นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

โพลิเมอร์ : เหมาะสำหรับพื้นที่ห่างไกลแหล่งน้ำ

สารอุ้มน้ำ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “โพลิเมอร์” นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับอาชีพการทำเกษตร เพราะความต้องการที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืชอย่างหนึ่งนั้นคือ “น้ำ” ถ้าปลูกพืชในที่ห่างไกลทุรกันดารจากระบบชลประทานหรือพื้นที่ที่ขาดแหล่งน้ำเห็นทีจะต้องทำใจยอมรับความเสียหายไว้แต่เนิ่น ๆ เลยจะดีที่สุด เพราะพืชจะไม่สามารถที่จะเจริญเติบโตได้อย่างแน่นอน “โพลิเมอร์” จึงเป็นสิ่งที่โดดเด่นในการนำเข้ามาตอบโจทย์แก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมที่สุด เพราะมีความสามารถที่จะอุ้มน้ำได้หลายร้อยเท่าของน้ำหนักโมเลกุลและกักเก็บรักษาน้ำมิให้สูญเสียไหลผ่านลึกผ่านเลยไปจากที่ระดับของรากพืชอาศัยอยู่ ช่วยให้พืชได้รับน้ำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ผู้ปลูกไม่ต้องเสียเวลารดน้ำอยู่บ่อย ๆ ช่วยให้การเจริญเติบโตของต้นไม้เป็นไปอย่างต่อเนื่องยั่งยืน พืชไม่เกิดปัญหาชะงักงันจากการขาดแคลนน้ำ
โพลิเมอร์คือ สารประเภทแป้งชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างซับซ้อนหรือกลุ่มคาร์โบฮัยเดรทขนาดใหญ่ที่เกิดจากการสังเคราะห์ขึ้นทางเคมี เป็นโพลีแซคคาไรด์ ที่เรียกว่า ครอส-ลิงค์ โพลีเอคริลาไมด์ โคโพลิเมอร์ (Cross linked polyacrylamide copolymer) ในปัจจุบันปันมีการนำเข้ามาจากหลากหลายแหล่ง คุณสมบัติก็แตกต่างกันไปบ้างดูดน้ำได้อย่างรวดเร็วแต่ปลดปล่อยออกมาให้พืชได้น้อย บางชนิดจะค่อย ๆ ดูดน้ำเข้าไปและปลดปล่อยน้ำออกมาได้ดีกว่า ดังนั้นจึงต้องสังเกตและพิจารณาให้เหมาะสม มิฉะนั้นก็จะทำให้สูญเสียโอกาสของการใช้งานไป

โพลิเมอร์แห้งเมื่อสัมผัสกับน้ำ ก็จะก็จะปล่อยให้โมเลกุลของน้ำซึมซับผ่านเข้าไปสะสมอยู่ภายใน และพองขยายเพิ่มขึ้นตามปริมาณของน้ำ ซึ่งความสามารถของโพลิเมอร์ที่อุ้มน้ำได้มีมากถึง 200 – 400 เท่าขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำและเวลาในการแช่ด้วย โดยปรกติจะแช่กันข้ามคืนก่อนใช้งานเพื่อให้โพลิเมอร์ดูดซึมกักเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลังจากนั้นจึงค่อยนำไปใช้งานตามความต้องการ บ้างก็นำไปรองก้นหลุมปลูกเพื่อช่วยรักษาอัตราการรอดของต้นกล้า บ้างก็นำไปใส่ไว้ในหลุมที่ขุดเตรียมไว้ข้างลำต้นในกรณีที่ปลูกลงไปแล้ว และกำลังเจอปัญหาขาดน้ำจากภาวะฤดูกาลที่แห้งแล้งก็สามารถที่จะทำได้ ลักษณะของโพลิเมอร์เมื่ออุ้มน้ำเต็มที่แล้วจะมีลักษณะคล้ายวุ้นหรือเจลใสๆ ควรต้องระมัดระวังและเก็บรักษาไว้ให้ห่างจากมือเด็ก
จากคุณสมบัติดังกล่าวของโพลิเมอร์ที่มีความสามารถในการดูดซึมและอุ้มน้ำได้ดี จึงมีความเหมาะสมที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในแวดวงการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับกลุ่มเกษตรกรที่กำลังเริ่มหลุมปลูกใหม่ๆ เช่นอยู่ในช่วงที่กำลังจะปลูกสักทอง สะเดา ตะกู เพาล์โลเนีย ยางพารา ปาล์มและไม้ผลไม้ยืนต้นอื่นๆ จะช่วยทำให้ต้นกล้ารอดสูงถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่ามีความคุ้มค่ากว่าการที่จะปล่อยให้ต้นกล้าตายและซื้อต้นพันธุ์มาปลูกซ่อมใหม่ ซึ่งจะเสียทั้งเวลา แรงงาน ปุ๋ยและเงินในจำนวนที่มากกว่า โพลิเมอร์ราคาตามท้องตลาดประมาณ 400 บาท เมื่อนำมาแช่น้ำขยายจนพองเต็มที่แล้วจะได้ประมาณ 200 -300 ลิตร ก็จะทำให้ต้นทุนของโพลิเมอร์เหลือเพียงลิตร 1 – 2 บาทเท่านั้น เมื่อนำไปใช้รองก้นหลุมจะตกราคาหลุมละ 1 -2 บาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าลงทุนเป็นอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับราคาของต้นพันธุ์บวกค่าแรงค่าปุ๋ยที่จะต้องเพิ่มลงไปใหม่


มนตรี บุญจรัส

//www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 14:07:44 น.   
Counter : 1007 Pageviews.  

หน้าแล้ง ควรใช้โพลิเมอร์ (สารอุ้มน้ำ) ช่วยพืช

ระบบการชลประทานในประเทศไทยยังไม่ดีพอ เพราะยังไม่สามารถที่จะดูแลช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างทั่วถึง ทำให้ประเทศไทยมักจะมีปัญหาในเรื่องของน้ำอยู่เสมอ ๆ ไม่ว่าน้ำจะมาก หรือน้ำจะน้อยพี่ไทยมักจะเดือดร้อนกันทุกครั้งไป
ดังนั้น เกษตรกรควรเตรียมตัวและวางแผนในเรื่องของการดูแลการให้น้ำแก่พืชผักไม้ผลที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลนแหล่งน้ำให้ดี โดยเฉพาะเขตที่ไม่ได้อยู่ในระบบชลประทานหรืออาจจะอยู่แต่ก็มีเพียงคูคลองเพียงอย่างเดียวแต่ไม่เคยมีสายน้ำได้ไหลผ่านมา ถ้าดูแลและเตรียมการไว้ล่วงหน้าก็จะช่วยทำให้มีความสามารถที่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที ทั้งนี้เพื่อไม่ให้พืชผักผลไม้ของเกษตรล้มตายอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขาดแคลนน้ำลงไปต่อหน้าต่อตา
วิธีการแก้ไขในปัจจุบันทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้แนะนำและส่งเสริมให้ใช้ สารอุ้มน้ำ โพลิเมอร์ ซึ่งอยู่ในกลุ่มของโพลิเอคริลามายด์ ประกอบไปด้วยอนุพันธ์ของคาร์โบฮัยเดรทที่ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่บีบอัดทับซ้อนให้แน่นกันหลายๆ ชั้น ทำให้มีคุณสมบัติในการดูด ซึมซับน้ำได้ดีและสามารถพองและขยายตัวได้มากถึง 200 ถึง 300 ร้อยเท่า (ขึ้นอยู่กับสภาพและค่าความเป็นกรดด่างของน้ำ) ทำให้มีความเหมาะสมในการนำมาใช้รองก้นหลุมปลูกไม้ป่า ไม้ยืนต้น ปาล์ม ยางพารา ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้ต้นกล้ามีโอกาสรอดสูง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อต้นพันธุ์มาปลูกซ่อมแซมใหม่
สำหรับต้นไม้ที่ปลูกไปแล้วและอาจจะอยู่ในช่วงที่กำลังขาดแคลนน้ำพอดีก็สามารถที่จะใช้ได้ โดยการขุดหลุมขนาดความลึกเท่ากับขนาดของปี๊ปไว้ด้านข้างทั้งสองด้าน (จะใหญ่หรือลึกกว่านี้ก็ให้พิจารณาจากขนาดของลำต้นและทรงพุ่ม) หลังจากนั้นนำโพลิเมอร์ที่แช่น้ำจนพองตัวดีแล้วมาเทใส่และกลบฝังให้เรียบร้อย จะช่วยให้พืชมีน้ำไว้ใช้ได้ตลอดสามถึงหกเดือนโดยไม่ต้องรดน้ำทุกวัน


มนตรี บุญจรัส

//www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 14:07:10 น.   
Counter : 2914 Pageviews.  

พืชแพ้ความหนาว

อุณหภูมิที่หนาวเย็นเริ่มคืบคลานย่างกรายเข้ามาทีละน้อย ก่อให้เกิดการปุจฉาและวิสัชนากันไปต่าง ๆ นานาบ้างก็ว่าปีนี้น่าจะหนาวนานหนาวทน บ้างก็ว่าน่าจะเป็นช่วงสั้น ๆ ไม่ยาวนานมากนักเพราะอยู่ในภาวะสถานการณ์โลกร้อน ต่างคนก็ต่างความคิดกันไปตามข้อมูลที่ได้พบได้เจอมาของแต่ละคน หนุ่มสาวชาวชนบทต่างจังหวัดก็จะอาศัยฤดูกาลช่วงนี้จัดฤกษ์หายามเข้าสู่พิธีวิวาห์กันดาษดื่น เพราะมีความสะดวกสบายต่อการจัดการสถานที่กลางแจ้งใช้เลี้ยงต้อนรับแขกเหลื่อ ที่จะเข้ามาเป็นสักขีพยานและยินดีปรีดาต่อคู่บ่าวสาวไม่ต้องหวาดระแวงสภาพภูมิอากาศเหมือนกับในช่วงฤดูฝน และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เพื่อจะได้หาเพื่อนมาเป็นคู่นอนเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กันและกัน
ความหนาวเย็นที่เกิดขึ้น มนุษย์ยังพอที่จะป้องกันและดูแลตัวเองได้ แต่สำหรับพืชผักไม้ผลของเกษตรกรจะต้องดูแลและหาทางป้องกันอย่างรอบคอบทันท่วงที มิฉะนั้นจะทำให้พืชชะงักและหยุดการเจริญเติบโตการผลิดอกออกผลจะไม่เป็นไปอย่างปรกติ เพราะในฤดูหนาวสภาพอากาศจะแห้งและมีสายลมที่คอยพัดพาไอน้ำที่ระเหยออกจากใบและบริเวณรอบๆ ใบ ให้พ้นไปจากผิวใบ มวลของอากาศแห้งเข้ามาแทนที่ พืชจะคายและสูญเสียน้ำออกไปปริมาณมาก เกิดความเครียดหยุดและชะลอการเจริญเติบโตโดยรวม
ปัจจุบันสามารถใช้ ไรซ์กรีนพลัส 50 กรัมหรือจะเป็นไวตาไลเซอร์ 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นให้ชุ่มโชกทั้งใต้ใบและบนใบทุก ๆ 3 - 7 วัน (โดยใช้สภาพอากาศเป็นตัวกำหนด) ซึ่ง ไรซ์กรีนพลัส และ ไวตาไลเซอร์นั้นมีส่วนประกอบในกลุ่มของธาตุอาหาร เช่น สังกะสี นิกเกิล และแอมโมเนียมซัลเฟต ฯลฯ ทำหน้าที่ช่วยปรับความสมดุลย์ของฮอร์โมน อุณหภูมิรวมทั้งกระบวนการเมแทบอลิซึมให้แก่พืช ช่วยยับยั้งและป้องกันไม่ให้พืชได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นมากเกินไป ปรับความสมดุลภายในพืชให้มีการปรับตัวได้ดีขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับสภาพภูมิอากาศที่หนาวจัด ร้อนจัด ทำหน้าที่คล้ายผ้าห่มให้กับพืช คือร้อนจัด ก็นำผ้าห่มมากางบังแดด หนาวจัดก็นำมาห่มคลุมร่างกาย

มนตรี บุญจรัส

//www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 14:06:40 น.   
Counter : 839 Pageviews.  

ฤดูหนาวเข้ามา ผักหญ้าราคาแพง

เป็นประจำทุกปีที่เข้าหน้าหนาวเมื่อไร มักมีเสียงบ่นจากผู้บริโภคเริ่มดังถี่ขึ้น ๆ เรื่อยเป็นระยะ เพราะในฤดูกาลนี้ราคาข้าวปลา หยูกยาอาหารจะเริ่มทยอยกันแพงขึ้นเรื่อย ๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะผลผลิตในเลือก สวน ไร่นาของพี่น้องเกษตรกรจะค่อย ๆ ร่อยหรอลดน้อยถอยลงไม่มากเหมือนปกติ การดูแลรักษายุ่งยากขึ้น ให้ปุ๋ยแล้วยอดไม่เลื้อย กิ่งก้านไม่แตก หน่อไม่แทง ต้นไม่โต ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าเมื่ออุณหภูมิต่ำลงการเจริญทางใบและยอดลดลง พืชเริ่มสะสมอาหาร ชะลอการเจริญเติบโตทำให้ต้องสิ้นเปลืองค่าปุ๋ยค่ายาเพิ่มมากขึ้นซึ่งถ้าใส่ปุ๋ยยาแบบไม่ตรงกับความต้องการของพืช พืชก็จะไม่ตอบสนองทำให้สูญเสียเงินทองไปโดยเปล่าประโยชน์
ชะอม ผักบุ้ง ตำลึง ผักกระเฉด ถั่วฝักยาว แตงกวา มะลิ และพืชต่าง ๆ ในฤดูหนาวอย่างนี้ราคาก็จะแพงแสนแพง เพราะมีผลผลิตออกมาป้อนตลาดน้อยกว่าทุก ๆ ปี เป็นไปตามหลักเศรษฐศาสตร์ที่เขาได้ว่าไว้ ของที่มีน้อยราคาย่อมแพง ของที่ผลิตมากราคาถูก แต่ถ้าเกษตรกรรู้จักเทคนิคการดูแลบำรุงรักษาอย่างถูกวิธีก็สามารถที่จะพลิกวิกฤติการณ์ในครั้งนี้ให้กลับมาเป็นโอกาสได้เช่นเดียวกัน
เกษตรกรควรใช้ปุ๋ย 30-20-10 ร่วมกับปุ๋ย 46-0-0 บวกไรท์กรีนพลัส 50 กรัม หรือ ไวตาไลเซอร์ 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน จะช่วยทำให้พืชมีความสามารถในการต้านทานกับสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นได้ดียิ่งขึ้น ยอด เถา กิ่งก้าน จะเจริญเติบโตเหมือนปรกติ ผลผลิตไม่ลดลง ปัญหาเรื่องหนอนและแมลง ให้ใช้ ไทเกอร์เฮิร์บ ฉีดป้องกันการวางไข่ของแม่ผีเสื้อกลางคืน พบหนอนวัยหนึ่งวัยสอง ให้ใช้ แพล้นท์เซฟ MT ร่วมกับ มาร์โก้ซีด อย่างละ 5 ซี.ซี. อาจจะสลับกับเชื้อบีทีชีวภาพ 5 กรัมหมักกับน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล หมักทิ้งไว้ 24 – 48 ชั่วโมง ผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก 7 วัน เชื้อราให้ ใช้ บีเอสพลายแก้ว หมักเหมือนกับเชื้อบีที วิธีการใช้ก็ให้ทำเหมือนกัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อนักวิชาการชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 0-2986-1680 – 2 ทุกวัน


มนตรี บุญจรัส

//www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 14:06:03 น.   
Counter : 1632 Pageviews.  

ปัญหาภัยแล้ง ศัตรูร้ายของวิชาชีพเกษตร

เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมารายงานข่าวจากสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งแจ้งว่า อาร์เจนตินากำลังประสบกับปัญหาภัยแล้งอย่างหน่วงหนัก ส่งผลให้ภาคปศุสัตว์ได้รับผลกระทบเสียหายมีสัตว์ล้มตายจากปัญหาภัยแล้งดังกล่าวเป็นจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ พื้นที่ของประเทศอาร์เจนตินามีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศไทย 5 เท่า แต่มีประชากรเพียง 37 ล้านคน ยังต้องประสบพบเจอกับปัญหาภัยแล้งและได้รับการแก้ไขที่เชื่องช้าเป็นอย่างมาก ซึ่งความจริงประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาน่าจะรวดเร็ว เพราะประชากรน้อย พื้นที่ใช้สอยทรัพยากรมีมาก


หันกลับมามองดูประเทศของเราซึ่งมีประชากรมากถึง 63 กว่าล้านคน (จำนวนจริง 63,038,247 คน ณ เดือนธันวาคม 2550) ข้อมูลจากกรมการปกครอง)ล้านคนแต่มีพื้นที่น้อยกว่าประเทศอาร์เจนตินาถึง 5 เท่า (มีพื้นที่ประมาณ 320.7 ล้านไร่) ซึ่งไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัยหรือจะกี่รัฐบาลก็ตาม ยังคงหนีไม่พ้นปัญหาน้ำท่วม...ฝนแล้งซ้ำซากเหมือนเดิม โดยที่ยังไม่มีหน่วยงานใด ๆ เข้ามาสนใจดูแลอย่างเป็นจริงเป็นจังเลย ภาครัฐควรจะจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจที่เข้ามาสร้างผลงานให้เป็นรูปธรรมในการจัดการปัญหาเรื่องน้ำกินน้ำใช้ รวมถึงน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรมิให้ประสบปัญหากับวิกฤติภัยแล้งหรือแล้งซ้ำซากเหมือนกับตัวอย่างในประเทศอาร์เจนตินาหรืออย่างน้อยเพื่อเป็นการผ่อนหนักเป็นเบาก็ยังดี

รัฐควรมีการรณรงค์กระตุ้นให้เกษตรกรช่วยเหลือตนเองในเบื้องต้น โดยวิธีการขุดสระน้ำประจำไร่นาตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวงเราคือให้แบ่งพื้นที่ 30 % เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำสำรองให้มีใช้ได้เพียงพอตลอดฤดูการผลิต หรือถ้ามีการรับเหมาจัดจ้างจากภาครัฐก็ควรต้องดำเนินการด้วยความยุติธรรมตรงไปตรงมา การวัดหาปริมาตรความลึกควรวัดจากระดับพื้นดินเดิมลงไปที่พื้นบ่อ มิใช่วัดจากกองดินที่ขุดขึ้นมากลบสูงขึ้นจากขอบสระไปหาความลึกที่พื้นบ่อ เพราะจะเป็นการซ้ำเติมให้พี่น้องเกษตรเดือดร้อนเพิ่มขึ้นไปอีก เพราะพื้นที่ที่เก็บน้ำไม่ตรงกับพื้นที่ที่ขุดได้จริง ๆ ทำให้กักเก็บน้ำได้น้อยแต่เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น พื้นที่ใดที่กักเก็บน้ำได้อยาก หรือเก็บน้ำไม่อยู่อาจจะใช้ สารอุดบ่อ 2 กิโลกรัม ร่วมกับ สเม็คไทต์ 5 กระสอบ คลุกผสมแล้วทำการหว่านกระจายให้ทั่วพื้นบ่อก่อนน้ำเข้าก็จะช่วยทำให้บ่อสามารถกักเก็บน้ำได้นานขึ้นและมีไว้ใช้ได้ตลอดทั้งปี



มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 14:05:28 น.   
Counter : 849 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]