นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ปลูกกล้วยช่วยระบายความร้อน

สภาวะสถานการณ์โลกร้อนในระยะนี้รู้สึกว่าข้อมูลข่าวสารอาจจะดูเงียบๆไปหรืออาจเป็นเพราะบ้านเมืองเรามัวแต่ยุ่งเรื่องการบ้านการเมืองมากเกินไปทำให้ข่าวเกี่ยวกับความมั่นคงของโลกขาดคนเหลียวแลจึงทำให้เรื่องสภาวะโลกร้อนไม่ค่อยเป็นเรื่องเป็นราวที่โดดเด่นขึ้นมาพอเป็นประเด็นให้เกิดการพูดคุยแบบทอล์คออฟเดอะทาวได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามความเป็นจริงคงไม่ทำให้อากาศของโลกมนุษย์ลดลงจากสภาวะที่เป็นอยู่ไปได้อย่างแน่นอน

สังเกตได้จากกิจกรรมภาคการเกษตรที่พี่น้องเกษตรกรต่างพบเห็นปัญหาจากการทำอาชีพเกษตรในสาขาต่างๆนั้นมีเพิ่มขึ้นทุกขณะแถมยังมีลักษณะที่แปลกแตกต่างจากที่พบเจอในอดีตค่อนข้างมากทั้งในเรื่องเห็ดที่ว่าง่ายปัจจุบันก็ไม่ง่ายดังแต่ก่อน มีปัญหาทั้งเห็ดไม่ออกเป็นโรค เห็ดหงิกงอ เห็ดชะงักการเจริญเติบข้าวมีปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดมากผิดปรกติจากในอดีตพบเพียงเจ็ดแปดตัวต่อต้น จนมีนักวิชาการออกมาแจ้งวิธีการดูแลแบบธรรมชาติคือให้แมลงตัวดีคุมแมลงตัวร้ายหนึ่งต่อเจ็ดหรือหนึ่งต่อแปดถ้าพบอย่างนี้ไม่ต้องใช้ยามาฉีดพ่นเพราะปล่อยให้ระบบนิเวศน์ควบคุมกันเองก็เอาอยู่

แต่ปัจจุบันต้นข้าวตันเดียวสามารถพบเพลี้ยกระโดดได้เป็นร้อยๆตัวหรืออย่างต่ำก็สามสิบสี่สิบตัวขึ้นไป นี่เป็นตัวอย่างเล็กน้อยๆ ที่พอจะนำมาเล่าสู่กันฟังได้และผู้เขียนเชื่อว่าอาจจะมีสิ่งแปลกๆอย่างอื่นอีกมากมายที่เราไม่ทราบไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิจากน้ำทะเลที่สูงขึ้น แพลงค์ตอนตาย (Drop) จำนวนมหาศาลจนน้ำเปลี่ยนสีปลาและสัตว์น้ำขนาดใหญ่ย้ายถิ่นและเกยตื้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย หมีขั้วโลกนกเพนกวินขาดที่พำนัก ฯลฯ เชื่อว่าคงมีปัญหาตามมาอีกมากอย่างแน่นอน

สำหรับพืชไร่ไม้ผลของเกษตรกรที่ส่วนใหญ่ประสบปัญหากับสภาพอากาศที่ร้อนแล้งพืชคายและสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วทำให้เกิดอาการเครียด สลัดดอก ทิ้งผลต้นเจริญเติบโตอย่างทุลักทุเลสามารถแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมโดยรวมร่มเย็นได้ด้วยการปลูกกล้วยล้อมรอบสวนหรือไร่นาเพื่อให้กล้วยทำหน้าที่เป็นกันชน กันลม กันแดด กันฝน กันพายุอีกทั้งช่วยทำให้เกิดความร่มรื่นจากน้ำที่กล้วยจำนวนมากปล่อยออกมาจะทำให้พืชหลักผ่อนคลาย ไม่เครียด เจริญเติบโต ติดดอกออกผลได้ตามปรกติถ้าอยู่ในพื้นที่แดดแรงและพืชอยู่ในช่วงที่กำลังสูญเสียน้ำค่อนข้างมาก สามารถใช้ไบโอฟิล์ม (ไคโตซานสายโซ่ยาว) ในอัตรา 10 - 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตรจะช่วยทำให้พืชได้รับความชุ่มชื้น ลดการสูญเสียน้ำแก้ปัญหาเรื่องร้อนได้ดีพอสมควรในระยะนี้

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2555   
Last Update : 26 กรกฎาคม 2555 8:29:23 น.   
Counter : 1320 Pageviews.  

น้ำด่างทำลายฤทธิ์ปุ๋ยยา ฉีดพ่นรักษาพืชไม่ได้ผล

“น้ำ” นับว่าเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่ามีความสำคัญมากกับอาชีพการเกษตรหรืออาชีพการเพาะปลูกและเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์สัตว์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกมากมายจนนับไม่ถ้วนแต่ที่จะพูดในวันนี้คือในมุมมองเรื่องของการเปลี่ยนสถานะของน้ำที่ส่งผลทำให้น้ำเป็นตัวทำลายสารที่เป็นประโยชน์จากปุ๋ยยา ฮอร์โมนของเกษตรกรที่จะนำมาผสมร่วมกันเพื่อเป็นตัวทำละลายก่อนนำไปฉีดพ่น โดยเฉพาะน้ำที่มีการสะสมความเป็นด่างไว้สูงไม่ว่าจากภูเขาหินปูนที่เป็นทางผ่านจากลำห้วยหนอง คลอง บึง หรือจากการหว่านปูนเพื่อปรับปรุงดินและถูกน้ำฝนชะล้างพาปูนลงไปในท้องร่องหรือคูคลองก่อนที่จะถูกส่งไปยังคลองส่งน้ำและต่อไปยังเรือกสวนไร่นาของพี่น้องเกษตรกรน้ำเหล่านี้จะมีการสะสมนำพาเอาความเป็นด่างสะสมปนเปื้อนมาด้วย

ในฤดูแล้งความเข้มข้นของน้ำยิ่งมีมากขึ้น ด่างที่อยู่ในน้ำเมื่อนำปุ๋ยยา ฮอร์โมนมาผสมรวมเข้าด้วยกันก็จะถูกทำลายด้วยอัลคาไลน์จากด่าง (AlkalineHydrolysis) ทำให้ปุ๋ย ยา ฮอร์โมนเหล่านั้นเกษตรกรนำไปใช้ฉีดพ่นไม่ได้ผลจึงต้องมีการแถม เพิ่ม เสริม เติมเข้าอีกทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดความรู้ความเข้าใจที่มากเพียงพอส่วนจะหวังพึ่งร้านขายปุ๋ยขายยาเคมีก็คงจะน้อยรายที่จะบอกกล่าวเพราะยิ่งเกษตรกรใช้จำนวนยาเพิ่มมากขึ้นเท่าไรก็จะยิ่งทำให้ร้านขายปุ๋ยยาเหล่านั้นได้กำไรมากขึ้น

ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องนำของแพง (ปุ๋ย ยา ฮอร์โมน)มาปรับสภาพน้ำ (การเติมปุ๋ยยาฮอร์โมนตามที่ฉลากแนะนำในน้ำที่เป็นด่างเปรียบเหมือนกับการใช้ยาของแพงมาปรับสภาพน้ำให้ลงมาเป็นกรดอ่อน)ควรใช้มะนาว มะขาม มะกรูด ส้ม มะเฟือง น้ำส้มสายชูมาปรับแทนก่อนที่จะเติมปุ๋ยยาฮอร์โมนลงไป โดยให้มีค่าพีเอชลงมาอยู่ที่ประมาณ5.5-6.0 ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้ปุ๋ย ยา ฮอร์โมนมากน้อยเพียงใดถ้าใช้มากก็ปรับลงมาเพียง 6.0 ก็เพียงพอ แต่ถ้าใช้ปุ๋ย ยาฮอร์โมนจำนวนน้อยก็ให้ปรับลงมาที่ 5.5 เลยก็จะช่วยทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นต้องใช้ของแพงมาปรับก่อนล่วงหน้า คือสรุปง่ายว่าไม่จำเป็นต้องแถมปุ๋ยยาฮอร์โมนเพิ่มใช้ตามที่ฉลากแนะนำก็เพียงพอ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 20 กรกฎาคม 2555   
Last Update : 20 กรกฎาคม 2555 18:49:52 น.   
Counter : 1700 Pageviews.  

สารอุดบ่อช่วยสร้างสระน้ำประจำไร่นาให้มีประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำ

ตามหลักทฤษฎีใหม่ของการทำเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของพวกเราชาวไทยทุกคนที่ท่านพ่อได้สอนให้ลูกๆทุกคนของท่านสามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีอิ่มมีพอมีกินมีใช้ได้ถ้วนทั่วทุกตัวคนถ้าลูกๆของท่านสามารถปฏิบัติให้ได้ตามแนวทางที่ท่านได้วางไว้ และหนึ่งในหลักการปฏิบัติคือการทำสระนำประจำไร่นาโดยใช้พื้นที่30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมดเพื่อทำเป็นสระกักเก็บน้ำประจำไร่นาเพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อการทำเกษตรกรรมได้ตลอดทั้งปีในการเลือกพื้นที่ก็ให้ใช้พื้นที่ที่ลาดลุ่มต่ำที่สุดเป็นที่สร้างหรือขุดสระเมื่อฝนตกลงมาจะได้รองรับน้ำที่ไหลบ่าลงรวมไปสู่สระน้ำที่เตรียมไว้ได้ทั้งหมด

แต่ปัญหาในอดีตที่มีการจัดซื้อจัดจ้างให้มีการขุดสระน้ำประจำไร่นาในรัฐบาลยุคก่อนๆคือผู้รับเหมาใช้วิธีการที่ไม่ซื่อตรงโดยการทำวัดความลึกจากดินที่ขุดถมไว้บนปากบ่อลงมายังพื้นล่าง ไม่ได้วัดความลึกจากพื้นดินเดิมจริงๆ ลงไปหาก้นบ่อทำให้สิ้นเปลืองและเสียงบประมาณมากแต่ได้พื้นที่กักเก็บน้ำจริงๆน้อยและขุดได้ไม่ลึกเพียงพอ ทำให้สระน้ำขาดประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำไม่สามารถกักเก็บน้ำได้มากเพียงพอและขุดลึกไม่ถึงตาน้ำ (ในพื้นที่ที่อยู่ใกล้ตาน้ำ) อีกทั้งปัญหาในเรื่องสระน้ำที่มีดินค่อนข้างโพรกหลวมไม่สามารถกักเก็บน้ำได้

พื้นบ่อที่กักเก็บน้ำไม่ได้หรือพบสภาพพื้นบ่อที่เป็นดินในลักษณะนี้สามารถใช้สารอุดบ่อ (โพลิเมอร์ชนิดละเอียด) 2 กิโลกรัม ร่วมกับ สเม็คไทต์ 100 กิโลกรัม นำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วนำไปหว่านให้ทั่วพื้นบ่อและด้านข้างผนังบ่อได้ประมาณ1 ไร่ ก่อนจะหว่านสารอุดบ่อที่คลุกผสมเรียบร้อยดีแล้วจะให้ดียิ่งขึ้นควรมีการทำความสะอาดพื้นบ่อเดิมให้เรียบร้อยโดยอาจใช้รถแทรกเตอร์หรือเกรดเดอร์ปาดเกรดให้สะอาดราบเรียบไม่มีเศษขยะหรือกิ่งไม้ใบหญ้าเป็นขยะกีดขวางการทำงานหลังจากนั้นจึงใช้หินกรวดหรือทรายละเอียดหว่านลงไปแล้วทำการบดทับให้แน่นก่อนจึงค่อยหว่านสารอุดบ่อลงไปให้ทั่วทำการปล่อยน้ำเติมเข้าไปให้เต็มบ่อหรือในระดับที่ต้องการเมื่อโพลิเมอร์ทำปฏิกิริยากับสเม็คไทต์จะบวมพองและเหนียวข้นแทรกตัวลงไปในเนื้อดินที่พื้นบ่ออุดรูรั่วมิให้น้ำซึมลงไปข้างล่างทำหน้าที่คล้ายเมือกธรรมชาติช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้บ่อสามารถกักเก็บน้ำได้ดียิ่งขึ้น เหมาะสำหรับการทำสระน้ำประจำไร่นาที่ไม่ต้องใช้ต้นทุนมากเมื่อเทียบกับการใช้พลาสติกพีอีปูพื้นในต้นทุนหลายแสนบาทต่อไร่

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 18 กรกฎาคม 2555   
Last Update : 18 กรกฎาคม 2555 16:34:27 น.   
Counter : 2909 Pageviews.  

ปรับสภาพน้ำก่อนเติมปุ๋ยยา แก้ปัญหายาเสื่อมสภาพ

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตและเป็นปัจจัยสำคัญในการทำอาชีพเกษตรกรรมเพราะต้องใช้ในการให้ความชุ่มชื้น เคลื่อนย้ายถ่ายเทสารอาหารจากรากไปสู่ส่วนต่างๆของลำต้นทั้งกิ่งก้านใบ ถ้าพืชอยู่ในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำไม่เหมาะสมพืชก็จะมีการเจริญเติบโตช้า เช่น พืชที่เจริญเติบโตอยู่บนพื้นที่น้ำเค็ม น้ำเปรี้ยว น้ำด่าง การละลายและลำเลียงแร่ธาตุสารอาหารจะไม่สมบูรณ์เพราะท่อน้ำท่ออาหารของพืชจะเคลื่อนย้ายถ่ายเทสารอาหารในรูปของกรดอ่อนๆ เมื่อนำสสารที่เป็นด่าง หรือสสารผสมกับน้ำด่าง สุดท้ายได้สารละลายที่เป็นด่างจะไม่สามารถเข้าไปสู่เซลล์พืชได้ อีกทั้งบางทีน้ำด่างก็ทำลายฤทธิ์ของปุ๋ย ยา ฮอร์โมนที่เป็นกรดจนเสื่อมสภาพตั้งแต่แรกก่อนฉีดพ่น จึงทำให้ปุ๋ยยา สสารต่างๆที่ฉีดพ่นลงแปลงใช้ไม่ได้ผล เกษตรกรส่วนใหญ่ที่มีปัญหาแหล่งน้ำที่เป็นด่างจึงมักมีพฤติกรรมที่ชอบแถม เช่นฉลากข้างกระป๋องหรือซองให้ใช้ในอัตรา 1 ก็จะแถมอีก 1 ให้ใช้ 2 ก็จะแถมอีก 2 ที่เป็นเช่นนี้ใช่ว่าเกษตรกรจะดื้อดึงอะไรหรอกนะครับ แต่เป็นเพราะประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานเมื่อใช้แล้วไม่ได้ผล ก็ต้องมีการแก้ไขดัดแปลงให้สามารถทำงานบรรลุเป็าหมายได้อย่างราบรื่น โดยที่อาจจะยังไม่มีนักวิชาการเข้าไปชี้แจงแถลงไขให้ทราบว่าบางครั้งอาจจะไม่จำเป็นต้องเอาของแพง (ปุ๋ย ยา ฮอร์โมนที่แถมเพิ่มเข้าไป). ไปปรับเพียงอย่างเดียว อาจจะใช้กรดในรูปแบบอื่นๆปรับก่อนก็ได้แล้วจึงค่อยใช้ปุ๋ย ยา ฮอร์โมนที่มีราคาแพงมากกว่ามาเติมในภายหลัง กรดที่ต้นทุนต่ำ สะดวก ประหยัดและปลอดภัยได้แก่ มะนาว มะกรูด มะขาม มะเฟือง ส้ม ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทั้งหลายหรือจะใช้น้ำส้มสายชูก็ได้ทำการตรวจวัดน้ำเสียก่อนว่ามีความเป็นด่างมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นกลางหรือค่อนไปทางด่าง (ค่าพีเอชตั้งแต่7ขึ้นไป) สามารถใช้ได้ แต่ถ้าตรวจวัดแล้วมีค่าพีเอชต่ำกว่า 6.5 ลงมาไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะมีค่าพีเอชที่เหมาะสมพอเหมาะพอดีอยู่แล้ว ในส่วนของเกษตรกรที่มีพื้นที่ฉีดพ่นจำนวนมากอาจจะใช้วิธีการข้างต้นไม่สะดวก ก็สามารถใช้กรดซิลิสิค แอซิด เป็นทางเลือกได้ เป็นกรดที่สกัดได้จากหินแร่ภูเขาไฟ มีความปลอดภัยสูงในการใช้งาน เพราะเมื่อสัมผัสผิวหนังไม่เกิดการกัดกร่อน ระคายเคือง ที่รุนแรง เหมือนกรดเคมีอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นสารอาหารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตและสร้างความแข็งแรงให้กับผนังเซลล์ด้วย  อัตราและวิธีการใช้ก็เพียง 2.5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรเติมก่อนทุกครั้งก่อนเติมปุ๋ย ยา ฮอร์โมน หรือสารสกัดชีวภาพต่างๆก็ใช้ได้ ต้นทุนจะอยู่ที่ 1 บาทต่อปิ๊ป และ 10 บาทต้อน้ำ 200 ลิตร ซึ่งนอกจากจะได้กรดเหมือนมะนาว มะขาม ส้ม และน้ำส้มสายชูแล้วยังได้ซิลิก้าด้วย โดยที่บางครั้งบางคราวถ้ามะนาว มะกรูดแพงวิธีการนี้ก็ถือว่าเป็นทางเลือกน่าสนใจไม่น้อย ในการป้องการการทำลายฤทธิ์ของปุ๋ยยาจากด่าง (alcaline hydrolysis) ท่านสมาชิกหรือเกษตรกรท่านใดที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อสอบถามเข้ามาได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 0-2986-1680-2 หรือ081-3137559 มนตรี บุญจรัสชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 27 มิถุนายน 2555   
Last Update : 27 มิถุนายน 2555 9:51:18 น.   
Counter : 1225 Pageviews.  

ดูแลดินอย่างไร ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี

ดินที่ผ่านการทำเกษตรในปัจจุบันส่วนใหญ่จะพบว่ายิ่งเพิ่มปริมาณการใส่ปุ๋ยเคมีมากแต่กลับงามน้อยลงคือมีการเจริญเติบโตไม่สอดคล้องสมดุลต่อพฤติกรรมการใส่ปุ๋ย ในอดีตการใส่ปุ๋ยคือการเพิ่มเติมสารอาหารให้มีมากเพียงพอต่อการนำไปใช้ของพืชไร่ไม้ผลเพื่อเน้นการเพิ่มผลิตผลให้มากขึ้นตอบสนองต่อการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเพราะการทำเกษตรหลังปฏิวัติเขียวจะเน้นที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ช่วยทุ่นแรงในการผลิต ให้มีผลผลิตคราวละมากๆ การใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มเสริมเติมลงไปในดินแบบแยกส่วนจึงได้ผลลัพธ์ที่ดีเฉพาะช่วงแรกๆเพราะโครงสร้างดินและระบบนิเวศน์ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์มากเพียงพอแต่เมื่อใช้ระยะเวลานานเข้า ระบบนิเวศน์ จุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ เริ่มลดน้อยลงโครงสร้างดินแข็งขึ้น แห้งขึ้น แล้งขึ้น สารเคมีในรูปกรดที่ตกค้างจากปุ๋ยเคมีมากขึ้นเข้มข้นขึ้นส่งผลทำให้การใส่ปุ๋ยในระยะหลังเริ่มได้รับผลเสียมากกว่าผลดี

เนื่องด้วยดินเริ่มไม่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ย ปุ๋ยหรือแร่ธาตุสารอาหารที่ถูกใส่ลงไปโดยจะถูกยึดจับตรึงจากดินที่มีส่วนประกอบของกรดจากปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงมากจนทำให้ค่าพีเอชของดินมีระดับต่ำกว่า5.8 ลงมาซึ่งค่าที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชและเหมาะสมต่อการละลายแร่ธาตุสารอาหารควรอยู่ที่ระหว่าง5.8 – 6.3 มากกว่ากว่า 6.3 ก็ไม่ดี น้อยกว่า 5.8 ก็ถือว่าไม่ดี ค่านี้เป็นค่ากลางๆที่สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการปลูกพืชได้เกือบทุกชนิดแล้วค่อยๆศึกษาวิเคราะห์รายละเอียดแยกตามวงศ์พืชของแต่ละชนิดในอนาคตว่าชอบกรดมาก กรดน้อยด่างมาก ด่างน้อยก็ค่อยต่อยอดกันไป แต่ให้ใช้ค่านี้เป็นพื้นฐานในปลูกได้เลยเพราะค่าพีเอชที่เป็นกรดอ่อนๆ นี้สามารถช่วยแร่ธาตุหลัก รองเสริมเกือบทุกชนิดสามารถละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้เพียงพอและพอดีไม่มีแร่ธาตุตัวใดตัวหนึ่งละลายออกมาน้อยและมากเกินไปจนส่งผลเสียต่อพืช

การดูแลให้สุขภาพของดินให้ดีมีคุณภาพคือการกลับมาทบทวนเรื่องการใส่ปุ๋ยและการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กลับไปมีสภาพเหมือนตอนเริ่มมีการทำเกษตรใหม่ๆ ก่อนมีการปฏิวัติเขียวควรจะต้องมีความสอดคล้องสัมพันธ์กันไม่ใช่ปุ๋ยเคมีมากจนเกินไปจนลืมใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหรืออินทรีย์วัตถุลงไปด้วย พยามทำดินมีสภาพเหมือนป่าเปิดใหม่โดยการหมั่นเติมอินทรียวัตถุ เศษไม้ใบหญ้า หมักตอซังฟางข้าว (ไม่เผา) เพื่อคืนอินทรียวัตถุกลับสู่พื้นผิวโลก(ดิน) เมื่อมีอินทรียวัตถุ จุลินทรีย์ ไส้เดือนและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในดินจะกลับมาสร้างกิจกรรม เพราะมีบ้าน มีที่พักมีแหล่งอาหารเกื้อหนุนต่อการสร้างระบบนิเวศน์ให้สมดุล เมื่ออินทรียวัตถุผ่านกระบวนการย่อยสลายจากธรรมชาติสายลม อากาศ แสงแดด จุลินทรีย์ ฯลฯ จะช่วยทำให้ดินมีอินทรียวัตถุสะสมมากขึ้นจนมีสภาพคล้ายกับผืนดินในป่า(มีอินทรียวัตถุมากเกิน 5 %)เมื่อนั้นก็จะเป็นดินที่พร้อมต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีหรืออาหารเสริมใดๆ เข้ามาเสริมเพิ่มเติมให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายอีกต่อไป

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 25 มิถุนายน 2555   
Last Update : 25 มิถุนายน 2555 8:50:09 น.   
Counter : 1522 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]