มีแต่ใบไม่มีลูก)นำทุเรียน หรือส้มมาปลูกภาคกลาง (จังหวัดอ่าทอง สิงห์บุรี ขัยนาท)ก็ถือว่าเป็นเรื่องแปลกแหกความธรรมดาจึงน้อยนักที่ภาคกลางจะมีผลไม้อย่างอื่นๆเข้ามา นอกจากกระท้อน มะม่วง มะละกอ กล้วย อ้อย แห้ว ฯลฯ (ต้องขอออกตัวว่านี้เป็นเพียงความคิดเห็นอันคอดและแคบของผู้เขียนเพียงคนเดียวนะครับ)

ฉะนั้นการที่จะทำให้พืชไร่ไม้ผลเกิดลูกติดดอกนอกฤดูก็จะมีการนำสารเคมีนานาชนิดนำมาทดลองดัดแปลงแต่งเสริมให้เกิดผลลัพธ์กับสิ่งที่ตนเองต้องการโดยเฉพาะสารแพคโคลบิวทราโซน ที่ใช้ในมะม่วง และโพแทสเซียมคลอเรทในลำไยที่มักจะได้ยินชินกันทั่วในช่วงสิบกว่าปีมานี้ ทำให้สวนมะม่วงและสวนลำไยส่วนใหญ่ของประเทศที่ถูกมือปืนรับจ้างต่างถิ่นเข้ามาอาสาดูแลจัดการสวนฉีดยัดอัดแน่นสารเคมีต่างๆเหล่านี้ลงไปทั้งดิน น้ำ อากาศ ส่งผลทำให้มะม่วงและลำไยที่ได้รับสารแห่งการทรมานเหล่านี้ล้วนมีอาการคล้ายคนญวนครวญฝนเหลืองจากประเทศอเมริกาทิ้งบอมสารในกลุ่มChlorophenoxy herbicide ทำให้กิ่งก้านใบเหี่ยว ไหม้ หงิกงอ เจ้าของสวนเดิมจะกลับมาทำอีกก็หมดอาลัยตายอยากยากที่จะกู้ฟื้นคืนมาได้ จะเรียกร้องอะไรเสือปืนไวก็หลีกหนีไปไกลห่างแล้ว เพราะฉะนั้นทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษจึงพยายามที่จะชี้นำส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ฮอร์โมนไข่ทดแทนการใช้สารเคมีดังกล่าวและให้หันมาใช้ระบบการสร้างความสัมพันธุ์ของปริมาณ คาร์บอนและไนโตรเจน (C :N RATIO)ในสัดส่วนที่สมดุลเหมาะสมกับช่วงฤดูกาลมากกว่า เพราะไม่เป็นการทำลายระบบนิเวศน์และทรมานต้นไม้อีกด้วย

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreeangro.com




Create Date : 01 ตุลาคม 2555
Last Update : 1 ตุลาคม 2555 18:04:00 น. 2 comments
Counter : 7018 Pageviews.  

 
ยอดมาก


โดย: มากอิ่ม IP: 27.55.22.20 วันที่: 6 มิถุนายน 2558 เวลา:5:58:08 น.  

 
ออกจริงเหรอ ขอรูปหน่อยสิว่าออกจริง


โดย: เอ IP: 58.137.69.172 วันที่: 24 ตุลาคม 2560 เวลา:8:54:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]