bloggang.com mainmenu search
 


อัพบล๊อกวันนี้เป็นบล๊อกสั้นๆครับ จะพาไปเที่ยวอำเภอเต่างอย ซึ่งอำเภอเล็กๆ ตั้งอยู่สองฝั่งลำน้ำอูน สงบๆ น่าอยู่ ... แม้จะเป็นอำเภอไม่ใหญ่โตนัก แต่ที่นี่ก็มีสิ่งที่ดึงดูดใจของนักเดินทางให้มาเยือนอยู่เสมอๆ สิ่งนั้นคือ "พญาเต่างอย" ที่ว่ากันว่าหลายๆท่านที่มาขอพรแล้วก็สมปราถนา (อันนี้เป็นเพียงความเชื่อ ซึ่ง ณ ปัจจุบันยังพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้) และอีกสิ่งหนึ่งที่อยากจะเชิญชวนไปนมัสการนั้นคือ "พระธาตุเต่างอย" ซึ่งตั้งอยู่ตรงกันข้ามคนละฝั่งลำน้ำพุงกับพญาเต่างอยครับ.
 


เส้นทางจากตัวเมืองสกลนคร
 


อำเภอเต่างอยตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสกลนครเพียง 20 กม. ซึ่งเราสามารถเดินทางไปเต่างอยได้สะดวกมาก 2 เส้นทางคือ
 
1. จากตัวเมืองสกลนครวิ่งออกไปตามเส้นทางที่จะไป อ.นาแก จ.นครพมน (สาย 223) พอถึงรั้วสหกรณ์โคขุนโพนยางคำก็เลี้ยวขวาเข้าสู่ อ.เต่างอย) ก่อนข้ามสะพานเข้าสู่หมู่บ้านเต่างอย จะมีป้ายบอกพญาเต่างอยทางขวามือ 
2. จากตัวเมืองสกลนคร ขับย้อนไปทางกาฬสิธุ์ (สาย 213) พอถึงบ้านศรีวิชา แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ อ.เต่างอย (ทางเส้นนี้สามมารถไปวัดถ้ำผาแด่นได้) .... ก่อนข้ามสะพานเข้าสู่หมู่บ้านเต่างอย จะมีป้ายบอกพญาเต่างอยทางขวามือเช่นกัน

ถ้ามาจากกรุงเทพฯ ก่อนถึงบ้านไผ่ท่านสามารถแยกเข้าเส้นทางที่จะไปมหาสารคาม พอถึงมหาสารคามแล้วขับต่อไปทางกาฬสินธุ์ จะไปเจอทางสาย 12 ที่ อ.ยางตลาด ขับเลยไปสู่กาฬสินธุ์ ใช้ทางเลี่ยงเมืองไปสกลนคร พอลงภูพานถึงบ้านศรีวิชาก็เลี้ยวขวาเข้าไปสู่ อ.เต่่างงอยครับ ... อีกทางหนึ่ง (ซึ่งสะดวกมากๆตอนนี้) คือพอขับจาก อ.ยางตลาดมาถึงโกบอลเฮ้าส์กาฬสินธุ์ จะมีทางแยกไปมุกดาหาร (ทางงสาย 12 ใหม่) เป็นถนนสี่เลนส์ให้วิ่งยาวไปจนถึงทางแยกเข้า อ.กุฉินารายณ์ ขับตรงไป อ.เขาวง พอเลยเขาวงไปนิดหน่อยจะมีทางแยกทางขวามือ (สาย 2287) ซึ่งทางนี้จะไปวัดร่องคำได้ ให้ขับไปเรื่อยๆจะเห็นทางแยกไป อ.เต่างอย (สาย 2339) อีกทางไป อ.ว่านใหญ่ จ. มุกดาหาร (สาย 2287) ก็เลี้ยวซ้ายไปเต่างอยได้เลย ทางนี้เหมาะสำหรับคนไม่อยากขับรถบนเขามากๆ .... พอถึง อ.เต่างอยจะเจอพระธาตุเต่างอยก่อน เมื่อข้ามสะพานไปจะเลี้ยวซ้ายเข้าพญาเต่างอยได้.
 


พระธาตุเต่างอย



เต่างอย.
ตามตำนานเล่าว่า ... เมื่อประมาณ 400 ปี ไทยได้ทำสงครามกับลาว ลาวพ่ายแพ้ จึงถูกกวาดต้อนมาอยู่ในประเทศไทย เมื่อมาถึงบริเวณลำน้ำพุง ลำน้ำขนาดใหญ่และมีเต่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก บริเวณฝั่งแม่น้ำพุง ผู้คนสมัยนั้นได้พิจารณาเห็นว่า มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมจึงได้ตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัย ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านเต่างอย" ตามสถานที่พบเห็นเต่าที่กำลังลอยริมฝั่งแม่น้ำ เชื่อว่าจะมีความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น สัญลักษณ์ของอำเภอนี้จึงเป็นเต่า และได้ตั้งชื่ออำเภอว่า อำเภอเต่างอย มาจนถึงทุกวันนี้
 
 
 
 



วัดศิริมังคละเต่างอย (พระธาตุเต่างอย) อ.เต่างอย จ.สกลนคร

วัดศิริมังคละ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2419 เพื่อเป็นการรักษาทํานุบํารุง พระพุทธศาสนา และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยมีเจ้าอาวาสคนแรก ชื่อพระเบี้ย ไม่ทราบฉายา พร้อมกันนี้ก็ได้จัดตั้งศาล ปู่ตากุดนาแซง เป็นศาลปู่ตาที่มีรูปเหมือน “ปู่เพีย” ตั้งอยู่ในศาล ซึ่งเชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษ ของชาวบ้านเต่างอย ทําหน้าที่คล้ายกับ เทพารักษ์ของหมู่บ้าน ปกป้องคุ้มครองคน ในหมู่บ้านให้มีความปกติสุข ในช่วง เดือนสามของทุกปี จะมีพิธีไหว้ศาลปู่ตา โดยส่วนใหญ่ของที่ใช้ในการเซ่นไหว้จะมี ข้าว ไก่ต้ม เหล้าขาว หมากพลู บุหรี่ และมี ผู้กระทําพิธีเรียกว่า “เจ้า” ซึ่งเป็นผู้ที่ ชาวบ้านได้แต่งตั้งและได้รับการยอมรับ ให้เป็นผู้นํากล่าวคําติดต่อกับ "ปู่เพีย" และ "ปู่ทอง"   
 
 


สิมวัดศิริมังคละ






พระธาตุเต่างอย



พญาเต่างอย เกิดจากดําริของนายโสภณพงศ์ เหตานุรักษ์ นายอําเภอเต่างอย คนที่ 13 ได้มี ความคิดที่จะสร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ของอําเภอเต่างอยให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป โดยได้ร่วมกับพี่น้องชาวอําเภอเต่างอย ทําการ ฟื้นฟู บูรณะก้อนหินขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่บริเวณ หน้าผา ซึ่งมีลักษณะคล้ายรูปร่างเต่าเพื่อให้ผู้คน ที่ผ่านไปมาได้แวะสักการะกราบไหว้ และมีดําริ ให้ดําเนินการก่อสร้าง “พญาเต่างอย” ซึ่งเป็น รูปปั้นเต่าขนาดใหญ่เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของอําเภอ เต่างอย ไว้ในสวนสาธารณะและสวนสุขภาพ อําเภอเต่างอย ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของอําเภอ เต่างอย โดยก่อสร้างเมื่อ วันที่ 14 มีนาคม 2555 และทําพิธีพุทธาภิเษกเมื่อ วันที่ 5 เมษายน 2555 มีขนาดกว้าง 4.59 เมตร ยาว 7.39 เมตร สูง 5.09 เมตร ภายในองค์พญาเต่างอยบรรจุ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งควรค่าแก่การกราบไหว้บูชา นอกจากนี้ยังได้แผ่บารมีไปทั่วประเทศ ทําให้ เป็นที่รู้จักและมีผู้คนเดินทางมา กราบไหว้กัน อย่างไม่ขาดสาย
 
 


คณะที่มารำบวงสรวงพญาเต่างอย



รูปปั้นพญาเต่างอยที่สวนสาธารณะ ข้างลำน้ำพุง
 

ลักษณะสำคัญของพญาเต่างอย คือ เป็นเต่าขนาดใหญ่ เกล็ดบนหลังแต่ละเกล็ดมีรูปพระเกจิอาจารย์ประดับตกแต่ง บนหลังพญาเต่างอยประดับดอกบัวปั้น ในดอกบัวมีสร้อยทอง พระ ของขลังต่างๆ บรรจุไว้พร้อมฉาบปิดแน่นหนา โดยผู้ที่ใส่เครื่องรางของขลังเหล่านั้นเชื่อว่าจะไม่เจ็บไข้ได้ป่วยและเชื่อว่าหากใครได้มาสักการะบูชาจะทำให้อายุยืนยาวมีโชคมีลาภกลับบ้านไปทุกคน

ที่ตั้งพญาเต่างอย
พญาเต่างอยตั้งอยู่ที่ สวนสาธารณะหลังที่ว่าการอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร



วิวจากฝั่งพญาเต่างอยมองเห็นพระธาตุเต่างอยซึ่งอยู่คนละฝั่งน้ำพุง

..................



Create Date :01 มิถุนายน 2563 Last Update :1 มิถุนายน 2563 10:00:07 น. Counter : 3863 Pageviews. Comments :15