นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

สารอุ้มน้ำ “ โพลิเมอร์” ใช้แก้ปัญหากล้าไม้ปลูกใหม่ตายเพราะขาดน้ำ

ในช่วงที่ฤดูฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล หรือตกไม่ตรงตามความต้องการของพื้นที่ พื้นที่ในเมืองหลวงฝนตกลงมาอย่างมากมาย แต่คนในท้องที่กลับไม่ต้องการ แต่พื้นที่ที่อยู่ในแหล่งเกษตรกรรมนาน ๆ ฝนจะตกลงมาสักครั้งหนึ่ง หรือตกลงมาก็มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้นต่างๆ ให้อยู่รอดหรือให้เพียงพอต่อการเลี้ยงดอก ออกผลก็หาไม่ ทำให้มักเกิดความเสียหายแก่ผู้ทำอาชีพกสิกรรมกันอยู่เนือง ๆ

เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นเล่า ถ้ามิได้เกิดจากความมักง่าย ความโลภ จากน้ำมือของมนุษย์เราด้วยกันเอง เช่น ตัดและทำลายป่าไม้ต้นใหญ่ ๆ เพียงเพื่อให้ได้เฟอร์นิเจอร์ไว้ประดับอาคารสถานที่ต่างๆ ถางป่าทำไร่เลื่อนลอย เผาฟางและซังข้าว เพื่อให้มีความรวดเร็วในการผลิตในครั้งต่อ ๆ ไป ใช้เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ กันอย่างมากมาย ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนปล่อยก๊าซที่เป็นของเสียขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศและนำมาซึ่งปัญหาโลกร้อนที่มนุษย์ตัวกระจ้อยร่อยใต้พื้นฟ้าบ่นกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่มิเคยสนใจใยดีที่จะแก้ปัญหากันอย่างจริงจัง

จึงเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่นำมาซึ่งความผิดเพื้ยนของธรรมชาติ ทำให้ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล และส่งผลกระทบมาถึงประชากรในประเทศไทยที่ประกอบอาชีพกสิกรรมด้วยเหมือนกัน ดังนั้นจึงต้องตระหนักและคำนึงถึงปัญหานี้กันไว้บ้างก็ดี จะได้มีความรู้ ความเข้าใจ มีความคิดในการที่จะแก้ปัญหาทั้งส่วนรวมและตนเองได้อย่างทันท่วงที

ปัญหาที่เราจะพบได้โดยตรง ในช่วงที่ฝนน้อยหรือไม่ตกต้องตามฤดูกาล คือปัญหาการขาดน้ำของพืชผัก ไม้ผล ที่เราได้ลงมือลงแรงปลูกกล้า ปักดำลงในแปลง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา แรงงาน และต้นทุนลงไปอย่างเหลือคณานับ แต่กลับไม่ได้รับผลิตผลที่พึงพอใจ มิหนำซ้ำยังสูญเสียต้นพันธุ์ซึ่งนั่นคือการหมายถึงต้องจัดเตรียมหาเงินหาทุนเพื่อมาซื้อต้นพันธุ์ใหม่อีก ทำให้ต้องเป็นหนี้เป็นสินและสูญเสียไปอย่างมิควรจะเสีย

การรองก้นหลุมปลูกเมื่อขุดหลุมแล้วใช้ภูไมท์ซัลเฟต 1 - 2 กำมือร่วมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเศษ 2 ส่วน 3 ของความลึกหลุมแหวกให้เป็นรูปกรวยหงาย นำโพลิเมอร์ ประมาณ 1 – 2 ลิตร (ขึ้นอยู่กับความสามารถของกำลังซื้อและรายได้ของราคาผลผลิตรวมต่อไร่ว่ามีความคุ้มทุนหรือไม่) แล้วนำตุ้มรากพร้อมดินของต้นกล้าวางทับลงไปด้านบน จะช่วยทำให้ไม่กล้าไม่ขาดน้ำและมีอัตราการรอด สูง

โพลิเมอร์ 1 กิโลกรัม เมื่อนำมาใส่ตุ่มหรือแช่น้ำในถัง 200 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 3 – 6 ชั่วโมง (หรือจะทิ้งไว้หนื่งคืนก็ได้ ตอนเช้าจึงค่อยนำมาเป็นวัสดุช่วยปลูก) ก็สามารถที่จะดูดซับน้ำเข้าไปในตัวพองขยายได้ถึง 200 เท่า ทำให้เป็นแหล่งกักเก็บให้แก่พืชของเราได้เป็นอย่างดีและยาวนาน เพราะไม่สูญเสียไหลต่ำเลยลงไปในชั้นใต้ดินเกินระดับที่รากของต้นไม้ต้นเล็ก ๆ จะสามารถที่จะดูดกินได้ เมื่อต้นไม้ดูดน้ำจากโพลิเมอร์ออกไปจนหมด เมื่อฝนตกลงมาหรือมีการเติมน้ำซ้ำลงไป ใหม่ ก็จะดูดซึมเอาน้ำเข้าไปและพองตัวได้อีก และสามารถที่จะอยู่ยาวนานได้เกือบถึงหนึ่งปี ซึ่งก็เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าที่นำมาลงปลูกใหม่ ทำให้ไม่สิ้นเปลืองต้นทุนในการซ่อมต้นกล้าเหมือนดังแต่ก่อนซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่า



มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 14:01:20 น.   
Counter : 1010 Pageviews.  

เตรียมรับมือกับปัญหาภัยแล้ง

เมื่อหมดฤดูฝน ก็จะย่างเข้าสู่ฤดูหนาว เมื่อผ่านพ้นฤดูหนาว ก็จะเข้าสู่ฤดูร้อน ในระหว่างฤดูหนาวและฤดูร้อนนี้เอง ถ้าความชื้นในอากาศมีน้อยและปริมาณน้ำฝนในในแหล่งกักเก็บน้ำต่างๆ ของประเทศเรา มีการเก็บสะสมน้ำไว้ไม่มากพอก็จะทำให้น้ำในดินและที่ผิวดินจะถูกแสงแดดทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นและค่อย ๆ ระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศทำให้ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ ลดน้อยลงไป จนเป็นสาเหตุทำให้เกษตรกรอาจจะขาดแหล่งน้ำในการนำมาใช้ในการผลิตพืชผลทางการเกษตร ต้นไม้ใบหญ้าก็จะดูเหลือง แห้ง เหี่ยวเฉา ไม่เขียวขจีเหมือนดังแต่ก่อน ทำให้มนุษย์เรามีความรู้สึกไม่เย็นกาย สบายตา เหมือนในช่วงฤดูฝน ต้นไม้ใหญ่ ๆ ที่มีอายุหลายสิบปีก็จะยังคงพอมีรากที่ใหญ่ ยาว และลึก สามารถที่จะหาแหล่งน้ำใต้ดินได้นำมาประทังชีวิตได้อย่างพอเพียง แต่ถ้าเป็นต้นเล็กๆ ก็อาจจะมีสภาพขาดน้ำ ใบแห้งเหี่ยว ผลผลิตร่วงหล่น และถ้าปล่อยให้ขาดน้ำนานๆ เข้า ก็อาจจะทำให้ถึงแก่ความตายได้เช่นกัน สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชผักไม้ผลไว้แล้ว ในช่วงนี้ก็จะต้องเตรียมพร้อมและวางแผนไว้อย่างดี มิฉะนั้นก็จะทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายได้ แต่ถ้ามีการเตรียมพร้อมรับมืออย่างดีแล้วก็จะทำให้ปัญหาทั้งหลายเปลี่ยนจากหนักกลายเป็นเบาลงได้ การเตรียมการในระยะยาวควรขุดสระน้ำประจำไร่นาไว้ ประมาณ 30 % ของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อให้มีพื้นที่ไว้สำหรับกักเก็บน้ำในหน้าฝนไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งอย่างเพียงพอ หรืออาจจะปลูกพืชที่มีความสามารถในการทนแล้งได้นาน ๆ สำหรับพื้นที่ทีห่างไกลแหล่งชลประทาน บางท่านอาจจะใช้ สารอุ้มน้ำ โพลิเมอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับและอุ้มน้ำไว้ได้มากถึง 200 เท่าของน้ำหนักตัว คือถ้าใช้ โพลิเมอร์ 1 กิโลกรัม แล้วนำมาแช่น้ำในถัง 200 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 5 – 6 ชั่วโมง หรือถ้าไม่รีบร้อนมากนักก็อาจจะแช่ไว้สักหนึ่งคืน แล้วเจ้าโพลิเมอร์เขาก็จะดูดน้ำเข้าไปแล้วพองตัวออกมาได้จนเต็มถังขนาด 200 ลิตร คือเขาสามารถที่จะพองและขยายตัวเองขึ้นมาได้ถึง 200 เท่า ทำให้สามารถที่จะนำไปใช้ในการปลูกไม้ป่า ไม้ยืนต้นทั้งหลายได้เป็นอย่างดี โดยสารอุ้มน้ำโพลิเมอร์สามารถที่จะช่วยทำให้มีโอกาสในการสูญเสียต้นกล้าน้อยลงไปมากถึง 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ จึงทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อต้นพันธุ์มาซ่อมใหม่ได้มากในยุคที่ปุ๋ย ยา แพง ในกรณีที่ปลูกพืชไว้แล้ว ก็สามารถที่จะใช้โพลิเมอร์ที่พองตัวเต็มที่แล้วนำมาใส่ไว้ใต้ทรงพุ่มด้านใดด้านหนึ่งได้ โดยการขุดหลุมกว้าง และยาวขึ้นอยู่กับขนาดของลำต้นเช่นถ้าต้นไม้ใหญ่ก็ขุดหลุมให้กว้างและลึกหน่อย โดยอาจจะสังเกตพฤติกรรมการใช้น้ำของพืชเป็นองค์ประกอบด้วย โดยในที่นี้จะสมมติว่าต้นที่มีทรงพุ่มและสูงประมาณ 5-6 เมตร เราก็อาจจะขุดหลุมไว้ใต้ทรงพุ่มด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ต้องขุดรอบทรงพุ่มนะครับเดี๋ยวจะไปทำลายรากที่หาอาหารเสียหมด ให้ขุดเพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น อาจจะประมาณ 50 x 50 x 50 ก็ได้ แล้วนำโพลิเมอร์ที่พองตัวแล้วใส่ลงไป แล้วนำดินและเศษไม้ใบหญ้ากลบทับ เพื่อบรรเทาความร้อนจากแสงแดดที่จะเข้ามาแผดเผาทำให้น้ำจากโพลิเมอร์สูญเสียไปเร็วว่าปรกติ วิธีการดังนี้สามารถที่จะทำให้พืชสามารถที่จะมีน้ำไว้ใช้และมีอายุยืนยาวออกไปได้นานนับเดือน หรืออาจจะหลาย ๆ เดือนขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิในท้องถิ่นนั้นด้วย แต่จะต้องทำการสังเกตโพลิเมอร์ที่อยู่ในหลุมนั้นว่าจะถูกพืชดูดน้ำขึ้นไปใช้มากน้อยเพียงใด ถ้าดินยุบลงไปจนถึงก้นหลุมก็แสดงว่าพืชนำน้ำไปใช้จนเกือบจะหมด ดังนั้นก็ให้รีบทำการเติมน้ำเข้าไปแทนที่จึงทำให้เราประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการรดน้ำลงไปค่อนข้างมาก และที่สำคัญคือต้นไม้ของเราจะสามารถที่จะอยู่รอดได้จนพ้นฤดูแล้งนั้น ๆ



มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 14:00:42 น.   
Counter : 777 Pageviews.  

แก้ปัญหาอย่างไร? เมื่อเจอกับสภาพดินแน่นแข็ง น้ำขัง รากไม่เดิน ต้นไม่โต

สภาพพื้นดินของเกษตรกรที่มีสภาพเป็นดินดาน แน่นแข็ง น้ำไหลซึมผ่านได้ยาก จะทำให้พืชมีการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า ต้นแคระแกรน ใบเหลือง รากไม่สามารถออกไปหากินได้ไกล ๆ และทำให้พืชอ่อนแอต่อโรคและแมลงได้ง่าย และในการที่น้ำท่วมขังนาน ๆ อาจจะก่อให้เกิดปัญหารากของพืชขาดอากาศหายใจ และนำมาซึ่งสาเหตุที่ทำให้เชื้อราโรคพืชเข้ามาทำลาย ก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องรากเน่าโคนเน่าอันเป็นสาเหตุที่ทำให้พืชผักไม้ผลของพี่น้องเกษตรกรเสียหายหรือตายได้

ในกรณีที่ดินของเราแน่นแข็งในเบื้องต้นอาจจะต้องแก้ไขด้วยการปรับปรุงสภาพดินให้มีโครงสร้างของดินที่ดีเสียก่อนโดยการเติมอินทรียวัตถุเพิ่มลงไปในดินให้เพียงพอเสียก่อน เช่น การใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกที่ได้จากธรรมชาติ คือมูลสัตว์ที่ได้จากการเลี้ยงเป็ด ไก่ ห่าน ช้าง ม้า วัว ควาย ที่มีอยู่ในหมู่บ้านของเรา หรือถ้าจะซื้อ ก็ควรพิจารณาให้ดีเสียก่อนไม่ควรจะซื้อในราคาที่แพงมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เป็นการสิ้นเปลืองเงินทุนโดยใช่เหตุ เพราะปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ก็คือปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ไม่จำเป็นจะต้องดีเลิศมากนักเหมือนกับที่เขาโฆษณาขายกันทั่วไปว่าปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพของเขามีเปอร์เซ็นต์ปุ๋ยสูงอย่างนั้น อย่างนี้ แต่จริง ๆ อาจจะนำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกไปผสมกับปุ๋ยเคมีก็เป็นได้ ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นและเกษตรกรก็จะเป็นผู้แบกภาระ แต่ถ้าเราใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกแบบธรรมดาสามัญทั่วไป แล้วนำปุ๋ยเคมี มาผสมเพิ่มเติมเพื่อให้พืชของเราได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ก็ใช้ได้เหมือนกันและเปอร์เซ็นต์ของปุ๋ยก็มากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ที่นำไปผสมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกแล้วนำไปผ่านกระบวนการปั้นแล้วนำมาผึ่งลมให้แห้ง ซึ่งเปอร์เซ็นต์ของปุ๋ยที่มีอยู่อาจจะสูญเสียไปในกระบวนการผลิตนี้ก็เป็นได้ แต่ราคายังคงสูงอยู่เหมือนเดิม เกษตรกรต้องพิจารณาให้รอบคอบ

ทำการตรวจวัดสภาพความเป็นกรดและด่างของดินอยู่เสมอ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพือจะได้ทำให้ดินของเราเป็นดินที่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ย คือใส่ปุ๋ยลงไปแล้วพืชสามารถที่จะนำไปใช้ได้ทันที มิใช่ว่าใส่ปุ๋ยลงไปแล้ว ถูกจับ ยึด ตรึงโดยดินที่มีสภาพเป็นกรดจัด หรือ ด่างจัด ทำให้พืชไม่สามารถที่จะกินปุ๋ยได้ ทำให้การเจริญเติบโตก็ช้าลงตามไปด้วย

แต่ถ้าเราต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยทำการระเบิดหน้าดินลงไปอย่างรวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ เพื่อมิให้พืชของเราอ่อนแอเสี่ยงต่อการเกิดโรค และผลผลิตลดน้อย ถอยลง พี่น้องเกษตรกรก็สามารถที่จะใช้ สารละลายดินดาน ALS 29 30 -50 ซี.ซี.ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นหรือราดรดรอบทรงพุ่ม ก่อนใช้ควรทำการราดรดน้ำรอบทรงพุ่มให้เปียกชุ่มโชกเสียก่อน เพื่อให้ดินนั้นฉ่ำไปด้วย หลังจากนั้นจึงค่อยราดรด สารละลายดินดาน ALS 29 ตามอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้น้ำเป็นตัวนำสารลงไปให้ระเบิดดินดานชั้นล่างให้ลึกมากที่สุด หรือจะใช้หลังฝนตกใหม่ ๆ ก็จะเป็นการดีอย่างยิ่ง

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (www.thaigreenagro.com)




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 13:59:58 น.   
Counter : 17760 Pageviews.  

ปรับสภาพน้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ ก่อนเติมยา ปุ๋ยเกร็ดหรือฮอร์โมน

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งมีชิวิตอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืช มีการนำ “น้ำ” เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมากมาย ตั้งแต่เริ่มต้นปลูกก็ต้องรดน้ำ และรดไปเรื่อย ๆ จนกว่าต้นจะโตสมบูรณ์และเก็บเกี่ยวผลผลผลิตได้ หรืออาจจะเลิกรดเมื่อต้นเขาสูงใหญ่และรากสามารถที่จะเจริญเติบโตหาอาหารไปได้ไกล ๆ จนสามารถหาแหล่งน้ำได้เอง เจ้าของจึงไม่ต้องมาคอยรดให้อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าเข้าหน้าแล้งก็มิอาจที่จะนิ่งดูดายอยู่ได้ ในพื้นที่ที่แห้งแล้งเจ้าของก็อาจจะต้องนำน้ำมารดให้เหมือนเดิม ถึงแม้ว่าต้นจะสูงใหญ่แล้วก็ตาม

นอกจากเราจะใช้น้ำรดต้นไม้เพื่อให้ความชุ่มชื้นและละลายสารอาหารในดินแล้ว เรายังคงใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ปุ๋ย ยา และอาหารทางใบให้แก่เขาอีกทางหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องพิถีพิถันในการปรับปรุงสภาพน้ำก่อนที่จะผสมกับ ปุ๋ย ยา และฮอร์โมนต่างๆ มิฉะนั้นพืชอาจจะมิได้รับสารอาหารตามที่ต้องการหรือตามที่เราใส่เข้าไป เพราะน้ำกระด้าง เป็นด่าง จะมีคุณสมบัติในการทำลายฤทธิ์ของปุ๋ย ยา และฮอร์โมน ให้เสื่อมสลายหายไปบางส่วน (Alkaline Hydrolysis) ทำให้เราสิ้นเปลืองต้นทุนปุ๋ยยาเพิ่มขึ้นเพราะพืชจะได้รับสารอาหารได้ไม่เต็มที่ ทำให้ต้องฉีดพ่นบ่อยขึ้น

น้ำที่เหมาะสมต่อการดูดซึมธาตุอาหารของพืชและเหมาะสมต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ย ยา และฮอร์โมน จะต้องอยู่ในสภาพวะของกรดอ่อนๆ คือมีค่าพีเอชอยู่ที่ 5.5 หลังจากที่ผสมปุ๋ยยาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นควรมีการตรวจเช็คค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำให้ดีเสียก่อนที่จะทำการผสมหรือฉีดพ่นปุ๋ย ยา และฮอร์โมน เพื่อป้องกันการทำลายฤทธิ์ยาให้เสียหายได้

เราสามารถที่จะใช้น้ำส้มสายชู มะนาว หรือกรดต่าง ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายรุนแรงต่อมนุษย์ มาใช้ในการปรับค่าพีเอชของน้ำก็ได้ แต่อาจจะพบกับปัญหาต้นทุนที่สูงอย่างเช่น ถ้าจะฉีดพ่นให้แก่พืชในพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งจะต้องใช้น้ำ 200 ลิตร หรือเป็น 1,000 ลิตรขึ้นไป ซึ่งอาจจะต้องใช้มะนาวหลายร้อยลูก หรือจะใช้น้ำส้มสายชูก็อาจจะใช้หลายสิบขวดซึ่งต้นทุนต่อปี๊ปก็ค่อนข้างจะสูง หรือจะใช้กรดอื่นๆ ที่เป็นอันตรายไม่รุนแรงแต่ชาวบ้านร้านตลาดทั่วไปก็อาจจะไม่ค่อยรู้จักหรือหาซื้อก็ยากลำบาก หรือไปซื้อกรดที่เป็นอันตรายรุนแรงมาใช้ก็อาจจะเป็นอันตรายแก่ตนเองและคนในครอบครัวได้ ดังนั้น จึงอยากจะแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของชมรมฯอีกอย่างหนึ่งทดแทนนั่นคือ ซิลิสิค แอซิด (//www.thaigreenagro.com/product/order.aspx?productID=95 ) เพราะอัตราการใช้ก็จะประหยัดกว่าการใช้กรดชนิดอื่นๆ เพราะใช้เพียง 2.5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และประโยชน์ที่เราจะได้รับเพิ่มเข้าไปให้แก่พืช โดยนอกจากจะได้ประโยชน์จากการปรับสภาพน้ำแล้วยังได้เรายังได้แร่ธาตุ ซิลิก้า หรือซิลิคอน ซึ่งจะช่วยทำให้ผิวเซลล์พืชแข็งแกร่ง ต้านทานโรค ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันพื้นฐานให้แก่พืชเพื่อลดการเกิดโรคได้เป็นอย่างดี

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (www.thaigreenagro.com)




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 13:55:33 น.   
Counter : 1412 Pageviews.  

ทำปุ๋ยละลายช้าใช้เอง เพื่อลดการสูญเสียในยุคที่ปุ๋ยแพง

ในช่วงที่ปุ๋ยแพง เกษตรกรควรใช้ปุ๋ยทุกเม็ดให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อที่จะทำให้ต้นไม้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ไม่เกิดการสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ปุ๋ยเคมีที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะมีองค์ประกอบอื่นๆ เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยไม่ใช่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวเติมเต็มหรือเกาะยึด ซึ่งนักวิชาการบางท่านอาจจะเรียกว่าตัว ฟิลเลอร์ (Filler) จึงทำให้เราสามารถที่จะรับรู้ได้ว่า ปุ๋ยหนึ่งกระสอบนั้น จะมิได้หมายถึงว่าจะต้องมีปุ๋ยจริงๆ อยู่เต็มจำนวนตามน้ำหนักข้างกระสอบนั้นจริงๆ

ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 นั้นหมายถึงมีเนื้อปุ๋ยอยู่เพียง 46 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักหรือร้อยละ 46 ของน้ำหนักข้างกระสอบ ดังนั้นถ้าปุ๋ยหนึ่งกระสอบหนัก 100 กก. ก็จะมีปุ๋ยอยู่ในกระสอบนั้น 46 กิโลกรัม แต่ถ้าเราเปรียบเทียบกับความเป็นจริงของน้ำหนักปุ๋ยในปัจจุบันส่วนมากจะมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัมต่อหนึ่งกระสอบ ดังนั้นภายในกระสอบก็จะมีปุ๋ยจริง ๆ เพียง 23 กิโลกรัมของน้ำหนักปุ๋ย 50 กิโลกรัม ฉะนั้นเมื่อเรานำปุ๋ยใส่ลงไปรอบ ๆ ทรงพุ่มของต้นไม้แล้วทำการรดน้ำ บางครั้งอาจจะยังมีกากหรือเศษปุ๋ยหลงเหลืออยู่ที่พื้นดิน โดยเกษตรกรยังคงเข้าใจผิดคิดว่าเนื้อปุ๋ยนั้นยังคงอยู่ที่พื้นดินนั้น ก็ถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดจริงๆ เพราะความจริงแล้วเนื้อปุ๋ยอาจจะละลายไปกับน้ำที่นำมารดตั้งนานแล้ว และบางส่วนก็อาจจะระเหยไปในอากาศตามความร้อนแรงของอุณหภูมิและแสงแดดที่ส่องเข้ามา หรืออีกทางหนึ่งก็อาจจะละลายไหลลึกลงไปในชั้นดินระดับลึกๆ ต่ำกว่าระดับรากของพืชที่จะดูดกินหรือนำมาใช้ได้

ดังนั้นเราควรนำหินแร่ภูเขาไฟซึ่งมีค่า C.E.C. (Catch-ion Exchange Capacity) หรือภาษาไทยของเราเรียกว่าค่าความสามารถในการยึดหรือจับตรึงประจุบวก อย่างเช่น ภูไมท์, สเม็คไทต์ และไคลน็อพติโลไลท์ โดยการนำมาผสมร่วมกับปุ๋ยเคมีได้ทุกสูตรในอัตราที่จำนวนของปุ๋ยเคมี 5 ส่วน และใช้ หินแร่ภูเขาไฟ 5 ส่วน หรือจะเทียบเป็นกระสอบก็ให้ใช้ ปุ๋ยเคมี 2 กระสอบ และใช้ภูไมท์ 1 กระสอบ ก็จะช่วยทำให้ปุ๋ยที่มีคุณสมบัติในการละลายและสลายตัวเองค่อนข้างเร็วก็จะถูกจับตรึงเข้าไปอยู่ในโครงสร้างของหินแร่ภูเขาไฟเหล่านี้ และถูกรากพืชค่อยๆ ดูดซับกินเข้าไปที่ละน้อย ๆ และต่อเนื่องอย่างพอดี ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ทำให้พืชไม่มีอาการเฝือใบ หรืออาการขาดสารอาหาร จึงช่วยทำให้เกษตรสามารถที่จะใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คุ้มค่าต่อเงินที่ซื้อมาทุกบาททุกสตางค์

ในยุคนี้อาจจะต้องหาตัวช่วยเกาะ ช่วยยึด หรือพันธมิตรกันไว้บ้างก็ดีนะครับ ถ้าอยู่หัวเดียวกระเทียมลีบอาจจะไม่ได้เป็นรัฐบาล เหมือนดังที่เราได้เห็นพรรคการเมืองบางพรรคเป็นอยู่ตอนนี้ก็ได้นะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 13:54:25 น.   
Counter : 2254 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]