bloggang.com mainmenu search




จากเชียงคานถึงสังคม



ทางหลวงหมายเลข 211 สร้างเลียบชายฝั่งโขงตลอดแนวจากเชียงคานถึงหนองคาย หลายแห่งเขาทำที่สำหรับชมวิวไว้ เหมาะที่จะพักรถและถ่ายภาพมาก

ถ้าเราเดินทางออกจากเชียงคานตามเส้นทางหมายเลข 211 ก็จะเจอพระใหญ่ที่อยู่บนเขาตรงทางแยกหมู่บ้านผาแบ่น หมู่ที่ 8 ขวามมือจะเป็นพระพุทธรูปหน้าตาคล้ายๆอินเดีย ที่สำนักสงฆ์ภูน้อยสามัคคีธรรม ที่กำลังมีพิธีกรรมในการก่อสร้างพระเจดีย์พุทธนิมิตชับมงคลอยู่..







คืนวันที่เราพักที่เชียงคานฮิลล์ เขาได้เฉลิมฉลองโดยการจุดพลุไฟ ซึ่งเราเองก็ได้มีโอกาสได้ชมไปกับชาวบ้านด้วย.... ที่จริงวัดนี้เรามาถึงแก่งคุดคู้ก็แวะมาไหว้พระใหญ่องค์นี้เลย...










นี่น่าจะเป็นบายศรีรูปทรงพระญานาค ที่ทำจากใบตองตกแต่งสวยงามมาก..

พอเลยเข้าไปในหมู่บ้านก็จะมีทางแยกไปทางขวามมือบอกว่าไปวัดพระบาทภูควายเงิน











พระพุทธบาทที่วัดภูควายเงิน อยู่ที่บ้านผาแบ่น ตำบลบุฮม การเดินทาง ใช้เส้นทางสายเชียงคาน-ปากชม ระยะทาง 6 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านผาแบ่นมีทางแยกเข้าบ้านอุมุง 3 กิโลเมตร จะถึงทางขึ้นเขาเป็นทางคอนกรีตระยะทาง 1 กิโลเมตร พระพุทธบาทภูควายเงินเป็นรอยพระพุทธบาทยาวประมาณ 120 เซนติเมตร กว้าง 65 เซนติเมตร ประดิษฐานบนหินลับมีด ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อพ.ศ. 2478

รอยพระพุทธบาทภูควายเงินเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านในแถบนี้มาก สมัยก่อนครั้งที่การเดินทางมานมัสการยังลำบาก เชื่อกันว่าคนที่มีบุญวาสนาเท่านั้นจึงจะเดินทางมากราบไหว้ได้ คนที่วาสนาไม่ถึงจะต้องมีเหตุให้มาไม่ได้ ทั้งที่ตั้งใจไว้อย่างเต็มที่ก็ตาม บางคนก็หลงทาง ทุกปีในวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 3 ทางวัดจะจัดงานสมโภชประจำปีถือเป็นงานสำคัญของชาวบ้านในแถบนี้







หลวงพ่อกำลังเล่าความเป็นมาให้ฟัง




เราโชคดีที่วันนั้นเข้าไปเป็นกรุ๊ปแรกๆ หลวงพ่อท่านเลยมานั่งคุยด้วย และให้ศีลให้พร หลังจากเราร่วมทำบุญกฐินกับทางวัด..... หลวงพ่อบอกว่าท่านเป็นข้าราชการมาก่อน พอเกษียรอายุ ก็คิดว่าจะบวชหาความสงบซักพัก

ท่านเลยมาที่นี่ตั้งแต่ปี 2531 (ตอนนี้ท่านอายุ 83 แล้ว) ... ท่านเข้ามาต่อสู้กับอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าความยากลำลากในการเดินทางไปบิณฑบาตรที่ในหมู่บ้าน ซึ่งต้องผ่านระยะทางไป-กลับร่วม 10 กม.... ท่านบอกว่าเคยเท้าแพง และฝาบาตรงับนิ้วจนนิ้วก้อยซ้น และงอไม่เข้าที่.... พระหลายๆองค์พยามจะอยู่ที่นี่ แต่ทำไม่สำเร็จ

พอท่านเข้ามาคล้ายมีลางบอกเหตุว่าให้ท่านสู้ และท่านก็ถามว่ามีทางสำเร็จไหม ก็ได้รับคำตอบว่ามีทางสำเร็จ..... ท่านจึงต่อสู้มายาวนาน หลังจากคิดว่าจะหาที่สงบซักพัก...

รูปพระพุทธบาทที่เราเห็น ณ ปัจจุบันถูกกรมศิลปากรสร้างพระบาทจำลองครอบไว้อีกที เป็นเช่นนี้ทุกๆที่ ไม่ว่าที่สระบุรีหรือที่ไหนๆที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสึกกร่อน เนื่องจากการสัมผัสจากผู้คน








พระใหญ่ที่กำลังสร้าง









น้ำตกธารทิพย์ชั้นล่าง




น้ำตกธารย์ทิพย์ อยู่ก่อนถึงอำเภอสังคม จังหวัดหนองคายเล็กน้อย ต้องแยกจากทาง 211 ออกไปทางขวามือ (ถ้าไปจากปากชม) เป็นถนนดีตลอดสายจนถึงที่จอดรถ

ตอนที่เราไปเป็นปลายฝนแล้ว น้ำน้อย..... น้ำตกธารทิพย์แยกเป็นสองชั้น มีบันไดคอนกรีตอย่างดี สำหรับขึ้นไปชั้นบน..







น้ำตกธารทิพย์ชั้นบน


















ซูมให้ดู










ชั้นล่างอีกภาพ





ออกจากน้ำตกก็ได้เวลามื้อเที่ยง (ที่จริงมื้อบ่ายต่างหาก) เราขับผ่านเข้าตัวอำเภอสังคม ซึ่งเมื่อก่อนที่เรามาเป็นคล้ายๆหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีของป่าขายมากมาย... แต่ตอนนี้ไม่รู้ว่ายังมีขายอยู่ไหมน๊า

ร้านอาหารส่วนมากจะตั้งอยู่ริมโขงขาออกจากตัวอำเภอแล้ว (ไปทางหนองคาย) ทิวทัศน์และบรรยากาศสุดยอดมากๆ เลยละแวกร้านอาหารก็จะเป็นรีสอร์ท ที่ดูจากภายนอกแล้วก็ดีครับ อยู่ติดฝั่งโขง...

แต่วันนั้นเราหาทำเลดีๆเพื่อนั่งชมวิวริมน้ำโขง เลยเจอครัวป้าหลีนี่แหละ เป็นร้านไม่ใหญ่นัก ทำธุรกิจแบบครอบครัว.... แต่รสชาดอาหารใช้ได้เลยล่ะ







ริมโขงหน้าครัวป้าหลี อ.สังคม









แม่น้ำโขงกำลังแห้งเห็นเป็นหาดทราย










มะละกอต้นนี้ใบแปลกๆ แต่ลูกดกจัง










จานแรกมาแล้ว หมูป่าผัดเผ็ด










ตามด้วยปลาน้ำโขงทอดกระเทียม










ต้มยำปลาบึกน้ำใส










ลาบปลาน้ำโขง










ปลาน้ำโขงผัดฉ่า





เมื่อท้องอิ่ม เราก็เดินทางต่อโดยวางโปแกรมว่าจะไปไหว้พระตามรายทาง คือตั้งแต่หลวงปู่เหรียญ หลวงปู่เทสก์ และพระองตื้อที่ท่าบ่อ ก่อนกลับ...

อำเภอสังคม จังหวัดหนองคายเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวชอบมาดูบั้งไฟพญานาคกัน เห็นบอกว่าวันนั้นเขาจะพร้อมใจไม่ให้มีแสงไฟรบกวนนักท่องเที่ยว เพื่อเปิดโอกาสให้เห็นบั้งไฟพญานาคกันชัดๆ

ที่นั่นหน้าหนาวเขาบอกว่าหนาวได้ที่เลยล่ะครับ...







ลากันด้วยภาพแม่น้ำโขงที่ อ.สังคม







และวันลอยกระทงที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 2 พย. นี้ขอให้ทุกท่านมีความสุขมากมายนะครับ










_________ END _________





Create Date :30 ตุลาคม 2552 Last Update :31 ตุลาคม 2554 8:57:22 น. Counter : Pageviews. Comments :28