นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงไม่ได้ผล พ่นปุ๋ยฮอร์โมนไม่ได้เรื่อง เพราะขาดการปรับสภาพน้ำ

การนำน้ำจากห้วยหนอง คลอง บึง หรือแม้กระทั่งน้ำจากระบบประปามาผสมกับสารเคมีต่างๆทั้ง ปุ๋ย ยา ฮอร์โมนเพื่อฉีดพ่นลงบนแปลงหรือบนต้นไม้เพื่อบำรุงรักษาป้องกันโรคและแมลง ส่วนใหญ่เกษตรกรก็จะทำกันตามแบบวิถีที่เรียบง่ายโดยตักขึ้นมาจากท้องร่องในแปลงแล้วนำมาผสมกับสารเคมีแล้วนำไปฉีดพ่นทันที ทำให้บางครั้งผลลัพธ์ที่ได้พืชไม่งาม โรคและแมลงไม่ตาย ใช้แล้วไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร จึงต้องมีการเพิ่มการแถมปริมาณเป็นสองหรือสามเท่าเป็นที่ชอบอกชอบใจของเหล่าร้านค้าหรือตัวแทนจำหน่ายบริษัทยา บรรดานักวิชาการก็ออกมาบอกปัญหาคุณโทษและความเหมาะสมว่าการใช้ควรจะถูกต้องตรงตามฝอยหรือฉลากข้างขวดไม่ควรที่จะแถมหรือเติมเพิ่มให้มากเกินความจำเป็นเพราะจะทำให้ต้นทุนสูงตามไปด้วย แต่ชาวบ้านที่ใช้ตามอัตราที่กำหนดก็ใช้ไม่ได้ผล จึงเป็นปัญหาที่สวนทางกันอยู่ตลอดเวลาและคิดว่าน่าจะถึงปัจจุบันนี้ด้วย

สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะน้ำที่นำมาฉีดพ่นนั้นอาจจะมีค่าความเป็นด่างสูงขาดการตรวจวัดและปรับสภาพให้เหมาะสมก่อนนำมาฉีดพ่น จึงส่งผลไปทำลายฤทธิ์ของปุ๋ยยาให้เสื่อมสภาพ วิธีการแถมหรือเพิ่มอัตราส่วนผสมเพิ่มขึ้นเป็นสองสามเท่านั้นก็เป็นวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของเกษตรที่ถูกต้องแต่อาจไม่เหมาะสม เพราะเป็นการนำยาหรือสารเคมีราคาแพงที่อยู่ในรูปของกรดไปปรับแก้น้ำที่เป็นด่าง อัตราในส่วนที่เพิ่มหรือแถมที่ใส่ลงไปในครั้งแรกจึงเป็นตัวที่ปรับน้ำและอัตราที่เติมลงไปครั้งหลังเป็นตัวที่ใช้ออกฤทธิ์ตามคุณสมบัติที่กำหนด ดังนั้นโดยส่วนตัวคิดว่าเกษตรกรมีความฉลาดมีองค์ความรู้ในความเป็นมืออาชีพที่ดีในการปรับแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์เพราะไม่มีใครเข้ามาแนะนำให้ใช้สารที่มีราคาประหยัดหรือถูกกว่าเพื่อใช้ในการปรับน้ำเสียก่อนที่จะเติมปุ๋ยยาและฮอร์โมน แต่ควรพิจารณาความเหมาะสมในเรื่องต้นทุน

น้ำที่เป็นด่างจะทำปฏิกิริยากับกรดจากปุ๋ยยาฮอร์โมน น้ำ+กรดได้เกลือบวกน้ำเปล่าเมื่อนำไปฉีดพ่นก็ไม่ได้ผล จึงทำให้พืชไม่งามโรคแมลงหรือวัชพืชไม่ตาย เมื่อไม่ตายก็ต้องเพิ่มต้องแถมปริมาณให้มากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาปัญหาสำเร็จลุล่วง ความจริงการแก้ปัญหาก็ไม่ยุงยากเพียงแต่หากรดมาปรับน้ำให้มีค่าที่เหมาะสมพร้อมต่อการละลายของสารเคมี แต่ความยากน่าจะอยู่ที่ว่าจะใช้กรดอะไรที่ปลอดภัย    ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้หรือเกษตรกรในขั้นตอนการผสมมิฉะนั้นเมื่อกระเด็นหรือหกราดรดผิวหนังหรือดวงตาก็จะมีความเจ็บปวดหรือทรมานไม่ต่างจากที่เราอาจจะเคยได้ยินได้ฟังเวลาเมียหลวงเมียน้อยทะเลาะแล้วสาดน้ำกรดใใส่กันตามสื่อต่างๆทั้งวิทยุ โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ กรดที่ปลอดภัยและหาง่ายไม่ห่างไกลครัวเรือนก็มีเยอะแยะพอสมควรอย่างเช่น มะม่วง, มะยม, ส้ม,  มะนาว, ตะลิงปลิง, มะขาม, น้ำส้มสายชู ฯลฯนำมาบีบคั้นปั่นเอาน้ำมาเติมก่อนที่จะเพิ่มปุ๋ย ยา ฮอร์โมน หรือบางคนที่ทำเป็นธุรกิจทำเป็นอาชีพมีปริมาณการใช้มากอาจจะไม่สะดวกจากวิธิการดังกล่าวก็สามารถใช้กรดที่สกัดมาจากสารธรรมชาติอย่างเช่นซิลิสิค แอซิดก็ได้ในอัตรา 2.5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร  (ซิลิสิค แอซิดหรือเรียกในชื่ออื่นว่า ซิลิก้า, ซิลิเกต,โมโนซิลิสิคแอซิด, ซิลิก้าอะมอฟัด เป็นองค์ประกอบอยู่ในหินแร่ภูเขาไฟ) ต้นทุนตกปิ๊ปละ 1บาทบางครั้งจะถูกกว่ามะนาวและน้ำส้มสายชูด้วยซ้ำ นำมาปรับน้ำให้ลงมาเป็นกรดอ่อนๆเสียก่อนแล้วจึงค่อยผสมเติมปุ๋ยยาจะช่วยเพิ่มและรักษาประสิทธิภาพนำไปใช้ได้ผลที่ชัดเจนไม่ต้องลังเลสงสัยว่ากำลังใช้ยาปลอมหรือยาคุณภาพต่ำอยู่หรือไม่ อีกทั้งเรายังจะได้ซิลิก้าจากกรดซิลิสิค แอซิดที่ทำให้ผนังของเซลล์พืชแข็งแรงสร้างภูมิต้านทานในการป้องเพลี้ย หนอน แมลง รา ไรไปในตัวแบบทูอินวันอีกด้วย สมาชิกและเกษตรกรท่านใดสนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อปรึกษาไปที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 0-2986-1680-2 หรือเว็ปไซด์ //www.thaigreenagro.com

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2555   
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2555 9:46:42 น.   
Counter : 4057 Pageviews.  

ให้ปุ๋ยต้นไม้จากภายใน ประหยัดและปลอดภัยกว่าการให้จากภายนอก

การทำกสิกรรมในยุคสมัยปัจจุบันดูเหมือนจะเป็นการแก่งแย่งแข่งขันการซื้อปุ๋ย ยา มาถมไร่ถมนาบำรุงรักษากันเต็มที่ ยี่ห้อดังๆไม่เคยพลาด ซื้อทุกยี่ห้อที่โฆษณา ใส่เกินอัตราที่กำหนด เพื่อหวังให้ได้ผลิตผลจากท้องทุ่งแปลงนา เพื่อคุ้มค่ากับการลงทุนด้วยน้ำพักน้ำแรงและหยาดเหงื่อ ใครมีใครบอกอะไรดีซื้อหมดทุกอย่างที่ขวางหน้า ที่เป็นเป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะเกษตรกรบ้านเรายังมีรายได้ต่อหัวค่อนข้างต่ำไปจนถึงติดลบ ส่วนใหญ่มักมีหนี้สินล้นพ้นตัวเสียด้วยซ้ำ จึงทำให้ระบบการคิดยังมีร่องรอยแห่งการขาดสติ มุ่งคำนึงเชิงปริมาณเพียงด้านเดียวขาดการเหลียวแลเรื่องคุณภาพ

ต้นไม้หรือพืชพรรณธัญญาหารโดยทั่วไป สามารถเจริญเติบโตได้โดยใช้สารอาหารภายในดิน ดินที่ชุ่มชื้นอิ่มเอมไปด้วยเศษไม้ใบหญ้าหรืออินทรีย์วัตถุในปริมาณสูง ยิ่งเป็นดินที่ไม่ผ่านการใช้ปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้าด้วยแล้วจะเป็นดินที่มีชีวิตเพราะอุดมไปด้วยจุลินทรีย์ทำหน้าที่สื่อสารแลกเปลี่ยนและย่อยสารอาหารระหว่างกัน ช่วยทำให้พืชเจริญเติบโตจากภายในยิ่งดินที่มีอินทรีย์วัตถุมากถึงห้าเปอร์เซ็นต์เหมือนกับแมกไม้ในป่าใหญ่ด้วยแล้วยิ่งไม่ต้องนำปุ๋ยหรือฮอร์โมนจากภายนอกมาเติมมาใส่ให้เสียสตางค์เลย พืชเขาจะเจริญเติบโตด้วยตนเอง สมบูรณ์และแข็งแรงตามธรรมชาติ 

การที่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงต้องซื้อหาปุ๋ยยามาใส่เป็นการดูแลบำรุงรักษาจากภายนอก โดยมุ่งหวังปริมาณด้านผลผลิตโดยอาจลืมนึกคิดไปว่าถ้ามีการดูแลรักษาปรับปรุงบำรุงดินอย่างสม่ำเสมอให้สมดุลย์กับการผลิตหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกให้เหมาะสมหยุดพักให้ดินมีเวลาหายใจหรือสะสมอาหาร เพราะปีหนึ่งๆเราทำนาทำไร่มากถึงสองหรือสามครั้งโดยเฉพาะภาคกลาง เราทำสวนมะม่วง มะนาว มังคุด ลองกอง ลำไย นอกจากผลผลิตตามช่วงฤดูกาลแล้วก็ยังจะต้องมีการทำนอกฤดู มีการนำผลผลิตออกไปเป็นตันๆ แต่(ดัน)ใส่อาหารกลับเข้ามาเป็นกิโล แล้วเมื่อไรจะสมดุลย์พอเหมาะพอดี เมื่อไม่พอเหมาะพอดีก็ต้องซื้อปุ๋ยยาเคมีอยู่ร่ำไปนั่น้อง การดูแลสร้างคลังอาหารให้พืชจากทางดินโดยการให้ความสำคัญกับอินทรีย์วัตถุและหมั่นปรับปรุงบำรุงดินจะเป็นการเตรียมอาหารให้พืชจากภายใน พืชสามารถดูดกินใช้ได้ตลอดเวลา อุดมจุลินทรีย์ ดินฉ่ำ น้ำชุ่ม อุ้มปุ๋ย ต้นทุนก็ลด ผลผลิตก็เพิ่มลองคิดทบทวนกันดูนะครับ

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ. //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 24 มกราคม 2555   
Last Update : 24 มกราคม 2555 7:39:15 น.   
Counter : 794 Pageviews.  

ตรวจวัดกรด-ด่างของดินก่อนทำนาปลูกข้าว ช่วยประหยัดต้นทุน เพิ่มผลผลิต

ข้าวจะเจริญเติบโตได้ดีให้ผลผลิตสูงได้จะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายๆด้าน ทั้งสภาพภูมิอากาศสายลม อุณหภูมิ แสงแดด สารอาหารธาตุหลักธาตุรอง ธาตุเสริมและธาตุพิิเศษ (ซิลิสิค แอซิด, ไคโตซาน) ซึ่งช่วยทำให้ข้าวเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ มีผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ถ้าเราปลูกข้าวแบบให้เทวดาเลี้ยงหรือใช้แต่ปุ๋ยเชิงเดี่ยว ใช้แต่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเพียงอย่างเดียวที่ให้ธาตุอาหารไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ ยังขาดแคลนฟอสฟอรัสโพแทสเซียมธาตุรองและธาตุเสริมที่มีความจำเป็นต่อข้าวไม่แพ้กันโดยพืชไม่สามารถขาดได้เหมือนอย่างกับธาตุพิเศษอย่างเช่นซิลิสิค แอซิดและไคโตซานที่พืชสามารถท่่ีจะมีหรือไม่มีก็ได้ในองค์ประกอบของเซลล์หรือในสรีระของพืชหรือต้นข้าว

แต่...ในบางครั้งสำหรับเกษตรกรที่เอาใจใส่ดูแลด้านแร่ธาตุสารอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ มีการเอาใจใส่ดูแลให้น้ำให้ปุ๋ยอย่างต่อเนื่องครบถ้วน แต่ต้นข้าวกลับมีเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปรกติไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น บางครั้งบางคราวเพ่ิมปุ๋ยให้มากกว่าปรกติเป็นหนึ่งหรือสองเท่าตัวต้นข้าวก็ยังไม่ตอบสนอง กลับให้ผลที่กลับตาลปัตรด้วยซ้ำคือออกอาการแคระแกร็น เตี้ยใบเหลือง เหมือนอาการของต้นข้าวที่ขาดปุ๋ยขาดสารอาหาร ไม่ว่าจะฉีดพ่นปุ๋ย. ยา ฮอร์โมนหรืออาหารเสริมทางใบแล้วก็ตาม

สาเหตุลักษณะอาการดังกล่าวส่วนใหญ่ถ้าไม่มีโรคแมลงรบกวนแล้วก็จะเป็นปัญหาในเรื่อง "ดิน" เป็นหลักคือสภาพของดินที่รองรับเมล็ดพันธุ์ รากและต้นข้าวมีความไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต โดยอาจะเป็นกรดหรือด่างจัดมากเกินไปไม่เหมาะสมต่อการละลายแร่ธาตุสารอาหารที่อยู่ในดิน ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม โดยปรกติเราจะทราบค่าความเป็นกรดและด่างของดินเบื้องต้นได้โดยการสังเกตุจากสภาพแวดล้อม เช่น การเจริญเติบโตที่ผิดปรกติของพืช ใบหรือยอดอ่อนมีอาการไหม้ น้ำที่ขังอยู่ตามท้องร่องหรือห้วย หนอง คลอง บึงมีลักษณะใสเป็นตาตั๊กแตน เนื้อดินชั้นล่างอาจจะมีสีเหลืองๆแดงๆเป็นจุดผสมอยู่แต่นั่นก็เป็นเพียงประมาณการ จะให้แน่ใจจริงๆก็ต้องทำการตรวจวัดด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มีทั้งอนาล็อกและดิจิตอลให้เลือกมากมาย แต่ขอแนะนำพี่น้องเกษตรกรชาวไร่ชาวนาที่มีการใช้งานอย่างสมบุกสมบัน ไม่ควรใช้แบบติจิตอลแบบนักวิจัยในห้องแลปห้องทดลองเพราะต้องหมั่นดูแลรักษาทำความสะอาดตั้งค่าอย่างสม่ำเสมอ ควรใช้แบบธรรมดาเป็นน้ำยาหยดทดสอบเทียบสี (ชุด Test. Kids) ก็เพียงพอ เหมาะสมประหยัดที่สุดแล้ว

ค่าการตรวจวัดจากตัวอย่างดินที่ได้เมื่อนำมาเทียบกับแผ่นเทียบสีซึ่งจะมีตัวเลขกำกับโดยตัวเลข7 จะแสดงค่าของดินที่อยู่ในระดับกลาง น้อยกว่า 7 เป็นกรด มากกว่า 7 ก็เป็นด่าง  ค่าที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชจะอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 ในสภาวะเป็นกรดอ่อนๆไม่ใช่ระดับกลางหรืออยู่ที่เลข 7 ดินที่มีค่าพีเอชเหมาะสมพืชจะดูดกินสารอาหารได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน ต้นจะสมบูรณ์แข็งแรงแบบธรรมชาติ แต่ถ้าดินเป็นกรดหรือด่างจัดดินจะจับตรึงฟอสฟอรัส สูญเสียไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว ละลายกลุ่มจุลธาตุพวกเหล็ก ทองแดง แมงกานีสออกมามากเกินไปจนเป็นพิษต่อใบพืช ดังนั้นท่านเกษตรกรชาวไร่ชาวนาที่ต้องการลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตควรทำการตรวจวัดกรดด่างของดินอย่างน้อยปีละครั้ง

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 18 มกราคม 2555   
Last Update : 18 มกราคม 2555 9:10:50 น.   
Counter : 883 Pageviews.  

สระน้ำประจำไร่นากักเก็บน้ำไม่ได้ใช้สารอุดบ่อ

เดี๋ยวน้ำท่วม เดี๋ยวฝนแล้ง เราผ่านพบประสบการณ์แบบนี้อยู่เรื่อยๆเป็นประจำจนเคยชิน แต่ปีนี้รู้สึกว่าน้ำจะมากกว่าปรกติจนส่งผลทำให้พืชไร่ไม้ผลเสียหายค่อนข้างมากจากภาวะน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ส่งผลให้รากขาดอ๊อกซิเจนและอ่อนแอไม่ควรเข้าไปเหยียบย่ำซ้ำเติมบริเวณรากหรือใต้ทรงพุ่มหลังน้ำลดใหม่ๆ เพราะดินยังนิ่มรากยังไม่แข็งแรงเสี่ยงต่อการตายสูง พืชที่ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมจะตายเป็นจำนวนมากส่งผลให้ปีหน้าฟ้าใหม่หลังจากวิกฤติมหาอุทกภัยปีที่แล้ว(พุทธศักราช 2554) ตลาดเกษตรพืชผักผลไม้บางชนิดจะมีโอกาสได้ราคาที่สูงขึ้น

หลังจากน้ำลดได้ไม่นานเราก็ได้ยินข่าวประกาศเขตภัยแล้งตามมาแบบติดๆทางภาคเหนือและภาคกลางตอนบนสลับกับข่าวน้ำท่วมภาคใต้(นี่คงเป็นสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในยุคศตวรรษที่20 ที่พวกเราทุกคนจะต้องผ่านพบประสบเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้) ในมุมของความแห้งแล้งดินเริ่มแตกระแหงพืชไร่ไม้ผลเริ่มแสดงอาการขาดน้ำเหี่ยวเฉา ผู้ที่มีการตระเตรียมวางแผนมีสระน้ำประจำไร่นา, มีบ่อตอกบ่อบาดาลหรือมีการวางระบบการให้น้ำเป็นอย่างดีคงจะเดือดร้อนไม่มาก แต่สำหรับเกษตรกรทั่วไปที่อาศัยสระน้ำประจำไร่นาเพียงอย่างเดียวจะต้องดูแลรักษาให้กักเก็บน้ำได้อย่างสมบูรณ์อยู่เสมอ

ควรมีการใช้สารอุดบ่อ (โพลิเอคริลามายด์) จำนวน2กิโลกรัม ร่วมกับสเม็คไทต์(หินแร่ภูเขาไฟ)จำนวน100 กิโลกรัมผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันนำไปโรยให้ทั่วพื้นบ่อและด้านข้างรอบบ่อทั้งสี่ด้าน ถ้าเป็นบ่อขุดใหม่ควรทำการบดอัดด้วยรถแทรกเตอร์หรือจะใช้แรงงานคนโดยใช้สามเกลอบดกระแทกให้พื้นเรียบแน่นก่อนโรยสารอุดบ่อก็จะช่วยให้ประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำดียิ่งขึ้นหลังจากนั้นนำมูลสัตว์ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหว่านโรยทับอีกครั้งเพื่อสร้างเมือกธรรมชาติ (Bio Slam) ให้ช่วยอุดรอยรั่วอีกแรงก็จะช่วยให้เรามีสระกักเก็บน้ำประจำไร่นาแบบพอเพียง(เมื่อเทียบกับการปูด้วยผ้าพลาสติคพีอีก็ต่างกันเป็นแสนเป็นล้านบาท) สนใจข้อมูลเพ่ิมเติมติดต่อไปที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 0-2986-1680-2 //www.thaigreenagro.com

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 17 มกราคม 2555   
Last Update : 17 มกราคม 2555 7:00:11 น.   
Counter : 871 Pageviews.  

ดินเปรี้ยว ควรปรับปรุงแก้ไขก่อนปลูกพืช

บางคนอาจจะงุนงงสงสัย ว่าดินเปรี้ยวคืออะไร มีลักษณะอาการเป็นอย่างไร มีผลอย่างไรต่อการปลูกพืช ดินเปรี้ยวหรือดินกรดจัด ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของดินเหนียวที่มีกรดกำมะถันอยู่มากในชั้นดิน โดยชั้นดินที่ลึกลงไปประมาณฟุตหรือประมาณสองหน้าจอบจะสังเกตุเห็นมีจุดสีเหลือง สีน้ำตาล พืชที่ปลูกบนพื้นที่ดินเปรี้ยวจะมีการเจริญเติบโตช้า สภาพต้นจะเตี้ยแคระแกร็น ใบไหม้ ไม่ตอบสนองต่อการใส่่ปุ๋ย ผลผลิตถดถอย อ่อนแอต่อโรคและแมลง สภาพดินโดยรวมจะแน่นแข็งเนื่องจากโครงสร้างทางด้านระบบนิเวศน์ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของจุลิทรีย์ ขาดสิ่งมีชีวิตเข้ามาทำกิจกรรมหนุนเนื่อง ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตแบบแร้นแค้น

ดินเปรี้ยว ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นระยะเวลานานและสาเหตุทั่วไปเกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำกร่อยหรือซากของอินทรียวัตถุที่ทับถมกันเป็นเวลายาวนาน ซึ่งส่วนใหญ่เปนบริเวณที่เคยไดรับอิทธิพลจากน้ำทะเลทวม ถึงมากอน (เชน บริเวณที่เคยเป็นปาชายเลน และบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำใหญๆ ) โดยจุลินทรียในดิน จะเปล่ียนสารประกอบพวกกำมะถันในน้ำทะเลใหเปนแรไพไรท (สารประกอบของเหล็กและกำมะถัน ) สะสม อยูในสภาพนํ้าขังต่อมาเมื่อฝั่งทะเลยื่นออกไปเรื่อยๆ และถ้ามีการระบายน้ำออกไปจนทำให้ดินแห้ง ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี แรไพไรทจะถูกเปลี่ยนแปลงไป ในที่สุดจะไดกรดกำมะถันซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ดิน้ป็นกรดจัดและมักจะพบสารประกอบของเหล็กที่สําคัญตัวหนึ่งคือ "จาโรไซท"ที่มีสีเหลืองคลายฟางขาว ซึ่งเราใช้เป็นสิ่งสังเกตุลักษณะของดินเปรี้ยว หรือจะสังเกตุอีกวิธีหนึ่งจากตัวเลขที่ใช้น้ำยาตรวจและเทียบสี(Test Kids) โดยค่าที่อยู่ตรงเลข7คือเป็นกลาง มากกว่า 7 เป็นด่าง น้อยกว่า 7 เป็นกรดยิ่งมีค่าน้อยมากเท่าไดก็เป็นกรดมากขึ้นเท่านั้น

พืชมักจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะดินที่เป็นกลางหรือกรดอ่อนๆ คือดีที่สุดควรมีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 5.8 -  6.3 ซึ่งจะช่วยทำให้แร่ธาตุและสารอาหารต่างๆที่สะสมอยู่ในดินละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชหรือช่วยให้รากพืชหาอาหารดูดกินได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ถ้าปล่อยปละละเลยไม่มีการตรวจวัดค่าความเป็นกรดหรือด่างของดินก่อนปลูกก็จะเกิดความเสี่ยงสูงเมื่อปลูกบนพื้นที่ที่เป็นดินเปรี้ยวเพราะจะทำให้พืชเจริญเติบโตช้า ฟอสฟอรัสจะถูกจับตรึง รากสั้นหาอาหารได้ไม่ไกล สารอาหารในกลุ่มเหล็ก ทองแดงละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืช ไนโตรเจนถูกปลดปล่อยสูญเสียไปโดยง่าย วิธีการแก้ไขควรใช้กลุ่มของวัสดุปูนอย่างเช่น ปูนเปลือกหอย ปูนมาร์ล ปูนเผา ปูนขาว โดโลไมท์ ฟอสเฟต (ปูนดีและมีประโยชน์เมื่อดินเปรี้ยวหรือเมื่อพืชขาดแคลเซียม แต่ปูนไม่มีซิลก้า, ไม่มีความสามารถในการจับตรึงปุ๋ยให้เป็นปุ๋ยละลายช้า จึงไม่ควรใช้อย่างพร่ำเพรื่อ) โดยค่อยๆใส่ทีละน้อยก่อนโดยสังเกตุเปรียบเทียบจากค่าพีเอชเป็นหลัก ไม่ต้องใส่ทีเดียวมากเกินไป เดี๋ยวจะกลายเป็นสะเทิ้นด่างแทนแล้วจะแก้ยากกว่าเดิมเข้าไปอีก ใช้วิธีการใ่ส่น้อยแต่ใส่บ่อยๆจะดีกว่า

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ. //www..thaigreenagro.com




 

Create Date : 11 มกราคม 2555   
Last Update : 11 มกราคม 2555 7:30:06 น.   
Counter : 4891 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]