bloggang.com mainmenu search

ด า นั ง
ความหลัง..ที่กำลังจะถูกลืม

(ซินจ่าวเวียตนาม 10....ตอนจบ)



อ่านตอนที่ 1 : ที่นี่
อ่านตอนที่ 2 : ที่นี่
อ่านตอนที่ 3 : ที่นี่
อ่านตอนที่ 4 : ที่นี่






แสงสีในดานัง ยามค่ำคืน







วันนี้เราจะพาคุณๆไปพักที่ดานัง VARNA Hotel ริมฝั่งแม่น้ำหาน เพื่อรอเวลาเช้าที่จะเดินทางกลับเมืองไทย... ดานังไม่ใช่เมืองที่มีชื่อเสียงนักในการท่องเที่ยว แต่ ณ ปัจจุบัน ดานังกำลังสร้างตัวเองให้เป็นเมืองท่องเที่ยวแบบทันสมัย ไม่ว่ากระเช้าที่ขึ้นชมเขา Ba Na Mountain เจ้าแม่กวนอิมขนาดใหญ่ สะพานแขวนที่สามารถมองเห็นดานังได้อย่างกว้างไกล รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่ขะมักขะเม้นถมทะเลสร้างอยู่







อรุณรุ่งที่ดานัง





สิ่งที่คุณๆจะเห็นดานังเปลี่ยนไปคือ "คาสิโน" ที่สร้างเป็นรีสอร์ทติดชายทะเลอันสวยงาม แม้ว่าเมืองนี้มักจะเป็นด่านหน้าของเจ้าพายุหมุนใต้ฝุ่นก็ตาม.... สนามกอล์ฟ ขนาดใหญ่ก็เกิดขึ้นแล้วในเมืองนี้ ซึ่งก้อยู่ห่างทะเลไม่มากนัก และตั้งในทำเลที่ดีระหว่างดานัง กับฮอยอัน ชื่อ Montgomerie Links







ภาพจากเวบ









เราพักที่โรงแรมนี้ Vanar Hotel







ดานัง

ดานัง (Da Nang) เป็นเมืองท่าสำคัญของเวียดนามกลางตอนใต้ ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลจีนใต้ จัดเป็น 1 ใน 5 เขตการปกครองส่วนท้องถิ่นในเวียดนาม

ปี พ.ศ. 2390 เรือรบฝรั่งเศสได้ระดมยิงโจมตีเมืองดานังเพื่อตอบโต้ที่กลุ่มมิชชันนารีคาธอลิคถูกประหารชีวิต






แม่น้ำหานยามเช้า










มองเห็นไกลๆคือสะพานแขวน Thuan Phuoc ที่สร้างข้ามอ่าวที่ปากน้ำ








เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2401 กองทหารฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกที่ดานัง ตามพระบัญชาของพระเจ้านโปเลียนที่ 3 เพื่อประกาศพื้นที่นี้เป็นอาณานิคมภายใต้อาณัติของฝรั่งเศส และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อภาษาฝรั่งเศสว่า Tourane ขณะนั้นถือว่าเป็น 1 ใน 5 เมืองสำคัญบนคาบสมุทรอินโดจีน









การสัญจรในแม่น้ำหาน...ที่เห็นด้านหน้าคือ Song Han Bridge และส่วนสีน้ำเงินนั่น เวลาสะพานเปิดจะใช้วิธีหมุนเพื่อให้เรือใหญ่ผ่าน







ในระหว่างสงครามเวียดนาม เมืองนี้เป็นที่ตั้งฐานทัพอากาศหลักของกองทัพสหรัฐอเมริกา ครั้งนั้นจำนวนประชากรในเมืองได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 1 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยสงคราม

ก่อนปี พ.ศ. 2540 ดานังยังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดกว่างนาม-ดานัง จนกระทั่งวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 ดานังได้ถูกแยกออกจากจังหวัดกว่างนาม และเป็นเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งที่ 4 ของเวียดนาม










อีกมุนของดานัง





ปัจจุบันเมืองดานังเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 4 ของเวียตนาม มีท่าเรือน้ำลึกถึง 3 แห่ง มีมหาวิทยาลัย 5 แห่ง
- Duy Tan University,
- University of Danang,
- Danag University of Architecture,
- Danang Sport and Physical Exercise University,
- Danag University of Technology.

และวิทยาลัยอีก 10 แห่ง

โรงงานอุตสาหกรรมมากว่า 4900 แห่ง โรงแรมและรีสอร์ทใหญ่เกิดขึ้นแถวชายทะเลเวียตนามมากมาย ทำให้ดานังที่เราเห้นวันนี้เปลี่ยนแปลงไปจากปี 2007 มากมาย เพราะดานังตั้งอยู่ห่างจากฮอยอันเพียง 30 กม. จึงได้รับอานิสงจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาฮอยอัน และมาพักตามโรงแรมที่นี่เมื่อกลับจากการเที่ยวชมฮอยอัน

แม้ดานังจะเคยเป็นที่ๆฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกเข้าเวียตนามที่นี่ และเป็นจุดแรกที่ขยายกองทัพออกไป ทำให้เวียตนามถูกปกครองโดยชาวฝรั่งเศสในที่สุด แถมอเมริกาก็ใช้เมืองนี้เป็นที่ขนถ่ายอาวุธ สร้างสนามบินเพื่อทำการประหัตประหารชาวเวียตนามในอดีตก็ตาม....

แต่วันนี้ดานังกำลังก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับประเทศเวียตนาม และพัฒนาตัวเองให้เป็นท่าเรือน้ำลึกที่สำคัญทางตะวันออก ที่จะคอยรับส่งสินค้าตามแผนพัฒนา East West Economic Corridoor ผ่านเส้นทางเชื่อม AH16 หรือเส้นทางหมายเลข 9 จากไทย และลาวในอนาคต..... ชาวเวียตนามรุ่นใหม่ถูกสอนให้ลืมอดีต และพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่ย่อท้อ...








ถนนริมแม่น้ำหานยามเช้า










ชีวิตประจำวันแบบง่ายๆยามเช้า










รูปปั้นที่สวนสาธารณะ











สวนสาธาณะ และป้ายโฆษณาที่ตั้งเป็นระเบียบ










เตรียมตัวกลับ







เราตื่นเช้าทานมื้อเช้าที่ชั้น 2 ของโรงแรม และเตรียมตัวเดินทางกลับไทย แต่พอลงมาเช็คกระเป๋าขึ้นรถด้านหน้าโรงแรม ก็เจอกองทัพแม่ค้ามาขายของให้เราตั้งแต่เช้า..... ต้องยอมรับเลยล่ะว่า ชาวเวียตนามนี่ขยันจริงๆ









แม่ค้าก็ตามมาขายสินค้าถึงหน้าโรงแรม










เราต้องข้ามสะพาน Thuan Phuoc นี้เพื่อกลับไปเว้










อ่าวดานัง 1










อ่าวดานัง 2










อ่าวดานัง 3







เราเดินทางเรียบตามชายทะเลของอ่าวดานัง ที่ตึกรามบ้านช่องยังคงเห็นร่องรอยจากการทำลายของเจ้าพายุช้างสารเมื่อหลายปีที่แล้วอยู่ โดยสังเกตุได้จากหลังคาบ้านที่ยังไม่ได้ซ่อมให้เรียบร้อย เพราะยังเห็นกระสอบป่านใส่ดินทับหลังคาไว้....

ที่น่าสังเกตุบ้านและตึกในเมืองดานัง ไม่ค่อยชอบหันหน้าเข้าหาทะเลกัน ถามไถ่จากคุณไก๊ด์เราก็ได้ความว่า เมืองนี้เขากลัวเรื่องพายุกันมาก มีที่ดินว่างเปล่ามากมายริมชายทะเล แต่ไม่ยักกะมีใครให้ความสนใจ คงเนื่องมาจากเหตุเดียวกัน คือพายุเข้าบ่อยนั่นเอง








อ่าวดานัง 4






พอรถผ่านเมืองดานังมาก็ทำให้เราคิดถึงเรื่องที่เคยพูดกันเล่นๆหลายครั้งว่า "พระเจ้ากลัวอเมริกาเจริญมากไป เลยสร้างเจ้าพายุเฮอริเคนมาทำลาย เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่ต้องทำให้เกิดแผ่นดินไหวบ่อยๆ ส่วนเวียตนามก็เอาพายุใต้ฝุ่นมาสะกัดไว้ แต่พี่ไทยอยู่ในทำเลที่ดีทุกอย่าง อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ ไม่รู้จะเอาอะไรมาสะกัดดาวรุ่ง...เลยสร้างคนไทยให้ทะเลาะกันเพื่อให้ประเทศเจริญช้าๆ" ....จริงเท็จอย่างไร อันนี่ก็คือเรื่องขำขันนะครับ.

ดานัง..... เมืองที่เราเคยอ่านป้ายบอกทางตรงสี่แยกอินโดจีน ไม่ว่าจะเป็นสี่แยกก่อนเข้าเมืองพิษณุโลก หรือที่ขอนแก่น ที่คุณๆเคยอ่าน...บัดนี้ได้พัฒนาตัวเองไปมาก จากพื้นฐานการแข่งขันที่ค่อนข้างได้เปรียบเรา เช่นท่าเรือน้ำลึกที่มีถึง 3 ที่ สนามบินนานาชาติ มหาวิทยาลัยหลายแห่ง ผู้คนที่ขยันขันแข็ง ค่าแรงงานที่ยังต่ำอยู่ และอีกหลายอย่าง ทำให้เมืองนีพาตัวเองก้าวผ่านอุปสรรค์มากมาย เพื่อมายืนอยู่แถวๆหน้าในเอเซีย

นักธุรกิจหลายชาติต่างมองหาโอกาสจากเมืองนี้ เราเชื่อว่าอีกไม่นาน ผู้คนที่เคยอพยพหลบหนีภัยสงครามมาที่นี่เมื่อครั้งอดีต คงจะลืมเรื่องเก่าๆที่ขมขื่นจนหมดสิ้น และก้าวไปข้างหน้าตามอาระยะประเทศอย่างรวดเร็ว .... ถ้าเรา(ประเทศไทย)ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการแข่งขัน เรานี่แหละจะต้องส่งผู้คนไปเรียนรู้กระบวนการพัฒนาจากที่นี่ในอนาคตอันใกล้.









นักเรียนกำลังไปโรงเรียน










โรงเรียนในเวียตนาม








เราย้อนกลับทางเดิมผ่านเว้ และแวะเข้าห้องน้ำกันที่ปั้มน้ำมันเมื่อผ่านเว้มาได้ซักพัก แล้วก็เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางหมายเลข 9 หรือ AH16 ที่ดองฮาเพื่อกลับสู่ชายแดนเวียตนามที่ด่านลาวบาว (ตรงนี้ถ้าใครมีเงินด่องเหลือก็ใช้เสีย หรือแลกคืนที่ด่านได้ครับ) ทานมื้อเที่ยงกันที่นั่น ก่อนที่จะแวะหาซื้อสิ่งของปลอดภาษีที่ร้านดาวเฮืองในฝั่งลาว และเดินทางกลับถึงมุกดาหารโดยปลอดภัยเมื่อเวลาประมาณ 2030 น.








ลากันด้วยภาพอ่าวดานัง ภาพนี้ครับ



ลงมายาวเหยียด รวมตอนนี้ด้วยก็ 5 ตอนพอดี ถึงเวลาจบซะที...คงมีอะไรพอให้ความรู้กับคุณๆได้บ้างนะครับ



ขอบคุณที่ตามอ่านครับ




___________ END __________





Create Date :26 ตุลาคม 2553 Last Update :26 มิถุนายน 2556 17:29:31 น. Counter : Pageviews. Comments :23