นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ปูนโดโลไมท์ใช้ทำอะไรได้บ้าง???

การใช้ประโยชน์จากกลุ่มวัสดุปูนนับวันยิ่งแพร่หลายและมีผู้ที่สนใจใคร่รู้ข้อมูลด้านนี้มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะปูนโดโลไมท์ (CaMg(CO3)2) เนื่องด้วยช่วยทำให้ดินและพืชได้รับประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมทางตรงก็คือสามารถแก้ไขบำบัดดินที่มีสภาพเป็นกรดหรือกรดจัดให้กลับกลายเป็นดินที่เป็นกรดอ่อนๆมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชและมีความเหมาะสมต่อการละลายแร่ธาตุสารอาหารที่มีอยู่ในดินออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชให้สามารถดูดกินเข้าไปได้มากที่สุดอีกทั้งปูนโดโลไมท์สามารถที่จะสร้างคลอโรฟิลด์ทำให้ใบพืชมีสีเขียวเข้มสังเคราะห์แสงปรุงอาหารได้มากขึ้นจึงทำให้พืชมีการเจริญเติบโตส่งผลไปเลี้ยงกิ่งก้านใบดอกผลอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ผลพลอยได้คือทำให้ได้รับผลผลิตที่ลงมือลงแรงเพาะปลูกไปได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยไม่สูญเสียเวลาและแรงงานไปโดยเปล่า

นอกจากจะมีการใช้โดโลไมท์ (CaMg (CO3)2)ในทางการเพาะปลูกแล้วยังสามารถใช้ประโยชน์จากโดโลไมท์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างกุ้งและปลาได้อีกด้วยโดยการนำไปปรับสภาพความเป็นกรดและด่างๆให้ได้ตามชนิดของกุ้งและปลาต้องการกุ้งกุลาดำก็มักนิยมให้มีค่าพีเอชสูงขึ้นมาจากน้ำจืดปรกติอีกประมาณถึง 8.5แต่ถ้าเป็นกุ้งก้ามกราม (น้ำจืด)และกุ้งขาวแวนาไมด์(กุ้งน้ำเค็มที่สามารถเลี้ยงในน้ำกร่อยจนถึงจืดสนิทได้)ก็สามารถที่จะช่วยเหลือแก้ไขในกรณีที่น้ำในบ่อมีสภาวะเป็นกรดลดลงมาต่ำกว่า 7.0ก็สามารถที่จะใช้ปูนโดโลไมท์ค่อยทยอยใส่ปรับน้ำขึ้นมาให้อยู่ในจุดที่เหมาะสมได้เช่นเดียวกัน

นอกจากปูนโดโลไมท์จะเป็นปูนที่มีความปลอดภัยสูงเมื่อใช้กับสัตว์น้ำแล้วเพราะมีค่าความเป็นด่างที่ไม่รุนแรงเกินไปนัก อีกทั้งยังมีแร่ธาตุแมกนีเซียมที่เป็นตัวช่วยทำให้เกิดสาหร่ายแพลงค์ตอนเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว(Bloom) มีประโยชน์ในแง่การสร้างอาหารธรรมชาติให้แก่ปลาและกุ้งได้ทั้งในแง่อาหารและการพลางแสงมิให้มีความเข้มหรือจัดจ้ามากเกินไปทำให้สัตว์น้ำไม่เครียด กินอาหารได้ตามปรกติหรือมากขึ้นในกรณีที่อากาศร้อนแสงแดดจ้า หรือเวลาฝนตก ฟ้าหลัวเพราะทำให้หน้าที่คล้ายผ้าห่มหรือหลังคาให้แก่สิ่งมีชีวิตใต้น้ำเมื่อมีปริมาณแพลงค์ตอนในจุดที่พอดีเหมาะสมอย่างไรก็ตามการใช้กลุ่มวัสดุปูนหรือโดโลไมท์นั้น ใน “ได้” ย่อมมี “เสีย” หรือ ใน“ดี” ก้ย่อมมี “เลว” ปนกันไปสิ่งที่พึงระวังและทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษมักจะเตือนอยู่เสมอก็คือกลุ่มวัสดุปูนจะไม่มีประโยชน์เลยเมื่อสภาพดินและน้ำของเรามีความเหมาะสมดีอยู่แล้วเช่น ค่าพีเอช (PH) เป็นกรดอ่อน ๆ (5.8-6.3) หรือเป็นกลาง (PH = 7)หรือแม้กระทั่งน้ำก็ต้องปรับแต่งให้เหมาะสมกับชนิดของกุ้งปลาที่เราจะปล่อยลงไป

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 31 ตุลาคม 2555   
Last Update : 31 ตุลาคม 2555 20:18:06 น.   
Counter : 6612 Pageviews.  

จำแลงแปลงขี้ไก่ให้เป็นขี้ค้างคาว

ขี้ค้างคาว, ปุ๋ยขี้ค้างคาวชื่อนี้เมื่อเดินสำรวจตรวจตราตามตลาดนัดสวนจตุจักร ตลาดต้นไม้บางใหญ่ ราบสิบเอ็ดรามอินทราอาจณรงค์ หรือแหล่งรวมเรื่องที่เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์การเกษตรต้นไม้นานาชนิดถือว่าเป็นปุ๋ยหรือมูลสัตว์ที่ได้รับความนิยมมากๆ อีกทั้งมีราคาที่แพงเป็นพิเศษมากกว่าขี้หรือมูลชนิดอื่นๆถือว่าเป็นสินค้าท็อปฮิตติดดาวโดยเฉพาะผู้ที่ปลูกผักรักต้นไม้มือใหม่ไร้ประสบการณ์เนื่องด้วยเชื่อว่าเป็นปุ๋ยชนิดเดียวที่สามารถทำให้ต้นไม้หรือพืชที่ตนดูแลบำรุงรักษาเจริญเติบโตได้อย่างสวยงามเป็นพิเศษมากกว่าปุ๋ยชนิดอื่นๆ ต้องขอบอกว่าเป็นความเชื่อจริงๆนะครับเพราะยังมีมูลสัตว์อีกหลายชนิดที่สามารถทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้เช่นเดียวกันกับขี้หรือมูลค้างคาว

ค้างคาวมีทั้งที่กินผลไม้และกินแมลงมูลของค้างคาวที่กินแมลงจะมีประโยชน์และแร่ธาตุมากกว่า เมื่อขับถ่ายร่วงหกตกหล่นลงไปบนพื้นถ้ำที่เป็นภูเขาหินปูนซึ่งมีแร่ธาตุแคลเซียม(Ca) และซัลเฟอร์ (S)ทำให้มีคุณสมบัติที่พิเศษกว่าขี้หรือมูลสัตว์ชนิดอื่นๆที่ส่วนใหญ่จะมีเพียงปริมาณของแร่ธาตุไนโตรเจนเพียงอย่างเดียว ทำให้ในอดีตขี้หรือมูลค้างคาวมีราคาแพงเพราะเป็นขี้ที่ช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และแข็งแรงเพราะมีทั้งธาตุหลัก รอง และเสริมอยู่เกือบครบมากบ้างน้อยบ้างตามหลักแหล่งที่กำเนิดเกิดมูลค้างคาวนั้นๆ

ขี้หรือมูลค้างคาวถูกพ่อค้านำออกมาขายเป็นจำนวนมากหลายหมื่นหลายแสนตันจนนึกหวั่นพรั่นพรึงว่าป่านนี้เหตุไฉนจึงยังไม่หมดไปเสียที (เพราะความต้องการของท้องตลาดมีสูงมาก)แต่ก็มีเหล่าพ่อค้าอาเซียนพอให้คำตอบแบบถูๆไถๆไปได้บ้างว่ามีบางส่วนนำเข้ามาจากประเทศลาว ซึ่งเท่าที่ได้ยินได้ฟังมาก็ตกราวเกือบสิบกว่าปีมาแล้วขี้ค้างคาวที่เคยปาดกวาดเช็ดถูอยู่ทุกวี่ทุกวันน่าจะต้องมีอันมลายหายไปมากโขอยู่กว่าจะให้ค้างคาวขี้สะสมใหม่ใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะประมูลกันอีกสักรอบสองรอบก็ไม่น่าจะมีออกมาจำหน่ายจ่ายแจกกันได้เพียงพอโดยเฉพาะช่วงที่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพเป็นทีนิยมชมชอบอย่างมากในปัจจุบันโรงงานผลิตปุ๋ยจำหน่ายให้เกษตรกรใช้กันที่เป็นแสนตันต่อให้ค้างคาวทั่วอาเซียนก็ไม่แน่ว่าจะพอขายหรือไม่ภายในรอบการผลิต (ค้างคาวขับถ่าย)สองหรือสามปี

ฉะนั้นก่อนจะซื้อต้องฉุกคิดกันสักนิดว่าจำเป็นและคุ้มค่าไหมที่จะต้องซื้อขี้ค้างคาวนำมาใช้ในการเกษตรของเราเพราะมีโอกาสที่จะประสบพบเจอขี้ค้างคาวปลอดได้ง่ายและมากกว่า 70 -80 % ถ้าใช้มูลไก่หรือมูลสัตว์อะไรก็ได้ซึ่งส่วนใหญ่จะมีไนโตรเจนและอินทรีย์วัตถุ(Organic Matter) ที่ย่อยสลายปลดปล่อยจุลธาตุต่างๆ ออกมามากอยู่พอสมควรแต่อาจจะยังขาดโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถันซึ่งสามารถหาได้โดยง่ายจากกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ พูมิชซัลเฟอร์ (PumiceSulpher) ซึ่งมีองค์ประกอบในส่วนที่ขาดหายไปจากขี้ค้างพี่น้องเกษตรกรสามารถที่จะผลิตขี้ค้างคาวใช้เองในราคาประหยัด เพียงใช้มูลสัตว์ 10ส่วน คลุกผสมกับ พูมิชซัลเฟอร์ 2 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปใส่รองก้อนหลุมหรือหว่านแทนปุ๋ยเป็นอาหารให้พืช ก็จะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโต เขียวนาน เพราะเป็นปุ๋ยละลายช้าอีกด้วย(Slow Release Fertilizer) จากค่าซี.อี.ซี.(Catch Ion Exchange Capacity) ที่มีอยู่ในหมวดหมู่ของหินแร่ภูเขาไฟ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 18 ตุลาคม 2555   
Last Update : 18 ตุลาคม 2555 18:03:56 น.   
Counter : 1790 Pageviews.  

แร่หินดินด่างข้างภูเขาปลูกพืชควรใช้ปุ๋ยที่ให้ค่ากรดลดอัลคาไลน์

มีเกษตรกรจำนวนมากที่มีพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ไม้ผลอยู่ข้างๆภูเขาลำเนาไพร เนื่องด้วยมักมีสายน้ำลำธารที่สวยใสไหลหลั่งรินลงมาจากลำห้วยด้วยแหล่งน้ำจากด้านบนของยอดภูลงมาสู่ที่ต่ำพื้นที่ในลักษณะนี้จะมีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกอยู่มาก เราจึงมักจะเห็นอาณาบริเวณรอบๆภูเขาที่ชาวไร่ปลูกพืชไร่ไม้ผลกันดื่นดาษทั้งข้าวฟ่างข้าวโพด พริก มะละกอ ฯลฯ สุดแท้แต่จะมีผู้บริโภคเรียกร้องต้องการพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ดังเช่นป่าเปิดใหม่ในลักษณะนี้จะมีปุ๋ย แร่ธาตุสารอาหารอันอุดมสมบูรณ์สามารถแผ้วถางขุดหลุมปลูกได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีแม้แต่เมล็ดเดียวหากแต่ปลูกซ้ำย้ำที่เดิมอยู่เป็นอาจิณจนทรัพย์ในดินสินแร่เริ่มร่อยหรอลดน้อยเมื่อนั้นก็จะเริ่มมีการใช้ปุ๋ยเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาเสริมเพิ่มเติมเพื่อให้ผลผลิตไม่ลดลงตามปริมาณอาหารในดิน

ผืนดินที่อุดมไปด้วยอินทรียวัตถุเศษไม้ใบหญ้าและจุลินทรีย์แอคติโนมัยสิท(actinomycetes)เมื่อถูกพืชไร่ไม้ผลดูดกินไปนมนานเข้าก็เริ่มจืดจางส่งผลให้ฮิวมิกแอซิด (Humic acid) ที่ซึ่งคอยช่วยให้โครงสร้างดินมีความแข็งแรงลดการชะล้างทำลายของกระแสน้ำก่อให้เกิดเป็นเม็ดดินทำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ก่อให้เกิดกิจกรรมการย่อยสลายเคลื่อนย้ายถ่ายเทแลกเปลี่ยนสารอาหารให้แก่ระบบนิเวศน์ในผืนดินผืนป่าทั้งพืชสัตว์ จุลินทรีย์ ฯลฯ ทำหน้าที่คล้ายตู้เย็นกักเก็บสารอาหารต่างๆให้แก่พืชมีอันต้องลดน้อยถอยลงไปตามกาลเวลา

ความอุดมสมบูรณ์เหล่านี้เป็นที่มาแห่งการทำไร่ทำสวนปลูกชากาแฟต่างๆนานาของชาวไร่ชาวนา ชาวเขา ชาวสวน เมื่อถึงจุดหนึ่งซึ่งอาหารและหน้าดินแห่งฮิวมัส (Humus) หมดลงในถิ่นที่เป็นแหล่งภูเขาหินปูน (lime) ก็จะเริ่มสำแดงแผลงให้เห็นฤทธิ์แห่งธรรมชาติพืชจะหยุดการเจริญเติบโต ใบเริ่มซีดจาง ดินไม่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ย แน่นแข็งกระด้าง ใช้จอบขุดก็กระเด้งกระดอน เนื่องด้วยความสมดุลย์แห่งระบบนิเวศน์ที่มีสิ่งมีชีวิตและอินทรีย์วัตถุที่หลากหลายต่างช่วยกันทำหน้าที่ทะนุบำรุงความอุดมสมบูรณ์เอาไว้ผืนดินดังนี้ยิ่งถ้าใช้ปุ๋ยเคมีที่ไม่มีความเป็นกรดก็จะยิ่งกระหน่ำซ้ำเติมให้ดินเลวลงไปอีกเรื่อยๆ ที่ถูกต้องเมื่อพบประสบปัญหาดินที่เป็นด่างเมื่ออยู่ใกล้แหล่งภูเขาหินปูนควรใช้ปุ๋ยที่มีค่าความเป็นกรดอยู่ด้วยอย่างเช่น แอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0)ทดแทนปุ๋ย (ยูเรีย) 46-0-0 และปุ๋ย 0-0-50 (โพแทสเซียมซัลเฟต) ทดแทนปุ๋ย 0-0-60 (โพแทสเซียมคลอไรด์)เพื่อจะได้ฃ่วยปรับโครงสร้างทางกายภาพของดิน (physical Structure) ให้กลับมาดีขึ้นพร้อมๆไปกับการเจริญเติบโตของพืช

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 05 ตุลาคม 2555   
Last Update : 5 ตุลาคม 2555 17:54:01 น.   
Counter : 1098 Pageviews.  

วัชพืชช่วยเร่งการเจริญเติบโตมากกว่าแย่งอาหารแย่งปุ๋ยจากพืช

คำว่า วัชพืช (Weeds) อาจจะมีผู้ให้ความหมายในหลากหลายมิติทั้งในแง่ที่ว่าเป็นพืชที่เกิดขึ้นอยู่ในแปลงหรือในที่ที่เราไม่ต้องการให้เกิด หรือพืชซึ่งไม่เป็นที่ต้องการหรือปรารถนาในการใช้ประโยชน์ของมนุษย์หรือพืชที่คอยรบกวนพื้นที่ใช้สอยหรือพื้นที่ใช้ประโยชน์ของมนุษย์ หรือพืชที่แพร่กระจายรุกรามเข้ามาแย่งพื้นที่ที่อยู่หรือที่ที่มนุษย์ทำประโยชน์ ฯลฯซึ่งยังน่าจะมีอีกหลากหลายความหมายแล้วแต่ผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยจะนิยามออกมาเพื่อสื่อให้ผู้ที่สนใจรับรู้เข้าใจในเรื่องเดียวกันได้อย่างถ่องแท้

แต่บางครั้งถ้าคิดในมุมกลับกันใครจะคิดบ้างว่าวัชพืชนั้นอาจจะมีประโยชน์มากกว่าโทษในแง่ของการที่มนุษย์จะเกรงกลัวว่าจะมาแย่งกินปุ๋ยและอาหารของพืชหลักแต่เพียงอย่างเดียวเพราะถ้าสังเกตให้ดี พื้นที่หรือผืนดินที่มีหญ้าขึ้นย่อมบ่งบอกให้เกษตรกรหรือชาวไร่ชาวนารับรู้ว่าพื้นดินนี้มีความเหมาะสมอย่างมากในการที่จะทำเกษตรกรรม(Soil Fertility) เพราะแม้แต่หญ้าก็ยังเจริญเติบโตขึ้นได้ถ้าไปสำรวจตรวจตราหาซื้อที่ดินทำกิจกรรมการเกษตรที่เป็นพื้นที่โล่งเตียน เห็นดินแห้งแตกระแหงเป็นผุยผงฝุ่นละอองแม้แต่หญ้าต้นเดียวยังไม่มีให้เห็นผู้เขียนคิดว่านี่น่าจะต้องขบคิดพิจาณาให้หน่วงหนักมากกว่าเดิมอีกเท่าตัว

เกษตรกรหรือชาวสวนที่ทำไร่ไถนาแบบไม่ฉีดพ่นยาฆ่าหรือคุมหญ้า (InsecticideControl)จะช่วยให้พืชหลักที่ปลูกไม่ทนทุกข์ทรมานจากสารกดขี่ข่มเหงการเจริญเติบโตถึงแม้จะทนทานได้มากกว่าหญ้าแต่ก็ทำให้อานสูญเสียการเจริญเติบโตไปมากพอสมควรถ้าหมั่นตัดแต่งดูแลให้ต้นหญ้าอยู่อาศัยกับพืชหลักแบบพอเหมาะพอดีจะช่วยทำให้แมลงที่มีประโยชน์อย่างตัวห้ำตัวเบียน ฯลฯ มีถิ่นที่อาศัยพำนักช่วยกำจัดแมลงศัตรูของพืชให้ลดจำนวนลงแบบธรรมชาติ (Natural Control) รากหญ้าถึงแม้จะดูดกินแย่งปุ๋ยจากพืชหลักบ้างแต่ก็ไม่มากแต่กลับหลั่งสารอาหารบางชนิดกลับคืนสู่ดินสูรากพืชแลกเปลี่ยนสารอาหารซึ่งกันและกันทำให้พืชที่เจริญเติบโตโดยมีหญ้าปกคลุมไม่แน่นหนาเกินไปจะมีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรงดีกว่าพืชที่ปลูกอยู่ในพื้นที่โล่งเตียนรอเพียงปุ๋ยที่มนุษย์จะนำมาใส่ให้เท่านั้นอีกทั้งเมื่อมีการตัดแต่งดูแลหญ้าอย่างสม่ำเสมอ (Cultural Control) เศษซากอินทรียวัตถุจากหญ้าจะช่วยปกคลุมอุ้มไอน้ำความชื้นจากดินมิให้สูญเสียระเหยไปกับสายลมแสงแดดได้โดยง่ายเมื่อผ่านระยะเวลาที่เหมาะสมจะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยกลับคืนไปสู่ดินและให้รากพืชทั้งหมดตราบเท่าที่หญ้าจะดูดกินมากักเก็บไว้ได้

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 02 ตุลาคม 2555   
Last Update : 2 ตุลาคม 2555 16:04:30 น.   
Counter : 1446 Pageviews.  

ฮอร์โมนไข่ ทำง่ายใช้ทดแทน แพคโคลบิวทราโซนและโพแทสเซียมคลอเรท

ได้มีโอกาสนำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องฮอร์โมนไข่ไปส่งเสริมให้เกษตรกรได้ใช้ในการเกษตรตั้งแต่ปี2545 จากคำแนะนำของท่านอาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยะประภา ซึ่งเป็นกัลยาณมิตรต่างวัยของท่านอาจารย์ดีพร้อมไชยวงศ์เกียรติ โดยทั้งสองท่านได้มีโอกาสประสบพบเจอกันในกิจกรรมทางพุทธศาสนาผมไม่แน่ใจว่าในแง่วิปัสนากรรมฐานหรือกิจกรรมด้านอื่นๆแห่งพุทธพีธีเพราะท่านอาจารย์ดีพร้อมได้เคยบอกไว้นานหลายปีถ้ามีโอกาสอาจจะต้องสอบถามท่านอาจารย์สุวัฒน์อีกครั้งให้หายคลายสงสัยเป็นแน่แท้ ส่วนจะถามท่านอาจารย์ดีพร้อมนั้นคงหาได้ไม่เพราะท่านได้จากพวกเราไปตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2551 โน่น โดยส่วนใหญ่ท่านอาจารย์สุวัฒน์จะให้เกียรติเรียกท่านอาจารย์ดีพร้อมว่า...”อาจารย์”และให้ลูกศิษย์ลูกหาของท่านเรียกท่านอาจารย์ดีพร้อมว่าอาจารย์ใหญ่อีกทีหนึ่งนี่ก็เป็นวัฒนธรรมสืบสานประเพณีที่ดีงามที่ลูกศิษย์ลูกหารุ่นต่อๆมาก็ยังให้ความเคารพนพนอบต่ออาจารย์ทั้งสองท่านอยู่ตลอดเวลาเพราะถือว่าทั้งสองท่านนั้นมีวิชาความรู้คุณูปการที่มอบให้แด่พี่น้องเกษตรกรไทยทั้งใหม่เก่าอยู่ตลอดเวลา

ฮอร์โมนไข่นั้นวัตถุประสงค์เริ่มต้นเพื่อบำรุงปรุงแต่งแร่ธาตุวิตามินสารอาหารให้แก่ต้นไม้ที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์อีกทั้งใช้ในการเปิดตาดอกเป็นสำคัญโดยเฉพาะพืชที่มีแต่ใบไร้เม็ดไร้ผลมาเป็นระยะเวลานานด้วยแล้วเมื่อนำฮอร์โมนไข่ไปราดรดในอัตรา 20 -30 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตรทุก 3 หรือ 7 วันไม่นานวันต้นที่เหงาเฉาดอกใบก็จะเริ่มมีช่ออั้นกั้นปริ่มที่ปลายยอดไม่ช้าไม่นานก็แทงดอกออกผลออกมาให้ผู้คนได้ยลชิมลิ้มรสสมปรารถนาเนื่องด้วยในอดีตเทคโนโลยีและนวัตกรรมยังไม่ก้าวหน้ามากนัก (20 -30 ปีที่แล้ว) พืชผักผลไม้แต่ละชนิดล้วนเกิดขึ้นได้ในแต่ละท้องถิ่นลำไย เงาะ ทุเรียน จะนำไปปลูกต่างถิ่นก็ให้มีอันเป็นได้แต่ใบ ไร้ผล (ผู้เขียนเคยเห็นคุณปู่นำลำไยจากเพื่อนที่ไปมาหาสู่นำมาปลูกที่บ้านก็มีแต่ใบไม่มีลูก)นำทุเรียน หรือส้มมาปลูกภาคกลาง (จังหวัดอ่าทอง สิงห์บุรี ขัยนาท)ก็ถือว่าเป็นเรื่องแปลกแหกความธรรมดาจึงน้อยนักที่ภาคกลางจะมีผลไม้อย่างอื่นๆเข้ามา นอกจากกระท้อน มะม่วง มะละกอ กล้วย อ้อย แห้ว ฯลฯ (ต้องขอออกตัวว่านี้เป็นเพียงความคิดเห็นอันคอดและแคบของผู้เขียนเพียงคนเดียวนะครับ)

ฉะนั้นการที่จะทำให้พืชไร่ไม้ผลเกิดลูกติดดอกนอกฤดูก็จะมีการนำสารเคมีนานาชนิดนำมาทดลองดัดแปลงแต่งเสริมให้เกิดผลลัพธ์กับสิ่งที่ตนเองต้องการโดยเฉพาะสารแพคโคลบิวทราโซน ที่ใช้ในมะม่วง และโพแทสเซียมคลอเรทในลำไยที่มักจะได้ยินชินกันทั่วในช่วงสิบกว่าปีมานี้ ทำให้สวนมะม่วงและสวนลำไยส่วนใหญ่ของประเทศที่ถูกมือปืนรับจ้างต่างถิ่นเข้ามาอาสาดูแลจัดการสวนฉีดยัดอัดแน่นสารเคมีต่างๆเหล่านี้ลงไปทั้งดิน น้ำ อากาศ ส่งผลทำให้มะม่วงและลำไยที่ได้รับสารแห่งการทรมานเหล่านี้ล้วนมีอาการคล้ายคนญวนครวญฝนเหลืองจากประเทศอเมริกาทิ้งบอมสารในกลุ่มChlorophenoxy herbicide ทำให้กิ่งก้านใบเหี่ยว ไหม้ หงิกงอ เจ้าของสวนเดิมจะกลับมาทำอีกก็หมดอาลัยตายอยากยากที่จะกู้ฟื้นคืนมาได้ จะเรียกร้องอะไรเสือปืนไวก็หลีกหนีไปไกลห่างแล้ว เพราะฉะนั้นทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษจึงพยายามที่จะชี้นำส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ฮอร์โมนไข่ทดแทนการใช้สารเคมีดังกล่าวและให้หันมาใช้ระบบการสร้างความสัมพันธุ์ของปริมาณ คาร์บอนและไนโตรเจน (C :N RATIO)ในสัดส่วนที่สมดุลเหมาะสมกับช่วงฤดูกาลมากกว่า เพราะไม่เป็นการทำลายระบบนิเวศน์และทรมานต้นไม้อีกด้วย

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreeangro.com




 

Create Date : 01 ตุลาคม 2555   
Last Update : 1 ตุลาคม 2555 18:04:00 น.   
Counter : 7018 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]