bloggang.com mainmenu search








หลังจากหายหน้าหายตาไปหลายอาทิตย์ บล๊อกนี้จะพาคุณๆเดินทางไปชมเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ว่ากันไปนานถึงยุค พุทธศตวรรษที่ 15 สมัยพระเจ้าชัยวรมัน กษัตริย์ขอมผู้ทรงอิทธิพลสมัยนั้นเลยครับ ... แต่สถานที่ที่จะพาไปชมนั้นอยู่ที่ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ (ซึ่งตอนหลังนี้จะเป็น อ.เฉลิมพระเกียรติ์)

สถานที่ที่ว่าคือ "ปราสาทหินพนมนมรุ้ง" อันโด่งดัง ขึ้นชื่อของ จ.บุรีรัมย์ และประเทศไทยครับ ... ภาพชุดนี้ถ่ายไว้เมื่อ 30 สิงหาคม 2557


วันนี้ 30 สิงหาคม 2557 เราตั้งใจขับจากขอนแก่นเพื่อมาชมปราสาทนี้โดยเฉพาะ ส่วนเหตุจูงใจก้ไม่มีอะไรมาก คือ ตัวปราสาทนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมานาน แต่ จขบ.เองไม่เคยเดินทางมาที่นี่เลยสักครั้ง คราวนี้จึงเป็นฤกษ์ดีว่างั้นเถอะจะได้มายลแหล่งประวัติศาสตร์นี้เสียที เลยถือโอกาสถ่ายภาพนำมารีวิวให้คุณๆได้ชมไปพร้อมกันเลยครับ






ส่วนต่างๆของปราสาท




อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่

ปัจจุบัน ปราสาทหินพนมรุ้งกำลังอยู่ในเกณฑ์กำลังพิจารณาเป็นมรดกโลก เช่นเดียวกับ ปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ และถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์






เรื่องราวของที่นี่...แสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์




ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะ มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นวัดมหายาน ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18








เดินขึ้นสู่ปราสาท





จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งพระนคร (พ.ศ. 1487-1511) ได้สถาปนาเทวสถานถวายพระศิวะที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิธรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง










เมื่อไปถึงปราสาทพนมรุ้ง แนะนำว่าให้เข้าไปชมเรื่องราวต่างๆในพิพิธภัณฑ์ของเขาก่อน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างทางเดินขึ้นปราสาทนั่นเองครับ ด้านในจะนำเสนอเรื่องราวทั้งความเป็นมาของปราสาท ชาติพันธุ์เขมร และชุมชนบริเวณปราสาทนี้

จากนั้นก็เดินขึ้น ซึ่งจะว่าไปแล้วก้ไม่สูงชันเท่าไหร่ .... คนโบราณจะนำของเซ่นไหว้ (บูชายัญ) มาพักเพื่อตกแต่งก่อนนำขึ้นเขาไปทำพิธีที่ปราสาท ซึ่งท่านจะเห็นศาลาที่ว่านั้นอยู่ทางขวามือขณะเดินขึ้นไป






ด้านหน้าปราสาท




ถ้าท่านสุขภาพไม่ไหว คือเดินเหินลำบาก เขาก็มีทางเลือกให้โดยขับรถขึ้นไปเข้าทางประตู 3 ซึ่งสามสามรถเข้าถึงตัวปราสาทได้เลย เพียงเดินขึ้นบันไดอีก 4-5 ขั้นเท่านั้น แต่จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มนิดหน่อยครับ






ทับหลัง






โคนนทิ

โคนนทิ เป็พาหนะของพระศิวะ โคนนทิเป็นบุตรของพระกัศยปกับโคสุรภี พระศิวะเห็นโคสุรภีก็อยากจะได้เป็นบริวารแต่รังเกียจว่าเป็นเพศเมีย พระกัศยปจึงอาสาผสมพันธุ์กับโคสุรภีให้กำเนิดวัวเพศผู้ชื่อว่า "นนทิ" แล้วถวายเป็นบริวารของพระศิวะ ทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าประตูวิมานบนเขาไกรลาศด้านทิศตะวันออกคู่กับมหากาล และทำหน้าที่เป็นเทพพาหนะเมื่อพระศิวะเสด็จออกภายนอก








ซ้าย : ช่องประตูที่ตรงกัน ขวา : ร่ององน้ำมนต์ (ท่อโสมสูตร)























ขากลับลงมาแล้วมองย้อนขึ้นไปที่ปราสาท







เดินชมสินค้าโอท้อป




ก่อนกลับเราขับลงเขาอีกด้านหนึ่ง และแวะไปชมปราสาทเมืองต่ำ (ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นราบ) ก่อนเดินทางไปชมหมู่บ้านช้างไทยที่ จ.สุรินทร์ต่อ .... มีโอกาสแล้วจะนำมารีวิให้ชมกันครับ






ลาด้วยภาพปราสาทเมืองต่ำที่อยู่ด้านล่าง






_____________



Create Date :15 ตุลาคม 2557 Last Update :6 พฤษภาคม 2561 12:30:19 น. Counter : 5713 Pageviews. Comments :10