bloggang.com mainmenu search







อ่านเรื่องเกี่ยวกับอุบลราชธานี

วันสบายๆ..ที่ทอแสงโขงเจียมรีสอร์ท (ที่นี่)
แกรนด์แคนยอนสยาม 3000 โบก (ที่นี่)
รุ่งอรุณที่เขื่อนสิรินธร (ที่นี่)
ไหว้หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง (ที่นี่)
อุบล ปากเซ วัดพู (ที่นี่)




ต่อเนื่องจากบล๊อกที่แล้วครับ.. ความหลากหลายทางธรรมชาติตลอดจนความเป็นอยู่ของผู้คนในแถบนั้น ทำให้การเดินทางไปเที่ยวเมืองอุบลในคราวนี้ จากที่คิดว่าจะไม่ค่อยมีอะไรมากนัก จุดหมายหลักๆเราก็แค่ ทอแสงโขงเจียมรีสอร์ และสามพันโบก ที่อ. โพธิ์ไทร.... แต่เอาเข้าจริงๆ ก็มีหลายอย่างเข้ามาเพิ่มในโปรแกรมเรา เช่นตามเส้นทางจากโขงเจียม ไปอุบลฯ...ในตอนต่อไปนี้


วัดถ้ำคูหาสวรรค์

เราออกจากทอแสงรีสอร์ท เลี้ยวขวาเพื่อข้ามสะพานข้ามแม่น้ำมูลไปทาง โขงเจียม หลังจากจอดถ่ายภาพแถวๆสะพาน สองสามภาพ เราก็เข้าตัวตลาด และขับวนซ้ายขึ้นเขา (ถ้าตรงไปจะไปทางผาแต้ม) ... ที่ซ้ายมือจะเห็นโบถส์สีเงิน และเจดีย์ยอดสีทองอร่าม นั่นคือวัดถ้าคูหาสวรรค์

วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2222 ก่อนถึงอำเภอโขงเจียม ประมาณ 6 กิโลเมตร ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2521 โดย "หลวงปู่คำคนิง จุลมณี" ซึ่งใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมจำพรรษา ปัจจุบันท่านได้มรณภาพแล้ว แต่ร่างกายไม่เน่าเปื่อย บรรดาลูกศิษย์ได้เก็บร่างของท่าน ไว้ในโลงแก้วเพื่อบูชา บริเวณวัดมีจุดชมวิว สามารถมองเห็นทัศนียภาพของลำน้ำโขง และฝั่งลาวได้อย่างชัดเจน








ภาพมุมกว้างของวัด







หลวงปู่คำคนิง จุลมณี เกิดวันพุธ เดือนสี่ ปีกุน ที่บ้านหนองบัว แขวงคำม่วง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บิดาชื่อ คิน ทะโนราช มารดาชื่อ นุ่น มีพี่น้อง 5 คน หลวงปู่เป็นคนที่ 3 เมื่ออายุได้ 18 ปี ได้แต่งงาน มีบุตร 2 คน ต่อมาได้ขอภรรยาไปบวชเณร เพื่อทดแทนคุณบิดามารดา บวชได้ไม่นาน ก็ลาสิกขาออกมาเลี้ยงลูกเมีย จนลูกโตพอที่จะดูแลตนเองได้ จึงกลับเข้าบวชเป็นพระภิกษุ ที่วัดอีด่าง เขตจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ก่อนเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์นั้น ท่านได้บวชเป็นชีะขาว ออกธุดงค์ตามป่าเขาเป็นเวลา 15 ปี ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หลังจากอุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาอยู่หลายวัด หลายสิบพรรษาสงฆ์ จนวาระสุดท้าย ได้เข้ามาจำพรรษาที่ถ้ำควาย บ้านด่านใหม่ ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยความศรัทธาของชาวโขงเจียม และบุคคลทั่วไป ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์เพื่อก่อสร้างถาวรวัตถุทางพุทธศานา ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม ประกอบพิธีทางศานาของพระภิกษุสงฆ์และฆราวาส โดยได้ตั้งชื่อว่า "วัดถ้ำคูหาสวรรค์" ซื่งหลวงปู่ได้จำพรรษาที่วัดแห่งนี้จนถึงวันมรณภาพ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2528 สิริอายุ 91 ปี (พรรษา 46 พรรษา) บรรดาศาสนุศิษย์ได้รวบรวมปัจจัยจัดทำโลงแก้ว ประดับเพชรเทียมเป็นที่เก็บรักษาร่างของท่านไว้จนถึงปัจจุบันนี้









พระใหญ่











โบถส์สีขาว











ศาลาด้านขวามืออยู่ตรงทางเข้าวัด











พระพุทธรูปในถ้ำ











โรงแก้วหลวงปู่ คำคะนิง











รูเหมือนหลวงปู่











กล้วยไม้ป่า











ทิวทัศน์แม่น้ำโขง จากจุดชมวิวที่วัด















ออกจากวัดถ้ำคูหาสวรรค์ เราก็แวะเข้าชมเขื่อนปากมูลที่กักน้ำในแม่น้ำมูลไว้ก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำโขง เขื่อนแห่งนี้มีตำนานแห่งความขัดแย้ง ต่อสู้ มากมาย..... เราจึงอยากแวะเข้ามาเห็นว่าเป็น อย่างไร








สันเขื่อนปากมูล







ตัวเขื่อนตั้งอยู่ที่บ้านหัวเห่ว ห่างจากปากแม่น้ำประมาณ 6 กม. เป็นเขื่อนคอนกรีตอัดแรง กั้นแม่น้ำมูลโดยเก็บกักน้ำไว้แค่เต็มตลิ่ง และใช้ประโยชน์ทั้งผลิตกระแสไฟฟ้า และการเกษตร









ร่องน้ำใต้เขื่อนปากมูล






เราใช้เวลาที่นี่ไม่นานนัก จึงได้ภาพที่ส่วนมากจะเป็นตัวเขื่อน และด้านล่างของเขื่อน..... นอกจากนี้ บริเวณใกล้ๆกัน จะเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติ แก่งตะนะด้วย..








น้ำตกใต้เขื่อน






ดูเขาทำฆ้องที่ตำบลทรายมูล

ระหว่างทางก่อนเข้าเขตแก่งสะพือ อ.พิบูลฯ เห็นเขาแขวนฆ้องขาย อยู่หลายบ้าน เลยแวะเข้าไปดุเขาผลิตกัน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งการทำฆ้องที่นี่ ก็เป็นการขึ้นรูป และผลิตแบบชาวบ้าน คือใช้แรงงานในครัวเรือน หรือญาติพี่น้อง








ฆ้องที่ ตำบลทรายมูล






กรรมวิธี เริ่มจาก

- การเชื่อมเหล็กแผ่น หรือ แผ่นทองเหลืองเป็นวงกลม มีขอบ
- วัดขนาด แต่ละส่วน แล้วเขียนมาร์คเป็นวงไว้
- ใช้ฆ้อนหัวเหล็ก เคาะ (หรือตี) ลงในแบบไม้ที่ทำเป็นร่อง / หลุมไว้
- พอขึ้นรูปเสร็จก็นำมาระบายสีให้สวยงาม เพื่อนำออกจำหน่าย







เริ่มจากเหล็กที่เชื่อมเป็นรูปแบบนี้











เคาะขึ้นรูปด้วยแรงงานคน









เขียน- ระบายสี





แก่งสะพือ

ขับไม่นานนัก ก็ข้ามสะพานแม่น้ำมูล สู่ตัวอำเภอ พอลงสะพานแล้วเลี้ยวซ้ายออกไปก้จะถึงจุดชมวิว แก่งสะพรือ....ถ้าขับตรงไปถึงสามแยก เลี้ยวขวาเข้าเส้นทาง 217 เป็นถนนสี่เลน ก็จะเข้าตัวเมืองอุบลฯ..

เลี้ยวซ้ายไปทางตะวันออกของสะพานข้ามแม่น้ำมูลประมาณ 500-600 เมตรจะเป็น แก่งหินที่เมื่อก่อนขึ้นชื่อมา ถ้าใครมาที่เมืองนี้ต้องมาแวะโดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง ประมาณ มกราคม - พฤษภาคม แต่วันที่เราไปน้ำเกือบท่วมหมดแล้ว แต่ยังพอมองเห็นโขดหินอยู่บ้าง







สะพานข้ามแม่น้ำมูลที่พิบูลฯ






แก่งสะพือ เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า "ซำพืด" หรือ "ซำปื้ด" ซึ่งเป็นภาษาส่วยที่แปลว่า งูใหญ่ หรืองูเหลือม แก่งสะพือ จะมีหินน้อยใหญ่สลับซับซ้อน กระแสน้ำไหลผ่านกระทบหิน แล้วเกิดเป็นฟองขาวมีเสียงดังตลอดเวลา ริมแก่งจะมีศาลาพักร้อนตั้งอยู่ สำหรับให้นักท่องเที่ยวนั่งชมทัศนียภาพของแก่ง

ตรงหัวสะพานนี้ จะมีร้านขายซาลาเปาอยู่ หลายๆคนลงความเห็นว่าซาลาเปาที่พิบูลฯนี้อร่อยมากครับ....

หลังจากได้ซาลาเปาใส้ถั่ว 2 กล่องแล้ว เราก้ขับเลยออกไปที่สามแยก เพื่อเลี้ยวขวาเข้าเส้นทาง 217 ก่อนพักทำธุระส่วนตัวที่ปั๊ม ปตท.(ซึ่งห้องน้ำ สะอาดกว่าที่อื่น ในแถวนั้น) ....แล้วขับเข้าเมืองอุบลฯ เพื่อไปรับลูกชายที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลฯ ตอนหลังเที่ยง เพื่อเดินทางไปชม "สามพันโบก" ที่อำเภอโพธิ์ไทร ในตอนบ่าย.








ลากันด้วยภาพแม่น้ำมูลที่พิบูลฯครับ






ปล. บล๊อกนี้ได้หายไปตอนทำการเคลื่อนย้ายบล๊อกเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2554 และได้ re-entry ใหม่หมด แต่รักษาเนื้อหาไว้เหมือนเดิม....
Blog created 21 July 2009



ขอบคุณที่ตามอ่านครับ




_____________ END _____________

Create Date :02 กุมภาพันธ์ 2554 Last Update :28 กรกฎาคม 2556 22:18:29 น. Counter : Pageviews. Comments :2