ibaz.org
Group Blog
 
All Blogs
 

การปลูกมะเขือเทศ

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกมะเขือเทศ
มะเขือเทศเป็นพืชที่เจริญได้ดีในดินทั่วไป แต่ที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย มีอินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำและอากาศดี ในสภาพที่ชื้นแฉะ จะทำให้รากขาดออกซิเจน ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นหากมีน้ำขัง หลายวัน จะต้องเร่งน้ำออก ที่สำคัญคือต้องไม่ปลูกซ้ำในแปลงเดียวกันหลายปี เพราะจะเกิดการสะสมของโรค ซึ่งยากต่อการป้องกันกำจัด

ขั้นตอนการปลูกมะเขือเทศ
1. การปลูก สามารถปลูกได้ 2 วิธี คือ การเพาะกล้าแล้วย้ายปลูก และการหยอดเมล็ดโดยตรง ก่อนปลูกต้องทำการไถดินลึก 15-20 เซนติเมตร และตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ อาจใส่ปูนขาวหรือโดโลไมล์ ในกรณีที่ดินเป็นกรด ระยะปลูกที่แนะนำ คือ ระหว่างต้น 40 เซนติเมตร ระห่างแถว 70 เซนติเมตร
2. การให้น้ำ ระยะแรกต้องให้น้ำทุกวันขณะที่ช่วงติดดอกติดผล ถ้าขาดน้ำจะทำให้เป็นโรคก้นเน่า และผลร่วงได้
3. การใส่ปุ๋ย ช่วงแรกของการเจริญเติบโต ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากที่ย้ายปลูก 15-20 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50-70 กิโลกรัม/ไร่ โดยโรยข้างต้นและพรวนดินกลบ เมื่ออายุได้ 35-40 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ประมาณ 50 กิโลกรัม/ไร่
4. การปักค้าง ทำเมื่อมีอายุประมาณ 8-10 วันหลังย้ายกล้า
5. การปลิดใบและการตัดแต่งกิ่ง กระทำโดยการแต่งกิ่งที่แตกออกมาจากลำต้นให้เหลือเพียง 2-3 กิ่ง เพื่อให้ผลมีขนาดใหญ่ และสะดวกในการผูกค้าง

โรคและการป้องกัน
1. โรคเหี่ยวเขียว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการคือ ใบและส่วนยอดจะเหี่ยวในช่วงกลางวัน ที่มีอากาศร้อน ใบล่างจะเหี่ยวห้อยลง ต่อมาจะเหี่ยวทั้งต้น ใบม้วนงอทั้ง ๆ ที่ยังเขียวอยู่ และจะตายภายใน 2-3 วัน โรคนี้เป็นแล้วรักษาไม่ได้ วิธีป้องกันที่กันที่สุด คือ งดปลูกมะเขือเทศในพื้นที่ที่เป็นโรคอย่างน้อย 4-5 ปี ปลูกพืชหมุมเวียน และปรับ pH ของดินให้เหมาะสม
2. โรคเหี่ยวเหลือง เกิดจากเชื้อรา ระยะแรกพบเป็นเส้นใยสีขาวทั่วไป ต่อมาเชื้อจะสร้างเม็ดสเคลอร์โรเดียม เป็นเม็ดกลม ๆ สีน้ำตาลดำ ต่อมาอาการจะเป็นแผลแห้งรอบลำต้น ลำต้นเหี่ยวและแห้งตาย ป้องกันโดยการโรยปูนขาวที่โคนต้น รักษาหน้าดินให้แห้งการปักค้างจะช่วยลดความเสียหายได้
3. โรคใบไหม้ เกิดจากเชื้อราอาการที่ใบคล้ายน้ำร้อนลวก ด้านใต้ใบพบเส้นใยของเชื้อราเป็นสีเทาคล้ายละอองน้ำเกาะอยู่ หากรุนแรงจะลามหมดทั้งใบ ใบแห้งดำ ป้องกันกำจัดโดยหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่เคยเป็นโรค ทำลายต้นที่เป็นโรคทีนที ไม่ควรให้น้ำแบบฉีดพ่น ฝอย ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกลุ่ม เมตาแล็คซิล
4. โรคใบหยิกเหลือง เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมีแมลงเป็นพาหะ ซึ่งจะระบาดในสภาพอากาศแห้ง ป้องกันโดยหมั่นสังเกต ในแปลงไม่ให้มีแมลงหวี่ขาว หากพบให้ฉีดพ่นด้วยสารไดเมทโธเอท ในอัตรา 1.5-2 เท่า ผสมสารเมทามิโดฟอส หรือ อิมิดาครอปิด
5. โรคขาดธาตุอาหาร ป้องกันโดยหลีกเลี่ยงในดินที่เป็นกรดจัด และปรับ pH ในดินก่อนปลูก โรคที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารประกอบด้วย
5.1) โรคก้นเน่า ขาดธาตุโบรอน แก้ไขโดยฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ
5.2) โรคแผลแตก ขาดธาตุแคลเซียม แก้ไขโดยฉีดพ่นแคลเซี่ยมให้สม่ำเสมอ
5.3) โรคไส้ดำ ขาดธาตุแคลเซียมและโบรอน ประกอบกับดินเป็นกรด
5.4) โรคยอดม่วง ขาดธาตุฟอสฟอรัส

แมลงศัตรูและการป้องกัน
1. หนอนเจาะผลมะเขือเทศ ตัวหนอนจะเจาะเข้าไปในผล กัดกินเนื้อและเมล็ดอ่อนภายใน ส่วนใหญ่มักทำลายผลที่ยังมีสีเขียวอยู่ ผลที่ถูกทำลายเห็นเป็นจุดมีรอยช้ำและเน่าก่อนที่จะเก็บเกี่ยว การตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ โดยระยะก่อนติดผล และกำลังติดผลอ่อน ป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่นสารในกลุ่มเมทโทมิล สารไพรีทรอย และยาเชื้อแบคทีเรีย
2. เพลี้ยไฟ ดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ยอดหงิก ขอบใบแดง และดอกร่วง ป้องกันกำจัดด้วยสารเอนโดซัลแฟน หรือสารฟิโปรนิล
3. เพลี้ยอ่อน ถ้าเป็นตัวสีดำ ให้ฉีดพ่นด้วยสารดเมทโทเอท ถ้าตัวสีเขียวใช้สารไวท์ออยล์
การเก็บเกี่ยว
มะเขือเทศลูกผสมพันธุ์ แซ่บ และ แสงทอง สามารถที่จะเก็บเกี่ยวได้ภายใน 60-70 วัน หลังย้ายกล้า หากส่งตลาดผลสดควรเก็บขณะเปลี่ยนสี หากเก็บส่งโรงงานควรเก็บผลที่มีสีแดงสด (พันธุ์แสงทอง) และสีชมพู (พันธุ์แซ่บ) ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและการดูแลรักษา คือ ประมาณ 1-2 เดือน หลังจากที่เริ่มเก็บเกี่ยว




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2559    
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2559 11:41:15 น.
Counter : 994 Pageviews.  

มะเขือเทศ ชะลอชรา

มะเขือเทศ ทุกท่านคงจะรู้จักมะเขือเทศเป็นอย่างดี เพราะเป็นผลไม้ที่ใช้ในการประกอบอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ มากมาย และเป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับวิตามินซี วิตามินเค แร่ธาตุโปแตสเซียม และโบรอน สารสำคัญในมะเขือเทศที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ คือ สารไลโคพีน (lycopene) เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ที่มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ และช่วยในการป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย สารไลโคพีนนี้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าสารเบต้าเคโรทีน และสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์อื่นๆ ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยังพบอีกว่าสารไลโคพีนช่วยลดโอกาสความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากได้มากถึงร้อยละ 20 สารไลโคพีนพบมากในมะเขือเทศแดงสด แตงโม และฝรั่งขี้นกที่มีเนื้อสีชมพูอมแดง

มนุษย์รับประทานมะเขือเทศเป็นอาหาร ผัก รวมทั้งเครื่องดื่ม นอกจากมะเขือเทศจะมีรสชาติที่อร่อยแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางอาหารมากมาย มะเขือเทศมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycopersicon esculentum เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae มะเขือเทศเป็นพืชล้มลุกอายุประมาณหนึ่งปี เติบโตเร็ว ลำต้นมีขนปกคลุม มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบหยักเว้าลึก ดอกสีเหลืองรูปดาว ผลฉ่ำน้ำ ผลมะเขือเทศอาจมีรูปร่างกลมหรือรี สีเหลือง ส้ม หรือแดง

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

มะเขือเทศเป็นแหล่งวิตามิน A, B, C, E และแร่ธาตุโพแทสเซียม

น้ำจากผลมะเขือเทศที่คั้นใหม่ๆ ใช้ทำความสะอาดผิว ทำให้ผิวนุ่มเนียน และสวยงาม

น้ำคั้นจากผลมะเขือเทศมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอย่างอ่อน เนื่องจากในมะเขือเทศมีสารไลโคปีน จัดเป็นสารแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่ง แคโรทีนอยด์นี้เป็นเม็ดสีธรรมชาติที่ละลายในไขมันซึ่งให้สีเหลืองสด ส้ม แดง และเขียวสดกับผัก ผลไม้ อย่างเช่น แครอท ฟักทอง บร็อคโคลี่ ฯลฯ มีคุณสมบัติช่วยต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ทำให้อนุมูลของเซลล์ในร่างกายมีอนุภาคเป็นกลาง ช่วยหยุดยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของอนุมูลอิสระต่างๆ ไลโคปีนนี้จัดว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลังที่สุด ในมะเขือเทศมีไลโคปีนอยู่มากเหนือกว่าแตงโมเกือบสองเท่า การกินมะเขือเทศเป็นประจำ ก็จะช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระได้มาก จะช่วยชะลอความแก่ชรา และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอย่างเช่น มะเร็ง หรือโรคหัวใจได้มาก

น้ำคั้นจากผลมะเขือเทศยับยั้งการเกิดมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะในหนูทดลอง และช่วยลดอุบัติการการเกิดมะเร็งที่ระบบทางเดินอาหารได้อีกด้วย นอกจากนี้การรับประทานผลมะเขือเทศจะได้รับสารไลโคพีนที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

สารที่มีชื่อเรียกว่า tomatoside เป็น steroidal glycoside มีอยู่ในมะเขือเทศ แสดงคุณสมบัติของ interferon อาจใช้ป้องกัน และรักษาการติดเชื้อไวรัสในมนุษย์และสัตว์




 

Create Date : 02 พฤศจิกายน 2559    
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2559 10:15:32 น.
Counter : 754 Pageviews.  

มะเขือเทศ



ต้น เป็นพืชอายุปีเดียว ต้นสูง ๑ – ๒ เมตร ปกคลุมด้วยขนอ่อนนุ่ม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกสลับกัน ใบย่อยมีตัวใบข้างหนึ่งเล็กข้างหนึ่งใหญ่ ใบบางรูปรี ปลายใบแหลม ฐานใบไม่เท่ากัน ขอบใบมีรอยหยักคล้ายฟันเลื่อยหรือเว้าลึก ใบยาว ๕ -๗ เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อที่ง่ามใบ ช่อหนึ่งมี ๓ – ๗ ดอก กลีบดอกสีเหลือง โคนติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น ๕ – ๖ กลีบ ผล มีขนาดและสีแตกต่างกันไปแต่ละชนิด ส่วนใหญ่กลมรี หรือกลมแบน ผิวนอกเรียบเป็นสีแดงหรือสีเหลือง มีเนื้อฉ่ำน้ำ มีเมล็ดจำนวนมาก พันธุ์ดั้งเดิมที่มีผลกลมขนาดเล็กประมาณผลมะเขือพวงและติดเป็นพวง มีรสเปรี้ยวมากชาวล้านนามักเรียกว่า บ่าเขือบ่าแฅว้ง หรือ บ่าเขือส้มพุก (อ่าน บ่าเขือส้มปุ๊ก) สาวนชนิดที่มีผลกลมรี สีส้มแดง ขนาดประมารผลบ่าหลอด (สลอดเถา) มักเรียกกันว่า บ่าเขือส้มบ่าหลอด

ไม่มีข้อมูลสารอาหาร ชาวล้านนาได้ใช้มะเขือเทศประกอบอาหารต่างๆ เช่น ผลสุกสดใช้เป็นผักกินกับอาหารประเภทยำ ลาบ ส้า หรือน้ำพริก ใส่แกงต่างๆ เช่น แกงขนุน แกงสะแล แกงผักเฮือด ผลสุกนำไปเผาเป็นส่วนผสมในตำรับน้ำพริกต่างๆ อาทิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกปลาร้า หรือน้ำพริกฮ้า โดยเฉพาะน้ำพริกอ่อง ถือว่ามะเขือเทศนี้เป็นส่วนผสมสำคัญ นิยมใช้มะเขือเทศลูกเล็ก
ผลเป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำและเบื่ออาหาร ผลมีวิตามินเอ และซีจำนวนมากในต้นมะเขือเทศมีสารสำคัญ คือโทมาทีน (tomatine) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิดที่เป็นต้นเหตุของโรคในพืชและคนได้ แต่มีฤทธิ์ไม่แรงนัก รากและใบแก่ต้มกินแก้ปวดฟัน ใบบดเป็นผงละเอียด เป็นยาเย็น ใช้ทาผิวถูกแดดเผา เป็นต้น นอกจากนี้ ใบชงกับน้ำร้อนใช้เป็นยาพ่นกำจัดหนอนที่มากินผักได้สารสีแดงไลโคปินช่วยป้องกันมะเร็งร้ายหลายชนิด และโรคหลอดเลือดหัวใจ




 

Create Date : 01 พฤศจิกายน 2559    
Last Update : 1 พฤศจิกายน 2559 9:41:51 น.
Counter : 835 Pageviews.  

มะเขือพวงกับสุขภาพ

มะเขือพวงเป็นพืชที่ช่วยเสริมสุขภาพ โดยมีสรรพคุณตามตำราแพทย์แผนไทยคือ ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยให้โลหิตหมุนเวียนดี แก้ฟกช้ำ ไอเป็นเลือด ฝีบวมมีหนอง และข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ได้แสดงคุณสมบัติที่เด่นชัดของมะเขือพวงในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลำไส้เพื่อตอบสนองต่อสารพิษที่เข้ามายังระบบทางเดินอาหาร มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันช่วยป้องกันความเสื่อม และแก่ก่อนวัย มีฤทธิ์ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในโรคเบาหวาน อีกทั้งยังมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด

มะเขือพวงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ศาสตร์คือ Solanum torvum Sw. ซึ่งเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Solanaceae และมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ ภาคเหนือเรียกว่า “มะแคว้งกุลา” ภาคอีสานเรียกว่า “หมากแข้ง” แต่จังหวัดนครราชสีมาจะเรียกว่า “มะเขือละคร” ภาคใต้เรียกว่า “เขือน้อย เขือพวง ลูกแว้ง และเขือเทศ” แต่จังหวัดสงขลาจะเรียกว่า “มะแว้งช้าง”

มะเขือพวงเป็นไม้พุ่มยืนต้นข้ามปี แตกต่างจากมะเขือทั่วไปที่เป็นพืชล้มลุก มะเขือพวงเป็นมะเขือโบราณที่มีทวิลักษณะ (ลักษณะขัดแย้งกัน 2 อย่าง) คือ มีพุ่มต้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดามะเขือด้วยกัน แต่มีผลที่มีขนาดเล็กที่สุด

สารสำคัญที่พบในมะเขือพวง

มะเขือพวงมีสารสำคัญ 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ สารกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ และสารกลุ่มอัลคาลอยด์

ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) หมายถึง สารอาหารที่ได้รับจากพืช ซึ่งต่างจาก นิวเทรียนท์ (Nutrient) คือ เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะปกติ ไฟโตนิวเทรียนท์จะไม่มีผลใด ๆ ต่อร่างกาย แต่เมื่อร่างกายเกิดสภาวะขาดแคลน สารอาหารเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงฟื้นฟูสภาพร่างกายให้ดียิ่งขึ้น สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ ซึ่งสารที่สำคัญคือ Torvoside A, H และซาโปนิน
Torvoside สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด เนื่องจากมีโครงสร้างของสารที่คล้ายกับโคเลสเตอรอล จึงช่วยให้ลดการดูดซึมโคเลสเตอรอลที่ลำไส้ แล้วกระตุ้นให้ตับนำโคเลสเตอรอลในเลือดไปใช้มากขึ้น รวมทั้งยับยั้งการดูดซึมกลับของโคเลสเตอรอลในลำไส้ด้วย จึงป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด และมีผลต่อระบบการแข็งตัวของเลือด

ซาโปนิน (Saponin) เป็นไฟโตนิวเทรียนท์ที่พบในมะเขือพวง โดยสาร Torvonin B เป็นซาโปนินชนิดหนึ่งที่ทำให้มะเขือพวงมีฤทธิ์ขับเสมหะ ลักษณะเด่นของสารซาโปนินคือ สามารถเกิดฟองได้เมื่อนำไปละลายน้ำเนื่องจากเป็นสารลดแรงตึงผิว จึงนำไปใช้เป็นยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เพราะสามารถทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเป็นรูได้ ทำให้แอนติบอดีในร่างกายสามารถเข้าไปในเซลล์ของเชื้อโรคได้
อัลคาลอยด์ (Alkaloids) หมายถึง สิ่งที่เหมือนด่าง (Alkali-like) หรือด่างจากพืช (Vegetable alkali) อัลคาลอยด์มีฤทธิ์เป็นด่าง ส่วนมากจะเป็นของแข็ง และเป็นผลึกที่มีจุดหลอมเหลวเฉพาะ มีรสขม ไม่มีสี มีความเสถียรต่ำ เนื่องจากเป็นด่างจึงสลายตัวง่ายถ้าโดนแสง หรือความร้อนนาน ๆ มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท แต่จะมีผลต่ออวัยวะต่างกัน จึงนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย แต่ถ้ารับประทานมะเขือพวงเกิน 200 ผลภายในครั้งเดียว อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตับได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวัง แต่อัลคาลอยด์เป็นสารที่สลายตัวได้ง่าย ซึ่งหากนำมาผ่านความร้อนแล้ว ก็จะสามารถบริโภคได้ด้วยความปลอดภัย อัลคาลอยด์ที่พบในมะเขือพวงคือ โซลาโซดีน อัลคาลอยด์ยังเป็นสารที่ละลายน้ำยาก จึงพบมากโดยเฉพาะในกากมะเขือพวง เมื่อเทียบกับส่วนน้ำมะเขือพวง

โซลาโซดีน (Solasodine) เป็นสารที่มีสรรพคุณในการต้านโรคมะเร็ง จากการศึกษาวิจัยพบว่า สารโซลาโซดีนมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์อันเป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็ง




 

Create Date : 31 ตุลาคม 2559    
Last Update : 31 ตุลาคม 2559 11:16:05 น.
Counter : 770 Pageviews.  

สรรพคุณของมะเขือพวง

มะเขือพวง เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศ และหมู่เกาะในทวีปอเมริกากลาง จนถึงทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมักพบขึ้นเป็นวัชพืชขึ้นกระจัดกระจายเกือบทั่วไป ปัจจุบันพบได้ทั่วไปในทุกประเทศในแถบใกล้เส้นศูนย์สูตร และนิยมปลูกสำหรับเป็นอาหารในแทบประทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า ลาว มาเลเชีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
มะเขือพวงเป็นไม้ล้มลุกข้ามปี มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ลำต้น และกิ่งปกคลุมด้วยหนาม แต่บางพันธุ์ที่นิยมปลูกในปัจจุบันจะไม่มีหนาม กิ่งจะแตกออกตั้งแต่ระดับต่ำจากลำต้น กิ่งมีจำนวนน้อย ทำให้แลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง

ใบ
ใบมะเขือพวงออกตรงข้ามกันบนกิ่ง ใบมีรูปไข่ แผ่นใบกว้าง และเรียบ ขอบใบเว้าเป็นร่อง 3 คู่ หรือ 6 ร่อง ซ้ายขวา ก้านใบยาว 2-4 ซม. แผ่นใบกว้าง 8-10 ซม. ยาว 12-15 ซม.

ดอก
ดอกมะเขือพวง แทงออกเป็นดอกช่อ ดอกมีรูปกรวยแตร ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือม่วง 5 กลีบ และเกสรผู้มีสีเหลือง

ผล
ผลมะเขือพวงออกเป็นผลแบบเบอร์รี่ (มีหลายผลในก้านผลเดียว) แต่ละช่อผลมีผลประมาณ 2-10 ผล ผลมีขนาดเล็ก และกลม ขนาดผลประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ให้รสขม ผลเริ่มสุกมีสีเหลือง และสุกจัดมีสีแดงอมส้ม ให้รสฝื่น เปรี้ยว เปลือกผลดิบค่อนข้างหนา และเหนียว แต่เมื่อสุกความหนาของเปลือกจะบางลง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ประมาณ 300-400 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลม แบน เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาล

ประโยชน์ของมะเขือพวง
สารโซลาโซดีน (Solasodine) ในมะเขือพวงช่วยต่อต้านโรคมะเร็งได้
มะเขือพวงมีสาร ทอร์โวไซด์ เอ, เอช (Torvoside A, H) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 (Herpes simplex virus type 1) โดยมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งไวรัสได้มากกว่าอะไซโคลเวียร์ถึง 3 เท่า
มะเขือพวงมีสารทอร์โวนินบี (Torvonin B) ซึ่งเป็นซาโพนินชนิดหนึ่ง โดยเชื่อว่ามีฤทธิ์ในการขับเสมหะ
มะเขือพวงมีสารเพกติน (Pectin) ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยสารนี้จะมีหน้าที่ช่วยเคลือบผิวในลำไส้ ทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้ช้า จึงช่วยดูดซึมแป้งและน้ำตาลที่ย่อยแล้วได้ช้าลง ทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดคงที่
สารเพกทินในมะเขือพวงมีคุณสมบัติช่วยดูดซับไขมันส่วนเกินและอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
ช่วยรักษาโรคซิฟิลิส ( Syphilis) หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง มีสาเหตุมาจากเชื้อ Treponema pallidum (ใบสด)
สารต่อต้านอนุมูลอิสระในมะเขือพวงช่วยป้องกันความเสื่อมและช่วยชะลอความแก่
ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
ประโยชน์ของมะเขือพวงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
ประโยชน์มะเขือพวง ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
ช่วยลดความเครียดออกซิเดชันในผู้ป่วยเบาหวาน
ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ง่วงนอน
ใช้เป็นยาระงับประสาท (ใบสด)
ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย
ช่วยทำให้เลือดในร่างกายหมุนเวียนได้ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ของมะเขือพวง ช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด
ช่วยขับเหงื่อ (ใบสด)
แก้อาการชัก (ใบสด)
แก้อาการหืด (ทั้งต้น)
ช่วยแก้พิษในร่างกาย ด้วยการนำน้ำมะขามแช่รากมะเขือพวงแล้วนำมาต้มดื่ม (ราก)
สรรพคุณของมะเขือพวง ช่วยป้องกันภาวะเลือดแข็งตัว
ผลแห้งนำมาย่างกินแกล้มอาหารจะช่วยบำรุงสายตา
แก้อาการปวดฟัน ชาวมาเลเซียนำเมล็ดมะเขือพวงไปเผาให้เกิดควัน แล้วสูดเอาควันรมแก้ปวดฟัน (เมล็ด)
น้ำคั้นใบสดช่วยลดไข้ (ใบสด)
มะเขือพวงมีประโยชน์ช่วยบรรเทาและแก้อาการไอ รวมไปถึงอาการไอเป็นเลือด
ช่วยบรรเทาและรักษาอาการภูมิแพ้
สารสกัดจากมะเขือพวงมีผลยับยั้ง Platelet activating factor (PAF) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหอบหืด
ช่วยให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากยิ่งขึ้น
ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลำไส้ เพื่อป้องกันสารพิษที่เข้ามายังระบบทางเดินอาหาร
ช่วยในการย่อยอาหาร
ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีสารเพกทินที่ทำหน้าที่ดึงน้ำไว้ได้จำนวนมาก เพื่อเพิ่มปริมาณของอุจจาระ จึงช่วยกระตุ้นการขับถ่าย และทำให้อุจจาระนุ่ม ถ่ายง่ายขึ้นมาก
ช่วยป้องกันโรคท้องผูกและริดสีดวงทวาร
ช่วยในการขับปัสสาวะ (ผล, ใบ)
มะเขือพวงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการใช้ยา แอลกอฮอล์ และความเครียด
ช่วยบำรุงตับ
มะเขือพวงช่วยบำรุงไต ช่วยป้องกันและรักษาอาการเป็นพิษต่อไตที่เกิดจากยาคีโมที่ใช้รักษามะเร็งได้
ใบสดใช้แก้ปวด ปวดข้อ (ใบสด)
ช่วยแก้อาการฟกช้ำ
ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้น้ำสกัดจากลำต้นมะเขือพวง (ต้น)
ช่วยรักษาฝีบวมมีหนอง
ใบสดใช้พอกให้ฝีหนองแตกเร็วขึ้น ช่วยทำให้ฝียุบ (ใบสด)
มะเขือพวงมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคกลาก เกลื้อนตามผิวหนัง (ต้น)
ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (ใบสด)
ในแคเมอรูนใช้ใบสดในการช่วยห้ามเลือด (ใบสด)
ผลแห้งนำมาย่างกินแกล้มอาหารช่วยรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียได้
มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ ป้องกันการอักเสบเฉียบพลัน
ช่วยรักษารอยเท้าแตก ด้วยการนำรากสดมาตำแล้วพอกบริเวณรอบเท้าแตก (ราก)
ช่วยแก้โรคตาปลา ด้วยการนำรากสดมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นตาปลา (ราก)




 

Create Date : 30 ตุลาคม 2559    
Last Update : 30 ตุลาคม 2559 8:48:25 น.
Counter : 935 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  

taurolar
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add taurolar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.