นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

แก้ปัญหาดินดานแบบยั่งยืน

ปัญหาดินดานแน่นแข็งนั้นมักสร้างปัญหาต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ ทำให้ระบบรากที่มีหน้าที่หาอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะไม่สามารถที่จะแผ่ขยายเจริญเติบโตออกไปได้จากสภาพดินที่แข็งกระด้างอย่างจัด อีกทั้งยิ่งเป็นดินที่ขุดจากดินชั้นล่างนำมาถมปรับปรุงพื้นที่ด้วยแล้วจะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนคือปลูกกี่ครั้งก็ยังจะตายอยู่นั่นเอง ดินถมส่วนใหญ่จะมีอนุภาคของเหล็กอยู่มาก เมื่อทำปฏิกิริยากับอากาศ (oxidation) ก็จะเกิดสีสนิมขึ้นที่เนื้อดินและส่วนใหญ่จะมีสภาพเป็นกรดรุนแรงจึงปลูกพืชไม่ค่อยโตเท่าที่ควร

ถ้าพบดินในลักษณะนี้จะต้องหมั่นรดน้ำพรวนดิน พลิกฟื้นผืนดินให้ได้รับกับอากาศอยู่บ่อยๆ ด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนโดยเฉพาะพืชตระหกูลถั่ว ปอเทือง โสนแอฟริกัน ฯลฯ แล้วทำการไถกลบ ขุด ถาก ถอน พรวน ทับหมักกับดินเพื่อใช้เป็นปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์และอาจจะเสริมด้วยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกเข้ามาอีกสักประมาณ 100 - 200 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 งาน เพื่อปรับปรุงบำรุงดินไปทีละน้อยๆ ก็สามารถที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว ช่วยพลิกฟื้นผืนดินให้กับมามีโครงสร้างที่แข็งแรงอุดมสมบูรณ์สมบูรณ์พร้อมต่อการเพาะปลูก แต่ถ้าต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบเร่งด่วนเพื่อให้ต้นไม้ที่ปลูกไปแล้วอยู่รอดก็สามารถใช้สารละลายดินดาน ALS29 ในอัตรา 30-50 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตรราดรดฉีดพ่นในพื้นที่ 1 งานและตามด้วยสารปรับปรุงดิน พูมิชซัลเฟอร์ (หินแร่ภูเขาไฟ) ร่วมด้วยช่วยกันกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเพื่อรักษาโครงสร้างดินให้ดำรงสภาพมีโครงสร้างที่สมบูรณ์ยาวนานต่อไป

ในส่วนของดินที่มีปัญหาเรื่องความเป็นกรดและด่างก็ต้องปรับปรุงแก้ไขในเรื่องนี้เพิ่มเติมด้วยโดยในกรณีที่ดินเป็นกรดอาจจะต้องใช้ขี้เถ้า (ที่มีลักษณะสีขาว ชาวบ้านเรียกขี้เถ้าหัวหงอก), ปูนเปลือกหอย, แคลเซียม, โดโลไมท์และฟอสเฟต ซึ่งทั้งหมดนี้คือกลุ่มของวัสดุปูนมีความเป็นด่าง เมื่อจะนำมาใช้จะต้องตรวจวัดกรดด่างของดินให้ดีเสียก่อน ในอีกกรณีที่ดินเป็นด่างให้ใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเป็นพื้นฐาน เพื่อให้จุลินทรีย์ได้ย่อยและเกิดกรดอินทรีย์ (organic acid) (แต่วิธีนี้อาจจะต้องใช้ระยะเวลาหน่อย เหมาะสำหรับผู้ปลูกพืชผักไว้รับประทานเอง สามารถใช้ฟอสโฟยิ่ปซั่ม (ผลิตผลที่จากการผลิตปุ๋ยฟอสฟอรัส) และภูไมท์ซัลเฟตถุงสีแดง (หินแร่ภูเขาไฟแต่งเติม (formulate) กับหินแร่ภูเขาไฟ) ก็สามารถที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดินด่างได้รวดเร็วทันใจขึ้น

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ. //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2556   
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2556 18:07:55 น.   
Counter : 4512 Pageviews.  

พืชกระทบหนาว ช่อไหม้ ใบเหลือง สิ้นเปลืองปุ๋ย

อากาศบ้านเราช่วงนี้ถ้าเป็นอดีตก็ต้องถือว่ายังอยู่ในฤดูกาลของความหนาว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะไม่เด่นชัดเท่ากับครั้งเก่าก่อนแต่ก็ถือว่ายังพอมีสัญญาณสัญลักษณ์หลายๆอย่างยังคงอยู่ซึ่งสามารถส่งผลกับสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์และมนุษย์อยู่มากพอควรโดยเฉพาะที่ส่งผลกระทบกับพืชในลักษณะที่ทำให้พืชมีลักษณะการเจริญเติบโตที่ชะลอลง ช่อดอกกลีบใบไหม้ดำ บางครั้งก็ชะงักงันเหลืองซีดไม่กินปุ๋ย ส่งผลให้เกษตรกรต้องรีบป้องกันแก้ไขให้ปุ๋ยเพิ่มยาเพื่อหลีกหนีปัญหาที่จะนำพามาซึ่งผลผลิตลดน้อยถอยลงจากผลกระทบจากอาการดังกล่าว

ผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่างๆ นั้นมีมากมายหลายแบบ แต่ถ้าเป็นฤดูหนาวก็จะชัดเจนในเรื่องของเชื้อราที่มากับหมอกและน้ำค้าง ซึ่งมักจะพบกับปัญหาช่อดอกยอดใบดำเพราะถูกการโจมตีของเชื้อรา สปอร์ของเชื้อราโรคพืชมากมายที่ปลิวละล่องอยู่ในอากาศเมื่อความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีมากขึ้นทำให้น้ำหนักของสปอร์หน่วงหนักตกลงมาสู่ตามบริเวณส่วนต่างๆของพืช และเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมมีแหล่งอาหารแหล่งน้ำจากพืชก็งอกเส้นใยเจริญเติบโตและเข้าทำลายย่อยสลายวัตถุที่เขาได้หล่นร่วงลงไปจนเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนไปในรูปแบบต่างๆเมื่อเกษตรกรได้พบเห็นหลังจากที่ผลของการทำลายของเชื้อราโรคพืชได้กระทำแล้วทั้งในรูปแบบใบดำ ใบไหม้ ใบเหลือง ฯลฯ

การป้องกันแก้ไขแบบง่ายเมื่อพบว่ามีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมากคือมีทั้งน้ำค้างและหมอกให้รีบทำการฉีดพ่นล้างใบทำลายสปอร์ในหลุดร่วงออกไปจากพื้นที่ผิวใบหรือช่อดอกด้วยการใช้น้ำเปล่าฉีดพ่น (ในกรณีที่ปลูกแบบมือสมีครเล่นหรือพื้นที่น้อย). ในส่วนที่ปลูกเป็นอาชีพพื้นที่มากกลัวไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้ใช้ ฟังก์กัสเคลียร์ (ผงจุลสี, แคลเซียม, ซิลิสิค, แมงกานีส ฯลฯ) 2 กรัมร่วมกับ แซนโธนไนท์ (สารสกัดจากเปลือกมังคุด) 2 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นเพื่อล้างใบและทำลายสปอร์ไปด้วย สารสกัดจากผลจุลสี, แคลเซียม, ซิลิสิค (ซิลิก้า,ซิลิคอน) และสารฝาดแซนโธนนินจากเปลือกมังคุดจะช่วยยับยั้งและทำลายเชื้อราโรคพืชในระยะสปอร์ให้ลดลงได้อย่างมาก จากนั้นจึงค่อยใช้ไตรโคเดอร์ม่า (ชนิดละเอียด)หรือบีเอสพลายแก้วมาฉีดพ่นเพื่อทำการรักษาอีกครั้งหนึ่งเมื่อยังคงพบเห็นการรุกลามระบาดของเชื้อราต่อไป

ในกรณีที่พืชกระทบหนาวและเกิดอาการใบเหลืองให้ทำการสังเกตุให้ดีเสียก่อนที่จะรีบเติมปุ๋ยยูเรีย, แอมโมเนียมซัลเฟตหรือแคลเซียมไนเตรท เพราะบางทีพืชอาจจะไม่ได้เหลืองจากการขาดปุ๋ยไนโตรเจนก็ได้ แต่เกิดจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นและไม่สามารถที่จะสร้างกระบวนการเมตาบอลิซึมได้อย่างสมบูรณ์จึงทำให้เกิดอาการใบเหลืองยอดสั้น อั้นการเจริญเติบโตควรแก้ไขด้วยการทำให้พืชมีการปรับอุณภูมิภายในเซลล์ให้สมดุลย์ด้วยการฉีดพ่นไรซ์กรีนพลัส และไวตาไลเซอร์เสียก่อนหลังจากนั้นเมื่อพืชปรับสภาพให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมได้แล้วค่อยมาพิจารณาเรื่องปุ๋ยในภายหลังว่าใส่เพิ่มเติมลงไปอย่างสมบูรณ์เพียงพอหรือไม่
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 24 มกราคม 2556   
Last Update : 24 มกราคม 2556 11:26:10 น.   
Counter : 802 Pageviews.  

อากาศหนาวน้อย พลอยให้ผลไม้ราคาดี

อากาศหนาวปีนี้ดูท่าว่าจะบางเบากว่าทุกๆปีที่ผ่านมา นี่ก็เข้าสู่กลางเดือนธันวาคมแล้วกรุงเทพฯยังดูไม่หนาวมากเท่าไร แค่รู้สึกเย็นๆเบาๆบางๆเท่านั้นเอง ไม่รู้ว่าปลายเดือนจะหนาวเพิ่มขึ้นอีกหรือเปล่า ถ้าปีนี้อากาศไม่หนาวมากพืชผักผลไม้ก็จะมีเวลาสะสมอาหารได้น้อย จึงทำให้การติดดอกออกผลเกิดขึ้นได้น้อยตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นมะม่วง มังคุด เงาะ ลำไย หรือผลไม้ชนิดอื่นที่อาศัยอากาศที่หนาวเย็นเป็นตัวช่วยในการสะสมอาหารก็จะมีผลผลิตที่ผลิดอกออกผลน้อย เนื่องจากว่าไม่มีเวลาสะสมอาหารที่ยาวนานเพียงพอ

เกษตรกรท่านใดที่หมั่นดูแลรักษาไม้ผลในช่วงนี้ให้ดีก็มีโอกาสที่จะทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำอย่างแน่นอน ไม่ต้องนำมาเทกองกลางถนนหรือแจกจ่ายให้ผู้สัญจรผ่านมาผ่านไปได้พบเห็นเพื่อเป็นการประท้วงให้รัฐบาลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามารับรู้รับทราบและช่วยแก้ปัญหา อากาศหนาวช่วงสั้นจึงเป็นโอกาสให้แก่ผู้ที่มีฝีมือสามารถทำให้ผลไม้สามารถให้ผลผลิตออกมาเป็นปรกติในช่วงนี้ได้ แต่วิกฤติก็เกิดขึ้นมาด้วยเช่นกันกับเกษตรกรมือใหม่ที่ขาดความรู้ความใจในการบำรุงดูแลรักษาให้พืชไร่ไม้ผลเหล่านั้นสะสมอาหารได้อย่างเพียงพอและพร้อมต่อการเปิดดอก จึงเป็นเหตุให้มีผลไม้ออกมาสู่ตลาดหรือผู้บริโภคน้อย ไม่ว่าสิ่งของอะไรก็ตามเมื่อมีน้อย ราคาจึงต้องแพงเป็นธรรมดาตามหลักของดีมานด์ซัพพลายในทางเศรษฐศาสตร์

การดูแลบำรุงกิ่ง ก้าน ใบหลังจากตัดแต่งกิ่งจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก จะต้องจัดการให้ได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอ และเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวจะได้มีอาหารที่เพียงพอต่อการติดดอกออกผล และในกรณีที่อากาศไม่ยาวนานก็สามารถที่จะใช้เทคนิคในการทำให้พืชสะสมอาหารได้ต่อเนื่อง ไม่สร้างใบอ่อนออกมาทำลายอาหารที่สะสมก่อนเวลาอันควร โดยเฉพาะการทำให้ใบแก่สะสมอาหารให้พร้อมเพรียงกันด้วยการใช้สูตรอาหารพืช 1-1-4 คือใช้ไวตาไลเซอร์ 5 กรัม แคลเซียมไนเตรท 10 กรัม ยูเรีย 10 กรัม โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต 10 กรัม, โพแทสเซียมซัลเฟต 35 กรัม ฮอร์โมนไข่ 5 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หลังจากที่สะสมอาหารแล้วบังเอิญอาจจะมีฝนตกหรือยังมีไนโตรเจนตกค้างอยู่อาจจะต้องใช้สูตรยับยั้งใบอ่อนมาช่วยเสริมอีกแรงคือใช้น้ำ 20 ลิตร ไวตาไลเซอร์ 5 กรัม, น้ำตาลทราย 100 กรัม, โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต 10 กรัม, โพแทสเซียมซัลเฟต 40 กรัม, ฮอร์โมนไข่ 10 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 3-7 วัน เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยให้ไม้ผลติดดอกออกผลมาให้เราได้ในปีที่หนาวน้อยแต่ผลไม้แพง

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 13 ธันวาคม 2555   
Last Update : 13 ธันวาคม 2555 9:28:22 น.   
Counter : 649 Pageviews.  

ต้นไม้ใหญ่ไร้น้ำ รีบถามหาโพลิเมอร์

ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นตายเพราะไร้ซึ่งน้ำมาจุนเจือหลายโมงยาม โดยเฉพาะยามนี้ ปีนี้ซึ่งปริมาณฝนน้อยกว่าปรกติ รัฐบาลก็รีบปล่อยระบายน้ำจากเขื่อนออกไปมากกว่าครึ่ง เนื่องด้วยเกรงกลัวว่าจะทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนสูงมาก เหมือนในช่วงเดือนตุลาคมปีที่แล้ว (2554) จึงต้องรีบปล่อยออกมาก่อน แต่ผลลัพธ์กลับตรงข้าม น้ำกลับมีน้อยกว่าปีที่แล้ว เพราะฝนหมดหดหายมลายไปเร็วกว่าปรกติ ถ้ามนุษย์เข้าใจธรรมชาติที่อยู่ในกฎของ อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ก็จะไม่ต้องอิดหนาระอาใจ ใส่ไฟใส่ความผู้อื่นให้เดือดเนื้อร้อนใจ เพราะเรื่องของภัยธรรมชาติยากที่มนุษย์ขี้เหม็นจะเข้าใจและหยั่งรู้ได้อย่างถ่องแท้ (ถ้ามีใครเก่งกล้าสามารถก็วานออกมาบอกรัฐบาลให้แก้ไขวางแผนแบบสเต็บ บาย สเต็บไปเลยนะครับ ประชาชนตาดำดำที่ระกำจากน้ำท่วมปีที่แล้วจะได้ไม่ต้องอกสั่นขวัญหายอย่างปัจจุบัน)

พื้นดินแตกระแห้ง เนื่องจากฝนแล้ง ขาดน้ำจึงทำให้ต้นไม้ พืชไร่ ไม้ผลน้อยใหญ่ล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ในอดีตสักเจ็ดแปดปีที่แล้วมีนักข่าวตามช่องต่างๆ ไปสัมภาษณ์เจ้าของสวนลำไยมากมาย ที่ได้รับความเดือดร้อนระกำลำบากจากต้นล้มไยที่ตายลง เนื่องด้วยขาดน้ำอย่าหนัก หลังจากที่มีได้มีการเผยแพร่ส่งเสริมให้เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รู้จักสารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ ซึ่งน้ำสามารถดูดซับน้ำได้มากถึง 200 – 400 ร้อยเท่า ตามความบริสุทธิ์ของน้ำที่มีมากน้อยแตกต่างกันไป จึงทำให้เกษตรกรที่ประสบพบเจอปัญหานี้สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปได้มาก ไม่ต้องทนทรมานเห็นต้นไม้ที่ลงทุนลงแรงปลูกล้มหายตายจากไปก่อนวันเวลาที่ควรจะเป็น

การใช้สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ 1 กิโลกรัม เทใส่ในภาชนะที่บรรจุน้ำ 200 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมงหรือหนึ่งคืน ก็จะได้โพลิเมอร์หรือสารอุ้มน้ำที่พองตัวเต็มที่มีลักษณะเป็นวุ้นใสคลายเยลลี่ ผู้ที่ขายไม้ดอกไม้ประดับในตลาดนัดมักจะนำไปผสมสีสันให้สวยงามหลากหลายใส่ถุงขายถุงละสิบยี่สิบให้เห็นเยอะอยู่พอสมควร เมื่อได้โพลิเมอร์ที่พองตัวเต็มที่ตามต้องการแล้วนำไปใส่หลุมกลบให้สนิทมิดชิดข้างต้นไม้ที่กำลังใกล้ตายจากการขาดน้ำ โดยพื้นที่หลุมจะเล็กใหญ่ก็ตามขนาดของทรงพุ่มหรือความสูงของต้นไม้ โดยเฉลี่ยก็จะขนาดประมาณเท่ากับปี๊บใส่น้ำมันจะใหญ่หรือเล็กกว่าบ้างก็ไม่เป็นไร ต้นใหญ่มากก็ขุดด้านละหลุม ไม่จำเป็นต้องขุดล้อมลอบเป็นวงกลม เพราะจะไปทำลายระบบรากทั้งหมดที่เลื้อยออกไปหาอาหารด้านนอก เพียงเท่านี้ก็ช่วยประคับประคองให้ต้นไม้สุดที่รักของเราอยู่ตลอดรอดฝั่งไผยังฤดูฝนใหม่ได้สบาย

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 13 ธันวาคม 2555   
Last Update : 13 ธันวาคม 2555 9:25:25 น.   
Counter : 836 Pageviews.  

ภาวะแห่งความแห้งแล้ง

ภาวะความแห้งแล้งที่กำลังคืบคลานพาลหาความเดือดร้อนให้พี่น้องเกษตรกรทีละน้อย โดยเฉพาะภาคอีสานที่รัฐบาลออกมาตรการให้หยุดการทำนาปลูกข้าวอย่างสิ้นเชิงในหลายจังหวัด ด้วยกังวลว่าจะทำให้ได้รับความเสียหายมากกว่าเดิมจากการที่ข้าวขาดน้ำกลางคัน เพราะชาวไร่ชาวนาจะเสียทั้งเมล็ดพันธุ์ ทั้งปุ๋ย ยา ฮอร์โมนที่ระดมโถมใส่เข้าไปในช่วงระหว่างที่มีการหว่านกล้าหรือปักดำ จึงต้องรีบประกาศให้ชาวนาที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติหยุดกิน เอ๊ยหยุดปลูกเสียแต่เนิ่น (แล้วชาวนาที่ประกอบอาชีพเกษตรเพียงอย่างเดียวจะทำอะไรกินระหว่างนี้ ยังไม่เห็นมีนโยบายอะไรที่เป็นรูปธรรมออกมารองรับ???)

ดังที่เคยเขียนไว้ในบทความก่อนๆแล้วว่า ประเทศไทยหาใช่เมืองน้ำโดยสิ้นเชิง เพราะจริงๆแล้ว เราแค่เพียงประสบพบเจอน้ำท่วมเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น หลังจากนั้นก็แทบจะพบว่า ในสถิติย้อนหลังไปสิบหรือยี่สิบปีมานี้ เราจะพบกับภาวะฝนแล้ง ดินแห้งเสียมากกว่า เนื่องด้วยเราขาดการบริหารจัดการน้ำที่ดี เรามีน้ำฝนเฉลี่ยทั่วประเทศโดยประมาณ 1,500 มิลลิเมตรต่อปี แต่เราไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้มาก เนื่องจากเรามีเขื่อนและฝายต่างๆ น้อย จึงไม่สอดคล้องสัมพันธ์กับพื้นที่เพาะปลูกหรืออาชีพหลักของเกษตรกรไทย ซึ่งดำรงเลี้ยงชีพปลูกผักตากหญ้าทำนาเลี้ยงปากท้องผู้คนมาไม่รู้กี่ชั่วอายุคนด้วยน้ำและกสิกรรม

ปัญหาเนื่องด้วยเราจะสร้างเขื่อนก็กลัวว่าป่าไม้จะเสียหาย (โดยลืมคิดไปว่าสามารถปลูกใหม่ทดแทนได้ในพื้นที่อื่นๆ ที่เหลือ) เราจะสร้างเขื่อนก็กลัวว่าประชาชนบนพื้นที่เหนือเขื่อนจะลำบาก (เหตุผลส่วนหนึ่งรัฐไม่สามารถรับประกันพื้นที่ทำเกษตรและที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ให้พึงพอใจได้) เราจะสร้างเขื่อนก็จะมีกลุ่มอนุรักษ์ที่รับเงินสนับสนุนจากต่างประเทศให้เข้ามาห่วง หวง แหนแทนคนไทยทั้งประเทศอย่างหน้ามืดตามัวกลัวคนไทยจะเสียป่าไม้ เสียทรัพยากร เสียระบบนิเวศน์ฯลฯ (ถ้าไม่มีคนเหลืออยู่เนื่องจากอดตายจากการขาดแคลนอาหารระบบนิเวศน์จะสมดุลย์อยู่หรือไหมหนอ?) จึงยังคงทำให้เมืองเกษตรกรรมยังคงต้องขาดแคลนแหล่งน้ำในการผลิต ยามที่ปริมาณน้ำฝนหล่นร่วงลงมาน้อยอยู่ร่ำไป จะแก้ไขอย่างไรก็ไม่พ้นการแก้ปัญหาแบบพายเรือในอ่าง เนื่องด้วยคงเป็นเพราะชาติตระกูลส่วนใหญ่เป็นเกษตร แต่มักบริโภคค่านิยมตามยุโรปและอเมริกา ซึ่งทำให้ขาดความสมดุล ไม่ตรงกับจริตแก่นแท้ของเรา ที่เป็นเมืองเกษตร ทำเกษตร ถนัดอาชีพเกษตรมากกว่าอย่างอื่นๆ แต่ไม่ยอมสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ สระน้ำประจำไร่นา ซึ่งนำพามาซึ่งการมีแหล่งน้ำทำมาหากินอย่างยั่งยืน

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 13 ธันวาคม 2555   
Last Update : 13 ธันวาคม 2555 9:22:10 น.   
Counter : 1010 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]